ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
ปหานสูตร
[๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ เพื่อ ตัดสังโยชน์ ๗ ประการ ๗ ประการเป็นไฉน คือ สังโยชน์ คือ ความยินดี ๑ ความยินร้าย ๑ ความเห็นผิด ๑ ความสงสัย ๑ มานะ ๑ ความกำหนัดในภพ ๑ อวิชชา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ เพื่อตัด สังโยชน์ ๗ ประการนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุละสังโยชน์ คือ ความยินดีเสียได้ ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ละสังโยชน์ คือความยินร้าย ฯลฯ สังโยชน์คือ ความเห็นผิด ฯลฯ สังโยชน์คือความสงสัย ฯลฯ สังโยชน์คือมานะ ฯลฯ สังโยชน์คือความกำหนัดในภพ ฯลฯ สังโยชน์คืออวิชชาเสียได้ ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา เมื่อนั้น ภิกษุนี้ เรากล่าวว่า ตัดตัณหาได้ขาดแล้ว เพิกถอนสังโยชน์ได้แล้ว กระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้แล้ว เพราะตรัสรู้คือละมานะเสียได้โดยชอบ ฯ
จบสูตรที่ ๙
มัจฉริยสูตร
[๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์ ๗ ประการนี้ ๗ ประการเป็นไฉน คือ สังโยชน์คือ ความยินดี ๑ ความยินร้าย ๑ ความเห็นผิด ๑ ความสงสัย ๑ มานะ ๑ ความริษยา ๑ ความตระหนี่ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์ ๗ ประการนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบธนวรรคที่ ๑
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อัปปิยสูตรที่ ๑ ๒. อัปปิยสูตรที่ ๒ ๓. พลสูตรที่ ๑ ๔. พลสูตรที่ ๒ ๕. ธนสูตรที่ ๑ ๖. ธนสูตรที่ ๒ ๗. อุคคสูตร ๘. สังโยชนสูตร ๙. ปหานสูตร ๑๐. มัจฉริยสูตร
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ บรรทัดที่ ๑๖๔-๑๘๘ หน้าที่ ๘. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=23&A=164&Z=188&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=23&siri=9              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=9              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [9-10] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=23&item=9&items=2              The Pali Tipitaka in Roman :- [9-10] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=23&item=9&items=2              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_23              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i001-e.php#sutta9 https://suttacentral.net/an7.9/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :