ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
ธรรมิกสูตรที่ ๑๔
[๓๓๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ธรรมิกอุบาสก พร้อมด้วยอุบาสก ๕๐๐ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า [๓๓๓] ข้าแต่พระโคดมผู้มีพระปัญญาเสมอด้วยแผ่นดิน ข้าพระองค์ขอ ทูลถามพระองค์ อุบาสกผู้ออกบวชเป็นบรรพชิตก็ดี อุบาสก ผู้ยังอยู่ครองเรือนอีกก็ดี บรรดาสาวกทั้งสองพวกนี้สาวก กระทำอย่างไรจึงจะเป็นผู้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ พระองค์ เท่านั้นแล ทรงทราบชัดซึ่งคติและความสำเร็จของโลกพร้อม ทั้งเทวโลก บุคคลผู้เห็นประโยชน์อันละเอียดเช่นกับพระ องค์ย่อมไม่มี บัณฑิตทั้งหลายย่อมกล่าวพระองค์แล ว่าเป็น พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ พระองค์ทรงแทงตลอดไญยธรรม ทรงอนุเคราะห์เหล่าสัตว์ ได้ทรงประกาศพระญาณและธรรม ทั้งปวง ข้าแต่พระโคดมผู้มีพระจักษุรอบคอบ พระองค์ผู้มี กิเลสดุจหลังคาที่เปิดแล้ว เป็นผู้ปราศจากมลทิน ไพโรจน์ อยู่ในโลกทั้งปวง พญาช้าง (เทพบุตร) ชื่อเอราวัณ ทราบว่า พระผู้มีพระภาคนี้ทรงชนะบาปธรรม ดังนี้แล้ว ได้ไปในสำนักของพระองค์ พญาช้างเอราวัณแม้นั้นทูลถาม ปัญหากะพระองค์ ได้สดับปัญหาแล้วซ้องสาธุการชื่นชม ยินดี ได้บรรลุธรรมไปแล้ว แม้พระราชาพระนามว่า เวสสวัณกุเวรก็เข้าเฝ้าพระองค์ทูลไต่ถามธรรมอยู่ พระองค์ อันพระราชาพระนามว่าเวสสวัณกุเวรแม้นั้นแล ทูลถามแล้ว ย่อมตรัสบอก ท้าวเวสสวัณกุเวรแม้นั้นแล ได้สดับปัญหาแล้ว ทรงชื่นชมยินดี ได้เสด็จไปแล้ว พวกเดียรถีย์ก็ดี อาชีวกก็ดี นิครนถ์ก็ดี ผู้มีปรกติกระทำวาทะทั้งหมดนี้ย่อมไม่เกินพระองค์ ด้วยปัญญา เหมือนบุคคลผู้หยุดอยู่ ไม่พึงเกินคนเดินเร็วซึ่ง เดินอยู่ ฉะนั้น พวกพราหมณ์ก็ดี แม้พวกพราหมณ์ผู้เฒ่าก็ดี ผู้มีปรกติกระทำวาทะเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่ และแม้ชนเหล่า อื่นสำคัญอยู่ว่า เราทั้งหลายผู้มีปรกติกระทำวาทะ ชนเหล่า นั้นทั้งหมด เป็นผู้เนื่องด้วยประโยชน์ในพระองค์ ข้าแต่ พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ทั้งหมดกำลังคอยฟังด้วยดี ซึ่ง ธรรมที่ละเอียดและนำความสุขมาให้ อันพระองค์ตรัสดีแล้ว นี้ ข้าแต่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ พระองค์อันข้าพระองค์ ทั้งหลายทูลถามแล้ว ได้โปรดตรัสบอกความข้อนั้น แก่ข้า พระองค์ทั้งหลาย ภิกษุกับทั้งอุบาสกเหล่านี้แม้ทั้งหมดนั่ง ประชุมกันแล้วในที่นั้นแหละ เพื่อจะฟังขอจงตั้งใจฟังธรรม ที่พระผู้มีพระภาคผู้ไม่มีมลทินตรัสรู้แล้ว เหมือนเทวดา ทั้งหลายตั้งใจฟังสุภาษิตของท้าววาสวะ ฉะนั้น ฯ พระผู้มีพระภาค เพื่อจะทรงแสดงปฏิปทาของบรรพชิตก่อน ตรัสเรียก ภิกษุทั้งหลายมาแล้ว จึงตรัสพระคาถาว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรา เราจะยังเธอ ทั้งหลายให้ฟังธรรมอันกำจัดกิเลส และเธอทั้งปวงจงประ พฤติธรรมอันกำจัดกิเลสนั้น ภิกษุผู้มีปัญญาความคิด ผู้เห็น ประโยชน์ พึงเสพอิริยาบถอันสมควรแก่บรรพชิตนั้น ภิกษุ ไม่พึงเที่ยวไปในเวลาวิกาลเลย อนึ่งภิกษุพึงเที่ยวไปเพื่อ บิณฑบาตในบ้านในกาล ด้วยว่าธรรมเป็นเครื่องข้องทั้งหลาย ย่อมข้องภิกษุผู้เที่ยวไปในกาลอันไม่สมควรไว้ เพราะเหตุ นั้น ท่านผู้รู้ทั้งหลายย่อมไม่เที่ยวไปในเวลาวิกาล รูป เสียง กลิ่น รส และผัสสะ ย่อมยังสัตว์ทั้งหลายให้มัวเมา ภิกษุนั้น กำจัดเสียแล้วซึ่งความพอใจในธรรมเหล่านี้ พึงเข้าไปยัง โอกาสที่จะพึงบริโภคอาหารในเวลาเช้าโดยกาล อนึ่ง ภิกษุ ได้บิณฑบาตแล้วตามสมัย พึงกลับไปนั่งในที่สงัดแต่ผู้ เดียว ภิกษุผู้สงเคราะห์อัตภาพแล้ว คิดถึงขันธสันดาน ในภายใน ไม่พึงส่งใจไปในภายนอก ถ้าแม้ว่าภิกษุนั้น พึงเจรจากับสาวกอื่น หรือกับภิกษุรูปไรๆ ไซร้ ภิกษุนั้นพึง กล่าวธรรมอันประณีต ไม่พึงกล่าวคำส่อเสียด ทั้งไม่พึง กล่าวคำติเตียนผู้อื่น ก็บุคคลบางพวกย่อมประถ้อยคำกัน เราย่อมไม่สรรเสริญบุคคลเหล่านั้นผู้มีปัญญาน้อย ความ เกี่ยวข้องด้วยการวิวาท เกิดจากคลองแห่งคำนั้นๆ ย่อม ข้องบุคคลเหล่านั้นไว้ เพราะบุคคลเหล่านั้นส่งจิตไปในที่ไกล จากสมถะและวิปัสสนา สาวกผู้มีปัญญาดี ฟังธรรมที่พระสุคต ทรงแสดงแล้ว พิจารณาบิณฑบาต ที่อยู่ ที่นอน ที่นั่ง น้ำ และการซักมลทินผ้าสังฆาฏิแล้วพึงเสพ เพราะเหตุนั้น แล ภิกษุไม่ติดแล้วในธรรมเหล่านี้ คือ บิณฑบาต ที่นอน ที่นั่ง น้ำ และการซักมลทินผ้าสังฆาฏิ เหมือนหยาดน้ำ ไม่ติดในใบบัว ฉะนั้น ก็เราจะบอกวัตรแห่งคฤหัสถ์แก่เธอ ทั้งหลาย สาวกกระทำอย่างไรจึงจะเป็นผู้ยังประโยชน์ให้ สำเร็จ จริงอยู่สาวกไม่พึงได้เพื่อจะถูกต้องธรรมของภิกษุ ล้วนด้วยอาการที่มีความหวงแหน สาวกวางอาชญาในสัตว์ ทุกหมู่เหล่า ทั้งผู้ที่มั่นคงทั้งผู้ที่ยังสะดุ้งในโลกแล้ว ไม่พึง ฆ่าสัตว์เอง ไม่พึงใช้ผู้อื่นให้ฆ่า และไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นฆ่า แต่นั้น สาวกรู้อยู่ พึงเว้นสิ่งที่เขาไม่ให้อะไรๆ ในที่ไหนๆ ไม่พึงใช้ให้ผู้อื่นลัก ไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นลัก พึงเว้นวัตถุ ที่เจ้าของเขาไม่ให้ทั้งหมด สาวกผู้รู้แจ้งพึงเว้นอพรหมจรรย์ เหมือนบุคคลเว้นหลุมถ่านเพลิงที่ไฟลุกโชน ฉะนั้น แต่ เมื่อไม่สามารถประพฤติพรหมจรรย์ ก็ไม่พึงก้าวล่วงภรรยา ของผู้อื่น ก็สาวกผู้อยู่ในที่ประชุมก็ดี อยู่ในท่ามกลางบริษัท ก็ดี ไม่พึงกล่าวเท็จแก่บุคคลผู้หนึ่ง ไม่พึงให้ผู้อื่นกล่าว คำเท็จ ไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นกล่าวเท็จ พึงเว้นคำไม่เป็นจริง ทั้งหมด สาวกผู้เป็นคฤหัสถ์ไม่พึงดื่มน้ำเมา พึงชอบใจธรรมนี้ ไม่พึงใช้ให้ผู้อื่นดื่ม ไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นดื่ม เพราะทราบ ชัดการดื่มน้ำเมานั้นว่า มีความเป็นบ้าเป็นที่สุด คนพาล ทั้งหลายย่อมกระทำบาปเอง และใช้คนอื่นผู้ประมาทแล้ว ให้กระทำบาป เพราะความเมานั่นเอง สาวกพึงเว้นความ เป็นบ้า ความหลงที่คนพาลใคร่แล้ว อันเป็นบ่อเกิดแห่ง บาปนี้ ไม่พึงฆ่าสัตว์ ไม่พึงถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ไม่พึงพูดมุสา ไม่พึงดื่มน้ำเมา พึงเว้นจากเมถุนธรรมอันเป็น ความประพฤติไม่ประเสริฐ ไม่พึงบริโภคโภชนะในเวลา วิกาลในราตรี ไม่พึงทัดทรงดอกไม้และไม่พึงลูบไล้ของหอม พึงนอนบนเตียงหรือบนพื้นดินที่เขาลาดแล้ว บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล ว่าอัน พระพุทธเจ้าผู้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ ทรงประกาศไว้แล้ว แต่นั้น สาวกผู้มีใจเลื่อมใส พึงเข้าจำอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการให้บริบูรณ์ดี ตลอดวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำ แห่งปักข์ และตลอดปาฏิหาริกปักข์ แต่นั้นสาวกผู้รู้แจ้ง เข้าจำอุโบสถอยู่แต่เช้าแล้ว มีจิตเลื่อมใส ชื่นชมอยู่ เนืองๆ พึงแจกจ่ายภิกษุสงฆ์ด้วยข้าวและน้ำตามควร พึงเลี้ยง มารดาและบิดาด้วยโภคสมบัติที่ได้มาโดยชอบธรรม พึงประ- กอบการค้าขายอันชอบธรรม ไม่ประมาท ประพฤติวัตรแห่ง คฤหัสถ์นี้อยู่ ย่อมเข้าถึงเหล่าเทวดาชื่อว่าสยัมปภา ผู้มี รัศมีในตน ฯ
จบธรรมิกสูตรที่ ๑๔
จบจูฬวรรคที่ ๒
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. รัตนสูตร ๒. อามคันธสูตร ๓. หิริสูตร ๔. มงคลสูตร ๕. สูจิโลม- *สูตร ๖. ธรรมจริยสูตร ๗. พราหมณธรรมิกสูตร ๘. นาวาสูตร ๙. กึสีลสูตร ๑๐. อุฏฐานสูตร ๑๑. ราหุลสูตร ๑๒. วังคีสสูตร ๑๓. สัมมาปริพพาชนิยสูตร ๑๔. ธรรมิกสูตร ฯ
ท่านผู้รู้ทั้งหลายกล่าวพระสูตร ๑๔ สูตรว่าจูฬวรรคแล ฯ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๘๒๗๕-๘๓๘๗ หน้าที่ ๓๖๑-๓๖๖. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=8275&Z=8387&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=25&siri=253              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=332              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [332-333] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=25&item=332&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=29&A=4213              The Pali Tipitaka in Roman :- [332-333] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=25&item=332&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=29&A=4213              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_25              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/25i314-e.php#sutta14 https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/snp/snp.2.14.irel.html https://suttacentral.net/snp2.14/en/mills https://suttacentral.net/snp2.14/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :