ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ จิต ”             ผลการค้นหาพบ  2  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 2
[347] อุปกิเลส หรือ จิตตอุปกิเลส 16 (ธรรมเครื่องเศร้าหมอง, สิ่งที่ทำให้จิตขุ่นมัว รับคุณธรรมได้ยาก ดุจผ้าเปรอะเปื้อนสกปรก ย้อมไม่ได้ดี — mental defilements)
       1. อภิชฌาวิสมโลภะ (คิดเพ่งเล็งอยากได้ โลภไม่สมควร, โลภกล้า จ้องจะเอาไม่เลือกควรไม่ควร — greed and covetousness; covetousness and unrighteous greed)
       2. พยาบาท (คิดร้ายเขา — malevolence; illwill)
       3. โกธะ (ความโกรธ — anger)
       4. อุปนาหะ (ความผูกโกรธ — grudge; spite)
       5. มักขะ (ความลบหลู่คุณท่าน, ความหลู่ความดีของผู้อื่น, การลบล้างปิดซ่อนคุณค่าความดีของผู้อื่น — detraction; depreciation; denigration)
       6. ปลาสะ (ความตีเสมอ, ยกตัวเทียมท่าน, เอาตัวขึ้นตั้งขวางไว้ ไม่ยอมยกให้ใครดีกว่าตน — domineering; rivalry; envious rivalry)
       7. อิสสา (ความริษยา — envy; jealousy)
       8. มัจฉริยะ (ความตระหนี่ — stinginess; meanness)
       9. มายา (มารยา — deceit)
       10. สาเถยยะ (ความโอ้อวดหลอกเขา, หลอกด้วยคำโอ้อวด — hypocrisy)
       11. ถัมภะ (ความหัวดื้อ, กระด้าง — obstinacy; rigidity)
       12. สารัมภะ (ความแข่งดี, ไม่ยอมลดละ มุ่งแต่จะเอาชนะกัน — presumption; competing contention; contentiousness; contentious rivalry; vying; strife)
       13. มานะ (ความถือตัว, ทะนงตน — conceit)
       14. อติมานะ (ความถือตัวว่ายิ่งกว่าเขา, ดูหมิ่นเขา — excessive conceit; contempt)
       15. มทะ (ความมัวเมา — vanity)
       16. ปมาทะ (ความประมาท, ละเลย, เลินเล่อ — heedlessness; negligence; indolence)

       ข้อ 2 มีต่างออกไป คือ ในธัมมทายาทสูตร เป็น โทสะ (ความคิดประทุษร้ายเขา — hatred) (ม.มู. 12/26/26)

M.I.36 ม.มู. 12/93/65.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 2
[356] จิต 89 หรือ 121 (ธรรมชาติที่รู้อารมณ์, สภาพที่นึกคิด, ความคิด, ใจ, วิญญาณ — mind; thought; consciousness; a state of consciousness)
       “จิต” มีไวพจน์ คือ คำที่ต่างเพียงรูป แต่มีความหมายเหมือนกันหรือคล้ายกัน ใช้แทนกันได้หลายคำ เช่น มโน มานัส หทัย บัณฑร มนายตนะ มนินทรีย์ และ วิญญาณ เป็นต้น (อภิ.สํ. 34/21/10; ฯลฯ) คำเหล่านี้มีความหมายเกยกัน มิใช่ตรงกันโดยสมบูรณ์ ใช้แทนกันได้ในบางโอกาส มิใช่เสมอไป
       เมื่อจัดแบ่งสภาวธรรมทั้งหลายเป็นประเภทๆ ที่เรียกว่า ขันธ์ 5 จิตได้แก่ วิญญาณขันธ์ แต่ในคัมภีร์อภิธรรมยุคต่อมา นิยมประมวลสภาวธรรมเข้าเป็น 4 อย่าง เรียกว่า ปรมัตถธรรม 4 จิต เป็นปรมัตถธรรมอย่างที่ 1; ดู [157] ปรมัตถธรรม 4; [216] ขันธ์ 5.
       คัมภีร์อภิธรรมรุ่นอรรถกถา ประมวลเรื่องจิตที่แสดงไว้ในพระอภิธรรมปิฎกแล้ว แจงนับสภาพจิตทั้งหลายไว้ว่ามีจำนวน 89 หรือโดยพิสดารมี 121 เรียกว่า จิต 89 หรือ 121
       เบื้องต้นนี้ จะประมวลจิตทั้งหมดไว้เป็นหมวดหมู่ใหญ่ๆ ก่อน เพื่อสะดวกในการศึกษากำหนดจดจำและทบทวนต่อไป ในที่นี้ พึงทราบวิธีจำแนกประเภท 2 แบบ เปรียบเทียบกัน ดังนี้ *
----------------------------------------------
* ท่านเรียบเรียงเป็นคาถาสรุปความไว้ ดังนี้
               ทฺวาทสากุสลาเนว กุสลาเนกวีสติ
               ฉตฺตึเสว วิปากานิ กฺริยาจิตฺตานิ วีสติ ฯ
               จตุปญฺญาสธา กาเม รูเป ปณฺณรสีริเย
               จิตฺตานิ ทฺวาทสารูเป อฏฺฐธานุตฺตเร ตถา ฯ
               อิตฺถเมกูนนวุติปฺ ปเภทํ ปน มานสํ
               เอกวีสสตํ วาถ วิภชนฺติ วิจกฺขณา ฯ

       ก. โดยชาติประเภท
           1. อกุศลจิต 12
               - โลภมูลจิต 8
               - โทสมูลจิต 2
               - โมหมูลจิต 2
           2. กุศลจิต 21 (37)
               - มหากุศลจิต 8
               - รูปาวจรกุศลจิต 5
               - อรูปาวจรกุศลจิต 4
               - โลกุตตรกุศลจิต 4 (20)
           3. วิปากจิต 36 (52)
               - อกุศลวิบากจิต 7
               - กุศลวิบากอเหตุกจิต 8
               - มหาวิบากจิต 8
               - รูปาวจรวิบากจิต 5
               - อรูปาวจรวิบากจิต 4
               - โลกุตตรวิบากจิต 4 (20)
           4. กิริยาจิต 20
               - อเหตุกกิริยาจิต 3
               - มหากิริยาจิต 8
               - รูปาวจรกิริยาจิต 5
               - อรูปาวจรกิริยาจิต 4

       ข. โดยภูมิประเภท
           1. กามาวจรจิต 54
               1) อกุศลจิต 12
                      - โลภมูลจิต 8
                      - โทสมูลจิต 2
                      - โมหมูลจิต 2
               2) อเหตุกจิต 18
                      - อกุศลวิบากจิต 7
                      - กุศลวิบากอเหตุกจิต 8
                      - อเหตุกกิริยาจิต 3
               3) กามาวจรโสภณจิต 24
                      - มหากุศลจิต 8
                      - มหาวิบากจิต 8
                      - มหากิริยาจิต 8
           2. รูปาวจรจิต 15
               1) รูปาวจรกุศลจิต 5
               2) รูปาวจรวิบากจิต 5
               3) รูปาวจรกิริยาจิต 5
           3. อรูปาวจรจิต 12
               1) อรูปาวจรกุศลจิต 4
               2) อรูปาวจรวิบากจิต 4
               3) อรูปาวจรกิริยาจิต 4
           4. โลกุตตรจิต 8 (x ฌาน 5 = 40)
               1) โลกุตตรกุศลจิต 4 (20)
               2) โลกุตตรวิบากจิต 4 (20)

       หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บ ( ) หมายถึงจำนวนอย่างพิสดาร เมื่อนับจิตเป็น 121 (พึงสังเกตว่าจำนวนจะเพิ่มเฉพาะ โลกุตตรจิต อย่างเดียว คือ โลกุตตรจิต อย่างย่อมี 8 อย่างพิสดารจำแนกออกไปตามฌานทั้ง 5 เป็น 40)

       ต่อไปจะแสดง จิต 89 [122] ตามแบบภูมิประเภท (แบบชาติประเภทพึงกำหนดเอาจากแบบภูมิประเภทนี้ ตามหัวข้อที่แสดงไว้แล้ว)
       1. กามาวจรจิต 54 (จิตที่เป็นไปในกามภูมิ — consciousness of the Sense-Sphere)
           1) อกุศลจิต 12 (จิตอันเป็นอกุศล — immoral consciousness) อกุศลจิตมีแต่ที่เป็นกามาวจรนี้เท่านั้น คือ
               โลภมูลจิต 8 (จิตมีโลภะเป็นมูล — consc rooted in greed)
                      1. โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
                      2. โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
                      3. โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
                      4. โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
                      5. อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
                      6. อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
                      7. อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
                      8. อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ

                      1. จิตที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสสเวทนา ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ ไม่มีการชักนำ
                      2. จิตที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสสเวทนา ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ มีการชักนำ
                      3. จิตที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสสเวทนา ไม่ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ ไม่มีการชักนำ
                      4. จิตที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสสเวทนา ไม่ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ มีการชักนำ
                      5. จิตที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ ไม่มีการชักนำ
                      6. จิตที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ มีการชักนำ
                      7. จิตที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา ไม่ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ ไม่มีการชักนำ
                      8. จิตที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา ไม่ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ มีการชักนำ

                      1. One consc, acc by joy, asso with wrong view, unprompted.*
* consc = consciousness; acc = accompanied; asso = associated; diss = dissociated; indif = indiffernce.

                      2. One consc, acc by joy, asso with wrong view, prompted.
                      3. One consc, acc by joy, disso from wrong view, unprompted.
                      4. One consc, acc by joy, disso from wrong view, prompted.
                      5. One consc, acc by indif, asso with wrong view, unprompted.
                      6. One consc, acc by indif, asso with wrong view, prompted.
                      7. One consc, acc by indif, disso from wrong view, unprompted.
                      8. One consc, acc by indif, disso from wrong view, prompted.

               โทสมูลจิต 2 (จิตมีโทสะเป็นมูล — consc rooted in hatred)
เรียก ปฏิฆสัมปยุตตจิต ก็ได้.

                      1. โทมนสฺสสหคตํ ปฏิฆสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
                      2. โทมนสฺสสหคตํ ปฏิฆสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ

                      1. จิตที่เกิดพร้อมด้วยโทมนัสสเวทนา ประกอบด้วยปฏิฆะ ไม่มีการชักนำ
                      2. จิตที่เกิดพร้อมด้วยโทมนัสสเวทนา ประกอบด้วยปฏิฆะ มีการชักนำ

                      1. One consc, acc by grief, asso with resentment, unprompted.
                      2. One consc, acc by grief, asso with resentment, prompted.

               โมหมูลจิต หรือ โมมูหจิต 2 (จิตมีโมหะเป็นมูล — consc rooted in delusion)
                      1. อุเปกฺขาสหคตํ วิจิกิจฺฉาสมฺปยุตฺตํ
                      2. อุเปกฺขาสหคตํ อุทฺธจฺจสมฺปยุตฺตํ

                      1. จิตที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา ประกอบด้วยวิจิกิจฉา
                      2. จิตที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา ประกอบด้วยอุทธัจจะ

                      1. One consc, acc by indif, asso with uncertainty.
                      2. One consc, acc by indif, asso with restlessness.

           2) อเหตุกจิต 18 (จิตอันไม่มีสัมปยุตตเหตุ คือ ไม่ประกอบด้วยเหตุ 6 ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ อโลภะ อโทสะ อโมหะ — rootless consc)
                อกุศลวิบากจิต 7 (จิตที่เป็นผลของอกุศล — rootless resultant-of-immorality consc)
                      1. อุเปกฺขาสหคตํ จกฺขุวิญฺญาณํ
                      2. อุเปกฺขาสหคตํ โสตวิญฺญาณํ
                      3. อุเปกฺขาสหคตํ ฆานวิญฺญาณํ
                      4. อุเปกฺขาสหคตํ ชิวฺหาวิญฺญาณํ
                      5. ทุกฺขสหคตํ กายวิญฺญาณํ
                      6. อุเปกฺขาสหคตํ สมฺปฏิจฺฉนฺนํ
                      7. อุเปกฺขาสหคตํ สนฺตีรณํ

                      1. จักขุวิญญาณจิต ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา
                      2. โสตวิญญาณจิต ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา
                      3. ฆานวิญญาณจิต ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา
                      4. ชิวหาวิญญาณจิต ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา
                      5. กายวิญญาณจิต ที่เกิดพร้อมด้วยทุกขเวทนา
                      6. สัมปฏิจฉันนจิต ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา
                      7. สันตีรณจิต ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา

                      1. Eye-consc, acc by indif.
                      2. Ear-consc, acc by indif.
                      3. Nose-consc, acc by indif.
                      4. Tongue-consc, acc by indif.
                      5. Body-consc, acc by pain.
                      6. Receiving-consc, acc by indif.
                      7. Investigating-consc, acc by indif.

               กุศลวิบากอเหตุกจิต 8 (จิตที่เป็นผลของกุศล ไม่มีสัมปยุตตเหตุ — rootless resultant-of-morality consc)
                      1. อุเปกฺขาสหคตํ จกฺขุวิญฺญาณํ
                      2. อุเปกฺขาสหคตํ โสตวิญฺญาณํ
                      3. อุเปกฺขาสหคตํ ฆานวิญฺญาณํ
                      4. อุเปกฺขาสหคตํ ชิวฺหาวิญฺญาณํ
                      5. สุขสหคตํ กายวิญฺญาณํ
                      6. อุเปกฺขาสหคตํ สมฺปฏิจฺฉนฺนํ
                      7. โสมนสฺสสหคตํ สนฺตีรณํ
                      8. อุเปกฺขาสหคตํ สนฺตีรณํ

                      1. จักขุวิญญาณจิต ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา
                      2. โสตวิญญาณจิต ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา
                      3. ฆานวิญญาณจิต ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา
                      4. ชิวหาวิญญาณจิต ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา
                      5. กายวิญญาณจิต ที่เกิดพร้อมด้วยสุขเวทนา
                      6. สัมปฏิจฉันนจิต ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา
                      7. สันตีรณจิต ที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสสเวทนา
                      8. สันตีรณจิต ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา

                      1. Eye-consc, acc by indif.
                      2. Ear-consc, acc by indif.
                      3. Nose-consc, acc by indif.
                      4. Tongue-consc, acc by indif.
                      5. Body-consc, acc by pleasure.
                      6. Receiving-consc, acc by indif.
                      7. Investigating-consc acc by joy.
                      8. Investigating-consc, acc by indif.

               อเหตุกกริยาจิต 3 (จิตที่เป็นเพียงกิริยา ไม่มีสัมปยุตตเหตุ — rootless functional consc)
                      1. อุเปกฺขาสหคตํ ปญฺจทฺวาราวชฺชนํ
                      2. อุเปกฺขาสหคตํ มโนทฺวาราวชฺชนํ
                      3. โสมนสฺสสหคตํ หสิตุปฺปาทจิตฺตํ

                      1. ปัญจทวาราวัชชนจิต ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา
                      2. มโนทวาราวัชชนจิต ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา
                      3. หสิตุปปาทจิต ที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสสเวทนา
----------------------------------------------
จิตที่รำพึงถึงอารมณ์ที่กระทบทวารทั้ง 5
จิตที่รำพึงถึงอารมณ์อันมาถึงคลองในมโนทวาร = โวฏฐัพพนะ
จิตที่ทำให้เกิดการแย้มยิ้มของพระอรหันต์

                      1. Five-sense-door adverting consc, acc by indif.
                      2. Mind-door adverting consc, acc by indif.
                      3. Smile-producing consc, acc by joy.

           3) กามาวจรโสภณจิต 24 (จิตดีงามที่เป็นไปในกามภูมิ — Sense-Sphere beautiful consc)
               มหากุศลจิต หรือ สเหตุกกามาวจรกุศลจิต 8 (จิตที่เป็นกุศลยิ่งใหญ่ หรือ กุศลจิตที่เป็นไปในกามภูมิ มีสัมปยุตตเหตุ — moral consc)
                      1. โสมนสฺสสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
                      2. โสมนสฺสสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
                      3. โสมนสฺสสหคตํ ญาณวิปฺยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
                      4. โสมนสฺสสหคตํ ญาณวิปฺยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
                      5. อุเปกฺขาสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
                      6. อุเปกฺขาสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
                      7. อุเปกฺขาสหคตํ ญาณวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
                      8. อุเปกฺขาสหคตํ ญาณวิปฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ

                      1. จิตที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสสเวทนา ประกอบด้วยปัญญา ไม่มีการชักนำ
                      2. จิตที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสสเวทนา ประกอบด้วยปัญญา มีการชักนำ
                      3. จิตที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสสเวทนา ไม่ประกอบด้วยปัญญา ไม่มีการชักนำ
                      4. จิตที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสสเวทนา ไม่ประกอบด้วยปัญญา มีการชักนำ
                      5. จิตที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา ประกอบด้วยปัญญา ไม่มีการชักนำ
                      6. จิตที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา ประกอบด้วยปัญญา มีการชักนำ
                      7. จิตที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา ไม่ประกอบด้วยปัญญา ไม่มีการชักนำ
                      8. จิตที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา ไม่ประกอบด้วยปัญญา มีการชักนำ

                      1. One consc, acc by joy, asso with knowledge, unprompted.
                      2. One consc, acc by joy, asso with knowledge, prompted.
                      3. One consc, acc by joy, diss from knowledge, unprompted.
                      4. One consc, acc by joy, diss from knowledge, prompted.
                      5. One consc, acc by indif, asso with knowledge, unprompted.
                      6. One consc, acc by indif, asso with knowledge, prompted.
                      7. One consc, acc by indif, diss from knowledge, unprompted.
                      8. One consc, acc by indif, diss from knowledge, prompted.

               มหาวิบากจิต หรือ สเหตุกกามาวจรวิบากจิต 8 (จิตอันเป็นผลของมหากุศล หรือวิบากจิตที่เป็นไปในกามภูมิ มีสัมปยุตตเหตุ — resultant consc)
                      (เหมือนกับมหากุศลจิตทุกข้อ)

               มหากิริยาจิต หรือ สเหตุกกามาวจรกริยาจิต 8 (จิตอันเป็นกริยาอย่างที่ทำมหากุศล แต่ไม่มีวิบาก ได้แก่การกระทำมหากุศลของพระอรหันต์ หรือกิริยาจิตในกามภูมิ มีสัมปยุตตเหตุ — functional consc)
                      (เหมือนกับมหากุศลจิตทุกข้อ)

       2. รูปาวจรจิต 5 (จิตอันเป็นไปในภูมิ — Form-Sphere consciousness)
           1) รูปาวจรกุศลจิต 5 (กุศลจิตที่เป็นไปในภูมิ ได้แก่จิตของผู้เข้าถึงรูปฌาน — Form-Sphere moral consc)
               1. วิตกฺกวิจารปีติสุเขกคฺคตาสหิตํ ปฐมชฺฌานกุสลจิตฺตํ
               2. วิจารปีติสุเขกคฺคตาสหิตํ ทุติยชฺฌานกุสลจิตฺตํ
               3. ปีติสุเขกคฺคตาสหิตํ ตติยชฺฌานกุสลจิตฺตํ
               4. สุเขกคฺคตาสหิตํ จตุตฺถชฺฌานกุสลจิตฺตํ
               5. อุเปกฺเขกคฺคตาสหิตํ ปญฺจมชฺฌานกุสลจิตฺตํ

               1. ปฐมฌานกุศลจิต ที่ประกอบด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
               2. ทุติยฌานกุศลจิต ที่ประกอบด้วย วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
               3. ตติยฌานกุศลจิต ที่ประกอบด้วย ปีติ สุข เอกัคคตา
               4. จตุตถฌานกุศลจิต ที่ประกอบด้วย สุข เอกัคคตา
               5. ปัญจมฌานกุศลจิต ที่ประกอบด้วย อุเบกขา เอกัคคตา

               1. First Jhana consc with initial application, sustained application, rapture, happiness and one-pointedness.
               2. Second Jhana consc with sustained application, rapture, happiness and one-pointedness.
               3. Third Jhana consc with rapture, happiness and one-pointedness.
               4. Fourth Jhana consc with happiness and one-pointedness.
               5. Fifth Jhana consc with equanimity and one-pointedness.

           2) รูปาวจรวิบากจิต 5 (วิบากจิตที่เป็นไปในรูปภูมิ คือ จิตที่เป็นผลของรูปาวจรกุศล — Form-Sphere resultant consc)
               (เหมือนกับรูปาวจรกุศลจิตทุกข้อ เปลี่ยนแต่คำท้ายเป็น วิปากจิตฺตํ)

           3) รูปาวจรกิริยาจิต 5 (กิริยาจิตที่เป็นไปในรูปภูมิ คือ จิตของพระอรหันต์ผู้กระทำรูปาวจรกุศล — Form-Sphere resultant consc)
               (เหมือนกับรูปาวจรกุศลจิตทุกข้อ เปลี่ยนแต่คำท้ายเป็น กฺริยาจิตฺตํ)

       3. อรูปาวจรจิต 12 (จิตที่เป็นไปในอรูปภูมิ — Formless-Sphere consc)
           1) อรูปาวจรกุศลจิต 4 (กุศลจิตที่เป็นไปในอรูปภูมิ ได้แก่ จิตของผู้เข้าถึงอรูปฌาน — Formless-Sphere moral consc)
               1. อากาสานญฺจายตนกุสลจิตฺตํ
               2. วิญฺญาณญฺจายตนกุสลจิตฺตํ
               3. อากิญฺจญฺญายตนกุสลจิตฺตํ
               4. เนวสญฺญานาสญฺญายตนกุสลจิตฺตํ

               1. กุศลจิตประกอบด้วยอากาสานัญจายตนฌาน
               2. กุศลจิตประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนฌาน
               3. กุศลจิตประกอบด้วยอากิญจัญญายตนฌาน
               4. กุศลจิตประกอบด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน

               1. Moral Jhana consc dwelling on the infinity of space.
               2. Moral Jhana consc dwelling on the infinity of consciousness.
               3. Moral Jhana consc dwelling on nothingness.
               4. Moral Jhana consc wherein perception neither is nor is not.

           2) อรูปาวจรวิบากจิต (วิบากจิตที่เป็นไปในอรูปภูมิ คือ จิตที่เป็นผลของอรูปาวจรกุศล — Formless-Sphere resultant consc)
               (เหมือนกับอรูปาวจรกุศลจิตทุกข้อ เปลี่ยนแต่คำท้ายเป็น วิปากจิตฺตํ)

           3) อรูปาวจรกิริยาจิต (กิริยาจิตที่เป็นไปในอรูปภูมิ คือ จิตของพระอรหันต์ ผู้กระทำอรูปาวจรกุศล — Formless-Sphere functional consc)
               (เหมือนกับอรูปาวจรกุศลจิตทุกข้อ เปลี่ยนแต่คำท้ายเป็น กฺริยาจิตฺตํ)

       4. โลกุตตรจิต 8 หรือ 40 (จิตที่เป็นโลกุตตระ — supermundane consc)
           1) โลกุตตรกุศลจิต 4 หรือ 20 (กุศลจิตที่เป็นโลกุตตระ คือ กุศลจิตที่ทำให้ข้ามพ้นอยู่เหนือโลก — moral supermundane consc)
               1. โสตาปตฺติมคฺคจิตฺตํ
               2. สกทาคามิมคฺคจิตฺตํ
               3. อนาคามิมคฺคจิตฺตํ
               4. อรหตฺตมคฺคจิตฺตํ

               1. จิตที่ประกอบด้วยโสตาปัตติมัคคญาณ คือ กุศลจิตที่เป็นทางให้ถึงกระแสอันไหลไปสู่นิพพานธาตุ
               2. จิตที่ประกอบด้วยสกทาคามิมัคคญาณ คือ กุศลจิตที่เป็นทางให้ถึงความเป็นพระสกทาคามี
               3. จิตที่ประกอบด้วยอนาคามิมัคคญาณ คือ กุศลจิตที่เป็นทางให้ถึงความเป็นพระอนาคามี
               4. จิตที่ประกอบด้วยอรหัตตมัคคญาณ คือ กุศลจิตที่เป็นทางให้ถึงความเป็นพระอรหันต์

               1. Consc belonging to the Path of Stream-Entry.
               2. Consc belonging to the Path of Once-Returning.
               3. Consc belonging to the Path of Non-Returning.
               4. Consc belonging to the Path of Arahantship.

           อย่างพิสดาร ให้แจกมัคคจิต 4 นี้ ด้วยฌาน 5 ตามลำดับ ก็จะได้จำนวน 20 ตามตัวอย่างดังนี้
               วิตกฺกวิจารปีติสุเขกคฺคตาสหิตํ ปฐมชฺฌานโสตาปตฺติมคฺคจิตฺตํ ฯลฯ

           2) โลกุตตรวิบากจิต 4 หรือ 20 (วิบากจิตที่เป็นโลกุตตระ คือ จิตที่เป็นผลของโลกุตตรกุศล — resultant supermundane consc)
               1. โสตาปตฺติผลจิตฺตํ
               2. สกทาคามิผลจิตฺตํ
               3. อนาคามิผลจิตฺตํ
               4. อรหตฺตผลจิตฺตํ

               1. จิตที่ประกอบด้วยโสตาปัตติผลญาณ
               2. จิตที่ประกอบด้วยสกทาคามิผลญาณ
               3. จิตที่ประกอบด้วยอนาคามิผลญาณ
               4. จิตที่ประกอบด้วยอรหัตตผลญาณ

               1. Consc belonging to the Fruition of Stream-Entry.
               2. Consc belonging to the Fruition of Once-Returning.
               3. Consc belonging to the Fruition of Non-Returning.
               4. Consc belonging to the Fruition of Arahantship.

           อย่างพิสดาร ให้แจกผลจิต 4 นี้ ด้วยฌาน 5 ตามลำดับ ก็จะได้จำนวน 20 ตามตัวอย่างดังนี้
               วิตกฺกวิจารปีติสุเขกคฺคตาสหิตํ ปฐมชฺฌานโสตาปตฺติผลจิตฺตํ ฯลฯ

Comp.81-93. สงฺคห. 1-6.


พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=จิต
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=%A8%D4%B5


บันทึก  ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗,  ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๓๕, พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]