ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์
ทัสสนวาร
[๑๑๐๒] ธรรมที่เป็นกามาวจร ธรรมที่ไม่ใช่กามาวจร ธรรม ที่เป็นรูปาวจร ธรรมที่ไม่ใช่รูปาวจร ธรรมที่เป็นอรูปาวจร ธรรม ที่ไม่ใช่อรูปาวจร ธรรมที่เป็นโลกิยะ ธรรมที่เป็นโลกุตตระ [๑๑๐๓] ธรรมที่เป็นกามาวจร เป็นไฉน คือ ขันธ์ ธาตุ อายตนะ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันใด อันท่องเที่ยวอยู่ในระหว่างภูมินี้ อันนับเนื่องอยู่ในระหว่างภูมินี้ คือ เบื้องต่ำกำหนดเอาอเวจีนรกเป็นที่สุด เบื้องบนกำหนดเอาเหล่าเทวดาชั้นปรนิมมิต- *วสวัตตีเป็นที่สุด เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่เป็นกามาวจร ธรรมที่ไม่ใช่กามาวจร เป็นไฉน คือ ธรรมที่เป็นรูปาวจร ธรรมที่เป็นอรูปาวจร ธรรมที่เป็นโลกุตตระ เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่ไม่ใช่กามาวจร ธรรมที่เป็นรูปาวจร เป็นไฉน คือ จิตและเจตสิกธรรม ของบุคคลผู้เข้าสมาบัติ หรือผู้เกิดแล้ว หรือ ผู้อยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม อันท่องเที่ยวอยู่ในระหว่างภูมินี้ อันนับเนื่องอยู่ใน ระหว่างภูมินี้ คือ เบื้องต่ำกำหนดเอาพรหมโลกเป็นที่สุด เบื้องบนกำหนดเอา เหล่าเทวดาชั้นอกนิฏฐะเป็นที่สุด เหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมที่เป็นรูปาวจร ธรรมที่ไม่ใช่รูปาวจร เป็นไฉน คือ ธรรมที่เป็นกามาวจร ธรรมที่เป็นอรูปาวจร ธรรมที่เป็นโลกุตตระ เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่ไม่ใช่รูปาวจร ธรรมที่เป็นอรูปาวจร เป็นไฉน คือ จิตและเจตสิกธรรม ของบุคคลผู้เข้าสมาบัติ หรือผู้เกิดแล้ว หรือ ผู้อยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม อันท่องเที่ยวอยู่ในระหว่างภูมินี้ อันนับเนื่องอยู่ใน ระหว่างภูมินี้ คือ เบื้องต่ำกำหนดเอาเหล่าเทวดาผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนภพ เป็นที่สุด เบื้องบนกำหนดเอาเหล่าเทวดาผู้เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนภพเป็น ที่สุด เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่เป็นอรูปาวจร ธรรมที่ไม่ใช่อรูปาวจร เป็นไฉน คือ ธรรมที่เป็นกามาวจร ธรรมที่เป็นรูปาวจร ธรรมที่เป็นโลกุตตระ เหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมที่ไม่ใช่อรูปาวจร ธรรมที่เป็นโลกิยะ เป็นไฉน คือ กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ อันเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร ได้แก่รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่เป็นโลกิยะ ธรรมที่เป็นโลกุตตระ เป็นไฉน คือ มรรค ผลแห่งมรรค และอสังขตธาตุ (คือนิพพาน) เหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมที่เป็นโลกุตตระ

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ บรรทัดที่ ๑๔๔๘๓-๑๔๕๑๘ หน้าที่ ๖๒๑-๖๒๒. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=35&A=14483&Z=14518&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=35&siri=82              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=1102              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [1102-1103] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=35&item=1102&items=2              The Pali Tipitaka in Roman :- [1102-1103] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=35&item=1102&items=2              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_35              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/vb18/en/thittila#pts-p-pi421

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :