บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
ปฐมาปุตตกสูตรที่ ๙ [๓๘๖] สาวัตถีนิทาน ฯ ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ในเวลาเที่ยงวัน ครั้นแล้ว ก็ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง ฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะพระเจ้าปเสนทิโกศลผู้ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่งว่า เชิญเถอะมหาบพิตร พระองค์เสด็จมาจากไหนหนอ ในเวลาเที่ยงวัน ฯ พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คฤหบดีผู้เป็น เศรษฐีในพระนครสาวัตถีนี้ กระทำกาลกิริยาแล้ว หม่อมฉันให้ขนทรัพย์สมบัติ อันไม่มีบุตรรับมรดกนั้น มาไว้ภายในพระราชวังแล้วก็มา ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เฉพาะเงินเท่านั้นมี ๘,๐๐๐,๐๐๐ ส่วนเครื่องรูปิยะไม่ต้องพูดถึง ก็แต่คฤหบดีผู้เป็น เศรษฐีนั้น ได้บริโภคอาหารเห็นปานนี้ คือบริโภคปลายข้าวกับน้ำส้มพอูม ได้ใช้ ผ้าเครื่องนุ่งห่มเห็นปานนี้ คือนุ่งห่มผ้าเนื้อหยาบที่ตัดเป็นสามชิ้นเย็บติดกัน ได้ใช้ ยานพาหนะเห็นปานนี้ คือใช้รถเก่าๆ กั้นร่มทำด้วยใบไม้ ฯ [๓๘๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมหาบพิตร ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ดูกรมหาบพิตร ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ดูกรมหาบพิตร อสัตบุรุษได้โภคะอันโอฬาร แล้ว ไม่ยังตนให้ได้รับความสุข ให้ได้รับความอิ่มหนำเลย ไม่ยังมารดาและบิดา ให้ได้รับความสุข ให้ได้รับความอิ่มหนำ ไม่ยังบุตรและภรรยาให้ได้รับความสุข ให้ได้รับความอิ่มหนำ ไม่ยังทาสกรรมกรให้ได้รับความสุข ให้ได้รับความอิ่มหนำ ไม่ยังมิตรและอำมาตย์ให้ได้รับความสุข ให้ได้รับความอิ่มหนำ ไม่ยังทักษิณาอัน มีผลในเบื้องบน มีอารมณ์ดี มีวิบากเป็นสุข เป็นไปเพื่อสวรรค์ ให้ตั้งอยู่ใน สมณพราหมณ์ทั้งหลาย โภคะเหล่านั้นของเขาที่มิได้ใช้สอยโดยชอบอย่างนี้ พระราชาทั้งหลายย่อมนำไปบ้าง โจรทั้งหลายย่อมนำไปบ้าง ไฟย่อมไหม้เสียบ้าง น้ำย่อมพัดไปเสียบ้าง ทายาททั้งหลายผู้ไม่เป็นที่รักย่อมนำไปบ้าง ฯ ดูกรมหาบพิตร เมื่อเป็นเช่นนี้ โภคะที่มิได้ใช้สอยโดยชอบของเขา เหล่านั้น ย่อมถึงความหมดสิ้นไปเปล่าโดยไม่ถึงการบริโภค ฯ ดูกรมหาบพิตร ในที่ของอมนุษย์ มีสระโบกขรณีซึ่งมีน้ำใส มีน้ำเย็น มีน้ำจืดสนิท ใสตลอด มีท่าดี น่ารื่นรมย์ น้ำนั้นคนไม่พึงตักเอาไปเลย ไม่พึง ดื่ม ไม่พึงอาบ หรือไม่พึงกระทำตามความต้องการได้ ดูกรมหาบพิตร ก็เมื่อ เป็นเช่นนี้ น้ำที่มิได้บริโภคโดยชอบนั้น พึงถึงความหมดสิ้นไปเปล่า โดยไม่ถึง การบริโภค แม้ฉันใด ดูกรมหาบพิตร อสัตบุรุษได้โภคะอันโอฬารแล้ว ไม่ยัง ตนให้ได้รับความสุข ให้ได้รับความอิ่มหนำเลย ฯลฯ ดูกรมหาบพิตร เมื่อเป็น เช่นนี้ โภคะที่มิได้บริโภคโดยชอบของเขาเหล่านั้น ย่อมถึงความหมดสิ้นไป เปล่าโดยไม่ถึงการบริโภค ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ [๓๘๘] ดูกรมหาบพิตร ส่วนสัตบุรุษได้โภคะอันโอฬารแล้ว ย่อมยัง ตนให้ได้รับความสุข ให้ได้รับความอิ่มหนำ ย่อมยังมารดาและบิดาให้ได้รับความ สุข ให้ได้รับความอิ่มหนำ ย่อมยังบุตรและภรรยาให้ได้รับความสุข ให้ได้รับ ความอิ่มหนำ ย่อมยังทาสกรรมกรให้ได้รับความสุข ให้ได้รับความอิ่มหนำ ย่อม ยังมิตรและอำมาตย์ให้ได้รับความสุข ให้ได้รับความอิ่มหนำ ย่อมประดิษฐานไว้ ซึ่งทักษิณาอันมีผลในเบื้องบน มีอารมณ์ดี มีวิบากเป็นสุข เป็นไปเพื่อสวรรค์ ในสมณพราหมณ์ทั้งหลาย โภคะเหล่านั้นของเขา ที่บริโภคโดยชอบอยู่อย่างนี้ พระราชาทั้งหลายย่อมนำไปไม่ได้ โจรทั้งหลายย่อมนำไปไม่ได้ ไฟย่อมไม่ไหม้ น้ำย่อมไม่พัดไป ทายาททั้งหลายผู้ไม่เป็นที่รักย่อมนำไปไม่ได้ ฯ ดูกรมหาบพิตร เมื่อเป็นเช่นนี้ โภคะที่บริโภคอยู่โดยชอบของเขาเหล่า นั้น ย่อมถึงการบริโภค ไม่ถึงความหมดสิ้นไปเปล่า ฯ ดูกรมหาบพิตร ในที่ไม่ไกลคามหรือนิคม มีสระโบกขรณี ซึ่งมีน้ำใส มีน้ำเย็น มีน้ำจืดสนิท ใสตลอด มีท่าดี น่ารื่นรมย์ น้ำนั้นคนพึงตักไปบ้าง พึงดื่มบ้าง พึงอาบบ้าง พึงกระทำตามความต้องการบ้าง ดูกรมหาบพิตร ก็เมื่อ เป็นเช่นนี้ น้ำที่บริโภคอยู่โดยชอบนั้น พึงถึงการบริโภค ไม่ถึงความหมดสิ้นไป เปล่า แม้ฉันใด ดูกรมหาบพิตร สัตบุรุษได้โภคะอันโอฬารแล้ว ย่อมยังตนให้ ได้รับความสุข ให้ได้รับความอิ่มหนำ ฯลฯ เมื่อเป็นเช่นนี้ โภคะที่บริโภคอยู่ โดยชอบของเขาเหล่านั้น ย่อมถึงการบริโภค ไม่ถึงความหมดสิ้นไปเปล่า ฉัน นั้นเหมือนกัน ฯ [๓๘๙] พระผู้มีพระภาคผู้พระสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้ จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า น้ำมีอยู่ในที่ของอมนุษย์ คนย่อมงดน้ำที่ไม่พึงดื่มนั้น ฉันใด คนชั่วได้ทรัพย์แล้ว ย่อมไม่บริโภคด้วยตนเอง ย่อมไม่ให้ ทาน ฉันนั้น ส่วนวิญญูชนผู้มีปัญญา ได้โภคะแล้ว เขา ย่อมบริโภค และทำกิจ เขาเป็นคนอาจหาญ เลี้ยงดูหมู่ ญาติ ไม่ถูกติเตียน ย่อมเข้าถึงแดนสวรรค์ ฯเนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ บรรทัดที่ ๒๘๖๗-๒๙๒๖ หน้าที่ ๑๒๖-๑๒๘. https://84000.org/tipitaka/book/v.php?B=15&A=2867&Z=2926&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/book/m_siri.php?B=15&siri=130 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=386 ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [386-389] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=15&item=386&items=4 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=3967 The Pali Tipitaka in Roman :- [386-389] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=15&item=386&items=4 The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=3967 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_15 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i354-e.php#sutta9 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn03/sn03.019.than.html https://suttacentral.net/sn3.19/en/sujato
บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]