ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๔ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑

หน้าที่ ๓๐๗.

อุมมาปุปผิยวรรคที่ ๓๓
อุมมาปุปผิยเถราปทานที่ ๑ (๓๒๑)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกผักตบ
[๓๒๓] เราได้เห็นพระพุทธเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ ผู้ไม่แพ้อะไรๆ สูงสุดกว่า นระ มีพระหทัยมั่น ไม่หวั่นไหว กำลังเข้าสมาธิ เราจึงได้ถือเอาดอก ผักตบไปบูชาแด่พระพุทธเจ้า ดอกผักตบทั้งหมดมียอดรวมกัน มีขั้ว ข้างบน มีหน้าข้างล่าง เป็นเหมือนมีจิตดี เป็นเครื่องลาดดอกไม้ประดิษ- ฐานอยู่ในอากาศ ด้วยความเลื่อมใสแห่งจิตนั้น เราได้เข้าถึงชั้นดุสิต ใน กัลปที่ ๙๔ แต่กัลปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้ใด ด้วยการ บูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา ในกัลปที่ ๕๕ แต่ กัลปนี้ ได้มีพระเจ้าจักรพรรดิพระองค์หนึ่ง เป็นใหญ่ในแผ่นดิน ทรง พระนามว่าสมันตฉทนะ มีพลมาก คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนา เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระอุมมาปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ อุมมาปุปผิยเถราปทาน.
ปุฬินปูชกเถราปทานที่ ๒ (๓๒๒)
ว่าด้วยผลแห่งการโปรยทราย
[๓๒๔] เราได้เห็นพระศาสดาผู้ประเสริฐกว่านระ สวยงามดังดอกรกฟ้า องอาจ เหมือนม้าอาชาไนย รุ่งเรืองสว่างไสวดังดาวประกายพฤกษ์ เราจึงได้ประนม กรอัญชลีถวายบังคมแด่พระศาสดา เราสรรเสริญพระศาสดา ยินดีอยู่ด้วย กรรมของตน เรามีใจผ่องใส เอาทรายขาวบริสุทธิ์ กำมือหนึ่งห่อพก มาโปรยลงที่ทางเสด็จดำเนิน แห่งพระศาสดาพระนามว่าวิปัสสี ผู้แสวง

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๐๘.

หาคุณใหญ่ แต่นั้น เราเอาทรายครึ่งหนึ่งโปรยลงในที่พักกลางวันของ พระองค์ผู้เป็นจอมสัตว์ ผู้คงที่ ในกัลปที่ ๙๑ แต่กัลปนี้ เราได้โปรย ทรายใด ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการโปรยทราย คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เรา ทำให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระปุฬินปูชกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ ปุฬินปูชกเถราปทาน.
หาสชนกเถราปทานที่ ๓ (๓๒๓)
ว่าด้วยผลแห่งสัญญาในพระพุทธเจ้า
[๓๒๕] เราได้เห็นผ้าบังสุกุลของพระศาสดาอันห้อยอยู่ที่ยอดไม้ จึงประนมกร อัญชลี แล้วเปล่งวาจาดัง ความยินดีเกิดขึ้นแก่เราเพราะได้เห็นแต่ไกล เราประนมกรอัญชลีแล้ว ยังจิตให้เลื่อมใสโดยยิ่ง ในกัลปที่ ๙๑ แต่ กัลปนี้ เราได้สัญญาใด ในกาลนั้น ด้วยสัญญานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งสัญญาในพระพุทธเจ้า คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระหาสชนกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ หาสชนกเถราปทาน.
ยัญญสามิกเถราปทานที่ ๔ (๓๒๔)
ว่าด้วยผลแห่งสัญญาในพระพุทธเจ้า
[๓๒๖] เรามีอายุได้ ๗ ปีแต่กำเนิด เป็นผู้รู้จบมนต์ ได้ดำรงวงศ์สกุล เรา ตระเตรียมพิธีบูชายัญในกาลนั้น เราจะฆ่าสัตว์เลี้ยง ๘๔,๐๐๐ ตัว และ ให้ผูกเข้าไว้ที่หลักไม้แก่น ตระเตรียมเพื่อประโยชน์แก่ยัญ พระสัมพุทธ-

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๐๙.

เจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ มีพระประสงค์สำเร็จทุกอย่าง ทรงมีประโยชน์ ใหญ่หลวงแก่โลก ๓ ร่าเริงดังปากเบ้า มีพระรัศมีสุกสะกาวเช่นกับถ่าน เพลิงไม้ตะเคียน ดังพระอาทิตย์อุทัย เหมือนพระจันทร์วันเพ็ญ เสด็จ เข้ามาหา (เรา) แล้วได้ตรัสพระดำรัสนี้ว่า ดูกรกุมาร ความไม่เบียด เบียนสัตว์ทั้งปวง การงดเว้นจากความเป็นขโมย การประพฤตินอกใจ และการดื่มน้ำเมา ความยินดีในการประพฤติสม่ำเสมอ พาหุสัจจะ และ ความเป็นผู้กตัญญู เราชอบใจธรรมเหล่านี้ บัณฑิตพึงสรรเสริญทั้งใน ปัจจุบันและอนาคต ท่านเจริญธรรมเหล่านี้ ยินดีในความเกื้อกูลแก่สัตว์ ทั้งปวง ยังจิตให้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าแล้ว จงเจริญมรรคอันสูงสุด พระสัพพัญญู เชษฐบุรุษของโลก ประเสริฐกว่านระ ตรัสดังนี้ ครั้นทรง พร่ำสอนเราอย่างนี้แล้ว เสด็จเหาะขึ้นสู่เวหาสไป เราชำระจิตให้ บริสุทธิ์ก่อนแล้ว ยังจิตให้เลื่อมใสในภายหลัง ด้วยความเลื่อมใสแห่ง จิตนั้น เราได้เข้าถึงชั้นดุสิต ในกัลปที่ ๙๔ แต่กัลปนี้ เรายังจิตให้ เลื่อมใสในกาลใด ด้วยกรรมในกาลนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผล แห่งสัญญาในพระพุทธเจ้า คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระยัญญสามิกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ ยัญญสามิกเถราปทาน.
นิมิตตสัญญกเถราปทานที่ ๕ (๓๒๕)
ว่าด้วยผลแห่งสัญญาในพระพุทธเจ้า
[๓๒๗] เราอยู่ในอาศรมใกล้ฝั่งแม่น้ำจันทภาคา เราได้เห็นกวางทองกำลังเที่ยว เดินอยู่ในไพรวัน จึงยังจิตให้เลื่อมใสในกวางทอง แล้วจึงระลึกถึงพระ- พุทธเจ้าผู้เจริญที่สุดในโลก เราระลึกถึงพระพุทธเจ้าเหล่าอื่น คือ พระ- พุทธเจ้าในอดีต ในปัจจุบัน และในอนาคต ด้วยจิตเลื่อมใสนั้นว่า

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๑๐.

พระพุทธเจ้า ๓ จำพวกนั้นย่อมไพโรจน์ ดังพระยาเนื้อ ฉะนั้น ในกัลป ที่ ๙๔ แต่กัลปนี้ เราได้สัญญาใดในกาลนั้น ด้วยสัญญานั้น เราไม่รู้จัก ทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งสัญญาในพระพุทธเจ้า ในกัลปที่ ๒๗ แต่กัลปนี้ ได้มีพระเจ้าจักรพรรดิพระองค์หนึ่ง เป็นใหญ่ในแผ่นดิน มีพระนามว่า อรัญญสัตตะ มีพลมาก คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระนิมิตตสัญญกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ นิมิตตสัญญกเถราปทาน.
อันนสังสาวกเถราปทานที่ ๖ (๓๒๖)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายภิกษา
[๓๒๘] เราได้เห็นพระสัมพุทธเจ้าผู้มีพระฉวีวรรณดังทองคำ เช่นกับแท่งทองคำ อันมีค่า มีพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ เสด็จดำเนินอยู่ระหว่าง ตลาด เราจึงนมัสการพระสัมพุทธเจ้า พระนามว่าสิทธัตถะ ผู้มีพระประสงค์ สำเร็จทุกอย่าง ไม่ทรงหวั่นไหว ไม่ทรงแพ้อะไร แล้วนิมนต์พระมหามุนี นั้นให้เสวยโภชนาหาร ในกาลนั้น พระมุนีผู้มีพระกรุณาในโลกได้ตรัสกะ เรา เรายังจิตให้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าแล้ว บันเทิงอยู่ในสวรรค์ตลอดกัลป ในกัลปที่ ๙๔ แต่กัลปนี้ เราได้ถวายทานใดในกาลนั้น ด้วยทานนั้น เรา ไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายภิกษา คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธ- ศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระอันนสังสาวกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ อันนสังสาวกเถราปทาน.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๒ บรรทัดที่ ๖๖๒๓-๖๗๑๖ หน้าที่ ๓๐๗-๓๑๐. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=32&A=6623&Z=6716&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=32&siri=323              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=32&i=323              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [323-328] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=32&item=323&items=6              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=50&A=5210              The Pali Tipitaka in Roman :- [323-328] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=32&item=323&items=6              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=50&A=5210              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ https://84000.org/tipitaka/read/?index_32              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/tha-ap323/en/walters

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :