ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ อินทรีย์ 5 ”             ผลการค้นหาพบ  5  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 5
[27] นิพพาน 2 (สภาพที่ดับกิเลสและกองทุกข์แล้ว, ภาวะที่เป็นสุขสูงสุด เพราะไร้กิเลสไร้ทุกข์ เป็นอิสรภาพสมบูรณ์ - Nirvana; Nibbana)
       1. สอุปาทิเสสนิพพาน (นิพพานยังมีอุปาทิเหลือ - Nibbana with the substratum of life remaining)
       2. อนุปาทิเสสนิพพาน (นิพพานไม่มีอุปาทิเหลือ - Nibbana without any substratum of life remaining)

       หมายเหตุ: ตามคำอธิบายนัยหนึ่งว่า
       1. = ดับกิเลส ยังมีเบญจขันธ์เหลือ ( = กิเลสปรินิพพาน - extinction of the defilements)
       2. = ดับกิเลส ไม่มีเบญจขันธ์เหลือ ( = ขันธปรินิพพาน - extinction of the Aggregates)
หรือ
       1. = นิพพานของพระอรหันต์ผู้ยังเสวยอารมณ์ที่น่าชอบใจและไม่น่าชอบใจทางอินทรีย์ 5 รับรู้สุขทุกข์อยู่
       2. = นิพพานของพระอรหันต์ผู้ระงับการเสวยอารมณ์ทั้งปวงแล้ว

It.38. ขุ.อิติ. 25/222/258.

       อีกนัยหนึ่งกล่าวถึงบุคคลว่า
       1. สอุปาทิเสสบุคคล = พระเสขะ
       2. อนุปาทิเสสบุคคล = พระอเสขะ

A.IV.379. องฺ.นวก. 23/216/394.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 5
[51] สาสน์ หรือ ศาสนา 2 (คำสอน : teaching; dispensation)
       1. ปริยัติศาสนา (คำสอนฝ่ายปริยัติ, คำสอนอันจะต้องเล่าเรียนหรือจะต้องช่ำชอง ได้แก่ สุตตะ เคยยะ ฯลฯ เวทัลละ — teaching to be studied or mastered; textual or scriptural teaching; dispensation as text) = [302] นวังคสัตถุสาสน์
       2. ปฏิบัติศาสนา (คำสอนฝ่ายปฏิบัติ, คำสอนที่จะต้องปฏิบัติ ได้แก่ สัมมาปฏิปทา อนุโลมปฏิปทา อปัจจนีกปฏิปทา (ปฏิปทาที่ไม่ขัดขวาง) อันวัตถปฏิปทา (ปฏิปทาที่เป็นไปตามความมุ่งหมาย) ธัมมานุธัมมปฏิปทา (ปฏิบัติธรรมอันถูกหลัก) กล่าวคือ การบำเพ็ญศีลให้บริบูรณ์, [128] ความคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย โภชเนมัตตัญญุตา ชาคริยานุโยค สติสัมปชัญญะ, [182] สติปัฏฐาน 4, [156] สัมมัปปธาน 4, [213] อิทธิบาท 4, [258] อินทรีย์ 5, [228] พละ 5, [281] โพชฌงค์ 7, [293] มรรคมีองค์ 8, — teaching to be practised; practical teaching; dispensation as practice) ที่เป็นสำคัญในหมวดนี้ ก็คือ [352] โพธิปักขิยธรรม 37.

Nd1 143. ขุ.ม. 29/232/175.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 5
[228] พละ 5 (ธรรมอันเป็นกำลัง — power)
       1. สัทธา (ความเชื่อ — confidence)
       2. วิริยะ (ความเพียร — energy; effort)
       3. สติ (ความระลึกได้ — mindfulness)
       4. สมาธิ (ความตั้งจิตมั่น — concentration)
       5. ปัญญา (ความรู้ทั่วชัด — wisdom; understanding)

       ธรรม 5 อย่างนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อินทรีย์ 5 (ธรรมที่เป็นใหญ่ในกิจของตน — controlling faculty) ที่เรียกว่า อินทรีย์ เพราะความหมายว่า เป็นใหญ่ในการกระทำหน้าที่แต่ละอย่างๆ ของตน คือเป็นเจ้าการ ในการครอบงำเสียซึ่งความไร้ศรัทธา ความเกียจคร้าน ความประมาท ความฟุ้งซ่าน และความหลงตามลำดับ ที่เรียกว่า พละ เพราะความหมายว่า เป็นพลังทำให้เกิดความมั่นคง ซึ่งความไร้ศรัทธาเป็นต้น แต่ละอย่าง จะเข้าครอบงำไม่ได้
       พละหมวดนี้เป็นหลักปฏิบัติทางจิตใจ ให้ถึงความหลุดพ้นโดยตรง

D.III.239;
A.III.10;
Vbh.342.
ที.ปา. 11/300/252;
องฺ.ปญฺจก. 22/13/11;
อภิ.วิ. 35/844/462

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 5
[258] อินทรีย์ 5 ดู [228] พละ 5

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 5
[352] โพธิปักขิยธรรม 37 (ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ คือ เกื้อกูลแก่การตรัสรู้, ธรรมเกื้อหนุนแก่อริยมรรค — virtues partaking of enlightenment; qualities contributing to or constituting enlightenment; enlightenment states)
       1. สติปัฏฐาน 4 ดู [182]
       2. สัมมัปปธาน 4 ดู [156]
       3. อิทธิบาท 4 ดู [213]
       4. อินทรีย์ 5 ดู [258]
       5. พละ 5 ดู [228]
       6. โพชฌงค์ 7 ดู [281]
       7. มรรคมีองค์ 8 ดู [293]

Vbh.249 อภิ.วิ. 35/611/336.


พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อินทรีย์_5&detail=on
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=%CD%D4%B9%B7%C3%D5%C2%EC_5&detail=on


บันทึก  ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗,  ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๓๕, พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]