ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส
             [๔๐๒] 	บุคคลผู้ไม่มีความยินดีในวัตถุเป็นที่ยินดี ไม่ประกอบในความถือตัวจัด
                          ผู้ละเอียด มีปฏิภาณ ไม่เชื่อใครๆ และไม่คลายกำหนัด.
ว่าด้วยกามคุณ ๕
[๔๐๓] กามคุณ ๕ เรียกว่าวัตถุเป็นที่ยินดี ในคำว่า บุคคลผู้ไม่มีความยินดีในวัตถุ เป็นที่ยินดี. เพราะเหตุว่า เทวดาและมนุษย์ย่อมอยากได้ ยินดี ปรารถนา รักใคร่ พอใจกามคุณ ๕ โดยส่วนมาก เพราะเหตุนั้น กามคุณ ๕ จึงเรียกว่าวัตถุเป็นที่ยินดี ความยินดี คือ ความ- *ปรารถนานั้น อันชนเหล่าใด ยังละไม่ได้แล้ว ชนเหล่านั้น ก็มีรูปตัณหาหลั่งไหล เลื่อนไหล เป็นไปในทางจักษุ มีสัททตัณหาหลั่งไหล เลื่อนไหล เป็นไปทางหู มีคันธตัณหาหลั่งไหล เลื่อนไหล เป็นไปทางจมูก มีรสตัณหาหลั่งไหล เลื่อนไหล เป็นไปทางลิ้น มีโผฏฐัพพตัณหา หลั่งไหล เลื่อนไหล เป็นไปทางกาย มีธรรมตัณหาหลั่งไหล เลื่อนไหล เป็นไปทางใจ. ความยินดี คือ ความปรารถนานั้น อันชนเหล่าใด ละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผา เสียแล้วด้วยไฟคือญาณ ชนเหล่านั้น ก็ไม่มีรูปตัณหาหลั่งไหล เลื่อนไหล เป็นไปทางจักษุ ไม่มี สัททตัณหาหลั่งไหล เลื่อนไหล เป็นไปทางหู ไม่มีคันธตัณหาหลั่งไหล เลื่อนไหล เป็นไปทาง จมูก ไม่มีรสตัณหาหลั่งไหล เลื่อนไหล เป็นไปทางลิ้น ไม่มีโผฏฐัพพตัณหาหลั่งไหล เลื่อนไหล เป็นไปทางกาย ไม่มีธรรมตัณหาหลั่งไหล เลื่อนไหล เป็นไปทางใจ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่มีความยินดีในวัตถุเป็นที่ยินดี.
ว่าด้วยความดูหมิ่น
[๔๐๔] คำว่า ไม่ประกอบในความดูหมิ่น ความว่า ความดูหมิ่นเป็นไฉน? บุคคล- *บางคนในโลกนี้ ย่อมดูหมิ่นผู้อื่นโดยชาติบ้าง โดยโคตรบ้าง ฯลฯ โดยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่งบ้าง. ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ความเป็นผู้ถือตัว ความกำเริบขึ้น ความฟูขึ้น ความถือตัวดังว่าธงชัย ความยกย่องตน ความที่จิตใคร่เป็นดังว่าธงยอดเห็นปานนี้ นี้เรียกว่า ความดูหมิ่น. ความดูหมิ่นนั้น อันบุคคลใด ละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ บุคคลนั้น ไม่ประกอบ ไม่ประกอบทั่ว ไม่มาประกอบ ไม่มาประกอบพร้อม ในความดูหมิ่น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่ประกอบในความดูหมิ่น. [๔๐๕] คำว่า ผู้ละเอียด มีปฏิภาณ ความว่า ชื่อว่าผู้ละเอียด เพราะประกอบด้วย กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ อริยมรรคมีองค์ ๘ อันละเอียด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ละเอียด.
ผู้มีปฏิภาณ ๓ จำพวก
[๔๐๖] คำว่า มีปฏิภาณ ความว่า บุคคลมีปฏิภาณ ๓ จำพวก คือ บุคคลมีปฏิภาณ เพราะปริยัติ ๑ บุคคลมีปฏิภาณเพราะปริปุจฉา ๑ บุคคลมีปฏิภาณเพราะอธิคม ๑. บุคคลมีปฏิภาณเพราะปริยัติเป็นไฉน? บุคคลบางคนในพระศาสนานี้ เล่าเรียน พระพุทธพจน์ คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ. ญาณของบุคคลนั้น ย่อมแจ่มแจ้งเพราะอาศัยปริยัติ. บุคคลนี้ชื่อว่า ผู้มีปฏิภาณเพราะ ปริยัติ. บุคคลมีปฏิภาณเพราะปริปุจฉาเป็นไฉน? บุคคลบางคนในพระศาสนานี้ เป็นผู้ไต่ถาม ในประโยชน์ของตน ในประโยชน์ที่ควรรู้ ในลักษณะ ในเหตุ ในฐานะและอฐานะ. ญาณของ บุคคลนั้น ย่อมแจ่มแจ้งเพราะอาศัยการไต่ถามนั้น. บุคคลนี้ชื่อว่า ผู้มีปฏิภาณเพราะปริปุจฉา. บุคคลมีปฏิภาณเพราะอธิคมเป็นไฉน? บุคคลบางคนในพระศาสนานี้ เป็นผู้ได้บรรลุ ธรรมทั้งหลาย คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ สามัญญผล ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ บุคคลนั้นรู้อรรถ รู้ธรรม รู้นิรุติ. เมื่อรู้อรรถ อรรถก็แจ่มแจ้ง. เมื่อรู้ธรรม ธรรมก็แจ่มแจ้ง. เมื่อรู้นิรุติ นิรุติก็แจ่มแจ้ง. ญาณในอรรถ ธรรมและนิรุติทั้ง ๓ นี้ ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา. บุคคลผู้ใดเข้าถึง เข้าถึงพร้อม เข้าไป เข้าไปพร้อม เข้าไปถึง เข้าไปถึงพร้อม ประกอบแล้ว ด้วยปฏิภาณปฏิสัมภิทานี้ บุคคลนั้น เรียกว่า ผู้มีปฏิภาณ. บุคคลใดไม่มีปริยัติ ไม่มีปริปุฉา ไม่มีอธิคม ญาณอะไรเล่าจะแจ่มแจ้ง แก่บุคคลนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ละเอียด มีปฏิภาณ.
ว่าด้วยรู้ธรรมแล้วไม่ต้องเชื่อใครอีก
[๔๐๗] คำว่า ไม่เชื่อใครๆ ในคำว่า ไม่เชื่อใครๆ ไม่คลายกำหนัด ความว่า ภิกษุนั้นย่อมไม่เชื่อธรรมที่รู้ยิ่งด้วยตนเอง อันประจักษ์แก่ตนเองต่อใครๆ อื่น ซึ่งเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร หรือพรหม คือ ไม่เชื่อธรรมที่รู้ยิ่งด้วยตนเอง อันประจักษ์แก่ตนเองว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ... สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ... ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ... เพราะอวิชชาเป็น ปัจจัย จึงมีสังขาร ฯลฯ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ ... เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ ฯลฯ เพราะชาติดับ ชรามรณะจึงดับ ... นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เหล่านี้อาสวะ ฯลฯ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ ... ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง ฯลฯ ธรรมเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง ต่อใครๆ อันซึ่งเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร หรือพรหม และไม่เชื่อธรรมที่รู้ยิ่งด้วย ตนเอง อันประจักษ์แก่ตนเอง คือ ความเกิด ความดับ คุณ โทษ อุบายเครื่องสลัดออกไป แห่งผัสสายตนะ ๖ และความเกิด ความดับ คุณ โทษ อุบายเครื่องสลัดออกไป แห่ง อุปาทานขันธ์ ๕ และความเกิด ความดับ คุณ โทษ อุบายเครื่องสลัดออกไป แห่งมหาภูต รูป ๔ ต่อใครๆ อื่นซึ่งเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร หรือพรหม และไม่เชื่อธรรมที่ รู้ยิ่งด้วยตนเอง อันประจักษ์แก่ตนเองว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมี ความดับไปเป็นธรรมดา ต่อใครๆ อื่นซึ่งเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร หรือพรหม. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสารีบุตร เธอย่อมเชื่อหรือว่า สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว เป็น ธรรมชาติหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด. ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในข้อนี้ ข้าพระองค์ไม่ถึงความเชื่อต่อพระผู้มีพระภาคว่า สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว เป็น ธรรมชาติหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สัทธินทรีย์เป็นต้นนั้น ชนเหล่าใด ยังไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่ทำให้แจ้ง ไม่ถูกต้องแล้ว ด้วยปัญญา ชนเหล่านั้น พึงถึงความเชื่อต่อชนอื่นในข้อนั้นโดยแน่นอนว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว เป็นคุณชาติหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้อง หน้า มีอมตะเป็นที่สุด. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ส่วนว่า สัทธินทรีย์เป็นต้นนั้น ชนเหล่าใด รู้ เห็น ทราบ ทำให้แจ้ง ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ชนเหล่านั้น ไม่มีความเคลือบแคลงสงสัยในข้อนั้นว่า สัทธินทรีย์ ... ปัญญินทรีย์ ... ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว เป็นคุณชาติหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ เป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สัทธินทรีย์เป็นต้นนั้น ข้าพระองค์รู้ เห็น ทราบ ทำให้แจ้ง ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ข้าพระองค์ไม่มีความเคลือบแคลงสงสัยในข้อนั้นว่า สัทธินทรีย์ ... ปัญญินทรีย์ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว เป็นคุณชาติหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ เป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสารีบุตร ถูกละๆ ดูกรสารีบุตร ความจริง สัทธินทรีย์เป็นต้นนั้น ชนเหล่าใด ยังไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่ทำให้แจ้ง ไม่ถูก ต้องแล้วด้วยปัญญา ชนเหล่านั้น พึงถึงความเชื่อต่อชนอื่นในข้อนั้นว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ ที่บุคคลเจริญแล้วทำให้มากแล้ว เป็นคุณชาติหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด. พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถา ประพันธ์ต่อไปว่า นรชนใด เป็นผู้ไม่เชื่อต่อใครๆ รู้ว่า นิพพานอันปัจจัยอะไรๆ ทำ ไม่ได้ ตัดที่ต่อ กำจัดโอกาส คลายความหวังเสียแล้ว นรชนนั้นแล ชื่อว่า เป็นอุดมบุรุษ ดังนี้.
ว่าด้วยผู้ไม่คลายกำหนัด
คำว่า ไม่คลายกำหนัด ความว่า พาลปุถุชนทั้งหมดย่อมกำหนัด พระเสขะ ๗ จำพวก รวมทั้งกัลยาณปุถุชน ย่อมคลายกำหนัด พระอรหันต์ย่อมไม่กำหนัด ทั้งไม่คลายกำหนัด. พระ อรหันต์นั้น ชื่อว่า เป็นผู้เว้น เพราะสิ้นราคะ ปราศจากราคะ สิ้นโทสะ ปราศจากโทสะ สิ้นโมหะ ปราศจากโมหะ. พระอรหันต์นั้น อยู่จบพรหมจรรย์ มีจรณะอันประพฤติแล้ว ฯลฯ ไม่มีภพ ใหม่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่เชื่อใครๆ ไม่คลายกำหนัด. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่า บุคคลผู้ไม่มีความยินดีในวัตถุเป็นที่ยินดี ไม่ประกอบในความดูหมิ่น ผู้ละเอียด มีปฏิภาณ ไม่เชื่อใครๆ และไม่คลายกำหนัด.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ บรรทัดที่ ๕๑๒๗-๕๒๒๐ หน้าที่ ๒๑๕-๒๑๙. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=29&A=5127&Z=5220&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=29&siri=10              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=374              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [402-407] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=29&item=402&items=6              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=45&A=7251              The Pali Tipitaka in Roman :- [402-407] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=29&item=402&items=6              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=45&A=7251              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ https://84000.org/tipitaka/read/?index_29

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :