ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ ทิฏฐิ ”             ผลการค้นหาพบ  4  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 4
[13] ทิฏฐิ 2 (ความเห็น, ความเห็นผิด - view; false view)
       1. สัสสตทิฏฐิ (ความเห็นว่าเที่ยง, ความเห็นว่าอัตตาและโลกเที่ยงแท้ยั่งยืนคงอยู่ตลอดไป - eternalism)
       2. อุจเฉททิฏฐิ (ความเห็นว่าขาดสูญ, ความเห็นว่าอัตตาและโลกซึ่งจักพินาศขาดสูญหมดสิ้นไป - annihilationism)

S.III.97. สํ.ข. 17/179-180/120.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 4
[14] ทิฏฐิ 3 (ความเห็น, ความเห็นผิด - view; false view)
       1. อกิริยทิฏฐิ (ความเห็นว่าไม่เป็นอันทำ, เห็นว่าการกระทำไม่มีผล - view of the inefficacy of action)
       2. อเหตุกทิฏฐิ (ความเห็นว่าไม่มีเหตุ, เห็นว่าสิ่งทั้งหลายไม่มีเหตุปัจจัย - view of non-causality)
       3. นัตถิกทิฏฐิ (ความเห็นว่าไม่มี, เห็นว่าไม่มีการกระทำหรือสภาวะที่จะกำหนดเอาเป็นหลักได้ - nihilistic view; nihilism)

M.I.404. ม.ม. 13/105/111.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 4
[34] ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ 2 (ทางเกิดแห่งแนวคิดที่ถูกต้อง, ต้นทางของความดีงามทั้งปวง : sources or conditions for the arising of right view)
       1. ปรโตโฆสะ (เสียงจากผู้อื่น การกระตุ้นหรือชักจูงจากภายนอก คือ การรับฟังคำแนะนำสั่งสอน เล่าเรียนความรู้ สนทนาซักถาม ฟังคำบอกเล่าชักจูงของผู้อื่น โดยเฉพาะการสดับสัทธรรมจากท่านผู้เป็นกัลยาณมิตร : another’ s utterance; inducement by others; hearing or learning from others)
       2. โยนิโสมนสิการ (การใช้ความคิดถูกวิธี ความรู้จักคิด คิดเป็น คือกระทำในใจโดยแยบคาย มองสิ่งทั้งหลายด้วยความคิดพิจารณา รู้จักสืบสาวหาเหตุผล แยกแยะสิ่งนั้นๆ หรือปัญหานั้นๆ ออก ให้เห็นตามสภาวะและตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย : reasoned attention; systematic attention; genetical reflection; analytical reflection)

       ข้อธรรม 2 อย่างนี้ ได้แก่ ธรรมหมวดที่ [1] และ [2] นั่นเอง แปลอย่างปัจจุบันว่า “องค์ประกอบของการศึกษา” หรือ “บุพภาคของการศึกษา” โดยเฉพาะข้อที่ 1 ในที่นี้ใช้คำกว้างๆ แต่ธรรมที่ต้องการเน้น ก็คือ กัลยาณมิตตตา
       ปัจจัยให้เกิดมิจฉาทิฏฐิ ก็มี 2 อย่าง คือ ปรโตโฆสะ และ อโยนิโสมนสิการ ซึ่งตรงข้ามกับที่กล่าวมานี้.

M.I.294;
A.I.87.
ม.มู. 12/497/539;
องฺ.ทุก. 20/371/110.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 4
[337] อันตคาหิกทิฏฐิ 10 (ความเห็นอันถือเอาที่สุด, ความเห็นผิดที่แล่นไปสุดโต่งข้างใดข้างหนึ่ง — the ten erroneous extremist views) คือเห็นว่า
       1. โลกเที่ยง (The world is eternal.)
       2. โลกไม่เที่ยง (The world is not eternal.)
       3. โลกมีที่สุด (The world is finite.)
       4. โลกไม่มีที่สุด (The world is infinite.)
       5. ชีวะก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น (The soul and the body are identical.)
       6. ชีวะก็อย่างหนึ่ง สรีระก็อย่างหนึ่ง (The soul is one thing and the body is another.)
       7. ตถาคตเบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมเป็นอีก (The Tathagata is after death.)
       8. ตถาคตเบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมไม่เป็นอีก (The Tathagata is not after death.)
       9. ตถาคตเบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมเป็นอีก ก็ใช่ ไม่เป็นอีก ก็ใช่ (The Tathagata both is and is not after death.)
       10. ตถาคตเบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมเป็นอีก ก็มิใช่ ย่อมไม่เป็นอีก ก็มิใช่ (The Tathagata neither is nor is not after death.)

       คำว่า ตถาคต ในที่นี้ อรรถกถาบางแห่งว่าหมายถึงสัตว์ (เช่น ม.อ. 3/135; สงฺคณี.อ. 528) บางแห่งว่า อัตตา หรืออาตมัน (อุ.อ. 430) บางแห่งว่าพระพุทธเจ้า (สํ.อ. 3/192)

M.I.426;
S.IV.392;
A.V.193;
Ps.I.151;
Vbh.392
ม.ม. 13/147/143;
สํ.สฬ. 18/788/476;
องฺ.ทสก. 24/193/206;
ขุ.ปฏิ. 31/337/226;
อภิ.วิ. 35/1032/529


พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ทิฏฐิ
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=%B7%D4%AF%B0%D4


บันทึก  ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗,  ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๓๕, พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]