ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์

หน้าที่ ๓๑๔.

อภิธรรมภาชนีย์
เอกโตปุจฉาวิสัชนานัย
[๕๕๓] โพชฌงค์ ๗ คือ ๑. สติสัมโพชฌงค์ ๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ๓. วิริยสัมโพชฌงค์ ๔. ปีติสัมโพชฌงค์ ๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ๖. สมาธิสัมโพชฌงค์ ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ในธรรมเหล่านั้น โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติ และสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด โพชฌงค์ ๗ คือ สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ มีในสมัยนั้น [๕๕๔] ในโพชฌงค์ ๗ นั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน สติ ความรำลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่ง มรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สติสัมโพชฌงค์ [๕๕๕] ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียก ว่า ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๑๕.

[๕๕๖] วิริยสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า วิริยสัมโพชฌงค์ [๕๕๗] ปีติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน ความอิ่มใจ ความปราโมทย์ ความยินดียิ่ง ความบันเทิง ความร่าเริง ความรื่นเริง ความปลื้มใจ ความปีติอย่างโลดโผน ความที่จิตชื่นชมยินดี ปีติ- *สัมโพชฌงค์ อันใด นี้เรียกว่า ปีติสัมโพชฌงค์ [๕๕๘] ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน การสงบ การสงบระงับ กิริยาที่สงบ กิริยาที่สงบระงับ ความสงบระงับ แห่งเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ อันใด นี้เรียกว่า ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ [๕๕๙] สมาธิสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์ แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สมาธิสัมโพชฌงค์ [๕๖๐] อุเบกขาสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน ความวางเฉย กิริยาที่วางเฉย ความเพ่งเล็งยิ่ง ความเป็นกลางแห่งจิต อุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันใด นี้เรียกว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ธรรมเหล่านี้ เรียกว่า โพชฌงค์ ๗ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยโพชฌงค์ ๗
ปาฏิเยกกปุจฉาวิสัชนานัย
[๕๖๑] โพชฌงค์ ๗ คือ ๑. สติสัมโพชฌงค์ ๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ๓. วิริยสัมโพชฌงค์

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๑๖.

๔. ปีติสัมโพชฌงค์ ๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ๖. สมาธิสัมโพชฌงค์ ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ในโพชฌงค์ ๗ นั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด สติ ความตาม ระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องใน มรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า สติสัมโพชฌงค์ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียก ว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียก ว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยวิริยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยปีติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรม ที่สัมปยุตด้วยปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรม ที่สัมปยุตด้วยสมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานประกอบด้วย วิตก วิจาร มีปีติและ สุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ความวางเฉย กิริยาที่วางเฉย ความเพ่งเล็งยิ่ง ความเป็นกลางแห่งจิต อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียก ว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยอุเบกขาสัมโพชฌงค์

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ บรรทัดที่ ๗๒๗๕-๗๓๔๖ หน้าที่ ๓๑๔-๓๑๖. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=35&A=7275&Z=7346&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=35&siri=38              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=553              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [553-561] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=35&item=553&items=9              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=54&A=8050              The Pali Tipitaka in Roman :- [553-561] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=35&item=553&items=9              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=54&A=8050              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_35              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/vb10/en/thittila#ba300

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :