ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
มหาวรรค มัณฑเปยยกถา
[๕๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์นี้ในพระศาสดาซึ่งมีอยู่เฉพาะ หน้า เป็นพรหมจรรย์อันผ่องใสควรดื่ม ความผ่องใสในพระศาสดาซึ่งมีอยู่ เฉพาะหน้ามี ๓ ประการ คือ ความผ่องใสแห่งเทศนา ๑ ความผ่องใสแห่ง การรับ ๑ ความผ่องใสแห่งพรหมจรรย์ ๑ ฯ ความผ่องใสแห่งเทศนาเป็นไฉน การบอก การแสดง การบัญญัติ การแต่งตั้ง การเปิดเผย การจำแนก การทำให้ง่าย ซึ่งอริยสัจ ๔ การบอก การแสดง การบัญญัติ การแต่งตั้ง การเปิดเผย การจำแนก การทำให้ง่าย ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เป็นความผ่องใสแห่งเทศนา ฯ ความผ่องใสแห่งการรับเป็นไฉน ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เทวดา มนุษย์ หรือท่านผู้รู้แจ้งพวกใดพวกหนึ่ง นี้เป็นความผ่องใสแห่ง การรับ ฯ ความผ่องใสแห่งพรหมจรรย์เป็นไฉน อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล คือ สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ นี้เป็นความผ่องใสแห่งพรหมจรรย์ ฯ [๕๓๑] สัทธินทรีย์เป็นความผ่องใสแห่งการน้อมใจเชื่อ ความไม่มี ศรัทธาเป็นกาก บุคคลทิ้งความไม่มีศรัทธาอันเป็นกากเสียแล้ว ดื่มความผ่องใส แห่งความน้อมใจเชื่อของสัทธินทรีย์ เพราะเหตุนั้น สัทธินทรีย์จึงเป็นพรหมจรรย์ มีความผ่องใสควรดื่ม วิริยินทรีย์เป็นความผ่องใสแห่งการประคองไว้ ความ เกียจคร้านเป็นกาก บุคคลทิ้งความเกียจคร้านอันเป็นกากเสียแล้ว ดื่มความ ผ่องใสแห่งความประคองไว้ของวิริยินทรีย์ เพราะเหตุนั้น วิริยินทรีย์จึงเป็น พรหมจรรย์มีความผ่องใสควรดื่ม สตินทรีย์เป็นความผ่องใสแห่งความตั้งมั่น ความ ประมาทเป็นกาก บุคคลทิ้งความประมาทอันเป็นกากเสียแล้ว ดื่มความผ่องใส แห่งความตั้งมั่นของสตินทรีย์ เพราะเหตุนั้น สตินทรีย์จึงเป็นพรหมจรรย์มีความ ผ่องใสควรดื่ม สมาธินทรีย์เป็นความผ่องใสแห่งความไม่ฟุ้งซ่าน อุทธัจจะเป็น กาก บุคคลทิ้งอุทธัจจะอันเป็นกากเสียแล้ว ดื่มความผ่องใสแห่งความไม่ฟุ้งซ่าน ของสมาธินทรีย์ เพราะเหตุนั้น สมาธินทรีย์จึงเป็นพรหมจรรย์มีความผ่องใส ควรดื่ม ปัญญินทรีย์เป็นความผ่องใสแห่งการเห็น อวิชชาเป็นกาก บุคคลทิ้ง อวิชชาอันเป็นกากเสียแล้ว ดื่มความผ่องใสแห่งการเห็นของปัญญินทรีย์ เพราะ- *เหตุนั้น ปัญญินทรีย์จึงเป็นพรหมจรรย์มีความผ่องใสควรดื่ม สัทธาพละเป็น ความผ่องใสแห่งความไม่หวั่นไหวไปในความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ความเป็นผู้ไม่มี ศรัทธาเป็นกาก บุคคลทิ้งความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาอันเป็นกากเสียแล้ว ดื่มความ ผ่องใสแห่งความไม่หวั่นไหว ไปในความไม่มีศรัทธาของสัทธาพละ เพราะเหตุนั้น สัทธาพละ จึงเป็นพรหมจรรย์มีความผ่องใสควรดื่ม วิริยพละเป็นความผ่องใส แห่งความไม่หวั่นไหวไปในความเกียจคร้าน ความเกียจคร้านเป็นกาก บุคคล ทิ้งความเกียจคร้านอันเป็นกากเสียแล้ว ดื่มความผ่องใสแห่งความไม่หวั่นไหว ไปในความเกียจคร้านของวิริยพละ เพราะเหตุนั้น วิริยพละจึงเป็นพรหมจรรย์ มีความผ่องใสควรดื่ม สติพละเป็นความผ่องใสแห่งความไม่หวั่นไหวไปในความ ประมาท ความประมาทเป็นกาก บุคคลทิ้งความประมาทอันเป็นกากเสียแล้ว ดื่มความผ่องใสแห่งความไม่หวั่นไหวไปในความประมาทของสติพละ เพราะ- *เหตุนั้น สติพละจึงเป็นพรหมจรรย์มีความผ่องใสควรดื่ม สมาธิพละเป็นความ ผ่องใสแห่งความไม่หวั่นไหวไปในอุทธัจจะ อุทธัจจะเป็นกาก บุคคลทิ้งอุทธัจจะ อันเป็นกากเสียแล้ว ดื่มความผ่องใสแห่งความไม่หวั่นไหวไปในอุทธัจจะของ สมาธิพละ เพราะเหตุนั้น สมาธิพละจึงเป็นพรหมจรรย์มีความผ่องใสควรดื่ม ปัญญาพละเป็นความผ่องใสแห่งความไม่หวั่นไหวไปในอวิชชา อวิชชาเป็นกาก บุคคลทิ้งอวิชชาอันเป็นกากเสียแล้ว ดื่มความผ่องใสแห่งความไม่หวั่นไหวไปใน อวิชชาของปัญญาพละ เพราะเหตุนั้น ปัญญาพละจึงเป็นพรหมจรรย์มีความ ผ่องใสควรดื่ม สติสัมโพชฌงค์เป็นความผ่องใสแห่งความตั้งมั่น ความประมาท เป็นกาก บุคคลทิ้งความประมาทอันเป็นกากเสียแล้ว ดื่มความผ่องใสแห่งความ ตั้งมั่นของสติสัมโพชฌงค์ เพราะเหตุนั้น สติสัมโพชฌงค์ จึงเป็นพรหมจรรย์ มีความผ่องใสควรดื่ม ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นความผ่องใสแห่งการเลือกเฟ้น อวิชชาเป็นกาก บุคคลทิ้งอวิชชาอันเป็นกากเสียแล้ว ดื่มความผ่องใสแห่งการ เลือกเฟ้นของธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ เพราะเหตุนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์จึงเป็น พรหมจรรย์มีความผ่องใสควรดื่ม วิริยสัมโพชฌงค์เป็นความผ่องใสแห่งการ ประคองไว้ ความเกียจคร้านเป็นกาก บุคคลทิ้งความเกียจคร้านอันเป็นกาก เสียแล้ว ดื่มความผ่องใสแห่งการประคองไว้ ของวิริยสัมโพชฌงค์ เพราะ- *เหตุนั้น วิริยสัมโพชฌงค์จึงเป็นพรหมจรรย์มีความผ่องใสควรดื่ม ปีติสัมโพชฌงค์ เป็นความผ่องใสแห่งความแผ่ซ่าน ความเร่าร้อนเป็นกาก บุคคลทิ้งความเร่าร้อน อันเป็นกากเสียแล้ว ดื่มความผ่องใสแห่งความแผ่ซ่านไป ของปีติสัมโพชฌงค์ เพราะเหตุนั้น ปีติสัมโพชฌงค์จึงเป็นพรหมจรรย์มีความผ่องใสควรดื่ม ปัสสัทธิ- *สัมโพชฌงค์เป็นความผ่องใสแห่งความสงบ ความชั่วหยาบเป็นกาก บุคคลทิ้ง ความชั่วหยาบอันเป็นกากเสียแล้ว ดื่มความผ่องใสแห่งความสงบของปัสสัทธิ- *สัมโพชฌงค์ เพราะเหตุนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์จึงเป็นพรหมจรรย์ มีความ ผ่องใสควรดื่ม สมาธิสัมโพชฌงค์เป็นความผ่องใสแห่งความไม่ฟุ้งซ่าน อุทธัจจะ เป็นกาก บุคคลทิ้งอุทธัจจะอันเป็นกากเสียแล้ว ดื่มความผ่องใสแห่งความไม่ ฟุ้งซ่านของสมาธิสัมโพชฌงค์ เพราะเหตุนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์จึงเป็นพรหม- *จรรย์มีความผ่องใสควรดื่ม อุเบกขาสัมโพชฌงค์เป็นความผ่องใสแห่งการพิจารณา หาทาง การไม่พิจารณาหาทางเป็นกาก บุคคลทิ้งการไม่พิจารณาหาทางอันเป็น กากเสียแล้ว ดื่มความผ่องใสแห่งการพิจารณาหาทางของอุเบกขาสัมโพชฌงค์ เพราะเหตุนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์จึงเป็นพรหมจรรย์มีความผ่องใสควรดื่ม สัมมาทิฐิเป็นความผ่องใสแห่งการเห็น มิจฉาทิฐิเป็นกาก บุคคลทิ้งมิจฉาทิฐิ อันเป็นกากเสียแล้ว ดื่มความผ่องใสแห่งการเห็นของสัมมาทิฐิ เพราะเหตุนั้น สัมมาทิฐิจึงเป็นพรหมจรรย์มีความผ่องใสควรดื่ม สัมมาสังกัปปะเป็นความผ่องใส แห่งความดำริ มิจฉาสังกัปปะเป็นกาก บุคคลทิ้งมิจฉาสังกัปปะอันเป็นกาก เสียแล้ว ดื่มความผ่องใสแห่งความดำริของสัมมาสังกัปปะ เพราะเหตุนั้น สัมมา- *สังกัปปะจึงเป็นพรหมจรรย์มีความผ่องใสควรดื่ม สัมมาวาจาเป็นความผ่องใส แห่งการกำหนด มิจฉาวาจาเป็นกาก บุคคลทิ้งมิจฉาวาจาอันเป็นกากเสียแล้ว ดื่มความผ่องใสแห่งการกำหนดของสัมมาวาจา เพราะเหตุนั้น สัมมาวาจาจึงเป็น พรหมจรรย์มีความผ่องใสควรดื่ม สัมมากัมมันตะเป็นความผ่องใสแห่งสมุฏฐาน มิจฉากัมมันตะเป็นกาก บุคคลทิ้งมิจฉากัมมันตะอันเป็นกากเสียแล้ว ดื่มความ ผ่องใสแห่งสมุฏฐานของสัมมากัมมันตะ เพราะเหตุนั้น สัมมากัมมันตะจึงเป็น พรหมจรรย์มีความผ่องใสควรดื่ม สัมมาอาชีวะเป็นความผ่องใสแห่งความผ่องแผ้ว มิจฉาอาชีวะเป็นกาก บุคคลทิ้งมิจฉาอาชีวะอันเป็นกากเสียแล้ว ดื่มความผ่องใส แห่งความผ่องแผ้วของสัมมาอาชีวะ เพราะเหตุนั้น สัมมาอาชีวะจึงเป็นพรหมจรรย์ มีความผ่องใสควรดื่ม สัมมาวายามะเป็นความผ่องใสแห่งการประคองไว้ มิจฉา- *วายามะเป็นกาก บุคคลทิ้งมิจฉาวายามะอันเป็นกากเสียแล้ว ดื่มความผ่องใส แห่งการประคองไว้ของสัมมาวายามะ เพราะเหตุนั้น สัมมาวายามะจึงเป็นพรหม- *จรรย์มีความผ่องใสควรดื่ม สัมมาสติเป็นความผ่องใสแห่งการตั้งมั่น มิจฉาสติ เป็นกาก บุคคลทิ้งมิจฉาสติอันเป็นกากเสียแล้ว ดื่มความผ่องใสแห่งการตั้งมั่น ของสัมมาสติ เพราะเหตุนั้น สัมมาสติจึงเป็นพรหมจรรย์มีความผ่องใสควรดื่ม สัมมาสมาธิเป็นความผ่องใสแห่งความไม่ฟุ้งซ่าน มิจฉาสมาธิเป็นกาก บุคคล ทิ้งมิจฉาสมาธิอันเป็นกากเสียแล้ว ดื่มความผ่องใสแห่งความไม่ฟุ้งซ่านของ สัมมาสมาธิ เพราะเหตุนั้น สัมมาสมาธิจึงเป็นพรหมจรรย์มีความผ่องใส ควรดื่ม ฯ [๕๓๒] ความผ่องใสมีอยู่ ธรรมที่ควรดื่มมีอยู่ กากมีอยู่ สัทธินทรีย์ เป็นความผ่องใสแห่งการน้อมใจเชื่อ ความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส วิมุติรส ในสัทธินทรีย์นั้น เป็นธรรมที่ควรดื่ม วิริยินทรีย์เป็นความ ผ่องใสแห่งการประคองไว้ ความเกียจคร้านเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส วิมุติรส ในวิริยินทรีย์นั้น เป็นธรรมที่ควรดื่ม สตินทรีย์เป็นความผ่องใสแห่งความตั้งมั่น ความประมาทเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส วิมุติรส ในสตินทรีย์นั้น เป็นธรรม ที่ควรดื่ม สมาธินทรีย์เป็นความผ่องใสแห่งความไม่ฟุ้งซ่าน อุทธัจจะเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส วิมุติรส ในสมาธินทรีย์นั้น เป็นธรรมที่ควรดื่ม ปัญญิน- *ทรีย์เป็นความผ่องใสแห่งการเห็น อวิชชาเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส วิมุติรส ในปัญญินทรีย์นั้น เป็นธรรมที่ควรดื่ม สัทธาพละเป็นความผ่องใสแห่งความไม่ หวั่นไหวไปในความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส วิมุติรส ในสัทธาพละนั้น เป็นธรรมที่ควรดื่ม วิริยพละเป็นความ ผ่องใสแห่งความไม่หวั่นไหวไปในความเกียจคร้าน ความเกียจคร้านเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส วิมุติรส ในวิริยินทรีย์นั้น เป็นธรรมที่ควรดื่ม สติพละเป็น ความผ่องใสแห่งความไม่หวั่นไหวไปในความประมาท ความประมาทเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส วิมุติรส ในสติพละนั้น เป็นธรรมที่ควรดื่ม สมาธิพละ เป็นความผ่องใสแห่งความไม่หวั่นไหวไปในอุทธัจจะ อุทธัจจะเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส วิมุติรส ในสมาธิพละนั้น เป็นธรรมที่ควรดื่ม ปัญญาพละเป็นความ ผ่องใสแห่งความไม่หวั่นไหวไปในอวิชชา อวิชชาเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส วิมุติรส ในปัญญาพละนั้น เป็นธรรมที่ควรดื่ม สติสัมโพชฌงค์เป็นความผ่องใส แห่งความตั้งมั่น ความประมาทเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส วิมุติรส ในสติ- *สัมโพชฌงค์นั้น เป็นธรรมที่ควรดื่ม ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์เป็นความผ่องใสแห่ง การเลือกเฟ้น อวิชชาเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส วิมุติรส ในธรรม วิจยสัมโพชฌงค์นั้น เป็นธรรมที่ควรดื่ม วิริยสัมโพชฌงค์เป็นความผ่องใสแห่ง ความประคองไว้ ความเกียจคร้านเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส วิมุติรส ใน วิริยสัมโพชฌงค์นั้น เป็นธรรมที่ควรดื่ม ปีติสัมโพชฌงค์เป็นความผ่องใสแห่ง ความแผ่ซ่าน ความเร่าร้อนเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส วิมุติรส ในปีติ- *สัมโพชฌงค์นั้น เป็นธรรมที่ควรดื่ม ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์เป็นความผ่องใส แห่งความสงบ ความชั่วหยาบเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส วิมุติรส ในปัสสัทธิ- *สัมโพชฌงค์นั้น เป็นธรรมที่ควรดื่ม สมาธิสัมโพชฌงค์เป็นความผ่องใสแห่ง ความไม่ฟุ้งซ่าน อุทธัจจะเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส วิมุติรส ในสมาธิ- *สัมโพชฌงค์นั้น เป็นธรรมที่ควรดื่ม อุเบกขาสัมโพชฌงค์เป็นความผ่องใสแห่ง การพิจารณาหาทาง การไม่พิจารณาหาทางเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส วิมุติรส ในอุเบกขาสัมโพชฌงค์นั้น เป็นธรรมที่ควรดื่ม ฯ [๕๓๓] สัมมาทิฐิเป็นความผ่องใสแห่งการเห็น มิจฉาทิฐิเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส วิมุติรส ในสัมมาทิฐินั้น เป็นธรรมที่ควรดื่ม สัมมา- *สังกัปปะเป็นความผ่องใสแห่งความดำริ มิจฉาสังกัปปะเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส วิมุติรส ในสัมมาสังกัปปะนั้น เป็นธรรมที่ควรดื่ม สัมมาวาจา เป็นความผ่องใสแห่งความกำหนด มิจฉาวาจาเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส วิมุติรส ในสัมมาวาจานั้น เป็นธรรมที่ควรดื่ม สัมมากัมมันตะเป็นความผ่องใส แห่งสมุฏฐาน อรรถรส ธรรมรส วิมุติรส ในสัมมากัมมันตะนั้น เป็นธรรม ที่ควรดื่ม สัมมาวาชีวะเป็นความผ่องใสแห่งความผ่องแผ้ว มิจฉาอาชีวะเป็น กาก อรรถรส ธรรมรส วิมุติรส ในสัมมาวาชีวะนั้น เป็นธรรมที่ควร ดื่ม สัมมาวายามะเป็นความผ่องใสแห่งการประคองไว้ มิจฉาวายามะเป็น กาก อรรถรส ธรรมรส วิมุติรส ในสัมมาวายามะนั้น เป็นธรรมที่ควร ดื่ม สัมมาสติเป็นความผ่องใสแห่งการตั้งมั่น มิจฉาสตินั้นเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส วิมุติรส ในสัมมาสตินั้น เป็นธรรมที่ควรดื่ม สัมมาสมาธิเป็น ความผ่องใสแห่งความไม่ฟุ้งซ่าน มิจฉาสมาธิเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส วิมุติรส ในสัมมาสมาธินั้น เป็นธรรมที่ควรดื่ม สัมมาทิฐิเป็นความผ่องใส แห่งการเห็น สัมมาสังกัปปะเป็นความผ่องใสแห่งความดำริ สัมมาวาจาเป็น ความผ่องใสแห่งการกำหนด สัมมากัมมันตะเป็นความผ่องใสแห่งสมุฏฐาน สัมมาอาชีวะเป็นความผ่องใสแห่งความผ่องแผ้ว สัมมาวายามะเป็นความผ่องใส แห่งความประคองไว้ สัมมาสติเป็นความผ่องใสแห่งความตั้งมั่น สัมมาสมาธิ เป็นความผ่องใสแห่งความไม่ฟุ้งซ่าน สติสัมโพชฌงค์เป็นความผ่องใสแห่ง ความตั้งมั่น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์เป็นความผ่องใสแห่งความประคองไว้ ปีติ- *สัมโพชฌงค์เป็นความผ่องใสแห่งความแผ่ซ่าน ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์เป็นความ ผ่องใสแห่งความสงบ สมาธิสัมโพชฌงค์เป็นความผ่องใสแห่งความไม่ฟุ้งซ่าน อุเบกขาสัมโพชฌงค์เป็นความผ่องใสแห่งการพิจารณาหาทาง สัทธาพละเป็น ความผ่องใสแห่งความไม่หวั่นไหวไปในความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา วิริยพละเป็น ความผ่องใสแห่งความไม่หวั่นไหวไปในความเกียจคร้าน สติพละเป็นความผ่อง ใสแห่งความไม่หวั่นไหวไปในความประมาท สมาธิพละเป็นความผ่องใสแห่ง ความไม่หวั่นไหวไปในอุทธัจจะ ปัญญาพละเป็นความผ่องใสแห่งความไม่หวั่น- *ไหวไปในอวิชชา สัทธินทรีย์เป็นความผ่องใสแห่งความน้อมใจเชื่อ วิริยินทรีย์ เป็นความผ่องใสแห่งความประคองไว้ สตินทรีย์เป็นความผ่องใสแห่งการตั้งมั่น สมาธินทรีย์เป็นความผ่องใสแห่งความไม่ฟุ้งซ่าน ปัญญินทรีย์เป็นความผ่องใส แห่งการเห็น อินทรีย์เป็นความผ่องใสเพราะอรรถว่าเป็นใหญ่ พละเป็น ความผ่องใสเพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว โพชฌงค์เป็นความผ่องใสเพราะอรรถ ว่านำออก มรรคเป็นความผ่องใสเพราะอรรถว่าเป็นเหตุ สติปัฏฐานเป็นความ ผ่องใสเพราะอรรถว่าตั้งมั่น สัมมัปปธานเป็นความผ่องใสเพราะอรรถว่าเริ่มตั้ง ไว้ อิทธิบาทเป็นความผ่องใสเพราะอรรถว่าให้สำเร็จ สมถะเป็นความผ่อง ใสเพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน วิปัสสนาเป็นความผ่องใสเพราะอรรถว่าพิจารณาเห็น สมถะและวิปัสสนาเป็นความผ่องใสเพราะอรรถว่ามีกิจเป็นอันเดียวกัน ธรรมที่ เป็นคู่กันเป็นความผ่องใสเพราะอรรถว่าไม่ล่วงเกินกัน สีลวิสุทธิเป็นความผ่อง ใสเพราะอรรถว่าสำรวม จิตตวิสุทธิเป็นความผ่องใสเพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ทิฐิวิสุทธิเป็นความผ่องใสเพราะอรรถว่าเห็น วิโมกข์เป็นความผ่องใสเพราะ อรรถว่าหลุดพ้น วิชชาเป็นความผ่องใสเพราะอรรถว่าแทงตลอด วิมุตติเป็น ความผ่องใสเพราะอรรถว่าปล่อยวาง ขยญาณเป็นความผ่องใสเพราะอรรถว่า ตัดขาด ญาณในความไม่เกิดขึ้นเป็นความผ่องใสเพราะอรรถว่าสงบระงับ ฉันทะ เป็นความผ่องใสเพราะอรรถว่าเป็นมูล มนสิการเป็นความผ่องใสเพราะอรรถว่า เป็นสมุฏฐาน ผัสสะเป็นความผ่องใสเพราะอรรถว่าเป็นที่ประชุม เวทนา เป็นความผ่องใสเพราะอรรถว่าเป็นที่รวม สมาธิเป็นความผ่องใสเพราะอรรถว่า เป็นประธาน สติเป็นความผ่องใสเพราะอรรถว่าเป็นใหญ่ ปัญญาเป็นความ ผ่องใสเพราะอรรถว่าเป็นธรรมยิ่งกว่าธรรมนั้น วิมุตติเป็นความผ่องใสเพราะ อรรถว่าเป็นสาระ นิพพานอันหยั่งลงสู่อมตะเป็นความผ่องใสเพราะอรรถว่า เป็นที่สุด ฉะนี้แล ฯ
จบมัณฑเปยยกถา ฯ
จบภาณวาร ฯ
จบมหาวรรคที่ ๑ ฯ
-----------------------------------------------------
รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ญาณกถา ๒. ทิฐิกถา ๓. อานาปานกถา ๔. อินทริยกถา ๕. วิโมกขกถา ๖. คติกถา ๗. กรรมกถา ๘. วิปัลลาสกถา ๙. มรรคกถา ๑๐. มัณฑเปยยกถา ฯ นิกายอันประเสริฐนี้ เป็นวรมรรคอันประเสริฐที่ ๑ ไม่มีวรรคอื่นเสมอ ท่านตั้งไว้แล้ว ฉะนี้แล ฯ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๗๓๗๓-๗๕๖๓ หน้าที่ ๓๐๕-๓๑๒. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=31&A=7373&Z=7563&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=31&siri=69              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=530              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [530-533] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=31&item=530&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=48&A=4760              The Pali Tipitaka in Roman :- [530-533] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=31&item=530&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=48&A=4760              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ https://84000.org/tipitaka/read/?index_31

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :