ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
สัญเจตนิยวรรคที่ ๓
[๑๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อกายมีอยู่ สุขทุกข์ภายในย่อมเกิดขึ้น เพราะกายสัญเจตนา ๑- เป็นเหตุ หรือเมื่อวาจามีอยู่ สุขทุกข์ในภายในย่อมเกิดขึ้น เพราะวจีสัญเจตนา ๒- เป็นเหตุ หรือเมื่อใจมีอยู่ สุขทุกข์ภายในย่อมเกิดขึ้น เพราะ มโนสัญเจตนา ๓- เป็นเหตุ อีกอย่างหนึ่ง เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย บุคคลย่อม ปรุงแต่งกายสังขาร อันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นด้วยตนเองบ้าง หรือบุคคลอื่นย่อมปรุงแต่งกายสังขารของบุคคลนั้น อันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภาย ในเกิดขึ้นแก่บุคคลนั้น หรือบุคคลรู้สึกตัว ย่อมปรุงแต่งกายสังขาร อันเป็น ปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นบ้าง หรือบุคคลไม่รู้สึกตัว ย่อมปรุงแต่งกายสังขาร อันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นบ้าง บุคคลย่อมปรุงแต่งวจีสังขารอันเป็น ปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นด้วยตนเองบ้าง หรือบุคคลอื่นย่อมปรุงแต่งวจีสังขาร ของบุคคลนั้น อันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นแก่บุคคลนั้นบ้าง หรือบุคคล รู้สึกตัวย่อมปรุงแต่งวจีสังขาร อันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นบ้าง หรือ บุคคลไม่รู้สึกตัว ย่อมปรุงแต่งวจีสังขาร อันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นบ้าง บุคคลย่อมปรุงแต่งมโนสังขารอันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นด้วยตนเองบ้าง หรือบุคคลอื่นย่อมปรุงแต่งมโนสังขารของบุคคลนั้น อันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภาย ในเกิดขึ้นแก่บุคคลนั้นบ้าง หรือบุคคลรู้สึกตัวย่อมปรุงแต่งมโนสังขารอันเป็นปัจจัย ให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นบ้าง หรือบุคคลไม่รู้สึกตัวย่อมปรุงแต่งมโนสังขารอันเป็น ปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นบ้าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย อวิชชาติดตามไปแล้วใน ธรรมเหล่านี้ แต่เพราะอวิชชานั่นแลดับโดยสำรอกไม่เหลือ กายอันเป็นปัจจัย ให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นแก่บุคคลนั้น ย่อมไม่มี วาจา ... ใจ ... เขต ... วัตถุ ... อายตนะ ... อธิกรณะอันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นแก่บุคคลนั้น ย่อมไม่มี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความได้อัตภาพ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ ความได้อัตภาพที่สัญเจตนาของตนเป็นไป ไม่ใช่สัญเจตนาของผู้อื่นเป็นไป @๑. ความจงใจทางกาย ๒. ความจงใจทางวาจา ๓. ความจงใจทางใจ ก็มี ความได้อัตภาพที่สัญเจตนาของผู้อื่นเป็นไป ไม่ใช่สัญเจตนาของตนเป็นไป ก็มี ความได้อัตภาพที่สัญเจตนาของตนด้วย สัญเจตนาของผู้อื่นด้วยเป็นไปก็มี ความได้อัตภาพที่สัญเจตนาของตนก็มิใช่สัญเจตนาของผู้อื่นก็มิใช่เป็นไปก็มี ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ความได้อัตภาพ ๔ ประการนี้แล ฯ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสโดยย่อนี้ ข้าพระองค์ทราบชัด เนื้อความโดยพิสดารอย่างนี้ว่า บรรดาความได้อัตภาพ ๔ ประการนั้น ความได้ อัตภาพที่สัญเจตนาของตนเป็นไป มิใช่สัญเจตนาของผู้อื่นเป็นไปนี้ คือ การจุติ จากกายนั้นของสัตว์เหล่านั้น ย่อมมีเพราะสัญเจตนาของตนเป็นเหตุ ความได้ อัตภาพที่สัญเจตนาของผู้อื่นเป็นไป มิใช่สัญเจตนาของตนเป็นไปนี้ คือ การจุติ จากกายนั้นของสัตว์เหล่านั้น ย่อมมีเพราะสัญเจตนาของผู้อื่นเป็นเหตุ ความได้ อัตภาพที่สัญเจตนาของตนด้วย สัญเจตนาของผู้อื่นด้วยเป็นไปนี้ คือ การจุติจาก กายนั้นของสัตว์เหล่านั้น