ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ อายตนะ ”             ผลการค้นหาพบ  3  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 3
[276] อายตนะภายใน 6 (ที่เชื่อมต่อให้เกิดความรู้, แดนต่อความรู้ฝ่ายภายใน — internal sense-fields) บาลีเรียก อัชฌัตติกายตนะ
       1. จักขุ (จักษุ, ตา — the eye)
       2. โสตะ (หู — the ear)
       3. ฆานะ (จมูก — the nose)
       4. ชิวหา (ลิ้น — the tongue)
       5. กาย (กาย — the body)
       6. มโน (ใจ — the mind)

       ทั้ง 6 นี้ เรียกอีกอย่างว่า อินทรีย์ 6 เพราะเป็นใหญ่ในหน้าที่ของตนแต่ละอย่าง เช่น จักษุเป็นเจ้าการในการเห็น เป็นต้น

D.III.243;
M.III.261;
Vbh.70.
ที.ปา. 11/304/255;
ม.อุ. 14/619/400;
อภิ.วิ. 35/99/85.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 3
[277] อายตนะภายนอก 6 (ที่เชื่อมต่อให้เกิดความรู้, แดนต่อความรู้ฝ่ายภายนอก — external sense-fields) บาลีเรียก พาหิรายตนะ
       1. รูปะ (รูป, สิ่งที่เห็น หรือ วัณณะ คือสี — form; visible objects)
       2. สัททะ (เสียง — sound)
       3. คันธะ (กลิ่น — smell; odor)
       4. รสะ (รส — taste)
       5. โผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย, สิ่งที่ถูกต้องกาย — touch; tangible objects)
       6. ธรรม หรือ ธรรมารมณ์ (อารมณ์ที่เกิดกับใจ, สิ่งที่ใจนึกคิด — mind-objects)

       ทั้ง 6 นี้ เรียกทั่วไปว่า อารมณ์ 6 คือ เป็นสิ่งสำหรับให้จิตยึดหน่วง

D.III.243;
M.III.216;
Vbh.70
ที.ปา. 11/305/255;
ม.อุ. 14/620/400;
อภิ.วิ. 35/99/85.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 3
[341] อายตนะ 12 (สิ่งที่เชื่อมต่อกันให้เกิดความรู้, แดนต่อหรือแดนเกิดแห่งความรู้ — sense-fields; sense-spheres)
       1. อายตนะภายใน 6 ดู [276] อายตนะภายใน 6.
       2. อายตนะภายนอก 6 ดู [277] อายตนะภายนอก 6.

Vbh.70. อภิ.วิ. 35/99/85


พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อายตนะ
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=%CD%D2%C2%B5%B9%D0


บันทึก  ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗,  ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๓๕, พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]