ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ 3 ”             ผลการค้นหาพบมากกว่า  20  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 20
[14] ทิฏฐิ 3 (ความเห็น, ความเห็นผิด - view; false view)
       1. อกิริยทิฏฐิ (ความเห็นว่าไม่เป็นอันทำ, เห็นว่าการกระทำไม่มีผล - view of the inefficacy of action)
       2. อเหตุกทิฏฐิ (ความเห็นว่าไม่มีเหตุ, เห็นว่าสิ่งทั้งหลายไม่มีเหตุปัจจัย - view of non-causality)
       3. นัตถิกทิฏฐิ (ความเห็นว่าไม่มี, เห็นว่าไม่มีการกระทำหรือสภาวะที่จะกำหนดเอาเป็นหลักได้ - nihilistic view; nihilism)

M.I.404. ม.ม. 13/105/111.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 20
[46] สมาธิ 3 (ความตั้งมั่นแห่งจิต, ภาวะที่จิตสงบนิ่งจับอยู่ที่อารมณ์อันเดียว : concentration)
       1. ขณิกสมาธิ (สมาธิชั่วขณะ — momentary concentration)
       2. อุปจารสมาธิ (สมาธิจวนจะแน่วแน่ — access concentration)
       3. อัปปนาสมาธิ (สมาธิแน่วแน่ — attainment concentration)

DhsA.117;
Vism.144.
สงฺคณี.อ. 207;
วิสุทธิ. 1/184.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 20
[47] สมาธิ 3 (ความตั้งมั่นแห่งจิต หมายถึงสมาธิในวิปัสสนา หรือตัววิปัสสนานั่นเอง แยกประเภทตามลักษณะการกำหนดพิจารณาไตรลักษณ์ ข้อที่ให้สำเร็จความหลุดพ้น — concentration)
       1. สุญญตสมาธิ (สมาธิอันพิจารณาเห็นความว่าง ได้แก่ วิปัสสนาที่ให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดอนัตตลักษณะ — concentration on the void)
       2. อนิมิตตสมาธิ (สมาธิอันพิจารณาธรรมไม่มีนิมิต ได้แก่ วิปัสสนาที่ให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดอนิจจลักษณะ — concentration on the signless)
       3. อัปปณิหิตสมาธิ (สมาธิอันพิจารณาธรรมไม่มีความตั้งปรารถนา ได้แก่ วิปัสสนาที่ให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดทุกขลักษณะ : concentration on the desireless or non-hankering)

       ดู [107] วิโมกข์ 3

D.III.219;
A.I.299;
Ps.I.49.
ที.ปา. 11/228/231;
องฺ.ติก. 20/599/385;
ขุ.ปฏิ. 31/92/70.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 20
[58] โสดาบัน 3 (ท่านผู้บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว, ผู้แรกถึงกระแสอันนำไปสู่พระนิพพาน แน่ต่อการตรัสรู้ข้างหน้า — Stream-Enterer)
       1. เอกพีชี (ผู้มีพืชคืออัตตภาพอันเดียว คือ เกิดอีกครั้งเดียว ก็จักบรรลุอรหัต — the Single-Seed)
       2. โกลังโกละ (ผู้ไปจากสกุลสู่สกุล คือ เกิดในตระกูลสูงอีก 2-3 ครั้ง หรือเกิดในสุคติอีก 2-3 ภพ ก็จักบรรลุอรหัต — the Clan-to-Clan)
       3. สัตตักขัตตุงปรมะ (ผู้มีเจ็ดครั้งเป็นอย่างยิ่ง คือ เวียนเกิดในสุคติภพอีกอย่างมากเพียง 7 ครั้ง ก็จักบรรลุอรหัต — the Seven-Times-at-Most)

A.I.233:
IV.380;
V.120;
Pug.3,16,74
องฺ.ติก. 20/528/302;
องฺ.นวก. 23/216/394;
องฺ.ทสก. 24/64/129/;
อภิ.ปุ. 36/47-49/147.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 20
[59] สกทาคามี 3, 5 (ท่านผู้บรรลุสกทาคามิผลแล้ว, ผู้กลับมาอีกครั้งเดียว — Once-Returner)
       พระสกทาคามีนี้ ในบาลีมิได้แยกประเภทไว้ แต่ในคัมภีร์รุ่นหลังแยกประเภทไว้หลายอย่าง เช่น ในคัมภีร์ ปรมัตถโชติกา แยกไว้เป็น 3 ประเภท คือ ผู้ได้บรรลุผลนั้น ในกามภพ 1 ในรูปภพ 1 ในอรูปภพ 1
       ในคัมภีร์ ปรมัตถมัญชุสา จำแนกไว้ 5 ประเภท คือ ผู้บรรลุในโลกนี้แล้วปรินิพพานในโลกนี้เอง 1 ผู้บรรลุในโลกนี้แล้ว ปรินิพพานในเทวโลก 1 ผู้บรรลุในเทวโลกแล้ว ปรินิพพานในเทวโลกนั้นเอง 1 ผู้บรรลุในเทวโลกแล้ว เกิดในโลกนี้จึงปรินิพพาน 1 ผู้บรรลุในโลกนี้แล้ว ไปเกิดในเทวโลกหมดอายุแล้ว กลับมาเกิดในโลกนี้จึงปรินิพพาน 1 และอธิบายต่อท้ายว่า พระสกทาคามีที่กล่าวถึงในบาลีหมายเอาประเภทที่ 5 อย่างเดียว
       นอกจากนี้ ที่ท่านแบ่งออกเป็น 4 บ้าง 12 บ้าง ก็มี แต่จะไม่กล่าวไว้ในที่นี้

KhA.182. ขุทฺทก.อ. 199;
วิสุทฺธิ.ฏีกา 3/655.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 20
ติกะ - หมวด 3
Groups of Three
(including related groups)
[66] กรรม 3 (การกระทำ, การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม — action; deed)
       1. กายกรรม (กรรมทำด้วยกาย, การกระทำทางกาย — bodily action)
       2. วจีกรรม (กรรมทำด้วยวาจา, การกระทำทางวาจา — verbal action)
       3. มโนกรรม (กรรมทำด้วยใจ, การกระทำทางใจ — mental action)

M.I.373. ม.ม. 13/64/56.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 20
[67] กุศลมูล 3 (รากเหง้าของกุศล, ต้นตอของความดี — whole some roots; roots of good actions)
       1. อโลภะ (ความไม่โลภ, ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์กับโลภะ, ความคิดเผื่อแผ่, จาคะ — non-greed; generosity)
       2. อโทสะ (ความไม่คิดประทุษร้าย, ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์กับโทสะ, เมตตา — non-hatred; love)
       3. อโมหะ (ความไม่หลง, ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์กับความหลง, ปัญญา — non-delusion; wisdom)

D.III.275. ที.ปา. 11/394/292.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 20
[68] อกุศลมูล 3 (รากเหง้าของอกุศล, ต้นตอของความชั่ว — unwholesome roots; roots of bad actions)
       1. โลภะ (ความอยากได้ — greed)
       2. โทสะ (ความคิดประทุษร้าย — hatred)
       3. โมหะ (ความหลง — delusion)

D.III.275;
It.45.
ที.ปา. 11/393/291;
ขุ.อิติ. 25/228/264.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 20
[69] กุศลวิตก 3 (ความตรึกที่เป็นกุศล, ความนึกคิดที่ดีงาม — wholesome thoughts)
       1. เนกขัมมวิตก (ความตรึกปลอดจากกาม, ความนึกคิดในทางเสียสละ ไม่ติดในการปรนปรือสนองความอยากของตน — thought of renunciation; thought free from selfish desire)
       2. อพยาบาทวิตก (ความตรึกปลอดจากพยาบาท, ความนึกคิดที่ประกอบด้วยเมตตา ไม่ขัดเคืองหรือเพ่งมองในแง่ร้าย — thought free from hatred)
       3. อวิหิงสาวิตก (ความตรึกปลอดจากการเบียดเบียน, ความนึกคิดที่ประกอบด้วยกรุณาไม่คิดร้ายหรือมุ่งทำลาย — thought of non-violence; thought free from cruelty)

A.III.446. องฺ.ฉกฺก. 22/380/496.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 20
[70] อกุศลวิตก 3 (ความตรึกที่เป็นอกุศล, ความนึกคิดที่ไม่ดี — unwholesome thoughts)
       1. กามวิตก (ความตรึกในทางกาม, ความนึกคิดในทางแส่หาหรือพัวพันติดข้องในสิ่งสนองความอยาก — thought of sensual pleasures)
       2. พยาบาทวิตก (ความตรึกในทางพยาบาท, ความนึกคิดที่ประกอบด้วยความขัดเคืองเพ่งมองในแง่ร้าย — thought full of hatred or ill-will; malevolent thought)
       3. วิหิงสาวิตก (ความตรึกในทางเบียดเบียน, ความนึกคิดในทางทำลาย ทำร้ายหรือก่อความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น — thought of violence or cruelty; cruel thought)

A.III.446. องฺ.ฉกฺก. 22/380/496.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 20
[71] โกศล 3 (ความฉลาด, ความเชี่ยวชาญ — proficiency)
       1. อายโกศล (ความฉลาดในความเจริญ, รอบรู้ทางเจริญ และเหตุของความเจริญ — proficiency as to gain or progress)
       2. อปายโกศล (ความฉลาดในความเสื่อม, รอบรู้ทางเสื่อมและเหตุของความเสื่อม — proficiency as to loss or regress)
       3. อุปายโกศล (ความฉลาดในอุบาย, รอบรู้วิธีแก้ไขเหตุการณ์และวิธีที่จะทำให้สำเร็จ — proficiency as to means and method)

D.III.220;
Vbh. 325.
ที.ปา. 11/228/231;
อภิ.วิ. 35/807/439.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  12 / 20
[72] ญาณ 3 (ความหยั่งรู้, ปรีชาหยั่งรู้ — insight; knowledge)
       1. อตีตังสญาณ (ญาณหยั่งรู้ส่วนอดีต, รู้อดีตและสาวหาเหตุปัจจัยอันต่อเนื่องมาได้ — insight into the past; knowledge of the past)
       2. อนาคตังสญาณ (ญาณหยั่งรู้ส่วนอนาคต, รู้อนาคต หยั่งผลที่จะเกิดสืบต่อไปได้ — insight into the future; knowledge of the future)
       3. ปัจจุปันนังสญาณ (ญาณหยั่งรู้ส่วนปัจจุบัน, รู้ปัจจุบัน กำหนดได้ถึงองค์ประกอบและเหตุปัจจัยของเรื่องที่เป็นไปอยู่ — insight into the ; knowledge of the present)

D,III.275. ที.ปา. 11/396/292.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  13 / 20
[73] ญาณ 3 (ความหยั่งรู้, ปรีชาหยั่งรู้ — insight; knowledge)
       1. สัจจญาณ (หยั่งรู้สัจจะ คือ ความหยั่งรู้อริยสัจ 4 แต่ละอย่างตามที่เป็นๆ ว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา — knowledge of the Truths as they are)
       2. กิจจญาณ (หยั่งรู้กิจ คือ ความหยั่งรู้กิจอันจะต้องทำในอริยสัจ 4 แต่ละอย่างว่า ทุกข์ควรกำหนดรู้ ทุกขสมุทัยควรละเสีย ทุกขนิโรธควรทำให้แจัง ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาควรเจริญ — knowledge of the functions with regard to the respective Four Noble Truths)
       3. กตญาณ (หยั่งรู้การอันทำแล้ว คือ ความหยั่งรู้ว่ากิจอันจะต้องทำในอริยสัจ 4 แต่ละอย่างนั้นได้ทำสำเร็จแล้ว — knowledge of what has been done with regard to the respective Four Noble Truths)

       ญาณ 3 ในหมวดนี้ เนื่องด้วยอริยสัจ 4 โดยเฉพาะ เรียกชื่อเต็มตามที่มาว่า ญาณทัสสนะ อันมีปริวัฏฏ์ 3 (ญาณทัสสนะมีรอบ 3 หรือ ความหยั่งรู้ หยั่งเห็นครบ 3 รอบ -- thrice-revolved knowledge and insight) หรือ ปริวัฏฏ์ 3 แห่งญาณทัสสนะ (the three aspects of intuitive knowledge regarding the Four Noble Truths)
       ปริวัฏฏ์ หรือวนรอบ 3 นี้ เป็นไปในอริยสัจทั้ง 4 รวมเป็น 12 ญาณทัสสนะนั้น จึงได้ชื่อว่ามีอาการ 12 (twelvefold intuitive insight หรือ knowing and seeing under twelve modes)

       พระผู้มีพระภาคทรงมีญาณทัสสนะตามเป็นจริงในอริยสัจ 4 ครบวนรอบ 3 มีอาการ 12 (ติปริวฏฺฏํ ทฺวาทสาการํ ยถาภูตํ ญาณทสฺสนํ) อย่างนี้แล้ว จึงปฏิญาณพระองค์ได้ว่าทรงบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว.

       ดู [205] กิจในอริยสัจ 4.

Vin.I.11;
S.V.422.
วินย. 4/16/21;
สํ.ม. 19/1670/530;
สํ.อ. 3/409.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  14 / 20
[74] ตัณหา 3 (ความทะยานอยาก — craving)
       1. กามตัณหา (ความทะยานอยากในกาม, ความอยากได้กามคุณ คือสิ่งสนองความต้องการทางประสาททั้งห้า — craving for sensual pleasures; sensual craving)
       2. ภวตัณหา (ความทะยานอยากในภพ, ความอยากในภาวะของตัวตนที่จะได้จะเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง อยากเป็น อยากคงอยู่ตลอดไป, ความใคร่อยากที่ประกอบด้วยภวทิฏฐิหรือสัสสตทิฏฐิ — craving for existence)
       3. วิภวตัณหา (ความทะยานอยากในวิภพ, ความอยากในความพรากพ้นไปแห่งตัวตนจากความเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งอันไม่ปรารถนา อยากทำลาย อยากดับสูญ, ความใคร่อยากที่ประกอบด้วยวิภวทิฏฐิหรืออุจเฉททิฏฐิ — craving for non-existence; craving for self-annihilation)

A.III.445;
Vbh.365
องฺ.ฉกฺก. 22/377/494;
อภิ.วิ. 35/933/494

แสดงผลการค้น ลำดับที่  15 / 20
[76] ไตรลักษณ์ (ลักษณะ 3 ประการ แห่งสังขารธรรมทั้งหลาย — the Three Characteristics)
       1. อนิจจตา (ความเป็นของไม่เที่ยง — impermanence; transiency)
       2. ทุกขตา (ความเป็นทุกข์ — state of suffering or being oppressed)
       3. อนัตตตา (ความเป็นของไม่ใช่ตน — soullessness; not-self)

       ดู [86] ธรรมนิยาม 3

S.IV.1;
Dh.277-9.
สํ.สฬ. 18/1/1;
ขุ.ธ. 25/30/51.

[**] ไตรสิกขา ดู [124] สิกขา 3.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  16 / 20
[77] ทวาร 3 ทางทำกรรม — door; channel of action)
       1. กายทวาร (ทวารคือกาย — the body-door; channel of bodily action)
       2. วจีทวาร (ทวารคือวาจา — the speech-door; speech as a door of action)
       3. มโนทวาร (ทวารคือใจ — the mind-door; mind as a door of action)

Dh.234. นัย. ขุ.ธ. 25/27/46;
มงฺคล. 1/252/243.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  17 / 20
[79] ทุกขตา 3 (ความเป็นทุกข์, ภาวะแห่งทุกข์, สภาพทุกข์, ความเป็นสภาพที่ทนได้ยาก หรือคงอยู่ในภาวะเดิมไม่ได้ — state of suffering or being subject to suffering; conflict; unsatisfactoriness)
       1. ทุกขทุกขตา (สภาพทุกข์คือทุกข์ หรือความเป็นทุกข์เพราะทุกข์ ได้แก่ ทุกขเวทนาทางกายก็ตาม ใจก็ตาม ซึ่งเป็นทุกข์อย่างที่เข้าใจสามัญ ตรงตามชื่อ ตามสภาพ — painfulnessas suffering)
       2. วิปริณามทุกขตา (ความเป็นทุกข์เพราะความแปรปรวน ได้แก่ความสุข ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดความทุกข์เมื่อต้องเปลี่ยนแปรไปเป็นอื่น — suffering in change)
       3. สังขารทุกขตา (ความเป็นทุกข์เพราะเป็นสังขาร ได้แก่ตัวสภาวะของสังขารคือสิ่งทั้งปวงซึ่งเกิดจากปัจจัยปรุงแต่ง ที่ถูกบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้นและสลายไป ทำให้คงสภาพอยู่ไม่ได้ พร่องอยู่เสมอ และให้เกิดทุกข์แก่ผู้ยึดถือด้วยอุปทาน — suffering due to formations; inherent liability to suffering)

D.III.216;
S.IV.259;
V.56.
ที.ปา. 11/228/229;
สํ.สฬ. 18/510/318;
สํ.ม. 19/319/85.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  18 / 20
[80] ทุจริต 3 (ความประพฤติชั่ว, ประพฤติไม่ดี — evil conduct; misconduct)
       1. กายทุจริต (ความประพฤติชั่วด้วยกาย — evil conduct in act; misconduct by body) มี 3 คือ ปาณาติบาต อทินนาทาน และ กาเมสุมิจฉาจาร
       2. วจีทุจริต (ความประพฤติชั่วด้วยวาจา — evil conduct in word; misconduct by speech) มี 4 คือ มุสาวาท ปิสุณวาจา ผรุสวาจา และ สัมผัปปลาปะ
       3. มโนทุจริต (ความประพฤติชั่วด้วยใจ — evil conduct in thought; misconduct by mind) มี 3 คือ อภิชฌา พยาบาท และมิจฉาทิฏฐิ)

       ดู รายละเอียดที่ [321] อกุศลกรรมบถ 10.

D.III.214;
Dhs.1305.
ที.ปา. 11/228/227;
อภิ.สํ. 34/840/327.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  19 / 20
[81] สุจริต 3 (ความประพฤติดี, ประพฤติชอบ — good conduct)
       1. กายสุจริต (ความประพฤติชอบด้วยกาย — good conduct in act) มี 3 คือ งดเว้นและประพฤติตรงข้ามกับ ปาณาติบาต อทินนาทาน และกาเมสุมิจฉาจาร
       2. วจีสุจริต (ความประพฤติชอบด้วยวาจา — good conduct in word) มี 4 คือ งดเว้นและประพฤติตรงข้ามกับ มุสาวาท ปิสุณวาจา ผรุสวาจา และ สัมผัปปลาปะ
       3. มโนสุจริต (ความประพฤติชอบด้วยใจ — good conduct in thought) มี 3 คือ อนภิชฌา อพยาบาท และ สัมมาทิฏฐิ.

       ดู รายละเอียดที่ [320] กุศลกรรมบถ 10.

D.III.215;
Dhs.1306.
ที.ปา. 11/228/227;
อภิ.สํ. 34/840/327.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  20 / 20
[82] เทพ 3 (เทพเจ้า, เทวดา — gods; divine beings)
       1. สมมติเทพ (เทวดาโดยสมมติ ได้แก่ พระราชา พระเทวี และพระราชกุมาร — gods by convention)
       2. อุปปัตติเทพ (เทวดาโดยกำเนิด ได้แก่เทวดาในกามาวจรสวรรค์ และ พรหมทั้งหลายเป็นต้น — gods by rebirth)
       3. วิสุทธิเทพ (เทวดาโดยความบริสุทธิ์ ได้แก่พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันต์ทั้งหลาย — gods by purification)

Nd2 307;
KhA.123.
ขุ.จู. 30/214/112;
ขุทฺทก.อ. 135.


พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=_3&nextseek=83
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=_3&nextseek=83


บันทึก  ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗,  ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๓๕, พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]