ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๔ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑

หน้าที่ ๓๑๗.

คันโธทกวรรคที่ ๓๔
คันธธูปิยเถราปทานที่ ๑ (๓๓๑)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายธูปหอม
[๓๓๓] เราได้ถวายธูปหอมอันหุ้มด้วยดอกมะลิ สมควรแก่พระพุทธเจ้า แด่พระ ผู้มีพระภาคพระนามว่าสิทธัตถะ เราได้เห็นพระพุทธเจ้า เช่นกับแท่ง ทองคำอันมีค่า อัครนายกของโลก รุ่งเรืองดังดอกอุบลเขียว เหมือน ดวงไฟใหญ่ องอาจยิ่งดังเสือโคร่ง มีสกุลดังราชสีห์ เลิศกว่าสมณะ ทั้งหลาย ประทับนั่งแวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ยังจิตของตนให้เลื่อมใส ประนมกรอัญชลีถวายบังคมแทบพระบาทพระศาสดา แล้วบ่ายหน้ากลับไป ทางทิศอุดร ในกัลปที่ ๙๔ แต่กัลปนี้ เราได้ถวายธูปหอมใดในกาลนั้น ด้วยทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการบูชาด้วยธูปหอม คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำ ให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระคันธธูปิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ คันธธูปิยเถราปทาน.
อุทกปูชกเถราปทานที่ ๒ (๓๓๒)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายน้ำ
[๓๓๔] ข้าพระองค์ได้เห็นพระสัมพุทธเจ้า มีพระฉวีวรรณดังทองคำ เสด็จไปใน อากาศ เหมือนดวงไฟลุกโพลง เหมือนดวงอาทิตย์ ข้าพระองค์จึงเอา ฝ่ามือกอบน้ำโยนขึ้นไปบนอากาศ พระพุทธเจ้าผู้มหาวีระ ทรงประกอบ ด้วยพระกรุณาเป็นฤาษีทรงรับแล้ว พระศาสดาพระนามว่าปทุมุตระ ประทับ ยืนอยู่ในอากาศ ทรงทราบความดำริของข้าพระองค์ จึงได้ตรัสพระคาถา

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๑๘.

นี้ว่า ด้วยการถวายน้ำนี้ และด้วยการยังปีติให้เกิดขึ้น ท่านจะไม่ต้อง เข้าถึงทุคติเลย แม้ตลอดแสนกัลป ข้าแต่พระองค์ผู้จอมสัตว์ เชษฐบุรุษ ของโลก ประเสริฐกว่านระ ด้วยกรรมนั้น ข้าพระองค์ละความชนะและแพ้ แล้วบรรลุถึงฐานะอันไม่หวั่นไหว ในกัลปที่ ๖๕๐๐ ได้มีพระเจ้าจักรพรรดิ ๓ พระองค์ มีพระนามว่าสหัสสราช มีสมุทรสาครสี่เป็นที่สุด เป็นใหญ่ กว่าชน คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ ข้าพระองค์ทำให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนาข้าพระองค์ได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระอุทกปูชกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ อุทกปูชกเถราปทาน.
ปุนนาคปุปผิยเถราปทานที่ ๓ (๓๓๓)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกบุนนาค
[๓๓๕] เราเป็นพรานเข้าไป (หยั่งลง) ยังป่าใหญ่ เราได้พบต้นบุนนาคมีดอกบาน จึงระลึกถึงพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ได้เลือกเก็บดอกบุนนาคนั้น เอา แต่ที่มีกลิ่นหอมสวยงามแล้ว ก่อสถูปบนเนินทราย บูชาแด่พระพุทธเจ้า ในกัลปที่ ๙๒ แต่กัลปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้ใด ด้วย การบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา ในกัลปที่ ๙๑ แต่กัลปนี้ ได้มีพระเจ้าจักรพรรดิพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่า ตโมนุทะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพลมาก คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระปุนนาคปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ ปุนนาคปุปผิยเถราปทาน.

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๑๙.

เอกทุสสทายกเถราปทานที่ ๔ (๓๓๔)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายผ้าผืนเดียว
[๓๓๖] เราเป็นคนเกี่ยวหญ้าขายอยู่ในพระนครหงสาวดีเลี้ยงชีวิต และเลี้ยงภรรยา ด้วยการเกี่ยวหญ้าขายนั้น พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตระ ทรงรู้จบธรรม ทั้งปวง เป็นนายกของโลก เสด็จอุบัติขึ้นทำลายความมืดมนให้พินาศ ในกาลนั้น เรานั่งอยู่ในเรือนของตน คิดอย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติ ขึ้นในโลกแล้ว แต่ไทยธรรมของเราไม่มี เรามีแต่ผ้าสาฎกผืนเดียวไม่มี ใครให้ (อะไร) แก่เรา การถูกต้องนรก เป็นทุกข์ เราจักปลูกฝัง ทักษิณาทาน ครั้นเราคิดอย่างนี้แล้ว จึงยังจิตของตนให้เลื่อมใส ได้ถือเอา ผ้าผืนหนึ่ง ไปถวายแด่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ครั้นถวายผ้าผืนหนึ่ง แล้วได้ประกาศก้องขึ้นว่า ข้าแต่พระมหามุนีวีรเจ้า ถ้าพระองค์เป็น พระพุทธเจ้า ขอได้ทรงโปรดช่วยข้าพระองค์ให้ข้ามได้เถิด พระพุทธเจ้า พระนามว่าปทุมุตระ ทรงรู้แจ้งโลก สมควรรับเครื่องบูชา เมื่อทรง สรรเสริญทานของเรา ได้ทรงทำอนุโมทนาแก่เราว่า ด้วย (การถวาย) ผ้า ผืนหนึ่งนี้ และด้วยการตั้งจิตมั่น ผู้นี้จะไม่ไปสู่ทุคติเลยตลอดแสนกัลป จักได้เป็นท้าวสักกะจอมเทพ ๓๖ ครั้ง จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช ๓๓ ครั้ง จักเป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์โดยคณานับมิได้ ท่าน เมื่อท่องเที่ยวอยู่ ในเทวโลกหรือในมนุษย์โลก จักเป็นผู้มีรูปงาม สมบูรณ์ ด้วยคุณสมบัติ มีกายน่าใคร่ยิ่งนัก ผ้าอันหาประมาณมิได้ จักมีตามความ ปรารถนา พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตระ ผู้เป็นนักปราชญ์ ครั้นตรัส ดังนี้แล้ว เสด็จขึ้นสู่นภากาศ ดังพระยาหงส์ในอัมพร เราเข้าถึง กำเนิดใดๆ คือ ความเป็นเทวดาหรือมนุษย์ ความพร่องในโภคสมบัติ ไม่มีแก่เราเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผ้าผืนเดียว ผ้าย่อมบังเกิดแก่เรา สำหรับรองเท้าทุกๆ ย่าง เราประดิษฐานอยู่ภายใต้ผ้า ผ้าเป็นหลังคา อยู่เบื้องบนเรา วันนี้ ถ้าเราปรารถนาจะถือเอาจักรวาลพร้อมทั้งป่า พร้อม ทั้งภูเขา ก็พึงปกปิดด้วยผ้าทั้งหลายได้ ด้วย (การถวาย) ผ้าผืนเดียว

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๒๐.

นั้นนั่นแล เมื่อเราท่องเที่ยวไปในภพน้อยใหญ่ ย่อมเป็นผู้มีผิวพรรณดัง ทองคำ ท่องเที่ยวไปในภพน้อยใหญ่ ผลแห่งผ้าผืนเดียว ไม่ถึงความ สิ้นไปในที่ไหนๆ ชาตินี้เป็นที่สุดของเรา ผ้าย่อมให้ผลแก่เราแม้ใน ชาตินี้ ในกัลปที่แสนแต่กัลปนี้ เราได้ถวายผ้าใดในกาลนั้น ด้วยทาน นั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผ้าผืนเดียว เราเผา กิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพทั้งปวงขึ้นได้แล้ว ตัดกิเลสเครื่องผูกขาด ดังช้างตัดเชือกแล้ว ไม่มีอาสวะอยู่ คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนาเรา ได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระเอกทุสสทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ เอกทุสสทายกเถราปทาน.
ผุสสิตกัมมิยเถราปทานที่ ๕ (๓๓๕)
ว่าด้วยผลแห่งการตักน้ำในบึงถวาย
[๓๓๗] ในกาลนั้น พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี เชษฐบุรุษของโลก ประ- เสริฐกว่านระ พร้อมด้วยพระขีณาสพทั้งหลาย ประทับนั่งอยู่ ณ สังฆาราม พระพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ผู้เป็นนายกของโลก พระองค์เสด็จออก จากประตูอาราม พร้อมด้วยพระขีณาสพ ๘ แสน เรานุ่งหนังสัตว์ และ ทรง (ห่ม) ผ้าเปลือกไม้กรอง ตักเอาน้ำในบึงแล้ว เข้าไปเฝ้าพระ- สัมพุทธเจ้า ยังจิตของตนให้เลื่อมใส เกิดโสมนัส ประนมกรอัญชลี ตักเอาน้ำในบึงไปปะพรมพระพุทธเจ้า ด้วยกรรมนั้น พระสัมพุทธเจ้า พระนามว่าปทุมุตระ ผู้อุดม ทรงสรรเสริญกรรมของเราแล้ว ได้เสด็จไป ตามพระประสงค์ เราได้บูชาพระชินเจ้าด้วยน้ำอันกำหนดว่า ๕๐๐๐ หยด เราได้เสวยเทวรัชสมบัติเพราะน้ำ ๒๕๐๐ หยด ได้เป็นพระเจ้าจักร- พรรดิเพราะน้ำ ๒๕๐๐ หยด เราได้บรรลุอรหัตด้วยกรรมที่เหลือ เมื่อใด เราเป็นท้าวเทวราช เมื่อนั้น เราได้เป็นอธิบดีของมนุษย์ด้วย ชื่อนั้นแล

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๒๑.

เป็นชื่อของเรา เรามีชื่อว่าผุสสิตะ เมื่อเราเป็นเทวดาหรือแม้เป็นมนุษย์ เมล็ดฝนย่อมตกโดยรอบ ข้างละวา เราถอนภพทั้งหลายขึ้นได้แล้ว เผากิเลส ทั้งหลายเสียแล้ว เป็นผู้มีอาสวะทั้งปวงสิ้นแล้ว นี้เป็นผลแห่งหยาดน้ำ ฝน น้ำฝนของเรามีกลิ่นดังกลิ่นจันทน์ กลิ่นย่อมฟุ้งไปเหมือนอย่างนั้น กลิ่นหอมที่ซ่านออกจากสรีระของเรา ฟุ้งไป ๒๕๐ ชั่วธนู ชนทั้งหลายสูด กลิ่นหอมอบอวลอันประกอบด้วยบุญกรรมแล้ว ย่อมรู้ทันทีว่า พระเจ้า ผุสสิตะเสด็จมา ณ ที่นี้ กิ่งไม้ ใบไม้ ท่อนไม้ และแม้หญ้า ทุกชนิด (ดังจะ) รู้ความดำริของเรา ย่อมสำเร็จเป็นกลิ่นหอมทันที ในกัลปที่ แสน แต่กัลปนี้ เราได้บูชาไม้จันทน์ ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติ เลย นี้เป็นผลแห่งการบูชาด้วยหยาดน้ำ คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัม- ภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธ- ศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระผุสสิตกัมมิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ ผุสสิตกัมมิยเถราปทาน.
ปภังกรเถราปทานที่ ๖ (๓๓๖)
ว่าด้วยผลแห่งการชำระพระสถูป
[๓๓๘] พระเจดีย์ของพระผู้มีพระภาคพระนามว่าปทุมุตระ เชษฐบุรุษของโลก ผู้ คงที่ มีอยู่ในป่าชัฏ อันเกลื่อนกล่นด้วยเนื้อร้าย ใครๆ ไม่อาจจะไป เพื่อกราบไหว้พระเจดีย์ พระเจดีย์อันหญ้า ต้นไม้ และเถาวัลย์ปกคลุม หัก พัง ในกาลนั้น เราเป็นคนทำการงานในป่า ด้วยการงานของบิดาและ ปู่ เราได้เห็นพระสถูปอันหักพัง หญ้าและเถาวัลย์ปกคลุม ในป่าใหญ่ ครั้นได้เห็นพระสถูปแห่งพระพุทธเจ้าแล้ว ตั้งจิตเคารพไว้ว่า พระสถูปนี้

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๒๒.

