บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
๑๐. อนุรุทธสูตร [๑๒๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าเภสกลามิคทายวัน แขวงเมืองสุงสุมารคิระ แคว้นภัคคชนบท ก็โดยสมัยนั้น ท่านพระอนุรุทธะอยู่ ที่วิหารปาจีนวังสทายวัน แคว้นเจดีย์ ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธะหลีกออกเร้นอยู่ ในที่ลับ เกิดความปริวิตกทางใจอย่างนี้ว่า ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีความ ปรารถนาน้อย มิใช่ของบุคคลผู้มีความปรารถนามาก ของบุคคลผู้สันโดษ มิใช่ ของบุคคลผู้ไม่สันโดษ ของบุคคลผู้สงัด มิใช่ของบุคคลผู้ยินดีในการคลุกคลีด้วย หมู่คณะ ของบุคคลผู้ปรารภความเพียร มิใช่ของบุคคลผู้เกียจคร้าน ของบุคคลผู้ มีสติตั้งมั่น มิใช่ของบุคคลผู้มีสติหลงลืม ของบุคคลผู้มีจิตมั่นคง มิใช่ของบุคคล ผู้มีจิตไม่มั่นคง ของบุคคลผู้มีปัญญา มิใช่ของบุคคลผู้มีปัญญาทราม ฯ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบความปริวิตกทางใจของท่านพระอนุรุทธะ แล้ว เสด็จจากเภสกลามิคทายวัน แขวงสุงสุมารคิระ แคว้นภัคคชนบท ไป ปรากฏเฉพาะหน้าท่านอนุรุทธะที่วิหารปาจีนวังสทายวัน เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลัง เหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนอาสนะ ที่จัดไว้ถวายแล้ว แม้ท่านพระอนุรุทธะถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระอนุรุทธะว่า ดีแล้วๆ อนุรุทธะ ถูกละ ที่เธอตรึกมหาปุริสวิตกว่าธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีความปรารถนาน้อย มิใช่ของบุคคลผู้มีความปรารถนามาก ... ของบุคคลผู้มีปัญญา มิใช่ของบุคคลผู้มี ปัญญาทราม ดูกรอนุรุทธะ ถ้าอย่างนั้น เธอจงตรึกมหาปุริสวิตกข้อที่ ๘ นี้ว่า ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่ไม่ทำให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ไม่ ทำให้เนิ่นช้า มิใช่ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่ทำให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ทำ ให้เนิ่นช้า ดูกรอนุรุทธะ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ ในกาลนั้น เธอจักหวังได้ทีเดียวว่า จักสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุ ปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ในกาลใดแล เธอจักตรึก มหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ ในกาลนั้น เธอจักหวังได้ทีเดียวว่า จักบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร เพราะวิตก วิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ ในการนั้น เธอจักหวังได้ทีเดียวว่า จักมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ในกาลใดแล เธอ จักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ ในกาลนั้น เธอจักหวังได้ทีเดียวว่า จักบรรลุ จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ และจักเป็นผู้มีปรกติได้ตามปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่ง ฌาน ๔ นี้อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ในกาลนั้น ผ้าบังสุกุล จีวรจักปรากฏแก่เธอ ผู้สันโดษ อยู่ด้วยความยินดี ด้วยความไม่หวาดเสียว ด้วย ความอยู่เป็นสุข ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนหีบใส่ผ้าของคฤหบดี หรือบุตรแห่งคฤหบดี อันเต็มไปด้วยผ้าสีต่างๆ ฉะนั้น ดูกรอนุรุทธะ ในกาลใด แล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ และจักเป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ นี้อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขใน ปัจจุบัน ในกาลนั้น โภชนะ คือ คำข้าวที่ได้มาด้วยปลีแข้ง จักปรากฏแก่เธอผู้ สันโดษ ... ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนข้าวสุก (หุงจาก) ข้าวสาลี คัดเอาดำออกแล้ว มีแกงและกับหลายอย่าง ของคฤหบดีและบุตรแห่งคฤหบดี ฉะนั้น ดูกรอนุรุทธะ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ และ จักเป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ นี้อันมีในจิต ยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ในกาลนั้น เสนาสนะ คือ โคนไม้ จัก ปรากฏแก่เธอผู้สันโดษ ... ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนเรือนยอด ของคฤหบดีหรือบุตรของคฤหบดี ฉาบทาไว้ดีแล้ว ปราศจากลม ลงลิ่มสลักมิด ชิด ปิดหน้าต่างสนิท ฉะนั้น ดูกรอนุรุทธะ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริส- *วิตก ๘ ประการนี้ และจักเป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ นี้อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ในกาลนั้น ที่นอน ที่นั่งอันลาดด้วยหญ้า จักปรากฏแก่เธอผู้สันโดษ ... ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนบัลลังก์ของคฤหบดีหรือบุตรของคฤหบดี อันลาดด้วยผ้าโกเชาว์ขน ยาว ลาดด้วยขนแกะสีขาว ลาดด้วยผ้าสัณฐานเป็นช่อดอกไม้ มีเครื่องลาดอย่างดี ทำด้วยหนังชะมด มีเครื่องลาดเพดานแดง มีหมอนข้างแดงสองข้าง ฉะนั้น ดูกร อนุรุทธะ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ และจักเป็นผู้ได้ ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ นี้อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ในกาลนั้น ยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า จักปรากฏ แก่เธอผู้สันโดษ ... ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนเภสัชต่างๆ คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ของคฤหบดีหรือบุตรของคฤหบดี ฉะนั้น ฯ ดูกรอนุรุทธะ ถ้าอย่างนั้น เธอพึงอยู่จำพรรษาที่วิหารปาจีนวังสทายวัน แคว้นเจดีย์นี้แหละ ต่อไปอีกเถิด ท่านพระอนุรุทธะทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสสอนท่านพระอนุรุทธะด้วยพระโอวาทนี้แล้ว เสด็จจากวิหารปาจีนวังสทายวัน แคว้นเจดีย์นคร ไปปรากฏที่ป่าเภสกลามิคทายวัน แขวงเมืองสุงสุมารคิระ แคว้นภัคคะ เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนอาสนะที่จัดไว้ถวายแล้ว ครั้นแล้วตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมหาปุริสวิตก ๘ ประการ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟัง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มหาปุริสวิตก ๘ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีความ ปรารถนาน้อย มิใช่ของบุคคลผู้มีความปรารถนามาก ๑ ธรรมนี้เป็นของบุคคลผู้ สันโดษ มิใช่ของบุคคลผู้ไม่สันโดษ ๑ ธรรมนี้ของบุคคลผู้สงัด มิใช่ของบุคคล ผู้ชอบคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ๑ ธรรมนี้ของบุคคลผู้ปรารภความเพียร มิใช่ของบุคคล ผู้เกียจคร้าน ๑ ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น มิใช่ของผู้มีสติหลงลืม ๑ ธรรมนี้ ของบุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น มิใช่ของบุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ๑ ธรรมนี้ของบุคคลผู้มี ปัญญา มิใช่ของบุคคลผู้มีปัญญาทราม ๑ ธรรมนี้ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่ ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า มิใช่ของบุคคลผู้ชอบ ใจในธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ๑ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของ บุคคลผู้มีความปรารถนาน้อย มิใช่ธรรมของบุคคลผู้มีความปรารถนามาก เราอาศัย อะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความปรารถนา น้อยย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า มีความปรารถนาน้อย เป็นผู้ สันโดษย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้สันโดษ เป็นผู้สงัด ย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้สงัด เป็นผู้ปรารภความเพียร ย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า ปรารภความเพียร เป็นผู้มีสติ ตั้งมั่นย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า มีสติตั้งมั่น เป็นผู้มีจิตมั่นคง ย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้มีจิตมั่นคง เป็นผู้มีปัญญา ย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า มีปัญญา เป็นผู้ชอบใจในธรรมที่ ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้าย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้ชอบใจ ในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของ บุคคลผู้มีความปรารถนาน้อย มิใช่ของบุคคลผู้มีความปรารถนามาก ดังนี้ เรา อาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้สันโดษ มิใช่ ของบุคคลผู้ไม่สันโดษ เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรม วินัยนี้ เป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัช บริขาร ตามมีตามได้ ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้ สันโดษ มิใช่ของบุคคลผู้ไม่สันโดษ ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้สงัด มิใช่ของ บุคคลผู้ชอบใจการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ และสาวกแห่งเดียรถีย์ เข้าไปหาภิกษุนั้น ภิกษุมีจิตน้อมไป โอนไป เงื้อมไปในวิเวก ตั้งอยู่ในวิเวก ยินดีในเนกขัมมะ ย่อมกล่าวกถาอันปฏิสังยุต ด้วยถ้อยคำตามสมควร ในสมาคมนั้นโดยแท้ ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้สงัด มิใช่ของบุคคลผู้ชอบใจการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้ปรารภความเพียร มิใช่ของบุคคลผู้เกียจคร้าน เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความถึงพร้อม แห่งกุศลธรรม มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม ข้อที่ เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้ปรารภความเพียร มิใช่ของ บุคคลผู้เกียจคร้าน ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น มิใช่ของบุคคลผู้มีสติหลงลืม เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติเครื่องรักษาตัวอย่างยิ่ง ระลึกนึกถึง กิจที่ทำคำที่พูดแม้นานได้ ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคล ผู้มีสติตั้งมั่น มิใช่ของบุคคลผู้มีสติหลงลืม ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีจิตมั่นคง มิใช่ของบุคคลผู้มีจิตไม่มั่นคง เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีจิตมั่นคง มิใช่ของบุคคลผู้มีจิตไม่มั่นคง ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีปัญญา มิใช่ ของบุคคลผู้มีปัญญาทราม เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเครื่องพิจารณาความเกิดและ ความดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีปัญญา มิใช่ของบุคคลผู้มีปัญญาทราม ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรม ที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า มิใช่ของบุคคล ผู้ชอบใจในธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า เรา อาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่นอยู่ในความดับกิเลสเป็นเครื่องเนิ่นช้า ย่อมหลุดพ้น ข้อที่เรา กล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้ เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า มิใช่ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรม ที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้ กล่าวแล้ว ฯ ครั้งนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะอยู่จำพรรษาที่วิหารปาจีนวังสทายวัน แคว้น เจดีย์นครนั้นนั่นแล ต่อไปอีก ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธะหลีกออกจากหมู่อยู่ ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ไม่นานนัก ก็กระทำให้แจ้ง ซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิต โดยชอบต้องการนั้นด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติ สิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความ เป็นอย่างนี้มิได้มี ก็ท่านพระอนุรุทธะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่งในจำนวนพระ- *อรหันต์ทั้งหลาย ลำดับนั้น ท่านพระอนุรุทธะบรรลุอรหัตแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ไว้ ในเวลานั้นว่า พระศาสดาผู้เป็นเยี่ยมในโลก ทรงทราบความดำริของเราแล้ว ได้เข้ามาหาเราด้วยฤทธิ์ทางพระกายอันสำเร็จแต่พระหฤทัย พระองค์ได้ทรงแสดงธรรมอันยิ่งกว่าความดำริของเราเท่าที่ดำริ ไว้ พระพุทธเจ้าผู้ยินดีแล้วในธรรมอันไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ได้ทรงแสดงซึ่งธรรมอันไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า เราได้รู้ทั่วถึง ธรรมของพระองค์แล้ว ยินดีในศาสนาอยู่ เราได้บรรลุ วิชชา ๓ แล้วโดยลำดับ คำสอนของพระพุทธเจ้าเรา กระทำแล้ว ฯจบคหปติวรรคที่ ๓ ----------------------------------------------------- รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. อุคคสูตรที่ ๑ ๒. อุคคสูตรที่ ๒ ๓. หัตถสูตรที่ ๑ ๔. หัตถสูตรที่ ๒ ๕. มหานามสูตร ๖. ชีวกสูตร ๗. พลสูตรที่ ๑ ๘. พลสูตรที่ ๒ ๙. อักขณสูตร ๑๐. อนุรุทธสูตร ฯ----------------------------------------------------- เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ บรรทัดที่ ๔๗๑๗-๔๘๗๖ หน้าที่ ๒๐๔-๒๑๐. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=23&A=4717&Z=4876&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=23&siri=103 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=120 ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [120] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=23&item=120&items=1 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=5591 The Pali Tipitaka in Roman :- [120] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=23&item=120&items=1 The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=5591 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_23 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i111-e.php#sutta10 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an08/an08.030.than.html http://www.buddha-vacana.org/sutta/anguttara/08/an08-030.html https://suttacentral.net/an8.30/en/sujato https://suttacentral.net/an8.30/en/bodhi
บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]