ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
มหาปัญหาสูตรที่ ๒
[๒๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าไผ่ ใกล้กชังคลนคร ครั้งนั้นแล อุบาสกชาวเมืองกชังคละมากด้วยกัน เข้าไปหากชังคลาภิกษุณีถึงที่อยู่ อภิวาทกชังคลาภิกษุณีแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ถามกชังคลา ภิกษุณีว่า ข้าแต่แม่เจ้า พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ในมหาปัญหา ทั้งหลายว่า ปัญหา ๑ อุเทศ ๑ ไวยากรณ์ ๑ ปัญหา ๒ อุเทศ ๒ ไวยากรณ์ ๒ ปัญหา ๓ อุเทศ ๓ ไวยากรณ์ ๓ ปัญหา ๔ อุเทศ ๔ ไวยากรณ์ ๔ ปัญหา ๕ อุเทศ ๕ ไวยากรณ์ ๕ ปัญหา ๖ อุเทศ ๖ ไวยากรณ์ ๖ ปัญหา ๗ อุเทศ ๗ ไวยากรณ์ ๗ ปัญหา ๘ อุเทศ ๘ ไวยากรณ์ ๘ ปัญหา ๙ อุเทศ ๙ ไวยากรณ์ ๙ ปัญหา ๑๐ อุเทศ ๑๐ ไวยากรณ์ ๑๐ ดังนี้ ข้าแต่แม่เจ้า เนื้อความแห่ง พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสโดยย่อนี้ จะพึงเห็นโดยพิสดารได้อย่างไรหนอ ฯ กชังคลาภิกษุณีตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระดำรัสนี้เราได้สดับ รับฟังมาแล้ว ในที่เฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคก็หามิได้ เราได้สดับรับฟัง มาแล้ว ในที่เฉพาะหน้าของภิกษุทั้งหลายผู้สำเร็จทางใจก็หามิได้ ก็แต่ว่าเนื้อความ ในพระพุทธภาษิตนี้ย่อมปรากฏแก่เราอย่างไร ท่านทั้งหลายจงฟังเนื้อความแห่งพระ พุทธภาษิตนั้นอย่างนั้น จงทำไว้ในใจให้ดี เราจักกล่าว พวกอุบาสกชาวเมือง กชังคละ รับคำของกชังคลาภิกษุณีแล้ว กชังคลาภิกษุณีได้กล่าวว่า ก็พระดำรัส

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๖๐.

ที่พระผู้มีพระภาคได้ตรัสแล้วว่า ปัญหา ๑ อุเทศ ๑ ไวยากรณ์ ๑ ดังนี้ พระองค์ ทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัด โดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรมอย่าง ๑ ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน ในธรรมอย่าง ๑ เป็นไฉน คือ สัตว์ทั้งปวงมีอาหารเป็นที่ตั้ง ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุ ประโยชน์โดยชอบ ในธรรมอย่าง ๑ นี้แล ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วว่า ปัญหา ๑ อุเทศ ๑ ไวยากรณ์ ๑ ดังนี้ พระองค์ทรงอาศัยข้อนี้ตรัสแล้ว ฯ ก็พระดำรัสที่พระองค์ตรัสว่า ปัญหา ๒ อุเทศ ๒ ไวยากรณ์ ๒ ดังนี้ พระองค์ทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุ ประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๒ อย่าง ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน ในธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ในนาม ๑ ในรูป ๑ ... ฯ ก็พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ปัญหา ๓ อุเทศ ๓ ไวยากรณ์ ๓ ดังนี้ พระองค์ทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่าย โดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๓ อย่าง ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน ในธรรม ๓ อย่างเป็นไฉน คือ ในเวทนา ๓ ... ฯ ก็พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ปัญหา ๔ อุเทศ ๔ ไวยากรณ์ ๔ ดังนี้ พระองค์ทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีจิตอัน อบรมดีแล้วโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๔ อย่าง ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน ในธรรม ๔ อย่างเป็นไฉน คือ ในสติปัฏฐาน ๔ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีจิตอันอบรมดีแล้วโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๔ อย่างนี้แล

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๖๑.

ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ปัญหา ๔ อุเทศ ๔ ไวยากรณ์ ๔ ดังนี้ พระองค์ทรงอาศัยข้อนี้ตรัสแล้ว ฯ ก็พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ปัญหา ๕ อุเทศ ๕ ไวยากรณ์ ๕ ดังนี้ พระองค์ทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีจิตอันอบรม ดีแล้วโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๕ อย่าง ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน ในธรรม ๕ อย่างเป็นไฉน คือ ในอินทรีย์ ๕ ... ในธรรม ๖ อย่างเป็นไฉน คือ ในนิสสรณียธาตุ ๖ ... ในธรรม ๗ อย่างเป็นไฉน คือ ในโพชฌงค์ ๗ ... ในธรรม ๘ อย่างเป็นไฉน คือ ใน อริยมรรคมีองค์ ๘ ... ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีจิตอันอบรมดีแล้วโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๘ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ปัญหา ๘ อุเทศ ๘ ไวยากรณ์ ๘ ดังนี้ พระองค์ทรงอาศัยข้อนี้ตรัสแล้ว ฯ ก็พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ปัญหา ๙ อุเทศ ๙ ไวยากรณ์ ๙ ดังนี้ พระองค์ทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่าย โดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๙ อย่าง ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน ในธรรม ๙ อย่างเป็นไฉน คือ ในสัตตาวาส ๙ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อ หน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุด โดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๙ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้ทำที่สุด ทุกข์ได้ในปัจจุบัน พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ปัญหา ๙ อุเทศ ๙ ไวยากรณ์ ๙ ดังนี้ พระองค์ทรงอาศัยข้อนี้ตรัสแล้ว ฯ ก็พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ปัญหา ๑๐ อุเทศ ๑๐ ไวยากรณ์ ๑๐ ดังนี้ พระองค์ทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีจิตอันอบรม ดีแล้วโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๑๐ อย่าง ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน ในธรรม ๑๐ อย่างเป็นไฉน คือ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๖๒.

ในกุศลธรรม ๑๐ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีจิตอันอบรมดีแล้วโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๑๐ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ปัญหา ๑๐ อุเทศ ๑๐ ไวยากรณ์ ๑๐ ดังนี้ พระองค์ทรงอาศัยข้อนี้ตรัสแล้ว ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสในมหาปัญหา ทั้งหลายว่า ปัญหา ๑ อุเทศ ๑ ไวยากรณ์ ๑ ฯลฯ ปัญหา ๑๐ อุเทศ ๑๐ ไวยากรณ์ ๑๐ เราย่อมรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดย ย่อนี้ โดยพิสดารอย่างนี้ ดังนี้แล ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็แลท่านทั้งหลายจำนง อยู่ พึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วทูลสอบถามความข้อนี้ พระผู้มีพระภาคของ เราทรงพยากรณ์อย่างใด ท่านทั้งหลายพึงทรงจำความนั้นไว้อย่างนั้นเถิด ฯ พวกอุบาสกชาวเมืองกชังคละรับคำว่า อย่างนั้นแม่เจ้า แล้วชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของกชังคลาภิกษุณี ลุกจากอาสนะ อภิวาทกชังคลาภิกษุณี ทำประทักษิณแล้ว ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มี พระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว จึงกราบทูลถ้อยคำที่สนทนา กับกชังคลาภิกษุณีนั้นทั้งหมดแด่พระผู้มีพระภาค ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละๆ คหบดีทั้งหลาย กชังคลาภิกษุณีเป็น บัณฑิต มีปัญญามาก ดูกรคหบดีทั้งหลาย ถ้าแม้ท่านทั้งหลายพึงเข้ามาหาเราแล้ว ถามเนื้อความนี้ไซร้ แม้เราก็พึงพยากรณ์เนื้อความ เหมือนอย่างที่กชังคลาภิกษุณี พยากรณ์แล้ว และเนื้อความของคำนั้น คือนี้แหละ ท่านทั้งหลายพึงทรงจำเนื้อ ความไว้อย่างนั้นแหละ ฯ
จบสูตรที่ ๘

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ บรรทัดที่ ๑๓๖๐-๑๔๔๗ หน้าที่ ๕๙-๖๒. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=24&A=1360&Z=1447&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=24&siri=28              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=28              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [28] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=24&item=28&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=7592              The Pali Tipitaka in Roman :- [28] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=24&item=28&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=7592              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ https://84000.org/tipitaka/read/?index_24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i021-e.php#sutta8 https://suttacentral.net/an10.28/en/sujato https://suttacentral.net/an10.28/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :