ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๔ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑
มันทารวปุปผิยวรรคที่ ๓๗
มันทารวิยเถราปทานที่ ๑ (๓๖๑)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกมนทารพ
[๓๖๓] เรา (แปลงเพศ) เป็นมาณพ ชื่อมงคล จากภพดุสิตมาในมนุษย์โลกนี้ ถือเอาดอกมนทารพมากั้นแดดลมไว้เหนือพระเศียรแห่งพระพุทธเจ้า พระ นามว่าวิปัสสี ผู้แสวงหาคุณใหญ่ ประทับนั่งสมาธิอยู่ เรากั้นอยู่ตลอด ๗ วันแล้ว กลับมาสู่เทวโลก ในกัลปที่ ๙๑ แต่กัลปนี้ เราได้บูชา พระพุทธเจ้าใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลยนี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำ ให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระมันทารวิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ มันทารวิยเถราปทาน.
กักการุปุปผิยเถราปทานที่ ๒ (๓๖๒)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกฟักทิพย์
[๓๖๔] เราจากเทวโลกชั้นยามามาในมนุษยโลกนี้ เพื่อมาเฝ้าพระพุทธเจ้าพระนามว่า โคดม ผู้เป็นพระโอรสของพระเจ้าสิริสุทโธทนะ ได้ถือเอาดอกฟักทิพย์ มาบูชาแด่พระพุทธเจ้า ในกัลปที่ ๙๑ แต่กัลปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้า ด้วยดอกไม้ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธ- บูชา คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระกักการุปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ กักการุปุปผิยเถราปทาน.
ภิสมุฬาลทายกเถราปทานที่ ๓ (๓๖๓)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายเหง้ามันและรากบัว
[๓๖๕] พระสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่าผุสสะ ทรงรู้จบธรรมทั้งปวง ผู้ใคร่ในวิเวก มีพระปัญญา เสด็จมาในสำนักของเรา เรายังจิตให้เลื่อมใสในพระองค์ ชินเจ้า ผู้ประกอบด้วยพระมหากรุณา ได้ถือเอาเหง้ามันและรากบัวมาถวาย แด่พระพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐสุด ในกัลปที่ ๙๒ แต่กัลปนี้ เราได้ถวาย เหง้ามันและรากบัวใดในกาลนั้น ด้วยทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็น ผลแห่งการถวายเหง้ามันและรากบัว คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระภิสมุฬาลทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ ภิสมุฬาลทายกเถราปทาน.
เกสรปุปผิยเถราปทานที่ ๔ (๓๖๔)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกบัว ๓ ดอก
[๓๖๖] ในกาลนั้น เราเป็นวิทยาธรอยู่ที่ภูเขาหิมวันต์ ได้พบพระพุทธเจ้า ผู้ปราศ- จากกิเลสธุลี มียศมาก กำลังเสด็จจงกรมอยู่ ในกาลนั้น เราวางดอกบัว ๓ ดอกไว้บนศีรษะ แล้วเข้าไปเฝ้าพระสัมพุทธเจ้า พระนามว่าเวสสภู แล้ว ได้บูชา ในกัลปที่ ๓๑ แต่กัลปนี้ เราได้ทำกรรมใด ในกาลนั้น ด้วย กรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระเกสรปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ เกสรปุปผิยเถราปทาน.
อังโกลปุปผิยเถราปทานที่ ๕ (๓๖๕)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกปรู
[๓๖๗] ในกาลนั้น พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่าปทุม ประทับอยู่ที่ภูเขาจิตกูฏ เรา ได้เห็นพระสยัมภูพุทธเจ้าพระองค์นั้นแล้วจึงเข้าไปเฝ้า ขณะนั้น เราได้ เห็นต้นปรูมีดอกบาน จึงเลือกเก็บแล้ว เอาเข้ามาบูชาพระชินสัมพุทธเจ้า พระนามว่าปทุม ในกัลปที่ ๓๑ แต่กัลปนี้ เราได้ทำกรรมใด ในกาลนั้น ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระอังโกลปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ อังโกลปุปผิยเถราปทาน.
กทัมพปุปผิยเถราปทานที่ ๖ (๓๖๖)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกกระทุ่ม
[๓๖๘] เรานั่งอยู่ในปราสาทอันประเสริฐ ได้เห็นพระสัมพุทธเจ้าผู้มีพระฉวีวรรณ ดังทอง เช่นกับทองคำอันมีค่า มีพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ เป็นนายกของโลก เสด็จในระหว่างตลาด เราจึงถือเอาดอกกระทุ่มไปบูชา พระพุทธเจ้า พระนามว่าวิปัสสี กัลปที่ ๙๑ แต่กัลปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้า ด้วยดอกไม้ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธ- บูชา คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระกทัมพปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ กทัมพปุปผิยเถราปทาน.
อุททาลกปุปผิยเถราปทานที่ ๗ (๓๖๗)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกคูน
[๓๖๙] ในกาลนั้น พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสุชาตะ ประทับอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำ คงคา เราได้ถือเอาดอกคูนไปบูชาพระองค์ผู้ไม่แพ้อะไรๆ ในกัลปที่ ๓๑ แต่กัลปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่ รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระอุททาลกปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ อุททาลกปุปผิยเถราปทาน.
เอกจัมปกปุปผิยเถราปทานที่ ๘ (๓๖๘)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกจำปา
[๓๗๐] ก็พระสัมพุทธเจ้าผู้สงบระงับ อาศัยอยู่ในระหว่างภูเขา เราถือเอาดอก จำปาดอกหนึ่ง เข้าไปหาท่านผู้สูงสุดกว่านระ มีจิตเลื่อมใสโสมนัส ประ คองด้วยมือทั้งสอง บูชาพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้เป็นมุนีอันอุดม ไม่แพ้อะไรๆ ในกัลปที่ ๓๑ แต่กัลปนี้ เราได้บูชาพระปัจเจกพุทธเจ้าด้วยดอกไม้ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา คุณวิเศษ เหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัด แล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระเอกจัมปกปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ เอกจัมปกปุปผิยเถราปทาน.
ติมิรปุปผิยเถราปทานที่ ๙ (๓๖๙)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกดีหมี
[๓๗๑] เราเที่ยวไปตามกระแสน้ำใกล้ฝั่งแม่น้ำจันทภาคา ได้เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ปราศจากกิเลสธุลี เหมือนพระยารังมีดอกบาน เรามีจิตเลื่อมใสโสมนัส ถือเอาดอกดีหมีมาโปรยลงเหนือศีรษะ บูชาพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้เป็นมุนี อันอุดม ในกัลปที่ ๙๑ แต่กัลปนี้ เราได้บูชาพระปัจเจกพุทธเจ้าด้วยดอก ไม้ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เรา ทำให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระติมิรปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ ติมิรปุปผิยเถราปทาน.
สลฬปุปผิยเถราปทานที่ ๑๐ (๓๗๐)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกช้างน้าว
[๓๗๒] ในกาลนั้น เราเป็นกินนรอยู่ที่ใกล้ฝั่งแม่น้ำจันทภาคา ครั้งนั้น เราได้เห็น พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐกว่านระเสด็จจงกรมอยู่ เราได้เลือกเก็บดอกไม้ช้าง น้าวมาถวายแด่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด พระมหาวีรเจ้าทรงสูดกลิ่นดอก ช้างน้าวมีกลิ่นหอมดังดอกไม้ทิพย์ เมื่อขณะที่เราดูอยู่นั้น พระมหาวีรสัม- พุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ผู้เป็นนายกของโลก ทรงรับแล้ว ทรงสูดกลิ่น เรามีจิตเลื่อมใสโสมนัส ถวายบังคมพระองค์ผู้อุดมกว่าสัตว์ ประนมกร อัญชลีแล้ว กลับขึ้นสู่ภูเขาอีก ในกัลปที่ ๙๑ แต่กัลปนี้ เราได้บูชาพระ พุทธเจ้าด้วยดอกไม้ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผล แห่งพุทธบูชา คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระสลฬปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ สลฬปุปผิยเถราปทาน.
-----------------------------------------------------
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. มันทารวิยปุปผิยเถราปทาน ๒. กักการุปุปผิยเถราปทาน ๓. ภิสมุฬาลทายกเถราปทาน ๔. เกสรปุปผิยเถราปทาน ๕. อังโกลปุปผิยเถราปทาน ๖. กทัมพปุปผิยเถราปทาน ๗. อุททาลกปุปผิยเถราปทาน ๘. เอกจัมปกปุปผิยเถราปทาน ๙. ติมิรปุปผิยเถราปทาน ๑๐. สลฬปุปผิยเถราปทาน
และมีคาถา ๔๐ คาถา.
จบ มันทรวปุปผิยวรรคที่ ๓๗.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๒ บรรทัดที่ ๗๔๒๕-๗๕๔๗ หน้าที่ ๓๔๒-๓๔๗. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=32&A=7425&Z=7547&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=32&siri=363              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=32&i=363              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [363-372] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=32&item=363&items=10              The Pali Tipitaka in Roman :- [363-372] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=32&item=363&items=10              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ https://84000.org/tipitaka/read/?index_32              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/tha-ap363/en/walters

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :