![]() |
|
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น |
![]() |
|
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() | |
นานาปัญหา โดย คณะสหายธรรม | |
ตอบ ในวันอาสาฬหบูชานั้น พระพุทธเจ้าทรง เรื่องที่ทรงแสดงคือ มัชฌิมาปฏิปทา คืออริยมรรคมีองค์แปด กับอริยสัจสี่ เริ่มทีเดียว พระองค์ทรงแสดงทางสองสายที่ไม่ควรเดิน คือกาม อย่างแรกการทำตนให้พัวพันอยู่ในความสุขในกามนั้น พระองค์ตรัสว่า เป็นธรรมที่เลว เป็น อย่างหลังเป็นการทำตนให้เหน็ดเหนื่อยลำบาก ไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่มรรค เมื่อพระองค์ทรงแสดงธรรมที่ไม่ควรประพฤติอย่างนี้แล้ว ก็แสดงธรรมที่ควรประพฤติว่าได้แก่มัชฌิมาปฏิปทา คืออริยมรรคมีองค์ ๘ อันประกอบด้วย สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติและสัมมาสมาธิ ก็มัชฌิมาปฏิปทาอันได้แก่ทางสายกลางนี้ ไม่เข้าไปใกล้ทาง ๒ สายข้างต้น ทางสายกลางนี้แหละที่พระองค์ได้ทรงตรัสรู้แล้วด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เอง ทางสายกลางนี้เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน ต่อจากนั้น พระองค์ทรงแสดงอริยสัจสี่ไปตามลำดับว่า นี้ ทุกขอริยสัจนั้น ได้แก่ ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์ ความโทมนัส ความเหือดแห้งใจ ความประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น สรุปโดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน ความยึดถือนั่นแหละเป็นทุกข์ ทุกขสมุทัยอริยสัจ ได้แก่ตัณหาอันทำให้เกิดอีก ถ้าไม่มีตัณหาก็ไม่ต้องเกิด สภาพ ทุกขนิโรธอริยสัจ ได้แก่ธรรมที่ดับตัณหาโดยไม่มีเศษเหลือ ธรรม ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ได้แก่ข้อปฏิบัติอันเป็นทางให้ถึงความดับทุกข์ ข้อปฏิบัตินี้คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ ที่พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงไว้ในข้อว่า มัชฌิมาปฏิปทานั่นเอง มรรคมีองค์ ๘ อันเป็นอริยะนี้เท่านั้นเป็นทางเดียว คือข้อปฏิบัติอย่างเดียวที่จะให้ถึงมรรคผลนิพพาน อริยสัจทั้งสี่นี้ พระองค์ไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อนเลย บัดนี้พระองค์ทรงรู้แล้วด้วยญาณปัญญาของพระองค์เองว่า ทุกขอริยสัจควรกำหนดรู้ และพระองค์ได้ทรงกำหนดรู้แล้ว ทุกขสมุทัยอริยสัจควรละ พระองค์ทรงได้ละแล้ว ทุกขนิโรธอริยสัจควรทำให้แจ้ง ซึ่งพระองค์ได้ทำให้แจ้งแล้ว ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจควรเจริญ พระองค์ได้เจริญแล้ว ตราบใดที่พระองค์ยังมิได้ทรงตรัสรู้อริยสัจสี่ตามความเป็นจริง พระองค์ก็ยังไม่ทรงประกาศว่า พระองค์เป็นผู้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ต่อเมื่อ ขณะเมื่อพระพุทธองค์ตรัสอริยสัจสี่อยู่นี้ ดวงตาเห็นธรรมได้บังเกิดขึ้นแก่ท่านโกณฑัญญะว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนที่ความดับเป็นธรรมดา ซึ่งความหมายว่า ธรรมทั้ง สรุปว่าท่านปัญจวัคคีย์ได้สดับธรรมจักรที่พระองค์ทรงประกาศแล้ว ใน ๕ คนนั้น มีท่านโกณฑัญญะ คนเดียวได้ดวงตาเห็นธรรม เป็นพระโสดาบัน การประกาศธรรมจักรเป็นครั้งแรกของพระองค์ เป็นเหตุให้เทวดาตั้งแต่ ทั้งหมดนี้แหละ คือธรรมะที่พระพุทธองค์ทรงแสดงในวันอาสาฬหบูชา ที่มา อ้างอิงและแนะนำ :- พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร https://84000.org/tipitaka/book/v.php?B=4&A=355&Z=478 พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) คำว่า อาสาฬหบูชา https://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อาสาฬหบูชา คำว่า โกณฑัญญะ https://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=โกณฑัญญะ คำว่า มัชฌิมาปฏิปทา https://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=มัชฌิมาปฏิปทาา |
![]() |
ดาวน์โหลดนานาปัญหาทั้ง ๕๑ ข้อ นานาปัญหา โดยคณะสหายธรรม บันทึก ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]