บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
วิธีทำอุโบสถ ๓ อย่าง ๑. สวดปาติโมกข์ [๑๘๕] ก็โดยสมัยนั้นแล ในอาวาสแห่งหนึ่งถึงวันอุโบสถ มีภิกษุอยู่ด้วยกัน ๔ รูป จึงภิกษุเหล่านั้นได้มีความปริวิตกว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ภิกษุต้องทำอุโบสถ ดังนี้ ก็พวกเรามีอยู่เพียง ๔ รูป จะพึงทำอุโบสถอย่างไรหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุ ๔ รูป สวด ปาติโมกข์.๒. ทำปาริสุทธิอุโบสถ สมัยต่อมา ในอาวาสแห่งหนึ่งถึงวันอุโบสถ มีภิกษุอยู่ด้วยกัน ๓ รูป จึงภิกษุเหล่านั้น ได้มีความปริวิตกว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ภิกษุ ๔ รูป สวดปาติโมกข์ ก็พวกเรามีอยู่ เพียง ๓ รูป จะพึงทำอุโบสถอย่างไรหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแต่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาค รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุ ๓ รูป ทำปาริสุทธิอุโบสถแก่กัน.วิธีทำปาริสุทธิอุโบสถสำหรับภิกษุ ๓ รูป ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล พึงทำปาริสุทธิอุโบสถ อย่างนี้. ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้ภิกษุเหล่านั้นทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-ญัตติกรรมวาจา ท่านทั้งหลายเจ้าข้า ขอจงฟังข้าพเจ้า อุโบสถวันนี้ที่ ๑๕ ถ้าความพร้อมพรั่งของ ท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว เราทั้งหลายพึงทำปาริสุทธิอุโบสถแก่กันเถิด. ภิกษุผู้เถระพึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี แล้วบอกความ บริสุทธิ์ของตน ต่อภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า:-คำบอกความบริสุทธิ์ ฉันบริสุทธิ์แล้ว เธอ ขอเธอจำฉันว่า ผู้บริสุทธิ์แล้ว ฉันบริสุทธิ์แล้ว เธอ ขอเธอจำฉันว่า ผู้บริสุทธิ์แล้ว ฉันบริสุทธิ์แล้ว เธอ ขอเธอจำฉันว่า ผู้บริสุทธิ์แล้ว. ภิกษุผู้นวกะพึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลีแล้วบอกความ บริสุทธิ์ของตน ต่อภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า:- ผมบริสุทธิ์แล้ว ขอรับ ขอท่านทั้งหลายจำผมว่า ผู้บริสุทธิ์แล้ว ผมบริสุทธิ์แล้ว ขอรับ ขอท่านทั้งหลายจำผมว่า ผู้บริสุทธิ์แล้ว ผมบริสุทธิ์แล้ว ขอรับ ขอท่านทั้งหลายจำผมว่า ผู้บริสุทธิ์แล้ว. สมัยต่อมา ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันอุโบสถ มีภิกษุอยู่ด้วยกัน ๒ รูป จึงภิกษุเหล่านั้น ได้มีความปริวิตกว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ภิกษุ ๔ รูปสวดปาติโมกข์ ให้ภิกษุ ๓ รูป ทำปาริสุทธิอุโบสถแก่กัน ก็พวกเรามีเพียง ๒ รูป จะพึงทำอุโบสถอย่างไรหนอ จึงกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรา อนุญาตให้ภิกษุ ๒ รูป ทำปาริสุทธิอุโบสถ.วิธีทำปาริสุทธิอุโบสถสำหรับภิกษุ ๒ รูป ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล พึงทำปาริสุทธิอุโบสถอย่างนี้:- ภิกษุผู้เถระพึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลีแล้ว บอกความ บริสุทธิ์ของตน ต่อภิกษุผู้นวกะอย่างนี้ว่า:-คำบอกความบริสุทธิ์ ฉันบริสุทธิ์แล้ว เธอ ขอเธอจำฉันว่า ผู้บริสุทธิ์แล้ว ฉันบริสุทธิ์แล้ว เธอ ขอเธอจำฉันว่า ผู้บริสุทธิ์แล้ว ฉันบริสุทธิ์แล้ว เธอ ขอเธอจำฉันว่า ผู้บริสุทธิ์แล้ว. ภิกษุผู้นวกะพึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลีแล้ว บอกความ บริสุทธิ์ของตน ต่อภิกษุผู้เถระอย่างนี้ว่า:-คำบอกความบริสุทธิ์ ผมบริสุทธิ์แล้ว ขอรับ ขอท่านจำผมว่า ผู้บริสุทธิ์แล้ว ผมบริสุทธิ์แล้ว ขอรับ ขอท่านจำผมว่า ผู้บริสุทธิ์แล้ว ผมบริสุทธิ์แล้ว ขอรับ ขอท่านจำผมว่า ผู้บริสุทธิ์แล้ว.๓. อธิษฐานอุโบสถ สมัยต่อมา ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันอุโบสถ มีภิกษุอยู่รูปเดียว จึงภิกษุนั้นได้มีความ ปริวิตกว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ภิกษุ ๔ รูป สวดปาติโมกข์ ให้ภิกษุ ๓ รูปทำปาริสุทธิ- *อุโบสถแก่กัน ให้ภิกษุ ๒ รูป ทำปาริสุทธิอุโบสถ ก็เรามีอยู่เพียงรูปเดียว จะพึงทำอุโบสถ อย่างไรหนอ. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุ ทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันอุโบสถ มีภิกษุในศาสนานี้อยู่รูปเดียว. ภิกษุนั้นพึงกวาดสถานที่เป็นที่ไปมาแห่งภิกษุทั้งหลาย คือจะเป็นโรงฉัน มณฑป หรือโคนต้นไม้ ก็ตาม แล้วตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ ปูอาสนะ ตามประทีปไว้ แล้วนั่งรออยู่. ถ้ามีภิกษุเหล่าอื่นมา พึงทำอุโบสถร่วมกับพวกเธอ ถ้าไม่มีมา พึงอธิษฐานว่า วันนี้เป็นวันอุโบสถของเรา ถ้าไม่ อธิษฐาน ต้องอาบัติทุกกฏ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในอาวาสที่มีภิกษุอยู่ด้วยกัน ๔ รูป จะนำปาริสุทธิของภิกษุรูปหนึ่ง มา แล้ว ๓ รูปสวดปาติโมกข์ไม่ได้ ถ้าขืนสวด ต้องอาบัติทุกกฏ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในอาวาสที่มีภิกษุอยู่ด้วยกัน ๓ รูป จะนำปาริสุทธิของภิกษุรูปหนึ่ง มา แล้ว ๒ รูปทำปาริสุทธิอุโบสถไม่ได้ ถ้าขืนทำ ต้องอาบัติทุกกฏ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในอาวาสที่มีภิกษุอยู่ด้วยกัน ๒ รูป จะนำปาริสุทธิของภิกษุรูปหนึ่ง มา แล้วอีกรูปหนึ่งอธิษฐานไม่ได้ ถ้าขืนอธิษฐาน ต้องอาบัติทุกกฏ.เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ บรรทัดที่ ๔๘๗๓-๔๙๓๖ หน้าที่ ๑๙๙-๒๐๒. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=4&A=4873&Z=4936&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=4&siri=62 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=4&i=185 ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [185] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=4&item=185&items=1 The Pali Tipitaka in Roman :- [185] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=4&item=185&items=1 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ https://84000.org/tipitaka/read/?index_4 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/04i147-e.php#topic26 https://suttacentral.net/pli-tv-kd2/en/brahmali#pli-tv-kd2:26.1.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd2/en/horner-brahmali#Kd.2.26.1
บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]