ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ กาม ”             ผลการค้นหาพบ  4  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 4
[5] กาม 2 (ความใคร่, ความอยาก, ความปรารถนา, สิ่งที่น่าใคร่น่าปรารถนา - sensuality)
       1. กิเลสกาม (กิเลสที่ทำให้ใคร่, ความอยากที่เป็นตัวกิเลส - subjective sensuality)
       2. วัตถุกาม (วัตถุอันน่าใคร่, สิ่งที่น่าปรารถนา, สิ่งที่อยากได้, กามคุณ -objective sensuality)

Ndi2 ขุ. มหา. 29/2/1

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 4
[6] กามคุณ 5 (ส่วนที่น่าใคร่น่าปรารถนา, ส่วนที่ดีหรือส่วนอร่อยของกาม - sensual pleasures; sensual objects)
       1. รูปะ (รูป - form; visible object)
       2. สัททะ (เสียง - sound)
       3. คันธะ (กลิ่น - smell; odor)
       4. รสะ (รส - taste)
       5. โผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย - touch; tangible object)

       ห้าอย่างนี้ เฉพาะส่วนที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ (agreeable, delightful, pleasurable) เรียกว่า กามคุณ

M.I. 85,173 ม.มู. 12/197/168; 327/333.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 4
[192] สุขของคฤหัสถ์ หรือ คิหิสุข หรือ กามโภคีสุข 4 (สุขของชาวบ้าน, สุขที่ชาวบ้านควรพยายามเข้าถึงให้ได้สม่ำเสมอ, สุขอันชอบธรรมที่ผู้ครองเรือนควรมี - house-life happiness; deserved bliss of a layman)
       1. อัตถิสุข (สุขเกิดจากความมีทรัพย์ คือ ความภูมิใจ เอิบอิ่มใจ ว่าตนโภคทรัพย์ที่ได้มาด้วยน้ำพักน้ำแรงความขยันหมั่นเพียรของตน และโดยชอบธรรม - bliss of ownership)
       2. โภคสุข (สุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์ คือ ความภูมิใจ เอิบอิ่มใจ ว่าตนได้ใช้ทรัพย์ที่ได้มาโดยชอบนั้น เลี้ยงชีพ เลี้ยงผู้ควรเลี้ยง และบำเพ็ญประโยชน์ - bliss of enjoyment)
       3. อนณสุข (สุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้ คือ ความภูมิใจ เอิบอิ่มใจ ว่าตนเป็นไท ไม่มีหนี้สินติดค้างใคร - bliss of debtlessness)
       4. อนวัชชสุข (สุขเกิดจากความประพฤติไม่มีโทษ คือ ความภูมิใจ เอิบอิ่มใจ ว่าตนมีความประพฤติสุจริต ไม่บกพร่องเสียหาย ใครๆ ติเตียนไม่ได้ ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ - bliss of blamelessness)

       บรรดาสุข 4 อย่างนี้ อนวัชชสุข มีค่ามากที่สุด

A.II.69. องฺ.จตุกฺก. 21/62/90

[***] สุหทมิตร 4 ดู [169] สุหทมิตร 4.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 4
[316] กามโภคี 10 (ผู้บริโภคกาม, ผู้ครองเรือน, คฤหัสถ์ — enjoyers of sense-pleasures; laymen; householders)
       กลุ่มที่ 1 แสวงหาไม่ชอบธรรม (those seeking wealth unlawfully and arbitrarily)
           1. พวกหนึ่งแสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม โดยทารุณข่มขี่, ได้มาแล้วไม่เลี้ยงตนให้อิ่มหนำเป็นสุข, ทั้งไม่แจกจ่ายแบ่งปันและไม่ใช้ทำกรรมดี (So seeking wealth, a certain one neither makes himself happy and cheerful, nor does he share with others, nor does he do meritorious deeds.)
           2. พวกหนึ่งแสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม โดยทารุณข่มขี่, ได้มาแล้วเลี้ยงตนให้อิ่มหนำเป็นสุข, แต่ไม่แจกจ่ายแบ่งปัน และไม่ใช้ทำกรรมดี (So seeking wealth, a certain one makes himself happy and cheerful, but he does not share with others and does no meritorious deeds.)
           3. พวกหนึ่งแสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม โดยทารุณข่มขี่, ได้มาแล้ว เลี้ยงตนให้อิ่มหนำเป็นสุขด้วย, แจกจ่ายแบ่งปัน และใช้ทำกรรมดีด้วย (So seeking wealth, a certain one does make himself happy and cheerful, he does share with others and does meritorious deeds.)

       (พวกที่ 1 ควรตำหนิทั้ง 3 สถาน; พวกที่ 2 ตำหนิ 2 สถาน ชม 1 สถาน; พวกที่ 3 ตำหนิ 1 สถาน ชม 2 สถาน — These are blameworthy in three, two and one respect, and praiseworthy in none, one and two respects respectively.)

       กลุ่มที่ 2 แสวงหาชอบธรรมบ้าง ไม่ชอบธรรมบ้าง (Those seeking wealth both lawfully and unlawfully, arbitrarily and unarbitrarily)
           4. พวกหนึ่งแสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรมบ้างไม่ชอบธรรมบ้าง ทารุณข่มขี่บ้าง ไม่ทารุณข่มขี่บ้าง, ได้มาแล้วไม่เลี้ยงตนให้อิ่มหนำเป็นสุข. ไม่แจกจ่ายแบ่งปันและไม่ใช้ทำกรรมดี (Same as 1)
           5. พวกหนึ่งแสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรมบ้าง ไม่ชอบธรรมบ้าง ทารุณข่มขี่บ้าง ไม่ทารุณข่มขี่บ้าง, ได้มาแล้วเลี้ยงตนให้อิ่มหนำเป็นสุข, แต่ไม่แจกจ่ายแบ่งปันและไม่ใช้ทำกรรมดี (Same as 2)
           6. พวกหนึ่งแสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรมบ้าง ไม่ชอบธรรมบ้าง โดยทารุณข่มขี่บ้าง ไม่ทารุณข่มขี่บ้าง, ได้มาแล้วเลี้ยงตนให้อิ่มหนำเป็นสุข, ทั้งแจกจ่ายแบ่งปัน และใช้ทำกรรมดี (Same as 3)

       (พวกที่ 4 ควรตำหนิ 3 สถาน ชม 1 สถาน; พวกที่ 5 ตำหนิ 2 สถาน ชม 2 สถาน; พวกที่ 6 ตำหนิ 1 สถาน ชม 3 สถาน — These are blameworthy in three, two and one respect, and praiseworthy in one, two and three respects respectively.)

       กลุ่มที่ 3 แสวงหาชอบธรรม (those seeking wealth lawfully and unarbitrarily)
           7. พวกหนึ่งแสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม ไม่ทารุณข่มขี่, ได้มาแล้วไม่เลี้ยงตนให้อิ่มหนำเป็นสุข, ไม่แจกจ่ายแบ่งเป็น ไม่ใช้ทำความดี (Same as 1)
           8. พวกหนึ่งแสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม ไม่ทารุณข่มขี่, ได้มาแล้วเลี้ยงตนให้อิ่มหนำเป็นสุข, แต่ไม่แจกจ่ายแบ่งปัน และไม่ใช้ทำความดี (Same as 2)
           9. พวกหนึ่งแสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม ไม่ทารุณข่มขี่, ได้มาแล้วก็เลี้ยงตนให้อิ่มหนำเป็นสุขด้วย, ทั้งแจกจ่ายแบ่งปันและใช้ทำความดีด้วย; แต่เขายังจิตยังสยบมัวเมา ยังหมกมุ่น บริโภคโภคะเหล่านั้นโดยไม่รู้เท่าทันเห็นโทษ ไม่มีปัญญาทำตนให้เป็นอิสระหลุดพ้นเป็นนายเหนือโภคทรัพย์ (Same as 3. But he makes use of his wealth with greed and longing, is infatuated therewith, heedless of danger, lacking the insight to achieve spiritual freedom.)

       (พวกที่ 7 ควรตำหนิ 2 สถาน ชม 1 สถาน; พวกที่ 8 ตำหนิ 1 สถาน ชม 2 สถาน; พวกที่ 9 ชม 3 สถาน ตำหนิ 1 สถาน — These are blameworthy in two, one and one respect, and praiseworthy in one, two and three respects respectively.)

       พวกพิเศษ : แสวงหาชอบธรรม และใช้อย่างรู้เท่าทันเป็นอิสระ
           10. พวกหนึ่งแสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม ไม่ทารุณข่มขี่, ได้มาแล้วก็เลี้ยงตนให้อิ่มหนำเป็นสุข, แจกจ่ายแบ่งปันและใช้ทำความดีด้วย; ไม่สยบมัวเมา ไม่หมกมุ่น บริโภคโภคะเหล่านั้น โดยรู้เท่าทันเห็นโทษ มีปัญญาทำตนให้เป็นอิสระหลุดพ้น เป็นนายเหนือโภคทรัพย์ (Seeking wealth lawfully and unarbitrarily, a certain one does make himself happy and cheerful, he does share with others and does meritorious deeds. Moreover, he makes use of his wealth without greed and longing, without infatuation, is heedful of danger and possesed of the insight that keeps for himself spiritual freedom.)

       (พวกที่ 10 นี้ ทรงสรรเสริญว่าเป็นผู้เลิศ ประเสริฐ สูงสุด ควรชมทั้ง 4 สถาน — Of These ten this one is the best, the greatest and the noblest, being praiseworthy in all the four respects.)

S.IV.331;
A.V.176
สํ.สฬ. 18/631-643/408-415;
องฺ.ทสก. 24/91/188


พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=กาม
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=%A1%D2%C1


บันทึก  ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗,  ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๓๕, พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]