บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
คาถาธรรมบท ปุปผวรรคที่ ๔ [๑๔] ใครจักรู้แจ้งแผ่นดินนี้ ใครจักรู้แจ้งยมโลกและมนุษยโลกนี้ พร้อมกับเทวโลก ใครจักเลือกสรรบทธรรมที่เราแสดงดีแล้ว ดุจนายมาลาการผู้ฉลาด เลือกสรรดอกไม้ ฉะนั้น พระเสขะ จักรู้แจ้งแผ่นดิน พระเสขะจักรู้แจ้งยมโลกและมนุษยโลกนี้ พร้อมกับเทวโลก พระเสขะจักเลือกสรรบทธรรมที่เรา แสดงดีแล้วดุจนายมาลาการผู้ฉลาดเลือกสรรดอกไม้ ฉะนั้น ภิกษุทราบกายนี้ว่า เปรียบด้วยฟองน้ำ ตรัสรู้พร้อมเฉพาะ กายนี้ว่ามีพยับแดดเป็นธรรม ตัดดอกไม้อันเป็นประธาน ของมารแล้ว พึงไปสู่ที่ที่มัจจุราชไม่เห็น มัจจุย่อมจับนระ ผู้มีใจอันซ่านไปแล้วในอารมณ์ต่างๆ กำลังเลือกเก็บดอกไม้ ทั้งหลายนั่นเทียวไป เหมือนห้วงน้ำใหญ่พัดบ้านอันหลับแล้ว ไป ฉะนั้น มัจจุผู้ทำซึ่งที่สุด ย่อมทำนระผู้มีใจอันซ่าน ไปแล้วในอารมณ์ต่างๆ กำลังเลือกเก็บดอกไม้ทั้งหลาย ไม่อิ่ม แล้วในกามคุณนั่นแล ไว้ในอำนาจ ภมรไม่ยังดอกไม้ อันมีสีให้ชอกช้ำ ลิ้มเอาแต่รสแล้วย่อมบินไป แม้ฉันใด มุนีพึงเที่ยวไปในบ้าน ฉันนั้น บุคคลไม่พึงใส่ใจคำแสลงหู ของชนเหล่าอื่น ไม่พึงแลดูกิจที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำ ของชนเหล่าอื่น พึงพิจารณากิจที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำของ ตนเท่านั้น ดอกไม้งามมีสีแต่ไม่มีกลิ่นแม้ฉันใด วาจาสุภาษิต ย่อมไม่มีผลแก่บุคคลผู้ไม่ทำ ฉันนั้น ดอกไม้งามมีสีมีกลิ่น แม้ฉันใด วาจาสุภาษิตย่อมมีผลแก่บุคคลผู้ทำดี ฉันนั้น นายมาลาการพึงทำกลุ่มดอกไม้ให้มาก แต่กองแห่งดอกไม้ แม้ฉันใด สัตว์ [ผู้มีอันจะพึงตายเป็นสภาพ] ผู้เกิดแล้ว พึงทำกุศลให้มาก ฉันนั้น กลิ่นดอกไม้ย่อมฟุ้งทวนลมไป ไม่ได้ กลิ่นจันทน์หรือกฤษณา และกระลำพัก ย่อมฟุ้งทวน ลมไปไม่ได้ ส่วนกลิ่นของสัตบุรุษย่อมฟุ้งทวนลมไปได้ เพราะสัตบุรุษฟุ้งไปทั่วทิศ กลิ่นคือศีลเป็นเยี่ยมกว่าคันธชาติ เหล่านี้ คือจันทน์ กฤษณา ดอกบัว และมะลิ กลิ่นกฤษณา และจันทน์นี้ เป็นกลิ่นมีประมาณน้อย ส่วนกลิ่นของผู้ มีศีลทั้งหลายเป็นกลิ่นสูงสุด ย่อมฟุ้งไปในเทวดาและมนุษย์ ทั้งหลาย มารย่อมไม่พบทางของท่านผู้มีศีลถึงพร้อมแล้ว มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท ผู้พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้ โดยชอบ ดอกปทุมมีกลิ่นหอม พึงเกิดในกองแห่งหยากเยื่อ อันเขาทิ้งแล้วในใกล้ทางใหญ่นั้น ย่อมเป็นที่รื่นรมย์ใจ ฉันใด พระสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อปุถุชน ทั้งหลายผู้เป็นเพียงดั่งกองหยากเยื่อ ย่อมไพโรจน์ล่วงปุถุชน ทั้งหลายผู้เป็นดังคนบอดด้วยปัญญา ฉันนั้น ฯจบปุปผวรรคที่ ๔ เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๓๙๕-๔๓๓ หน้าที่ ๑๘-๑๙. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=395&Z=433&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=25&siri=13 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=14 ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [14] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=25&item=14&items=1 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=20&A=1 The Pali Tipitaka in Roman :- [14] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=25&item=14&items=1 The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=20&A=1 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_25 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/25i014-e1.php# https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/25i014-e2.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/dhp/dhp.04.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/dhp/dhp.04.budd.html https://suttacentral.net/dhp44-59/en/anandajoti https://suttacentral.net/dhp44-59/en/anandajoti https://suttacentral.net/dhp44-59/en/sujato
บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]