บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
หมวดที่ ๓ ว่าด้วยพระผู้มีพระภาคทรงพระชนม์อยู่เป็นต้น [๙๕๔] มีอยู่ อาบัติ เมื่อพระผู้มีพระภาคยังทรงพระชนม์ ภิกษุจึงต้อง เมื่อปรินิพพาน แล้ว ไม่ต้อง มีอยู่ อาบัติ เมื่อพระผู้มีพระภาคปรินิพพานแล้ว ภิกษุจึงต้อง เมื่อยังทรงพระชนม์ ไม่ต้อง มีอยู่ อาบัติ เมื่อพระผู้มีพระภาคยังทรงพระชนม์ก็ดี ปรินิพพานแล้วก็ดี ภิกษุต้อง. มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องในกาล หาต้องในเวลาวิกาลไม่ มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องในเวลาวิกาล หาต้องในกาลไม่ มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องในกาล และในเวลาวิกาล. มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องในกลางคืน หาต้องในกลางวันไม่ มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องในกลางวัน หาต้องในกลางคืนไม่ มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องในกลางคืน และกลางวัน. มีอยู่ อาบัติ ภิกษุมีพรรษา ๑๐ จึงต้อง มีพรรษาหย่อน ๑๐ ไม่ต้อง มีอยู่ อาบัติ ภิกษุมีพรรษาหย่อน ๑๐ จึงต้อง มีพรรษา ๑๐ ไม่ต้อง มีอยู่ อาบัติ ภิกษุมีพรรษา ๑๐ และมีพรรษาหย่อน ๑๐ ก็ต้อง. มีอยู่ อาบัติ ภิกษุมีพรรษา ๕ จึงต้อง มีพรรษาหย่อน ๕ ไม่ต้อง มีอยู่ อาบัติ ภิกษุมีพรรษาหย่อน ๕ จึงต้อง มีพรรษา ๕ ไม่ต้อง มีอยู่ อาบัติ ภิกษุมีพรรษา ๕ และมีพรรษาหย่อน ๕ ก็ต้อง. มีอยู่ อาบัติ ภิกษุมีจิตเป็นกุศล จึงต้อง มีจิตเป็นอกุศลไม่ต้อง มีอยู่ อาบัติ ภิกษุมีจิตเป็นอกุศล จึงต้อง มีจิตเป็นกุศลไม่ต้อง มีอยู่ อาบัติ ภิกษุมีจิตเป็นอัพยากฤต จึงต้อง. มีอยู่ อาบัติ ภิกษุพรั่งพร้อมด้วยสุขเวทนา จึงต้อง มีอยู่ อาบัติ ภิกษุพรั่งพร้อมด้วยทุกขเวทนา จึงต้อง มีอยู่ อาบัติ ภิกษุพรั่งพร้อมด้วยอทุกขมสุขเวทนา จึงต้อง.ว่าด้วยวัตถุแห่งการโจทเป็นต้น [๙๕๕] วัตถุแห่งการโจทมี ๓ คือ เห็น ๑ ได้ยิน ๑ รังเกียจ ๑. การให้จับสลากมี ๓ คือ ปกปิด ๑ เปิดเผย ๑ กระซิบที่หู ๑. ข้อห้ามมี ๓ คือ ความมักมาก ๑ ความไม่สันโดษ ๑ ความไม่ขัดเกลา ๑. ข้ออนุญาตมี ๓ คือ ความมักน้อย ๑ ความสันโดษ ๑ ความขัดเกลา ๑. ข้อห้ามแม้อื่นอีก ๓ คือ ความมักมาก ๑ ความไม่สันโดษ ๑ ความไม่รู้จักประมาณ ๑. ข้ออนุญาตมี ๓ คือ ความมักน้อย ๑ ความสันโดษ ๑ ความรู้จักประมาณ ๑. บัญญัติมี ๓ คือ บัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ อนุปันนบัญญัติ ๑. บัญญัติแม้อื่นอีก ๓ คือ สัพพัตถบัญญัติ ๑ ปเทสบัญญัติ ๑ สาธารณบัญญัติ ๑. บัญญัติแม้อื่นอีก ๓ คือ อสาธารณบัญญัติ ๑ เอกโตบัญญัติ ๑ อุภโตบัญญัติ ๑.ว่าด้วยภิกขุโง่และฉลาดเป็นต้น [๙๕๖] มีอยู่ อาบัติ ภิกษุเป็นผู้โง่ จึงต้อง เป็นผู้ฉลาดไม่ต้อง มีอยู่ อาบัติ ภิกษุเป็นผู้ฉลาด จึงต้อง เป็นผู้โง่ไม่ต้อง มีอยู่ อาบัติ ภิกษุเป็นผู้ทั้งโง่ทั้งฉลาด จึงต้อง. มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องในกาฬปักษ์ ไม่ต้องในชุณหปักษ์ มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องในชุณหปักษ์ ไม่ต้องในกาฬปักษ์ มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องทั้งในกาฬปักษ์ และชุณหปักษ์. มีอยู่ การเข้าพรรษาย่อมควรในกาฬปักษ์ หาควรในชุณหปักษ์ไม่ มีอยู่ ปวารณาในวันมหาปวารณา ย่อมควรในชุณหปักษ์ หาควรในกาฬปักษ์ไม่ มีอยู่ สังฆกิจที่เหลือ ย่อมควรทั้งในกาฬปักษ์และชุณหปักษ์. มีอยู่ อาบัติ ภิกษุย่อมต้องในฤดูหนาว ไม่ต้องในฤดูร้อนและในฤดูฝน มีอยู่ อาบัติ ภิกษุย่อมต้องในฤดูร้อน ไม่ต้องในฤดูหนาวและในฤดูฝน มีอยู่ อาบัติ ภิกษุย่อมต้องในฤดูฝน ไม่ต้องในฤดูร้อนและในฤดูหนาว. มีอยู่ อาบัติ สงฆ์ต้อง คณะ และบุคคล ไม่ต้อง มีอยู่ อาบัติ คณะต้อง สงฆ์ และบุคคล ไม่ต้อง มีอยู่ อาบัติ บุคคลต้อง สงฆ์ และคณะ ไม่ต้อง. มีอยู่ สังฆอุโบสถและสังฆปวารณา ควรแก่สงฆ์ ไม่ควรแก่คณะ และบุคคล มีอยู่ คณะอุโบสถ และคณะปวารณา ควรแก่คณะ ไม่ควรแก่สงฆ์ และบุคคล มีอยู่ อธิษฐานอุโบสถ และอธิษฐานปวารณา ควรแก่บุคคล ไม่ควรแก่สงฆ์ และคณะ.ว่าด้วยการปิดเป็นต้น [๙๕๗] การปิดมี ๓ คือ ปิดวัตถุ ไม่ปิดอาบัติ ๑ ปิดอาบัติ ไม่ปิดวัตถุ ๑ ปิดทั้ง วัตถุและอาบัติ ๑. เครื่องปกปิดมี ๓ คือ เครื่องปกปิด คือ เรือนไฟ ๑ เครื่องปกปิด คือ น้ำ ๑ เครื่องปกปิด คือ ผ้า ๑. สิ่งที่กำบังไม่เปิดเผยนำไปมี ๓ คือ มาตุคาม กำบังไม่เปิดเผยนำไป ๑ มนต์ของ พวกพราหมณ์กำบังไม่เปิดเผยนำไป ๑ มิจฉาทิฏฐิกำบังไม่เปิดเผยนำไป ๑. สิ่งที่เปิดเผยไม่กำบังจึงรุ่งเรืองมี ๓ คือ ดวงจันทร์เปิดเผย ไม่กำบังจึงรุ่งเรือง ๑ ดวงอาทิตย์เปิดเผยไม่กำบังจึงรุ่งเรือง ๑ ธรรมวินัยอันพระตถาคตเจ้า ประกาศแล้วเปิดเผยไม่ กำบังจึงรุ่งเรือง ๑. การให้ถือเสนาสนะมี ๓ คือ ให้ถือในวันเข้าพรรษาต้น ๑ ให้ถือในวันเข้าพรรษา หลัง ๑ ให้ถือพ้นระหว่างนั้น ๑.ว่าด้วยอาพาธเป็นต้น [๙๕๘] มีอยู่ อาบัติ ภิกษุอาพาธ จึงต้อง ไม่อาพาธ ไม่ต้อง มีอยู่ อาบัติ ภิกษุไม่อาพาธ จึงต้อง อาพาธไม่ต้อง มีอยู่ อาบัติ ภิกษุอาพาธและไม่อาพาธก็ต้อง.ว่าด้วยงดปาติโมกข์เป็นต้น [๙๕๙] การงดปาติโมกข์ ไม่เป็นธรรมมี ๓ การงดปาติโมกข์ เป็นธรรมมี ๓. ปริวาสมี ๓ คือ ปฏิจฉันนปริวาส ๑ อัปปฏิจฉันนปริวาส ๑ สุทธันตปริวาส ๑. มานัตมี ๓ คือ ปฏิจฉันนมานัต ๑ อัปปฏิจฉันนมานัต ๑ ปักขมานัต ๑. รัตติเฉทของภิกษุผู้อยู่ปริวาสมี ๓ คือ อยู่ร่วม ๑ อยู่ปราศ ๑ ไม่บอก ๑.ว่าด้วยต้องอาบัติภายในเป็นต้น [๙๖๐] มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องภายใน ไม่ต้องภายนอก มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องภายนอก ไม่ต้องภายใน มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องทั้งภายในทั้งภายนอก. มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องภายในสีมา ไม่ต้องภายนอกสีมา มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องภายนอกสีมา ไม่ต้องภายในสีมา มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องทั้งภายในสีมา ทั้งภายนอกสีมา.ว่าด้วยต้องอาบัติด้วยอาการ ๓ อย่างเป็นต้น [๙๖๑] ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ ต้องด้วยกาย ๑ ต้องด้วยวาจา ๑ ต้องด้วยกายวาจา ๑. ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการแม้อื่นอีก ๓ คือ ต้องในท่ามกลางสงฆ์ ๑ ต้องในท่ามกลาง คณะ ๑ ต้องในสำนักบุคคล ๑. ภิกษุออกจากอาบัติด้วยอาการ ๓ คือ ออกด้วยกาย ๑ ออกด้วยวาจา ๑ ออกด้วยกาย วาจา ๑. ภิกษุออกจากอาบัติด้วยอาการแม้อื่นอีก ๓ คือ ออกในท่ามกลางสงฆ์ ๑ ออกใน ท่ามกลางคณะ ๑ ออกในสำนักบุคคล ๑. ให้อมูฬหวินัยไม่เป็นธรรมมี ๓ ให้อมูฬหวินัยเป็นธรรมมี ๓.ว่าด้วยข้อที่สงฆ์จำนงเป็นต้น [๙๖๒] ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ สงฆ์จำนงอยู่ พึงลงตัชชนียกรรม คือเป็นผู้ก่อ ความบาดหมาง จ่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ๑ เป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร ๑ เป็นผู้คลุกคลีกับคฤหัสถ์ ด้วยการคลุกคลีอันไม่ สมควร ๑. ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ สงฆ์จำนงอยู่ พึงลงนิยสกรรม คือ เป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ ในสงฆ์ ๑ เป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร ๑ เป็นผู้คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร ๑. ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ สงฆ์จำนงอยู่ พึงลงปัพพาชนียกรรม คือ เป็นผู้ก่อความ บาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ๑ เป็นพาล ๑ ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร ๑ เป็นผู้ประทุษร้ายสกุล มีความประพฤติเลวทราม ๑. ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ สงฆ์จำนงอยู่ พึงลงปฏิสารณียกรรม คือ เป็นผู้ก่อความ บาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ๑ เป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร ๑ ด่าบริภาษคฤหัสถ์ ๑. ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ สงฆ์จำนงอยู่ พึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ คือ เป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ๑ เป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร ๑ ต้องอาบัติแล้วไม่ปรารถนาจะเห็น อาบัติ ๑. ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ สงฆ์จำนงอยู่ พึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ คือ เป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ใน สงฆ์ ๑ เป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร ๑ ต้องอาบัติแล้วไม่ปรารถนาจะ ทำคืนอาบัติ ๑. ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ สงฆ์จำนงอยู่ พึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละคืนทิฏฐิอัน เลวทราม คือ เป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่อ อธิกรณ์ในสงฆ์ ๑ เป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร ๑ ไม่ปรารถนาจะสละ คืนทิฏฐิอันเลวทราม ๑. ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ สงฆ์จำนงอยู่ พึงตั้งใจจับให้มั่น คือ เป็นผู้ก่อความบาด- *หมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ๑ เป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร ๑ คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร ๑. ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ สงฆ์พึงลงโทษ คือ เป็นอลัชชี ๑ เป็นพาล ๑ ไม่เป็น ปกตัตตะ ๑. ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๓ สงฆ์พึงลงโทษ คือ เป็นผู้มีศีลวิบัติในอธิศีล ๑ เป็นผู้มีอาจารวิบัติในอัชฌาจาร ๑ เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ ๑. ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๓ สงฆ์พึงลงโทษ คือ เป็นผู้ประกอบด้วยการเล่น ทางกาย ๑ เป็นผู้ประกอบด้วยการเล่นทางวาจา ๑ เป็นผู้ประกอบด้วยการเล่นทางกายและวาจา ๑. ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๓ สงฆ์พึงลงโทษ คือ เป็นผู้ประกอบด้วยอนาจาร ทางกาย ๑ เป็นผู้ประกอบด้วยอนาจารทางวาจา ๑ เป็นผู้ประกอบด้วยอนาจารทั้งทางกายและ วาจา ๑. ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๓ สงฆ์พึงลงโทษ คือ เป็นผู้ประกอบด้วยการลบล้าง ทางกาย ๑ เป็นผู้ประกอบด้วยการลบล้างทางวาจา ๑ เป็นผู้ประกอบด้วยการลบล้างทางกายและ วาจา ๑. ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๓ สงฆ์พึงลงโทษ คือ เป็นผู้ประกอบด้วยมิจฉาชีพ ทางกาย ๑ เป็นผู้ประกอบด้วยมิจฉาชีพทางวาจา ๑ เป็นผู้ประกอบด้วยมิจฉาชีพทั้งทางกายและ วาจา ๑. ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๓ สงฆ์พึงลงโทษ คือ ต้องอาบัติ ถูกสงฆ์ลงโทษ แล้ว ทำการอุปสมบท ๑ ให้นิสัย ๑ ให้สามเณรอุปัฏฐาก ๑. ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๓ สงฆ์พึงลงโทษ คือ สงฆ์ลงโทษเพราะอาบัติใด ต้องอาบัตินั้น ๑ ต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน ๑ ต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น ๑. ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๓ สงฆ์พึงลงโทษ คือ พูดติพระพุทธเจ้า ๑ พูดติ พระธรรม ๑ พูดติพระสงฆ์ ๑. ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ งดอุโบสถ ณ ท่ามกลางสงฆ์ สงฆ์พึงกำจัดเสียว่า อย่าเลย ภิกษุ เธออย่าก่อความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาท แล้วทำอุโบสถ คือ เป็นอลัชชี ๑ เป็นพาล ๑ ไม่เป็นปกตัตตะ ๑. ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ งดปวารณา ณ ท่ามกลางสงฆ์ สงฆ์พึงกำจัดเสียว่า อย่าเลย ภิกษุ เธออย่าก่อความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาท แล้วทำปวารณา คือ เป็นอลัชชี ๑ เป็นพาล ๑ ไม่เป็นปกตัตตะ ๑. ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ สงฆ์ไม่พึงให้สังฆสมมติอะไรๆ คือ เป็นอลัชชี ๑ เป็น พาล ๑ ไม่เป็นปกตัตตะ ๑. ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ สงฆ์ไม่พึงว่ากล่าว คือ เป็นอลัชชี ๑ เป็นพาล ๑ ไม่เป็น ปกตัตตะ ๑. ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งไว้ในตำแหน่งในหัวหน้าอะไร คือ เป็น อลัชชี ๑ เป็นพาล ๑ ไม่เป็นปกตัตตะ ๑. ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ ภิกษุทั้งหลายไม่พึงอาศัยอยู่ คือ เป็นอลัชชี ๑ เป็นพาล ๑ ไม่เป็นปกตัตตะ ๑. ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ ไม่พึงให้นิสัย คือ เป็นอลัชชี ๑ เป็นพาล ๑ ไม่เป็น ปกตัตตะ ๑. ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ จะให้ทำโอกาส ไม่ควรทำโอกาส คือ เป็นอลัชชี ๑ เป็นพาล ๑ ไม่เป็นปกตัตตะ ๑. ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ ไม่พึงเชื่อถือคำให้การ คือ เป็นอลัชชี ๑ เป็นพาล ๑ ไม่ เป็นปกตัตตะ ๑. ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ อันใครๆ ไม่พึงถามวินัย คือ เป็นอลัชชี ๑ เป็นพาล ๑ ไม่เป็นปกตัตตะ ๑. ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ ไม่พึงถามวินัย คือ เป็นอลัชชี ๑ เป็นพาล ๑ ไม่เป็น ปกตัตตะ ๑. ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ อันภิกษุทั้งหลายไม่พึงตอบวินัย คือ เป็นอลัชชี ๑ เป็น- *พาล ๑ ไม่เป็นปกตัตตะ ๑. ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ ไม่พึงตอบวินัย คือ เป็นอลัชชี ๑ เป็นพาล ๑ ไม่เป็น ปกตัตตะ ๑. ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ อันภิกษุทั้งหลายไม่พึงให้คำซักถาม คือ เป็นอลัชชี ๑ เป็นพาล ๑ ไม่เป็นปกตัตตะ ๑. ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ อันภิกษุทั้งหลายไม่พึงสนทนาวินัยด้วยกัน คือ เป็นอลัชชี ๑ เป็นพาล ๑ ไม่เป็นปกตัตตะ ๑. ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ ไม่พึงให้กุลบุตรอุปสมบท ไม่พึงให้นิสัย ไม่พึงให้สามเณร อุปัฏฐาก คือ เป็นอลัชชี ๑ เป็นพาล ๑ ไม่เป็นปกตัตตะ ๑.ว่าด้วยอุโบสถเป็นต้น [๙๖๓] อุโบสถมี ๓ คือ อุโบสถวันสิบสี่ ๑ อุโบสถวันสิบห้า ๑ อุโบสถสามัคคี ๑. อุโบสถแม้อื่นอีก ๓ คือ สังฆอุโบสถ ๑ คณะอุโบสถ ๑ ปุคคลอุโบสถ ๑. อุโบสถแม้อื่นอีก ๓ คือ สุตตุทเทศ ๑ ปาริสุทธิอุโบสถ ๑ อธิษฐานอุโบสถ ๑. ปวารณามี ๓ คือ ปวารณาวันสิบสี่ ๑ ปวารณาวันสิบห้า ๑ ปวารณาสามัคคี ๑. ปวารณาแม้อื่นอีก ๓ คือ สังฆปวารณา ๑ คณะปวารณา ๑ ปุคคลปวารณา ๑. ปวารณาแม้อื่นอีก ๓ คือ ปวารณา ๓ หน ๑ ปวารณา ๒ หน ๑ ปวารณามีพรรษา เท่ากัน ๑. บุคคลไปอบายไปนรกมี ๓ คือ ไม่เป็นพรหมจารี แต่ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารี ไม่ ละปฏิญญาข้อนี้ ๑ โจทพรหมจารีผู้บริสุทธิ์ ผู้ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์ ด้วยอพรหมจรรย์อัน ไม่มีมูล ๑ มีปกติกล่าวอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า กามทั้งหลายไม่มีโทษ ถึงความเป็นผู้หมกมุ่น ในกามทั้งหลาย ๑. อกุศลมูลมี ๓ คือ อกุศลมูล คือโลภะ ๑ อกุศลมูล คือ โทสะ ๑ อกุศลมูลคือ โมหะ ๑. กุศลมูลมี ๓ คือ กุศลมูล คือ อโลภะ ๑ กุศลมูล คือ อโทสะ ๑ กุศลมูลคือ อโมหะ ๑. ทุจริตมี ๓ คือ กายทุจริต ๑ วจีทุจริต ๑ มโนทุจริต ๑. สุจริตมี ๓ คือ กายสุจริต ๑ วจีสุจริต ๑ มโนสุจริต ๑. พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติโภชนะ ๓ ในสกุล เพราะทรงอาศัยอำนาจประโยชน์ ๓ คือ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก เพื่ออยู่ผาสุกแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อประสงค์ว่าพวกมักมากอย่า อาศัยฝักฝ่ายทำลายสงฆ์ ๑ เพื่อทรงอนุเคราะห์สกุล ๑. พระเทวทัตมีจิตอันอสัทธรรม ๓ อย่าง ครอบงำย่ำยี จึงเกิดในอบายตกนรกชั่วกัลป์ ช่วยเหลือไม่ได้ คือความปรารถนาลามก ๑ ความมีมิตรชั่ว ๑ พอบรรลุคุณวิเศษเพียงขั้นต่ำก็เลิก เสียในระหว่าง ๑. สมมติมี ๑ คือ สมมติไม้เท้า ๑ สมมติสาแหรก ๑ สมมติไม้เท้าและสาแหรก ๑. เขียงรองเท้าที่ตั้งอยู่ประจำเลื่อนไปมาไม่ได้มี ๓ คือ เขียงรองเท้าถ่ายวัจจะ ๑ เขียง รองเท้าถ่ายปัสสาวะ ๑ เขียงรองเท้าสำหรับชำระ ๑. สิ่งของสำหรับถูเท้ามี ๓ คือ ก้อนกรวด ๑ กระเบื้องถ้วย ๑ ฟองน้ำทะเล ๑.หมวด ๓ จบ ----------------------------------------------------- หัวข้อประจำหมวด [๙๖๔] ทรงพระชนม์ ๑ กาล ๑ กลางคืน ๑ พรรษาสิบ ๑ พรรษาห้า ๑ กุศลจิต ๑ เวทนา ๑ วัตถุแห่งการโจท ๑ สลาก ๑ ข้อห้าม ๒ อย่าง ๑ ข้อบัญญัติ ๑ ข้อบัญญัติอื่นอีก ๒ อย่าง ๑ โง่ ๑ กาฬปักษ์ ๑ ควร ๑ ฤดูหนาว ๑ สงฆ์ ๑ แก่สงฆ์ ๑ การปิด ๑ เครื่อง ปกปิด ๑ สิ่งกำบัง ๑ สิ่งเปิดเผย ๑ เสนาสนะ ๑ อาพาธ ๑ ปาติโมกข์ ๑ ปริวาส ๑ มานัต ๑ ปริวาสิกภิกษุ ๑ ภายใน ๑ ภายในสีมา ๑ ต้องอาบัติ ๑ ต้องอาบัติอีก ๑ ออกจากอาบัติ ๑ ออกจากอาบัติอื่นอีก ๑ อมูฬหวินัย ๒ อย่าง ๑ ตัชชนียกรรม ๑ นิยสกรรม ๑ ปัพพานียกรรม ๑ ปฏิสารณียกรรม ๑ ไม่เห็นอาบัติ ๑ ไม่ทำคืนอาบัติ ๑ ไม่สละคืนทิฏฐิ ๑ จับให้มั่น ๑ กรรม ๑ อธิศีล ๑ คะนอง ๑ อนาจาร ๑ ลบล้าง ๑ อาชีวะ ๑ ต้องอาบัติ ๑ ต้องอาบัติเช่นนั้น ๑ พูดติ ๑ งดอุโบสถ ๑ งดปวารณา ๑ สมมติ ๑ ว่ากล่าว ๑ หัวหน้า ๑ ไม่อาศัยอยู่ ๑ ไม่ให้ นิสัย ๑ ไม่ทำโอกาส ๑ ไม่ทำการไต่สวน ๑ ไม่ถาม ๒ อย่าง ๑ ไม่ตอบ ๒ อย่าง ๑ แม้ซัก ถามก็ไม่พึงให้ ๑ สนทนา ๑ อุปสมบท ๑ นิสัย ๑ ให้สามเณรอุปัฏฐาก ๑ อุโบสถ ๓ หมวด ๓ อย่าง ๑ ปวารณา ๓ หมวด ๓ อย่าง ๑ เกิดในอบาย ๑ อกุศล ๑ กุศล ๑ ทุจริต ๑ สุจริต ๑ โภชนะ ๓ อย่าง ๑ อสัทธรรม ๑ สมมติ ๑ เขียงรองเท้า ๑ สิ่งของถูเท้า ๑ หัวข้อตามที่ กล่าวนี้รวมอยู่ในหมวด ๓.หัวข้อประจำหมวด จบ ----------------------------------------------------- เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๘ บรรทัดที่ ๗๖๒๘-๗๘๕๐ หน้าที่ ๒๙๐-๒๙๙. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=8&A=7628&Z=7850&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=8&siri=78 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=954 ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [954-964] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=8&item=954&items=11 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=10129 The Pali Tipitaka in Roman :- [954-964] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=8&item=954&items=11 The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=10129 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ https://84000.org/tipitaka/read/?index_8 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-pvr7/en/brahmali#pli-tv-pvr7:25.0 https://suttacentral.net/pli-tv-pvr7/en/horner-brahmali#Prv.7.3.1
บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]