ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
คาถาธรรมบท พราหมณวรรคที่ ๒๖
[๓๖] ดูกรพราหมณ์ ท่านจงพยายามตัดกระแสตัณหาเสีย จง บรรเทากามทั้งหลายเสีย ดูกรพราหมณ์ ท่านรู้ความสิ้น ไปแห่งสังขารทั้งหลายแล้ว จะเป็นผู้รู้นิพพานอันปัจจัย อะไรๆ ปรุงแต่งไม่ได้ เมื่อใด พราหมณ์เป็นผู้ถึงฝั่งใน ธรรมทั้ง ๒ ประการ เมื่อนั้น กิเลสเป็นเครื่องประกอบทั้ง ปวงของพราหมณ์นั้นผู้รู้แจ้ง ย่อมถึงความสาบสูญไป ฝั่งก็ดี ธรรมชาติมิใช่ฝั่งก็ดี ฝั่งและธรรมชาติมิใช่ฝั่ง ย่อมไม่มีแก่ผู้ ใด เรากล่าวผู้นั้นซึ่งมีความกระวนกระวายไปปราศแล้ว ผู้ไม่ ประกอบแล้ว ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวบุคคลผู้เพ่งฌาน ปราศจากธุลี นั่งอยู่ผู้เดียว ทำกิจเสร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ บรรลุประโยชน์อันสูงสุดนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ พระอาทิตย์ ย่อมส่องแสงสว่างในกลางวัน พระจันทร์ย่อมส่องแสงสว่าง ในกลางคืน กษัตริย์ทรงผูกสอดเครื่องครบย่อมมีสง่า พราหมณ์ผู้เพ่งฌานย่อมรุ่งเรือง ส่วนพระพุทธเจ้าย่อมรุ่งเรือง ด้วยพระเดชตลอดวันและคืนทั้งสิ้น บุคคลผู้มีบาปอันลอย แล้วแล เรากล่าวว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวบุคคลว่า เป็นสมณะเพราะประพฤติสงบ บุคคลผู้ขับไล่มลทินของ ตน เรากล่าวว่าเป็นบรรพชิต เพราะการขับไล่นั้น พราหมณ์ ไม่พึงประหารพราหมณ์ พราหมณ์ไม่พึงปล่อยเวรแก่พราหมณ์ นั้น เราติเตียนบุคคลผู้ประหารพราหมณ์ เราติเตียนบุคคล ผู้ปล่อยเวรแก่พราหมณ์ กว่าบุคคลผู้ประหารนั้น การ เกียจกันใจจากสิ่งอันเป็นที่รักทั้งหลาย ของพราหมณ์ เป็น คุณประเสริฐหาน้อยไม่ ใจประกอบด้วยความเบียดเบียน ย่อมกลับจากวัตถุใดๆ ทุกข์ย่อมสงบได้หมดจากวัตถุนั้นๆ เรากล่าวบุคคลผู้ไม่มีกรรมชั่วทางกาย วาจา ใจ ผู้สำรวม แล้วจากฐานะทั้ง ๓ ว่าเป็นพราหมณ์ บุคคลพึงรู้แจ้งธรรม อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้วจากบุคคลใด พึง นอบน้อมบุคคลนั้นโดยเคารพ เหมือนพราหมณ์นอบน้อม การบูชาไฟ ฉะนั้น บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์ เพราะการ เกล้าชฎา เพราะโคตร เพราะชาติหามิได้ สัจจะและธรรมะ มีอยู่ในผู้ใด ผู้นั้นเป็นผู้สะอาดอยู่ ผู้นั้นเป็นพราหมณ์ ด้วย ดูกรท่านผู้มีปัญญาทราม จะมีประโยชน์อะไรด้วย การเกล้าชฎาแก่ท่าน จะมีประโยชน์อะไร ด้วยผ้าสาฎก ที่ทำด้วยหนังชะมดแก่ท่าน ภายในของท่านรกชัฏ ท่าน ย่อมขัดสีแต่อวัยวะภายนอก เรากล่าวบุคคลผู้ทรงผ้าบังสุกุล ซูบผอม สะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น ผู้เดียวเพ่ง (ฌาน) อยู่ในป่านั้น ว่าเป็นพราหมณ์ ก็เราไม่กล่าวผู้ที่เกิดแต่ กำเนิด ผู้มีมารดาเป็นแดนเกิด ว่าเป็นพราหมณ์ ผู้นั้น เป็นผู้ชื่อว่าโภวาที (ผู้กล่าวว่าท่านผู้เจริญ) ผู้นั้นแลเป็นผู้มี กิเลสเครื่องกังวล เรากล่าวบุคคลผู้ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล ผู้ไม่ถือมั่นนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ที่ตัดสังโยชน์ ทั้งหมดได้ ไม่สะดุ้ง ผู้ล่วงกิเลสเป็นเครื่องข้อง ไม่ ประกอบแล้ว ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวบุคคลผู้ตัด ความโกรธดุจชะเนาะ ตัดตัณหาดุจหนังหัวเกวียน และ ตัดทิฐิดุจเงื่อนพร้อมทั้งอนุสัยดุจสายเสียได้ ผู้มีอวิชชาดุจ ลิ่มสลักอันถอนแล้ว ตรัสรู้แล้ว ว่าเป็นพราหมณ์ เรา กล่าวผู้ไม่ประทุษร้าย อดกลั้นได้ซึ่งการด่า การทุบตีและ การจองจำ ผู้มีกำลัง คือ ขันติ ผู้มีหมู่พลเมืองคือขันติ ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวบุคคลผู้ไม่โกรธ มีวัตร มีศีล ไม่มีกิเลสเครื่องฟูขึ้น ฝึกตนแล้ว มีร่างกายตั้งอยู่ในที่ สุดนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ที่ไม่ติดในกามทั้งหลาย ดุจน้ำไม่ติดอยู่ในใบบัว ดังเมล็ดพันธุ์ผักกาดไม่ติดอยู่บน ปลายเหล็กแหลมนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ที่รู้ แจ้งความสิ้นทุกข์ของตนในธรรมวินัยนี้ มีภาระอันปลงแล้ว พรากแล้ว ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวบุคคลผู้มีปัญญา ลึกซึ้ง เป็นนักปราชญ์ ผู้ฉลาดในมรรคและมิใช่มรรค ผู้ บรรลุประโยชน์อันสูงสุดนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับคน ๒ พวก คือ คฤหัสถ์และบรรพชิต ผู้ไม่มีความอาลัยเที่ยวไป ผู้มีความปรารถนาน้อยนั้น ว่าเป็น พราหมณ์ เรากล่าวผู้ที่วางอาชญาในสัตว์ทั้งหลาย ผู้ที่สะดุ้ง และมั่นคง ไม่ฆ่าเอง ไม่ใช้ผู้อื่นให้ฆ่า ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวบุคคลผู้ไม่ผิดในผู้ผิด ผู้ดับเสียในผู้ที่มีอาชญาใน ตน ผู้ไม่ยึดถือในขันธ์ที่ยังมีความยึดถือนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ที่ทำราคะ โทสะ มานะ และมักขะให้ตกไป ดุจเมล็ดพันธุ์ผักกาดที่เขาให้ตกไปจากปลายเหล็กแหลม นั้น ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวบุคคลผู้เปล่งวาจาไม่หยาบ คาย อันเป็นเหตุให้ผู้อื่นรู้แจ่มแจ้งกันได้ เป็นคำจริง ผู้ไม่ ทำใครๆ ให้ขัดใจกันนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าว ผู้ที่ไม่ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ให้ในโลกนี้ ยาวก็ตาม สั้น ก็ตาม น้อยก็ตาม มากก็ตาม งามก็ตาม ไม่งามก็ตาม ว่า เป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ไม่มีความหวังในโลกนี้และในโลก หน้า ไม่มีตัณหา ไม่ประกอบด้วยกิเลส ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ที่ไม่มีความอาลัย ไม่เคลือบแคลงสงสัยเพราะรู้ ทั่ว หยั่งลงสู่อมตะ บรรลุโดยลำดับ ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ละทิ้งบุญและบาปทั้งสอง ล่วงกิเลสเครื่องขัดข้อง ในโลกนี้ ผู้ไม่มีความโศก ปราศจากธุลี บริสุทธิ์ ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ที่มีความเพลิดเพลินในภพสิ้น แล้ว ผู้บริสุทธิ์ มีจิตผ่องใส ไม่ขุ่นมัว เหมือนพระจันทร์ ปราศจากมลทินนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ล่วงทาง ลื่น ทางที่ไปได้ยาก สงสาร และโมหะนี้เสียได้ เป็น ผู้ข้ามแล้ว ถึงฝั่ง เพ่ง (ฌาน) ไม่หวั่นไหว ไม่มีความ เคลือบแคลงสงสัย ดับแล้วเพราะไม่ถือมั่น ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ละกามทั้งหลายในโลกนี้ เป็นผู้ไม่มีเรือน งดเว้น เสียได้ มีกามและภพหมดสิ้นแล้ว ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ละตัณหาในโลกนี้ได้แล้ว ภพหมดสิ้นแล้ว ว่าเป็น พราหมณ์ เรากล่าวผู้ละโยคะของมนุษย์ ล่วงโยคะอันเป็น ทิพย์ พรากแล้วจากโยคะทั้งปวง ว่าเป็นพราหมณ์ เรา กล่าวผู้ละความยินดี และความไม่ยินดีได้ เป็นผู้เย็น ไม่มีกิเลสเป็นเหตุเข้าไปทรงไว้ ครอบงำเสียซึ่งโลกทั้งปวง ผู้แกล้วกล้า ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้รู้จุติและอุบัติ ของสัตว์ทั้งหลาย โดยประการทั้งปวง ผู้ไม่ข้องอยู่ ไปดี ตรัสรู้แล้ว ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ที่เทวดา คน ธรรพ์และมนุษย์รู้คติของเขาไม่ได้ มีอาสวะสิ้นแล้ว เป็น พระอรหันต์ ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ที่ไม่มีกิเลส เครื่องกังวลในขันธ์ที่เป็นอดีต ในขันธ์ที่เป็นอนาคต และ ในขันธ์ที่เป็นปัจจุบัน ไม่มีความกังวล ไม่มีความยึดถือ ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้องอาจ ประเสริฐ แกล้ว กล้า แสวงหาคุณอันใหญ่ ชนะเสร็จแล้ว ไม่หวั่น ไหว ล้างกิเลส ตรัสรู้แล้ว ว่าเป็นพราหมณ์ เรา กล่าวผู้ที่รู้ปุพเพนิวาส เห็นสวรรค์และอบาย และได้ถึง ความสิ้นไปแห่งชาติ อยู่จบพรหมจรรย์เพราะรู้ยิ่ง เป็นมุนี อยู่จบพรหมจรรย์ทั้งปวงแล้ว ว่าเป็นพราหมณ์ ฯ
จบพราหมณวรรคที่ ๒๖
-----------------------------------------------------
รวมวรรคที่มีในคาถาธรรมบท คือ
[๓๗] ยมกวรรค อัปปมาทวรรค จิตตวรรค ปุปผวรรค พาลวรรค ปัณฑิตวรรค อรหันตวรรค สหัสสวรรค ปาปวรรค ทัณฑวรรค ชราวรรค อัตตวรรค โลกวรรค พุทธวรรค สุขวรรค ปิยวรรค โกธวรรค มลวรรค ธัมมัฏฐวรรค มรรควรรค รวมเป็น ๒๐ วรรค ปกิณณกวรรค นิรยวรรค นาควรรค ตัณหาวรรค ภิกขุวรรค พราหมณวรรค รวมทั้งหมดนี้เป็น ๒๖ วรรค อันพระ พุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ทรงแสดงแล้ว ในยมกวรรคมี ๒๐ คาถา ในอัปปมาทวรรคมี ๑๒ คาถา ในจิตตวรรคมี ๑๑ คาถา ในปุปผวรรคมี ๑๖ คาถา ในพาลวรรคมี ๑๗ คาถา ในปัณฑิตวรรคมี ๑๔ คาถา ในอรหันตวรรคมี ๑๐ คาถา ในสหัสสวรรคมี ๑๖ คาถา ในปาปวรรคมี ๑๓ คาถา ในทัณฑวรรคมี ๑๗ คาถา ในชราวรรคมี ๑๑ คาถา ในอัตตวรรคมี ๑๒ คาถา ในโลกวรรคมี ๑๒ คาถา ในพุทธวรรคมี ๑๖ คาถา ในสุขวรรคและปิยวรรคมีวรรคละ ๑๒ คาถา ในโกธ- *วรรคมี ๑๔ คาถา ในมลวรรคมี ๒๑ คาถา ในธัมมัฏฐวรรคมี ๑๗ คาถา ใน มรรควรรคมี ๑๖ คาถา ในปกิณณกวรรคมี ๑๖ คาถา ในนิรยวรรคและนาควรรค มีวรรคละ ๑๔ คาถา ในตัณหาวรรคมี ๒๒ คาถา ในภิกขุวรรคมี ๒๓ คาถา ในพราหมณวรรคอันเป็นวรรคที่สุดมี ๔๐ คาถา คาถา ๔๒๓ คาถา อันพระ พุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ ทรงแสดงไว้ในนิบาตในธรรมบท ฯ
จบธรรมบท
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๑๓๐๑-๑๔๒๔ หน้าที่ ๕๖-๖๑. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=1301&Z=1424&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=25&siri=35              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=36              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [36-37] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=25&item=36&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=25&A=2016              The Pali Tipitaka in Roman :- [36-37] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=25&item=36&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=25&A=2016              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_25              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/25i036-e1.php# https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/25i036-e2.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/dhp/dhp.26.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/dhp/dhp.26.budd.html https://suttacentral.net/dhp383-423/en/anandajoti https://suttacentral.net/dhp383-423/en/buddharakkhita https://suttacentral.net/dhp383-423/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :