ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ สุภกิณห ”             ผลการค้นหาพบ  2  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 2
[284] วิญญาณฐิติ 7 (ภูมิเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณ — abodes or supports of consciousness)
       1. สัตว์บางพวก มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน เช่น พวกมนุษย์ เทพบางเหล่า วินิปาติกะ (เปรต) บางเหล่า (beings different in body and in perception)
       2. สัตว์บางพวก มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น เหล่าเทพจำพวกพรหม ผู้เกิดในภูมิปฐมฌาน (beings different in body, but equal in perception)
       3. สัตว์บางพวก มีกายอย่างเดียวกัน แต่มีสัญญาต่างกัน เช่น พวกเทพอาภัสสระ (beings equal in body, but different in perception)
       4. สัตว์บางพวก มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น พวกเทพสุภกิณหะ (beings equal in body and in perception)
       5. สัตว์บางพวก ผู้เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะ (beings reborn in the sphere of Boundless Space)
       6. สัตว์บางพวก ผู้เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะ (beings reborn in the sphere of Boundless Consciousness)
       7. สัตว์บางพวก ผู้เข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะ (beings reborn in the sphere of Nothingness)

D.III.253;
A.IV.39.
ที.ปา. 11/335/265;
องฺ.สตฺตก. 23/41/41

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 2
[351] ภูมิ 4 หรือ 31 (ชั้นแห่งจิต, ระดับจิตใจ, ระดับชีวิต — planes of existence; planes of life)
       1. อบายภูมิ 4 (ภูมิที่ปราศจากความเจริญ — planes of loss and woe; unhappy planes)
           1) นิรยะ (นรก — woeful state; hell)
           2) ติรัจฉานโยนิ (กำเนิดดิรัจฉาน — animal kingdom)
           3) ปิตติวิสัย (แดนเปรต — ghost-sphere)
           4) อสุรกาย (พวกอสูร — host of demons)

       2. กามสุคติภูมิ 7 (กามาวจรภูมิที่เป็นสุคติ, ภูมิที่เป็นสุคติซึ่งยังเกี่ยวข้องกับกาม — sensuous blissful planes)
           1) มนุษย์ (ชาวมนุษย์ — human realm)
           2) จาตุมมหาราชิกา (สวรรค์ชั้นที่ท้าวมหาราช 4 ปกครอง — realm of the Four Great Kings)
           3) ดาวดึงส์ (แดนแห่งเทพ 33 มีท้าวสักกะเป็นใหญ่ — realm of the Thirty-three Gods)
           4) ยามา (แดนแห่งเทพผู้ปราศจากความทุกข์ — realm of the Yama gods)
           5) ดุสิต (แดนแห่งเทพผู้เอิบอิ่มด้วยสิริสมบัติของตน — realm of satisfied gods)
           6) นิมมานรดี (แดนแห่งเทพผู้ยินดีในการเนรมิต — realm of the gods who rejoice in their own creations)
           7) ปรนิมมิตวสวัตดี (แดนแห่งเทพผู้ยังอำนาจให้เป็นไปในสมบัติที่ผู้อื่นนิรมิตให้ — realm of gods who lord over the creation of others)

       ภูมิทั้ง 11 ใน 2 หมวดนี้ รวมเป็น กามาวจรภูมิ 11 (ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในกาม — sensuous planes)

       3. รูปาวจรภูมิ 16 (ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในรูป, ชั้นรูปพรหม — form-planes)
       ก. ปฐมฌานภูมิ 3 (ระดับปฐมฌาน — first-Jhana planes)
           1) พรหมปาริสัชชา (พวกบริษัทบริวารมหาพรหม — realm of great Brahmas’ attendants)
           2) พรหมปุโรหิตา (พวกปุโรหิตมหาพรหม — realm of great Brahmas’ ministers)
           3) มหาพรหม (พวกท้าวมหาพรหม — realm of great Brahmas)

       ข. ทุติยฌานภูมิ 3 (ระดับทุติยฌาน — second-Jhana planes)
           4) ปริตตาภา (พวกมีรัศมีน้อย — realm of Brahmas with limited lustre)
           5) อัปปมาณาภา (พวกมีรัศมีประมาณไม่ได้ — realm of Brahmas with infinite lustre)
           6) อาภัสสรา (พวกมีรัศมีสุกปลั่งซ่านไป — realm of Brahmas with radiant lustre)

       ค. ตติยฌานภูมิ 3 (ระดับตติยฌาน — third-Jhana planes)
           7) ปริตตสุภา (พวกมีลำรัศมีงามน้อย — realm of Brahmas with limited aura)
           8) อัปปมาณสุภา (พวกมีลำรัศมีงามประมาณหามิได้ — realm of Brahmas with infinite aura)
           9) สุภกิณหา (พวกมีลำรัศมีงามกระจ่างจ้า — realm of Brahmas with steady aura)

       ง. จตุตถฌานภูมิ 3—7 (ระดับจตุตถฌาน — fourth-Jhana planes)
           10) เวหัปผลา (พวกมีผลไพบูลย์ — realm of Brahmas with abundant reward)
           11) อสัญญีสัตว์ (พวกสัตว์ไม่มีสัญญา — realm of non-percipient beings)

       (*) สุทธาวาส 5 (พวกมีที่อยู่อันบริสุทธิ์ หรือ ที่อยู่ของท่านผู้บริสุทธิ์ คือ ที่เกิดของพระอนาคามี — pure abodes) คือ
           12) อวิหา (เหล่าท่านผู้ไม่เสื่อมจากสมบัติของตน หรือผู้ไม่ละไปเร็ว, ผู้คงอยู่นาน — realm of Brahmas who do not fall from prosperity)
           13) อตัปปา (เหล่าท่านผู้ไม่ทำความเดือดร้อนแก่ใคร หรือผู้ไม่เดือดร้อนกับใคร — realm of Brahmas who are serene)
           14) สุทัสสา (เหล่าท่านผู้งดงามน่าทัศนา — realm of Brahmas who are beautiful)
           15) สุทัสสี (เหล่าท่านผู้มองเห็นชัดเจนดี หรือผู้มีทัศนาแจ่มชัด — realm of Brahmas who are clear-sighted)
           16) อกนิฏฐา (เหล่าท่านผู้ไม่มีความด้อยหรือเล็กน้อยกว่าใคร, ผู้สูงสุด — realm of the highest or supreme Brahmas)

       4. อรูปาวจรภูมิ 4 (ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในอรูป, ชั้นอรูปพรหม — formless planes)
           1) อากาสานัญจายตนภูมิ (ชั้นที่เข้าถึงภาวะมีอากาศไม่มีที่สุด — realm of infinite space)
           2) วิญญาณัญจายตนภูมิ (ชั้นที่เข้าถึงภาวะมีวิญญาณไม่มีที่สุด — realm of infinite consciousness)
           3) อากิญจัญญายตนภูมิ (ชั้นที่เข้าถึงภาวะไม่มีอะไร — realm of nothingness)
           4) เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ (ชั้นที่เข้าถึงภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ — realm of neither perception nor non-perception)

       ปุถุชน พระโสดาบัน และพระสกทาคามี ย่อมไม่เกิดในสุทธาวาสภูมิ; พระอริยะไม่เกิดในอสัญญีภพ และในอบายภูมิ; ในภูมินอกจากนี้ ย่อมมีทั้งพระอริยะ และมิใช่อริยะไปเกิด.
       ในพระไตรปิฎก ไม่พบที่ใดแสดงรายชื่อภูมิทั้งหลายไว้ทั้งหมดในที่เดียว บาลีแสดงรายชื่อภูมิมากที่สุด (มีเฉพาะชั้นสุคติภูมิ) พบที่ ม.อุ. 14/318-332/216-225 (M.III. 99-103) กล่าวตั้งแต่มนุษย์ขึ้นไปจนถึงอรูปาวจรภูมิ.
       ในบาลีแห่งทีฆนิกาย เป็นต้น* แสดงคติ (ที่ไปเกิดของสัตว์, แบบการดำเนินชีวิต — destiny; course of existence) ว่ามี 5 คือ นิรยะ ติรัจฉานโยนิ เปตติวิสัย มนุษย์ และเทพ (พวกเทพ — heavenly world ได้แก่ภูมิ 26 ตั้งแต่จาตุมหาราชิกาขึ้นไปทั้งหมด) จะเห็นว่าภูมิ 31 สงเคราะห์ลงได้ในคติ 5 ทั้งหมด ขาดแต่อสุรกาย อย่างไรก็ดีในอรรถกถาแห่งอิติวุตตกะ** ท่านกล่าวว่า อสูร สงเคราะห์ลงในเปตตวิสัยด้วย จึงเป็นอันสงเคราะห์ลงได้บริบูรณ์ และในคติ 5 นั้น 3 คติแรกจัดเป็นทุคติ (woeful courses) 2 คติหลังเป็นสุคติ (happy courses).
* ที.ปา. 11/281/246; ม.มู 12/170/148; องฺ.นวก. 23/272/450 (D.III.234; M.I.73; A.IV.459)
** อุ.อ. 174; อิติ.อ. 168 (approx., UdA.140; ItA.101)

       อนึ่ง พึงเทียบภูมิ 4 หรือ ภูมิ 31 ข้อนี้ กับ [162] ภูมิ 4 ที่มาในพระบาลีด้วย กล่าวคือ ภูมิ 4 หรือ 31 ชุดนี้ จัดเข้าในภูมิ 3 ข้อต้นใน [162] ภูมิ 4 ดังนี้ อบายภูมิ 4 และกามสุคติภูมิ 7 รวมเข้าเป็นกามาวจรภูมิ (11) ส่วนรูปาวจรภูมิ (16) และ อรูปาวจรภูมิ (4) ตรงกัน รวมภูมิทั้งหมด 31 นี้ เป็นโลกียภูมิ พ้นจากนี้ไปเป็นโลกุตตรภูมิ

       ดู [162] ภูมิ 4; [198] อบาย 4; [207] อรูป 4; [270] สวรรค์ 6.

Comp.137. สงฺคห. 25.


พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สุภกิณห&detail=on
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=%CA%D8%C0%A1%D4%B3%CB&detail=on


บันทึก  ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗,  ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๓๕, พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]