ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ อาสวักขยญาณ ”             ผลการค้นหาพบ  4  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 4
[106] วิชชา 3 (ความรู้แจ้ง, ความรู้วิเศษ — the Threefold Knowledge)
       1. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (ญาณเป็นเหตุระลึกขันธ์ที่อาศัยอยู่ในก่อนได้, ระลึกชาติได้ — reminiscence of past lives)
       2. จุตูปปาตญาณ (ญาณกำหนดรู้จุติและอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย อันเป็นไปตามกรรม, เห็นการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์ทั้งหลาย เรียกอีกอย่างว่า ทิพพจักขุญาณ — knowledge of the decease and rebirth of beings; clairvoyance)
       3. อาสวักขยญาณ (ญาณหยั่งรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย, ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ, ความตรัสรู้ — knowledge of the destruction of mental intoxication)

       วิชชา 3 นี้ เรียกสั้นๆ ว่า ญาณ 3; ดู [297] วิชชา 8 ด้วย.

D.III.220.275;
A,V.211
ที.ปา. 11/228/232; 398/292;
องฺ.ทสก. 24/102/225.

[***] วิปัลลาส 3 ระดับ ดู [178] วิปัลลาส 4.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 4
[274] อภิญญา 6 (ความรู้ยิ่งยวด — superknowledge; ultra-conscious insight)
       1. อิทธิวิธา หรือ อิทธิวิธิ (ความรู้ที่ทำให้แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้ — magical powers)
       2. ทิพพโสต (ญาณที่ทำให้มีหูทิพย์ — divine ear)
       3. เจโตปริยญาณ (ญาณที่ให้กำหนดใจคนอื่นได้ — penetration of the minds of others; telepathy)
       4. ปุพเพนิวาสานุสสติ (ญาณที่ทำให้ระลึกถึงชาติได้ — remembrance of former existences; retrocognition)
       5. ทิพพจักขุ (ญาณที่ทำให้มีตาทิพย์ — divine eye)
       6. อาสวักขยญาณ (ญาณที่ทำให้อาสวะสิ้นไป — knowledge of the exhaustion of all mental intoxicants)

       ห้าข้อแรกเป็นโลกียะ (โลกียอภิญญา) ข้อท้ายเป็นโลกุตตระ.

       ดู [106] วิชชา 3; [297] วิชชา 8.

D.III.281;
A.III.280.
ที.ปา. 11/431/307;
องฺ.ฉกฺก. 22/273/311

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 4
[297] วิชชา 8 (ความรู้แจ้ง, ความรู้วิเศษ — supernormal knowledge)
       1. วิปัสสนาญาณ (ญาณในวิปัสสนา, ญาณที่เป็นวิปัสสนา คือปัญญาที่พิจารณาเห็นสังขารคือนามรูปโดยไตรลักษณ์ มีต่างกันออกไปเป็นชั้นๆ ต่อเนื่องกัน — insight-knowledge)
       2. มโนมยิทธิ (ฤทธิ์สำเร็จด้วยใจ, ฤทธิ์ทางใจ คือ นิรมิตกายอื่นออกจากกายนี้ ดุจชักไส้จากหญ้าปล้อง ชักดาบจากฝัก หรือชักงูออกจากคราบ — mind-made magical power)
       3. อิทธิวิธา หรือ อิทธิวิธิ (แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้ — supernormal powers)
       4. ทิพพโสต (หูทิพย์ — divine ear)
       5. เจโตปริยญาณ (ความรู้ที่กำหนดใจผู้อื่นได้ — penetration of the minds of others)
       6. ปุพเพนิวาสานุสสติ (ระลึกชาติได้ — remembrance of former existences)
       7. ทิพพจักษุ (ตาทิพย์ — divine eye)
       8. อาสวักขยญาณ (ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ — knowledge of the exhaustion of mental intoxicants)

       ข้อที่ 2 โดยมากจัดเข้าในข้อที่ 3 ด้วย ข้อที่ 3 ถึง 8 (6 ข้อท้าย) ตรงกับอภิญญา 6. ดู [106] วิชชา 3; [274] อภิญญา 6; [311] วิปัสสนาญาณ 9.

D.I.76-84; M.II.17. ที.สี. 9/131-138/101-112.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 4
[323] ทศพลญาณ (บาลีเรียก ตถาคตพลญาณ 10 คือ พระญาณอันเป็นกำลังของพระตถาคต 10 ประการ ที่ทำให้พระองค์สามารถบันลือสีหนาท ประกาศพระศาสนาได้มั่นคง — the Ten Powers of the Perfect One)
       1. ฐานาฐานญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ฐานะและอฐานะ คือ รู้กฏธรรมชาติเกี่ยวกับขอบเขตและขีดขั้นของสิ่งทั้งหลายว่า อะไรเป็นไปได้ อะไรเป็นไปไม่ได้ และแค่ไหนเพียงไร โดยเฉพาะในแง่ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผล และกฎเกณฑ์ทางจริยธรรมเกี่ยวกับสมรรถวิสัยของบุคคล ซึ่งจะได้รับผลกรรมที่ดีและชั่วต่างๆ กัน — knowledge of instance and no instance; knowledge of possibilities and impossibilities)
       2. กรรมวิปากญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ผลของกรรม คือ สามารถกำหนดแยกการให้ผลอย่างสลับซับซ้อน ระหว่างกรรมดีกับกรรมชั่ว ที่สัมพันธ์กับปัจจัยแวดล้อมต่างๆ มองเห็นรายละเอียดและความสัมพันธ์ภายในกระบวนการก่อผลของกรรมอย่างชัดเจน — knowledge of ripening of action; knowledge of the results of karma)
       3. สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ข้อปฏิบัติที่จะนำไปสู่คติทั้งปวง คือ สุคติ ทุคติ หรือพ้นจากคติ หรือปรีชาหยั่งรู้ข้อปฏิบัติที่จะนำไปสู่อรรถประโยชน์ทั้งปวง กล่าวคือ ทิฏฐธัมมิกัตถะ สัมปรายิกัตถะ หรือ ปรมัตถะ คือรู้ว่าเมื่อปรารถนาจะเข้าถึงคติหรือประโยชน์ใด จะต้องทำอะไรบ้าง มีรายละเอียดวิธีปฏิบัติอย่างไร — knowledge of the way that leads anywhere; knowledge of the practice leading to all destinies and all goals)
       4. นานาธาตุญาณ (ปรีชาหยั่งรู้สภาวะของโลกอันประกอบด้วยธาตุต่างๆ เป็นเอนก คือ รู้สภาวะของธรรมชาติ ทั้งฝ่ายอุปาทินนกสังขารและฝ่ายอนุปาทินนกสังขาร เช่น รู้จักส่วนประกอบต่างๆ ของชีวิต สภาวะของส่วนประกอบเหล่านั้น พร้อมทั้งลักษณะและหน้าที่ของมันแต่ละอย่าง อาทิการปฏิบัติหน้าที่ของขันธ์ อายตนะ และธาตุต่างๆ ในกระบวนการรับรู้ เป็นต้น และรู้เหตุแห่งความแตกต่างกันของสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น — knowledge of the world with its many and different elements)
       5. นานาธิมุตติกญาณ (ปรีชาหยั่งรู้อธิมุติ คือ รู้อัธยาศัย ความโน้มเอียง ความเชื่อถือ แนวความสนใจ เป็นต้น ของสัตว์ทั้งหลายที่เป็นไปต่างๆ กัน — knowledge of the different dispositions of beings)
       6. อินทริยปโรปริยัตตญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย คือ รู้ว่าสัตว์นั้นๆ มีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา แค่ไหน เพียงใด มีกิเลสมาก กิเลสน้อย มีอินทรีย์อ่อน หรือแก่กล้า สอนง่ายหรือสอนยาก มีความพร้อมที่จะตรัสรู้หรือไม่ — knowledge of the state of faculties of beings; knowledge of the inferiority and superiority of the controlling faculties of various beings; knowledge as regards maturity of persons)
       7. ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ่ว การออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิและสมาบัติทั้งหลาย — knowledge of defilement, cleansing and emergence in the cases of the meditations, liberations, concentrations and attainments)
       8. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (ปรีชาหยั่งรู้อันทำให้ระลึกภพที่เคยอยู่ในหนหลังได้ — knowledge of the remembrance of former existences)
       9. จุตูปปาตญาณ (ปรีชาหยั่งรู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลายอันเป็นไปตามกรรม -- knowledge of the decease and rebirth of beings)
       10. อาสวักขยญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย — knowledge of the exhaustion of mental intoxicants)

M.I.69;
A.V.33;
Vbh.336.
ม.มู. 12/166/140;
องฺ.ทสก. 24/21/35;
อภิ.วิ. 35/839/454.

[***] ทศพิธราชธรรม ดู [326] ราชธรรม 10.
[***] ธรรมจริยา 10 เป็นอีกชื่อหนึ่งของ [320] กุศลกรรมบถ 10.
[***] ธรรมมีอุปการะมาก 10 ดู [324] นาถกรณธรรม 10.


พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อาสวักขยญาณ&detail=on
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=%CD%D2%CA%C7%D1%A1%A2%C2%AD%D2%B3&detail=on


บันทึก  ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗,  ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๓๕, พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]