ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
อ่านข้อแรกอ่านข้อก่อนนี้อ่านข้อถัดไปอ่านข้อสุดท้าย
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

[346] อานาปานสติ 16 ฐาน (สติกำหนดลมหายใจ, การเจริญอานาปานสติ คือใช้สติกำหนดลมหายใจเข้า-ออก แบบที่เป็นการเจริญสติปัฏฐานไปด้วยครบทั้ง 4 - mindfulness of breathing with sixteen bases)
       จตุกกะที่ 1 : กายานุปัสสนา
       1) ทีฆํ วา อสฺสสนฺโต 'ทีฆํ อสฺสสามี'ติ ปชานาติ,
ทีฆํ วา ปสฺสสนฺโต 'ทีฆํ ปสฺสสามี'ติ ปชานาติ;
       2) รสฺสํ วา อสฺสสนฺโต 'รสฺสํ อสฺสสามี'ติ ปชานาติ,
รสฺสํ วา ปสฺสสนฺโต 'รสฺสํ ปสฺสสามี'ติ ปชานาติ;
       3) 'สพฺพกายปฏิสํเวที อสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ,
'สพฺพกายปฏิสํเวที ปสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ;
       4) 'ปสฺสมฺภยํ กายสงฺขารํ อสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ,
'ปสฺสมฺภยํ กายสงฺขารํ ปสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ.
       1) เมื่อหายใจเข้ายาว เธอก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว
หรือเมื่อหายใจออกยาว เธอก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว
       2) เมื่อหายใจเข้าสั้น เธอก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น
หรือเมื่อหายใจออกสั้น เธอก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น
       3) เธอสำเหนียกว่า เราจักรู้ทั่วกาย(กองลม)ทั้งหมด หายใจเข้า
เธอสำเหนียกว่า เราจักรู้ทั่วกาย(กองลม)ทั้งหมด หายใจออก
       4) เธอสำเหนียกว่า เราจักผ่อนระงับกายสังขาร หายใจเข้า
เธอสำเหนียกว่า เราจักผ่อนระงับกายสังขาร หายใจออก
       1. Breathing in long, he knows: “I am breathing in long”,
or breathing out long, he knows: “I am breathing out long”,
       2. Breathing in short, he knows: “I am breathing in short”:
or breathing out short, he knows: “I am breathing out short”;
       3. He trains thus: “Experiencing the entire (breath-) body, I shall breathe in”,
He trains thus: “Experiencing the entire (breath-) body, I shall breathe out”;
       4. He trains thus: “Calming the bodily formation, I shall breathe in”,
He trains thus: “Calming the bodily formation, I shall breathe out”.

       จตุกกะที่ 2 : เวทนานุปัสสนา
       5) 'ปีติปฏิสํเวที อสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ,
'ปีติปฏิสํเวที ปสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ;
       6) 'สุขปฏิสํเวที อสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ,
'สุขปฏิสํเวที ปสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ;
       7) 'จิตฺตสงฺขารปฏิสํเวที อสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ,
'จิตฺตสงฺขารปฏิสํเวที ปสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ;
       8) 'ปสฺสมฺภยํ จิตฺตสงฺขาร อสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ,
'ปสฺสมฺภยํ จิตฺตสงฺขาร ปสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ.
       5) เธอสำเหนียกว่า เราจักเสวยรู้ปีติ หายใจเข้า
เธอสำเหนียกว่า เราจักเสวยรู้ปีติ หายใจออก
       6) เธอสำเหนียกว่า เราจักเสวยรู้ความสุข หายใจเข้า
เธอสำเหนียกว่า เราจักเสวยรู้ความสุข หายใจออก
       7) เธอสำเหนียกว่า เราจักเสวยรู้จิตตสังขาร หายใจเข้า
เธอสำเหนียกว่า เราจักเสวยรู้จิตตสังขาร หายใจออก
       8) เธอสำเหนียกว่า เราจักผ่อนระงับจิตตสังขาร หายใจเข้า
เธอสำเหนียกว่า เราจักผ่อนระงับจิตตสังขาร หายใจออก
       5. He trains thus: “Experiencing rapture, I shall breathe in”,
He trains thus: “Experiencing rapture, I shall breathe out”;
       6. He trains thus: “Experiencing joy, I shall breathe in”,
He trains thus: “Experiencing joy, I shall breathe out”;
       7. He trains thus: “Experiencing the mental formation, I shall breathe in”,
He trains thus: “Experiencing the mental formation, I shall breathe out”;
       8. He trains thus: “Calming the mental formation, I shall breathe in”,
He trains thus: “Calming the mental formation, I shall breathe out”;

       จตุกกะที่ 3 : จิตตานุปัสสนา
       9) 'จิตฺตปฏิสํเวที อสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ,
'จิตฺตปฏิสํเวที ปสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ;
       10) 'อภิปฺปโมทย์ จิตฺตํ อสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ,
'อภิปฺปโมทย์ จิตฺตํ ปสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ;
       11) 'สมาทหํ จิตฺตํ อสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ,
'สมาทหํ จิตฺตํ ปสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ;
       12) 'วิโมจยํ จิตฺตํ อสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ,
'วิโมจยํ จิตฺตํ ปสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ.
       9) เธอสำเหนียกว่า เราจักรู้ทั่วถึงจิต หายใจเข้า
เธอสำเหนียกว่า เราจักรู้ทั่วถึงจิต หายใจออก
       10) เธอสำเหนียกว่า เราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจเข้า
เธอสำเหนียกว่า เราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก
       11) เธอสำเหนียกว่า เราจักทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจเข้า
เธอสำเหนียกว่า เราจักทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจออก
       12) เธอสำเหนียกว่า เราจักปล่อยเปลื้องจิต หายใจเข้า
เธอสำเหนียกว่า เราจักปล่อยเปลื้องจิต หายใจออก
       9. He trains thus: “Experiencing the mind, I shall breathe in”,
He trains thus: “Experiencing the mind, I shall breathe out”;
       10. He trains thus: “Gladdening the mind, I shall breathe in”,
He trains thus: “Gladdening the mind, I shall breathe out”;
       11. He trains thus: “Concentrating the mind, I shall breathe in”,
He trains thus: “Concentrating the mind, I shall breathe out”;
       12. He trains thus: “Liberating the mind, I shall breathe in”,
He trains thus: “Liberating the mind, I shall breathe out”.

       จตุกกะที่ 4 : ธัมมานุปัสสนา
       13) 'อนิจฺจานุปสฺสี อสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ,
'อนิจฺจานุปสฺสี ปสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ;
       14) 'วิราคานุปสฺสี อสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ,
'วิราคานุปสฺสี ปสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ;
       15) 'นิโรธานุปสฺสี อสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ,
'นิโรธานุปสฺสี ปสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ;
       16) 'ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี อสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ,
'ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี ปสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ.
       13) เธอสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง หายใจเข้า
เธอสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง หายใจออก
       14) เธอสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นความคลายออกได้ หายใจเข้า
เธอสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นความคลายออกได้ หายใจออก
       15) เธอสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นความดับกิเลส หายใจเข้า
เธอสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นความดับกิเลส หายใจออก
       16) เธอสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นความสลัดคืนได้ หายใจเข้า
เธอสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นความสลัดคืนได้ หายใจออก
       13. He trains thus: “Contemplating impermanence, I shall breathe in”,
He trains thus: “Contemplating impermanence, I shall breathe out”;
       14. He trains thus: “Contemplating fading away, I shall breathe in”,
He trains thus: “Contemplating fading away, I shall breathe out”;
       15. He trains thus: “Contemplating cessation, I shall breathe in”,
He trains thus: “Contemplating cessation, I shall breathe out”;
       16. He trains thus: “Contemplating relinquishment, I shall breathe in”,
He trains thus: “Contemplating relinquishment, I shall breathe out”.

       ข้อควรทราบ :
       ก) คำว่า หายใจเข้า และหายใจออก นั้นพึงทราบว่า เป็นคำที่มีการแปลต่างกัน คือ อรรถกถาแห่งพระวินัยแปล อสฺสาส ว่า “หายใจออก” และ ปสฺสาส ว่า “หายใจเข้า” ส่วนอรรถกถาแห่งพระสูตรแปลกลับตรงข้าม คือแปล อสฺสาส ว่า “หายใจเข้า” และ ปสฺสาส ว่า “หายใจออก” ในที่นี้ถือตามคำแปลของอรรถกถาแห่งพระสูตร ผู้ศึกษาทราบอย่างนี้แล้ว จะใช้แบบใดก็ได้ พึงเลือกตามปรารถนา
       ข) “สำเหนียกว่า” เป็นคำแปลตามสำนวนเก่า หมายถึงคำบาลีว่า สิกฺขติ จะแปลแบบทับศัพท์เป็น “ศึกษาว่า” ก็ได้
       ค) ธรรมหมวดนี้ เรียกตามบาลีแห่งคัมภีร์ปฏิสัมภิมัคค์ว่า โสฬสวัตถุกอานาปานสติ (เช่น ขุ.ปฏิ. 31/362/244: 387/260= Ps.I.162;173 คำบาลีเดิมเป็น โสฬสวตฺถุกา อานาปานสฺสติ บ้าง โสฬสวตฺถุโก อานาปานสฺสติสมาธิ บ้าง บางทีอรรถกถาก็เรียกยักเยื้องไปว่า โสฬสวตฺถุกา อานาปานสฺสติสมาธิภาวนา บ้าง โสฬสวตฺถุ อานาปานสฺสติกมฺมฏฺฐานํ บ้าง) แปลแบบรักษาศัพท์ว่า “อานาปานสติมีวัตถุ 16” แต่ในที่นี้เลือกแปลตามคำอธิบายในคัมภีร์ ปรมัตถมัญชุสา มหาฎีกาแห่งวิสุทธิมัคคฺ (วิสุทฺธิ.ฏีกา 2/34) ว่า “อานาปานสติ 16 ฐาน” เพราะในภาษาไทย คำว่า ฐาน เป็นคำที่คุ้นและช่วยสื่อความหมายของคำว่า วัตถุ ในที่นี้ได้ดี แต่จะแปลว่า “อานาปานสติ 16 หลัก” หรือ “อานาปานสติ 16 หัวข้อ (หรือ 16 ข้อ)” ก็ได้ บางทีก็เรียกให้ฟังเป็นลำดับว่า “อานาปานสติ 16 ชั้น”
       ง) 16 ฐาน หรือ 16 หลัก หรือ 16 หัวข้อ หรือ 16 ข้อ ข้อ หรือ 16 ชั้นนั้น ท่านจัดเป็น 4 จตุกกะ คือ เป็นหมวดสี่ 4 หมวด ดังนี้
           1. กายานุปัสสนาจตุกกะ (หมวดสี่แห่งกายานุปัสสนา)
           2. เวทนานุปัสสนาจตุกกะ (หมวดสี่แห่งเวทนานุปัสสนา)
           3. จิตตานุปัสสนาจตุกกะ (หมวดสี่แห่งจิตตานุปัสสนา)
           4. ธัมมานุปัสสนาจตุกกะ (หมวดสี่แห่งธัมมานุปัสสนา)
           เป็นการระบุชัดว่า ส่วนไหนเป็นสติปัฏฐานข้อใด
       จ) ว่าโดยไตรสิกขา ระหว่างปฏิบัตินั้น
           - ความมีกายวาจาตั้งอยู่ในความสงบสำรวม โดยมีเจตนาอันปลอดจากการละเมิดหรือเบียดเบียน (กายิกวาจสิกอวีตีกกมะ) เป็น ศีล
           - การมีสติกำหนด ด้วยจิตที่ตั้งมั่นมีอารมณ์อารมณ์หนึ่งเดียวตามที่กำหนด (จิตตัสเสกัคตา) เป็น สมาธิ
           - ความมีสัมปชัญญะรู้ทั่วพร้อม มองเห็นตามสภาวะ เป็น ปัญญา
       ฉ) ในการปฏิบัติ ศีลเป็นเพียงฐานที่รองรับอยู่ ส่วนธรรมที่ปฏิบัติซึ่งจะเจริญขึ้นไป คือ สมาธิ และปัญญา อันได้แก่ สมถะ ในข้อต่อไป
       ช) ในการปฏิบัติทั้งหมดนี้ สามจตุกกะแรก มีทั้ง สมถะ และ วิปัสสนา แต่จตุกกะที่ ๔ เป็น วิปัสสนา ล้วน
       ฌ) โสฬสวัตถุกอานาปานสติ นี้ พระพุทธเจ้าตรัสแสดงบ่อย พบได้หลายแห่งในพระไตรปิฎก แต่ที่ประมวลเรื่องเกี่ยวข้องและข้อความแวดล้อมไว้ครบถ้วน ซึ่งรู้จักกันดีและเป็นที่อ้างอิงกันทั่วไป คือ อานาปานสติสูตร (ม.อุ. 14/282-291/190-202=M.III.78-82) นอกจากนั้นยังมีคำอธิบายโดยพิสดารในพระไตรปิฎก ปรากฏใน ปฏิสัมภิทามัคค์ (ขุ.ปฏิ. 31/362-422/244-299; = Ps.I.162-196) ส่วนในชั้นอรรถกถา ก็มีอธิบายหลายแห่ง โดยเฉพาะที่ค้นคว้าได้สะดวก คือ วิสุทธิมัคค์ (วิสุทฺธิ. 25/52-82= Vism.266-296)

Vin.III.70;
M.I.425;
M.III.82;
S.V.311;
A.V.111;
Ps.I.162.
วินย. 1/178/132;
ม.ม. 13/146/140;
ม.อุ. 14/287-288/193;
สํ.ม. 19/1305-1306/394;
องฺ.ทสก. 24/60/119;
ขุ.ปฏิ. 31/362/244.


พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อานาปานสติ
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=%CD%D2%B9%D2%BB%D2%B9%CA%B5%D4

อ่านข้อแรกอ่านข้อก่อนนี้อ่านข้อถัดไปอ่านข้อสุดท้าย

บันทึก  ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗,  ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๓๕, พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]