ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒
มูลเหตุวัจจกุฎีวัตร
[๔๓๔] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเป็นชาติพราหมณ์ ถ่ายอุจจาระแล้วไม่ ปรารถนาจะชำระด้วยรังเกียจว่า ใครจักจับต้องของเลว มีกลิ่นเหม็นนี้ได้ ใน วัจจมรรคของเธอ มีหมู่หนอนมั่วสุมอยู่ ต่อมาเธอได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายถามว่า ก็ท่านถ่ายอุจจาระแล้ว ไม่ชำระ หรือ ขอรับ ภิกษุนั้นตอบว่า อย่างนั้น ขอรับ บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ภิกษุถ่ายอุจจาระแล้ว จึงไม่ชำระ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ... ทรงสอบถามว่า ดูกรภิกษุ ข่าวว่า เธอถ่ายอุจจาระ แล้วไม่ชำระ จริงหรือ ภิกษุนั้นกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาค ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุถ่ายอุจจาระแล้ว เมื่อน้ำมีอยู่ จะไม่ชำระไม่ได้ รูปใดไม่ชำระ ต้องอาบัติทุกกฏ ฯ [๔๓๕] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลาย ถ่ายอุจจาระในวัจจกุฎีตามลำดับผู้แก่ กว่า นวกะภิกษุทั้งหลายมาถึงก่อน ปวดอุจจาระก็ต้องรอ พวกเธอกลั้นอุจจาระจน สลบล้มลง ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ... ทรงสอบถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุ ทั้งหลายถ่ายอุจจาระในวัจจกุฎี ... ตามลำดับผู้แก่กว่า นวกะภิกษุทั้งหลายมาถึงก่อน ปวดอุจจาระก็ต้องรอ พวกเธอกลั้นอุจจาระจนสลบล้มลง จริงหรือ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาค ... รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ พึงถ่ายอุจจาระในวัจจกุฎี ตามลำดับผู้แก่กว่า รูปใดถ่ายต้องอาบัติทุกกฏ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถ่ายอุจจาระตามลำดับของผู้มาถึง ฯ [๔๓๖] สมัยนั้น พระฉัพพัคคีย์เข้าวัจจกุฎีเร็วเกินไปบ้าง เวิกผ้าเข้าไปบ้าง ถอนหายใจใหญ่พลางถ่ายอุจจาระบ้าง เคี้ยวไม้ชำระฟันพลางถ่ายอุจจาระบ้าง ถ่าย- *อุจจาระนอกรางอุจจาระบ้าง ถ่ายปัสสาวะนอกรางปัสสวะบ้าง บ้วนเขฬะลงในราง ปัสสาวะบ้าง ชำระด้วยไม้หยาบบ้าง ทิ้งไม้ชำระลงในช่องถ่ายอุจจาระบ้าง ออกมา เร็วเกินไปบ้าง เวิกผ้าออกมาบ้าง ชำระมีเสียงดังจะปุจะปุบ้าง เหลือน้ำไว้ใน กระบอกชำระบ้าง บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้เข้าวัจจกุฎีเร็วเกินไป เวิกผ้าเข้าไปบ้าง ถอนหายใจใหญ่พลาง ถ่ายอุจจาระบ้าง เคี้ยวไม้ชำระฟันพลางถ่ายอุจจาระบ้าง ถ่ายอุจจาระนอกรางอุจจาระ บ้าง ถ่ายปัสสาวะนอกรางปัสสาวะบ้าง บ้วนเขฬะลงในรางปัสสาวะบ้าง ชำระด้วย ไม้หยาบบ้าง ทิ้งไม้ชำระลงในช่องถ่ายอุจจาระบ้าง ออกมาเร็วเกินไปบ้าง เวิกผ้า ออกมาบ้าง ชำระมีเสียงดังจะปุจะปุบ้าง เหลือน้ำไว้ในกระบอกชำระบ้าง แล้ว กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ... ทรงสอบถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ... จริงหรือ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาค ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติวัจจกุฎีวัตรแก่ภิกษุทั้งหลาย โดย ประการที่ภิกษุทั้งหลายพึงประพฤติเรียบร้อยในวัจจกุฎี ฯ
วัจจกุฎีวัตร
[๔๓๗] ภิกษุใดไปวัจจกุฎี ภิกษุนั้นยืนอยู่ข้างนอก พึงกระแอมขึ้น แม้ภิกษุผู้นั่งอยู่ข้างในก็พึงกระแอมรับ พึงพาดจีวรไว้บนราวจีวร หรือบนสาย ระเดียง แล้วเข้าวัจจกุฎี ทำให้เรียบร้อย ไม่ต้องรีบร้อน ไม่พึงเข้าไปเร็วนัก ไม่พึงเวิกผ้าเข้าไป ยืนบนเขียงถ่ายอุจจาระ แล้วจึงค่อยเวิกผ้า ไม่พึงถอนหายใจ ใหญ่พลางถ่ายอุจจาระ ไม่พึงเคี้ยวไม้ชำระฟันพลางถ่ายอุจจาระ ไม่พึงถ่ายอุจจาระ นอกรางอุจจาระ ไม่พึงถ่ายปัสสาวะนอกรางปัสสาวะ ไม่พึงบ้วนเขฬะลงในราง ปัสสาวะ ไม่พึงชำระด้วยไม้หยาบ ไม่พึงทิ้งไม้ชำระลงในช่องถ่ายอุจจาระ ยืน บนเขียงถ่ายแล้วพึงปิดผ้า ไม่พึงออกมาเร็วนัก ไม่พึงเวิกผ้าออกมา ยืนบนเขียง ชำระแล้วพึงเวิกผ้า ไม่พึงชำระให้มีเสียงดังจะปุจะปุ ไม่พึงเหลือน้ำไว้ในกระบอก ชำระ ยืนบนเขียงชำระแล้วพึงปิดผ้า ถ้าวัจจกุฎีอันภิกษุถ่ายไว้เลอะเทอะ ต้อง ล้างเสีย ถ้าตะกร้าใส่ไม้ชำระเต็ม พึงเทไม้ชำระ ถ้าวัจจกุฎีรก พึงกวาดวัจจกุฎี ถ้าชานภายนอก บริเวณ ซุ้มประตูรก พึงกวาดเสีย ถ้าน้ำในหม้อชำระไม่มี พึงตักน้ำมาไว้ในหม้อชำระ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็นวัจจกุฎีวัตรของภิกษุทั้งหลาย ซึ่งภิกษุ ทั้งหลาย พึงประพฤติเรียบร้อยในวัจจกุฎี ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ บรรทัดที่ ๔๗๐๔-๔๗๖๐ หน้าที่ ๑๙๕-๑๙๗. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=7&A=4704&Z=4760&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=7&siri=67              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=7&i=434              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [434-437] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=7&item=434&items=4              The Pali Tipitaka in Roman :- [434-437] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=7&item=434&items=4              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_7              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd18/en/brahmali#pli-tv-kd18:9.1.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd18/en/horner-brahmali#Kd.18.9.1

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :