ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๔ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑
สลฬมัณฑปิยเถราปทานที่ ๘ (๓๙๘)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกสน
[๔๐๐] เมื่อพระพุทธเจ้าพระนามว่ากกุสันธะ มีพระชาติเป็นพราหมณ์ มีธรรมอยู่ จบแล้ว นิพพานแล้ว เราได้เก็บเอาพวงดอกสนมาทำเป็นมณฑป เราเป็น ผู้ไปสู่ดาวดึงส์ ย่อมได้วิมานอันอุดม ย่อมครอบงำเทวดาเหล่าอื่น นี้เป็น ผลแห่งบุญกรรม เราเดินและยืนอยู่ในเวลากลางวันหรือกลางคืน เป็นผู้อัน ดอกสนกำบังไว้ นี้เป็นผลแห่งบุญกรรม ในกัลปนี้เอง เราได้บูชาพระ- พุทธเจ้าใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพขึ้นได้ทั้งหมดแล้ว ตัดกิเลสเครื่องผูก ดังช้างตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่ การที่เราได้มาในสำนักพระพุทธ- เจ้าของเรานี้ เป็นการมาดีแล้วหนอ วิชชา ๓ เราบรรลุแล้วโดยลำดับ พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ทำ เสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระสลฬมัณฑปิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ สลฬมัณฑปิยเถราปทาน.
สัพพทายกเถราปทานที่ ๙ (๓๙๙)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายทานทุกสิ่งทุกอย่าง
[๔๐๑] ภพของเราหยั่งลงถึงมหาสมุทร ตกแต่งดีแล้ว สระโปกขรณี ตกแต่ง สวยงาม มีนกจากพรากส่งเสียงร้องอยู่ ดาดาษด้วยบัวขม บัวเผื่อน บัวหลวงและอุบล ในสระนั้นมีน้ำไหล มีท่าน้ำราบเรียบ น่ารื่นรมย์ใจ มีปลาและเต่าชุกชุม มีเนื้อต่างๆ ลงกินน้ำ มีนกยูง นกกระเรียนและนก ดุเหว่า เป็นต้นร่ำร้องด้วยเสียงไพเราะ นกเขา นกเป็ดน้ำ นกจากพราก นกกาน้ำ นกต้อยตีวิด นกสาลิกา นกค้อนหอย นกโพระดก หงส์ นก กระเรียน นกแสกสิงคลา (หมาจิ้งจอก) เที่ยวอยู่มากมาย สระโปกขรณี สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีแก้วมณี ไข่มุกและทราย ต้นไม้ทั้งหลาย เป็นสีทองทั้งหมด มีกลิ่นหอมต่างๆ ฟุ้งขจรไป ส่องภพของเราให้สว่าง ไสวตลอดกาลทั้งปวง ทั้งกลางวันกลางคืน ดนตรี ๖ หมื่น ประโคมอยู่ ทั้งเวลาเย็นเวลาเช้า หญิง ๑๖๐๐ คน ห้อมล้อมเราอยู่ทุกเมื่อ เราออกจาก ภพแล้ว ได้เห็นพระพุทธเจ้าพระนามว่าสุเมธ ผู้นำของโลก มีจิตเลื่อมใส โสมนัส ได้ถวายบังคมพระองค์ผู้มียศมาก ครั้นถวายบังคมแล้ว ได้ทูล นิมนต์ พระองค์พร้อมด้วยศิษย์พระพุทธเจ้าผู้เป็นนักปราชญ์ พระนามว่า สุเมธ ผู้นำของโลก ทรงรับ พระมหามุนีกล่าวธรรมกถาแก่เราแล้วทรง ส่งเราไป เราถวายบังคมพระสัมพุทธเจ้า แล้วกลับเข้าภพของเรา เราเรียก บริวารชนมาว่า ท่านทั้งหมดมาประชุมกัน เวลาเช้า พระพุทธเจ้าจะเสด็จมา สู่ภพของเรา การที่เราทั้งหลายจะได้อยู่ในสำนักของพระองค์ เป็นลาภที่เรา ทั้งหลายได้ดีหนอ แม้เราทั้งหลายจักทำการบูชาแด่พระพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐ สุด ผู้ศาสดา เราตระเตรียมข้าวและน้ำเสร็จแล้ว จึงกราบทูลภัตกาล พระพุทธเจ้าผู้นำของโลก เสด็จเข้ามาพร้อมด้วยพระอรหันต์หนึ่งแสน เราได้ทำการต้อนรับด้วยสังคีตและดนตรี พระพุทธเจ้าผู้เป็นอุดมบุรุษ ประทับนั่งบนตั่งทองล้วน ในกาลนั้น หลังคาเบื้องบนก็มุงด้วยทองล้วนๆ คนทั้งหลายโบกพัดถวายในระหว่างภิกษุสงฆ์ เราได้อังคาสภิกษุสงฆ์ให้ อิ่มหนำด้วยข้าวและน้ำเพียงพอ ได้ถวายผ้าแก่ภิกษุสงฆ์รูปละ ๑ คู่ พระพุทธเจ้าที่เขาเรียกพระนามว่าสุเมธ ผู้สมควรรับเครื่องบูชาของโลก ประทับนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์แล้ว ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า ผู้ใด อังคาสเราให้อิ่มหนำด้วยข้าวและน้ำทั้งปวง เราจักพยากรณ์ผู้นั้น ท่าน ทั้งหลายจงฟังเรากล่าว ผู้นั้นจักรื่นรมย์อยู่ในเทวโลกตลอด ๑๘๐๐ กัลป จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช ๑๐๐๐ ครั้ง ผู้นั้นจะเข้าถึงกำเนิดใด คือ เป็นเทวดาหรือมนุษย์ ในกำเนิดนั้น หลังคาทองล้วนๆ จักกั้นร่มให้ใน ทุกขณะ ใน ๓ หมื่นกัลป พระศาสดามีพระนามชื่อว่าโคดม ซึ่งมีสมภพใน วงศ์พระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จอุบัติในโลก ผู้นั้นจักเป็นทายาทในธรรม ของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น เป็นโอรสอันธรรมนิรมิต จักกำหนดรู้อาสวะ ทั้งปวงแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะนิพพาน จักนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์แล้ว บันลือสีหนาท ชนทั้งหลายจะกั้นฉัตรไว้ที่เชิงตะกอน จักเผาภายใต้ฉัตร สามัญผลบรรลุแล้วโดยลำดับ กิเลสทั้งหลายเราเผาแล้ว ความเร่าร้อนไม่มี แก่เราที่มณฑปหรือที่โคนไม้ ในกัลปที่ ๓ หมื่น แต่กัลปนี้ เราได้ถวายทาน ใด ในกาลนั้น ด้วยทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งทานทุกสิ่ง เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพขึ้นได้หมดแล้ว ตัดกิเลสเครื่องผูก ดังช้างตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่ การที่เราได้มาในสำนักของ พระพุทธเจ้าของเรานี้ เป็นการมาดีแล้วหนอ วิชชา ๓ เราบรรลุแล้วโดย ลำดับ พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัม- ภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนา เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระสัพพทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ สัพพทายกเถราปทาน.
อชิตเถราปทานที่ ๑๐ (๔๐๐)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายประทีป
[๔๐๒] พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตระ ทรงรู้จบธรรมทั้งปวง เป็นนายกของโลก เสด็จสู่ภูเขาหิมวันต์ แล้วประทับนั่งอยู่ เราไม่ได้ (เคย) เห็นพระ- สัมพุทธเจ้า แม้เสียงของพระองค์ เราก็ไม่เคยได้ฟัง เราเที่ยวแสวงหา อาหารของเราอยู่ในป่า ได้เห็นพระสัมพุทธเจ้ามีพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการในป่านั้น ครั้นเห็นแล้วจึงได้คิดว่า สัตว์นี้พึงชื่อว่าอะไร เรามองดูลักษณะทั้งหลายแล้ว ระลึกถึงความรู้ของเราได้ ความจริงเราได้ ยินมาว่า ลักษณะนี้ของพระพุทธเจ้า บัณฑิตทั้งหลายก็กล่าวไว้ ผู้นี้จักเป็น พระพุทธเจ้า จริงเหมือนคำของบัณฑิตเหล่านั้น ถ้าเช่นนั้น เราควรสักการะ พระองค์ พระองค์จะชำระคติของเราได้ เราจึงรีบกลับมาสู่อาศรม ถือเอา น้ำผึ้งและน้ำมัน หยิบเอาหม้อแล้ว เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าผู้ทรงแนะนำให้ วิเศษ ถือเอาไม้ ๓ ท่อนไปวางไว้ที่โอกาสแจ้ง ก่อไฟให้ลุกโพลงแล้วได้ ถวายบังคม ๘ ครั้ง พระพุทธเจ้าผู้อุดมบุรุษประทับนั่งอยู่ตลอด ๗ คืน ๗ วัน พระพุทธเจ้าผู้นำโลกเสด็จลุกขึ้น ในเมื่อราตรีนั้นปราศไป เรามีจิตเลื่อมใส โสมนัส ได้ตามประทีปถวายแด่พระพุทธเจ้าด้วยมือทั้งสองของตน ตลอด ๗ คืน ๗ วัน กลิ่นหอมทุกอย่างอันมีอยู่ในป่าที่ภูเขาคันธมาทน์ มาหอม ฟุ้งในสำนักพระพุทธเจ้า ด้วยพุทธานุภาพ เวลานั้น ต้นไม้มีดอกหอม ทุกชนิด ดอกบานสะพรั่งโชยกลิ่นมาหอมตลบพร้อมกัน ด้วยพุทธานุภาพ นาคและครุฑทั้งสองพวกที่ภูเขาหิมวันต์มีประมาณเท่าใด นาคและครุฑ เหล่านั้นต้องการจะฟังธรรม จึงพากันมาในสำนักพระพุทธเจ้า พระสมณะ นามว่าเทวละ เป็นอัครสาวกของพระพุทธเจ้า ท่านพร้อมด้วยพระอรหันต์ หลายแสน เข้ามาสู่สำนักพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตระ ทรงรู้แจ้งโลก ผู้ควรรับเครื่องบูชา ประทับนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์แล้ว ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า ผู้ใดมีความเลื่อมใส ตามปทีปถวายเราด้วยมือ ทั้งสองของตน เราจักพยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว เขาจัก รื่นรมย์อยู่ในเทวโลกตลอด ๖ หมื่นกัลป และจะได้เป็นพระเจ้าจักร- พรรดิราช ๑๐๐๐ ครั้ง.
จบ ภาณวารที่ ๑๖
จักได้เป็นจอมเทวดาเสวยรัชสมบัติในเทวโลก ๓๖ ครั้ง จักได้เสวยรัช- สมบัติอันไพบูลย์ในปฐพี ๗๐๐ ครั้ง จักได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอัน ไพบูลย์โดยคณานับมิได้ ด้วยการตามประทีปถวายนี้ จักเป็นผู้มีทิพยจักษุ ผู้นี้จักมองเห็นไกล ๒๕๐ ชั่วธนู โดยรอบทุกเมื่อ เมื่อเขาจุติจากเทวโลก บังเกิดเป็นคน ประทีปจักทรงอยู่ตลอดทั้งกลางวันกลางคืน เมื่อผู้นี้เกิด พรั่งพร้อมด้วยบุญกรรม ตลอดทั่วนครจักโชติช่วง ผู้นี้เข้าถึงกำเนิดใด คือ เป็นเทวดาหรือมนุษย์ เพราะผลแห่งการตามประทีปถวาย ๘ ดวงนั้น ชนทั้งหลายจักบำรุงผู้นี้ นี้เป็นผลแห่งการตามปทีปถวาย ในแสนกัลป แต่กัลปนี้ พระศาสดามีพระนามชื่อว่าโคดม ซึ่งมีสมภพในวงศ์พระเจ้า โอกกากราช จักเสด็จอุบัติในโลก ผู้นี้จักเป็นทายาทในธรรมของพระศาสดา พระองค์นั้น จักเป็นโอรสอันธรรมนิรมิต จักกำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะ นิพพาน ยังพระสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโคดมศากยบุตร ให้ทรงโปรดปรานแล้ว จักได้เป็นสาวกของพระศาสดา มีนามชื่อว่าอชิตะ เรารื่นรมย์อยู่ในเทวโลกตลอด ๖ หมื่นกัลป แม้ในเทวโลกนั้น ประทีป ๑๐๐ ดวงส่องสว่างให้แก่เราเป็นนิตยกาล รัศมีของเราพุ่ง (โพลง) ออก ไปในเทวโลกและมนุษยโลก เราระลึกถึงพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุดแล้ว ยังความโสมนัสให้เกิดยิ่ง เราจุติจากเทวโลกชั้นดุสิตแล้ว ลงสู่ครรภ์ มารดา เมื่อเราเกิดได้มีแสงสว่างไพบูลย์ เราออกจากเรือนแล้ว บวช เป็นบรรพชิต ได้เข้าไปหาพราหมณ์พาวรี ยอมตนเข้าเป็นศิษย์ เมื่อเราอยู่ ที่ภูเขาหิมวันต์ ได้ทราบข่าวพระพุทธเจ้าผู้นำของโลก เราแสวงหาประ- โยชน์อันสูงสุด จึงเข้าไปเฝ้าพระองค์ พระพุทธเจ้าผู้ฝึก พระองค์แล้ว ทรงฝึกแม้ผู้อื่น ทรงข้ามโอฆะแล้ว เป็นผู้ไม่มีอุปธิ ตรัสบอกนิพพานเครื่อง พ้นจากทุกข์ทั้งปวง กรรมของเรานั้นสำเร็จประโยชน์ เรายังพระมหามุนี ให้ยินดี วิชชา ๓ เราบรรลุแล้วโดยลำดับ พระพุทธศาสนาเราได้ทำ เสร็จแล้ว ในกัลปที่แสนแต่กัลปนี้ เราได้ถวายประทีปใด ในกาลนั้น ด้วยการถวายประทีปนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวาย ประทีป เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพขึ้นได้ทั้งหมดแล้ว ตัดกิเลส เครื่องผูก ดังช้างตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่ การที่เราได้มาใน สำนักพระพุทธเจ้าของเรานี้ เป็นการมาดีแล้วหนอ วิชชา ๓ เราบรรลุ แล้วโดยลำดับ พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว พระ- พุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระอชิตเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ อชิตเถราปทาน
-----------------------------------------------------
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ปิลินทวัจฉเถราปทาน ๒. เสลเถราปทาน ๓. สรรพกิตติกเถราปทาน ๔. มธุทายกเถราปทาน ๕. ปทุมกูฏาคาริกเถราปทาน ๖. พักกุลเถราปทาน ๗. คิริมานันทเถราปทาน ๘. สลฬมัณฑปิยเถราปทาน ๙. สัพพทายกเถราปทาน ๑๐. อชิตเถราปทาน
ท่านนับคาถาได้ ๒๕๐ คาถา.
จบ ปิลินทวรรคที่ ๔๐.
-----------------------------------------------------
และรวมวรรคได้ ๑๐ วรรค คือ
๑. ปทุมเกสริยวรรค ๒. อารักขทายกวรรค ๓. อุมมาปุปผิยวรรค ๔. คันโธทกวรรค ๕. เอกปทุมวรรค ๖. สัททสัญญิกวรรค ๗. มันทารวปุปผิยวรรค ๘. โพธิวันทกวรรค ๙. อัมพฏผลวรรค ๑๐. ปิลินทวรรค
และท่านคำนวณคาถาได้ ๑๑๗๕ คาถา
จบหมวด ๑๐ แห่งปทุมวรรค.
จบ หมวด ๑๐๐ ที่ ๔.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๒ บรรทัดที่ ๘๗๒๓-๘๘๗๐ หน้าที่ ๓๙๖-๔๐๒. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=32&A=8723&Z=8870&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=32&siri=400              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=32&i=400              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [400-402] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=32&item=400&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=50&A=5401              The Pali Tipitaka in Roman :- [400-402] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=32&item=400&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=50&A=5401              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ https://84000.org/tipitaka/read/?index_32              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/tha-ap400/en/walters

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :