ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
ขฬุงคสูตร
[๒๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงม้ากระจอก ๓ ประเภท คน กระจอก ๓ ประเภท ม้าดี ๓ ประเภท คนดี ๓ ประเภท ม้าอาชาไนยตัวเจริญ ๓ ประเภท และบุรุษอาชาไนยผู้เจริญ ๓ ประเภท เธอทั้งหลายจงฟัง ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ม้ากระจอก ๓ ประเภทเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ม้ากระจอกในโลกนี้บางตัวมีฝีเท้าดี สีไม่ดี ใช้ขับขี่ไม่ได้ ๑ บางตัวมีฝีเท้าดี สีดี แต่ใช้ขับขี่ไม่ได้ ๑ และบางตัวมีฝีเท้าดี สีดี ทั้งใช้ขับขี่ได้ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ม้ากระจอก ๓ ประเภทนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็คนกระจอก ๓ ประเภทเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนกระจอกในโลกนี้ บางคนสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ดี ไม่สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ ใช้ไม่- *ได้ ๑ บางคนสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ แต่ใช้ไม่ได้ ๑ และ บางคนสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ และใช้ได้ ๑ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย คนกระจอก ๓ ประเภทนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็คนกระจอกที่สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ ไม่สมบูรณ์ด้วย คุณสมบัติ ใช้ไม่ได้อย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตาม เป็นจริงว่านี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ข้อนี้ เรากล่าวว่าเป็นเชาวน์ของเธอ และเมื่อเธอถูกถามปัญหาในอภิธรรม ในอภิวินัย ก็แก้ได้ แต่ให้สำเร็จประโยชน์ไม่ได้ ข้อนี้เรากล่าวว่าไม่เป็นคุณสมบัติของเธอ และเธอไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร นี้เรากล่าวว่า ใช้ไม่ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนกระจอกสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วย คุณสมบัติ และใช้ไม่ได้อย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็คนกระจอกที่สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยคุณ- *สมบัติ แต่ใช้ไม่ได้อย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัย ย่อมรู้ชัดตาม เป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ข้อนี้ เรากล่าวว่าเป็นเชาวน์ของเธอ และเมื่อเธอถูกถามปัญหาในอภิธรรม ในอภิวินัย ก็แก้ได้ และให้สำเร็จประโยชน์ได้ ข้อนี้เรากล่าวว่าเป็นคุณสมบัติของเธอ แต่ เธอไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ข้อนี้เรากล่าวว่า ใช้ไม่ได้ของเธอ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนกระจอกสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ ด้วยคุณสมบัติ แต่ใช้ไม่ได้ อย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็คนกระจอกที่สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วย คุณสมบัติและใช้ได้อย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัด ตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ข้อนี้เรากล่าวว่าเป็นเชาวน์ของเธอ และเธอเมื่อถูกถามปัญหาในอภิธรรม ใน อภิวินัย ก็แก้ได้ และให้สำเร็จประโยชน์ได้ ข้อนี้เรากล่าวว่า เป็นคุณสมบัติของเธอ และเธอได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ข้อนี้เรา กล่าวว่าใช้ได้ของเธอ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนกระจอกสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ ด้วยคุณสมบัติ และใช้ได้อย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ม้าดี ๓ ประเภทเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ม้าดี ในโลกนี้ บางตัวมีฝีเท้าดี สีไม่ดี ใช้ขับขี่ไม่ได้ ๑ บางตัวมีฝีเท้าดี สีดี แต่ใช้ ขับขี่ไม่ได้ ๑ และบางตัวฝีเท้าดี สีดี ทั้งใช้ขับขี่ได้ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ม้าดี ๓ ประเภทนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนดี ๓ ประเภทเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนใน โลกนี้บางคนสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ ไม่สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ ใช้ไม่ได้ ๑ บางคน สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ แต่ใช้ไม่ได้ ๑ และบางคนสมบูรณ์ ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ และใช้ได้ ๑ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็คนดีที่สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ และใช้ได้อย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะโอรัมภาคิย- *สังโยชน์ ๕ สิ้นไป เป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลก นั้นเป็นธรรมดา ข้อนี้เรากล่าวว่าเป็นเชาวน์ของเธอ และเมื่อเธอถูกถามปัญหาใน อภิธรรม ในอภิวินัย ก็แก้ได้ และยังประโยชน์ให้สำเร็จได้ ข้อนี้เรากล่าวว่าเป็น คุณสมบัติของเธอ และเธอได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัย เภสัชบริขาร ข้อนี้เรากล่าวว่าเป็นการใช้ได้ของเธอ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนดีที่ สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติและใช้ได้ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย คนดี ๓ ประเภทนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ม้าอาชาไนยตัวเจริญ ๓ ประเภทเป็นไฉน ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ม้าอาชาไนยตัวเจริญในโลกนี้ บางตัวมีฝีเท้าดี สีไม่ดี ใช้ขับขี่ไม่ได้ ๑ บางตัวมีฝีเท้าดี สีดี แต่ใช้ขับขี่ไม่ได้ ๑ บางตัวฝีเท้าดี สีดี และใช้ขับขี่ได้ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยตัวเจริญ ๓ ประเภทนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ ๓ ประเภทเป็นไฉน ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย บุรุษอาชาไนยผู้เจริญในโลกนี้ บางคนสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ แต่ไม่ สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ และใช้ไม่ได้ ๑ บางคนสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วย คุณสมบัติ แต่ใช้ไม่ได้ ๑ บางคนสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ และใช้ได้ ๑ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษอาชาไนยผู้เจริญที่สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ แต่ไม่ สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ และใช้ไม่ได้ อย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษอาชาไนย ผู้เจริญในโลกนี้ กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ข้อนี้ เรากล่าวว่าเป็นเชาวน์ของเธอ เธอถูกถามปัญหาในอภิธรรม ในอภิวินัย ก็แก้ได้ แต่ไม่ยังประโยชน์ให้สำเร็จ ข้อนี้เรากล่าวว่าไม่เป็นคุณสมบัติของเธอ และเธอ ไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ข้อนี้เรากล่าวว่า เป็นการใช้ไม่ได้ของเธอ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ สมบูรณ์ด้วย เชาวน์ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ และใช้ไม่ได้ อย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ และ สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ แต่ใช้ไม่ได้อย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษอาชาไนย ผู้เจริญในโลกนี้ ... ข้อนี้เรากล่าวว่า เป็นคุณสมบัติของเธอ แต่เธอไม่ได้จีวร ... ข้อนี้เรากล่าวว่า เป็นการใช้ไม่ได้ของเธอ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษอาชาไนย สมบูรณ์ด้วยเชาวน์และสมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ แต่ใช้ไม่ได้ อย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุรุษอาชาไนยผู้เจริญในโลกนี้ สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ และใช้ได้อย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษอาชาไนย ผู้เจริญในโลกนี้ กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ข้อนี้ เรากล่าวว่าเป็นเชาวน์ของเธอ เธอเมื่อถูกถามปัญหาในอภิธรรม ในอภิวินัย ก็ แก้ได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จได้ ข้อนี้เรากล่าวว่าเป็นคุณสมบัติของเธอ และเธอ ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ข้อนี้เรากล่าวว่า เป็นการใช้ได้ของเธอ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ และใช้ได้อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษอาชาไนย ผู้เจริญ ๓ ประเภทนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๒

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ บรรทัดที่ ๘๔๓๕-๘๕๒๒ หน้าที่ ๓๖๔-๓๖๘. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=23&A=8435&Z=8522&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=23&siri=185              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=226              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [226] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=23&item=226&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=6847              The Pali Tipitaka in Roman :- [226] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=23&item=226&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=6847              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_23              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i225-e.php#sutta2 https://suttacentral.net/an9.22/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :