สัททสัญญิกวรรคที่ ๓๖
สัททสัญญิกเถราปทานที่ ๑ (๓๕๑)
ว่าด้วยผลแห่งความเลื่อมใส
[๓๕๓] ครั้งก่อน เราเป็นพรานเนื้อ (เที่ยว) อยู่ในป่าใหญ่ ได้พบพระสัมพุทธเจ้า
อันแวดล้อมด้วยสงฆ์สองฝ่ายในป่านั้น ซึ่งกำลังทรงประกาศสัจจะ ๔
ทรงรื้อถอน (ช่วยเหลือ) มหาชน เราได้ฟังพระวาจาอันไพเราะเปรียบ
ด้วยเสียงนกการะเวกของมหามุนีพระนามว่าสิขี มีพระสำเนียงดังพรหม
เป็นเผ่าพันธุ์ของโลก เรายังจิตให้เลื่อมใสในพระสำเนียงแล้ว ได้บรรลุ
ความสิ้นอาสวะ ในกัลปที่ ๓๑ แต่กัลปนี้ เราได้ทำกรรมใดในกาลนั้น
ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งความเลื่อมใส คุณ
วิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้
แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระสัททสัญญิกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ สัททสัญญิกเถราปทาน.
ยวกลาปิยเถราปทานที่ ๒ (๓๕๒)
ว่าด้วยผลแห่งการลาดหญ้า
[๓๕๔] ในกาลนั้น เราเป็นคนเกี่ยวหญ้าอยู่ในนครอรุณวดี ได้เห็นพระสัมพุทธเจ้า
ที่หนทาง จึงลาดกำหญ้าถวาย (ให้ประทับ) พระพุทธเจ้าพระนามว่า
สิขี ผู้ทรงอนุเคราะห์ ทรงมีพระกรุณา เป็นอัครนายกของโลก ทรงทราบ
ความดำริของเรา จึงประทับนั่งบนลาดหญ้า เราเห็นพระองค์ผู้ปราศจาก
มลทิน ผู้เพ่งพินิจมาก เป็นผู้แนะนำดี เกิดความปราโมทย์แล้ว ทำกาล
กิริยา ณ ที่นั้น ในกัลปที่ ๓๑ แต่กัลปนี้ เราได้ทำกรรมใดในกาลนั้น
ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลเพราะลาดหญ้า คุณวิเศษ
เหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้ง
ชัดแล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระยวกลาปิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ ยวกลาปิยเถราปทาน.
กิงสุกปูชกเถราปทานที่ ๓ (๓๕๓)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกทองกวาว
[๓๕๕] เราได้เห็นต้นทองกวาวกำลังดอกบาน จึงประนมกรอัญชลีระลึกถึงพระ-
พุทธเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ จึงบูชาในอากาศ ในกัลปที่ ๙๔ แต่กัลปนี้
เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จ
แล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระกิงสุกปูชกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ กิงสุกปูชกเถราปทาน.
สโกฏกโกรัณฑทายกเถราปทานที่ ๔ (๓๕๔)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาจักรที่รอยพระบาท
[๓๕๖] เราได้พบรอยพระบาทที่พระพุทธเจ้า พระนามว่าสิขีผู้เป็นเผ่าพันธ์ของโลก
ทรงเหยียบไว้ จึงห่มหนังเสือเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ได้ไหว้รอยพระพุทธบาท
อันประเสริฐแล้ว เห็นต้นหงอนไก่อันขึ้นอยู่บนดินมีดอกบาน จึงถือเอา
มาพร้อมทั้งก้าน ได้บูชาลายจักรที่รอยพระบาท ในกัลปที่ ๓๑ แต่กัลป
นี้ เราได้ทำกรรมใดในกาลนั้น ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้
เป็นผลแห่งพุทธบูชา คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว
ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระสโกฏกโกรัณฑทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ สโกฏกโกรัณฑทายกเถราปทาน.
ทัณฑทายกเถราปทานที่ ๕ (๓๕๕)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายไม้ขอ
[๓๕๗] ในกาลนั้น เราเข้าไปสู่ป่าใหญ่ ตัดไม้ไผ่ ได้ถือเอาไม้ขอสำหรับห้อย
สิ่งของมาถวายแก่สงฆ์ เรากราบไหว้ภิกษุทั้งหลายผู้มีวัตรงาม ด้วยความ
เลื่อมใสแห่งจิตนั้น และครั้นถวายไม้ขอสำหรับห้อยแล้ว บ่ายหน้ากลับ
ไปทางทิศอุดร ในกัลปที่ ๙๔ แต่กัลปนี้ เราได้ถวายไม้ขอใดในกาลนั้น
นั้น ด้วยทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายไม้ขอ คุณ
วิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้
แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระทัณฑทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ ทัณฑทายกเถราปทาน.
อัมพยาคุทายกเถราปทานที่ ๖ (๓๕๖)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายมะม่วงและยาคู
[๓๕๘] พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านามว่าสตรังสี ผู้ไม่แพ้อะไรๆ ออกจากสมาธิแล้ว
เข้ามาหาเราเพื่อภิกษา เราเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว มีใจเลื่อมใสยิ่งนัก
ได้ให้คนเอามะม่วงและข้าวยาคูไปถวายแด่ท่านผู้ผ่องใสไม่มีที่สุด ในกัลป
ที่ ๙๔ แต่กัลปนี้ เราได้ทำกรรมใดในกาลนั้น ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จัก-
ทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายมะม่วงและยาคู คุณวิเศษเหล่านี้ คือ
ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว พระ
พุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระอัมพยาคุทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ อัมพยาคุทายกเถราปทาน.
ปุฏกปูชกเถราปทานที่ ๗ (๓๕๗)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายกระเทียม
[๓๕๙] พระพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ผู้เป็นนายกของโลก เสด็จออกจากที่พัก
กลางวันแล้ว พระองค์เสด็จเที่ยวภิกษาเข้ามาถึงสำนักเรา ลำดับนั้น เรามี
ปีติโสมนัส ถวายกระเทียมห่อหนึ่งแด่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ผู้คงที่
แล้วบันเทิงอยู่ในสวรรค์ตลอดกัลป ในกัลปที่ ๙๑ แต่กัลปนี้ เราได้ถวาย
ห่อกระเทียมใด ด้วยทานนั้น เราไม่รู้ทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายกระ-
เทียมห่อหนึ่ง คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว
ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระปุฏกปูชกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ ปุฏกปูชกเถราปทาน
วัจฉทายกเถราปทานที่ ๘ (๓๕๘)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายลูกวัว
[๓๖๐] เรามีใจเลื่อมใส ได้ถวายลูกวัวตัวหนึ่งด้วยมือของตนเอง แด่พระผู้มีพระ
ภาคพระนามว่าวิปัสสี เชษฐบุรุษของโลก ผู้คงที่ เราถึงพร้อม (ด้วย)
ยานช้าง ยานม้า และยานทิพย์ เพราะการถวายลูกวัวนั้น เราได้บรรลุ
ถึงความสิ้นอาสวะ ในกัลปที่ ๙๑ แต่กัลปนี้ เราได้ถวายลูกวัวใดในกาลนั้น
ด้วยทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายลูกวัว คุณวิเศษ
เหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัด
แล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระวัจฉทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ วัจฉทายกเถราปทาน.
สรณาคมนิยเถราปทานที่ ๙ (๓๕๙)
ว่าด้วยผลแห่งการถึงสรณะ
[๓๖๑] ในกาลนั้น พระภิกษุและเราผู้เป็นอาชีวกขึ้นเรือไปด้วยกัน เมื่อเรือกำลัง
จะแตก พระภิกษุได้ให้สรณะแก่เรา ในกัลปที่ ๓๑ แต่กัลปนี้ พระภิกษุ
ได้ให้สรณะแก่เรา ด้วยสรณะนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นเพราะการ
ถึงสรณะ คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖
เราทำให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระสรณาคมนิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ สรณาคมนิยเถราปทาน.
ปิณฑปาติกเถราปทานที่ ๑๐ (๓๖๐)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายบิณฑบาต
[๓๖๒] ในกาลนั้น พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่าติสสะ ประทับอยู่ในป่าใหญ่ เรา
จากดุสิตพิภพมาในมนุษย์โลกนี้ ได้ถวายบิณฑบาต ได้ถวายบังคมพระ
สัมพุทธเจ้าพระนามว่าติสสะ ผู้มียศใหญ่ ยังจิตของตนให้เลื่อมใสแล้ว
กลับไปยังภพดุสิต ในกัลปที่ ๙๒ แต่กัลปนี้ เราได้ถวายทานใดในกาล
นั้น ด้วยทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายบิณฑบาต
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำ
ให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระปิณฑปาติกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ ปิณฑปาติกเถราปทาน.
-----------------------------------------------------
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สัททสัญญิกเถราปทาน ๒. ยวกลาปิยเถราปทาน
๓. กิงสุกปูชกเถราปทาน ๔. สโกฏกโกรัณฑทายกเถราปทาน
๕. ทัณฑทายกเถราปทาน ๖. อัมพยาคุทายกเถราปทาน
๗. ปูฏกปูชกเถราปทาน ๘. วัจฉทายกเถราปทาน
๙. สรณาคมนิยเถราปทาน ๑๐. ปิณฑปาติกเถราปทาน
และมีคาถา ๔๐ คาถา.
จบ สัททสัญญิกวรรคที่ ๓๖
-----------------------------------------------------
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๒ บรรทัดที่ ๗๓๐๑-๗๔๒๔ หน้าที่ ๓๓๖-๓๔๑.
http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=32&A=7301&Z=7424&pagebreak=0
ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]
อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=32&siri=353
ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=32&i=353
ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :-
[353-362] http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=32&item=353&items=10
The Pali Tipitaka in Roman :-
[353-362] http://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=32&item=353&items=10
สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒
http://84000.org/tipitaka/read/?index_32
อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :-
https://suttacentral.net/tha-ap353/en/walters
บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง.
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ DhammaPerfect@yahoo.com