บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
ปาติโมกขุเทศ ๕ [๑๖๗] ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลาย ได้มีความปริวิตกว่า ปาติโมกขุเทศมีเท่าไรหนอ แล้ว กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปาติโมกขุเทศนี้มี ๕ คือ ภิกษุสวดนิทานจบแล้ว พึงสวดอุเทศที่เหลือด้วยสุตบท นี้เป็น ปาติโมกขุเทศที่ ๑. สวดนิทาน สวดปาราชิก ๔ จบแล้ว พึงสวดอุเทศที่เหลือด้วยสุตบท นี้เป็นปาติ โมกขุเทศที่ ๒. สวดนิทาน สวดปาราชิก ๔ สวดสังฆาทิเสส ๑๓ จบแล้วพึงสวดอุเทศที่เหลือด้วย สุตบท นี้เป็นปาติโมกขุเทศที่ ๓. สวดนิทาน สวดปาราชิก ๔ สวดสังฆาทิเสส ๑๓ สวดอนิยต ๒ จบแล้ว พึงสวด อุเทศที่เหลือด้วยสุตบท นี้เป็นปาติโมกขุเทศที่ ๔. สวดโดยพิสดารหมด เป็นปาติโมกขุเทศที่ ๕. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปาติโมกขุเทศ ๕ นี้แล.ทรงห้ามสวดปาติโมกข์ย่อ สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตการสวดปาติโมกข์ย่อ ดังนี้ จึงสวดปาติโมกข์ย่อทุกครั้ง. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาค รับสั่งห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวดปาติโมกข์ย่อ รูปใดสวด ต้อง อาบัติทุกกฏ.ทรงอนุญาตให้สวดปาติโมกข์ย่อเมื่อมีอันตราย สมัยต่อมา ณ อาวาสแห่งหนึ่งในโกศลชนบท คนชาวดงได้มาพลุกพล่านในวันอุโบสถ. ภิกษุทั้งหลายไม่อาจสวดปาติโมกข์โดยพิสดาร จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มี พระภาคทรงอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอันตราย เราอนุญาตให้สวด ปาติโมกข์ย่อ.อันตราย ๑๐ ประการ สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์ แม้เมื่ออันตรายไม่มี ก็สวดปาติโมกข์ย่อ. ภิกษุทั้งหลายจึง กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาครับสั่งห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อไม่มีอันตราย ภิกษุไม่พึงสวดปาติโมกข์ย่อ รูปใดสวด ต้องอาบัติทุกกฏ. เมื่อมีอันตราย เราอนุญาตให้สวดปาติโมกข์ย่อ. อันตรายในเรื่องนั้นเหล่านี้ คือ ๑. พระราชาเสด็จมา ๒. โจรมาปล้น ๓. ไฟไหม้ ๔. น้ำหลากมา ๕. คนมามาก ๖. ผีเข้าภิกษุ ๗. สัตว์ร้ายเข้ามา ๘. งูร้ายเลื้อยเข้ามา ๙. ภิกษุอาพาธหนักจะถึงเสียชีวิต ๑๐. มีอันตรายแก่พรหมจรรย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สวดปาติโมกข์ย่อในเพราะอันตรายเห็นปานนี้ เมื่อไม่มี อันตราย ให้สวดโดยพิสดาร.เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ บรรทัดที่ ๔๔๔๐-๔๔๘๐ หน้าที่ ๑๘๒-๑๘๓. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=4&A=4440&Z=4480&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=4&siri=58 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=4&i=167 ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [167] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=4&item=167&items=1 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=2995 The Pali Tipitaka in Roman :- [167] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=4&item=167&items=1 The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=2995 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ https://84000.org/tipitaka/read/?index_4 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/04i147-e.php#topic15 https://suttacentral.net/pli-tv-kd2/en/brahmali#pli-tv-kd2:15.1.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd2/en/horner-brahmali#Kd.2.15
บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]