ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
๑๐. กุกกุฏชาดก
ว่าด้วยพ้นศัตรูเพราะรู้เท่าทัน
[๑๔๒๒] บุคคลไม่พึงคุ้นเคยในคนทำบาป คนมักพูดเหลาะแหละ คนมีปัญญาคิด แต่ประโยชน์ตน และคนทำเป็นสงบแต่ภายนอก. [๑๔๒๓] มีบุรุษพวกหนึ่ง มีปกติเหมือนโคกระหายน้ำ ทำทีเหมือนจะกล้ำกลืน มิตรด้วยวาจา แต่ไม่ใช้ด้วยการงาน ไม่ควรคุ้นเคยในคนเช่นนั้น. [๑๔๒๔] บุรุษพวกหนึ่ง เป็นคนชูมือเปล่า พัวพันอยู่ แต่ด้วยวาจาเป็นมนุษย์ กระพี้ ไม่มีความกตัญญู ไม่ควรคุ้นเคยในคนเช่นนั้น. [๑๔๒๕] บุคคลไม่ควรคุ้นเคยต่อหญิง หรือบุรุษ ผู้มีจิตกลับกลอก ไม่ทำความ ข้องเกี่ยวให้แจ้งชัด. [๑๔๒๖] ไม่ควรคุ้นเคยกับบุคคลผู้หยั่งลงสู่กรรม อันไม่ประเสริฐ เป็นคนไม่แน่ นอน กำจัดคนไม่เลือก เหมือนดาบที่เขาลับแล้วปกปิดไว้ ฉะนั้น. [๑๔๒๗] คนบางพวกในโลกนี้ คอยเพ่งโทษ เข้าไปหาด้วยอุบายต่างๆ ด้วยคำ พูดอันคมคายซึ่งไม่ตรงกับน้ำใจ ด้วยสามารถแห่งมิตรเทียม แม้คนเช่น นี้ ก็ไม่ควรคุ้นเคย. [๑๔๒๘] คนมีปัญญาทรามเช่นนั้น พบเห็นอามิส หรือทรัพย์เข้า ณ ที่ใด ย่อม คิดประทุษร้าย และย่อมละทิ้งเพื่อนนั้นไป แม้คนเช่นนั้น ก็ไม่ควร คุ้นเคย. [๑๔๒๙] มีคนเป็นจำนวนมาก ที่ปลอมเป็นมิตรคบหา บุคคลพึงละบุรุษชั่วเหล่า นั้นเสีย เหมือนไก่ละเหยี่ยว ฉะนั้น. [๑๔๓๐] อนึ่ง บุคคลใดไม่รู้เท่าทันเหตุที่เกิดขึ้นได้ฉับพลัน หลงไปตามอำนาจ ศัตรู บุคคลนั้น ย่อมเดือดร้อนในภายหลัง. [๑๔๓๑] ส่วนบุคคลใดรู้เท่าทันเหตุที่เกิดขึ้นได้ ฉับพลัน บุคคลนั้นย่อมพ้นจาก ความเบียดเบียนของศัตรู เหมือนไก่พ้นจากเหยี่ยว ฉะนั้น. [๑๔๓๒] นรชนผู้มีปัญญาเครื่องพิจารณา ควรละเว้นบุคคลผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม มัก ทำการกำจัดอยู่เป็นนิตย์ ดังแร้วที่เขาดักไว้ในป่าเช่นนั้นเสียให้ห่างไกล เหมือนไก่ในป่าไผ่ละเว้นเหยี่ยว ฉะนั้น.
จบ กุกกุฏชาดกที่ ๑๐.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗ บรรทัดที่ ๕๗๘๘-๕๘๑๕ หน้าที่ ๒๖๕-๒๖๖. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=27&A=5788&Z=5815&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=27&siri=448              ศึกษาอรรถกถาชาดกนี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=1422              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [1422-1432] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=27&item=1422&items=11              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=39&A=9994              The Pali Tipitaka in Roman :- [1422-1432] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=27&item=1422&items=11              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=39&A=9994              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_27              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ja448/en/rouse

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :