บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
ฉบับหลวง ฉบับมหาจุฬาฯ บาลีอักษรไทย PaliRoman |
สิทธัตถพุทธวงศ์ที่ ๑๖ ว่าด้วยพระประวัติพระสิทธัตถพุทธเจ้า [๑๗] สมัยต่อมาจากพระธรรมทัสสีพุทธเจ้า มีพระพุทธเจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ ทรงกำจัดความมืดทั้งปวง เหมือนพระอาทิตย์อุทัย ฉะนั้น แม้พระองค์ทรงบรรลุสัมโพธิญาณแล้ว ก็ทรงช่วยหมู่มนุษย์ พร้อม ด้วยเทวดาให้ข้ามพ้นวัฏฏสงสาร ทรงยังฝนคือธรรมให้ตก ดับความ ร้อนให้แก่โลกพร้อมด้วยเทวโลก แม้พระองค์ผู้มีเดชไม่มีเทียบเคียง ก็ตรัสพระธรรมเทศนาให้สัตว์ได้ตรัสรู้ธรรม ๓ ครั้ง ธรรมาภิสมัย ครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์แสนโกฏิ ในคราวเมื่อพระพุทธเจ้าพระองค์ นั้น ทรงตีกลองอมฤตเภรีที่ภีมรัฐ ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่ สัตว์เก้าสิบโกฏิ ในคราวเมื่อพระพุทธเจ้าผู้อุดมกว่านรชนพระองค์ นั้นทรงแสดงธรรมที่เวภารบรรพต ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่ สัตว์เก้าสิบโกฏิ พระสิทธัตถบรมศาสดาทรงมีการประชุมพระภิกษุ- ขีณาสพ ผู้ปราศจากมลทิน มีจิตสงบระงับ ผู้คงที่ ๓ ครั้ง สถานที่ ที่พระภิกษุผู้ปราศจากมลทิน มาประชุมกัน ๓ แห่ง แห่งที่ ๑ พระภิกษุร้อยโกฏิ แห่งที่ ๒ เก้าสิบโกฏิ และแห่งที่ ๓ แปดสิบโกฏิ สมัยนั้น เราเป็นดาบสชื่อว่ามงคล มีเดชอันรุ่งเรืองยากที่ผู้อื่นจะข่มได้ ประกอบด้วยกำลังแห่งอภิญญา เราได้นำเอาผลหว้ามาถวายแด่ พระสิทธัตถสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงรับแล้ว ได้ตรัสพระดำรัสนี้ว่า จงดูชฎิลดาบสผู้มีตบะรุ่งเรืองนี้ ในกัปที่ ๙๔ แก่กัปนี้ ดาบสนี้จัก ได้เป็นพระพุทธเจ้าในโลก ................. ข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉะนั้น เราได้ฟังพระพุทธพยากรณ์แม้นั้นแล้ว ก็ยังจิตให้เลื่อมใส อย่างยิ่ง ได้อธิษฐานวัตรในการบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการยิ่งขึ้น พระนครชื่อว่าเวภาระ พระบรมกษัตริย์พระนามว่าอุเทน เป็น พระชนกของพระสิทธัตถบรมศาสดา พระนางสุผัสสา เป็นพระชนนี พระองค์ทรงครอบครองอาคารสถานอยู่หมื่นปี ทรงมีปราสาทอัน ประเสริฐ ๓ ปราสาท ชื่อโกกาสะ อุปละ และโกกนุทะ ทรงมี พระสนมนารีกำนัลในสี่หมื่นแปดพันนาง ล้วนประดับประดาสวยงาม พระมเหสีพระนามว่าสุมนา พระราชโอรสพระนามว่าอนูปมะ พระองค์ทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ จึงเสด็จออกผนวชด้วยวอทอง ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๑๐ เดือนเต็ม พระสิทธัตถมหาวีรเจ้าผู้เป็น นายกของโลก อุดมกว่านรชน อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว ทรง ประกาศพระธรรมจักรที่มฤคทายวัน ทรงมีพระสัมพลเถระและพระ สุมิตตเถระ เป็นพระอัครสาวก พระเถระชื่อว่าเรวตะ เป็นพระพุทธ อุปัฏฐาก พระสีวลาเถรีและพระสุรามาเถรี เป็นพระอัครสาวิกา ไม้โพธิพฤกษ์ของพระองค์เรียกชื่อว่ากรรณิการ์ สุปปิยอุบาสกและ สัมพุทธอุบาสกเป็นอัครอุปัฏฐาก รัมมาอุบาสิกาและสุรัมมา อุบาสิกา เป็นอัครอุปัฏฐายิกา พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น สูง ๖๐ ศอก พระองค์งามเปล่งปลั่งดั่งทองคำล้ำค่า รุ่งเรืองไปในหมื่นโลกธาตุ พระพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุ ทรงพระคุณไม่มีผู้เสมอเหมือน ไม่มีบุคคล เปรียบเทียบถึง ทรงดำรงอยู่ในโลกแสนปี พระองค์ทรงแสดง พระรัศมีอันไพบูลย์ ทรงยังพระสาวกทั้งหลายให้บานสะพรั่ง ทรงเยื้องกรายงดงามด้วยสมาบัติอันประเสริฐ แล้วเสด็จนิพพาน พร้อมด้วยพระสาวก พระสิทธัตถพุทธเจ้าผู้เป็นมุนีประเสริฐเสด็จ นิพพาน ณ อโนมาราม พระสถูปอันประเสริฐของพระองค์ สูง ๔ โยชน์ ประดิษฐานอยู่ที่อโนมาราม ฉะนี้แล.จบสิทธัตถพุทธวงศ์ที่ ๑๖ เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ บรรทัดที่ ๘๐๔๕-๘๐๙๑ หน้าที่ ๓๔๔-๓๔๖. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=33&A=8045&Z=8091&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=33&siri=208 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33&i=197 ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [197] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=33&item=197&items=1 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=51&A=7158 The Pali Tipitaka in Roman :- [197] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=33&item=197&items=1 The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=51&A=7158 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_33
บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]