ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๘ ปริวาร
กตาปัตติวารแห่งสมุฏฐานอาบัติ ๖ ที่ ๒
[๘๖๗] ถามว่า ด้วยสมุฏฐานอาบัติที่ ๑ ภิกษุต้องอาบัติเท่าไร? ตอบว่า ด้วยสมุฏฐานอาบัติที่ ๑ ภิกษุต้องอาบัติ ๕ คือ ๑. ภิกษุสำคัญว่าควร สร้างกุฎีด้วยอาการขอเอาเอง ไม่ให้สงฆ์แสดงพื้นที่ เกิน ประมาณ มีผู้จับจองไว้ ไม่มีชานรอบ เป็นทุกกฏในประโยค. ๒. เมื่อยังไม่วางก้อนดินอีกก้อนหนึ่ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย. ๓. เมื่อวางดินก้อนนั้นเสร็จแล้ว ต้องอาบัติสังฆาทิเสส. ๔. ภิกษุสำคัญว่าควรฉันโภชนะในเวลาวิกาล ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ๕. ภิกษุสำคัญว่าควรรับของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี จากมือของภิกษุณีมิใช่ญาติ ผู้เข้าไปสู่ละแวกบ้าน ด้วยมือของตนมาฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ. ด้วยสมุฏฐานอาบัติที่ ๑ ภิกษุต้องอาบัติ ๕ เหล่านี้. ถามว่า อาบัติเหล่านั้นจัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดาวิบัติ ๔? สงเคราะห์ด้วยกองอาบัติ เท่าไร บรรดากองอาบัติ ๗? เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร บรรดาสมุฏฐานอาบัติ ๖? จัดเป็น อธิกรณ์อะไร บรรดาอธิกรณ์ ๔? ระงับด้วยสมถะเท่าไร บรรดาสมถะ ๗? ตอบว่า อาบัติเหล่านั้น จัดเป็นวิบัติ ๒ บรรดาวิบัติ ๔ คือ บางที่เป็นศีลวิบัติ บางที เป็นอาจารวิบัติ. สงเคราะห์ด้วยกองอาบัติ ๕ บรรดากองอาบัติ ๗ คือ บางทีด้วยกองอาบัติสังฆาทิเสส บางทีด้วยกองอาบัติถุลลัจจัย บางทีด้วยกองอาบัติปาจิตตีย์ บางทีด้วยกองอาบัติปาฏิเทสนียะ บางทีด้วยกองอาบัติทุกกฏ. เกิดด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ คือ เกิดแต่กาย มิใช่วาจา มิใช่จิต. จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔. ระงับด้วยสมถะ ๓ บรรดาสมถะ ๗ คือบางทีด้วยสัมมุขาวินัย ๑ ด้วยปฏิญญาตกรณะ ๑ บางทีด้วยสัมมุขาวินัยกับติณวัตถารกะ ๑. [๘๖๘] ถามว่า ด้วยสมุฏฐานอาบัติที่ ๒ ภิกษุต้องอาบัติเท่าไร? ตอบว่า ด้วยสมุฏฐานอาบัติที่ ๒ ภิกษุต้องอาบัติ ๔ คือ ๑. ภิกษุสำคัญว่าควร สั่งว่า จงทำกุฎีให้ฉัน เขาทำกุฎีให้เธอ มิได้ให้สงฆ์แสดง พื้นที่ เกินประมาณ มีผู้จับจองไว้ ไม่มีชานรอบ เป็นทุกกฏในประโยค. ๒. เมื่อยังไม่วางก้อนดินอีกก้อนหนึ่ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย. ๓. เมื่อวางดินก้อนนั้นเสร็จแล้ว ต้องอาบัติสังฆาทิเสส. ๔. ภิกษุสำคัญว่าควรสอนธรรมแก่อนุปสัมบันว่าพร้อมกัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ด้วยสมุฏฐานอาบัติที่ ๒ ภิกษุต้องอาบัติ ๔ เหล่านี้. ถามว่า อาบัติเหล่านั้น จัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดาวิบัติ ๔? ... ระงับด้วยสมถะเท่าไร บรรดาสมถะ ๗? ตอบว่า อาบัติเหล่านั้นจัดเป็นวิบัติ ๒ บรรดาวิบัติ ๔ คือ บางทีเป็นศีลวิบัติ บางที เป็นอาจารวิบัติ. สงเคราะห์ด้วยกองอาบัติ ๔ บรรดากองอาบัติ ๗ คือ บางทีด้วยกองอาบัติสังฆาทิเสส บางทีด้วยกองอาบัติถุลลัจจัย บางทีด้วยกองอาบัติปาจิตตีย์ บางทีด้วยกองอาบัติทุกกฏ. เกิดด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ คือ เกิดแต่วาจา มิใช่กาย มิใช่จิต. จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔. ระงับด้วยสมถะ ๓ บรรดาสมถะ ๗ คือ บางทีด้วยสัมมุขาวินัย ๑ ด้วยปฏิญญาตกรณะ ๑ บางทีด้วยสัมมุขาวินัยกับติณวัตถารกะ ๑. [๘๖๙] ถามว่า ด้วยสมุฏฐานอาบัติที่ ๓ ภิกษุต้องอาบัติเท่าไร? ตอบว่า ด้วยสมุฏฐานอาบัติที่ ๓ ภิกษุต้องอาบัติ ๕ คือ ๑. ภิกษุสำคัญว่าควรจัดการสร้างกุฎี ไม่ให้สงฆ์แสดงพื้นที่ เกินประมาณ มีผู้ จับจองไว้ ไม่มีชานรอบ เป็นทุกกฏในประโยค. ๒. เมื่อยังมิได้วางก้อนดินอีกก้อนหนึ่ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย. ๓. เมื่อวางดินก้อนนั้นเสร็จแล้ว ต้องอาบัติสังฆาทิเสส. ๔. ภิกษุสำคัญว่าควรขอโภชนะอันประณีตเพื่อประโยชน์ตนมาฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ๕. ภิกษุสำคัญว่าควร ไม่ห้ามภิกษุณีผู้สั่งเสียอยู่แล้วฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ. ด้วยสมุฏฐานอาบัติที่ ๓ ภิกษุต้องอาบัติ ๕ เหล่านี้. ถามว่า อาบัติเหล่านั้นจัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดาวิบัติ ๔? ... ระงับด้วยสมถะเท่าไร บรรดาสมถะ ๗? ตอบว่า อาบัติเหล่านั้นจัดเป็นวิบัติ ๒ บรรดาวิบัติ ๔ คือ บางทีเป็นศีลวิบัติ บางที เป็นอาจารวิบัติ. สงเคราะห์ด้วยกองอาบัติ ๕ บรรดากองอาบัติ ๗ คือ บางทีด้วยกองอาบัติสังฆา- *ทิเสส บางทีด้วยกองอาบัติถุลลัจจัย บางทีด้วยกองอาบัติปาจิตตีย์ บางทีด้วยกองอาบัติปาฏิเทสนียะ บางทีด้วยกองอาบัติทุกกฏ. เกิดด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ คือ เกิดแต่กายกับวาจา มิใช่จิต. จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔. ระงับด้วยสมถะ ๓ บรรดาสมถะ ๗ คือ บางทีด้วยสัมมุขาวินัย ๑ ด้วยปฏิญญาต- *กรณะ ๑ บางทีด้วยสัมมุขาวินัยกับติณวัตถารกะ ๑. [๘๗๐] ถามว่า ด้วยสมุฏฐานอาบัติที่ ๔ ภิกษุต้องอาบัติเท่าไร? ตอบว่า ด้วยสมุฏฐานอาบัติที่ ๔ ภิกษุต้องอาบัติ ๖ คือ ๑. ภิกษุเสพเมถุนธรรม ต้องอาบัติปาราชิก. ๒. ภิกษุสำคัญว่าไม่ควรสร้างกุฎีด้วยอาการขอเอาเอง มิได้ให้สงฆ์แสดงที่ เกิน ประมาณ มีผู้จับจองไว้ ไม่มีชานรอบ เป็นทุกกฏในประโยค. ๓. เมื่อยังไม่วางดินอีกก้อนหนึ่ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย. ๔. เมื่อวางดินก้อนนั้นเสร็จแล้ว ต้องอาบัติสังฆาทิเสส. ๕. ภิกษุสำคัญว่าไม่ควรฉันโภชนะในเวลาวิกาล ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ๖. ภิกษุสำคัญว่าไม่ควรรับของของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี จากมือภิกษุณีมิใช่ญาติ ผู้เข้าไปสู่ละแวกบ้าน ด้วยมือตนแล้วฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ. ด้วยสมุฏฐานอาบัติที่ ๔ ภิกษุต้องอาบัติ ๖ เหล่านี้. ถามว่า อาบัติเหล่านั้นจัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดาวิบัติ ๔? ... ระงับด้วยสมถะเท่าไร บรรดาสมถะ ๗? ตอบว่า อาบัติเหล่านั้นจัดเป็นวิบัติ ๒ บรรดาวิบัติ ๔ คือ บางทีเป็นศีลวิบัติ บางที เป็นอาจารวิบัติ. สงเคราะห์ด้วยกองอาบัติ ๖ บรรดากองอาบัติ ๗ คือ บางทีด้วยกองอาบัติปาราชิก บางทีด้วยกองอาบัติสังฆาทิเสส บางทีด้วยกองอาบัติถุลลัจจัย บางทีด้วยกองอาบัติปาจิตตีย์ บางทีด้วยกองอาบัติปาฏิเทสนียะ บางทีด้วยกองอาบัติทุกกฏ. เกิดด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง บรรดาสมุฏฐานอาบัติ ๖ คือ เกิดแต่กายกับจิต มิใช่วาจา. จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔. ระงับด้วยสมถะ ๓ บรรดาสมถะ ๗ คือ บางทีด้วยสัมมุขาวินัย ๑ ด้วยปฏิญญาตกรณะ ๑ บางทีด้วยสัมมุขาวินัยกับติณวัตถารกะ ๑. [๘๗๑] ถามว่า ด้วยสมุฏฐานอาบัติที่ ๕ ภิกษุต้องอาบัติเท่าไร? ตอบว่า ด้วยสมุฏฐานอาบัติที่ ๕ ภิกษุต้องอาบัติ ๖ คือ ๑. ภิกษุมีความปรารถนาลามก ถูกความปรารถนาครอบงำ กล่าวอวดอุตตริมนุสส- *ธรรมที่ไม่มี ไม่เป็นจริง ต้องอาบัติปาราชิก. ๒. ภิกษุสำคัญว่าไม่ควร สั่งว่า จงสร้างกุฎีให้ฉัน เขาสร้างกุฎีให้เธอ มิได้ให้สงฆ์ แสดงพื้นที่ เกินประมาณ มีผู้จับจองไว้ ไม่มีชานรอบ เป็นทุกกฏในประโยค. ๓. เมื่อยังไม่ได้วางก้อนดินอีกก้อนหนึ่ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย. ๔. เมื่อวางก้อนดินก้อนนั้นแล้ว ต้องอาบัติสังฆาทิเสส. ๕. ภิกษุสำคัญว่าไม่ควร สอนธรรมแก่อนุปสัมบันว่าพร้อมกัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ๖. ภิกษุไม่ประสงค์จะด่า ไม่ประสงค์จะดูหมิ่น ไม่ประสงค์จะทำให้เก้อเขิน กล่าว คำเลวทราม ด้วยประสงค์จะล้อเล่น ต้องอาบัติทุพภาสิต. ด้วยสมุฏฐานอาบัติที่ ๕ ภิกษุต้องอาบัติ ๖ เหล่านี้. ถามว่า อาบัติเหล่านั้นจัดเป็นวิบัติเท่าไรบรรดาวิบัติ ๔? ... ระงับด้วยสมถะเท่าไร บรรดาสมถะ ๗? ตอบว่า อาบัติเหล่านั้นจัดเป็นวิบัติ ๒ บรรดาวิบัติ ๔ คือ บางทีเป็นศีลวิบัติ บางที เป็นอาจารวิบัติ. สงเคราะห์ด้วยกองอาบัติ ๖ บรรดากองอาบัติ ๗ คือ บางทีด้วยกองอาบัติปาราชิก บางทีด้วยกองอาบัติสังฆาทิเสส บางทีด้วยกองอาบัติถุลลัจจัย บางทีด้วยกองอาบัติปาจิตตีย์ บางทีด้วยกองอาบัติทุกกฏ บางทีด้วยกองอาบัติทุพภาสิต. เกิดด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง บรรดาสมุฏฐานอาบัติ ๖ คือ เกิดแต่วาจากับจิตมิใช่กาย. จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔. ระงับด้วยสมถะ ๓ บรรดาสมถะ ๗ คือ บางทีด้วยสัมมุขาวินัย ๑ ด้วยปฏิญญาตกรณะ ๑ บางทีด้วยสัมมุขาวินัยกับติณวัตถารกะ ๑. [๘๗๒] ถามว่า ด้วยสมุฏฐานอาบัติที่ ๖ ภิกษุต้องอาบัติเท่าไร? ตอบว่า ด้วยสมุฏฐานอาบัติที่ ๖ ภิกษุต้องอาบัติ ๖ คือ ๑. ภิกษุชวนกันไปลักทรัพย์ ต้องอาบัติปาราชิก. ๒. ภิกษุสำคัญว่าไม่ควร จัดการสร้างกุฎี มิได้ให้สงฆ์แสดงพื้นที่ เกินประมาณ มีผู้ จับจองไว้ ไม่มีชานรอบ เป็นทุกกฏในประโยค. ๓. เมื่อยังไม่ได้วางก้อนดินอีกก้อนหนึ่ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย. ๔. เมื่อวางก้อนดินก้อนนั้นเสร็จแล้ว ต้องอาบัติสังฆาทิเสส. ๕. ภิกษุสำคัญว่าไม่ควร ขอโภชนะอันประณีต เพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉัน ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์. ๖. ภิกษุสำคัญว่าไม่ควร ไม่ห้ามภิกษุณีผู้สั่งเสียอยู่แล้วฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ. ด้วยสมุฏฐานอาบัติที่ ๖ ภิกษุต้องอาบัติ ๖ เหล่านี้. ถามว่า อาบัติเหล่านั้น จัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดาวิบัติ ๔? สงเคราะห์ด้วยกองอาบัติ เท่าไร บรรดากองอาบัติ ๗? เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร บรรดาสมุฏฐาน ๖? จัดเป็นอธิกรณ์อะไร บรรดาอธิกรณ์ ๔? ระงับด้วยสมถะเท่าไร บรรดาสมถะ ๗? ตอบว่า อาบัติเหล่านั้น จัดเป็นวิบัติ ๒ บรรดาวิบัติ ๔ คือ บางทีเป็นศีลวิบัติ บางที เป็นอาจารวิบัติ. สงเคราะห์ด้วยกองอาบัติ ๖ บรรดากองอาบัติ ๗ คือ บางทีด้วยกองอาบัติปาราชิก บางทีด้วยกองอาบัติสังฆาทิเสส บางทีด้วยกองอาบัติถุลลัจจัย บางทีด้วยกองอาบัติปาจิตตีย์ บางทีด้วยกองอาบัติปาฏิเทสนียะ บางทีด้วยกองอาบัติทุกกฏ. เกิดด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง บรรดาสมุฏฐานอาบัติ ๖ คือ เกิดแต่กายวาจาและจิต. จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔ ระงับด้วยสมถะ ๓ บรรดาสมถะ ๗ คือ บางทีด้วย สัมมุขาวินัย ๑ ด้วยปฏิญญาตกรณะ ๑ บางทีด้วยสัมมุขาวินัยกับติณวัตถารกะ ๑.
กตาปัตติวารแห่งสมุฏฐานอาบัติ ๖ ที่ ๒ จบ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๘ บรรทัดที่ ๖๔๐๙-๖๕๔๐ หน้าที่ ๒๔๔-๒๔๙. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=8&A=6409&Z=6540&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=8&siri=64              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=867              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [867-872] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=8&item=867&items=6              The Pali Tipitaka in Roman :- [867-872] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=8&item=867&items=6              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ https://84000.org/tipitaka/read/?index_8              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-pvr4/en/brahmali#pli-tv-pvr4:38.0 https://suttacentral.net/pli-tv-pvr4/en/horner-brahmali#Prv.4.3

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :