ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ อากิญจัญญายตน ”             ผลการค้นหาพบ  5  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 5
[207] อรูป หรือ อารุปป์ 4 (ฌานมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์ คืออรูปฌาน, ภพของสัตว์ผู้เข้าถึงอรูปฌาน, ภพของอรูปพรหม - absorptions of the Formless Sphere; the Formless Spheres; immaterial states)
       1. อากาสานัญจายตนะ (ฌานอันกำหนดอากาศคือช่องว่างหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ หรือภพของผู้เข้าถึงฌานนี้ - sphere of infinity of space)
       2. วิญญาณัญจายตนะ (ฌานอันกำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ หรือภพของผู้เข้าถึงฌานนี้ - sphere of infinity of consciousness)
       3. อากิญจัญญายตนะ (ฌานอันกำหนดภาวะที่ไม่มีอะไรๆ เป็นอารมณ์ หรือภพของผู้เข้าถึงฌานนี้ - sphere of nothingness)
       4. เนวสัญญานาสัญญายตนะ (ฌานอันเข้าถึงภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ หรือภพของผู้เข้าถึงฌานนี้ - sphere of neither perception nor non-perception)

D.III.224;
S.IV.227.
ที.ปา. 11/235/235;
สํ.สฬ. 18/519/326.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 5
[284] วิญญาณฐิติ 7 (ภูมิเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณ — abodes or supports of consciousness)
       1. สัตว์บางพวก มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน เช่น พวกมนุษย์ เทพบางเหล่า วินิปาติกะ (เปรต) บางเหล่า (beings different in body and in perception)
       2. สัตว์บางพวก มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น เหล่าเทพจำพวกพรหม ผู้เกิดในภูมิปฐมฌาน (beings different in body, but equal in perception)
       3. สัตว์บางพวก มีกายอย่างเดียวกัน แต่มีสัญญาต่างกัน เช่น พวกเทพอาภัสสระ (beings equal in body, but different in perception)
       4. สัตว์บางพวก มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น พวกเทพสุภกิณหะ (beings equal in body and in perception)
       5. สัตว์บางพวก ผู้เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะ (beings reborn in the sphere of Boundless Space)
       6. สัตว์บางพวก ผู้เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะ (beings reborn in the sphere of Boundless Consciousness)
       7. สัตว์บางพวก ผู้เข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะ (beings reborn in the sphere of Nothingness)

D.III.253;
A.IV.39.
ที.ปา. 11/335/265;
องฺ.สตฺตก. 23/41/41

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 5
[298] วิโมกข์ 8 (ความหลุดพ้น, ภาวะที่จิตปลอดพ้นจากสิ่งรบกวนและน้อมดิ่งเข้าไปในอารมณ์นั้นๆ อย่างปล่อยตัวเต็มที่ ซึ่งเป็นไปในขั้นตอนต่างๆ — liberations; the eight stages of release)
       1. ผู้มีรูป มองเห็นรูปทั้งหลาย (ได้แก่ รูปฌาน 4 ของผู้ได้ฌานโดยเจริญกสิณที่กำหนดวัตถุในกายของตน เช่น สีผม — Remaining in the fine-material sphere, one perceives corporeal forms.)
       2. ผู้มีอรูปสัญญาภายใน มองเห็นรูปทั้งหลายภายนอก (ได้แก่ รูปฌาน 4 ของผู้ได้ฌานโดยเจริญกสิณกำหนดอารมณ์ภายนอก — Not perceiving internal corporeal forms, one perceives corporeal forms externally)
       3. ผู้น้อมใจดิ่งไปว่า “งาม” (ได้แก่ ฌานของผู้เจริญวรรณกสิณ กำหนดสีที่งามหรือเจริญอัปปมัญญา — One is intent on the thought, ‘It is beautiful’.)
       4. เพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไป เพราะไม่ใส่ใจนานัตตสัญญา จึงเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ โดยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ (One attains and abides in the Sphere of Unbounded Space.)
       5. เพราะล่วงเสียซึ่งอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ โดยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ (One attains and abides in the Sphere of Unbounded Consciousness.)
       6. เพราะล่วงเสียซึ่งวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงอากิญจัญญายตนะ โดยมนสิการว่า ไม่มีอะไรเลย (One attains and abides in the Sphere of Nothingness.)
       7. เพราะล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะอยู่ (One attatins and abides in the Sphere of Neither-Perception-Nor-Nonperception.)
       8. เพราะล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ (One attains and abides in the cessation of Perception and Feeling.)

D.III.262, 288;
A.IV.306.
ที.ปา. 11/350/276; 453/328;
องฺ.อฏฺฐก. 23/163/315.

[***] ศีล 8 ดู [240] ศีล 8.
[***] ศีล 8 ทั้งอาชีวะ ดู [241] ศีล 8 ทั้งอาชีวะ.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 5
[351] ภูมิ 4 หรือ 31 (ชั้นแห่งจิต, ระดับจิตใจ, ระดับชีวิต — planes of existence; planes of life)
       1. อบายภูมิ 4 (ภูมิที่ปราศจากความเจริญ — planes of loss and woe; unhappy planes)
           1) นิรยะ (นรก — woeful state; hell)
           2) ติรัจฉานโยนิ (กำเนิดดิรัจฉาน — animal kingdom)
           3) ปิตติวิสัย (แดนเปรต — ghost-sphere)
           4) อสุรกาย (พวกอสูร — host of demons)

       2. กามสุคติภูมิ 7 (กามาวจรภูมิที่เป็นสุคติ, ภูมิที่เป็นสุคติซึ่งยังเกี่ยวข้องกับกาม — sensuous blissful planes)
           1) มนุษย์ (ชาวมนุษย์ — human realm)
           2) จาตุมมหาราชิกา (สวรรค์ชั้นที่ท้าวมหาราช 4 ปกครอง — realm of the Four Great Kings)
           3) ดาวดึงส์ (แดนแห่งเทพ 33 มีท้าวสักกะเป็นใหญ่ — realm of the Thirty-three Gods)
           4) ยามา (แดนแห่งเทพผู้ปราศจากความทุกข์ — realm of the Yama gods)
           5) ดุสิต (แดนแห่งเทพผู้เอิบอิ่มด้วยสิริสมบัติของตน — realm of satisfied gods)
           6) นิมมานรดี (แดนแห่งเทพผู้ยินดีในการเนรมิต — realm of the gods who rejoice in their own creations)
           7) ปรนิมมิตวสวัตดี (แดนแห่งเทพผู้ยังอำนาจให้เป็นไปในสมบัติที่ผู้อื่นนิรมิตให้ — realm of gods who lord over the creation of others)

       ภูมิทั้ง 11 ใน 2 หมวดนี้ รวมเป็น กามาวจรภูมิ 11 (ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในกาม — sensuous planes)

       3. รูปาวจรภูมิ 16 (ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในรูป, ชั้นรูปพรหม — form-planes)
       ก. ปฐมฌานภูมิ 3 (ระดับปฐมฌาน — first-Jhana planes)
           1) พรหมปาริสัชชา (พวกบริษัทบริวารมหาพรหม — realm of great Brahmas’ attendants)
           2) พรหมปุโรหิตา (พวกปุโรหิตมหาพรหม — realm of great Brahmas’ ministers)
           3) มหาพรหม (พวกท้าวมหาพรหม — realm of great Brahmas)

       ข. ทุติยฌานภูมิ 3 (ระดับทุติยฌาน — second-Jhana planes)
           4) ปริตตาภา (พวกมีรัศมีน้อย — realm of Brahmas with limited lustre)
           5) อัปปมาณาภา (พวกมีรัศมีประมาณไม่ได้ — realm of Brahmas with infinite lustre)
           6) อาภัสสรา (พวกมีรัศมีสุกปลั่งซ่านไป — realm of Brahmas with radiant lustre)

       ค. ตติยฌานภูมิ 3 (ระดับตติยฌาน — third-Jhana planes)
           7) ปริตตสุภา (พวกมีลำรัศมีงามน้อย — realm of Brahmas with limited aura)
           8) อัปปมาณสุภา (พวกมีลำรัศมีงามประมาณหามิได้ — realm of Brahmas with infinite aura)
           9) สุภกิณหา (พวกมีลำรัศมีงามกระจ่างจ้า — realm of Brahmas with steady aura)

       ง. จตุตถฌานภูมิ 3—7 (ระดับจตุตถฌาน — fourth-Jhana planes)
           10) เวหัปผลา (พวกมีผลไพบูลย์ — realm of Brahmas with abundant reward)
           11) อสัญญีสัตว์ (พวกสัตว์ไม่มีสัญญา — realm of non-percipient beings)

       (*) สุทธาวาส 5 (พวกมีที่อยู่อันบริสุทธิ์ หรือ ที่อยู่ของท่านผู้บริสุทธิ์ คือ ที่เกิดของพระอนาคามี — pure abodes) คือ
           12) อวิหา (เหล่าท่านผู้ไม่เสื่อมจากสมบัติของตน หรือผู้ไม่ละไปเร็ว, ผู้คงอยู่นาน — realm of Brahmas who do not fall from prosperity)
           13) อตัปปา (เหล่าท่านผู้ไม่ทำความเดือดร้อนแก่ใคร หรือผู้ไม่เดือดร้อนกับใคร — realm of Brahmas who are serene)
           14) สุทัสสา (เหล่าท่านผู้งดงามน่าทัศนา — realm of Brahmas who are beautiful)
           15) สุทัสสี (เหล่าท่านผู้มองเห็นชัดเจนดี หรือผู้มีทัศนาแจ่มชัด — realm of Brahmas who are clear-sighted)
           16) อกนิฏฐา (เหล่าท่านผู้ไม่มีความด้อยหรือเล็กน้อยกว่าใคร, ผู้สูงสุด — realm of the highest or supreme Brahmas)

       4. อรูปาวจรภูมิ 4 (ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในอรูป, ชั้นอรูปพรหม — formless planes)
           1) อากาสานัญจายตนภูมิ (ชั้นที่เข้าถึงภาวะมีอากาศไม่มีที่สุด — realm of infinite space)
           2) วิญญาณัญจายตนภูมิ (ชั้นที่เข้าถึงภาวะมีวิญญาณไม่มีที่สุด — realm of infinite consciousness)
           3) อากิญจัญญายตนภูมิ (ชั้นที่เข้าถึงภาวะไม่มีอะไร — realm of nothingness)
           4) เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ (ชั้นที่เข้าถึงภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ — realm of neither perception nor non-perception)

       ปุถุชน พระโสดาบัน และพระสกทาคามี ย่อมไม่เกิดในสุทธาวาสภูมิ; พระอริยะไม่เกิดในอสัญญีภพ และในอบายภูมิ; ในภูมินอกจากนี้ ย่อมมีทั้งพระอริยะ และมิใช่อริยะไปเกิด.
       ในพระไตรปิฎก ไม่พบที่ใดแสดงรายชื่อภูมิทั้งหลายไว้ทั้งหมดในที่เดียว บาลีแสดงรายชื่อภูมิมากที่สุด (มีเฉพาะชั้นสุคติภูมิ) พบที่ ม.อุ. 14/318-332/216-225 (M.III. 99-103) กล่าวตั้งแต่มนุษย์ขึ้นไปจนถึงอรูปาวจรภูมิ.
       ในบาลีแห่งทีฆนิกาย เป็นต้น* แสดงคติ (ที่ไปเกิดของสัตว์, แบบการดำเนินชีวิต — destiny; course of existence) ว่ามี 5 คือ นิรยะ ติรัจฉานโยนิ เปตติวิสัย มนุษย์ และเทพ (พวกเทพ — heavenly world ได้แก่ภูมิ 26 ตั้งแต่จาตุมหาราชิกาขึ้นไปทั้งหมด) จะเห็นว่าภูมิ 31 สงเคราะห์ลงได้ในคติ 5 ทั้งหมด ขาดแต่อสุรกาย อย่างไรก็ดีในอรรถกถาแห่งอิติวุตตกะ** ท่านกล่าวว่า อสูร สงเคราะห์ลงในเปตตวิสัยด้วย จึงเป็นอันสงเคราะห์ลงได้บริบูรณ์ และในคติ 5 นั้น 3 คติแรกจัดเป็นทุคติ (woeful courses) 2 คติหลังเป็นสุคติ (happy courses).
* ที.ปา. 11/281/246; ม.มู 12/170/148; องฺ.นวก. 23/272/450 (D.III.234; M.I.73; A.IV.459)
** อุ.อ. 174; อิติ.อ. 168 (approx., UdA.140; ItA.101)

       อนึ่ง พึงเทียบภูมิ 4 หรือ ภูมิ 31 ข้อนี้ กับ [162] ภูมิ 4 ที่มาในพระบาลีด้วย กล่าวคือ ภูมิ 4 หรือ 31 ชุดนี้ จัดเข้าในภูมิ 3 ข้อต้นใน [162] ภูมิ 4 ดังนี้ อบายภูมิ 4 และกามสุคติภูมิ 7 รวมเข้าเป็นกามาวจรภูมิ (11) ส่วนรูปาวจรภูมิ (16) และ อรูปาวจรภูมิ (4) ตรงกัน รวมภูมิทั้งหมด 31 นี้ เป็นโลกียภูมิ พ้นจากนี้ไปเป็นโลกุตตรภูมิ

       ดู [162] ภูมิ 4; [198] อบาย 4; [207] อรูป 4; [270] สวรรค์ 6.

Comp.137. สงฺคห. 25.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 5
[356] จิต 89 หรือ 121 (ธรรมชาติที่รู้อารมณ์, สภาพที่นึกคิด, ความคิด, ใจ, วิญญาณ — mind; thought; consciousness; a state of consciousness)
       “จิต” มีไวพจน์ คือ คำที่ต่างเพียงรูป แต่มีความหมายเหมือนกันหรือคล้ายกัน ใช้แทนกันได้หลายคำ เช่น มโน มานัส หทัย บัณฑร มนายตนะ มนินทรีย์ และ วิญญาณ เป็นต้น (อภิ.สํ. 34/21/10; ฯลฯ) คำเหล่านี้มีความหมายเกยกัน มิใช่ตรงกันโดยสมบูรณ์ ใช้แทนกันได้ในบางโอกาส มิใช่เสมอไป
       เมื่อจัดแบ่งสภาวธรรมทั้งหลายเป็นประเภทๆ ที่เรียกว่า ขันธ์ 5 จิตได้แก่ วิญญาณขันธ์ แต่ในคัมภีร์อภิธรรมยุคต่อมา นิยมประมวลสภาวธรรมเข้าเป็น 4 อย่าง เรียกว่า ปรมัตถธรรม 4 จิต เป็นปรมัตถธรรมอย่างที่ 1; ดู [157] ปรมัตถธรรม 4; [216] ขันธ์ 5.
       คัมภีร์อภิธรรมรุ่นอรรถกถา ประมวลเรื่องจิตที่แสดงไว้ในพระอภิธรรมปิฎกแล้ว แจงนับสภาพจิตทั้งหลายไว้ว่ามีจำนวน 89 หรือโดยพิสดารมี 121 เรียกว่า จิต 89 หรือ 121
       เบื้องต้นนี้ จะประมวลจิตทั้งหมดไว้เป็นหมวดหมู่ใหญ่ๆ ก่อน เพื่อสะดวกในการศึกษากำหนดจดจำและทบทวนต่อไป ในที่นี้ พึงทราบวิธีจำแนกประเภท 2 แบบ เปรียบเทียบกัน ดังนี้ *
----------------------------------------------
* ท่านเรียบเรียงเป็นคาถาสรุปความไว้ ดังนี้
               ทฺวาทสากุสลาเนว กุสลาเนกวีสติ
               ฉตฺตึเสว วิปากานิ กฺริยาจิตฺตานิ วีสติ ฯ
               จตุปญฺญาสธา กาเม รูเป ปณฺณรสีริเย
               จิตฺตานิ ทฺวาทสารูเป อฏฺฐธานุตฺตเร ตถา ฯ
               อิตฺถเมกูนนวุติปฺ ปเภทํ ปน มานสํ
               เอกวีสสตํ วาถ วิภชนฺติ วิจกฺขณา ฯ

       ก. โดยชาติประเภท
           1. อกุศลจิต 12
               - โลภมูลจิต 8
               - โทสมูลจิต 2
               - โมหมูลจิต 2
           2. กุศลจิต 21 (37)
               - มหากุศลจิต 8
               - รูปาวจรกุศลจิต 5
               - อรูปาวจรกุศลจิต 4
               - โลกุตตรกุศลจิต 4 (20)
           3. วิปากจิต 36 (52)
               - อกุศลวิบากจิต 7
               - กุศลวิบากอเหตุกจิต 8
               - มหาวิบากจิต 8
               - รูปาวจรวิบากจิต 5
               - อรูปาวจรวิบากจิต 4
               - โลกุตตรวิบากจิต 4 (20)
           4. กิริยาจิต 20
               - อเหตุกกิริยาจิต 3
               - มหากิริยาจิต 8
               - รูปาวจรกิริยาจิต 5
               - อรูปาวจรกิริยาจิต 4

       ข. โดยภูมิประเภท
           1. กามาวจรจิต 54
               1) อกุศลจิต 12
                      - โลภมูลจิต 8
                      - โทสมูลจิต 2
                      - โมหมูลจิต 2
               2) อเหตุกจิต 18
                      - อกุศลวิบากจิต 7
                      - กุศลวิบากอเหตุกจิต 8
                      - อเหตุกกิริยาจิต 3
               3) กามาวจรโสภณจิต 24
                      - มหากุศลจิต 8
                      - มหาวิบากจิต 8
                      - มหากิริยาจิต 8
           2. รูปาวจรจิต 15
               1) รูปาวจรกุศลจิต 5
               2) รูปาวจรวิบากจิต 5
               3) รูปาวจรกิริยาจิต 5
           3. อรูปาวจรจิต 12
               1) อรูปาวจรกุศลจิต 4
               2) อรูปาวจรวิบากจิต 4
               3) อรูปาวจรกิริยาจิต 4
           4. โลกุตตรจิต 8 (x ฌาน 5 = 40)
               1) โลกุตตรกุศลจิต 4 (20)
               2) โลกุตตรวิบากจิต 4 (20)

       หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บ ( ) หมายถึงจำนวนอย่างพิสดาร เมื่อนับจิตเป็น 121 (พึงสังเกตว่าจำนวนจะเพิ่มเฉพาะ โลกุตตรจิต อย่างเดียว คือ โลกุตตรจิต อย่างย่อมี 8 อย่างพิสดารจำแนกออกไปตามฌานทั้ง 5 เป็น 40)

       ต่อไปจะแสดง จิต 89 [122] ตามแบบภูมิประเภท (แบบชาติประเภทพึงกำหนดเอาจากแบบภูมิประเภทนี้ ตามหัวข้อที่แสดงไว้แล้ว)
       1. กามาวจรจิต 54 (จิตที่เป็นไปในกามภูมิ — consciousness of the Sense-Sphere)
           1) อกุศลจิต 12 (จิตอันเป็นอกุศล — immoral consciousness) อกุศลจิตมีแต่ที่เป็นกามาวจรนี้เท่านั้น คือ
               โลภมูลจิต 8 (จิตมีโลภะเป็นมูล — consc rooted in greed)
                      1. โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
                      2. โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
                      3. โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
                      4. โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
                      5. อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
                      6. อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
                      7. อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
                      8. อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ

                      1. จิตที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสสเวทนา ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ ไม่มีการชักนำ
                      2. จิตที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสสเวทนา ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ มีการชักนำ
                      3. จิตที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสสเวทนา ไม่ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ ไม่มีการชักนำ
                      4. จิตที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสสเวทนา ไม่ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ มีการชักนำ
                      5. จิตที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ ไม่มีการชักนำ
                      6. จิตที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ มีการชักนำ
                      7. จิตที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา ไม่ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ ไม่มีการชักนำ
                      8. จิตที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา ไม่ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ มีการชักนำ

                      1. One consc, acc by joy, asso with wrong view, unprompted.*
* consc = consciousness; acc = accompanied; asso = associated; diss = dissociated; indif = indiffernce.

                      2. One consc, acc by joy, asso with wrong view, prompted.
                      3. One consc, acc by joy, disso from wrong view, unprompted.
                      4. One consc, acc by joy, disso from wrong view, prompted.
                      5. One consc, acc by indif, asso with wrong view, unprompted.
                      6. One consc, acc by indif, asso with wrong view, prompted.
                      7. One consc, acc by indif, disso from wrong view, unprompted.
                      8. One consc, acc by indif, disso from wrong view, prompted.

               โทสมูลจิต 2 (จิตมีโทสะเป็นมูล — consc rooted in hatred)
เรียก ปฏิฆสัมปยุตตจิต ก็ได้.

                      1. โทมนสฺสสหคตํ ปฏิฆสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
                      2. โทมนสฺสสหคตํ ปฏิฆสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ

                      1. จิตที่เกิดพร้อมด้วยโทมนัสสเวทนา ประกอบด้วยปฏิฆะ ไม่มีการชักนำ
                      2. จิตที่เกิดพร้อมด้วยโทมนัสสเวทนา ประกอบด้วยปฏิฆะ มีการชักนำ

                      1. One consc, acc by grief, asso with resentment, unprompted.
                      2. One consc, acc by grief, asso with resentment, prompted.

               โมหมูลจิต หรือ โมมูหจิต 2 (จิตมีโมหะเป็นมูล — consc rooted in delusion)
                      1. อุเปกฺขาสหคตํ วิจิกิจฺฉาสมฺปยุตฺตํ
                      2. อุเปกฺขาสหคตํ อุทฺธจฺจสมฺปยุตฺตํ

                      1. จิตที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา ประกอบด้วยวิจิกิจฉา
                      2. จิตที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา ประกอบด้วยอุทธัจจะ

                      1. One consc, acc by indif, asso with uncertainty.
                      2. One consc, acc by indif, asso with restlessness.

           2) อเหตุกจิต 18 (จิตอันไม่มีสัมปยุตตเหตุ คือ ไม่ประกอบด้วยเหตุ 6 ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ อโลภะ อโทสะ อโมหะ — rootless consc)
                อกุศลวิบากจิต 7 (จิตที่เป็นผลของอกุศล — rootless resultant-of-immorality consc)
                      1. อุเปกฺขาสหคตํ จกฺขุวิญฺญาณํ
                      2. อุเปกฺขาสหคตํ โสตวิญฺญาณํ
                      3. อุเปกฺขาสหคตํ ฆานวิญฺญาณํ
                      4. อุเปกฺขาสหคตํ ชิวฺหาวิญฺญาณํ
                      5. ทุกฺขสหคตํ กายวิญฺญาณํ
                      6. อุเปกฺขาสหคตํ สมฺปฏิจฺฉนฺนํ
                      7. อุเปกฺขาสหคตํ สนฺตีรณํ

                      1. จักขุวิญญาณจิต ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา
                      2. โสตวิญญาณจิต ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา
                      3. ฆานวิญญาณจิต ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา
                      4. ชิวหาวิญญาณจิต ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา
                      5. กายวิญญาณจิต ที่เกิดพร้อมด้วยทุกขเวทนา
                      6. สัมปฏิจฉันนจิต ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา
                      7. สันตีรณจิต ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา

                      1. Eye-consc, acc by indif.
                      2. Ear-consc, acc by indif.
                      3. Nose-consc, acc by indif.
                      4. Tongue-consc, acc by indif.
                      5. Body-consc, acc by pain.
                      6. Receiving-consc, acc by indif.
                      7. Investigating-consc, acc by indif.

               กุศลวิบากอเหตุกจิต 8 (จิตที่เป็นผลของกุศล ไม่มีสัมปยุตตเหตุ — rootless resultant-of-morality consc)
                      1. อุเปกฺขาสหคตํ จกฺขุวิญฺญาณํ
                      2. อุเปกฺขาสหคตํ โสตวิญฺญาณํ
                      3. อุเปกฺขาสหคตํ ฆานวิญฺญาณํ
                      4. อุเปกฺขาสหคตํ ชิวฺหาวิญฺญาณํ
                      5. สุขสหคตํ กายวิญฺญาณํ
                      6. อุเปกฺขาสหคตํ สมฺปฏิจฺฉนฺนํ
                      7. โสมนสฺสสหคตํ สนฺตีรณํ
                      8. อุเปกฺขาสหคตํ สนฺตีรณํ

                      1. จักขุวิญญาณจิต ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา
                      2. โสตวิญญาณจิต ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา
                      3. ฆานวิญญาณจิต ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา
                      4. ชิวหาวิญญาณจิต ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา
                      5. กายวิญญาณจิต ที่เกิดพร้อมด้วยสุขเวทนา
                      6. สัมปฏิจฉันนจิต ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา
                      7. สันตีรณจิต ที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสสเวทนา
                      8. สันตีรณจิต ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา

                      1. Eye-consc, acc by indif.
                      2. Ear-consc, acc by indif.
                      3. Nose-consc, acc by indif.
                      4. Tongue-consc, acc by indif.
                      5. Body-consc, acc by pleasure.
                      6. Receiving-consc, acc by indif.
                      7. Investigating-consc acc by joy.
                      8. Investigating-consc, acc by indif.

               อเหตุกกริยาจิต 3 (จิตที่เป็นเพียงกิริยา ไม่มีสัมปยุตตเหตุ — rootless functional consc)
                      1. อุเปกฺขาสหคตํ ปญฺจทฺวาราวชฺชนํ
                      2. อุเปกฺขาสหคตํ มโนทฺวาราวชฺชนํ
                      3. โสมนสฺสสหคตํ หสิตุปฺปาทจิตฺตํ

                      1. ปัญจทวาราวัชชนจิต ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา
                      2. มโนทวาราวัชชนจิต ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา
                      3. หสิตุปปาทจิต ที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสสเวทนา
----------------------------------------------
จิตที่รำพึงถึงอารมณ์ที่กระทบทวารทั้ง 5
จิตที่รำพึงถึงอารมณ์อันมาถึงคลองในมโนทวาร = โวฏฐัพพนะ
จิตที่ทำให้เกิดการแย้มยิ้มของพระอรหันต์

                      1. Five-sense-door adverting consc, acc by indif.
                      2. Mind-door adverting consc, acc by indif.
                      3. Smile-producing consc, acc by joy.

           3) กามาวจรโสภณจิต 24 (จิตดีงามที่เป็นไปในกามภูมิ — Sense-Sphere beautiful consc)
               มหากุศลจิต หรือ สเหตุกกามาวจรกุศลจิต 8 (จิตที่เป็นกุศลยิ่งใหญ่ หรือ กุศลจิตที่เป็นไปในกามภูมิ มีสัมปยุตตเหตุ — moral consc)
                      1. โสมนสฺสสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
                      2. โสมนสฺสสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
                      3. โสมนสฺสสหคตํ ญาณวิปฺยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
                      4. โสมนสฺสสหคตํ ญาณวิปฺยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
                      5. อุเปกฺขาสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
                      6. อุเปกฺขาสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
                      7. อุเปกฺขาสหคตํ ญาณวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
                      8. อุเปกฺขาสหคตํ ญาณวิปฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ

                      1. จิตที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสสเวทนา ประกอบด้วยปัญญา ไม่มีการชักนำ
                      2. จิตที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสสเวทนา ประกอบด้วยปัญญา มีการชักนำ
                      3. จิตที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสสเวทนา ไม่ประกอบด้วยปัญญา ไม่มีการชักนำ
                      4. จิตที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสสเวทนา ไม่ประกอบด้วยปัญญา มีการชักนำ
                      5. จิตที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา ประกอบด้วยปัญญา ไม่มีการชักนำ
                      6. จิตที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา ประกอบด้วยปัญญา มีการชักนำ
                      7. จิตที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา ไม่ประกอบด้วยปัญญา ไม่มีการชักนำ
                      8. จิตที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา ไม่ประกอบด้วยปัญญา มีการชักนำ

                      1. One consc, acc by joy, asso with knowledge, unprompted.
                      2. One consc, acc by joy, asso with knowledge, prompted.
                      3. One consc, acc by joy, diss from knowledge, unprompted.
                      4. One consc, acc by joy, diss from knowledge, prompted.
                      5. One consc, acc by indif, asso with knowledge, unprompted.
                      6. One consc, acc by indif, asso with knowledge, prompted.
                      7. One consc, acc by indif, diss from knowledge, unprompted.
                      8. One consc, acc by indif, diss from knowledge, prompted.

               มหาวิบากจิต หรือ สเหตุกกามาวจรวิบากจิต 8 (จิตอันเป็นผลของมหากุศล หรือวิบากจิตที่เป็นไปในกามภูมิ มีสัมปยุตตเหตุ — resultant consc)
                      (เหมือนกับมหากุศลจิตทุกข้อ)

               มหากิริยาจิต หรือ สเหตุกกามาวจรกริยาจิต 8 (จิตอันเป็นกริยาอย่างที่ทำมหากุศล แต่ไม่มีวิบาก ได้แก่การกระทำมหากุศลของพระอรหันต์ หรือกิริยาจิตในกามภูมิ มีสัมปยุตตเหตุ — functional consc)
                      (เหมือนกับมหากุศลจิตทุกข้อ)

       2. รูปาวจรจิต 5 (จิตอันเป็นไปในภูมิ — Form-Sphere consciousness)
           1) รูปาวจรกุศลจิต 5 (กุศลจิตที่เป็นไปในภูมิ ได้แก่จิตของผู้เข้าถึงรูปฌาน — Form-Sphere moral consc)
               1. วิตกฺกวิจารปีติสุเขกคฺคตาสหิตํ ปฐมชฺฌานกุสลจิตฺตํ
               2. วิจารปีติสุเขกคฺคตาสหิตํ ทุติยชฺฌานกุสลจิตฺตํ
               3. ปีติสุเขกคฺคตาสหิตํ ตติยชฺฌานกุสลจิตฺตํ
               4. สุเขกคฺคตาสหิตํ จตุตฺถชฺฌานกุสลจิตฺตํ
               5. อุเปกฺเขกคฺคตาสหิตํ ปญฺจมชฺฌานกุสลจิตฺตํ

               1. ปฐมฌานกุศลจิต ที่ประกอบด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
               2. ทุติยฌานกุศลจิต ที่ประกอบด้วย วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
               3. ตติยฌานกุศลจิต ที่ประกอบด้วย ปีติ สุข เอกัคคตา
               4. จตุตถฌานกุศลจิต ที่ประกอบด้วย สุข เอกัคคตา
               5. ปัญจมฌานกุศลจิต ที่ประกอบด้วย อุเบกขา เอกัคคตา

               1. First Jhana consc with initial application, sustained application, rapture, happiness and one-pointedness.
               2. Second Jhana consc with sustained application, rapture, happiness and one-pointedness.
               3. Third Jhana consc with rapture, happiness and one-pointedness.
               4. Fourth Jhana consc with happiness and one-pointedness.
               5. Fifth Jhana consc with equanimity and one-pointedness.

           2) รูปาวจรวิบากจิต 5 (วิบากจิตที่เป็นไปในรูปภูมิ คือ จิตที่เป็นผลของรูปาวจรกุศล — Form-Sphere resultant consc)
               (เหมือนกับรูปาวจรกุศลจิตทุกข้อ เปลี่ยนแต่คำท้ายเป็น วิปากจิตฺตํ)

           3) รูปาวจรกิริยาจิต 5 (กิริยาจิตที่เป็นไปในรูปภูมิ คือ จิตของพระอรหันต์ผู้กระทำรูปาวจรกุศล — Form-Sphere resultant consc)
               (เหมือนกับรูปาวจรกุศลจิตทุกข้อ เปลี่ยนแต่คำท้ายเป็น กฺริยาจิตฺตํ)

       3. อรูปาวจรจิต 12 (จิตที่เป็นไปในอรูปภูมิ — Formless-Sphere consc)
           1) อรูปาวจรกุศลจิต 4 (กุศลจิตที่เป็นไปในอรูปภูมิ ได้แก่ จิตของผู้เข้าถึงอรูปฌาน — Formless-Sphere moral consc)
               1. อากาสานญฺจายตนกุสลจิตฺตํ
               2. วิญฺญาณญฺจายตนกุสลจิตฺตํ
               3. อากิญฺจญฺญายตนกุสลจิตฺตํ
               4. เนวสญฺญานาสญฺญายตนกุสลจิตฺตํ

               1. กุศลจิตประกอบด้วยอากาสานัญจายตนฌาน
               2. กุศลจิตประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนฌาน
               3. กุศลจิตประกอบด้วยอากิญจัญญายตนฌาน
               4. กุศลจิตประกอบด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน

               1. Moral Jhana consc dwelling on the infinity of space.
               2. Moral Jhana consc dwelling on the infinity of consciousness.
               3. Moral Jhana consc dwelling on nothingness.
               4. Moral Jhana consc wherein perception neither is nor is not.

           2) อรูปาวจรวิบากจิต (วิบากจิตที่เป็นไปในอรูปภูมิ คือ จิตที่เป็นผลของอรูปาวจรกุศล — Formless-Sphere resultant consc)
               (เหมือนกับอรูปาวจรกุศลจิตทุกข้อ เปลี่ยนแต่คำท้ายเป็น วิปากจิตฺตํ)

           3) อรูปาวจรกิริยาจิต (กิริยาจิตที่เป็นไปในอรูปภูมิ คือ จิตของพระอรหันต์ ผู้กระทำอรูปาวจรกุศล — Formless-Sphere functional consc)
               (เหมือนกับอรูปาวจรกุศลจิตทุกข้อ เปลี่ยนแต่คำท้ายเป็น กฺริยาจิตฺตํ)

       4. โลกุตตรจิต 8 หรือ 40 (จิตที่เป็นโลกุตตระ — supermundane consc)
           1) โลกุตตรกุศลจิต 4 หรือ 20 (กุศลจิตที่เป็นโลกุตตระ คือ กุศลจิตที่ทำให้ข้ามพ้นอยู่เหนือโลก — moral supermundane consc)
               1. โสตาปตฺติมคฺคจิตฺตํ
               2. สกทาคามิมคฺคจิตฺตํ
               3. อนาคามิมคฺคจิตฺตํ
               4. อรหตฺตมคฺคจิตฺตํ

               1. จิตที่ประกอบด้วยโสตาปัตติมัคคญาณ คือ กุศลจิตที่เป็นทางให้ถึงกระแสอันไหลไปสู่นิพพานธาตุ
               2. จิตที่ประกอบด้วยสกทาคามิมัคคญาณ คือ กุศลจิตที่เป็นทางให้ถึงความเป็นพระสกทาคามี
               3. จิตที่ประกอบด้วยอนาคามิมัคคญาณ คือ กุศลจิตที่เป็นทางให้ถึงความเป็นพระอนาคามี
               4. จิตที่ประกอบด้วยอรหัตตมัคคญาณ คือ กุศลจิตที่เป็นทางให้ถึงความเป็นพระอรหันต์

               1. Consc belonging to the Path of Stream-Entry.
               2. Consc belonging to the Path of Once-Returning.
               3. Consc belonging to the Path of Non-Returning.
               4. Consc belonging to the Path of Arahantship.

           อย่างพิสดาร ให้แจกมัคคจิต 4 นี้ ด้วยฌาน 5 ตามลำดับ ก็จะได้จำนวน 20 ตามตัวอย่างดังนี้
               วิตกฺกวิจารปีติสุเขกคฺคตาสหิตํ ปฐมชฺฌานโสตาปตฺติมคฺคจิตฺตํ ฯลฯ

           2) โลกุตตรวิบากจิต 4 หรือ 20 (วิบากจิตที่เป็นโลกุตตระ คือ จิตที่เป็นผลของโลกุตตรกุศล — resultant supermundane consc)
               1. โสตาปตฺติผลจิตฺตํ
               2. สกทาคามิผลจิตฺตํ
               3. อนาคามิผลจิตฺตํ
               4. อรหตฺตผลจิตฺตํ

               1. จิตที่ประกอบด้วยโสตาปัตติผลญาณ
               2. จิตที่ประกอบด้วยสกทาคามิผลญาณ
               3. จิตที่ประกอบด้วยอนาคามิผลญาณ
               4. จิตที่ประกอบด้วยอรหัตตผลญาณ

               1. Consc belonging to the Fruition of Stream-Entry.
               2. Consc belonging to the Fruition of Once-Returning.
               3. Consc belonging to the Fruition of Non-Returning.
               4. Consc belonging to the Fruition of Arahantship.

           อย่างพิสดาร ให้แจกผลจิต 4 นี้ ด้วยฌาน 5 ตามลำดับ ก็จะได้จำนวน 20 ตามตัวอย่างดังนี้
               วิตกฺกวิจารปีติสุเขกคฺคตาสหิตํ ปฐมชฺฌานโสตาปตฺติผลจิตฺตํ ฯลฯ

Comp.81-93. สงฺคห. 1-6.


พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อากิญจัญญายตน&detail=on
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=%CD%D2%A1%D4%AD%A8%D1%AD%AD%D2%C2%B5%B9&detail=on


บันทึก  ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗,  ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๓๕, พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]