![]() |
|
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
![]() |
๒. สุนีตเถรคาถา คาถาภาษิตของพระสุนีตเถระ [๓๗๙] เราเกิดมาในสกุลต่ำ เป็นคนยากจน มีเครื่องบริโภคน้อย การงานของ เราเป็นการงานต่ำ เราเป็นคนเทดอกไม้ เราถูกมนุษย์เกลียดชัง ดูหมิ่น และแช่งด่า เราถ่อมตนไหว้หมู่ชนเป็นอันมาก ครั้งนั้น เราได้เห็น พระพุทธเจ้า ผู้เป็นมหาวีรบุรุษ ห้อมล้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ เสด็จ เข้าไปสู่พระนครอันอุดม ของชาวมคธเพื่อบิณฑบาต เราจึงวางกระเช้า ลงแล้วเข้าไปถวายบังคม พระองค์ผู้เป็นอุดมบุรุษได้ประทับยืนอยู่เพื่อ อนุเคราะห์เรา ครั้งนั้นเราได้ถวายบังคมพระยุคลบาทของพระศาสดาแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วจึงทูลขอบรรพชากะพระองค์ผู้สูงสุด กว่าสัตว์ทั้งปวง ลำดับนั้น พระศาสดาผู้มีพระกรุณาอนุเคราะห์สัตว์โลก ทั้งปวง ได้ตรัสเรียกเราว่า จงเป็นภิกษุมาเถิด พระดำรัสนั้นเป็น อุปสมบทของเรา เมื่อเราอุปสมบทแล้ว อยู่ในป่าแต่ผู้เดียว ไม่เกียจ คร้าน ได้ทำตามพระดำรัสของพระศาสดาผู้พิชิตมาร ที่ทรงสั่งสอนเรา ในราตรีปฐมยาม เราก็ระลึกถึงชาติก่อนๆ ได้ในมัชฌิมยาม ก็ได้ทิพย- จักษุ ในปัจฉิมยาม เราก็ทำลายกองแห่งความมืด คือ อวิชชาได้ ครั้น รุ่งราตรีพระอาทิตย์อุทัย เทพเจ้าเหล่าอินทร์และพรหมทั้งหลาย พากัน ประนมอัญชลีนมัสการเราพร้อมกับกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุรุษอาชา- ไนย ขอนอบน้อมต่อท่าน ข้าแต่ท่านผู้เป็นอุดมบุรุษ ขอนอบน้อมต่อ ท่าน ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านเป็นผู้สิ้นอาสวะ เป็นทักขิไณยบุคคล ลำดับนั้น พระศาสดาทอดพระเนตรเห็นเราห้อมล้อมด้วยหมู่เทพเจ้า จึงทรงยิ้มแย้ม แล้วได้ตรัสเนื้อความนี้ว่า บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์ เพราะคุณธรรม ๔ ประการ คือ ตบะ ๑ พรหมจรรย์ ๑ สัญญมะ ๑ ทมะ ๑ ท่านผู้รู้ทั้งหลายกล่าวบุคคลผู้ประกอบด้วยคุณธรรม ๔ ประการ มีตบะเป็นต้นนั้นว่า เป็นพราหมณ์ผู้อุดม. ในทวาทสกนิบาตนี้ พระเถระ ๒ รูป คือ พระสีลวเถระ ๑ พระสุนีต เถระ ๑ ล้วนแต่มีมหิทธิฤทธิ์ ได้ภาษิตคาถารูปละ ๑๒ คาถา รวมเป็น ๒๔ คาถา ฉะนี้.จบ ทวาทสกนิบาต. ----------------------------------------------------- เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ บรรทัดที่ ๗๑๔๘-๗๑๗๗ หน้าที่ ๓๐๘-๓๐๙. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=26&A=7148&Z=7177&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=26&siri=379 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=379 ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [379] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=26&item=379&items=1 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=33&A=5686 The Pali Tipitaka in Roman :- [379] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=26&item=379&items=1 The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=33&A=5686 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ https://84000.org/tipitaka/read/?index_26 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/thag/thag.12.02.than.html https://suttacentral.net/thag12.2/en/sujato
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
![]() |
บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]