บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
เรื่องสุนีธะวัสสการะมหาอำมาตย์ [๗๑] ก็โดยสมัยนั้นแล มหาอำมาตย์แห่งมคธรัฐ ๒ ท่านชื่อ สุนีธะ ๑ วัสสการ ๑ กำลังจัดการสร้างพระนคร ณ ตำบลบ้านปาฏลิ เพื่อป้องกันชาววัชชี พระผู้มีพระภาคทรงตื่นบรรทม ในเวลาปัจจุสมัยแห่งราตรี ได้ทรงเล็งทิพจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงวิสัยของมนุษย์ ทอดพระเนตรเห็น เทวดาเป็นอันมากกำลังยึดถือที่ดินในตำบลบ้านปาฏลิ คือ ในประเทศที่ใด พวกเทวดามีศักดิ์ใหญ่ ยึดถือที่ดิน พวกเจ้าและราชมหาอำมาตย์ผู้มีศักดิ์สูงๆ ต่างก็น้อมจิตเพื่อสร้างนิเวศน์ลงในประเทศ ที่นั้น ในประเทศที่ใด พวกเทวดาที่มีศักดิ์ชั้นกลางยึดถือที่ดิน พวกเจ้าและราชมหาอำมาตย์ ที่มีศักดิ์ชั้นกลางๆ ต่างก็น้อมจิตเพื่อสร้างนิเวศน์ลงในประเทศที่นั้น ในประเทศที่ใด เทวดาที่มี ศักดิ์ชั้นต่ำยึดถือที่ดิน พวกเจ้าและราชมหาอำมาตย์ชั้นต่ำๆ ต่างก็น้อมจิตเพื่อสร้างนิเวศน์ลงใน ประเทศที่นั้น จึงพระผู้มีพระภาครับสั่งถามท่านพระอานนท์ว่า ดูกรอานนท์ คนพวกไหนกำลัง สร้างนครลงที่ตำบลบ้านปาฏลิ? อ. มหาอำมาตย์แห่งมคธรัฐ ชื่อ สุนีธะ ๑ วัสสการะ ๑ กำลังสร้างนครลงที่ตำบล บ้านปาฏลิ เพื่อป้องกันชาววัชชี พระพุทธเจ้าข้า. ภ. ดูกรอานนท์ สุนีธะ กับ วัสสการะ ๒ มหาอำมาตย์แห่งมคธรัฐกำลังสร้างนคร ลงในตำบลบ้านปาฏลิ เพื่อป้องกันชาววัชชีเหมือนได้ปรึกษากับพวกเทพเจ้าชั้นดาวดึงส์ ฉะนั้น อานนท์ เมื่อเวลาปัจจุสมัยแห่งราตรีนี้ เราลุกขึ้น ได้เล็งทิพจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงวิสัยของมนุษย์ เห็นพวกเทวดาเป็นอันมากกำลังยึดถือที่ดินในตำบลบ้านปาฏลิ คือ ในประเทศที่ใด พวกเทวดา มีศักดิ์สูงๆ ยึดถือที่ดินพวกเจ้าและราชมหาอำมาตย์ผู้มีศักดิ์สูงๆ ต่างก็น้อมจิตเพื่อสร้างนิเวศน์ ลงในประเทศที่นั้น ในประเทศที่ใด เทวดามีศักดิ์ชั้นกลางๆ ยึดถือที่ดิน พวกเจ้าและราช- *มหาอำมาตย์ผู้มีศักดิ์ชั้นกลางๆ ต่างก็น้อมจิตเพื่อสร้างนิเวศน์ลงในประเทศที่นั้น ในประเทศที่ใด เทวดาผู้มีศักดิ์ชั้นต่ำๆ ยึดถือที่ดิน พวกเจ้าและราชมหาอำมาตย์ผู้มีศักดิ์ชั้นต่ำๆ ต่างก็น้อมจิต เพื่อสร้างนิเวศน์ลงในประเทศที่นั้น อานนท์ ตลอดสถานที่อันเป็นย่านชุมนุมแห่งอารยชน และ เป็นทางค้าขาย พระนครนี้ จักเป็นพระนครชั้นเอก เป็นทำเลค้าขาย ชื่อปาฏลิบุตร แลเมือง ปาฏลิบุตร จักบังเกิดอันตราย ๓ ประการ คือ บังเกิดแต่ไฟ ๑ บังเกิดแต่น้ำ ๑ บังเกิดแต่ภายใน คือ แตกสามัคคีกัน ๑. [๗๒] ครั้งนั้น ท่านสุนีธะมหาอำมาตย์และท่านวัสสการะมหาอำมาตย์แห่งมคธรัฐ พา กันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ครั้นแล้วได้ทูลปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัย พอให้เป็นที่บันเทิงเป็นที่ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูล อาราธนาพระผู้มีพระภาคว่า ขอท่านพระโคดม พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ จงทรงพระกรุณาโปรดรับ ภัตตาหารของข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เพื่อเจริญกุศลและปิติปราโมทย์ในวันนี้ด้วยเถิด พระ พุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคทรงรับอาราธนาโดยดุษณีภาพ ครั้นสุนีธะมหาอำมาตย์และวัสสการะ มหาอำมาตย์ ทราบพระอาการที่ทรงรับอาราธนาแล้ว ลุกจากที่นั่งกลับไป ครั้นตกแต่งของเคี้ยว ของฉันอันประณีตแล้ว ให้เจ้าหน้าที่มากราบทูลภัตกาลแด่พระผู้มีพระภาคว่า ถึงเวลาแล้ว ท่าน พระโคดม ภัตตาหารเสร็จแล้ว. ครั้งนั้นเป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ทรงถือบาตรจีวรเสด็จพระ พุทธดำเนินไปทางสถานที่อังคาส ของสองมหาอำมาตย์แห่งมคธรัฐ ครั้นถึงแล้วประทับนั่งเหนือ พระพุทธอาสน์ที่เขาจัดถวาย พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ครั้นสองมหาอำมาตย์อังคาสภิกษุสงฆ์มี พระพุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วยขาทนียโภชนียาหารอันประณีต ด้วยมือของตน จนพระผู้มีพระภาค เสวยเสร็จแล้วทรงนำพระหัตถ์ออกจากบาตร ห้ามภัตรแล้ว ได้นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงอนุโมทนาแก่สองมหาอำมาตย์นั้นด้วยพระคาถาเหล่านี้ ว่าดังนี้:-คาถาอนุโมทนา [๗๓] บัณฑิตชาติอยู่ในประเทศใด เลี้ยงดูท่านผู้มีศีล ผู้ สำรวม ประพฤติพรหมจรรย์ในประเทศ และได้อุทิศ ทักษิณาแก่เหล่าเทพดาผู้สถิตในสถานที่นั้น เทพดาเหล่านั้น อันบัณฑิตชาติบูชาแล้ว ย่อมบูชาตอบ อันบัณฑิตชาติ นับถือแล้วย่อมนับถือตอบ ซึ่งบัณฑิตชาตินั้น แต่นั้น ย่อม อนุเคราะห์บัณฑิตชาตินั้น ดุจมารดาอนุเคราะห์บุตรผู้เกิด แต่อก ฉะนั้น คนที่เทพดาอนุเคราะห์แล้ว ย่อมพบเห็น แต่สิ่งที่เจริญทุกเมื่อ. [๗๔] ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงอนุโมทนาแก่สองมหาอำมาตย์ ด้วยพระคาถา เหล่านี้แล้ว ทรงลุกจากพระพุทธอาสน์เสด็จกลับ จึงสองมหาอำมาตย์ตามส่งเสด็จพระผู้มี พระภาค ไปทางเบื้องพระปฤษฎางค์ด้วยความประสงค์ว่า วันนี้ พระสมณโคดมจักเสด็จออกทาง ประตูด้านใด ประตูด้านนั้นจักมีนามว่า "ประตูพระโคดม" จักเสด็จข้ามแม่น้ำคงคาโดยท่าใด ท่านั้นจักมีนามว่า "ท่าพระโคดม" ต่อมาประตูที่พระผู้มีพระภาคเสด็จพระพุทธดำเนินผ่านไปนั้น ได้ปรากฏนามว่า "ประตูพระโคดม." ครั้งนั้น ผู้มีพระภาคเสด็จพระพุทธดำเนินไปทางแม่น้ำคงคา ก็เวลานั้น แม่น้ำคงคา กำลังเปี่ยม น้ำเสมอตลิ่ง พอกาดื่มกินได้ คนทั้งหลายใคร่จะไปจากฝั่งนี้สู่ฝั่งโน้น ต่างก็หาเรือ ต่างก็หาแพ ต่างก็ผูกแพลูกบวบ พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นคนเหล่านั้นต่างก็พากันหา เรือ หาแพ ผูกแพลูกบวบ ประสงค์จะข้ามจากฝั่งโน้น จึงได้ทรงอันตรธาน ณ ฝั่งนี้แห่งแม่ น้ำคงคา ไปปรากฏ ณ ฝั่งโน้นพร้อมกับภิกษุสงฆ์ ดุจบุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่ เหยียด ฉะนั้น. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบความข้อนี้แล้ว จึงทรงเปล่งพระอุทานนี้ในเวลานั้น ชนเหล่าใดจะข้ามแม่น้ำที่ห้วงลึก ชนเหล่านั้นต้องสร้าง สะพานแล้วสละสระน้อยเสีย จึงข้ามสถานอันลุ่มเต็มด้วย น้ำได้ ส่วนคนที่จะข้ามแม่น้ำน้อยนี้ ก็ผูกแพข้ามไปได้ แต่พวกคนมีปัญญา เว้นแพเสียก็ข้ามได้.----------------------------------------------------- ทรงแสดงจตุราริยสัจ [๗๕] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จพระพุทธดำเนินเข้าไปทางตำบลบ้านโกฏิ ทราบว่า พระองค์ประทับอยู่ที่ตำบลบ้านโกฏินั้น ณ ที่นั้นแลพระผู้มีพระภาครับสั่งพระภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราและพวก เธอเร่ร่อนท่องเที่ยวไป ตลอดกาลนานอย่างนี้ เพราะไม่ได้ตรัสรู้ ไม่ได้แทงตลอดอริยสัจ ๔ อริยสัจ ๔ อะไรบ้าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราและพวกเธอเร่ร่อนท่องเที่ยวไปตลอดกาลนานอย่างนี้ เพราะไม่ได้ตรัสรู้ ไม่ได้แทงตลอดทุกขอริยสัจ .... ทุกขสมุทยอริยสัจ .... ทุกขนิโรธอริยสัจ .... ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกขอริยสัจ ทุกขสมุทยอริยสัจ ทุกขนิโรธ อริยสัจ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้น อันเราและพวกเธอได้ตรัสรู้แล้ว ได้แทงตลอด แล้ว ตัดตัณหาในภพได้ขาดแล้ว ตัณหาที่จะนำไปเกิดก็สิ้นแล้ว บัดนี้ ไม่มีการเกิดอีกต่อไป.นิคมคาถา [๗๖] เพราะไม่เห็นอริยสัจ ๔ ตามเป็นจริง จึงต้องท่องเที่ยว ไปในชาตินั้นๆ ตลอดเวลานาน อริยสัจเหล่านั้นนั่น เรา และพวกเธอได้เห็นแล้ว ตัณหาที่จะนำไปเกิดเราและพวก เธอได้ถอนขึ้นแล้ว รากแห่งทุกข์ เราและพวกเธอก็ได้ ตัดขาดแล้ว บัดนี้ ไม่มีการเกิดอีก.----------------------------------------------------- เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๕ บรรทัดที่ ๑๗๗๘-๑๘๖๑ หน้าที่ ๗๒-๗๕. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=5&A=1778&Z=1861&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=5&siri=19 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=5&i=71 ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [71-76] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=5&item=71&items=6 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=4006 The Pali Tipitaka in Roman :- [71-76] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=5&item=71&items=6 The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=4006 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_5 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd6/en/brahmali#pli-tv-kd6:28.7.2.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd6/en/horner-brahmali#Kd.6.28.7
บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]