ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
สมาธิสูตร
[๖] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่า เป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอาโปธาตุว่าเป็นอาโปธาตุเป็น อารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในเตโชธาตุว่าเป็นเตโชธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความ สำคัญในวาโยธาตุว่าเป็นวาโยธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอากาสานัญ- *จายตนฌานว่าเป็นอากาสานัญจายตนฌานเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญใน วิญญาณัญจายตนฌานว่าเป็นวิญญาณัญจายตนฌานเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความ สำคัญในอากิญจัญญายตนฌานว่าเป็นอากิญจัญญายตนฌานเป็นอารมณ์ ไม่พึงมี ความสำคัญในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานว่า เป็นเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในโลกนี้ว่าเป็นโลกนี้เป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความ สำคัญในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา การได้ สมาธิเห็นปานนั้น พึงมีแก่ภิกษุหรือหนอแล ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุ ว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอาโปธาตุว่าเป็นอาโปธาตุเป็น อารมณ์ ... ไม่พึงมีความสำคัญในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ก็แต่ว่า พึงเป็นผู้มีสัญญา การได้สมาธิเห็นปานนั้น พึงมีแก่ภิกษุ ฯ อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็น ปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอาโปธาตุว่าเป็นอาโปธาตุเป็นอารมณ์

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๐.

... ไม่พึงมีความสำคัญในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มี สัญญา ก็การได้สมาธิเห็นปานนั้น พึงมีแก่ภิกษุได้อย่างไร ฯ พ. ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความสำคัญอย่างนี้ว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิกิเลส ทั้งปวง ความสิ้นแห่งตัณหา ความปราศจากความกำหนัด ความดับ นิพพาน ดังนี้ ดูกรอานนท์ ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอาโปธาตุว่าเป็นอาโปธาตุเป็นอารมณ์ ... ไม่พึงมีความ สำคัญในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา การได้ สมาธิเห็นปานนั้น พึงมีแก่ภิกษุได้อย่างนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๖
สาริปุตตสูตร
[๗] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า ดูกรท่าน สารีบุตรผู้มีอายุ ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอาโปธาตุว่าเป็นอาโปธาตุเป็นอารมณ์ ... ไม่พึงมีความ สำคัญในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา การได้ สมาธิเห็นปานนั้น พึงมีแก่ภิกษุหรือหนอ ฯ ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ดูกรท่านอานนท์ ตนไม่พึงมีความสำคัญใน ปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในโลกหน้าว่าเป็น โลกหน้าเป็นอารมณ์ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา การได้สมาธิเห็นปานนั้น พึงมี แก่ภิกษุ ฯ อา. ดูกรท่านสารีบุตร ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๑.

เป็นอารมณ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ก็การได้สมาธิเห็นปานนั้น พึงมีแก่ภิกษุได้อย่างไร ฯ สา. ดูกรท่านอานนท์ สมัยหนึ่ง ผมอยู่ ณ ป่าอันธวัน ใกล้พระนคร สาวัตถีนี้แหละ ณ ที่นั้น ผมเข้าสมาธิ โดยประการที่ผมมิได้มีความสำคัญใน ปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์เลย มิได้มีความสำคัญในอาโปธาตุว่าเป็น อาโปธาตุเป็นอารมณ์ มิได้มีความสำคัญในเตโชธาตุว่าเป็นเตโชธาตุเป็นอารมณ์ มิได้มีความสำคัญในวาโยธาตุว่าเป็นวาโยธาตุเป็นอารมณ์ มิได้มีความสำคัญใน อากาสานัญจายตนฌานว่าเป็นอากาสานัญจายตนฌานเป็นอารมณ์ มิได้มีความ สำคัญในวิญญาณัญจายตนฌานว่าเป็นวิญญาณัญจายตนฌานเป็นอารมณ์ มิได้มี ความสำคัญในอากิญจัญญายตนฌานว่าเป็นอากิญจัญญายตนฌานเป็นอารมณ์ มิได้ มีความสำคัญในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานว่าเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เป็นอารมณ์ มิได้มีความสำคัญในโลกนี้ว่าเป็นโลกนี้เป็นอารมณ์ มิได้มีความ สำคัญในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ก็แต่ว่าผมเป็นผู้มีสัญญา ฯ อา. ก็ในสมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรเป็นผู้มีสัญญาอย่างไร ฯ สา. ดูกรท่านผู้มีอายุ สัญญาอย่างหนึ่งย่อมเกิดขึ้นแก่ผมว่า การดับภพ เป็นนิพพาน การดับภพเป็นนิพพาน ดังนี้แล สัญญาอย่างหนึ่งย่อมดับไป ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อไฟมีเชื้อกำลังไหม้อยู่เปลวอย่างหนึ่งย่อมเกิดขึ้น เปลว อย่างหนึ่งย่อมดับไป แม้ฉันใด ดูกรท่านผู้มีอายุ สัญญาอย่างหนึ่งย่อมเกิดขึ้น แก่ผมว่า การดับภพเป็นนิพพาน การดับภพเป็นนิพพาน ดังนี้ สัญญาอย่างหนึ่ง ย่อมดับไป ฉันนั้นเหมือนกันแล ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็แลในสมัยนั้น ผมได้มี สัญญาว่า การดับภพเป็นนิพพาน ดังนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๗
สัทธาสูตร
[๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา แต่ไม่มีศีลอย่างนี้

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๒.

เธอชื่อว่าเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น เธอนั้นพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ด้วย คิดว่า ไฉนหนอ เราพึงเป็นผู้มีศรัทธาและศีล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธาและศีล เมื่อนั้น เธอชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล แต่ไม่เป็นพหูสูต ฯลฯ เป็นพหูสูต แต่ไม่เป็นพระธรรมกถึก ฯลฯ เป็นพระธรรมกถึก แต่ไม่เข้าสู่บริษัท ฯลฯ เข้าสู่บริษัท แต่ไม่แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท ฯลฯ แกล้วกล้าแสดงธรรม แก่บริษัท แต่ไม่ทรงวินัย ฯลฯ ทรงวินัย แต่ไม่อยู่ป่าเป็นวัตร อยู่ในเสนาสนะ อันสงัด ฯลฯ อยู่ป่าเป็นวัตร อยู่ในเสนาสนะอันสงัด แต่ไม่ได้ตามความ ปรารถนา ไม่ได้โดยไม่ยาก ไม่ได้โดยไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ฯลฯ ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน แต่ไม่ได้ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะ ทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ อย่างนี้ เธอชื่อว่า เป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า ไฉนหนอ เราพึงเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก เข้าสู่บริษัทได้ แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท ทรงวินัย อยู่ป่าเป็นวัตร อยู่ในเสนาสนะอันสงัด ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหา อาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล ... กระทำให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วย ปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ เมื่อนั้น เธอชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์ นั้นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล ย่อมเป็น ผู้ก่อให้เกิดความเลื่อมใสโดยรอบ และเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง ฯ
จบสัทธาสูตรที่ ๘

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ บรรทัดที่ ๑๘๖-๒๗๗ หน้าที่ ๙-๑๒. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=24&A=186&Z=277&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=24&siri=6              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=6              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [6-8] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=24&item=6&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=7170              The Pali Tipitaka in Roman :- [6-8] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=24&item=6&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=7170              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ https://84000.org/tipitaka/read/?index_24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i001-e.php#sutta6 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an10/an10.006.than.html https://suttacentral.net/an10.6/en/sujato https://suttacentral.net/an10.6/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :