ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
ยุคนัทธวรรค สุญกถา
[๖๓๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอาราม ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า โลกสูญ โลกสูญ ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุ เพียงเท่าไรหนอแล พระองค์จึงตรัสว่า โลกสูญ ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ เพราะว่าสูญจากตนและจากสิ่งที่ เนื่องด้วยตน ฉะนั้นเราจึงกล่าวว่าโลกสูญ ดูกรอานนท์ อะไรเล่าสูญจากตน และสิ่งที่เนื่องด้วยตน ดูกรอานนท์ จักษุสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน รูปสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน จักขุวิญญาณสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน จักขุสัมผัสสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็สูญจากตนและสิ่งที่ เนื่องด้วยตน หูสูญ ฯลฯ เสียงสูญ จมูกสูญ กลิ่นสูญ ลิ้นสูญ รสสูญ กายสูญ โผฏฐัพพะสูญ ใจสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน ธรรมารมณ์สูญ จากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน มโนวิญญาณสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส เป็นปัจจัย ก็สูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน เพราะฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า โลกสูญ ฯ [๖๓๔] สิ่งที่สูญสูญ สังขารสูญ วิปริณามธรรมสูญ อัคคบทสูญ ลักษณะสูญ วิกขัมภนสูญ ตทังคสูญ สมุจเฉทสูญ ปฏิปัสสัทธิสูญ นิสสรณะสูญ ภายในสูญ ภายนอกสูญ ทั้งภายในและภายนอกสูญ ส่วนที่ เสมอกันสูญ ส่วนที่ไม่เสมอกันสูญ ความแสวงหาสูญ ความกำหนดสูญ ความได้เฉพาะสูญ การแทงตลอดสูญ ความเป็นอย่างเดียวสูญ ความเป็น ต่างๆ สูญ ความอดทนสูญ ความอธิษฐานสูญ ความมั่นคงสูญ การครอบงำ- *ความเป็นไปแห่งสัมปชานบุคคลสูญ มีประโยชน์อย่างยิ่งกว่าความสูญทั้งปวง ฯ [๖๓๕] สิ่งที่สูญสูญเป็นไฉน จักษุสูญจากตน จากสิ่งที่เนื่องด้วยตน จากความเที่ยง ความยั่งยืน ความมั่นคง และจากความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา หูสูญ ฯลฯ จมูกสูญ ลิ้นสูญ กายสูญ ใจสูญจากตน จากสิ่งที่เนื่องด้วยตน จากความเที่ยง ความยั่งยืน ความมั่นคง และจากความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา นี้สิ่งที่สูญสูญ ฯ [๖๓๖] สังขารสูญเป็นไฉน สังขาร ๓ คือ ปุญญาภิสังขาร อปุญญา ภิสังขาร อเนญชาภิสังขาร ปุญญาภิสังขาร สูญจากอปุญญาภิสังขารและ อเนญชาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร สูญจากปุญญาภิสังขารและอเนญชาภิสังขาร อเนญชาภิสังขาร สูญจากปุญญาภิสังขารและอปุญญาภิสังขาร นี้สังขาร ๓ ฯ สังขาร ๓ อีกประการหนึ่ง คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร กายสังขาร สูญจากวจีสังขารและจิตตสังขาร วจีสังขาร สูญจากกายสังขารและ จิตตสังขาร จิตตสังขาร สูญจากกายสังขารและวจีสังขาร นี้สังขาร ๓ ฯ สังขาร ๓ อีกประการหนึ่ง คือ สังขารส่วนอดีต สังขารส่วนอนาคต สังขารส่วนปัจจุบัน สังขารส่วนอดีต สูญจากสังขารส่วนอนาคตและสังขารส่วน ปัจจุบัน สังขารส่วนอนาคต สูญจากสังขารส่วนอดีตและสังขารส่วนปัจจุบัน สังขารส่วนปัจจุบัน สูญจากสังขารส่วนอดีตและสังขารส่วนอนาคต นี้สังขาร ๓ นี้สังขารสูญ ฯ [๖๓๗] วิปริณามธรรมสูญเป็นไฉน รูปเกิดแล้วสูญไปจากสภาพ (ปรกติเดิม) รูปหายไป แปรปรวนไปและสูญไป เวทนาเกิดแล้ว ฯลฯ สัญญา เกิดแล้ว สังขารเกิดแล้ว วิญญาณเกิดแล้ว จักษุเกิดแล้ว ฯลฯ ภพเกิดแล้ว สูญไปจากสภาพ ภพหายไป แปรปรวนไปและสูญไป นี้วิปริณามธรรมสูญ [๖๓๘] อัคคบทสูญเป็นไฉน บทนี้ คือ ความสงบแห่ง- *สังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสำรอกกิเลส ความดับ นิพพาน เป็นบทเลิศ เป็นบทประเสริฐ เป็นบทวิเศษ นี้อัคคบทสูญ ฯ [๖๓๙] ลักษณะสูญเป็นไฉน ลักษณะ ๒ คือ พาลลักษณะ ๑ ปัณฑิตลักษณะ ๑ พาลลักษณะสูญจากปัณฑิตลักษณะ ปัณฑิตลักษณะสูญจาก พาลลักษณะ ลักษณะ ๓ คือ อุปปาทลักษณะ (ลักษณะความเกิดขึ้น) วยลักษณะ (ลักษณะความเสื่อมไป) ฐิตัญญถัตตลักษณะ (ลักษณะเมื่อยังตั้งอยู่ แปรเป็นอื่นไป) อุปปาทลักษณะ สูญจากวยลักษณะและฐิตัญญถัตตลักษณะ วยลักษณะ สูญจากอุปปาทลักษณะและฐิตัญญถัตตลักษณะ ฐิตัญญถัตตลักษณะ สูญจากอุปปาทลักษณะและวยลักษณะ ลักษณะความเกิดขึ้นแห่งรูป สูญจาก ลักษณะความเสื่อมไปและจากลักษณะเมื่อยังตั้งอยู่แปรเป็นอื่นไป ลักษณะความ เสื่อมไปแห่งรูป สูญจากลักษณะความเกิดขึ้นและจากลักษณะเมื่อยังตั้งอยู่แปร เป็นอื่นไป ลักษณะเมื่อยังตั้งอยู่แปรเป็นอื่นไปแห่งรูป สูญจากลักษณะความ เกิดขึ้นและจากลักษณะความเสื่อมไป ลักษณะความเกิดขึ้นแห่งเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ สูญจากลักษณะความเสื่อมไปและ จากลักษณะเมื่อยังตั้งอยู่แปรเป็นอื่นไป ลักษณะความเสื่อมไปแห่งชราและมรณะ สูญจากลักษณะความเกิดขึ้นและจากลักษณะเมื่อยังตั้งอยู่แปรเป็นอื่นไป ลักษณะ เมื่อยังตั้งอยู่แปรเป็นอื่นไปแห่งชราและมรณะ สูญจากลักษณะความเกิดขึ้นและ จากลักษณะความเสื่อมไป นี้ลักษณะสูญ [๖๔๐] วิกขัมภนสูญเป็นไฉน กามฉันทะอันเนกขัมมะข่มแล้วและ สูญไป พยาบาทอันความไม่พยาบาทข่มแล้วและสูญไป ถีนมิทธะอันอาโลก สัญญาข่มแล้วและสูญไป อุทธัจจะอันความไม่ฟุ้งซ่านข่มแล้ว และสูญไป วิจิกิจฉาอันการกำหนดธรรมข่มแล้วและสูญไป อวิชชาอันญาณข่มแล้วและสูญไป อรติอันความปราโมทย์ข่มแล้วและสูญไป นิวรณ์อันปฐมฌานข่มแล้วและสูญไป ฯลฯ กิเลสทั้งปวงอันอรหัตมรรคข่มแล้วและสูญไป นี้วิกขัมภนสูญ ฯ [๖๔๑] ตทังคะสูญเป็นไฉน กามฉันทะเป็นตทังคะสูญ (สูญเพราะ องค์นั้นๆ) เพราะเนกขัมมะ ... นิวรณ์เป็นตทังคะสูญเพราะปฐมฌาน ฯลฯ ความถือผิดเพราะกิเลสเครื่องประกอบไว้ เป็นตทังคะสูญเพราะวิวัฏนานุปัสสนา นี้ตทังคะสูญ ฯ [๖๔๒] สมุจเฉทสูญเป็นไฉน กามฉันทะอันเนกขัมมะตัดแล้วและ สูญไป ... นิวรณ์อันปฐมฌานตัดแล้วและสูญไป ฯลฯ กิเลสทั้งปวงอันอรหัตมรรค ตัดแล้วและสูญไป นี้สมุจเฉทสูญ ฯ [๖๔๓] ปฏิปัสสัทธิสูญเป็นไฉน กามฉันทะอันเนกขัมมะระงับแล้ว และสูญไป ... นิวรณ์อันปฐมฌานระงับแล้วและสูญไป ฯลฯ กิเลสทั้งปวง อันอรหัตมรรคระงับแล้วและสูญไป นี้ปฏิปัสสัทธิสูญ ฯ [๖๔๔] นิสสรณะสูญเป็นไฉน กามฉันทะอันเนกขัมมะสลัดออกแล้ว และสูญไป ... นิวรณ์อันปฐมฌานสลัดออกแล้วและสูญไป ฯลฯ กิเลสทั้งปวง อันอรหัตมรรคสลัดออกแล้วและสูญไป นี้นิสสรณะสูญ ฯ [๖๔๕] ภายในสูญเป็นไฉน จักษุภายในสูญจากตน จากสิ่งที่เนื่อง ด้วยตน จากความเที่ยง ความยั่งยืน ความมั่นคง และจากความไม่แปรปรวน เป็นธรรมดา หูภายใน ฯลฯ จมูกภายใน ลิ้นภายใน กายภายใน ใจภายใน สูญจากตน จากสิ่งที่เนื่องด้วยตน จากความเที่ยง ความยั่งยืน ความมั่นคง และจากความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา นี้ภายในสูญ ฯ [๖๔๖] ภายนอกสูญเป็นไฉน รูปภายนอกสูญ ฯลฯ ธรรมารมณ์ ภายนอกสูญจากตน จากสิ่งที่เนื่องด้วยตน จากความเที่ยง ความยั่งยืน ความมั่นคง และจากความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา นี้ภายนอกสูญ ฯ [๖๔๗] ทั้งภายในและภายนอกสูญเป็นไฉน จักษุภายในและรูป ภายนอก ทั้งสองนั้นสูญจากตน จากสิ่งที่เนื่องด้วยตน จากความเที่ยง ความ ยั่งยืน ความมั่นคง และจากความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา หูภายในและเสียง ภายนอก ฯลฯ จมูกภายในและกลิ่นภายนอก ลิ้นภายในและรสภายนอก กายภายในและโผฏฐัพพะภายนอก ใจภายในและธรรมารมณ์ภายนอก ทั้งสอง นั้นสูญจากตน จากสิ่งที่เนื่องด้วยตน จากความเที่ยง ความยั่งยืน ความมั่นคง และจากความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา นี้ทั้งภายในและภายนอกสูญ ฯ [๖๔๘] ส่วนเสมอกันสูญเป็นไฉน อายตนะภายใน ๖ เป็นส่วนเสมอ กันและสูญไป อายตนะภายนอก ๖ ... หมวดวิญญาณ ๖ ... หมวดผัสสะ ๖ ... หมวดเวทนา ๖ ... หมวดสัญญา ๖ ... หมวดเจตนา ๖ เป็นส่วนเสมอกัน และสูญไป นี้ส่วนเสมอกันสูญ ฯ [๖๔๙] ส่วนไม่เสมอกันสูญเป็นไฉน อายตนะภายใน ๖ เป็นส่วน ไม่เสมอกันกับอายตนะภายนอก ๖ และสูญไป อายตนะภายนอก ๖ เป็นส่วน ไม่เสมอกันกับหมวดวิญญาณ ๖ และสูญไป หมวดวิญญาณ ๖ เป็นส่วนไม่เสมอ กันกับหมวดผัสสะ ๖ และสูญไป หมวดผัสสะ ๖ เป็นส่วนไม่เสมอกันกับ หมวดเวทนา ๖ และสูญไป หมวดเวทนา ๖ เป็นส่วนไม่เสมอกันกับหมวด สัญญา ๖ และสูญไป หมวดสัญญา ๖ เป็นส่วนไม่เสมอกันกับหมวดเจตนา ๖ และสูญไป นี้ส่วนไม่เสมอกันสูญ ฯ [๖๕๐] ความแสวงหาสูญเป็นไฉน ความแสวงหาเนกขัมมะสูญจาก กามฉันทะ ความแสวงหาความไม่พยาบาทสูญจากพยาบาท ความแสวงหา อาโลกสัญญาสูญจากถีนมิทธะ ความแสวงหาความไม่ฟุ้งซ่านสูญจากอุทธัจจะ ความแสวงหาการกำหนดธรรมสูญจากวิจิกิจฉา ความแสวงหาญาณสูญจากอวิชชา ความแสวงหาปฐมฌานสูญจากนิวรณ์ ฯลฯ ความแสวงหาอรหัตมรรคสูญจาก กิเลสทั้งปวง นี้ความแสวงหาสูญ ฯ [๖๕๑] ความกำหนดสูญเป็นไฉน ความกำหนดเนกขัมมะสูญจากกาม ฉันทะ ฯลฯ ความกำหนดอรหัตมรรคสูญจากกิเลสทั้งปวง นี้ความกำหนดสูญ ฯ [๖๕๒] ความได้เฉพาะสูญเป็นไฉน ความได้เนกขัมมะ สูญจากกาม ฉันทะ ฯลฯ ความได้อรหัตมรรค สูญจากกิเลสทั้งปวง นี้ความได้เฉพาะสูญ ฯ [๖๕๓] การแทงตลอดสูญเป็นไฉน การแทงตลอดเนกขัมมะ สูญจาก กามฉันทะ ฯลฯ การแทงตลอดอรหัตมรรค สูญจากกิเลสทั้งปวง นี้การแทง ตลอดสูญ ฯ [๖๕๔] ความเป็นอย่างเดียวสูญ ความเป็นต่างๆ สูญเป็นไฉน กามฉันทะเป็นความต่าง เนกขัมมะเป็นอย่างเดียว ความที่เนกขัมมะเป็น อย่างเดียวของบุคคลผู้คิดอยู่ สูญจากกามฉันทะ พยาบาทเป็นความต่าง ความไม่ พยาบาทเป็นอย่างเดียว ความที่ความไม่พยาบาทเป็นอย่างเดียวของบุคคลผู้คิดอยู่ สูญจากพยาบาท ถีนมิทธะเป็นความต่าง อาโลกสัญญาเป็นอย่างเดียว ความที่ อาโลกสัญญาเป็นอย่างเดียวของบุคคลผู้คิดอยู่ สูญจากถีนมิทธะ อุทธัจจะเป็น ความต่าง วิจิกิจฉาเป็นความต่าง อวิชชาเป็นความต่างอรติเป็นความต่าง นิวรณ์ เป็นความต่าง ปฐมฌานเป็นอย่างเดียว ความที่ปฐมฌานเป็นอย่างเดียวของบุคคล ผู้คิดอยู่ สูญจากนิวรณ์ ฯลฯ กิเลสทั้งปวงเป็นความต่าง อรหัตมรรคเป็น อย่างเดียว ความที่อรหัตมรรคเป็นอย่างเดียวของบุคคลผู้คิดอยู่ สูญจากกิเลส ทั้งปวง นี้ความเป็นอย่างเดียวสูญ ความเป็นต่างๆ สูญ ฯ [๖๕๕] ความอดทนสูญเป็นไฉน ความอดทนในเนกขัมมะสูญจาก กามฉันทะ ฯลฯ ความอดทนในอรหัตมรรคสูญจากกิเลสทั้งปวง นี้ความ อดทนสูญ ฯ [๖๕๖] ความอธิษฐานสูญเป็นไฉน ความอธิษฐานในเนกขัมมะ สูญจาก กามฉันทะ ฯลฯ ความอธิษฐานในอรหัตมรรค สูญจากกิเลสทั้งปวง นี้ความ อธิษฐานสูญ ฯ [๖๕๗] ความมั่นคงสูญเป็นไฉน ความมั่นคงแห่งเนกขัมมะ สูญจาก กามฉันทะ ฯลฯ ความมั่นคงแห่งอรหัตมรรค สูญจากกิเลสทั้งปวง นี้ความมั่น คงสูญ ฯ [๖๕๘] การครอบงำความเป็นไปแห่งสัมปชานบุคคล สูญมีประโยชน์ อย่างยิ่งกว่าความสูญทั้งปวงเป็นไฉน สัมปชานบุคคลครอบงำความเป็นไปแห่ง กามฉันทะด้วยเนกขัมมะ ครอบงำความเป็นไปแห่งพยาบาทด้วยความไม่พยาบาท ครอบงำความเป็นไปแห่งถีนมิทธะด้วยอาโลกสัญญา ครอบงำความเป็นไปแห่ง อุทธัจจะด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน ครอบงำความเป็นไปแห่งวิจิกิจฉาด้วยการกำหนด ธรรม ครอบงำความเป็นไปแห่งอวิชชาด้วยญาณ ครอบงำความเป็นไปแห่งอรติ ด้วยความปราโมทย์ ครอบงำความเป็นไปแห่งนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน ฯลฯ ครอบงำ กิเลสทั้งปวงด้วยอรหัตมรรค ฯ อีกประการหนึ่ง เมื่อสัมปชานบุคคลปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสส- *นิพพานธาตุ ความเป็นไปแห่งจักษุนี้ย่อมหมดสิ้นไป และความเป็นไปแห่งจักษุ อื่นก็ไม่เกิดขึ้น ความเป็นไปแห่งหู ฯลฯ ความเป็นไปแห่งจมูก ความเป็นไป แห่งลิ้น ความเป็นไปแห่งกาย ความเป็นไปแห่งใจนี้ย่อมหมดสิ้นไป และความ เป็นไปแห่งใจอื่นก็ไม่เกิดขึ้น นี้ความครอบงำความเป็นไปแห่งสัมปชานบุคคล สูญมีประโยชน์อย่างยิ่งกว่าความสูญทั้งปวง ฉะนี้แล ฯ
จบสุญกถา
จบยุคนัทธวรรคที่ ๒
-----------------------------------------------------
รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ยุคนัทธกถา ๒. สัจจกถา ๓. โพชฌงคกถา ๔. เมตตากถา ๕. วิราคกถา ๖. ปฏิสัมภิทากถา ๗. ธรรมจักรกถา ๘. โลกุตรกถา ๙. พลกถา ๑๐. สุญกถา นิกายอันประเสริฐนี้ท่านตั้งไว้แล้ว เป็นวรมรรค อันประเสริฐที่ ๒ ไม่มีวรรคอื่นเสมอ ฉะนี้แล ฯ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๙๕๑๔-๙๖๘๒ หน้าที่ ๓๙๕-๔๐๑. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=31&A=9514&Z=9682&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=31&siri=79              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=633              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [633-658] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=31&item=633&items=26              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=48&A=6246              The Pali Tipitaka in Roman :- [633-658] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=31&item=633&items=26              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=48&A=6246              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ https://84000.org/tipitaka/read/?index_31

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :