ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๘ ปริวาร
หมวด ๒
ว่าด้วยสัญญาวิโมกข์เป็นต้น
[๙๔๓] มีอยู่อาบัติเป็นสัญญาวิโมกข์ มีอยู่อาบัติมิใช่สัญญาวิโมกข์. มีอยู่อาบัติ ของภิกษุผู้ได้สมาบัติ มีอยู่อาบัติของภิกษุผู้ไม่ได้สมาบัติ. มีอยู่อาบัติเกี่ยวด้วยสัทธรรม มีอยู่ อาบัติไม่เกี่ยวด้วยสัทธรรม. มีอยู่อาบัติเกี่ยวด้วยบริขารของตน มีอยู่อาบัติเกี่ยวด้วยบริขาร ของผู้อื่น. มีอยู่อาบัติเกี่ยวด้วยบุคคล คือตนเอง มีอยู่อาบัติเกี่ยวด้วยบุคคลอื่น. มีอยู่ ภิกษุพูดจริงต้องอาบัติหนัก มีอยู่ภิกษุพูดเท็จต้องอาบัติเบา. มีอยู่ภิกษุพูดเท็จต้องอาบัติหนัก มีอยู่ภิกษุพูดจริงต้องอาบัติเบา. มีอยู่อาบัติภิกษุอยู่บนแผ่นดินจึงต้อง อยู่ในอากาศไม่ต้อง มีอยู่อาบัติภิกษุอยู่ในอากาศจึงต้อง อยู่บนแผ่นดินไม่ต้อง. มีอยู่อาบัติภิกษุออกไปจึงต้อง เข้าไปไม่ต้อง มีอยู่อาบัติภิกษุเข้าไปจึงต้อง ออกไปไม่ต้อง. มีอยู่อาบัติภิกษุถือเอาจึงต้อง มีอยู่อาบัติภิกษุไม่ถือเอาจึงต้อง. มีอยู่อาบัติภิกษุสมาทานจึงต้อง มีอยู่อาบัติภิกษุไม่สมาทานจึงต้อง. มีอยู่อาบัติภิกษุทำจึงต้อง มีอยู่อาบัติภิกษุไม่ทำจึงต้อง. มีอยู่อาบัติภิกษุให้จึงต้อง มีอยู่อาบัติภิกษุ ไม่ให้จึงต้อง. มีอยู่อาบัติภิกษุรับจึงต้อง มีอยู่อาบัติภิกษุไม่รับจึงต้อง. มีอยู่อาบัติภิกษุต้องเพราะ บริโภค มีอยู่อาบัติภิกษุต้อง เพราะไม่บริโภค. มีอยู่อาบัติภิกษุต้องในกลางคืนไม่ต้องในกลางวัน มีอยู่อาบัติภิกษุต้องในกลางวัน ไม่ต้องในกลางคืน. มีอยู่อาบัติภิกษุต้องเพราะอรุณขึ้น มีอยู่ อาบัติภิกษุต้องไม่ใช่เพราะอรุณขึ้น. มีอยู่อาบัติภิกษุตัดจึงต้อง มีอยู่อาบัติภิกษุไม่ตัดจึงต้อง. มีอยู่ อาบัติภิกษุปิดจึงต้อง มีอยู่อาบัติภิกษุไม่ปิดจึงต้อง. มีอยู่อาบัติภิกษุทรงไว้จึงต้อง มีอยู่อาบัติ ภิกษุไม่ทรงไว้จึงต้อง.
ว่าด้วยอุโบสถเป็นต้น
[๙๔๔] อุโบสถมี ๒ คืออุโบสถในวันสิบสี่ ๑ อุโบสถในวันสิบห้า ๑. ปวารณามี ๒ คือ ปวารณาในวันสิบสี่ ๑ ปวารณาในวันสิบห้า ๑. กรรมมี ๒ คือ อปโลกนกรรม ๑ ญัตติกรรม ๑. กรรมแม้อื่นอีกมี ๒ คือ ญัตติ- *ทุติยกรรม ๑ ญัตติจตุตถกรรม ๑. วัตถุแห่งกรรมมี ๒ คือวัตถุแห่งอปโลกนกรรม ๑ วัตถุแห่งญัตติกรรม ๑. วัตถุแห่ง กรรมแม้อื่นอีกมี ๒ คือ วัตถุแห่งญัตติทุติยกรรม ๑ วัตถุแห่งญัตติจตุตถกรรม ๑. โทษแห่งกรรมมี ๒ คือ โทษแห่งอปโลกนกรรม ๑ โทษแห่งญัตติกรรม ๑. โทษแห่ง กรรมแม้อื่นอีกมี ๒ คือ โทษแห่งญัตติทุติยกรรม ๑ โทษแห่งญัตติจตุตถกรรม ๑. สมบัติแห่งกรรมมี ๒ คือ สมบัติแห่งอปโลกนกรรม ๑ สมบัติแห่งญัตติกรรม ๑. สมบัติแห่งกรรมแม้อื่นอีกมี ๒ คือ สมบัติแห่งญัตติทุติยกรรม ๑ สมบัติแห่งญัตติจตุตถกรรม ๑. ภูมิของภิกษุนานาสังวาสมี ๒ คือ ตนเองทำตนให้มีสังวาสต่างกัน ๑ สงฆ์ผู้พร้อม เพรียงกันยกภิกษุนั้นเสีย เพราะไม่เห็นอาบัติ เพราะไม่ทำคืนอาบัติ หรือเพราะไม่สละทิฏฐิ ๑. ภูมิของภิกษุสมานสังวาสมี ๒ คือ ตนเองทำตนให้มีสังวาสเสมอกัน ๑ สงฆ์พร้อม เพรียงกันเรียกภิกษุนั้นผู้ถูกยกวัตร เพราะไม่เห็นอาบัติ เพราะไม่ทำคืนอาบัติ หรือเพราะไม่สละ ทิฏฐิ เข้าหมู่ ๑.
ว่าด้วยปาราชิกเป็นต้น
[๙๔๕] ปาราชิกมี ๒ คือ ของภิกษุ ๑ ของภิกษุณี ๑. สังฆาทิเสสมี ๒ คือ ของภิกษุ ๑ ของภิกษุณี ๑. ถุลลัจจัยมี ๒ คือ ของภิกษุ ๑ ของภิกษุณี ๑. ปาจิตตีย์มี ๒ คือ ของภิกษุ ๑ ของภิกษุณี ๑. ปาฏิเทสนียะมี ๒ คือ ของภิกษุ ๑ ของภิกษุณี ๑. ทุกกฏมี ๒ คือ ของภิกษุ ๑ ของภิกษุณี ๑. ทุพภาสิตมี ๒ คือ ของภิกษุ ๑ ของภิกษุณี ๑. อาบัติของภิกษุมี ๗ ของภิกษุณีก็มี ๗. กองอาบัติของภิกษุมี ๗ ของภิกษุณีก็มี ๗. สงฆ์แตกกันด้วยอาการ ๒ คือ ด้วยกรรม ๑ ด้วยให้จับสลาก ๑.
ว่าด้วยบุคคล
[๙๔๖] บุคคล ๒ พวก สงฆ์ไม่พึงอุปสมบท คือ ผู้มีกาลบกพร่อง ๑ ผู้มีอวัยวะ บกพร่อง ๑. บุคคลแม้อื่นอีก ๒ พวก สงฆ์ไม่พึงอุปสมบท คือ ผู้มีวัตถุวิบัติ ๑ ผู้มีการกระทำ เสียหาย ๑. บุคคลแม้อื่นอีก ๒ พวก สงฆ์ไม่พึงอุปสมบท คือ ผู้ไม่บริบูรณ์ ๑ ผู้บริบูรณ์ แต่ ไม่ขออุปสมบท ๑. ไม่ควรอาศัยบุคคล ๒ พวกอยู่ คือ ผู้อลัชชี ๑ ผู้พาล ๑. ไม่ควรให้นิสัย แก่บุคคล ๒ พวก คือ ผู้อลัชชี ๑ ผู้ลัชชีแต่ไม่ขอ ๑. ควรให้นิสัย แก่บุคคล ๒ พวก คือ ผู้โง่ ๑ ผู้ลัชชีแต่ขอ ๑. บุคคล ๒ พวก ไม่ควรต้องอาบัติ คือ พระพุทธเจ้า ๑ พระปัจเจกพุทธเจ้า ๑. บุคคล ๒ พวก รวมต้องอาบัติ คือ ภิกษุ ๑ ภิกษุณี ๑. บุคคล ๒ พวก ไม่ควรแกล้งต้องอาบัติ คือ ภิกษุชั้นอริยบุคคล ๑ ภิกษุณีชั้น อริยบุคคล ๑. บุคคล ๒ พวก ควรแกล้งต้องอาบัติ คือ ภิกษุปุถุชน ๑ ภิกษุณีปุถุชน ๑. บุคคล ๒ พวก ไม่ควรแกล้งประพฤติล่วงวัตถุเป็นไปกับด้วยโทษ คือ ภิกษุชั้น อริยบุคคล ๑ ภิกษุณีชั้นอริยบุคคล ๑. บุคคล ๒ พวก ควรแกล้งประพฤติล่วงวัตถุเป็นไปกับด้วยโทษ คือ ภิกษุปุถุชน ๑ ภิกษุณีปุถุชน ๑.
ว่าด้วยคัดค้านเป็นต้น
[๙๔๗] การคัดค้านมี ๒ คือ คัดค้านด้วยกาย ๑ คัดค้านด้วยวาจา ๑. การขับออกจากหมู่มี ๒ คือ มีอยู่ บุคคลยังไม่ถึงการขับออก ถ้าสงฆ์ขับบุคคล นั้นออก บางคนเป็นอันขับออกดีแล้ว ๑ บางคนเป็นอันขับออกไม่ดี ๑. การเรียกเข้าหมู่มี ๒ คือ มีอยู่ บุคคลยังไม่ถึงการเรียกเข้าหมู่ ถ้าสงฆ์เรียกบุคคล นั้นเข้าหมู่ บางคนเป็นอันเรียกเข้าหมู่ดีแล้ว ๑ บางคนเป็นอันเรียกเข้าหมู่ไม่ดี ๑. ปฏิญญามี ๒ คือ ปฏิญญาด้วยกาย ๑ ปฏิญญาด้วยวาจา ๑. การรับมี ๒ คือ รับด้วยกาย ๑ รับด้วยของเนื่องด้วยกาย ๑. การห้ามมี ๒ คือ ห้ามด้วยกาย ๑ ห้ามด้วยวาจา ๑. การลบล้างมี ๒ คือ ลบล้างสิกขา ๑ ลบล้างโภคะ ๑. โจทมี ๒ คือ โจทด้วยกาย ๑ โจทด้วยวาจา ๑.
ว่าด้วยความกังวลเป็นต้น
[๙๔๘] กฐินมีปลิโพธ ๒ คือ ปลิโพธในอาวาส ๑ ปลิโพธในจีวร ๑. กฐินไม่มีปลิโพธ ๒ คือ ไม่มีปลิโพธในอาวาส ๑ ไม่มีปลิโพธในจีวร ๑. จีวรมี ๒ คือ คหบดีจีวร ๑ บังสุกุลจีวร ๑. บาตรมี ๒ คือ บาตรเหล็ก ๑ บาตรดิน ๑. เชิงบาตรมี ๒ คือ เชิงบาตรทำด้วยดีบุก ๑ เชิงบาตรทำด้วยตะกั่ว ๑ อธิษฐานบาตรมี ๒ คือ อธิษฐานด้วยกาย ๑ อธิษฐานด้วยวาจา ๑. อธิษฐานจีวรมี ๒ คือ อธิษฐานด้วยกาย ๑ อธิษฐานด้วยวาจา ๑. วิกัปมี ๒ คือ วิกัปต่อหน้า ๑ วิกัปลับหลัง ๑. วินัยมี ๒ คือ วินัยของภิกษุ ๑ วินัยของภิกษุณี ๑. อรรถที่สำเร็จในวินัยมี ๒ คือ ข้อบัญญัติ ๑ ข้ออนุโลมบัญญัติ ๑. วินัยมีความขัดเกลา ๒ คือ กำจัดสิ่งไม่ควรด้วยอริยมรรค ๑ ความทำพอประมาณใน สิ่งที่ควร ๑ฯ
ว่าด้วยต้องอาบัติด้วยอาการ ๒ อย่างเป็นต้น
[๙๔๙] ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการ ๒ คือ ต้องด้วยกาย ๑ ต้องด้วยวาจา ๑. ภิกษุออกจากอาบัติด้วยอาการ ๒ คือ ออกด้วยกาย ๑ ออกด้วยวาจา ๑. ปริวาสมี ๒ คือ ปฏิจฉันนปริวาส ๑ อัปปฏิจฉันนปริวาส ๑. ปริวาสแม้อย่างอื่นมีอีก ๒ คือ สุทธันตปริวาส ๑ สโมธานปริวาส ๑. มานัตมี ๒ คือ ปฏิจฉันนมานัต ๑ อัปปฏิจฉันนมานัต ๑. มานัตแม้อย่างอื่นมีอีก ๒ คือ ปักขมานัต ๑ สโมธานมานัต ๑. รัตติเฉทของบุคคล ๒ คือ ของปริวาสิกภิกษุ ๑ ของมานัตจาริกภิกษุ ๑.
ว่าด้วยไม่เอื้อเฟื้อเป็นต้น
[๙๕๐] ความไม่เอื้อเฟื้อมี ๒ คือ ไม่เอื้อเฟื้อต่อบุคคล ๑ ไม่เอื้อเฟื้อต่อธรรม ๑. เกลือมี ๒ ชนิด คือ เกลือเกิดแต่กำเนิด ๑ เกลือแต่น้ำด่าง ๑. เกลือแม้อื่นอีก ๒ ชนิด คือ เกลือทะเล ๑ เกลือดำ ๑. เกลือแม้อื่นอีก ๒ ชนิด คือ เกลือสินเธาว์ ๑ เกลือดินโปร่ง ๑. เกลือแม้อื่นอีก ๒ ชนิด คือ เกลือโรมกะ ๑ เกลือปักขัลลกะ ๑. บริโภคมี ๒ คือ บริโภคภายใน ๑ บริโภคภายนอก ๑. ด่ามี ๒ คือ ด่าอย่างคนเลว ๑ ด่าอย่างผู้ดี ๑. ส่อเสียดด้วยอาการ ๒ คือ เพื่อทำตนให้เป็นที่รัก ๑ เพื่อมุ่งทำลาย ๑. ภิกษุร่วมฉันเป็นหมู่ด้วยอาการ ๒ คือ เพราะเขานิมนต์ ๑ เพราะขอเขา ๑. วันเข้าพรรษามี ๒ คือ วันเข้าพรรษาต้น ๑ วันเข้าพรรษาหลัง ๑. งดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรมมี ๒ งดปาติโมกข์เป็นธรรมมี ๒ ฯ
ว่าด้วยบุคคลพาลและบัณฑิต
[๙๕๑] บุคคลพาลมี ๒ คือ ผู้รับภาระที่ยังไม่มาถึง ๑ ผู้ไม่รับภาระที่มาถึงแล้ว ๑ บุคคลบัณฑิตมี ๒ คือ ผู้ไม่รับภาระที่ยังไม่มาถึง ๑ ผู้รับภาระที่มาถึงแล้ว ๑ บุคคลพาลแม้อื่นอีก ๒ คือ ผู้สำคัญว่าควรในสิ่งที่ไม่ควร ๑ ผู้สำคัญว่าไม่ควรในสิ่ง ที่ควร ๑ บุคคลบัณฑิตมี ๒ คือ ผู้สำคัญว่าไม่ควรในสิ่งที่ไม่ควร ๑ ผู้สำคัญว่าควรในสิ่งควร ๑ บุคคลพาลแม้อื่นอีก ๒ คือ ผู้สำคัญในอนาบัติว่าเป็นอาบัติ ๑ ผู้สำคัญในอาบัติว่า เป็นอนาบัติ ๑ บุคคลบัณฑิตมี ๒ คือ ผู้สำคัญในอาบัติว่าเป็นอาบัติ ๑ ผู้สำคัญในอนาบัติว่าเป็น อนาบัติ ๑ บุคคลพาลแม้อื่นอีก ๒ คือ ผู้สำคัญในอธรรมว่าเป็นธรรม ๑ ผู้สำคัญในธรรมว่า เป็นอธรรม ๑ บุคคลบัณฑิตมี ๒ คือ ผู้สำคัญในอธรรมว่าเป็นอธรรม ๑ ผู้สำคัญในธรรมว่าเป็น ธรรม ๑ บุคคลพาลแม้อื่นอีก ๒ คือ ผู้สำคัญในสภาพมิใช่วินัยว่าเป็นวินัย ๑ ผู้สำคัญในวินัย ว่าสภาพมิใช่วินัย ๑ บุคคลบัณฑิตมี ๒ คือ ผู้สำคัญในสภาพมิใช่วินัยว่าสภาพมิใช่วินัย ๑ ผู้สำคัญใน วินัยว่าวินัย ๑ ฯ
ว่าด้วยอาสวะ
[๙๕๒] อาสวะทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคล ๒ พวก คือ ผู้ประพฤติรังเกียจสิ่งที่ ไม่ควรประพฤติรังเกียจ ๑ ผู้ไม่ประพฤติรังเกียจสิ่งที่ควรประพฤติรังเกียจ ๑. อาสวะทั้งหลายย่อมไม่เจริญแก่บุคคล ๒ พวก คือ ผู้ไม่ประพฤติรังเกียจสิ่งที่ไม่ควร ประพฤติรังเกียจ ๑ ผู้ประพฤติรังเกียจสิ่งที่ควรประพฤติรังเกียจ ๑. อาสวะทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลแม้อื่นอีก ๒ พวก คือ ผู้สำคัญในสิ่งไม่ควร ว่าควร ๑ ผู้สำคัญในสิ่งที่ควรว่าไม่ควร ๑. อาสวะทั้งหลายย่อมไม่เจริญแก่บุคคล ๒ พวก คือ ผู้สำคัญในสิ่งไม่ควรว่าไม่ควร ๑ ผู้สำคัญในสิ่งที่ควรว่าควร ๑. อาสวะทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลแม้อื่นอีก ๒ พวก คือ ผู้สำคัญในอนาบัติว่าเป็น อาบัติ ๑ ผู้สำคัญในอาบัติว่าเป็นอนาบัติ ๑. อาสวะทั้งหลายย่อมไม่เจริญแก่บุคคล ๒ พวก คือ ผู้สำคัญในอาบัติว่าเป็นอนาบัติ ๑ ผู้สำคัญในอาบัติว่าเป็นอาบัติ ๑. อาสวะทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลแม้อื่นอีก ๒ พวก คือ ผู้สำคัญในอธรรมว่าเป็น ธรรม ๑ ผู้สำคัญในธรรมว่าเป็นอธรรม ๑. อาสวะทั้งหลายย่อมไม่เจริญแก่บุคคล ๒ พวก คือ ผู้สำคัญในอธรรมว่าเป็นอธรรม ๑ ผู้สำคัญในธรรมว่าเป็นธรรม ๑. อาสวะทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลแม้อื่นอีก ๒ พวก คือ ผู้สำคัญในสภาพมิใช่วินัย ว่าวินัย ๑ ผู้สำคัญในวินัยว่าสภาพมิใช่วินัย ๑. อาสวะทั้งหลายย่อมไม่เจริญแก่บุคคล ๒ พวก คือ ผู้สำคัญในสภาพมิใช่วินัยว่าสภาพ มิใช่วินัย ๑ ผู้สำคัญในวินัยว่าวินัย ๑.
หมวด ๒ จบ.
-----------------------------------------------------
หัวข้อประจำหมวด
[๙๕๓] สัญญา ๑ ศรัทธา ๑ สัทธรรม ๑ บริขาร ๑ บุคคล ๑ จริง ๑ ภูมิ ๑ ออกไป ๑ ถือเอา ๑ สมาทาน ๑ ทำ ๑ ให้ ๑ รับ ๑ บริโภค ๑ กลางคืน ๑ อรุณ ๑ ตัด ๑ ปกปิด ๑ ทรงไว้ ๑ อุโบสถ ๑ ปวารณา ๑ กรรม ๑ กรรมอื่นอีก ๑ วัตถุ ๑ วัตถุอื่นอีก ๑ โทษ ๑ โทษอื่นอีก ๑ สมบัติสองอย่าง ๑ นานาสังวาสก์ ๑ สมานสังวาสก์ ปาราชิก ๑ สังฆาทิเสส ๑ ถุลลัจจัย ๑ ปาจิตตีย์ ๑ ปาฏิเทสนียะ ๑ ทุกกฏ ๑ ทุพภาสิต ๑ อาบัติเจ็ด ๑ กองอาบัติเจ็ด ๑ สงฆ์แตกกัน ๑ อุปสมบท ๑ อุปสมบทอีกสอง ๑ ไม่อาศัยอยู่ ๑ ไม่ให้ ๑ อภัพบุคคล ๑ ภัพบุคคล ๑ แกล้ง ๑ มีโทษ ๑ คัดค้าน ๑ ขับออกจากหมู่ ๑ เรียกเข้าหมู่ ๑ ปฏิญญา ๑ รับ ๑ ห้าม ๑ ลบล้าง ๑ โจท ๑ กฐิน ๒ อย่าง ๑ จีวร ๑ บาตร ๑ เชิงบาตร ๑ อธิษฐาน ๒ อย่าง ๑ วิกัป ๑ วินัย ๑ อรรถที่สำเร็จในวินัย ๑ ความขัดเกลา ๑ ต้อง ๑ ออก ๑ ปริวาส ๒ อย่าง ๑ มานัต ๒ อย่าง ๑ รัตติเฉท ๑ ไม่เอื้อเฟื้อ ๑ เกลือ ๒ ชนิด ๑ เกลืออื่นอีก ๓ ชนิด ๑ บริโภค ๑ ด่า ๑ ส่อเสียด ๑ ฉันหมู่ ๑ วันจำพรรษา ๑ งดปาติโมกข์ ๑ ภาระ ๑ สมควร ๑ อนาบัติ ๑ อธรรม ๑ วินัย ๑ อาสวะ ๑.
หัวข้อประจำหมวด จบ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๘ บรรทัดที่ ๗๔๖๔-๗๖๒๗ หน้าที่ ๒๘๔-๒๙๐. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=8&A=7464&Z=7627&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=8&siri=77              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=943              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [943-953] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=8&item=943&items=11              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=10022              The Pali Tipitaka in Roman :- [943-953] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=8&item=943&items=11              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=10022              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ https://84000.org/tipitaka/read/?index_8              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-pvr7/en/brahmali#pli-tv-pvr7:7.0 https://suttacentral.net/pli-tv-pvr7/en/horner-brahmali#Prv.7.2.1

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :