บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
คาถาธรรมบท ยมกวรรคที่ ๑ [๑๑] ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจประเสริฐที่สุด สำเร็จ แล้วแต่ใจ ถ้าบุคคลมีใจอันโทษประทุษร้ายแล้ว กล่าวอยู่ ก็ตาม ทำอยู่ก็ตาม ทุกข์ย่อมไปตามบุคคลนั้น เพราะทุจริต ๓ อย่างนั้น เหมือนล้อหมุนไปตามรอยเท้าโคผู้ลากเกวียนไป อยู่ ฉะนั้น ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจประเสริฐ ที่สุด สำเร็จแล้วแต่ใจ ถ้าบุคคลมีใจผ่องใส กล่าวอยู่ก็ตาม ทำอยู่ก็ตาม สุขย่อมไปตามบุคคลนั้นเพราะสุจริต ๓ อย่าง เหมือนเงามีปรกติไปตาม ฉะนั้น ก็ชนเหล่าใดเข้าไปผูกเวร ไว้ว่า คนโน้นด่าเรา คนโน้นได้ตีเรา คนโน้นได้ชนะเรา คน โน้นได้ลักสิ่งของๆ เรา ดังนี้ เวรของชนเหล่านั้น ย่อมไม่ระงับ ส่วนชนเหล่าใดไม่เข้าไปผูกเวรไว้ว่า คนโน้น ด่าเรา คนโน้นได้ตีเรา คนโน้นได้ชนะเรา คนโน้นได้ลัก สิ่งของๆ เรา ดังนี้ เวรของชนเหล่านั้นย่อมระงับ ในกาล ไหนๆ เวรในโลกนี้ย่อมไม่ระงับเพราะเวรเลย แต่ย่อม ระงับเพราะความไม่จองเวร ธรรมนี้เป็นของเก่า ก็ชนเหล่า อื่นไม่รู้สึกว่า พวกเราย่อมยุบยับในท่ามกลางสงฆ์นี้ ส่วน ชนเหล่าใดในท่ามกลางสงฆ์นั้น ย่อมรู้สึก ความหมายมั่นย่อม ระงับจากชนเหล่านั้น มารย่อมรังควาญบุคคลผู้มีปรกติเห็น อารมณ์ว่างาม ผู้ไม่สำรวมแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้ ประมาณในโภชนะ เกียจคร้าน มีความเพียรเลว เหมือน ลมระรานต้นไม้ที่ทุรพล ฉะนั้น มารย่อมรังควาญไม่ได้ซึ่ง บุคคลผู้มีปรกติเห็นอารมณ์ว่าไม่งามอยู่ สำรวมดีแล้วใน อินทรีย์ทั้งหลาย รู้ประมาณในโภชนะ มีศรัทธา ปรารภ ความเพียร เหมือนลมระรานภูเขาหินไม่ได้ ฉะนั้น ผู้ใด ยังไม่หมดกิเลสดุจน้ำฝาดปราศจากทมะและสัจจะจักนุ่งห่มผ้า กาสายะผู้นั้นไม่ควรเพื่อจะนุ่งห่มผ้ากาสายะ ส่วนผู้ใดมีกิเลส ดุจน้ำฝาดอันคายแล้ว ตั้งมั่นแล้วในศีลประกอบด้วยทมะ และสัจจะ ผู้นั้นแลย่อมควรเพื่อจะนุ่งห่มผ้ากาสาวะ ชน เหล่าใดมีความรู้ในธรรมอันหาสาระมิได้ว่าเป็นสาระ และมี ปกติเห็นในธรรมอันเป็นสาระ ว่าไม่เป็นสาระ ชนเหล่านั้น มีความดำริผิดเป็นโคจร ย่อมไม่บรรลุธรรมอันเป็นสาระ ชน เหล่าใดรู้ธรรมอันเป็นสาระ โดยความเป็นสาระ และรู้ธรรม อันหาสาระมิได้ โดยความเป็นธรรมอันหาสาระมิได้ ชน เหล่านั้นมีความดำริชอบเป็นโคจร ย่อมบรรลุธรรมอันเป็น สาระ ฝนย่อมรั่วรดเรือนที่บุคคลมุงไม่ดี ฉันใด ราคะย่อม รั่วรดจิตที่บุคคลไม่อบรมแล้ว ฉันนั้น ฝนย่อมไม่รั่วรดเรือน ที่บุคคลมุงดี ฉันใด ราคะย่อมไม่รั่วรดจิตที่บุคคลอบรมดีแล้ว ฉันนั้น บุคคลผู้ทำบาปย่อมเศร้าโศกในโลกนี้ย่อมเศร้าโศกใน โลกหน้า ย่อมเศร้าโศกในโลกทั้งสอง บุคคลผู้ทำบาปนั้น ย่อมเศร้าโศก บุคคลผู้ทำบาปนั้นเห็นกรรมที่เศร้าหมองของตน แล้ว ย่อมเดือดร้อน ผู้ทำบุญไว้แล้วย่อมบันเทิงในโลกนี้ ย่อม บันเทิงในโลกหน้า ย่อมบันเทิงในโลกทั้งสอง ผู้ทำบุญไว้ แล้วนั้นย่อมบันเทิง ผู้ทำบุญไว้แล้วนั้นเห็นความบริสุทธิ์ แห่งกรรมของตนแล้ว ย่อมบันเทิงอย่างยิ่ง บุคคลผู้ทำบาป ย่อมเดือดร้อนในโลกนี้ ย่อมเดือดร้อนในโลกหน้า ย่อม เดือดร้อนในโลกทั้งสอง บุคคลผู้ทำบาปนั้นย่อมเดือดร้อนว่า บาปเราทำแล้ว บุคคลผู้ทำบาปนั้นไปสู่ทุคติแล้ว ย่อมเดือด ร้อนโดยยิ่ง ผู้ทำบุญไว้แล้วย่อมเพลิดเพลินในโลกนี้ ย่อม เพลิดเพลินในโลกหน้า ย่อมเพลิดเพลินในโลกทั้งสอง ผู้ ทำบุญไว้แล้วย่อมเพลิดเพลินว่า บุญอันเราทำไว้แล้ว ผู้ทำ บุญไว้แล้วนั้นไปสู่สุคติ ย่อมเพลิดเพลินโดยยิ่ง หากว่า นรชนกล่าวคำอันมีประโยชน์แม้มาก แต่เป็นผู้ไม่ทำกรรม อันการกบุคคลพึงกระทำ เป็นผู้ประมาทแล้วไซร้ นรชนนั้น ย่อมไม่เป็นผู้มีส่วนแห่งคุณเครื่องความเป็นสมณะ ประดุจ นายโคบาลนับโคของชนเหล่าอื่น ย่อมไม่มีส่วนแห่งปัญจ- โครส ฉะนั้น หากว่านรชนกล่าวคำอันมีประโยชน์แม้น้อย ย่อมประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม ละราคะ โทสะ และ โมหะแล้ว รู้ทั่วโดยชอบ มีจิตหลุดพ้นด้วยดีแล้ว ไม่ถือมั่น ในโลกนี้หรือในโลกหน้า นรชนนั้นย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่ง คุณเครื่องความเป็นสมณะ ฯจบยมกวรรคที่ ๑ เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๒๖๘-๓๒๙ หน้าที่ ๑๓-๑๕. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=268&Z=329&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=25&siri=10 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=11 ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [11] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=25&item=11&items=1 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=18&A=1 The Pali Tipitaka in Roman :- [11] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=25&item=11&items=1 The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=18&A=1 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_25 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/25i011-e1.php# https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/25i011-02-e1.php# https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/25i011-03-e2.php# https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/25i011-04-e1.php# https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/25i011-05-e2.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/dhp/dhp.intro.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/dhp/dhp.01.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/dhp/dhp.intro.budd.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/dhp/dhp.01.budd.html https://suttacentral.net/dhp1-20/en/anandajoti https://suttacentral.net/dhp1-20/en/buddharakkhita https://suttacentral.net/dhp1-20/en/sujato
บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]