ย่อมมีเพราะสัญเจตนาของตนและสัญเจตนาผู้อื่นเป็นเหตุ ความได้อัตภาพที่สัญเจตนาของตนเป็นไปก็มิใช่ สัญเจตนาของผู้อื่นเป็นไปก็มิใช่นี้ จะพึงเห็นเทวดาทั้งหลายด้วยอัตภาพนั้นเป็นไฉน พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรสารีบุตร พึงเห็นเทวดาทั้งหลายผู้เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ ด้วยอัตภาพนั้น ฯ สา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้ สัตว์บางจำพวกในโลกนี้ จุติจากกายนั้นแล้วเป็นอาคามีกลับมาสู่ความเป็นอย่าง นี้ อนึ่ง อะไรเป็นปัจจัยเครื่องให้สัตว์บางจำพวกในโลกนี้ จุติจากกายนั้น แล้วเป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ยังละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ไม่ได้ แต่เขาบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะในปัจจุบัน บุคคลนั้นชอบใจ ยินดี และถึงความปลื้มใจด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น ยับยั้งอยู่ในเนวสัญญา- *นาสัญญายตนะนั้น น้อมใจไป อยู่จนคุ้นในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น ไม่เสื่อม เมื่อทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเหล่าเทวดาผู้เข้าถึงชั้นเนวสัญญานา- *สัญญายตนภพ เขาจุติจากชั้นนั้นแล้วย่อมเป็นอาคามี กลับมาสู่ความเป็นอย่าง นี้ ดูกรสารีบุตร อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้แล้ว เขาบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ ในปัจจุบัน บุคคลนั้นชอบใจ ยินดี และถึง ความปลื้มใจ ด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น ยับยั้งในเนวสัญญานา- *สัญญายตนะนั้น น้อมใจไป อยู่จนคุ้นในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น ไม่เสื่อม เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเหล่าเทวดาผู้เข้าถึงชั้นเนวสัญญา- *นาสัญญายตนภพ เขาจุติจากชั้นนั้นแล้ว ย่อมเป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความ เป็นอย่างนี้ ดูกรสารีบุตร นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้สัตว์บางจำพวกในโลก นี้ จุติจากกายนั้นแล้วเป็นอาคามี กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ อนึ่ง นี้เป็นเหตุ เป็นปัจจัยเครื่องให้สัตว์บางจำพวกในโลกนี้ จุติจากกายนั้นแล้วเป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ ฯ [๑๗๒] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกร อาวุโสภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตร ได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย เราอุปสมบทแล้วได้กึ่งเดือน ก็ได้กระทำให้แจ้ง อรรถปฏิสัมภิทาโดยเป็นส่วน โดยจำแนก เราย่อมบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำให้ง่ายซึ่งอรรถปฏิสัมภิทานั้นโดยอเนกปริยาย ก็ผู้ใดแล พึงมีความสงสัยหรือความเคลือบแคลง ผู้นั้นพึงถามเรา เราพึงพยากรณ์ พระศาสดาของเราทั้งหลาย ทรงฉลาดด้วยดีในธรรมทั้งหลาย ประทับอยู่เฉพาะ หน้าของเราทั้งหลาย เราอุปสมบทแล้วได้กึ่งเดือน กระทำให้แจ้งธรรมปฏิสัมภิทา ... นิรุตติปฏิสัมภิทา ... ปฏิภาณปฏิสัมภิทา โดยเป็นส่วน โดยจำแนก เราย่อมบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำให้ง่ายซึ่ง ปฏิภาณปฏิสัมภิทานั้นโดยอเนกปริยาย ก็ผู้ใดแลพึงมีความสงสัยหรือเคลือบแคลง ผู้นั้น พึงถามเรา เราพึงพยากรณ์ พระศาสดาของเราทั้งหลายทรงฉลาดด้วยดี ในธรรมทั้งหลาย ประทับอยู่เฉพาะหน้าของเราทั้งหลาย ฯ [๑๗๓] ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโกฏฐิตะเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึง ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า ดูกรอาวุโส เพราะผัสสายตนะ ๖ ดับสนิทโดยสำรอกไม่เหลือ อะไรๆ อื่นมีอยู่หรือ ท่าน พระสารีบุตรกล่าวว่า ดูกรอาวุโส อย่าได้กล่าวอย่างนี้ ฯ ม. ดูกรอาวุโส เพราะผัสสายตนะ ๖ ดับสนิทโดยสำรอกไม่เหลือ อะไรๆ อื่นไม่มีอยู่หรือ ฯ สา. ดูกรอาวุโส อย่าได้กล่าวอย่างนั้น ฯ ม. ดูกรอาวุโส เพราะผัสสายตนะ ๖ ดับสนิทโดยสำรอกไม่เหลือ อะไรๆ อื่นมีอยู่ด้วย ไม่มีอยู่ด้วยหรือ ฯ สา. ดูกรอาวุโส อย่าได้กล่าวอย่างนั้น ฯ ม. ดูกรอาวุโส เพราะผัสสายตนะ ๖ ดับสนิทโดยสำรอกไม่เหลือ อะไรๆ อื่นมีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็มิใช่หรือ ฯ สา. ดูกรอาวุโส อย่ากล่าวอย่างนั้น ฯ ม. ผมถามว่า ดูกรอาวุโส เพราะผัสสายตนะ ๖ ดับสนิทโดยสำรอก ไม่เหลือ อะไรๆ อื่นมีอยู่หรือ ท่านก็กล่าวว่า ดูกรอาวุโส อย่าได้กล่าวอย่าง นั้น ผมถามว่า ดูกรอาวุโส เพราะผัสสายตนะ ๖ ดับสนิทโดยสำรอกไม่เหลือ อะไรๆ อื่นไม่มีอยู่หรือ ท่านก็กล่าวว่า ดูกรอาวุโส อย่ากล่าวอย่างนั้น ผม ถามว่า ดูกรอาวุโส เพราะผัสสายตนะ ๖ ดับสนิทโดยสำรอกไม่เหลือ อะไรๆ อื่นมีอยู่ด้วย ไม่มีอยู่ด้วยหรือ ท่านก็กล่าวว่า ดูกรอาวุโส อย่าได้กล่าวอย่างนั้น ผมถามว่า ดูกรอาวุโส เพราะผัสสายตนะ ๖ ดับสนิทโดยสำรอกไม่เหลือ อะไรๆ อื่นมีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็มิใช่หรือ ท่านก็กล่าวว่า ดูกรอาวุโส อย่าได้กล่าวอย่าง นั้น ดูกรอาวุโส ก็เนื้อความแห่งคำตามที่ท่านกล่าวแล้วนี้ จะพึงเห็นได้อย่างไร ฯ สา. ดูกรอาวุโส เมื่อกล่าวว่า เพราะผัสสายตนะ ๖ ดับสนิทโดยสำรอก ไม่เหลือ อะไรๆ อื่นมีอยู่หรือ ... ไม่มีอยู่หรือ ... มีอยู่ด้วย ไม่มีอยู่ด้วย หรือ ... มีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็มิใช่หรือ ดังนี้ ชื่อว่าทำความไม่เนิ่นช้าให้เนิ่นช้า ผัสสายตนะ ๖ ยังดำเนินไปเพียงใด ปปัญจธรรมก็ยังดำเนินไปเพียงนั้น ปปัญจ ธรรมยังดำเนินไปเพียงใด ผัสสายตนะ ๖ ก็ยังดำเนินไปเพียงนั้น ดูกรอาวุโส เพราะผัสสายตนะ ๖ ดับสนิทโดยสำรอกไม่เหลือ ปปัญจธรรมก็ดับ สงบระงับ ฯ [๑๗๔] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปหาท่านพระมหาโกฏฐิตะถึงที่ อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระมหาโกฏฐิตะ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกัน ไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระมหาโกฏฐิตะ ดูกรอาวุโส เพราะผัสสายตนะ ๖ ดับสนิทโดยสำรอกไม่เหลือ อะไรๆ อยู่หรือ ท่านพระมหาโกฏฐิตะกล่าวว่า ดูกรอาวุโส อย่าได้กล่าวอย่างนั้น ฯ อา. ดูกรอาวุโส เพราะผัสสายตนะ ๖ ดับสนิทโดยสำรอกไม่เหลือ อะไรๆ อื่นไม่มีอยู่หรือ ฯ ม. ดูกรอาวุโส อย่าได้กล่าวอย่างนั้น ฯ อา. ดูกรอาวุโส เพราะผัสสายตนะ ๖ ดับสนิทโดยสำรอกไม่เหลือ อะไรๆ อื่น มีอยู่ด้วย ไม่มีอยู่ด้วยหรือ ฯ ม. ดูกรอาวุโส อย่าได้กล่าวอย่างนั้น ฯ อา. ดูกรอาวุโส เพราะผัสสายตนะ ๖ ดับสนิทโดยสำรอกไม่เหลือ อะไรๆ อื่นมีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็มิใช่หรือ ฯ ม. ดูกรอาวุโส อย่าได้กล่าวอย่างนั้น ฯ อา. ผมถามว่า เพราะผัสสายตนะ ๖ ดับสนิทโดยสำรอกไม่เหลือ อะไรๆ อื่นมีอยู่หรือ ท่านกล่าวว่า ดูกรอาวุโส อย่าได้กล่าวอย่างนั้น ผมถามว่า ดูกรอาวุโส เพราะผัสสายตนะ ๖ ดับสนิทโดยสำรอกไม่เหลือ อะไรๆ อื่น หรือ ท่านก็กล่าวว่า ดูกรอาวุโส อย่าได้กล่าวอย่างนั้น ผมถามว่า ดูกรอาวุโส เพราะผัสสายตนะ ๖ ดับสนิทโดยสำรอกไม่เหลือ อะไรๆ อื่นมีอยู่ด้วย อยู่ด้วยหรือ ท่านก็กล่าวว่า ดูกรอาวุโส อย่าได้กล่าวอย่างนั้น ผมถามว่า อาวุโส เพราะผัสสายตนะ ๖ ดับสนิทโดยสำรอกไม่เหลือ อะไรๆ อื่นมีอยู่ก็ มิใช่ ไม่มีอยู่ก็มิใช่หรือ ท่านก็กล่าวว่า ดูกรอาวุโส อย่าได้กล่าวอย่างนั้น ดูกรอาวุโส ก็เนื้อความแห่งคำตามที่ท่านกล่าวแล้วนี้ จะพึงเห็นได้อย่างไร ฯ ม. อาวุโส เมื่อกล่าวว่า เพราะผัสสายตนะ ๖ ดับสนิทโดยสำรอก ไม่เหลือ อะไรๆ อื่นมีอยู่หรือ ... ไม่มีอยู่หรือ ... มีอยู่ด้วย ไม่มีอยู่ด้วยหรือ ... มีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็มิใช่หรือ ดังนี้ ชื่อว่าทำความไม่เนิ่นช้าให้เนิ่นช้า ผัสสายตนะ ๖ ยังดำเนินไปเพียงใด ปปัญจธรรมก็ดำเนินไปเพียงนั้น ปปัญจธรรม ยังดำเนินไปเพียงใด ผัสสายตนะ ๖ ก็ดำเนินไปเพียงนั้น ดูกรอาวุโส เพราะ ผัสสายตนะ ๖ ดับสนิทโดยสำรอกไม่เหลือ ปปัญจธรรมก็ดับสนิท สงบระงับ ฯ [๑๗๕] ครั้งนั้นแล ท่านพระอุปวานเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า ดูกรอาวุโส บุคคล กระทำที่สุดแห่งทุกข์ด้วยวิชชาหรือหนอ ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ดูกรอาวุโส ไม่ใช่อย่างนั้น ฯ อุ. ดูกรอาวุโส บุคคลกระทำที่สุดแห่งทุกข์ด้วยจรณะหรือ ฯ สา. ดูกรอาวุโส ไม่ใช่อย่างนั้น ฯ อุ. ดูกรอาวุโส บุคคลกระทำที่สุดแห่งทุกข์ด้วยวิชชาและจรณะหรือ ฯ สา. ดูกรอาวุโส ไม่ใช่อย่างนั้น ฯ อุ. ดูกรอาวุโส บุคคลกระทำที่สุดแห่งทุกข์อื่นจากวิชชาและจรณะหรือ ฯ สา. ดูกรอาวุโส ไม่ใช่อย่างนั้น ฯ อุ. ผมถามว่า ดูกรอาวุโส บุคคลกระทำที่สุดแห่งทุกข์ ด้วยวิชชาหรือ ท่านกล่าวว่า ดูกรอาวุโส ไม่ใช่อย่างนั้น ผมถามว่า ดูกรอาวุโส บุคคลกระทำ ที่สุดแห่งทุกข์ด้วยจรณะหรือ ... ด้วยวิชชาและจรณะหรือ ... อื่นจากวิชชาและ จรณะหรือ ท่านก็กล่าวว่า ดูกรอาวุโส ไม่ใช่อย่างนั้น ดูกรอาวุโส ก็บุคคล กระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้อย่างไรเล่า ฯ สา. ดูกรอาวุโส ถ้าบุคคลจักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ด้วยวิชชาแล้วไซร้ ก็จักเป็นผู้มีอุปาทานเทียวกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ถ้าบุคคลจักกระทำที่สุดได้ด้วย จรณะแล้วไซร้ ก็จักเป็นผู้มีอุปาทานเทียวกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ถ้าบุคคลจัก กระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ด้วยวิชชาและจรณะไซร้ ก็จักเป็นผู้มีอุปาทานเทียวกระทำ ที่สุดแห่งทุกข์ได้ ถ้าบุคคลจักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้นอกจากวิชชาและจรณะไซร้ ปุถุชนก็จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ เพราะปุถุชนเว้นจากวิชชาและจรณะ ดูกร อาวุโส บุคคลผู้มีจรณะวิบัติย่อมไม่รู้ไม่เห็นตามความเป็นจริง บุคคลผู้มีจรณะ สมบูรณ์จึงรู้จึงเห็นตามความเป็นจริง ย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ฯ [๑๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีศรัทธาเมื่อปรารถนาโดยชอบ พึง ปรารถนาอย่างนี้ว่า ขอเราจงเป็นเช่นพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะเถิด ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรและโมคคัลลานะนี้เป็นตราชู เป็นประมาณแห่งภิกษุ ทั้งหลายผู้สาวกของเรา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีผู้มีศรัทธา เมื่อปรารถนาโดยชอบ พึงปรารถนาอย่างนี้ว่า ขอเราจงเป็นเช่นพระเขมาภิกษุณี และพระอุบลวรรณาภิกษุณี เถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เขมาภิกษุณีและอุบลวรรณาภิกษุณีนี้เป็นตราชู เป็น ประมาณแห่งภิกษุณีทั้งหลายผู้สาวิกาของเรา ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้มีศรัทธา เมื่อปรารถนาโดยชอบ พึงปรารถนาอย่างนี้ว่า ขอเราจงเป็นเช่นจิตตคฤหบดีและ หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีเถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตตคฤหบดีและหัตถกอุบาสก ชาวเมืองอาฬวีนี้เป็นตราชู เป็นประมาณแห่งอุบาสกทั้งหลายผู้เป็นสาวกของเรา ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาผู้มีศรัทธาเมื่อปรารถนาโดยชอบ พึงปรารถนาอย่างนี้ว่า ขอเราจงเป็นเช่นนางขุชชุตราอุบาสิกา และนางเวฬุกัณฏกีนันทมารดาเถิด ดูกร ภิกษุทั้งหลาย นางขุชชุตราอุบาสิกา และนางเวฬุกัณฏกีนันทมารดานี้เป็นตราชู เป็นประมาณของอุบาสิกาทั้งหลายผู้สาวิกาของเรา ฯ [๑๗๗] ครั้งนั้นแล ท่านพระราหุลเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มี พระภาคได้ตรัสกะท่านพระราหุลว่า ดูกรราหุล ปฐวีธาตุที่เป็นภายในก็ดี เป็น ภายนอกก็ดี ปฐวีธาตุนั้นก็เป็นแต่สักว่าปฐวีธาตุเท่านั้น พึงเห็นปฐวีธาตุนั้นด้วย ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ ตัวตนของเรา เพราะเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนั้น จิตย่อม เบื่อหน่ายในปฐวีธาตุ ย่อมคลายกำหนัดในปฐวีธาตุ ดูกรราหุล อาโปธาตุที่ เป็นภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี อาโปธาตุนั้นก็เป็นแต่สักว่าอาโปธาตุเท่านั้น พึง เห็นอาโปธาตุนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของตน เพราะเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความ เป็นจริงอย่างนั้น จิตย่อมเบื่อหน่ายในอาโปธาตุ ย่อมคลายกำหนัดในอาโปธาตุ ดูกรราหุล เตโชธาตุที่เป็นภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี เตโชธาตุนั้นก็เป็นแต่ สักว่าเตโชธาตุเท่านั้น พึงเห็นเตโชธาตุนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา เพราะเห็น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนั้น จิตย่อมเบื่อหน่ายในเตโชธาตุ ย่อม คลายกำหนัดในเตโชธาตุ ดูกรราหุล วาโยธาตุที่เป็นภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี วาโยธาตุนั้นก็เป็นแต่สักว่าวาโยธาตุเท่านั้น พึงเห็นวาโยธาตุนั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตน ของเรา เพราะเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนั้น จิตย่อมเบื่อหน่าย ในวาโยธาตุ ย่อมคลายกำหนัดในวาโยธาตุ ดูกรราหุล เพราะเหตุที่ภิกษุพิจารณา เห็นว่ามิใช่ตัวตน ไม่เนื่องในตน ในธาตุ ๔ นี้ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ตัดตัณหาได้ แล้ว รื้อถอนสังโยชน์เสียได้ กระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้แล้วเพราะละมานะได้ โดยชอบ ฯ [๑๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๔ จำพวกเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุเจโตวิมุติอันสงบ อย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ ภิกษุนั้นมนสิการสักกายนิโรธ (ความดับสักกายะ คือ วัฏฏะอันเป็นไปในภูมิ ๓) เมื่อเธอมนสิการสักกายนิโรธอยู่ จิตของเธอย่อมไม่ แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในสักกายนิโรธ เมื่อเป็นเช่นนี้ ภิกษุนั้นแลไม่พึงหวังได้สักกายนิโรธ บุรุษมีมือเปื้อนยางเหนียวจับกิ่งไม้ มือของ เขานั้นพึงจับติดกิ่งไม้อยู่ แม้ฉันใด ภิกษุบรรลุเจโตวิมุติอันสงบอย่างใดอย่างหนึ่ง อยู่ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เธอย่อมมนสิการสักกายนิโรธ เมื่อเธอมนสิการ สักกายนิโรธอยู่ จิตย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปใน สักกายนิโรธ เมื่อเป็นเช่นนี้ ภิกษุนั้นแลไม่พึงหวังได้สักกายนิโรธ อนึ่ง ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ บรรลุเจโตวิมุติอันสงบอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ ภิกษุนั้นย่อม มนสิการสักกายนิโรธ เมื่อเธอมนสิการสักกายนิโรธอยู่ จิตย่อมแล่นไป ย่อม เลื่อมใส ย่อมตั้งอยู่ ย่อมน้อมไปในสักกายนิโรธ เมื่อเป็นเช่นนี้ ภิกษุนั้นแล พึงหวังได้สักกายนิโรธ บุรุษมีมือหมดจดจับกิ่งไม้ มือของเขานั้นไม่พึงจับติดอยู่ ที่กิ่งไม้ แม้ฉันใด ภิกษุบรรลุเจโตวิมุติอันสงบอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ ก็ฉันนั้น เหมือนกันแล เธอย่อมมนสิการสักกายนิโรธ เมื่อเธอมนสิการสักกายนิโรธ จิตย่อมแล่นไป ย่อมเลื่อมใส ย่อมตั้งอยู่ ย่อมน้อมไปในสักกายนิโรธ เมื่อเป็น เช่นนี้ ภิกษุนั้นแลพึงหวังได้สักกายนิโรธ อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุเจโต- *วิมุติอันสงบอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ ภิกษุนั้นย่อมมนสิการ การทำลายอวิชชา เมื่อ เธอมนสิการ การทำลายอวิชชาอยู่ จิตย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในการทำลายอวิชชา เมื่อเป็นเช่นนี้ ภิกษุนั้นแลไม่พึงหวังได้การ ทำลายอวิชชา บ่อน้ำใหญ่นับได้หลายปี คนพึงปิดทางไหลเข้าของบ่อน้ำนั้นเสีย และเปิดทางไหลออกไว้ ทั้งฝนก็ไม่ตกเพิ่มเติมตามฤดูกาล เมื่อเป็นอย่างนี้ บ่อน้ำใหญ่นั้นก็ไม่พึงหวังที่จะมีน้ำล้นขอบออกไปได้ แม้ฉันใด ภิกษุบรรลุเจโต- *วิมุติอันสงบอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เธอย่อมมนสิการ การ ทำลายอวิชชา เมื่อเธอมนสิการ การทำลายอวิชชาอยู่ จิตย่อมไม่แล่นไป ไม่ เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในการทำลายอวิชชา เมื่อเป็นเช่นนี้ ภิกษุนั้นแล ไม่พึงหวังได้การทำลายอวิชชา อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุเจโตวิมุติอัน สงบอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ ภิกษุนั้นมนสิการ การทำลายอวิชชา เมื่อเธอมนสิการ การทำลายอวิชชาอยู่ จิตย่อมแล่นไป ย่อมเลื่อมใส ย่อมตั้งอยู่ ย่อมน้อมไปใน การทำลายอวิชชา เมื่อเป็นเช่นนี้ ภิกษุนั้นพึงหวังได้การทำลายอวิชชา บ่อน้ำ- *ใหญ่นับได้หลายปี คนพึงเปิดทางไหลเข้าของบ่อน้ำนั้นไว้ และปิดทางไหลออก เสีย ทั้งฝนก็ตกเพิ่มเติมตามฤดูกาล เมื่อเป็นอย่างนี้ บ่อน้ำใหญ่นั้นก็พึงหวังที่จะ มีน้ำล้นขอบออกไปได้ แม้ฉันใด ภิกษุบรรลุเจโตวิมุติอันสงบอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุนั้นย่อมมนสิการ การทำลายอวิชชา เมื่อเธอมนสิการ การทำลายอวิชชาอยู่ จิตย่อมแล่นไป ย่อมเลื่อมใส ย่อมตั้งอยู่ ย่อมน้อมไป ในการทำลายอวิชชา เมื่อเป็นเช่นนี้ ภิกษุนั้นแลพึงหวังได้การทำลายอวิชชา ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกเหล่านี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ [๑๗๙] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า ดูกรอาวุโส- *สารีบุตร อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ ไม่ ปรินิพพานในปัจจุบัน ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูกรอาวุโสอานนท์ สัตว์ ทั้งหลายในโลกนี้ ไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงว่า นี้หานิภาคิยสัญญา (สัญญา ฝ่ายเสื่อม) นี้ฐิติภาคิยสัญญา (สัญญาฝ่ายดำรงอยู่) นี้วิเสสภาคิยสัญญา (สัญญาฝ่ายวิเศษ) นี้นิพเพธภาคิยสัญญา (สัญญาฝ่ายชำแรกกิเลส) ดูกรอาวุโส อานนท์ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ ไม่ปรินิพพาน ในปัจจุบัน ฯ อา. ดูกรอาวุโสสารีบุตร ก็อะไรเล่าเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้สัตว์ บางพวกในโลกนี้ ปรินิพพานในปัจจุบัน ฯ สา. ดูกรอาวุโสอานนท์ สัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ ย่อมทราบชัดตามความ เป็นจริงว่า นี้หานิภาคิยสัญญา นี้ฐิติภาคิยสัญญา นี้วิเสสภาคิยสัญญา นี้นิพเพธภาคิยสัญญา ดูกรอาวุโสอานนท์ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้สัตว์ บางพวกในโลกนี้ ปรินิพพานในปัจจุบัน ฯ [๑๘๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อานันทเจดีย์ใกล้ โภคนคร ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เราจักแสดงมหาประเทศ ๔ นี้ เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เรา จักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มหาประเทศ ๔ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าว อย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโส ข้อนี้ข้าพเจ้าได้สดับมา ได้รับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้ มีพระภาคว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายไม่พึงยินดี ไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของภิกษุนั้น ครั้นแล้วพึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี แล้วพึงเทียบเคียงในพระสูตร พึงสอบสวนในพระวินัย ถ้าเมื่อเทียบเคียงในพระสูตร สอบสวนในพระวินัย บทและพยัญชนะเหล่านั้น เทียบเคียงกันไม่ได้ในพระสูตร สอบสวนกันไม่ได้ ในพระวินัย ในข้อนี้พึงลงสันนิษฐานได้ว่า นี้มิใช่คำของพระผู้มีพระภาคอรหันต- *สัมมาสัมพุทธเจ้าแน่แท้ ภิกษุนี้รับมาผิดแล้ว เธอทั้งหลายพึงทิ้งคำนี้เสียทีเดียว อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโส ข้อนี้ข้าพเจ้าได้สดับมา ได้รับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำ- *สั่งสอนของพระศาสดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายไม่พึงยินดี ไม่พึง คัดค้านคำกล่าวของภิกษุนั้น ครั้นแล้วพึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี แล้วเทียบเคียงในพระสูตร สอบสวนในพระวินัย ถ้าเมื่อเทียบเคียงในพระสูตร สอบสวนในพระวินัย บทและพยัญชนะเหล่านั้น เทียบเคียงกันได้ในพระสูตร สอบสวนกันได้ในพระวินัย ในข้อนี้พึงลงสันนิษฐานได้ว่า นี้เป็นคำของพระผู้ มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแน่แท้ และภิกษุนี้รับมาดีแล้ว ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย นี้เป็นมหาประเทศข้อที่ ๑ เธอทั้งหลายพึงทรงจำไว้ ฯ อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า สงฆ์อยู่ในอาวาสชื่อโน้น พร้อมทั้งพระเถระพร้อมทั้งท่านที่เป็นประธาน ข้าพเจ้าได้สดับมา ได้รับมาเฉพาะ หน้าสงฆ์นั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายไม่พึงยินดี ไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของภิกษุนั้น ครั้นแล้วพึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี แล้วเทียบเคียงในพระสูตร สอบ สวนในพระวินัย ถ้าเมื่อเทียบเคียงในพระสูตร สอบสวนในพระวินัย บทและ พยัญชนะเหล่านั้น เทียบเคียงกันไม่ได้ในพระสูตร สอบสวนกันไม่ได้ในพระวินัย ในข้อนี้พึงลงสันนิษฐานได้ว่า นี้มิใช่คำของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัม- *พุทธเจ้าแน่แท้ และสงฆ์นั้นรับมาผิดแล้ว เธอทั้งหลายพึงทิ้งคำนี้เสียทีเดียว อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า สงฆ์อยู่ในอาวาสชื่อโน้น พร้อมทั้งพระเถระ พร้อมทั้งท่านที่เป็นประธาน ข้าพเจ้าได้สดับมา ได้รับมาเฉพาะหน้าสงฆ์นั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายไม่พึงยินดี ไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของภิกษุนั้น ครั้นแล้วพึงเรียนบท และพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี แล้วเทียบเคียงในพระสูตร สอบสวนในพระวินัย ถ้าเมื่อเทียบเคียงในพระสูตร สอบสวนในพระวินัย บทและพยัญชนะเหล่านั้น เทียบเคียงกันได้ในพระสูตร สอบสวนกันได้ในพระวินัย ข้อนี้พึงลงสันนิษฐาน ได้ว่า นี้เป็นคำของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมพุทธเจ้าแน่แท้ และสงฆ์นั้นรับมา ดีแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นมหาประเทศข้อที่ ๒ เธอทั้งหลายพึงทรงจำไว้ ฯ อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุผู้เป็นพระเถระมาก ด้วยกันอยู่ในอาวาสชื่อโน้น เป็นพหูสูต ชำนาญในนิกาย ๑- ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้สดับมา รับมาเฉพาะหน้าพระเถระเหล่านั้น ... ข้าพเจ้าได้ สดับมารับมาเฉพาะหน้าพระเถระเหล่านั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำ สั่งสอนของพระศาสดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายไม่พึงยินดี ไม่พึงคัดค้าน คำกล่าวของภิกษุนั้น ครั้นแล้ว พึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี แล้วพึง เทียบเคียงในพระสูตร สอบสวนในพระวินัย ถ้าเมื่อเทียบเคียงในพระสูตร สอบสวนในพระวินัย บทและพยัญชนะเหล่านั้นเทียบเคียงกันได้ในพระสูตร @๑. นิกาย ๕ คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตตรนิกาย ขุททกนิกาย สอบสวนกันได้ในพระวินัย ในข้อนี้พึงลงสันนิษฐานได้ว่า นี้เป็นคำของพระผู้ มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นแน่แท้ และพระเถระเหล่านั้นรับ มาดีแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นมหาประเทศข้อที่ ๓ เธอทั้งหลายพึงทรง จำไว้ ฯ อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุผู้เป็นเถระรูปหนึ่ง อยู่ในอาวาสชื่อโน้น เป็นพหูสูต ชำนาญในนิกาย ทรงธรรม ทรงวินัย ทรง มาติกา ข้าพเจ้าได้สดับมา ได้รับมาเฉพาะหน้าพระเถระรูปนั้น ... ข้าพเจ้าได้ สดับมา ได้รับมาเฉพาะหน้าพระเถระรูปนั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็น คำสั่งสอนของพระศาสดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายไม่พึงยินดี ไม่พึง คัดค้านคำกล่าวของภิกษุนั้น ครั้นแล้ว พึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี แล้วพึงเทียบเคียงในพระสูตร สอบสวนในพระวินัย ถ้าเมื่อเทียบเคียงใน พระสูตร สอบสวนในพระวินัย บทและพยัญชนะเหล่านั้นเทียบเคียงกันได้ใน พระสูตร สอบสวนกันได้ในพระวินัย ในข้อนี้พึงลงสันนิษฐานได้ว่า นี้เป็นคำ ของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นแน่แท้ และพระเถระ รูปนั้นรับมาดีแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นมหาประเทศข้อที่ ๔ เธอทั้งหลาย พึงทรงจำไว้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย มหาประเทศ ๔ นี้แล ฯ
จบสัญเจตนิยวรรคที่ ๓
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ บรรทัดที่ ๔๓๐๐-๔๖๑๖ หน้าที่ ๑๘๕-๑๙๗. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=21&A=4300&Z=4616&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=21&siri=134              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=171              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [171-180] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=21&item=171&items=10              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=9001              The Pali Tipitaka in Roman :- [171-180] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=21&item=171&items=10              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=9001              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ https://84000.org/tipitaka/read/?index_21              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i171-e.php# https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i171-e2.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an04/an04.174.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an04/an04.178.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an04/an04.179.than.html https://suttacentral.net/an4.171/en/sujato https://suttacentral.net/an4.172/en/sujato https://suttacentral.net/an4.173/en/sujato https://suttacentral.net/an4.173/en/thanissaro https://suttacentral.net/an4.174/en/sujato https://suttacentral.net/an4.175/en/sujato https://suttacentral.net/an4.176/en/sujato https://suttacentral.net/an4.177/en/sujato https://suttacentral.net/an4.178/en/sujato https://suttacentral.net/an4.178/en/thanissaro https://suttacentral.net/an4.179/en/sujato https://suttacentral.net/an4.179/en/thanissaro https://suttacentral.net/an4.180/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :