บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๕ เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง [๑๙๗] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันอารามของอนาถ- *บิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งเป็นกุลุปิกาของสกุลแห่งหนึ่ง รับ ภัตตาหารเป็นประจำ จึงภิกษุณีนั้นครั้นเวลาเช้า ครองอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรจีวร เดินผ่านเข้า ไปทางสกุลนั้น ครั้นถึงจึงนั่งบนอาสนะแล้วไม่บอกลาเจ้าของบ้านกลับไป ทาสีแห่งสกุลนั้น มัวสาละวนเก็บกวาดเรือน ได้เก็บอาสนะนั้นลงในกระโถน คนในบ้านไม่เห็นอาสนะ จึงถาม ภิกษุณีนั้นว่า ข้าแต่แม่เจ้า อาสนะนั้นอยู่ที่ไหน? ภิกษุณีนั้นปฏิเสธว่า อาวุโส ดิฉันไม่เห็นอาสนะนั้น. คนเหล่านั้นกล่าวคาดคั้นว่า ข้าแต่แม่เจ้า ขอท่านจงให้อาสนะนั้น ดังนี้แล้ว ได้บอกเลิก ถวายภัตตาหารประจำ ภายหลังเขาชำระเรือนพบอาสนะนั้นอยู่ในกระโถน จึงขอขมาโทษภิกษุณีนั้น แล้วได้เริ่มต้นถวายภัตตาหารประจำต่อไป. ส่วนภิกษุณีนั้นได้เล่าเรื่องนั้นแก่ภิกษุณีทั้งหลาย. บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็ เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีเข้าสู่สกุลในเวลา ก่อนอาหารนั่งบนอาสนะแล้ว จึง ไม่ได้บอกลาเจ้าของบ้านก่อนกลับเล่า ...ทรงสอบถาม พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุณีเข้าสู่สกุล ในเวลาก่อนอาหาร นั่งบนอาสนะแล้ว ไม่บอกลาเจ้าของบ้านก่อนกลับ จริงหรือ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีเข้าสู่สกุลในเวลา ก่อนอาหาร นั่งบนอาสนะแล้ว จึงได้ไม่บอกลาเจ้าของบ้านก่อนกลับเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-พระบัญญัติ ๗๐. ๕. อนึ่ง ภิกษุณีใด เข้าไปสู่สกุลทั้งหลาย ในเวลาก่อนอาหาร นั่งบนอาสนะ แล้ว ไม่บอกลาเจ้าของบ้าน หลีกไป เป็นปาจิตตีย์.เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง จบ. สิกขาบทวิภังค์ [๑๙๘] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ... บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้. ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้. ที่ชื่อว่า เวลาก่อนอาหาร คือเวลาอรุณขึ้นตราบเท่าเที่ยงวัน. ที่ชื่อว่า สกุล ได้แก่สกุล ๔ คือ สกุลกษัตริย์ สกุลพราหมณ์ สกุลแพศย์ สกุลศูทร์. บทว่า เข้าไป คือ ไปในสกุลนั้น. ที่ชื่อว่า อาสนะ ได้แก่ เอกเทสที่เขาเรียกกันว่าที่สำหรับนั่งพับพแนงเชิง. บทว่า นั่ง คือ นั่งบนอาสนะนั้น. คำว่า ไม่บอกลาเจ้าของบ้าน หลีกไป ความว่า ไม่อำลาคนในสกุลนั้นซึ่งเป็นเจ้าของ ถวาย. เดินพ้นชายคา ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ในที่แจ้ง เดินล่วงอุปจาร ต้องอาบัติปาจิตตีย์.บทภาชนีย์ ติกะปาจิตตีย์ [๑๙๙] ยังมิได้บอกลา ภิกษุณีสำคัญว่า ยังมิได้บอกลา หลีกไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ยังมิได้บอกลา ภิกษุณีสงสัย หลีกไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ยังมิได้บอกลา ภิกษุณีสำคัญว่า บอกลาแล้ว หลีกไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์.ติกะทุกกฏ ไม่ใช่สถานที่สำหรับนั่งพับพแนงเชิง ต้องอาบัติทุกกฏ. บอกลาแล้ว ภิกษุณีสำคัญว่า ยังมิได้บอกลา ต้องอาบัติทุกกฏ. บอกลาแล้ว ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.ไม่ต้องอาบัติ บอกลาแล้ว ภิกษุณีสำคัญว่าบอกลาแล้ว ไม่ต้องอาบัติ.อนาปัตติวาร [๒๐๐] บอกลาแล้วไป ๑ อาสนะเคลื่อนที่ไม่ได้ ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ. ----------------------------------------------------- เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓ บรรทัดที่ ๒๘๖๘-๒๙๒๓ หน้าที่ ๑๒๒-๑๒๔. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=3&A=2868&Z=2923&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=3&siri=43 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=197 ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [197-200] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=3&item=197&items=4 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=11412 The Pali Tipitaka in Roman :- [197-200] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=3&item=197&items=4 The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=11412 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_3 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/03i001-e.php#3.197 https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pc15/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pc15/en/horner
บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]