แห่งพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด หักพังอยู่ในป่า พระสถูปไม่มีอะไร บังแดดฝน ไม่สมควรแก่คนที่รู้คุณและมิใช่คุณ เราได้แผ้วถางพระสถูป แห่งพระพุทธเจ้าแล้ว จึงจะประกอบการงานอื่น ครั้นเราแผ้วถางหญ้าต้นไม้ และเถาวัลย์ที่พระเจดีย์ไหว้นบครบ ๘ ครั้งแล้ว กลับไปยังที่อยู่ของตน ด้วยกรรมที่เราทำดีแล้วนั้น และด้วยการตั้งเจตนามั่น เราละกายมนุษย์ แล้ว ได้ไปสู่ชั้นดาวดึงส์ วิมานทองอันบุญกรรมทำไว้ในชั้นดาวดึงส์นั้น สวยงามเลื่อมประภัสสร สูง ๖๐ โยชน์ กว้าง ๓๐ โยชน์ เราได้เสวย รัชสมบัติในเทวโลก ๓๐๐ ครั้ง และได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๒๕ ครั้ง เมื่อเราท่องเที่ยวอยู่ในภพน้อยใหญ่ ย่อมได้โภคสมบัติมาก ความพร่อง ในโภคสมบัติไม่มีแก่เราเลย นี้เป็นผลแห่งการแผ้วทาง เมื่อเราไปในป่า ใหญ่ด้วยคานหามหรือด้วยคอช้าง เราไปสู่ทิศใดๆ ในทิศนั้นๆ ป่า ย่อมสำเร็จเป็นที่พึ่ง เราไม่เห็นตอหรือแม้หนามด้วยจักษุเลย เราประกอบ ด้วยบุญกรรม บุญกรรมย่อมนำปราศไปเอง โรคเรื้อน ฝี กลาก โรค ลมบ้าหมู คุดทะราด หิดเปื่อย และหิดด้าน ไม่มีแก่เรา นี้เป็นผลแห่ง การแผ้วถาง เพราะเราแผ้วถางที่พระสถูปพระพุทธเจ้า ความอัศจรรย์อย่าง อื่นยังมีอีก เราไม่รู้สึกว่า ต่อมฝีมีหยาดน้ำเหลืองเกิดในกายของเราเลย เพราะเราแผ้วถางที่พระสถูปพระพุทธเจ้า ความอัศจรรย์อย่างอื่นยังมีอีก เราได้ท่องเที่ยวอยู่ในภพ ๒ ภพ คือ ในความเป็นเทวดาหรือมนุษย์ เพราะเราแผ้วถางที่พระสถูปพระพุทธเจ้า ความอัศจรรย์อย่างอื่นยังมีอีก เราเป็นผู้มีผิวพรรณดังทองคำ เป็นผู้มีรัศมีในที่ทั้งปวง เพราะเราแผ้วถาง ที่พระสถูปพระพุทธเจ้า ความอัศจรรย์อย่างอื่นยังมีอีก สิ่งที่ไม่ชอบใจ ไม่มี สิ่งที่ชอบใจเข้ามาตั้งไว้ เพราะเราแผ้วถางที่พระสถูปพระพุทธเจ้า ความอัศจรรย์อย่างอื่นยังมีอีก จิตของเราเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ มีอารมณ์ เดียวตั้งมั่นด้วยดี เพราะเราแผ้วถางที่พระสถูปพระพุทธเจ้า ความอัศจรรย์ อย่างอื่นยังมีอีก เรานั่งบนอาสนะเดียว ได้บรรลุอรหัต ในกัลปที่แสน แต่กัลปนี้ เราได้ทำกรรมใด ในกาลนั้น ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จัก ทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการแผ้วถาง คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๒๓.

วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนาเรา ได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระปภังกรเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ ปภังกรเถราปทาน.
ติณกุฏิทายกเถราปทานที่ ๗ (๓๓๗)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายกุฎีหญ้า
[๓๓๙] เราเป็นคนรับจ้างทำการงานของคนอื่น ขวนขวายในทางเกิดการงานของคน อื่น อาศัยอาหารของผู้อื่น อยู่ในนครพันธุมดี ในกาลนั้น เรานั่งอยู่ในที่ ลับแล้ว คิดอย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก แต่การก่อ สร้างบุญกุศลของเราไม่มี บัดนี้ เป็นเวลาสมควรที่เราจะชำระคติ ถึงเวลา ของเราแล้ว การถูกต้องนรกเป็นทุกข์แก่สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีบุญเป็นแน่แท้ ครั้นเราคิดอย่างนี้แล้ว จึงเข้าไปหาเจ้าของงาน ขอหยุดการงานวันหนึ่ง แล้วเข้าป่าใหญ่ ในกาลนั้น เราขนเอาหญ้า ไม้และเถาวัลย์มาแล้ว ตั้ง เสาไม้ขึ้นสามต้น ได้สร้างเป็นกุฎีหญ้า เราได้มอบถวายกุฎีนั้นเพื่อ ประโยชน์แก่สงฆ์ แล้วกลับมาหาเจ้าของ การงานในวันนั้นนั่นแล ด้วย กุศลกรรมที่เราทำแล้วนั้น เราได้ไปสู่ดาวดึงส์ วิมานอันบุญกรรมสร้างให้ แก่เราอย่างดีในดาวดึงส์นั้น นิรมิตให้เพราะกุฎีหญ้า เครื่องประดับพัน หนึ่ง ลูกคลีหนัง ๑๐๐ ลูก ธงสีเขียว พวงดอกไม้หนึ่งแสนพวง ปรากฏ อยู่ในวิมานของเรา เราอุบัติ ณ กำเนิดใดๆ คือ ความเป็นเทวดาหรือ มนุษย์ ในกำเนิดนั้นๆ ปราสาท (ดังจะ) รู้ความดำริของเรา ผุดขึ้นตั้ง อยู่ ความกลัว ความครั่นคร้าม หรือขนลุกชูชัน ย่อมไม่มีแก่เรา เราไม่รู้ สึกความสะดุ้งหวาดเสียวเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายกุฏีหญ้า ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี หมาป่า และเสือดาว ทั้งปวง ย่อมละเว้น เรา นี้เป็นผลแห่งการถวายกุฏีหญ้า สัตว์เสือกคลาน ภูตผีปีศาจ งู กุมภัณฑ์ และผีเสื้อยักษ์ แม้เหล่านั้น ก็ย่อมละเว้นเรา นี้เป็นผลแห่งการ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๒๔.

ถวายกุฏีหญ้า เราระลึกไม่ได้ว่า ได้ฝันเห็นลามกเลย สติของเราตั้งมั่น นี้เป็นผลแห่งการถวายกุฏีหญ้า เราได้เสวยสมบัติเพราะการถวายกุฏีหญ้า นั้นแล้ว ได้กระทำธรรมของพระผู้มีพระภาคพระนามว่าโคดม ให้แจ้งชัด แล้ว ในกัลปที่ ๙๑ แต่กัลปนี้ เราได้ทำกรรมใด ในกาลนั้น ด้วยกรรม นั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายกุฏีหญ้า คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระติณกุฏิทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ ติณกุฏิทายกเถราปทาน.
อุตตเรยยทายกเถราปทานที่ ๘ (๓๓๘)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายผ้า
[๓๔๐] ในกาลนั้น เราเป็นพราหมณ์ผู้เล่าเรียน ทรงจำมนต์ รู้จบไตรเพท อยู่ใน นครหงสวดี เวลานั้น เราแวดล้อมด้วยพวกศิษย์ของตน เป็นคนมีสกุล ศึกษาดี ออกไปจากนคร เพื่อต้องการจะรดน้ำ พระชินเจ้าพระนามว่า ปทุมุตระ ทรงรู้แจ้งโลก ทรงรู้จบมนต์ทั้งปวง เสด็จเข้ามายังพระนคร พร้อมกับพระขีณาสพหลายพัน เราเห็นพระองค์มีพระรูปงามยิ่งนัก ไม่ หวั่นไหวเหมือนเขาทำ (หล่อ) ไว้ แวดล้อมด้วยพระอรหันต์ทั้งหลาย ครั้นแล้วได้ยังจิตให้เลื่อมใส เรามีจิตเลื่อมใสโสมนัส ประนมกรอัญชลี เหนือเศียรเกล้า นมัสการพระองค์มีวัตรอันงาม ได้ถวายผ้าห่ม เราประคอง ผ้าสาฎกด้วยมือทั้งสองแล้วยกขึ้น ผ้าสาฎกปกปิด (บังแดดฝน) ตลอด ทั่วพุทธบริษัท เมื่อหมู่ภิกษุเป็นต้นเป็นอันมาก เที่ยวจาริกไปบิณฑบาต เวลานั้น ผ้าสาฎกได้กั้นเป็นหลังคา ยังเราให้เกิดโสมนัส เมื่อหมู่ภิกษุ เป็นต้นจะออกจากเรือน พระศาสดาผู้สยัมภู เป็นบุคคลผู้เลิศ ประทับยืน อยู่ที่ถนนได้ทรงทำอนุโมทนาว่า ผู้ใดมีจิตเลื่อมใสโสมนัส ได้ถวายผ้า

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๒๕.

สาฎกแก่เรา เราจักพยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว ผู้นั้นจักรื่นรมย์ อยู่ในเทวโลกตลอด ๓ หมื่นกัลป จักเป็นจอมเทวดาเสวยเทวรัชสมบัติอยู่ ในเทวโลก ๕๐ ครั้ง เมื่อเขาผู้พร้อมพรั่งด้วยบุญกรรมอยู่ในเทวโลก จักมี ผ้าเป็นหลังคาบังแดดฝนตลอดร้อยโยชน์โดยรอบ และจักได้เป็นพระเจ้า- จักรพรรดิราช ๓๖ ครั้ง จักได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์ โดยจะ คณานับมิได้ เมื่อเขาผู้พรั่งพร้อมด้วยบุญกรรม ท่องเที่ยวอยู่ในภพ สิ่งที่เขา ปรารถนาด้วยใจทุกอย่างจักบังเกิดขึ้นทันที คนผู้นี้จักได้ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ ผ้าเปลือกไม้ (ผ้าป่าน) ผ้าฝ้าย และผ้าทั้งหลายอันมีค่ามาก คนผู้นี้จักได้สิ่งที่ ตนปรารถนาด้วยใจทุกอย่าง จักเสวยวิบากแห่งผ้าผืนเดียว ในกาลทุกเมื่อ ภายหลังเขาอันกุศลมูลตักเตือนแล้ว จักบวช จักกระทำธรรมของพระผู้มี พระภาคพระนามว่า โคดมให้แจ้งชัด โอ กุศลกรรม เราได้ทำแล้วแก่พระสัม พุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณใหญ่ เราได้บรรลุอมฤตบทเพราะได้ถวายผ้าสาฎกผืน เดียวผ้าเป็นหลังคากันแดดฝนให้แก่เรา ผู้อยู่ในมณฑป ที่โคนไม้ หรือใน เรือนว่าง โดยรอบข้างละวา เรานุ่งห่มปัจจัยคือจีวร อันไม่ได้ทำวิญญัติ และ ได้ข้าวและน้ำ นี้เป็นผลแห่งการถวายผ้าห่ม ในกัลปที่แสนแต่กัลปนี้ เรา ได้ทำกรรมใด ในกาลนั้น ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผล แห่งการถวายผ้า คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระอุตตเรยยทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ อุตตเรยยทายกเถราปทาน.
ธรรมสวนิยเถราปทานที่ ๙ (๓๓๙)
ว่าด้วยผลแห่งการฟังธรรม
[๓๔๑] พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตระ ทรงรู้จบธรรมทั้งปวง ทรงประกาศสัจจะ ๔ ยังชนเป็นอันมากให้ข้ามพ้น (ทุกข์) สมัยนั้น เราเป็นชฎิลผู้มีตบะอัน สูงเด่น สลัดผ้าเปลือกไม้กรอง (ผ้าคากรอง) เหาะไปในอัมพรในบัดนั้น

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๒๖.

แต่เราไม่อาจจะไปในเบื้องบนแห่งพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุดได้ เวลานั้น เราเป็นเหมือนนกกระทบภูเขาหินไปไม่ได้ ความเป็นไปที่ผิดแปลกเช่นนี้ไม่ เคยมีแก่เราเลย เราเหาะไปในอัมพร เหมือนดังหลับตาไปในน้ำ ก็มนุษย์ ซึ่งเป็นผู้ประเสริฐจักมีอยู่ภายใต้นี้กระมังหนอ ถ้าเช่นนั้นเราจักค้นหาเขา บางทีจะพึงได้ประโยชน์บ้างเมื่อเราลงจากอากาศ ได้ฟังเสียงของพระศาสดา ซึ่งกำลังตรัสอนิจจตาอยู่ เราจึงเรียนอนิจจาตานั้นในขณะนั้น ครั้นเรียน อนิจจสัญญาแล้ว ได้กลับไปสู่อาศรมของเรา เราอยู่ตลอดกำหนดอายุแล้ว ทำกาลกิริยา ณ ที่นั้น เมื่อภพที่สุดยังเป็นไปอยู่ เราระลึกถึงการฟังธรรม นั้นได้ ด้วยกุศลกรรมที่เราทำแล้วนั้น เราได้ไปสู่ดาวดึงส์ เรารื่นรมย์อยู่ ในเทวโลกตลอด ๓ หมื่นกัลป ได้เสวยรัชสมบัติในเทวโลก ๕๑ ครั้ง ได้ เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๗๑ ครั้ง และได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์ โดยจะคณนานับมิได้ พระสมณะผู้มีอินทรีย์อันอบรมแล้ว นั่งบนเรือน ของบิดา แสดงด้วยคาถา เปล่งวาจาถึงเรื่องไม่เที่ยง เราระลึกถึงสัญญานั้น ได้ ท่องเที่ยวอยู่ในภพน้อยใหญ่ แทงตลอดซึ่งที่สุดคือ นิพพาน อัน เป็นบทไม่เคลื่อน ยังไม่ได้ สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีความเกิดขึ้น และเสื่อมไปเป็นธรรมดา เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป ความที่สังขารเหล่านั้น สงบระงับเป็นสุข เราระลึกถึงบุรพกรรมได้ พร้อมกับได้ฟังคาถา เรานั่ง อยู่บนอาสนะเดียวนั่นเอง ได้บรรลุอรหัต เรามีอายุ ๗ ปี แต่กำเนิด ได้ บรรลุอรหัต พระพุทธเจ้าผู้มีจักษุทรงรู้คุณแล้ว ให้เราอุปสมบท กิจอะไร ที่เราพึงทำในวันนี้ ในศาสนาของพระศากยบุตร เรายังเป็นเด็กอยู่เที่ยว ได้ทำกิจที่พึงทำนั้นสำเร็จแล้ว ในกัลปที่แสนแต่กัลปนี้ เราได้ทำกรรมใดใน กาลนั้น ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลเพราะการฟังธรรม คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำ ให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระธรรมสวนิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ ธรรมสวนิยเถราปทาน.

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๒๗.

อุกขิตตปทุมิยเถราปทานที่ ๑๐ (๓๔๐)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกปทุมดอกเดียว
[๓๔๒] ในกาลนั้น เราเป็นช่างดอกไม้อยู่ในพระนครหงสวดี เราลงสู่สระปทุม เลือกเก็บดอกบัวอยู่ พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตระ ทรงรู้จบธรรมทั้งปวง เป็นอุดมบุรุษ ทรงแสวงหาความเจริญแก่เรา จึงเสด็จมาพร้อมด้วยพระ ขีณาสพตั้งแสน ผู้มีจิตสงบระงับ ผู้คงที่ บริสุทธิ์ได้อภิญญา ๖ เพ่งฌาณ เราได้เห็นพระสยัมภูผู้ประเสริฐกว่าเทวดา เป็นนายกของโลก จึงเด็ด ดอกบัวที่ก้านแล้วโยนขึ้นไป [บูชา] ในอากาศในขณะนั้น [ด้วยเปล่งวาจา ว่า] ข้าแต่พระธีรเจ้า ถ้าพระองค์เป็นพระพุทธเจ้าเชษฐบุรุษของโลก ประเสริฐกว่านระ ขอดอกบัวจงไปตั้งอยู่เหนือพระเศียรของพระพุทธเจ้า เองเถิด พระมหาวีรเจ้าเชษฐบุรุษของโลก ผู้ประเสริฐกว่านระ ทรงอธิษฐาน แล้ว ดอกบัวเหล่านั้นได้ตั้งอยู่เหนือพระเศียรด้วยพระพุทธานุภาพ ด้วย กุศลกรรมที่เราทำมาแล้วนั้น และด้วยการตั้งจิตมั่น เราละกายมนุษย์แล้ว ได้ไปสู่ชั้นดาวดึงส์ ในชั้นดาวดึงส์นั้น วิมานของเราบุญกรรมสร้างให้ อย่างสวยงาม เรียกชื่อว่า สัตตปัตตะ สูง ๖๐ โยชน์ กว้าง ๓๐ โยชน์ เราได้เป็นจอมเทวดาเสวยรัชสมบัติ ในเทวโลกพันครั้ง ได้เป็นพระเจ้า จักรพรรดิ ๗๕ ครั้ง และเป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์ โดยคณนานับ มิได้ เราเสวยกรรมของตนที่ตนทำไว้ดีแล้วในปางก่อน ด้วยดอกปทุม ดอกเดียวนั้นแล เราได้เสวยสมบัติแล้ว ได้กระทำธรรมของพระผู้มีพระ- ภาคพระนามว่า โคดมให้แจ้งชัดแล้ว เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพ ขึ้นได้หมดแล้ว เราตัดกิเลสเครื่องผูกขาดเหมือนช้าง ตัดเชือกได้แล้ว ไม่มีอาสวะอยู่ ในกัลปที่แสนแต่กัลปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอก ไม้ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งดอกปทุมดอก

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๒๘.

เดียว คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระอุกขิตตปทุมิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ อุกขิตตปทุมิยเถราปทาน.
-----------------------------------------------------
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. คันธธูปิยเถราปทาน ๒. อุทกปูชกเถราปทาน ๓. ปุนนาคปุปผิยเถราปทาน ๔. เอกทุสสทายกเถราปทาน ๕. ผุสสิตกัมมิยเถราปทาน ๖. ปภังกรเถราปทาน ๗. ติณกุฏิทายกเถราปทาน ๘. อุตตเรยยทายกเถราปทาน ๙. ธรรมสวนิยเถราปทาน ๑๐. อุกขิตตปทุมิยเถราปทาน
ท่านรวบรวมคาถาทั้งหมดได้ ๑๔๔ คาถา.
จบ คันโธทกวรรคที่ ๓๔
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๒ บรรทัดที่ ๖๘๕๗-๗๑๓๘ หน้าที่ ๓๑๗-๓๒๘. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=32&A=6857&Z=7138&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=32&siri=333              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=32&i=333              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [333-342] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=32&item=333&items=10              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=50&A=5221              The Pali Tipitaka in Roman :- [333-342] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=32&item=333&items=10              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=50&A=5221              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ https://84000.org/tipitaka/read/?index_32              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/tha-ap333/en/walters

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :