ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๔ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑
โตเทยยเถราปทานที่ ๘ (๔๐๘)
ว่าด้วยผลแห่งการสร้างบรรณศาลา
[๔๑๐] ในกาลนั้น (เราเป็น) พระราชาพระนามว่าวิชิตชัย เป็นผู้กล้า ทรงถึง พร้อมด้วยความกล้าหาญ ประทับอยู่ในท่ามกลางพระนครเกตุมดีอันอุดม ในกาลนั้น เมื่อพระราชาพระองค์นั้นประมาท พิษร้ายของแว่นแคว้นก็ดัง ขึ้น อุตฺตรา ตุณฺฑิกา เจว กำจัดแว่นแคว้นเมื่อปัจจันตชนบทกำเริบ พระราชาจึงสั่งให้พลรบและทหารสื่อสารประชุมกัน รับสั่งให้ใช้อาวุธบังคับ ข้าศึก ในกาลนั้น พลช้าง พลม้า ทหารเสื้อเกราะผู้กล้าหาญ พลธนูและ พลรถมาประชุมกันทั้งหมด พวกพ่อครัว พนักงานเครื่องต้น พนักงานสรง สนาน ช่างดอกไม้ผู้กล้าหาญ เคยชนะสงคราม มาประชุมกันทั้งหมด พวกชายฉกรรจ์ผู้ถือแสงขรรค์ ถือธนู สวมเกราะหนัง เป็นคนแข็ง กล้าเคยชนะสงคราม มาประชุมกันทั้งหมด ช้างมาตังคะตกมัน ๓ ครั้ง มีอายุ ๖๐ ปี มีสายประคนพานหน้าพานหลัง และเครื่องประดับล้วนทอง มาประชุมกันทั้งหมด นักรบอาชีพ อดทนต่อหนาว ร้อน อุจจาระ ปัสสาวะ มีกรรมอันทำเสร็จแล้ว มาประชุมกันทั้งหมด ทหารเหล่านั้นยินดีด้วยเสียง สังข์ เสียงกลองและด้วยเสียงแตกตื่น มาประชุมกันทั้งหมด ทหารเหล่า นั้นตีกั้นด้วยหลาว หอก แหลน ธนู และหอกอย่าง ๓ เล่ม กลับมา ประชุมกันทั้งหมด ในกาลนั้น เราสวมเกราะแล้ว สั่งให้จับพลรบ ๖ หมื่น พร้อมทั้งพระราชาผู้ชนะ ที่ยังไม่เคยชนะ เสียบหลาว พลรบเหล่านั้น พากันส่งเสียงร้องว่า พุทโธ พระราชาอาธรรม์ เมื่อถูกไฟไหม้อยู่ในนรก เมื่อไรจักมีที่สุด ในกาลนั้น เรานอนอยู่บนที่นอน ย่อมเห็นไฟนรก เรา นอนไม่หลับตลอดวันหนึ่งคืนหนึ่ง พวกนายนิริยบาลขู่เราด้วยหลาว (เรา คิดว่า) ความมัวเมารัชสมบัติ สัตว์พาหนะ และพลรบจะเป็นประโยชน์ อะไร สิ่งเหล่านั้นไม่สามารถทรงไว้ได้ ย่อมยังเราให้สะดุ้งทุกเมื่อ บุตร ภรรยา และรัชสมบัติทั้งสิ้น จะเป็นประโยชน์อะไรแก่เรา ถ้าเช่นนั้น เราพึงบวช พึงชำระทางแห่งคติ เราไม่มีความห่วงใย ปล่อยช้างมาตังคะ ๖ หมื่นเชือก อันประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง มีรัดประคนพานหน้า พานหลัง เครื่องประดับศีรษะและข่ายล้วนทอง อันควาญช้างผู้ถือหอกซัด และขอประจำคอ ไว้ในที่สนามรบ เร่าร้อน ด้วยกรรมของตน จึงออก บวชเป็นบรรพชิต เราทิ้งม้าสินธพอาชาไนยโดยกำเนิด ๖ หมื่นม้า อัน ประกอบด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง เป็นพาหนะวิ่งเร็ว อันนายม้ามือถือธนู สวมเกราะหนัง ขึ้นประจำหลังเสียทั้งหมดแล้ว ออกบวชเป็นบรรพชิต เราสละรถ ๖ หมื่นคัน อันประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง หุ้มด้วย หนังเสือเหลืองบ้าง ด้วยหนังเสือโคร่งบ้าง สอดเครื่องรบมีธงปักไว้หน้า รถ ทั้งหมดนี้แล้ว บวชเป็นบรรพชิต เราทิ้งแม่โคนม ๖ หมื่นตัว อันรอง น้ำนมด้วยขันสำริด ทั้งหมดเสียแล้ว บวชเป็นบรรพชิต เราปล่อยหญิง ๖ หมื่นคน ผู้ประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง มีผ้าและอาภรณ์อันวิจิตร สวมใส่แก้วมณีและกุณฑล มีหน้าเบิกบาน ยิ้มแย้ม ตะโพกผึ่งผาย เอว เล็กเอวบาง ทุกคนคร่ำครวญอยู่ไว้แล้ว บวชเป็นบรรพชิต เราทิ้งบ้าน ๖ หมื่นหลัง อันบริบูรณ์ด้วยประการทั้งปวง ซึ่งเป็นรัชสมบัตินั้นเสียแล้ว บวชเป็นบรรพชิต เราออกจากพระนครแล้ว เข้าไปสู่ภูเขาหิมวันต์ ได้ สร้างอาศรมไว้ ณ ที่ใกล้แม่น้ำภาคีรสี ทำบรรณศาลาเสร็จแล้ว ทำเรือน สำหรับบูชาไฟ เราปรารภความเพียรมีใจแน่วแน่ อยู่ในอาศรม เมื่อ เราเพ่งฌานอยู่ในมณฑปก็ดี ที่โคนไม้ก็ดี ในเรือนว่างก็ดี ความสะดุ้ง ย่อมไม่มีแก่เรา เราไม่เห็นภัยที่น่าหวาดกลัวเลย ในกาลนั้น พระสัม- พุทธเจ้าพระนามว่าสุเมธผู้เลิศ ประกอบด้วยพระกรุณาเป็นมุนี ทรงยัง แสงสว่างแห่งญาณให้โชติช่วง เสด็จอุบัติในโลก โดยรอบอาศรมของ เรา มียักษ์ (เทวดา) ผู้มีฤทธิ์อยู่ เมื่อพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ อุบัติขึ้นแล้ว ยักษ์บอกกะเราในกาลนั้นว่า พระพุทธเจ้าพระนามว่าสุเมธผู้มีจักษุ เสด็จ อุบัติแล้วในโลก ทรงยังหมู่สัตว์ทั้งปวงให้ข้าม แม้ท่านพระองค์ก็จักทรง ให้ข้ามได้ขณะนั้น เราฟังคำของยักษ์แล้วมีความสลดใจ คิดอยู่ว่า พุทโธ พุทโธ เก็บอาศรมไว้ ทิ้งฟืนสำหรับบูชาไฟ และเก็บสันถัด ไหว้อาศรม แล้ว ออกจากป่าใหญ่เราถือเอาไม้จันทน์จากที่นั้น จากบ้านนี้ไปบ้านโน้น จากเมืองนี้ไปเมืองโน้น แสวงหาพระพุทธเจ้าอยู่ ได้เข้าไปเฝ้าพระองค์ สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพระนามว่าสุเมธผู้นำของโลกทรงประกาศสัจจะ ๔ ยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ตรัสรู้อยู่ เราประนมกรอัญชลีเหนือเศียรเกล้า กระทำวันทนาการ ถวายบังคมพระสัมพุทธเจ้าแล้ว ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ว่า เมื่อต้นมะลิซ้อนดอกบาน กลิ่นหอมฟุ้งไปในที่ใกล้ ข้าแต่พระวีรเจ้า พระองค์มีกลิ่นคือคุณหอมขจรไปทั่วทิศ เมื่อต้นจัมปา ต้นกะถินพิมาน ต้นอุโลก ต้นการเกต และต้นรัง กำลังดอกบาน กลิ่นหอมฟุ้งไปตามลม ข้าพระองค์สูดกลิ่นของพระองค์จากภูเขาหิมวันต์มาจนถึงที่นี่ ข้าแต่พระ- มหาวีรเจ้า ผู้เชษฐบุรุษของโลก มียศมาก ข้าพระองค์ขอบูชาพระองค์ เรา ไล้ทาพระพุทธเจ้าพระนามว่าสุเมธผู้นำของโลก ด้วยแก่นจันทน์อัน ประเสริฐ ยังจิตของตนให้เลื่อมใสแล้ว ได้ยืนนิ่งอยู่ ณ ที่นั่น พระผู้มี พระภาคพระนามว่าสุเมธเชษฐบุรุษของโลก ผู้ประเสริฐกว่านระ ประทับ นั่ง ณ ท่ามกลางภิกษุสงฆ์แล้ว ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า ผู้ใดสรรเสริญ คุณของเรา และได้บูชาเราด้วยแก่นจันทน์ เราจักพยากรณ์ผู้นั้น ท่าน ทั้งหลายจงฟังเรากล่าว ผู้นี้จักเป็นผู้กล่าวถ้อยคำที่ควรเชื่อถือได้ เป็นพรหม เป็นผู้ซื่อตรง มีตบะ จักมีรัศมีอันสว่างไสวตลอด ๒๕ กัลป จักรื่นรมย์ อยู่ในเทวโลกตลอด ๒๖๐๐๐ กัลป จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช ๑๐๐๐ ครั้ง จักได้เป็นจอมเทวดาเสวยรัชสมบัติในเทวโลก ๓๓ ครั้ง จักได้เป็น พระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์โดยคณานับมิได้ คนผู้นี้จุติจากเทวโลกนั้น แล้ว จักถึงความเป็นมนุษย์ ประกอบด้วยบุญกรรม จักเป็นบุตรพราหมณ์ จักได้เป็นศิษย์ของพราหมณ์ชื่อว่าพาวรี ผู้เล่าเรียนทรงจำมนต์ ถึงที่สุด แห่งไตรเพท ถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๓ ประการ จักเป็นผู้รู้จบมนต์ เราได้ เข้าไปเฝ้าพระสัมพุทธเจ้า พระนามว่าโคดมศากยบุตร ได้ทูลถามปัญหาอัน ละเอียด ยังใจให้โสมนัส กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะ อยู่ เราดับไฟ ๓ กองได้สิ้นแล้ว ถอนภพขึ้นได้ทั้งหมดแล้ว กำหนดรู้ อาสวะทั้งปวงแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่ เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอน ภพขึ้นได้ทั้งหมดแล้ว ตัดกิเลสเครื่องผูกดังช้างตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มี อาสวะอยู่ การที่เราได้มาในสำนักพระพุทธเจ้าของเรานี้ เป็นการมาดีแล้ว หนอ วิชชา ๓ เราบรรลุแล้วโดยลำดับ พระพุทธศาสนา เราได้ทำเสร็จ แล้ว คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เรา ทำให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระโตเทยยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ โตเทยยเถราปทาน.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๒ บรรทัดที่ ๙๒๖๗-๙๓๕๒ หน้าที่ ๔๑๘-๔๒๑. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=32&A=9267&Z=9352&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=32&siri=410              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=32&i=410              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [410] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=32&item=410&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=50&A=5452              The Pali Tipitaka in Roman :- [410] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=32&item=410&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=50&A=5452              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ https://84000.org/tipitaka/read/?index_32              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/tha-ap410/en/walters

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :