ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

เลียบเคียง พูดอ้อมค้อมหาทางให้เขาถวายของ

โลก แผ่นดินเป็นที่อาศัย, หมู่สัตว์ผู้อาศัย;
       โลก ๓ คือ
           ๑. สังขารโลก โลกคือสังขาร
           ๒. สัตวโลก โลกคือหมู่สัตว์
           ๓. โอกาสโลก โลกคือแผ่นดิน;
       อีกนัยหนึ่ง
           ๑. มนุษยโลก โลกมนุษย์
           ๒. เทวโลก โลกสวรรค์ ทั้ง ๖ ชั้น
           ๓. พรหมโลก โลกของพระพรหม

โลกธรรม ธรรมที่มีประจำโลก, ธรรมดาของโลก,
       ธรรมที่ครอบงำสัตว์โลก และสัตว์โลกก็เป็นไปตามมัน มี ๘ อย่าง
       คือ มีลาภ ไม่มีลาภ มียศ ไม่มียศ นินทา สรรเสริญ สุข ทุกข์

โลกธาตุ แผ่นดิน; จักรวาลหนึ่งๆ

โลกนาถ ผู้เป็นที่พึ่งของโลก หมายถึง พระพุทธเจ้า

โลกบาล ผู้คุ้มครองโลก, ผู้เลี้ยงรักษาโลกให้ร่มเย็น, ท้าวโลกบาล ๔;
       ดู จาตุมหาราช

โลกบาลธรรม ธรรมคุ้มครองโลก คือ ปกครองควบคุมใจมนุษย์ไว้ให้อยู่ในความดี มิให้ละเมิดศีลธรรม และให้อยู่กันด้วยความเรียบร้อยสงบสุข ไม่เดือดร้อนสับสนวุ่นวาย มี ๒ คือ
       ๑. หิริ ความละอายบาป ละอายใจต่อการทำความชั่ว
       ๒. โอตตัปปะ ความกลัวบาป เกรงกลัวต่อความชั่วและผลของกรรมชั่ว

โลกวัชชะ อาบัติที่เป็นโทษทางโลก
       คือ คนสามัญที่มิใช่ภิกษุทำเข้าก็เป็นความผิดความเสียหาย
       เช่น โจรกรรม ฆ่ามนุษย์ ทุบตีกัน ด่ากัน เป็นต้น;
       บางทีว่าเป็นข้อเสียหายที่ชาวโลกเขาติเตียน ถือว่าไม่เหมาะสมกับสมณะ เช่น ดื่มสุรา เป็นต้น

โลกวิทู ทรงรู้แจ้งโลก คือทรงรู้แจ้งสภาวะแห่งโลกคือสังขารทั้งหลาย ทรงทราบอัธยาศัยสันดานของสัตว์โลกที่เป็นไปต่างๆ ทำให้ทรงบำเพ็ญพุทธกิจได้ผลดี
       (ข้อ ๕ ในพุทธคุณ ๙)

โลกัตถจริยา พระพุทธจริยาเพื่อประโยชน์แก่โลก,
       ทรงประพฤติเป็นประโยชน์แก่โลก คือ ทรงอาศัยพระมหากรุณา เสด็จไปประกาศพระศาสนาเพื่อประโยชน์สุขแก่มหาชนในถิ่นฐานแว่นแคว้นต่างๆ เป็นอันมาก และประดิษฐานพระศาสนาไว้เพื่อประโยชน์สุขแก่ชุมชนภายหลัง ตลอดกาลนาน;
       ดู พุทธจริยา

โลกาธิปเตยยะ ดู โลกาธิปไตย

โลกาธิปไตย ความถือโลกเป็นใหญ่
       คือ ถือความนิยมหรือเสียงกล่าวว่า ของชาวโลกเป็นสำคัญ หวั่นไหวไปตามเสียงนินทาและสรรเสริญ จะทำอะไรก็มุ่งจะเอาใจหมู่ชน หาความนิยม ทำตามที่เขานิยมกัน หรือคอยแต่หวั่นกลัวเสียงกล่าวว่า,
       พึงใช้แต่ในทางดีหรือในขอบเขตที่เป็นความดี คือ เคารพเสียงหมู่ชน
       (ข้อ ๒ ในอธิปไตย ๓)

โลกามิษ เหยื่อแห่งโลก, เครื่องล่อ ที่ล่อให้ติดอยู่ในโลก,
       เครื่องล่อใจให้ติดในโลก ได้แก่ ปัญจพิธกามคุณ
       คือ รูป, เสียง, กลิ่น, รส, โผฏฐัพพะ อันน่าปรารถนา น่าใคร่น่าพอใจ;
       โลกามิส ก็เขียน

โลกิยะ, โลกีย์ เกี่ยวกับโลก, ทางโลก, เนื่องในโลก, เรื่องของชาวโลก, ยังอยู่ในภพสาม, ยังเป็นกามาวจร รูปาวจร หรืออรูปาวจร;
       คู่กับ โลกุตตระ

โลกิยฌาน ฌานโลกีย์, ฌานอันเป็นวิสัยของโลก, ฌานของผู้มีจิตยังไม่เป็นโลกุตตระ, ฌานที่ปุถุชนได้

โลกิยธรรม ธรรมอันเป็นวิสัยของโลก, สภาวะเนื่องในโลก ได้แก่ขันธ์ ๕ ที่ยังมีอาสวะทั้งหมด;
       คู่กับ โลกุตตรธรรม

โลกิยวิมุตติ วิมุตติที่เป็นโลกีย์ คือความพ้นอย่างโลกๆ ไม่เด็ดขาด ไม่สิ้นเชิง กิเลสและความทุกข์ยังกลับครอบงำได้อีก ได้แก่วิมุตติ ๒ อย่างแรกคือ ตทังควิมุตติ และ วิกขัมภนวิมุตติ;
       ดู วิมุตติ, โลกุตตรวิมุตติ

โลกียสุข ความสุขอย่างโลกีย์, ความสุขที่เป็นวิสัยของโลก, ความสุขที่ยังประกอบด้วยอาสวะ
       เช่น กามสุข มนุษยสุข ทิพยสุข ตลอดถึงฌานสุข และวิปัสสนาสุข

โลกุดร, โลกุตตระ โลกุตระ พ้นจากโลก, เหนือโลก, พ้นวิสัยของโลก, ไม่เนื่องในภพทั้ง ๓
       (พจนานุกรมเขียน โลกุตตร);
       คู่กับ โลกิยะ

โลกุตตมาจารย์ อาจารย์ผู้สูงสุดของโลก, อาจารย์ยอดเยี่ยมของโลก หมายถึงพระพุทธเจ้า

โลกุตตรธรรม ธรรมอันมิใช่วิสัยของโลก, สภาวะพ้นโลก
       มี ๙ ได้แก่ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑;
       คู่กับ โลกิยธรรม

โลกุตตรปัญญา ปัญญาที่สัมปยุตด้วยโลกุตตรมรรค, ความรู้ที่พ้นวิสัยของโลก, ความรู้ที่ช่วยคนให้พ้นโลก

โลกุตตรภูมิ ชั้นที่พ้นจากโลก, ระดับจิตใจของพระอริยเจ้า
       (ข้อ ๔ ในภูมิ ๔ อีก ๓ ภูมิ คือ กามวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ)

โลกุตตรวิมุตติ วิมุตติที่เป็นโลกุตตระ คือ ความหลุดพ้นที่เหนือวิสัยโลก ซึ่งกิเลสและความทุกข์ที่ละได้แล้ว ไม่กลับคืนมาอีก ไม่กลับกลาย
       ได้แก่ วิมุตติ ๓ อย่างหลัง คือ สมุจเฉทวิมุตติ, ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ และนิสสรณวิมุตติ
       ดู วิมุตติ, โลกิยวิมุตติ

โลกุตตรสุข, โลกุตรสุข ความสุขอย่างโลกุตตระ, ความสุขที่เหนือกว่าระดับของชาวโลก, ความสุขที่เหนือกว่าระดับของชาวโลก, ความสุขเนื่องด้วยมรรคผลนิพพาน

โลกุตตราริยมรรคผล อริยมรรคและอริยผลที่พ้นวิสัยของโลก

โลณเภสัช เกลือเป็นยา เช่น เกลือทะเล เกลือดำ เกลือสินเธาว์ เป็นต้น

โลน กิริยาวาจาหยาบคายไม่สุภาพ

โลภ ความอยากได้ (ข้อ ๑ ในอกุศลมูล ๓)

โลภเจตนา เจตนาประกอบด้วยโลภ, จงใจคิดอยากได้, ตั้งใจจะเอา

โลมะ, โลมา ขน

โลมชาติชูชัน ขนลุก

โลลโทษ โทษคือความโลเล, ความมีอารมณ์อ่อนไหว โอนเอนไปตามสิ่งเย้ายวนอันสะดุดตาสะดุดใจ

โลหิต เลือด; สีแดง

โลหิตกะ ชื่อภิกษุรูปหนึ่งในพวกเหลวไหลทั้ง ๖ ที่เรียกว่า พระฉัพพัคคีย์

โลหิตุปบาท ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงยังพระโลหิตให้ห้อ;
       (ข้อ ๔ ในอนันตริยกรรม ๕)

ไล่เบี้ย เรียกร้องเอาค่าเสียหายเป็นลำดับไปจนถึงคนที่สุด

วงศกุล วงศ์และตระกูล

วจนะ คำพูด;
       สิ่งที่บ่งจำนวนนามทางไวยากรณ์ เช่น บาลีมี ๒ วจนะ คือ
           เอกวจนะ บ่งนามจำนวนเพียงหนึ่ง และ
           พหุวจนะ บ่งนามจำนวนตั้งแต่สองขึ้นไป
       ไวยากรณ์ปัจจุบันนิยมใช้ว่า พจน์

วจีกรรม การกระทำทางวาจา, การกระทำด้วยวาจา, ทำกรรมด้วยคำพูด,
       ที่ดี เช่น พูดจริง พูดคำสุภาพ
       ที่ชั่ว เช่น พูดเท็จ พูดคำหยาบ;
       ดู กุศลกรรมบถ, อกุศลกรรมบถ

วจีทวาร ทวารคือวาจา, ทางวาจา, ทางคำพูด (ข้อ ๒ ใน ทวาร ๓)

วจีทุจริต ประพฤติชั่วด้วยวาจา, ประพฤติชั่วทางวาจามี ๔ อย่างคือ
       ๑. มุสาวาท พูดเท็จ
       ๒. ปิสุณาวาจา พูดส่อเสียด
       ๓. ผรุสวาจา พูดคำหยาบ
       ๔. สัมผัปปลาป พูดเพ้อเจ้อ
       ดู ทุจริต

วจีวิญญัติ การเคลื่อนไหวให้รู้ความหมายด้วยวาจา ได้แก่ การพูด การกล่าวถ้อยคำ;
       เทียบ กายวิญญัติ

วจีสมาจาร ความประพฤติทางวาจา

วจีสังขาร
       1. ปัจจัยปรุงแต่งวาจา ได้แก่ วิตก (ตรึก) และวิจาร (ตรอง) ถ้าไม่มีตรึกตรองก่อนแล้ว พูดย่อมไม่รู้เรื่อง
       2. สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางวาจา ได้แก่ วจีสัญเจตนา คือความจงใจทางวาจา ที่ก่อให้เกิดวจีกรรม;
       ดู สังขาร

วจีสุจริต ประพฤติชอบด้วยวาจา, ประพฤติชอบทางวาจา มี ๔ อย่าง คือ
       เว้นจากพูดเท็จ เว้นจากพูดส่อเสียด เว้นจากพูดคำหยาบ เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ;
       ดู สุจริต; เทียบ วจีทุจริต

วณิพก คนขอทานโดยร้องเพลงขอ คือขับร้องพรรณนาคุณแห่งการให้ทาน และสรรเสริญผู้ให้ทาน ที่เรียกว่าเพลงขอทาน

วทัญญู “ผู้รู้ถ้อยคำ” คือ ใจดี เอื้ออารี ยอมรับฟังความทุกข์ยากเดือนร้อนและความต้องการของผู้อื่น เข้าใจคำพูดของเขาได้ดี

วนปรัสถะ คำเพี้ยน; ดู วานปรัสถ์

วโนทยาน สวนป่า เช่น สาลวโนทยาน คือ ส่วนป่าไม้สาละ

วรฺคานฺต พยัญชนะที่สุดวรรค ได้แก่ ง ญ ณ น ม

วรรค หมวด, หมู่, ตอน, พวก;
       กำหนด จำนวนภิกษุที่ประกอบเข้าเป็นสงฆ์ หมวดหนึ่งๆ ซึ่งเมื่อครบจำนวนแล้วจึงจะทำสังฆกรรมอย่างนั้นๆ ได้ มี ๔ พวก คือ
       ๑. สงฆ์จตุรวรรค (สงฆ์พวก ๔ คือ ต้องมีภิกษุ ๔ รูปขึ้นไป ทำกรรมได้ทุกอย่างเว้นปวารณา ให้ผ้ากฐิน อุปสมบท และอัพภาน)
       ๒. สงฆ์ปัญจวรรค (สงฆ์พวก ๕ คือ ต้องมีภิกษุ ๕ รูปขึ้นไป ทำปวารณา ให้ผ้ากฐิน และอุปสมบทในปัจจันตชนบท)
       ๓. สงฆ์ทศวรรค (สงฆ์พวก ๑๐ คือต้องมีภิกษุ ๑๐ รูปขึ้นไป ให้อุปสมบทในมัธยมชนบทได้)
       ๔. สงฆ์วีสติวรรค (สงฆ์พวก ๒๐ คือต้องมีภิกษุ ๒๐ รูปขึ้นไป ทำอัพภานได้)

วรรณะ ผิว, สี, เพศ, ชนิด, พวก, เหล่า, หนังสือ, คุณความดี, ความยกย่องสรรเสริญ;
       ชนชั้นที่จัดแบ่งออกไปตามหลักศาสนาพราหมณ์เรียกว่า วรรณะ ๔
       คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร

วรรณนา คำพรรณนา,
       คำอธิบายความ คล้ายกับคำว่า อรรถกถา
       แต่คำว่า อรรถกถา ใช้หมายความทั้งคัมภีร์
       คำว่า วรรณนา ใช้เฉพาะคำอธิบายเป็นตอนๆ

ววัตถิตะ บทที่แยก เช่น ตุณฺหี อสฺส;
       ตรงข้ามกับ สัมพันธ์

วสวัตดี, วสวัดดี ชื่อพระยามาร เป็นเทพในสวรรค์ชั้นสูงสุดแห่งระดับกามาวจร เป็นผู้คอยขัดขวางเหนี่ยวรั้งบุคคลไม่ให้ล่วงพ้นจากแดนกาม ซึ่งอยู่ในอำนาจครอบงำของตน
       ดู มาร 2, เทวปุตตมาร

วสันต์ ฤดูใบไม้ผลิ; เทียบ วัสสานะ (ฤดูฝน)

วสี ความชำนาญ มี ๕ อย่าง คือ
       ๑. อาวัชชนวสี ความชำนาญคล่องแคล่วในการนึก ตรวจองค์ฌานที่ตนได้ออกมาแล้ว
       ๒. สมาปัชชนวสี ความชำนาญคล่องแคล่วในการที่เข้าฌานได้รวดเร็วทันที
       ๓. อธิฏฐานวสี ความชำนาญคล่องแคล่วในการที่จะรักษาไว้มิให้ฌานจิตต์นั้นตกภวังค์
       ๔. วุฏฐานวสี ความชำนาญคล่องแคล่วในการจะออกจากฌานเมื่อใดก็ได้ตามต้องการ
       ๕. ปัจจเวกขณวสี ความชำนาญคล่องแคล่วในการพิจารณาทบทวนองค์ฌาน

วักกะ ไต (เคยแปลกันว่า ม้าม)
       ดู ปิหกะ

วักกลิ พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นบุตรพราหมณ์ชาวพระนครสาวัตถี เรียนจบไตรเพทตามลัทธิพราหมณ์ บวชในพระพุทธศาสนา ด้วยความอยากเห็นพระรูปพระโฉมของพระศาสดา
       ครั้นบวชแล้วก็คอยติดตามดูพระองค์ตลอดเวลา จนไม่เป็นอันเจริญภาวนา
       พระพุทธเจ้าทรงรอเวลาให้ญาณของเธอสุกงอม ครั้นแล้วก็ตรัสเตือนเธอว่า
           “จะมีประโยชน์อะไรที่ได้เห็นกายเปื่อยเน่านี้ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา” ดังนี้เป็นต้น
       และทรงสอนต่อไปด้วยอุบายวิธี จนในที่สุดพระวักกลิก็ได้สำเร็จพระอรหัต
       และต่อมาได้รับยกย่องจากพระศาสดาว่า เป็นเอตทัคคะในทางศรัทธาวิมุต คือ หลุดพ้นด้วยศรัทธา

วังคันตะ ชื่อพราหมณ์ผู้เป็นบิดาของพระสารีบุตร

วังคีสะ พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นบุตรพราหมณ์ในพระนครสาวัตถี
       ได้ศึกษาไตรเพทจนมีความชำนาญ เป็นที่พอใจของอาจารย์ จึงได้เรียนมนตร์พิเศษชื่อฉวสีสมนตร์ สำหรับพิสูจน์ศีรษะซากศพ เอานิ้วเคาะหัวศพก็ทราบว่า ผู้นั้นตายแล้วไปเกิดเป็นอะไร ที่ไหน ท่านมีความชำนาญในมนตร์นี้มาก
       ต่อมาได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า และได้แสดงความสามารถของตน แต่เมื่อเคาะศีรษะของผู้ปรินิพพานแล้วไม่สามารถบอกคติได้ ด้วยความอยากเรียนมนตร์เพิ่มอีก จึงขอบวชในพระพุทธศาสนา ไม่นานก็ได้บรรลุพระอรหัต
       ได้รับยกย่องว่า เป็นเอตทัคคะในทางมีปฏิภาณ

วังสะ ชื่อแคว้นหนึ่งในบรรดา ๑๖ แคว้นใหญ่แห่งชมพูทวีป ตั้งอยู่ในเขตมัชฌิมชนบท ทางทิศใต้ของแคว้นโกศล ทางทิศตะวันตกของแคว้นกาสี และทางทิศเหนือของแคว้นอวันตี นครหลวงชื่อโกสัมพี
       บัดนี้เรียกว่า Kosam อยู่บนฝั่งใต้ของแม่น้ำยมุนา
       ในสมัยพุทธกาล วังสะเป็นแคว้นที่รุ่งเรืองและมีอำนาจมากแคว้นหนึ่ง มีราชาปกครองพระนามว่า พระเจ้าอุเทน

วัจกุฎี ส้วม, ที่ถ่ายอุจจาระสำหรับภิกษุสามเณร

วัจกุฎีวัตร ข้อปฏิบัติอันภิกษุพึงกระทำในวัจกุฎี,
       ข้อปฏิบัติสำหรับภิกษุผู้ใช้ส้วม โดยย่อมี ๗ ข้อ คือ
           ใช้ตามลำดับผู้ไปถึง,
           รักษากิริยาในการจะเข้าจะออกให้สุภาพเรียบร้อย และไม่ทำเสียงดัง,
           รักษาบริขาร คือจีวรของตน,
           รักษาตัว เช่น ไม่เบ่งแรง
           ไม่ใช้สิ่งที่จะเป็นอันตราย,
           ไม่ทำกิจอื่นไปพลาง,
           ระวังไม่ทำสกปรก,
           ช่วยรักษาความสะอาด

วัชชี ชื่อแคว้นหนึ่งในบรรดา ๑๖ แคว้นใหญ่ชมพูทวีป ตั้งอยู่บนฝั่งทิศตะวันออกของแม่น้ำคันธกะอยู่ทางทิศตะวันออกของแคว้นมัลละ ทางทิศเหนือของแคว้นมคธ นครหลวงชื่อ เวสาลี
       แคว้นวัชชีปกครองด้วยระบอบสามัคคีธรรม พวกกษัตริย์ที่ปกครองเรียกว่า กษัตริย์ลิจฉวี
       (นอกจากพวกลิจฉวีแล้วยังมีพวกวิเทหะซึ่งปกครองอยู่ที่เมืองมิถิลา แต่ในสมัยพุทธกาลมีอำนาจน้อย)
       แคว้นวัชชีรุ่งเรืองเข้มแข็งและมีอำนาจมาก ตอนปลายพุทธกาลได้กลายเป็นคู่แข่งกับแคว้นมคธ
       แต่หลังพุทธกาลไม่นานก็เสียอำนาจแก่มคธ เพราะอุบายทำลายสามัคคี ของวัสสการพราหมณ์

วัชชีบุตร ชื่อภิกษุพวกหนึ่งชาวเมืองเวสาลี แสดงวัตถุ ๑๐ ประการ ละเมิดธรรมวินัย
       เป็นต้นเหตุแห่งการสังคายนาครั้งที่ ๒

วัฏฏะ การวนเวียน, การเวียนเกิดเวียนตาย, การเวียนว่ายตายเกิด,
       ความเวียนเกิด หรือวนเวียน ด้วยอำนาจกิเลสกรรม และวิบาก
       เช่น กิเลสเกิดขึ้นแล้วให้ทำกรรม เมื่อทำกรรมแล้วย่อมได้รับผลของกรรม เมื่อได้รับผลของกรรมแล้ว กิเลสก็เกิดอีกแล้วทำกรรม แล้วเสวยผลกรรม หมุนเวียนต่อไป;
       ดู ไตรวัฏฏ์

วัฏฏคามณีอภัย ชื่อพระเจ้าแผ่นดินแห่งเกาะลังกาพระองค์หนึ่ง ครองราชย์ประมาณ พ.ศ. ๕๑๕-๕๒๗ ถูกพวกทมิฬแย่งชิงราชสมบัติ เสด็จไปซ่อนพระองค์อยู่ในป่า และได้รับความช่วยเหลือจากพระเถระรูปหนึ่ง
       ต่อมาพระองค์กู้ราชสมบัติคืนมา ได้ทรงสร้างอภัยคีรีวิหาร และอาราธนาพระเถระรูปนั้นมาอยู่ครอง กับทั้งได้ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอีกเป็นอันมาก
       การสังคายนาครั้งที่ ๕ ที่จารึกพุทธพจน์ลงในใบลาน ก็จัดทำในรัชกาลนี้

วัฏฏูปัจเฉท ความเข้าไปตัดเสียซึ่งวัฏฏะ
       (เป็นไวพจน์ของวิราคะ)

วัฑฒกีประมาณ ประมาณของช่างไม้, เกณฑ์หรือมาตราวัดของช่างไม้

วัฑฒลิจฉวี เจ้าลิจฉวีชื่อว่าวัฑฒะ ถูกพระเมตติยะ และพระภุมมชกะเสี้ยมสอนให้ทำการโจทพระทัพพมัลลบุตร ด้วยอาบัติปฐมปาราชิก เป็นต้นเหตุให้พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติการลงโทษคว่ำบาตร

วัฑฒิ, วัฑฒิธรรม หลักความเจริญ (ของอารยชน);
       ดู อริยวัฑฒิ

วัณณกสิณ ๔ กสิณที่เพ่งวัตถุมีสีต่างๆ ๔ อย่าง
       คือ นีลํ สีเขียว, ปีตํ สีเหลือง, โลหิตํ สีแดง, โอทาตํ สีขาว;
       ดู กสิณ

วัณณมัจฉริยะ ตระหนี่วรรณะ คือหวงผิวพรรณ ไม่พอใจให้คนอื่นสวยงาม หรือหวงคุณวัณณะ ไม่พอใจให้ใครมีคุณความดีมาแข่งตน
       (ข้อ ๔ ในมัจฉริยะ ๕)

วัตตขันธกะ ชื่อขันธกะที่ ๘ แห่งคัมภีร์จุลวรรค วินัยปิฎก ว่าด้วยวัตรประเภทต่างๆ

วัตตปฏิบัติ ดู วัตรปฏิบัติ

วัตตเภท ความแตกแห่งวัตร หมายความว่า ละเลยวัตร, ละเลยหน้าที่
       คือ ไม่ทำตามข้อปฏิบัติที่กำหนดไว้
       เช่น ภิกษุผู้กำลังประพฤติมานัต หรือกำลังอยู่ปริวาส ละเลยวัตรของตน
       พระอรรถกถาจารย์ปรับอาบัติทุกกฏ

วัตถิกรรม การผูกรัดที่ทวารหนัก คือ ผูกรัดหัวริดสีดวงงอกที่ทวารหนัก
       ท่านสันนิษฐานว่า อาจจะหมายถึงการสวนทวารเบาก็ได้

วัตถุ เรื่อง, สิ่ง, ข้อความ, ที่ดิน;
       ที่ตั้งเรื่อง หมายถึง บุคคลผู้เป็นที่ตั้งแห่งการทำกรรมของสงฆ์
       เช่น ในการให้อุปสมบท คนที่จะบวชเป็นวัตถุแห่งการให้อุปสมบท

วัตถุ ๑๐ เรื่องที่เป็นต้นเหตุ, ข้อซึ่งเป็นที่ตั้งหรือเป็นจุดเริ่มเรื่อง,
       ข้อปฏิบัติ ๑๐ ประการของพวกภิกษุวัชชีบุตร ชาวเมืองเวสาลี ที่ผิดเพี้ยนย่อหย่อนทางพระวินัย แปลกจากสงฆ์พวกอื่น เป็นเหตุปรารภให้มีการสังคายนาครั้งที่ ๒ เมื่อ พ.ศ. ๑๐๐ มีดังนี้
           ๑. สิงคิโลณกัปปะ เรื่องเกลือเขนง
               ถือว่า เกลือที่เก็บไว้ในเขนง (ครั้งนั้นภิกษุเก็บเกลือไว้ในเขนง ความหมายคือ รับประเคนไว้ค้างคืนแล้ว) เอาออกผสมอาหารฉันได้
           ๒. ทวังคุลกัปปะ เรื่องสองนิ้ว
               ถือว่า เงาแดดบ่ายเลยเที่ยงเพียง ๒ นิ้ว ฉันอาหารได้
           ๓. คามันตรกัปปะ เรื่องเข้าละแวกบ้าน
               ถือว่า ภิกษุฉันแล้ว ห้ามอาหารแล้ว ปรารภว่าจะเข้าละแวกบ้านเดี๋ยวนั้น ฉันโภชนะเป็นอนติริตตะได้
           ๔. อาวาสกัปปะ เรื่องอาวาส
               ถือว่า ภิกษุในหลายอาวาสที่มีสีมาเดียวกัน แยกทำอุโบสถต่างหากกันได้
           ๕. อนุมติกัปปะ เรื่องอนุมัติ
               ถือว่า ภิกษุยังมาไม่พร้อม ทำสังฆกรรมไปพลาง ภิกษุที่มาหลังจึงขออนุมัติก็ได้
           ๖. อาจิณณกัปปะ เรื่องเคยประพฤติมา
               ถือว่า ธรรมเนียมใดอุปัชฌาย์อาจารย์เคยประพฤติมาแล้ว ควรประพฤติตามอย่างนั้น
           ๗. อมถิตกัปปะ เรื่องไม่กวน
               ถือว่า น้ำนมสดแปรไปแล้วแต่ยังไม่เป็นทธิคือนมส้ม ภิกษุฉันแล้ว ห้ามอาหารแล้ว ดื่มน้ำนมอย่างนั้น อันเป็นอนติริตตะได้
           ๘. ชโลคิง ปาตุง ถือว่า สุราอย่างอ่อน ไม่ให้เมา ดื่มได้
           ๙. อทสกัง นิสีทนัง ถือว่า ผ้านิสีทนะไม่มีชายก็ใช้ได้
           ๑๐. ชาตรูปรชตัง ถือว่า ทองและเงินเป็นของควร รับได้
       กรณีวัตถุ ๑๐ ประการนี้ จัดเป็นวิวาทาธิกรณ์ใหญ่เรื่องหนึ่ง

วัตถุกาม พัสดุอันน่าใคร่ ได้แก่ กามคุณ ๕
       คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่าใคร่ น่าปรารถนา น่าชอบใจ;
       ดู กาม

วัตถุเทวดา เทวดาที่ดิน, พระภูมิ

วัตถุวิบัติ วิบัติโดยวัตถุ
       คือ บุคคลหรือวัตถุซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งสังฆกรรมเสีย ใช้ไม่ได้ เช่น ในการอุปสมบท
           ผู้อุปสมบทอายุไม่ครบ ๒๐ ปี หรือ
           มีเรื่องที่เป็นความผิดอย่างร้ายแรง เช่น ฆ่าบิดามารดา หรือ
           เป็นปาราชิกเมื่อบวชเป็นภิกษุคราวก่อน หรือ
           ไปเข้ารีตเดียรถีย์ทั้งเป็นภิกษุ หรือ
           เป็นสตรี
       ดังนี้เป็นต้น

วัตถุสมบัติ ความถึงพร้อมแห่งวัตถุ,
       ความสมบูรณ์โดยบุคคลหรือวัตถุซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งการทำสังฆกรรมนั้นๆ มีคุณสมบัติถูกต้อง ทำให้สังฆกรรมใช้ได้ไม่บกพร่องในด้านนี้ เช่น ในการอุปสมบท
       ผู้ขอบวชเป็นชายมีอายุครบ ๒๐ ปี
       ไม่เป็นมนุษย์วิบัติ เช่น ถูกตอน
       ไม่ได้ทำความผิดร้ายแรง เช่น ฆ่าบิดามารดา
       ไม่ใช่คนทำความเสียหายในพระพุทธศาสนาอย่างหนัก เช่น ปาราชิก เมื่อบวชคราวก่อน
       ดังนี้เป็นต้น

วัตร กิจพึงกระทำ, หน้าที่, ธรรมเนียม, ความประพฤติ,
       ข้อปฏิบัติ จำแนกออกเป็น
           ๑. กิจวัตร ว่าด้วยกิจที่ควรทำ
               (เช่น อุปัชฌายวัตร สัทธิวิหาริกวัตร อาคันตุกวัตร)
           ๒. จริยาวัตร ว่าด้วยมารยาทอันควรประพฤติ
               (เช่น ไม่ทิ้งขยะทางหน้าต่างหรือทิ้งลงนอกฝานอกกำแพง ไม่จับวัตถุอนามาส)
           ๓. วิธีวัตร ว่าด้วยแบบอย่างที่พึงกระทำ
               (เช่น วิธีเก็บบาตร วิธีพับจีวร วิธีเปิดปิดหน้าต่างตามฤดู วิธีเดินเป็นหมู่);
       วัตรส่วนมากมาใน วัตตขันธกะ

วัตรบท ๗ หลักปฏิบัติ หรือข้อที่ถือปฏิบัติประจำ ๗ อย่าง ที่ทำให้มฆมาณพได้เป็นท้าวสักกะหรือพระอินทร์คือ
       ๑. มาตาเปติภโร เลี้ยงมารดาบิดา
       ๒. กุเลเชฏฺฐาปจายี เคารพผู้ใหญ่ในตระกูล
       ๓. สณฺหวาโจ พูดคำสุภาพอ่อนหวาน
       ๔. อปิสุณวาโจ หรือ เปสุเณยฺยปฺปหายี ไม่พูดส่อเสียด พูดสมานสามัคคี
       ๕. ทานสํวิภาครโต หรือ มจฺเฉรวินย ชอบเผื่อแผ่ให้ปัน ปราศจากความตระหนี่
       ๖. สจฺจวาโจ มีวาจาสัตย์
       ๗. อโกธโน หรือ โกธาภิกู ไม่โกรธ ระงับความโกรธได้

วัตรปฏิบัติ การปฏิบัติตามหน้าที่, การทำตามข้อปฏิบัติที่พึงกระทำเป็นประจำ, ความประพฤติที่เป็นไปตามขนบธรรมเนียมแห่งเพศ ภาวะหรือวิถีดำเนินชีวิตของตน

วัน ระยะเวลา ๑๒ ชั่วโมง ตั้งแต่ย่ำรุ่งจนถึงย่ำค่ำ, ระยะเวลา ๒๔ ชั่วโมง ตั้งแต่ย่ำรุ่งถึงย่ำรุ่ง หรือตั้งแต่เที่ยงคืนถึงเที่ยงคืน
       การที่เรียกว่า วัน นั้นเพราะแต่โบราณถือเอากำหนดพระอาทิตย์ ซึ่งเรียกตะวันขึ้นจนถึงตะวันตกเป็นกำหนด จึงเรียกว่าวัน คือมาจากคำว่า ตะวัน นั่นเอง

วันอุโบสถ ดู อุโบสถ

วัปปะ ชื่อภิกษุรูปหนึ่งในคณะปัญจวัคคีย์ เป็นพระอรหันต์รุ่นแรก

วัปปมงคล พิธีแรกนาขวัญ คือพิธีเริ่มไถนาเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ข้าวในนา

วัย ส่วนแห่งอายุ, ระยะของอายุ, เขตอายุ
       นิยมแบ่งเป็น ๓ วัย คัมภีร์วิสุทธิมรรคจัดดังนี้
           ๑. ปฐมวัย วัยต้น ๓๓ ปี คือ อายุ ๑ ถึง ๓๓ ปี
           ๒. มัชฌิมวัย วัยกลาง ๓๔ ปี คือ อายุ ๓๔ ถึง ๖๗ ปี
           ๓. ปัจฉิมวัย วัยปลาย ๓๓ ปี คือ อายุ ๖๘ ถึง ๑๐๐ ปี

วัสวดี ชื่อของพระยามาร; ดู วสวัตดี

วัสสานะ, วัสสานฤดู ฤดูฝน; ดู มาตรา

วัสสาวาสิกพัสตร์ ดู ผ้าจำนำพรรษา

วัสสิกสาฎก ดู ผ้าอาบน้ำฝน

วัสสูปนายิกา วันเข้าพรรษา; ดู จำพรรษา

วางไว้ทำร้าย ได้แก่ วางขวาก ฝังหลาวไว้ในหลุมพราง วางของหนักไว้ให้ตกทับ วางยาพิษ เป็นต้น

วาจา คำพูด, ถ้อยคำ

วาจาชอบ ดู สัมมาวาจา

วาจาชั่วหยาบ ในวินัยหมายถึง ถ้อยคำพาดพิงทวารหนักทวารเบาและเมถุน;
       ดู ทุฏฐุลลวาจา

วาชเปยะ, วาชไปยะ “วาจาดูดดื่มใจ”, “น้ำคำควรดื่ม”,
       ความรู้จักพูด คือ รู้จักทักทายปราศรัย มีถ้อยคำสุภาพนุ่มนวล ประกอบด้วยเหตุผล มีประโยชน์ เป็นทางแห่งสามัคคี ทำให้เกิดความเข้าใจอันดี ความเชื่อถือและความนิยมนับถือ
       (ข้อ ๔ ในราชสังคหวัตถุ ๔)

วาตสมุฏฺฐานา อาพาธา ความเจ็บไข้ที่มีลมเป็นสมุฏฐาน

วานปรัสถ์ ผู้อยู่ป่า,
       เป็นธรรมเนียมของพราหมณ์ว่า ผู้ที่ครองเรือน มีครอบครัวเป็นหลักฐาน ครั้นลูกหลานเติบโตก็จัดแจงให้มีครอบครัว ตนเองชราลงก็มุ่งแสวงบุญกุศล เข้าป่าจำศีลถือพรตบำเพ็ญตบะต่อไป;
       ดู อาศรม

วาโยธาตุ ธาตุลม คือธาตุที่มีลักษณะพัดไปมา, ภาวะสั่นไหว เคร่งตึง ค้ำจุน;
       ในร่างกายนี้ ส่วนที่ใช้กำหนดเป็นอารมณ์กรรมฐาน ได้แก่ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในไส้ ลมพัดไปตามตัว ลมหายใจ
       (ตามสภาวะ วาโยธาตุ คือ สภาพสั่นไหว หรือค้ำจุน);
       ดู ธาตุ

วาร วันหนึ่งๆ ในสัปดาห์, ครั้ง, เวลา กำหนด

วาระ ครั้งคราว, เวลาที่กำหนดสำหรับผลัดเปลี่ยน

วารี น้ำ

วาลิการาม ชื่อวัดหนึ่งในเมืองเวสาลี แคว้นวัชชี
       เป็นที่ประชุมทำสังคายนาครั้งที่ ๒ ชำระวัตถุ ๑๐ ประการที่เป็นเสี้ยนหนามพระธรรมวินัย

วาสนา อาการกายวาจา ที่เป็นลักษณะพิเศษของบุคคล ซึ่งเกิดจากกิเลสบางอย่าง และได้สั่งสมอบรมมาเป็นเวลานานจนเคยชินติดเป็นพื้นประจำตัว แม้จะละกิเลสนั้นได้แล้ว แต่ก็อาจจะละอาการกายวาจาที่เคยชินไม่ได้ เช่น คำพูดติดปาก อาการเดินที่เร็ว หรือเดินต้วมเตี้ยม เป็นต้น
       ท่านขยายความว่า วาสนา ที่เป็นกุศล ก็มี เป็นอกุศล ก็มี เป็นอัพยากฤต คือ เป็นกลางๆ ไม่ดีไม่ชั่ว ก็มี
       ที่เป็นกุศลกับอัพยากฤตนั้น ไม่ต้องละ
       แต่ที่เป็นอกุศลซึ่งควรจะละนั้น แบ่งเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนที่จะเป็นเหตุให้เข้าถึงอบายกับส่วนที่เป็นเหตุให้เกิดอาการแสดงออกทางกายวาจาแปลกๆ ต่างๆ ส่วนแรก พระอรหันต์ทุกองค์ละได้ แต่ส่วนหลัง พระพุทธเจ้าเท่านั้นละได้ พระอรหันต์อื่นละไม่ได้
       จึงมีคำกล่าวว่า พระพุทธเจ้าเท่านั้นละกิเลสทั้งหมดได้ พร้อมทั้งวาสนา;
       ในภาษาไทย คำว่า วาสนา มีความหมายเพี้ยนไป กลายเป็นอำนาจบุญเก่า หรือกุศลที่ทำให้ได้รับลาภยศ

วาสภคามิกะ ชื่อพระเถระองค์หนึ่งในการกสงฆ์ ผู้ทำสังคายนาครั้งที่ ๒

วิกขัมภนวิมุตติ พ้นด้วยข่มหรือสะกดไว้
       ได้แก่ ความพ้นจากกิเลสและอกุศลธรรมได้ด้วยกำลังฌาน อาจสะกดไว้ได้นานกว่าตทังควิมุตติ แต่เมื่อฌานเสื่อมแล้ว กิเลสอาจเกิดขึ้นอีก จัดเป็นโลกิยวิมุตติ
       (ข้อ ๒ ในวิมุตติ ๕; ในบาลีเป็นข้อ ๑ ถึงชั้นอรรถกถา จึงกลายมาเป็นข้อ ๒)

วิกติกา เครื่องลาดที่เป็นรูปสัตว์ร้าย เช่น ราชสีห์ เสือ เป็นต้น

วิกัป, วิกัปป์ ทำให้เป็นของสองเจ้าของ คือ ขอให้ภิกษุสามเณรอื่นร่วมเป็นเจ้าของบาตรหรือจีวรนั้นๆ ด้วย ทำให้ไม่ต้องอาบัติเพราะเก็บอติเรกบาตร หรืออติเรกจีวรไว้เกินกำหนด เช่น
       วิกัปจีวรผืนหนึ่งต่อหน้าในหัตถบาสว่า
       “อิมํ จีวรํ ตุยฺหํ วิกปฺเปมิ”
        แปลว่า “ข้าพเจ้าวิกัปจีวรผืนนี้แก่ท่าน”

วิกัปปิตจีวร จีวรที่วิกัปป์ไว้, จีวรที่ทำให้เป็นของ ๒ เจ้าของ

วิการ
       1. พิการ, ความแปรผัน, ความผิดแปลก, ผิดปรกติ
       2. ทำต่างๆ, ขยับเขยื้อน เช่น กวักมือ ดีดนิ้ว เป็นต้น

วิกาล ผิดเวลา,
       ในวิกาลโภชนสิกขาบท (ห้ามฉันอาหารในเวลาวิกาล) หมายถึง ตั้งแต่เที่ยงแล้วไปจนถึงก่อนอรุณวันใหม่;
       ส่วนในอันธการวรรค สิกขาบทที่ ๗ ในภิกขุนีวิภังค์ (ห้ามภิกษุณีเข้าสู่ตระกูลในเวลาวิกาล เอาที่นอนปูลาดนั่งนอนทับโดยไม่บอกกล่าวขออนุญาตเจ้าบ้าน) หมายถึง ตั้งแต่พระอาทิตย์ตกจนถึงก่อนอรุณวันใหม่;
       ในสิงคาลกสูตร ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค สุตตันตปิฎก กล่าวถึงการเที่ยวซอกแซกในเวลาวิกาลว่าเป็นอบายมุขนั้น ก็หมายถึงเวลาค่ำ

วิกาลโภชน์ การกินอาหารในเวลาวิกาล, การฉันอาหารผิดเวลา
       ดู วิกาล

วิกุพพนฤทธิ์, วิกุพพนาอิทธิ ฤทธิ์คือการแผลง, ฤทธิ์บิดผัน, ฤทธิ์ผันแผลง คือ เปลี่ยนจากรูปร่างปกติ แปลงเป็นเด็ก เป็นครุฑ เป็นเทวดา เป็นเสือ เป็นงู เป็นต้น
       (ต้องห้ามทางพระวินัย)

วิขัมภนปหาน การละกิเลสได้ด้วยข่มไว้ด้วยฌาน;
       มักเขียน วิกขัมภนปหาน

วิขัมภนวิมุตติ ดู วิกขัมภนวิมุตติ

วิจาร ความตรอง, การพิจารณาอารมณ์, การตามฟั้นอารมณ์
       (ข้อ ๒ ในองค์ฌาน ๕)

วิจารณ์
       1. พิจารณา, ไตร่ตรอง
       2. สอบสวน, ตรวจตรา
       3. คิดการ, กะการ, จัดเตรียม, จัดแจง, ดูแล, จัดดำเนินการ
       4. ในภาษาไทย มักหมายถึง ติชม, แสดงความคิดเห็นในเชิงตัดสินคุณค่า ชี้ข้อดีข้อด้อย

วิจารณญาณ ปัญญาที่ไตร่ตรองพิจารณาเหตุผล

วิจิกิจฉา ความลังเลไม่ตกลงได้, ความไม่แน่ใจ, ความสงสัย, ความเคลือบแคลงในกุศลธรรมทั้งหลาย, ความลังเลเป็นเหตุไม่แน่ใจในปฏิปทาเครื่องดำเนินของตน
       (ข้อ ๕ ในนิวรณ์ ๕, ข้อ ๕ ในสังโยชน์ ๑๐ ตามนัยพระอภิธรรม, ข้อ ๔ ในอนุสัย ๗)

วิจิตร งาม, งดงาม, แปลก, ตระการ, หรู, แพรวพราว

วิชชา ความรู้แจ้ง, ความรู้วิเศษ;
       วิชชา ๓ คือ
           ๑. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ความรู้ที่ได้ระลึกชาติได้
           ๒. จุตูปปาตญาณ ความรู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย
           ๓. อาสวักขยญาณ ความรู้ที่ทำอาสวะให้สิ้น;
       วิชชา ๘ คือ
           ๑. วิปัสสนาญาณ ญาณในวิปัสสนา
           ๒. มโนมยิทธิ ฤทธิ์ทางใจ
           ๓. อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ
           ๔. ทิพพโสต หูทิพย์
           ๕. เจโตปริยญาณ รู้จักกำหนดใจผู้อื่นได้
           ๖. ปุพเพนิวาสานุสติ
           ๗. ทิพพจักขุ
ตาทิพย์ (=จุตูปปาตญาณ)
           ๘. อาสวักขยญาณ

วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ประกอบด้วยวิชชา ๓ หรือวิชชา ๘ และจรณะ ๑๕ อันเป็นปฏิปทาเครื่องบรรลุวิชชานั้น, มีความรู้ประเสริฐ ความประพฤติประเสริฐ
       (ข้อ ๓ ในพุทธคุณ ๙)

วิชชาธร, วิชาธร ดู วิทยาธร

วิญญัติ
       1. การเคลื่อนไหวให้รู้ความหมาย, การสื่อความหมาย มี ๒ คือ
           ๑. กายวิญญัติ การให้รู้ความหมายด้วยกาย เช่น พยักหน้า กวักมือ
           ๒. วจีวิญญัติ การให้รู้ความหมายด้วยวาจา คือพูด หรือบอกกล่าว
       2. การออกปากขอของต่อคนไม่ควรขอ หมายถึงภิกษุขอสิ่งของต่อคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติ ผู้ไม่ใช่คนปวารณา

วิญญาณ ความรู้แจ้งอารมณ์, จิต,
       ความรู้ที่เกิดขึ้นเมื่ออายตนะภายในและอายตนะภายนอกกระทบกัน
       เช่น รูปอารมณ์ในเวลาเมื่อรูปมากระทบตา เป็นต้น
       ได้แก่ การเห็น การได้ยิน เป็นอาทิ;
       วิญญาณ ๖ คือ
           ๑. จักขุวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางตา (เห็น)
           ๒. โสตวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางหู (ได้ยิน)
           ๓. ฆานวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางจมูก (ได้กลิ่น)
           ๔. ชิวหาวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางลิ้น (รู้รส)
           ๕. กายวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางกาย (รู้สิ่งต้องกาย)
           ๖. มโนวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางใจ (รู้เรื่องในใจ)

วิญญาณฐิติ ภูมิเป็นที่ตั้งของวิญญาณ มี ๗ คือ
       ๑. สัตว์เหล่าหนึ่ง มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน เช่น พวกมนุษย์ พวกเทพบางหมู่ พวกวินิปาติกะ บางหมู่
       ๒. สัตว์เหล่าหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น พวกเทพผู้อยู่ในจำพวกพรหมผู้เกิดในภูมิปฐมฌาน
       ๓. สัตว์เหล่าหนึ่ง มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาต่างกัน เช่น พวกเทพอาภัสสระ
       ๔. สัตว์เหล่าหนึ่ง มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น พวกเทพสุภกิณหะ
       ๕. สัตว์เหล่าหนึ่ง ผู้เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะ
       ๖. สัตว์เหล่าหนึ่ง ผู้เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะ
       ๗. สัตว์เหล่าหนึ่ง ผู้เข้าถึงชั้นอากิญจายตนะ

วิญญาณธาตุ ธาตุรู้, ความรู้แจ้ง, ความรู้อะไรได้
       (ข้อ ๖ ในธาตุ ๖)

วิญญาณัญจายตนะ ฌานอันกำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์หรือภพของผู้เข้าถึงฌานนี้
       (ข้อ ๒ ในอรูป ๔)

วิญญาณาหาร อาหารคือวิญญาณ, วิญญาณเป็นอาหาร คือเป็นปัจจัยอุดหนุนหล่อเลี้ยงให้เกิดนามรูป
       (ข้อ ๔ ในอาหาร ๔)

วิญญู ผู้รู้แจ้ง, นักปราชญ์;
       ผู้รู้ผิดรู้ชอบตามปรกติ

วิตก ความตรึก, ตริ,
       การยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ หรือปักจิตลงสู่อารมณ์ (ข้อ ๑ ในองค์ฌาน ๕),
       การคิด, ความดำริ;
       ไทยใช้ว่าเป็นห่วงกังวล

วิตกจริต พื้นนิสัยหนักในทางตรึก, มีวิตกเป็นปรกติ, มีปรกตินึกพล่านหรือคิดจับจดฟุ้งซ่าน,
       ผู้มีจริตชนิดนี้พึงแก้ด้วย เพ่งกสิณ หรือเจริญอานาปานสติกัมมัฏฐาน
       (ข้อ ๖ ในจริต ๖)

วิติกกมะ ดู วีติกกมะ

วิทยา ความรู้

วิทยาธร “ผู้ทรงวิทยา”, ผู้มีวิชากายสิทธิ์, ผู้มีฤทธิ์ที่สำเร็จด้วยวิทยาอาคมหรือของวิเศษ, พ่อมด

วิเทหะ ชื่อแคว้นหนึ่งในชมพูทวีป นครหลวงชื่อ มิถิลา เป็นดินแดนพวกวัชชีอีกถิ่นหนึ่ง ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำคงคา ตรงข้ามกับแคว้นมคธ

วิธัญญา ชื่อนครหรือถิ่นหนึ่งในสักกชนบท ปกครองโดยกษัตริย์วงศ์ศากยะ;
       เวธัญญะ ก็เรียก

วินยวาที ผู้มีปกติกล่าวพระวินัย

วินยสมฺมุขตา ความเป็นต่อหน้าวินัยในวิวาทาธิกรณ์
       หมายความว่า ปฏิบัติตามธรรมวินัยและสัตถุศาสน์อันเป็นเครื่องระงับอธิกรณ์นั้น;
       ดู สัมมุขาวินัย

วินัย ระเบียบสำหรับกำกับความประพฤติให้เป็นแบบแผนอันหนึ่งอันเดียวกัน,
       ประมวลสิกขาบทของพระสงฆ์ทั้งส่วนอาทิพรหมจรรย์และอภิสมาจาร;
       ถ้าพูดว่าพระวินัย มักหมายถึงพระวินัยปิฎก

วินัย ระเบียบแบบแผนสำหรับฝึกฝนควบคุมความประพฤติของบุคคลให้มีชีวิตที่ดีงามเจริญก้าวหน้าและควบคุมหมู่ชนให้อยู่ร่วมกันด้วยความสงบเรียบร้อยดีงาม,
       ประมวลบทบัญญัติข้อบังคับสำหรับฝึกฝนควบคุมความประพฤติ;
       วินัย มี ๒ อย่างคือ
           ๑. อนาคาริยวินัย วินัยของผู้ไม่ครองเรือน คือ วินัยของบรรพชิต หรือวินัยของพระสงฆ์
               ได้แก่ การไม่ต้องอาบัติทั้ง ๗ หรือ ปาริสุทธิศีล ๔
           ๒. อาคาริยวินัย วินัยของผู้ครองเรือน คือ วินัยของชาวบ้าน
               ได้แก่ การงดเว้นจากอกุศลกรรมบถ ๑๐ โดยนัยก็คือ กุศลกรรมบถ ๑๐

วินัยกถา คำพูดเกี่ยวกับพระวินัย, คำบรรยาย คำอธิบาย หรือเรื่องสนทนาเกี่ยวกับพระวินัย

วินัยกรรม การกระทำเกี่ยวกับพระวินัย หรือการปฏิบัติตามวินัย เช่น การปลงอาบัติ การอธิษฐานบริขาร การวิกัปบาตรและจีวร เป็นต้น

วินัยธร “ผู้ทรงวินัย”, ภิกษุผู้ชำนาญวินัย;
       พระอุบาลีเถระ ได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่า เป็นเอตทัคคะในบรรดาพระวินัยธร

วินัยปิฎก ดู ไตรปิฎก

วินัยมุข มุขแห่งวินัย, หลักใหญ่ๆ หรือหัวข้อสำคัญๆ ที่เป็นเบื้องต้นแห่งพระวินัย หรือเป็นปากทางนำเข้าสู่วินัย
       เป็นชื่อหนังสือที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงรจนาขึ้น เพื่อชี้ประโยชน์แห่งพระวินัย มุ่งช่วยให้พระภิกษุสามเณรตั้งอยู่ในปฏิบัติพองาม
       ผู้ไม่เคร่งจะได้รู้จักสำรวมรักษามรรยาทสมเป็นสมณะ
       ฝ่ายผู้เคร่งครัดเกินไปจะได้หายงมงาย ไม่สำคัญตนว่า ดีกว่าผู้อื่น ตั้งรังเกียจผู้อื่นเพราะเหตุผลเล็กน้อย เพียงสักว่า ธรรมเนียมหรือแม้ชักนำผู้อื่นในปฏิบัติอันดี ต่างจะได้อานิสงส์ คือไม่มีวิปฏิสาร;
       ทรงมุ่งหมายเพื่อจะแต่งแก้หนังสือ บุพพสิกขาวัณณนา ของพระอมราภิรักขิต (อมร เกิด) เจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส;
       จัดพิมพ์เป็น ๓ เล่ม ใช้เป็นแบบเรียนนักธรรมชั้นตรี ชั้นโท และชั้นเอก ตามลำดับ

วินัยวัตถุ เรื่องเกี่ยวกับพระวินัย

วินิจฉัย ไตร่ตรอง, ใคร่ครวญ, ชี้ขาด, ตัดสิน, ชำระความ

วินิบาต โลกหรือวิสัยเป็นที่ตกไปแห่งสัตว์อย่างไร้อำนาจ, แดนเป็นที่ตกลงไปพินาศย่อยยับ;
       อรรถกถาแห่งอิติวุตตกะอธิบาย นัยหนึ่งว่า เป็นไวพจน์ของคำว่านรกนั่นเอง อีกนัยหนึ่งว่า หมายถึงกำเนิดอสุรกาย

วินิปาติกะ ท่านว่าได้แก่พวกเวมานิกเปรต คือ พวกเปรตมีวิมานอยู่ได้เสวยสุขและต้องทุกข์ทรมานเป็นช่วงๆ สลับกันไป มีสุขบ้างทุกข์บ้างคละระคน

วินีตวัตถุ เรื่องที่ท่านวินิจฉัยแล้ว, เรื่องที่ตัดสินแล้ว
       ท่านแสดงไว้เป็นตัวอย่างสำหรับเทียบเคียงตัดสิน ในการปรับอาบัติ
       (ทำนองคำพิพากษาของศาลสูงสุดที่นำมาศึกษากัน)

วิบัติ ความเสีย, ความผิดพลาด, ความบกพร่อง, ความเสียหายใช้การไม่ได้
       1. วิบัติความเสียของภิกษุ มี ๔ อย่าง คือ
           ๑. ศีลวิบัติ ความเสียแห่งศีล
           ๒. อาจารวิบัติ ความเสียมรรยาท
           ๓. ทิฏฐิวิบัติ ความเห็นผิดธรรมผิดวินัย
           ๔. อาชีววิบัติ ความเสียหายแห่งการเลี้ยงชีพ
       2. วิบัติคือความเสียหายใช้ไม่ได้ของสังฆกรรม มี ๔ คือ
           ๑. วัตถุวิบัติ เสียโดยวัตถุ เช่น อุปสมบทคนอายุต่ำกว่า ๒๐ ปี
           ๒. สีมาวิบัติ เสียโดยสีมา เช่น สีมาไม่มีนิมิต
           ๓. ปริสวิบัติ เสียโดยบริษัทคือที่ประชุม เช่น ภิกษุเข้าประชุมไม่ครบองค์สงฆ์
           ๔. กรรมวาจาวิบัติ เสียโดยกรรมวาจา เช่น สวดผิดพลาดตกหล่น สวดแต่อนุสาวนาไม่ได้ตั้งญัตติ เป็นต้น
           (ข้อกรรมวาจาวิบัติบางกรณีแยกเป็นญัตติวิบัติและอนุสาวนาวิบัติ กลายเป็นวิบัติ ๕ ก็มี);
       เทียบ สมบัติ

วิบาก ผล, ผลแห่งกรรมที่ทำไว้แต่ปางก่อน

วิปจิตัญญู ผู้อาจรู้ธรรมต่อเมื่อท่านอธิบายความแห่งหัวข้อนั้น, รู้ต่อเมื่อขยายความ
       (ข้อ ๒ ในบุคคล ๔)

วิปฏิสาร ความเดือดร้อน, ความร้อนใจ
       เช่น ผู้ประพฤติผิดศีล เกิดความเดือดร้อนขึ้นในใจ ในเพราะความไม่บริสุทธิ์ของตน
       เรียกว่า เกิดวิปฏิสาร

วิปปวาส “อยู่ปราศ” เป็นประการหนึ่งในรัตติเฉท การขาดราตรีแห่งการประพฤติมานัตและการอยู่ปริวาส;
       สำหรับผู้ประพฤติมานัต วิปปวาส หมายถึง อยู่ในถิ่น (จะเป็นวัดหรือที่มิใช่วัดเช่นป่าเป็นต้นก็ตาม) ที่ไม่มีสงฆ์อยู่เป็นเพื่อน คืออยู่ปราศจากสงฆ์,
       สำหรับผู้อยู่ปริวาส หมายถึง อยู่ในถิ่นปราศจากปกตัตตภิกษุ (มีปกตัตตภิกษุอยู่เป็นเพื่อนรูปเดียวก็ใช้ได้);
       ดู รัตติเฉท

วิปริณาม ความแปรปรวน, ความผันแปรเปลี่ยนแปลงเรื่อยไป

วิปลาส, พิปลาส กิริยาที่ถือโดยอาการวิปริตผิดจากความเป็นจริง, ความเห็นหรือความเข้าใจคลาดเคลื่อนจากสภาพที่เป็นจริง มีดังนี้;
       ก. วิปลาสด้วยอำนาจจิตต์และเจตสิก ๓ ประการ คือ
           ๑. วิปลาสด้วยอำนาจสำคัญผิด เรียกว่า “สัญญาวิปลาส”
           ๒. วิปลาสด้วยอำนาจคิดผิด เรียกว่า “จิตตวิปลาส”
           ๓. วิปลาสด้วยอำนาจเห็นผิด เรียกว่า “ทิฏฐิวิปลาส”
       ข. วิปลาสด้วยสามารถวัตถุเป็นที่ตั้ง ๔ ประการ คือ
           ๑. วิปลาสในของที่ไม่เที่ยง ว่าเที่ยง
           ๒. วิปลาสในของที่เป็นทุกข์ ว่าเป็นสุข
           ๓. วิปลาสในของที่ไม่ใช่ตน ว่าเป็นตน
           ๔. วิปลาสในของที่ไม่งาม ว่างาม

วิปัสสนา ความเห็นแจ้ง คือเห็นตรงต่อความเป็นจริงของสภาวธรรม;
       ปัญญาที่เห็นไตรลักษณ์อันให้ถอนความหลงผิดรู้ผิดในสังขารเสียได้,
       การฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความเห็นแจ้งรู้ชัดภาวะของสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น
       (ข้อ ๒ ในกัมมัฏฐาน ๒ หรือภาวนา ๒)
       ดู ภาวนา, ไตรลักษณ์

วิปัสสนากัมมัฏฐาน กรรมฐานคือวิปัสสนา; ดู วิปัสสนา

วิปัสสนาญาณ ญาณที่นับเข้าในวิปัสสนาหรือญาณที่จัดเป็นวิปัสสนามี ๙ อย่าง คือ
       ๑. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ญาณตามเห็นความเกิดและความดับแห่งนามรูป
       ๒. ภังคานุปัสสนาญาณ ญาณตามเห็นจำเพาะความดับเด่นขึ้นมา
       ๓. ภยตูปัฏฐานญาณ ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว
       ๔. อาทีนวานุปัสสนาญาณ ญาณคำนึงเห็นโทษ
       ๕. นิพพิทานุปัสสนาญาณ ญาณคำนึงเห็นด้วยความหน่าย
       ๖. มุจจิตุกัมยตาญาณ ญาณหยั่งรู้อันให้ใคร่จะพ้นไปเสีย
       ๗. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ญาณอันพิจารณาทบทวนเพื่อจะหาทาง
       ๘. สังขารุเปกขาญาณ ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร
       ๙. สัจจานุโลมิกญาณ ญาณเป็นไปโดยควรแก่การหยั่งรู้อริยสัจจ์

วิปัสสนาธุระ ธุระฝ่ายวิปัสสนา, ธุระด้านการเจริญวิปัสสนา, กิจพระศาสนาในด้านการบำเพ็ญกรรมฐาน;
       เทียบ คันถธุระ

วิปัสสนาปัญญา ปัญญาที่ถึงขั้นเป็นวิปัสสนา, ปัญญาที่ใช้ในการเจริญวิปัสสนา คือ ปัญญาที่พิจารณาเข้าใจสังขารตามความเป็นจริง

วิปัสสนาภาวนา การเจริญวิปัสสนา;
       ดู ภาวนา, วิปัสสนา

วิปัสสนายานิก ผู้มีวิปัสสนาเป็นยาน คือผู้เจริญวิปัสสนาโดยยังไม่ได้ฌานสมาบัติมาก่อน

วิปัสสนูปกิเลส อุปกิเลสแห่งวิปัสสนา,
       สภาพน่าชื่นชม แต่ที่แท้เป็นโทษเครื่องเศร้าหมองแห่งวิปัสสนาซึ่งเกิดแก่ผู้ได้วิปัสสนาอ่อนๆ ทำให้เข้าใจผิดว่าตนบรรลุมรรคผลแล้ว จึงไม่ดำเนินก้าวหน้าต่อไปในวิปัสสนาญาณ มี ๑๐ คือ
       ๑. โอภาส แสงสว่าง
       ๒. ปีติ ความอิ่มใจ
       ๓. ญาณ ความรู้
       ๔. ปัสสัทธิ ความสงบกายและจิต
       ๕. สุข ความสบายกาย สบายจิต
       ๖. อธิโมกข์ ความน้อมใจเชื่อ
       ๗. ปัคคาหะ ความเพียรที่พอดี
       ๘. อุปัฏฐาน สติชัด
       ๙. อุเบกขา ความวางจิตเป็นกลาง
       ๑๐. นิกันติ ความพอใจ

วิปัสสี พระนามของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอดีต;
       ดู พระพุทธเจ้า ๗

วิปากญาณ ปรีชาหยั่งรู้ผลแห่งกรรม คือ รู้จักแยกได้ว่า บรรดาผลที่สัตว์ทั้งหลายได้รับอันซับซ้อน อันใดเป็นผลของกรรมดีหรือกรรมชั่วอย่างใดๆ เรียกเต็มว่า กรรมวิปากญาณ
       (ข้อ ๒ ในทสพลญาณ)

วิปากทุกข์ ทุกข์ที่เป็นผลของกรรมชั่ว เช่น ถูกลงอาชญาได้รับความทุกข์หรือตกอบาย หรือเกิดวิปฏิสารคือเดือดร้อนใจ

วิปากวัฏฏ์ วนคือวิบาก, วงจรส่วนวิบาก,
       หนึ่งในวัฏฏะ ๓ แห่งปฏิจจสมุปบาท ประกอบด้วยวิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา, ชาติ ชรา มรณะ;
       ดู ไตรวัฏฏ์

วิปากสัทธา ดู สัทธา

วิภวตัณหา ความอยากในวิภพ คือความทะยานอยากในความไม่มีไม่เป็น อยากไม่เป็นนั่นไม่เป็นนี่ อยากตายเสีย อยากขาดสูญ อยากพรากพ้นไปจากภาวะที่ตนเกลียดชังไม่ปรารถนา,
       ความทะยานที่ประกอบด้วยวิภวทิฏฐิ หรืออุจเฉททิฏฐิ
       (ข้อ ๓ ในตัณหา ๓)

วิภังค์
       1. (ในคำว่า “วิภังคแห่งสิกขาบท”) คำจำแนกความแห่งสิกขาบทเพื่ออธิบายแสดงความหมายให้ชัดขึ้น;
           ท่านใช้เป็นชื่อเรียกคัมภีร์ที่จำแนกความเช่นนั้นในพระวินัยปิฎกว่า คัมภีร์วิภังค์ คือ
               คัมภีร์จำแนกความสิกขาบทในภิกขุปาฏิโมกข์ เรียกว่ามหาวิภังค์ หรือ ภิกขุวิภังค์
               คัมภีร์จำแนกความสิกขาบทในภิกขุนีปาฏิโมกข์ เรียกว่าภิกขุนีวิภังค์
           เป็นหมวดต้นแห่งพระวินัยปิฎก
       2. ชื่อคัมภีร์ที่ ๒ แห่งพระอภิธรรมปิฎก ที่อธิบายจำแนกความแห่งหลักธรรมสำคัญเช่น ขันธ์ อายตนะ ธาตุ ปัจจยาการ เป็นต้น ให้ชัดเจนจบไปทีละเรื่องๆ

วิภัชชวาที “ผู้กล่าวจำแนก”, “ผู้แยกแยะพูด”,
       เป็นคุณบท คือคำแสดงคุณลักษณะอย่างหนึ่งของพระพุทธเจ้า
       หมายความว่า ทรงแสดงธรรมแยกแยะแจกแจงออกไป ให้เห็นว่า สิ่งทั้งหลายเกิดจากส่วนประกอบย่อยๆ มาประชุมกันเข้าอย่างไร เช่น
           แยกแยะกระจายนามรูปออกเป็นขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ เป็นต้น
           สิ่งทั้งหลายมีด้านที่เป็นคุณและด้านที่เป็นโทษอย่างไร
           เรื่องนั้นๆ มีข้อจริงข้อเท็จอะไรบ้าง
           การกระทำอย่างนั้นๆ มีแง่ถูกแง่ผิด แง่ที่ดีและแง่ไม่ดีประการใด เป็นต้น
       เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจสิ่งนั้นเรื่องนั้นอย่างชัดเจน มองเห็นสิ่งทั้งหลายตามที่เป็นจริง เช่น มองเห็นความเป็นอนัตตา เป็นต้น ไม่มองอย่างตีคลุมหรือเห็นแต่ด้านเดียว แล้วยึดติดในทิฏฐิต่างๆ อันทำให้ไม่เข้าถึงความจริงแท้ตามสภาวะ

วิภัตติ ชื่อวิธีไวยากรณ์ภาษาบาลีและสันสกฤต สำหรับแจกศัพท์โดยเปลี่ยนท้ายคำให้มีรูปต่างๆ กันเพื่อบอกการก ท้ายคำให้มีรูปต่างๆ กันเพื่อบอกการกและกาลเป็นต้น
       เช่นคำนาม โลโก ว่า โลก, โลกํ ซึ่งโลก, โลกา จากโลก, โลเก ในโลก;
       คำกิริยา เช่น นมติ ย่อมน้อม, นมตุ จงน้อม, นมิ น้อมแล้ว เป็นต้น

วิภาค การแบ่ง, การจำแนก, ส่วน, ตอน

วิมติวิโนทนี ชื่อคัมภีร์ฎีกาอธิบายพระวินัย แต่งโดยพระกัสสปเถระ ชาวแคว้นโจฬะ ในอินเดียตอนใต้

วิมละ บุตรเศรษฐีเมืองพาราณสี เป็นสหายของยสกุลบุตร ได้ทราบข่าวยสกุลบุตรออกบวช จึงได้บวชตามพร้อมด้วยสหายอีก ๓ คน คือ สุพาหุ ปุณณชิ และ ควัมปติ จัดเป็นพระมหาสาวกองค์หนึ่ง

วิมังสา การสอบสวนทดลอง, การตรวจสอบ, การหมั่นตริตรองพิจารณาเหตุผลในสิ่งนั้น
       (ข้อ ๔ ในอิทธิบาท ๔)

วิมาน ที่อยู่หรือที่ประทับของเทวดา

วิมุต อักขระที่ว่าปล่อยเสียงเช่น สุณาตุ, เอสา ญตฺติ

วิมุตตานุตตริยะ การพ้นอันเยี่ยมคือหลุดพ้นจากกิเลสและกองทุกข์ ได้แก่ พระนิพพาน
       (ข้อ ๓ ในอนุตตริยะ ๓)

วิมุตติ ความหลุดพ้น, ความพ้นจากกิเลส มี ๕ อย่าง คือ
       ๑. ตทังควิมุตติ พ้นด้วยธรรมคู่ปรับหรือพ้นชั่วคราว
       ๒. วิกขัมภนวิมุตติ พ้นด้วยข่มหรือสะกดได้
       ๓. สมุจเฉทวิมุตติ พ้นด้วยตัดขาด
       ๔. ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ พ้นด้วยสงบ
       ๕. นิสฺสรณวิมุตติ พ้นด้วยออกไป;
           ๒ อย่างแรก เป็น โลกิยวิมุตติ
           ๓ อย่างหลังเป็น โลกุตตรวิมุตติ

วิมุตติกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำใจให้พ้นจากกิเลส
       (ข้อ ๙ ในกถาวัตถุ ๑๐)

วิมุตติขันธ์ กองวิมุตติ,
       หมวดธรรมว่าด้วยวิมุตติ คือการทำจิตให้พ้นจากอาสวะ
       เช่น ปหานะ การละ, สัจฉิกิริยา การทำให้แจ้ง
       (ข้อ ๔ ในธรรมขันธ์ ๕)

วิมุตติญาณทัสสนะ ความรู้ความเห็นในวิมุตติ, ความรู้เห็นว่าจิตหลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย

วิมุตติญาณทัสสนกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิดความรู้ความเห็นในความที่ใจพ้นจากกิเลส
       (ข้อ ๑๐ ในกถาวัตถุ ๑๐)

วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ กองวิมุตติญาณทัสสนะ,
       หมวดธรรมว่าด้วย ความรู้ความเห็นว่า จิตหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ
       เช่น ผลญาณ ปัจจเวกขณญาณ
       (ข้อ ๕ ในธรรมขันธ์ ๕)

วิมุตติสุข สุขเกิดแต่ความหลุดพ้นจากกิเลส อาสวะ และปวงทุกข์;
       พระพุทธเจ้าภายหลังตรัสรู้แล้วใหม่ๆ ได้เสวยวิมุตติสุข ๗ สัปดาห์ตามลำดับคือ
           สัปดาห์ที่ ๑ ประทับภายใต้ร่มไม้มหาโพธิ์ ทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาท
           สัปดาห์ที่ ๒ เสด็จไปประทับยืนด้านอีสาน ทรงจ้องดูต้นมหาโพธิ์ไม่กระพริบพระเนตร ที่นั้นเรียกว่า อนิมิสเจดีย์
           สัปดาห์ที่ ๓ ทรงนิรมิตที่จงกรมขึ้นระหว่างกลางแห่งพระมหาโพธิ์และอนิมิสเจดีย์ เสด็จจงกรมตลอด ๗ วัน ที่นั้นเรียก รัตนจงกรมเจดีย์
           สัปดาห์ที่ ๔ ประทับนั่งขัดบัลลังก์พิจารณาพระอภิธรรมปิฎก ณ เรือนแก้วที่เทวดานิรมิตในทิศพายัพแห่งต้นมหาโพธิ์ ที่นั้นเรียก รัตนฆรเจดีย์
           สัปดาห์ที่ ๕ ประทับใต้ร่มไม้ไทร ชื่ออชปาลนิโครธ ทรงตอบปัญหาของพราหมณ์หุํหุกชาติ แสดงสมณะและพราหมณ์ที่แท้ พร้อมทั้งธรรมที่ทำให้เป็นสมณะและเป็นพราหมณ์ พระอรรถกถาจารย์กล่าวว่าธิดามาร ๓ ตน ได้มาประโลมพระองค์ ณ ที่นี้
           สัปดาห์ที่ ๖ ประทับใต้ต้นไม้จิก ชื่อ มุจจลินท์ มีฝนตก มุจจลินทนาคราชมาวงขนดแผ่พังพานปกป้องพระองค์ ทรงเปล่งอุทานแสดงความสุขทีแท้ อันเกิดจากการไม่เบียดเบียนกัน เป็นต้น
           สัปดาห์ที่ ๗ ประทับใต้ต้นไม้เกต ชื่อ ราชายตนะ พาณิช ๒ คน คือ ตปุสสะ และภัลลิกะ เข้ามาถวายสัตตุผล สัตตุก้อน และได้แสดงตนเป็นปฐมอุบาสกถึงสรณะ ๒
       เมื่อสิ้นสัปดาห์ที่ ๗ ที่นี้แล้ว เสด็จกลับไปประทับใต้ต้นอชปาลนิโครธอีก ทรงดำริถึงความลึกซึ้งแห่งธรรมที่ตรัสรู้คือ ปฏิจจสมุปบาทและนิพพาน แล้วน้อมพระทัยที่จะไม่แสดงธรรม เป็นเหตุให้สหัมบดีพรหมมากราบทูลอาราธนา
       และ ณ ที่นี้เช่นกัน ได้ทรงพระดำริเกี่ยวกับสติปัฏฐาน ๔ ที่เป็นเอกายนมรรคและอินทรีย์ ๕ อันมีอมตธรรมเป็นที่หมาย;
       พึงสังเกตว่า เรื่องในสัปดาห์ที่ ๒-๓-๔ นั้น เป็นส่วนที่พระอรรถกถาจารย์กล่าวแทรกเข้ามา
       ความนอกนั้น มาในมหาวรรค แห่งพระวินัยปิฎก
       (เรื่องดำริถึงสติปัฏฐานและอินทรีย์ มาในสังยุตตนิกาย มหาวารวรรค พระสุตตันตปิฎก)

วิมุติ ดู วิมุตติ

วิโมกข์ ความหลุดพ้นจากกิเลส มี ๓ ประเภทคือ
       ๑. สุญญตวิโมกข์ หลุดพ้นด้วยเห็นอนัตตา แล้วถอนความยึดมั่นได้ มองเห็นความว่าง
       ๒. อนิมิตตวิโมกข์ หลุดพ้นด้วยเห็นอนิจจัง แล้วถอนนิมิตได้
       ๓. อัปปณิหิตวิโมกข์ หลุดพ้นด้วยเห็นทุกข์ แล้วถอนความปรารถนาได้

วิรัติ ความเว้น, งดเว้น;
       เจตนาที่งดเว้นจากความชั่ว;
       วิรติ ๓ คือ
           ๑. สัมปัตตวิรัติ เว้นได้ซึ่งสิ่งที่ประจวบเข้า
           ๒. สมาทานวิรัติ เว้นด้วยการสมาทาน
           ๓. สมุจเฉทวิรัติ เว้นได้โดยเด็ดขาด

วิราคะ ความสิ้นกำหนัด, ธรรมเป็นที่สิ้นราคะ, ความคลายออกได้หายติด
       เป็นไวพจน์ของนิพพาน

วิราคสัญญา กำหนดหมายธรรมเป็นที่สิ้นราคะ หรือภาวะปราศจากราคะ ว่าเป็นธรรมละเอียด
       (ข้อ ๖ ในสัญญา ๑๐)

วิริยะ ความเพียร, ความบากบั่น, ความเพียรเพื่อจะละความชั่ว ประพฤติความดี, ความพยายามทำกิจ ไม่ท้อถอย
       (ข้อ ๕ ในบารมี ๑๐, ข้อ ๓ ในโพชฌงค์ ๗, ข้อ ๒ ในอิทธิบาท ๔)

วิริยสังวร สำรวมด้วยความเพียร (ข้อ ๕ ในสังวร ๕)

วิริยารัมภะ ปรารภความเพียร คือลงมือทำความเพียรอย่างเข้มแข็งเด็ดเดี่ยว, ระดมความเพียร
       (ข้อ ๔ ในเวสารัชชกรณธรรม ๕, ข้อ ๗ ในลักษณะตัดสินธรรมวินัย ๘, ข้อ ๕ ในสัทธรรม ๗, ข้อ ๗ ในนาถกรณธรรม ๑๐)

วิริยารัมภกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ปรารภความเพียร (ข้อ ๕ ในกถาวัตถุ ๑๐)

วิวัฏฏ์, วิวัฏฏะ ปราศจากวัฏฏะ, ภาวะพ้นวัฏฏะ ได้แก่ นิพพาน

วิวัฏฏคามีกุศล บุญกุศลที่ให้ถึงวิวัฏฏ์ คือพระนิพพาน

วิวาท การทะเลาะ, การโต้แย้งกัน, การกล่าวเกี่ยงแย่งกัน,
       กล่าวต่าง คือ ว่าไปคนละทาง ไม่ลงกันได้

วิวาทมูล รากเหง้าแห่งการเถียงกัน,
       เหตุที่ก่อให้เกิดวิวาท กลายเป็นวิวาทาธิกรณ์ขึ้น มี ๒ อย่าง คือ
           ๑. ก่อวิวาทขึ้นด้วยความปรารถนาดี เห็นแก่ธรรมวินัย มีจิตประกอบด้วยอโลภะ อโทสะ อโมหะ
           ๒. ก่อวิวาทด้วยความปรารถนาเลว ทำด้วยทิฏฐิมานะ มีจิตประกอบด้วยโลภะ โทสะ โมหะ

วิวาทมูลกทุกข์ ทุกข์มีวิวาทเป็นมูล, ทุกข์เกิดเพราะการทะเลาะกันเป็นเหตุ

วิวาทาธิกรณ์ วิวาทที่จัดเป็นอธิกรณ์,
       การวิวาทซึ่งเป็นเรื่องที่สงฆ์จะต้องเอาธุระดำเนินการพิจารณาระงับ ได้แก่การเถียงกันปรารภพระธรรมวินัย เช่นเถียงกันว่า สิ่งนี้เป็นธรรม เป็นวินัย สิ่งนี้ไม่ใช่ธรรมไม่ใช่วินัย ข้อนี้ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ข้อนี้ไม่ได้ตรัสไว้ ดังนี้เป็นต้น

วิวาหะ การแต่งงาน, การสมรส

วิเวก ความสงัด มี ๓ คือ
       อยู่ในที่สงัดเป็น กายวิเวก
       จิตสงบเป็น จิตวิเวก
       หมดกิเลสเป็น อุปธิวิเวก

วิศวามิตร ครูผู้สอนศิลปวิทยาแก่พระราชกุมารสิทธัตถะ

วิศาขนักษัตร หมู่ดาวฤกษ์ชื่อวิศาขะ (ดาวคันฉัตร) เป็นหมู่ดาวฤกษ์ที่ ๑๖ มี ๕ ดวง;
       ดู ดาวนักษัตร

วิศาขบูชา การบูชาในวันเพ็ญเดือน ๖ เพื่อรำลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า เนื่องในวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระองค์;
       วิสาขบูชา ก็เขียน

วิศาขปุรณมี วันเพ็ญเดือน ๖, วันกลางเดือน ๖, วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖, ดิถีมีพระจันทร์เต็มดวง ประกอบด้วยวิศาขฤกษ์ (วิศาขนักษัตร)

วิศาล กว้างขวาง, แผ่ไป

วิสภาค มีส่วนไม่เสมอกัน คือขัดกันเข้ากันไม่ได้ ไม่ถูกกัน หรือไม่กลมกลืนกัน, ไม่เหมาะกัน

วิสมปริหารชา อาพาธา ความเจ็บไข้ที่เกิดจากบริหารร่างกายไม่สม่ำเสมอ คือ ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถไม่พอดี

วิสสาสะ
       1. ความคุ้นเคย, ความสนิทสนม การถือว่าเป็นกันเอง, ในทางพระวินัย การถือเอาของของผู้อื่นที่จัดว่าเป็นการถือวิสสาสะ มีองค์ ๓ คือ
           ๑. เคยเห็นกันมา เคยคบกันมา หรือได้พูดกันไว้
           ๒. เจ้าของยังมีชีวิตอยู่
           ๓. รู้ว่าของนั้นเราถือเอาแล้ว เขาจักพอใจ,
       บัดนี้นิยมเขียน วิสาสะ
       2. ความนอนใจ ดังพุทธดำรัสว่า “ภิกษุเธอยังไม่ถึงความสิ้นอาสวะแล้ว อย่าได้ถึง วิสสาสะ (ความนอนใจ)”

วิสสาสิกชน คนที่สนิทสนมคุ้นเคย, คนคุ้นเคยกัน,
       วิสาสิกชน ก็ใช้

วิสังขาร ธรรมที่ปราศจากการปรุงแต่ง, ธรรมอันมิใช่สังขาร คือ พระนิพพาน

วิสัชชกะ ผู้จ่าย, ผู้แจกจ่าย;
       ผู้ตอบ, ผู้วิสัชชนา

วิสัชชนา คำตอบ, คำแก้ไข;
       คำชี้แจง
       (พจนานุกรมเขียน วิสัชนา)

วิสัญญี หมดความรู้สึก, สิ้นสติ, สลบ

วิสัย ภูมิ, พื้นเพ, อารมณ์, เขต, แดน, ลักษณะที่เป็นอยู่,
       ไทยใช้ในความหมายว่า ขีดขั้นแห่งความเป็นไปได้ หรือขอบเขตความสามารถ

วิสาขบูชา ดู วิศาขบูชา

วิสาขปุรณมี วันเพ็ญเดือน ๖, วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖
       ดู วิศาขปุรณมี

วิสาขมาส, เวสาขมาส เดือน ๖

วิสาขา ชื่อมหาอุบาสิกาสำคัญในครั้งพุทธกาล เป็นธิดาของธนัญชัยเศรษฐี และนางสุมนา เกิดที่เมืองภัททิยะในแคว้นอังคะ ได้บรรลุโสดาปัตติผล ตั้งแต่อายุ ๗ ขวบ
       ต่อมาได้ย้ายตามบิดามาอยู่ที่เมืองสาเกตในแคว้นโกศล แล้วได้สมรสกับนายปุณณวัฒน์ บุตรชายมิคารเศรษฐี แห่งเมืองสาวัตถี และย้ายไปอยู่ในตระกูลฝ่ายสามี นางสามารถกลับใจมิคารเศรษฐี บิดาของสามี ซึ่งนับถือครนถ์ ให้หันมานับถือพระพุทธศาสนา มิคารเศรษฐีนับถือนางมาก และเรียกนางวิสาขาเป็นแม่ นางวิสาขาจึงได้ชื่อใหม่อีกอย่างหนึ่งว่า มิคารมารดา (มารดาของมิคารเศรษฐี)
       นางวิสาขาได้อุปถัมภ์บำรุงพระภิกษุสงฆ์อย่างมากมาย และได้ให้ขายเครื่องประดับประจำตัวตั้งแต่แต่งงาน เรียกชื่อว่า มหาลดาปสาธน์ ซึ่งมีค่าสูงยิ่ง นำเงินมาสร้างวัดถวายแด่พระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์คือ มิคารมาตุปราสาท วัดบุพพาราม ณ พระนครสาวัตถี
       นางวิสาขามีบุตรหลานมากมายล้วนมีสุขภาพดีแทบทั้งนั้น แม้นางจะมีอายุยืนถึง ๑๒๐ ปี ก็ดูไม่แก่ และเป็นบุคคลที่ได้รับความนับถืออย่างกว้างขวางในสังคม
       ได้รับยกย่องจากพระศาสดาว่า เป็นเอตทัคคะในบรรดาทายิกาทั้งปวง

วิสามัญ แปลกจากสามัญ, ไม่ใช่ธรรมดา, ไม่ทั่วไป, เฉพาะ

วิสารทะ แกล้วกล้า, ชำนาญ, ฉลาด

วิสาสะ ดู วิสสาสะ

วิสุงคาม แผนกหนึ่งจากบ้าน, แยกต่างหากจากบ้าน

วิสุงคามสีมา แดนแผนกหนึ่งจากแดนบ้าน คือ แยกต่างหากจากเขตบ้าน,
       ในที่นี้หมายถึง ที่ตั้งวัดที่พระเจ้าแผ่นดินประกาศพระราชทานให้แก่สงฆ์

วิสุทธิ ความบริสุทธิ์, ความหมดจด,
       การชำระสัตว์ให้บริสุทธิ์ด้วยการบำเพ็ญไตรสิกขาให้บริบูรณ์เป็นขั้นๆ ไปโดยลำดับ จนบรรลุจุดหมายคือพระนิพพาน มี ๗ ขั้น คือ
           ๑. สีลวิสุทธิ ความหมดจดแห่งศีล
           ๒. จิตตวิสุทธิ ความหมดจดแห่งจิตต์
           ๓. ทิฏฐิวิสุทธิ ความหมดจดแห่งทิฏฐิ
           ๔. กังขาวิตรณวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องข้ามพ้นความสงสัย
           ๕. มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องรู้เห็นว่าทางหรือมิใช่ทาง
           ๖. ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณอันรู้เห็นทางดำเนิน
           ๗. ญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณทัสสนะ กล่าวคือ มรรคญาณ

วิสุทธิเทพ เทวดาโดยความบริสุทธิ์ ได้แก่ พระอรหันต์
       (ข้อ ๓ ในเทพ ๓)

วิสุทธิมรรค ปกรณ์พิเศษอธิบายศีล สมาธิ ปัญญา ตามแนววิสุทธิ ๗ พระพุทธโฆษาจารย์ พระอรรถกถาจารย์ชาวอินเดียเป็นผู้แต่งที่มหาวิหารในเกาะลังกา;
       พระพุทธโฆษาจารย์ผู้นี้เป็นบุตรพราหมณ์ เกิดที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งใกล้พุทธคยา อันเป็นสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ในแคว้นมคธ เมื่อประมาณ พ.ศ. ๙๕๖ เรียนจบไตรเพทมีความเชี่ยวชาญมาก
       ต่อมาพบกับพระเรวตเถระ ได้โต้ตอบปัญหากัน สู้พระเรวตเถระไม่ได้ จึงขอบวชเพื่อเรียนพุทธวจนะ มีความสามารถมาก ได้รจนาคัมภีร์ญาโณทัย เป็นต้น พระเรวตเถระจึงแนะนำให้ไปเกาะลังกา เพื่อแปลอรรถกถาสิงหฬ กลับเป็นภาษามคธ ท่านเดินทางไปที่มหาวิหาร เกาะลังกา เมื่อขออนุญาตแปลคัมภีร์ ถูกพระเถระแห่งมหาวิหารให้คาถามา ๒ บท เพื่อแต่งทดสอบความรู้
       พระพุทธโฆษาจารย์จึงแต่งคำอธิบายคาถาทั้งสองนั้นขึ้นเป็นคัมภีร์วิสุทธิมรรค จากนั้นก็ได้รับอนุญาตให้ทำงาน แปลอรรถกถาได้ตามประสงค์ เมื่อทำงานเสร็จสิ้นแล้ว ท่านก็เดินทางกลับสู่ชมพูทวีป
       พระพุทธโฆษาจารย์เป็นพระอรรถกถาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด มีผลงานมากที่สุด

วิสุทธิอุโบสถ อุโบสถที่ประกอบด้วยความบริสุทธิ์ หรืออุโบสถที่ทำโดยที่ประชุมสงฆ์ซึ่งมีความบริสุทธิ์
       หมายถึง การทำอุโบสถซึ่งที่ประชุมมีแต่พระอรหันต์ล้วนๆ เช่น กล่าวถึงการประชุมพระอรหันต์ ๑,๒๕๐ รูป คราวจาตุรงคสันนิบาต ว่าทำวิสุทธิอุโบสถ

วิสูตร ม่าน

วิหาร ที่อยู่, ที่อยู่ของพระสงฆ์;
       ที่ประดิษฐานพระพุทธรูปคู่กับโบสถ์;
       การพักผ่อน, การเป็นอยู่หรือดำเนินชีวิต

วิหารธรรม ธรรมเป็นเครื่องอยู่, ธรรมประจำใจ, ธรรมที่เป็นหลักใจในการดำเนินชีวิต

วิหารวัตถุ พื้นที่ปลูกกุฎี วิหาร

วิหิงสา การเบียดเบียน, การทำร้าย

วิหิงสาวิตก ความตรึกในทางเบียดเบียน, ความคิดในทางทำลายหรือก่อความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น
       (ข้อ ๓ ในอกุศลวิตก ๓)

วิเหสกกรรม กรรมที่จะพึงกระทำแก่ภิกษุผู้ทำสงฆ์ให้ลำบาก คือ ภิกษุประพฤติอนาจาร สงฆ์เรียกตัวมาถาม นิ่งเฉยเสียไม่ตอบ เรียกว่าเป็นผู้ทำสงฆ์ให้ลำบาก,
       สงฆ์ยกวิเหสกกรรมขึ้น คือสวดประกาศการที่เธอทำตัวเช่นนั้น ด้วยญัตติทุติยกรรม เมื่อสงฆ์สวดประกาศแล้วเธอยังขืนทำอย่างนั้นอยู่อีก ย่อมต้องอาบัติปาจิตตีย์
       (สิกขาบทที่ ๒ ในภูตคามวรรคที่ ๒);
       คู่กับ อัญญวาทกกรรม

วีติกกมะ การละเมิดพระพุทธบัญญัติ, การทำผิดวินัย

วีสติวรรค สงฆ์พวกที่กำหนดจำนวน ๒๐ รูป (ทำอัพภานได้);
       ดู วรรค

วุฏฐานะ การออก เช่น ออกจากฌาน ออกจากอาบัติสังฆาทิเสส เป็นต้น

วุฏฐานคามินี
       1. วิปัสสนาที่ให้ถึงมรรค, วิปัสสนาที่เจริญแก่กล้าถึงจุดสุดยอด ทำให้เข้าถึงมรรค (มรรคชื่อว่าวุฏฐานะ โดยความหมายว่าเป็นที่ออกไปได้จากสิ่งที่ยึดติดถือมั่น หรือออกไปพ้นจากสังขาร),
           วิปัสสนาที่เชื่อมต่อให้ถึงมรรค
       2. “อาบัติที่ให้ถึงวุฏฐานวิธี” คือ อาบัติที่จะพ้นได้ด้วยอยู่กรรม หมายถึงอาบัติสังฆาทิเสส,
           เทียบ เทสนาคามินี

วุฏฐานวิธี ระเบียบเป็นเครื่องออกจากอาบัติ
       หมายถึงระเบียบวิธีปฏิบัติสำหรับภิกษุผู้จะเปลื้องตนจากอาบัติหนักขั้นสังฆาทิเสส;
       มีทั้งหมด ๔ อย่าง คือ ปริวาส มานัต อัพภาน และปฏิกัสสนา

วุฏฐานสมมติ มติอนุญาตให้ออกจากความเป็นสิกขมานาเพื่ออุปสมบทเป็นภิกษุณี,
       นางสิกขมานาผู้สมาทานสิกขาบท ๖ ข้อ ตั้งแต่ปาณาติปาตา เวรมณี ถึงวิกาลโภชนา เวรมณี โดยมิได้ขาด ครบเวลา ๒ ปีแล้ว จึงมีสิทธิขอวุฏฐานสมมติ เพื่ออุปสมบทเป็นภิกษุณีต่อไป

วุฑฒิ ธรรมเป็นเครื่องเจริญ, ธรรมเป็นเหตุให้ถึงความเจริญ มี ๔ อย่าง คือ
       ๑. สัปปุริสสังเสวะ คบหาสัตบุรุษ
       ๒. สัทธัมมัสสวนะ ฟังสัทธรรม
       ๓. โยนิโสมนสิการ ทำในใจโดยแยบคาย
       ๔. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม,
       เรียกและเขียนเป็นวุฒิบ้าง วุฑฒิธรรมบ้าง วุฒิธรรมบ้าง,
       ในบาลีเรียกว่า ธรรมที่เป็นไปเพื่อปัญญาวุฑฒิ หรือ ปัญญาวุฒิ คือ เพื่อความเจริญแห่งปัญญา

วุฒบรรพชิต ผู้บวชเมื่อแก่

วุฒิ ความเจริญ, ความงอกงาม, ความเป็นผู้ใหญ่;
       ธรรมให้ถึงความเจริญ; ดู วุฑฒิ
       วุฒิ คือ ความเป็นผู้ใหญ่ ๓ อย่างที่นิยมพูดกันในภาษาไทยนั้น มาในคัมภีร์ชั้นอรรถกถาและฎีกา ได้แก่
           ๑. ชาติวุฒิ ความเป็นผู้ใหญ่โดยชาติ คือเกิดในชาติกำเนิดฐานะอันสูง
           ๒. วัยวุฒิ ความเป็นผู้ใหญ่โดยวัย คือเกิดก่อน
           ๓. คุณวุฒิ ความเป็นผู้ใหญ่โดยคุณความดีหรือโดยคุณพิเศษที่ได้บรรลุ (ผลสำเร็จที่ดีงาม)
       (อนึ่งในคัมภีร์ท่านมิได้กล่าวถึงภาวะแต่กล่าวถึงบุคคล คือไม่กล่าวถึงวุฒิ แต่กล่าวถึง วุฑฒะ หรือวุฒ เป็นชาติวุฒ วัยวุฒ คุณวุฒ; นอกจากนั้น ในอรรถกถาแห่งสุตตนิบาต ท่านแบ่งเป็น ๔, โดยเพิ่มปัญญาวุฒ ผู้ใหญ่โดยปัญญาเข้ามาอีกอย่างหนึ่ง และเรียงลำดับตามความสำคัญในทางธรรม เมื่อเปลี่ยนวุฒ เป็น วุฒิ จะได้ดังนี้ ๑. ปัญญาวุฒิ ๒. คุณวุฒิ ๓. ชาติวุฒิ ๔. วัยวุฒิ)

เวท, พระเวท ดู ไตรเพท

เวทนา ความเสวยอารมณ์, ความรู้สึก, ความรู้สึกสุขทุกข์ มี ๓ อย่าง คือ
           ๑. สุขเวทนา ความรู้สึกสุขสบาย
           ๒. ทุกขเวทนา ความรู้สึกไม่สบาย
           ๓. อทุกขมสุขเวทนา ความรู้สึกไม่สุข ไม่ทุกข์ คือ เฉยๆ เรียกอีกอย่างว่า อุเบกขาเวทนา;
       อีกหมวดหนึ่งจัดเป็น เวทนา ๕ คือ
           ๑. สุข สบายกาย
           ๒. ทุกข์ ไม่สบายกาย
           ๓. โสมนัส สบายใจ
           ๔. โทมนัส ไม่สบายใจ
           ๕. อุเบกขา เฉยๆ;
       ในภาษาไทย ใช้หมายความว่าเจ็บปวดบ้าง สงสารบ้าง ก็มี

เวทนาขันธ์ กองเวทนา (ข้อ ๒ ในขันธ์ ๕)

เวทนานุปัสสนา สติตามดูเวทนา คือ ความรู้สึกสุขทุกข์และไม่สุขไม่ทุกข์ เป็นอารมณ์โดยรู้เท่าทันว่า เวทนานี้ ก็สักว่าเวทนา ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา
       (ข้อ ๒ ในสติปัฏฐาน ๔)

เวทมนตร์ คำที่เชื่อถือว่าศักดิ์สิทธิ์ บริกรรมแล้วให้สำเร็จความประสงค์

เวเนยยสัตว์ ดู เวไนยสัตว์

เวไนยสัตว์ สัตว์ผู้ควรแก่การแนะนำสั่งสอน, สัตว์ที่พึงแนะนำได้, สัตว์ที่พอดัดได้สอนได้

เวปุลละ ความไพบูลย์, ความเต็มเปี่ยม, ความเจริญเต็มที่ มี ๒ อย่าง คือ
       ๑. อามิสเวปุลละ อามิสไพบูลย์ หรือความไพบูลย์แห่งอามิส หมายถึง ความมากมายพรั่งพร้อมด้วยปัจจัย ๔ ตลอดจนวัตถุอำนวยความสุขความสะดวกสบายต่างๆ
       ๒. ธัมมเวปุลละ ธรรมไพบูลย์หรือความไพบูลย์แห่งธรรม หมายถึง ความเจริญเต็มเปี่ยมเพียบพร้อมแห่งธรรม ด้วยการฝึกอบรมปลูกฝังให้มีในตนจนเต็มบริบูรณ์ หรือด้วยการประพฤติปฏิบัติกันในสังคมจนแพร่หลายทั่วไปทั้งหมด

เวภารบรรพต ชื่อภูเขาลูกหนึ่งในภูเขาห้าลูก ที่เรียก เบญจคีรี อยู่ที่กรุงราชคฤห์

เวมานิกเปรต เปรตอยู่วิมาน ได้เสวยสุขและทุกข์สลับกันไป บางตนข้างแรมเสวยทุกข์ ข้างขึ้นเสวยสุข บางตนกลางคืนเสวยสุข กลางวันเสวยทุกข์ เวลาเสวยสุขอยู่ในวิมาน มีร่างเป็นทิพย์สวยงาม เวลาจะเสวยทุกข์ต้องออกจากวิมานไป และร่างกายก็กลายเป็นน่าเกลียดน่ากลัว

เวยยาวัจจมัย บุญสำเร็จด้วยการช่วยขวนขวายในกิจที่ชอบ, ทำดีด้วยการช่วยเหลือรับใช้ผู้อื่น
       (ข้อ ๕ ในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐);
       ไวยาวัจมัย ก็เขียน

เวร ความแค้นเคือง, ความปองร้ายกัน, ความแก้เผ็ด, ความคิดร้ายตอบแก่ผู้ทำร้าย;
       ในภาษาไทยใช้อีกความหมายหนึ่งด้วยว่า คราว, รอบ, การผลัดกันเป็นคราวๆ,
       ตรงกับ วาร หรือ วาระ ในภาษาบาลี

เวสสภู พระนามของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอดีต;
       ดู พระพุทธเจ้า ๗

เวสารัชชกรณธรรม ธรรมทำความกล้าหาญ, ธรรมเป็นเหตุให้กล้าหาญ,
       คุณธรรมที่ทำให้เกิดความแกล้วกล้า มี ๕ อย่าง คือ
           ๑. ศรัทธา เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ
           ๒. ศีล มีความประพฤติดีงาม
           ๓. พาหุสัจจะ ได้สดับหรือศึกษามาก
           ๔. วิริยารัมภะ เพียรทำกิจอยู่อย่างจริงจัง
           ๕. ปัญญา รู้รอบและรู้ชัดเจนในสิ่งที่ควรรู้

เวสารัชชญาณ พระปรีชาญาณอันทำให้พระพุทธเจ้าทรงมีความแกล้วกล้าไม่ครั่นคร้าม ด้วยไม่ทรงเห็นว่าจะมีใครท้วงพระองค์ได้โดยชอบธรรม ในฐานะทั้ง ๔ คือ
       ๑. ท่านปฏิญญาว่าเป็นสัมมาสัมพุทธะ ธรรมเหล่านี้ ท่านยังไม่รู้แล้ว
       ๒. ท่านปฏิญญาว่าเป็นขีณาสพ อาสวะนี้ของท่านยังไม่สิ้นแล้ว
       ๓. ท่านกล่าวธรรมเหล่าใดว่าทำอันตราย ธรรมเหล่านั้นไม่อาจทำอันตรายแก่ผู้ส้องเสพได้จริง
       ๔. ท่านแสดงธรรมเพื่อประโยชน์อย่างใด ประโยชน์อย่างนั้นไม่เป็นทางนำผู้ทำตามให้ถึงความสิ้นทุกข์ โดยชอบได้จริง

เวสาลี ชื่อนครหลวงของแคว้นวัชชี ตั้งอยู่บนฝั่งทิศตะวันออกแห่งลำน้ำคันธกะ
       บางทีเรียก ไพศาลี

เวหาสกุฎี โครงที่ตั้งขึ้นในวิหาร ปักเสาตอม่อขึ้นแล้ววางรอดบนนั้น สูงพอศีรษะไม่กระทบพื้น ถ้าไม่ปูพื้นข้างบนก็เอาเตียงวางลงไป ให้พื้นเตียงคานรอดอยู่ ขอเตียงห้อยลงไป ใช้อยู่ได้ทั้งข้างบนข้างล่าง
       ข้างบนเรียกว่าเวหาสกุฎี เป็นของต้องห้ามตามสิกขาบทที่ ๘ แห่งภูตคามวรรค ปาจิตตีย์

เวฬุวะ ผลมะตูม

เวฬุวคาม ชื่อตำบลหนึ่งใกล้นครเวสาลี แคว้นวัชชี
       เป็นที่พระพุทธเจ้าทรงจำพรรษาในพรรษาที่ ๔๕ นับแต่ได้ตรัสรู้ คือพรรษาสุดท้ายที่จะเสด็จปรินิพพาน;
       เพฬุวคาม ก็เรียก

เวฬุวัน ป่าไผ่ สวนที่ประพาสพักผ่อนของพระเจ้าพิมพิสาร อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากพระนครราชคฤห์ เป็นที่ร่มรื่นสงบเงียบ มีทางไปมาสะดวก
       พระเจ้าพิมพิสารถวายเป็นสังฆาราม นับเป็นวัดแรกในพระพุทธศาสนา

เวิกผ้า ในประโยคว่า “เราจักไม่ไปในละแวกบ้านทั้งเวิกผ้า” เปิดสีข้างให้เห็น
       เช่น ถกจีวรขึ้นพาดไว้บนบ่า

โวหาร ถ้อยคำ, สำนวนพูด, ชั้นเชิง หรือกระบวนแต่งหนังสือ หรือพูด

ไวพจน์ คำที่มีรูปต่างกันแต่มีความหมายคล้ายกัน,
       คำสำหรับเรียกแทนกัน เช่น
       คำว่า มทนิมฺมทโน เป็นต้น เป็นไวพจน์ของวิราคะ
       คำว่า วิมุตติ วิสุทธิ สันติ อสังขตะ วิวัฏฏ์ เป็นต้น เป็นไวพจน์ของนิพพาน ดังนี้เป็นต้น

ไวยากรณ์
       1. ระเบียบของภาษา, วิชาว่าด้วยระเบียบแห่งภาษา
       2. คำหรือข้อความที่เป็นร้อยแก้ว, ความร้อยแก้ว; คู่กับ คาถา 1.
       3. พุทธพจน์ที่เป็นคำร้อยแก้ว (ข้อ ๓ ในนวังคสัตถุศาสน์)

ไวยาวัจกร ผู้ทำกิจธุระแทนสงฆ์, ผู้ช่วยขวนขวายทำกิจธุระ, ผู้ช่วยเหลือรับใช้พระ

ไวยาวัจจะ การขวนขวายช่วยทำกิจธุระ, การช่วยเหลือรับใช้

ไวยาวัจมัย ดู เวยยาวัจจมัย

ศตมวาร วันที่ ๑๐๐, วันที่ครบ ๑๐๐

ศรัทธา ความเชื่อ, ความเชื่อถือ; ความเชื่อมั่นในสิ่งที่ดีงาม;
       ดู สัทธา (ข้อ ๑ ในพละ ๕, ข้อ ๑ ในเวสารัชชกรณธรรม, ข้อ ๑ ในสัทธรรม ๗, ข้อ ๑ ในอริยทรัพย์ ๗, ข้อ ๑ ในอริยวัฑฒิ ๕)

ศรัทธาไทย (สทฺธาเทยฺย) ของที่เขาถวายด้วยศรัทธา

ศราทธ์ การทำบุญให้แก่ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว
       (ต่างจาก สารท)

ศราทธพรต พิธีทำบุญอุทิศแก่ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว;
       ศราทธพรตคาถา หรือ คาถาศราทธพรต หมายถึง คาถาหมวดหนึ่ง (มีร้อยแก้วนำเล็กน้อย) ที่พระสงฆ์ใช้สวดรับเทศน์ ในงานพระราชพิธีเผาศพในประเทศไทย
       แต่บัดนี้ใช้กันกว้างขวางออกไป แม้ในพิธีราษฎร์ที่จะจัดให้เป็นการใหญ่

ศรี มิ่งขวัญ, ราศี, อาการที่น่านิยม

ศรีอารยเมตไตรย พระนามของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ซึ่งจะอุบัติขึ้นในภายหน้า หลังจากสิ้นศาสนาพระโคดมแล้ว ในคราวที่มนุษย์มีอายุยืน ๘๐,๐๐๐ ปี นับเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ที่ ๕ แห่งภัทรกัปนี้
       ดู พระพุทธเจ้า ๕

ศักดิ์ อำนาจ, ความสามารถ, กำลัง, ฐานะ

ศักดินา อำนาจปกครองที่นา หมายความว่า พระมหากษัตริย์พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เจ้านาย และขุนนางเป็นต้น ถือนาได้มีกำหนดจำนวนไร่ เป็นเรือนหมื่นเรือนพันตามฐานานุรูป การพระราชทานให้ถือศักดินานั้น เป็นเครื่องเทียบยศและเป็นเครื่องปรับผู้ก้ำเกิน หรือเป็นเครื่องปรับผู้ถือศักดินานั่นเอง เมื่อทำผิด

ศักดิ์สิทธิ์ ขลัง, มีความสำเร็จตามอำนาจ

ศัพท์ เสียง, คำ, คำยากที่ต้องแปล, คำยากที่ต้องอธิบาย

ศัสตรา ของมีคมเป็นเครื่องแทงฟัน

ศัสตราวุธ อาวุธมีคมเป็นเครื่องฟันแทง
       (ศัสตรา = ของมีคมเป็นเครื่องฟันแทง, อาวุธ = เครื่องประหาร)

ศากยะ ชื่อกษัตริย์พวกหนึ่ง ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าโอกกากราช ซึ่งเป็นผู้สร้างและครองกรุงกบิลพัสดุ์ พระพุทธเจ้าก็เป็นกษัตริย์วงศ์นี้;
       ศากยะ เป็นคำสันสกฤต เรียกอย่างบาลีเป็น สักกะ บ้าง, สักยะ บ้าง, สากิยะ บ้าง,
       ศากยะ หรือสักกะนี้ ใช้เป็นคำเรียกชื่อถิ่นหรือแคว้นของพวกเจ้าศากยะด้วย;
       ดู สักกชนบท

ศากยกุมาร กุมารวงศ์ศากยะ, เจ้าชายวงศ์ศากยะ

ศากยตระกูล ตระกูลศากยะ, วงศ์ศากยะ

ศากยราช กษัตริย์ศากยะ, พระเจ้าแผ่นดินวงศ์ศากยะ

ศากยวงศ์ เชื้อสายพวกศากยะ

ศากยสกุล ตระกูลศากยะ, เหล่าก่อพวกศากยะ

ศาสดา ผู้อบรมสั่งสอน, เป็นพระนามอย่างหนึ่งที่ใช้เรียกพระพุทธเจ้า;
       ปัจจุบันใช้เรียกผู้ตั้งศาสนาโดยทั่วไป, ในพุทธกาล ครูทั้ง ๖ คือ ปูรณกัสสป มักขลิโคสาล อชิตเกสกัมพล ปกุธกัจจายนะ สัญชัยเวลัฏฐบุตร และนิครนถนาฏบุตร ถ้าเรียกตามบาลีก็เป็นศาสดา ๖

ศาสตร์ ตำรา, วิชา

ศาสนา คำสอน, คำสั่งสอน;
       ปัจจุบันใช้หมายถึงลัทธิความเชื่อถืออย่างหนึ่งๆ พร้อมด้วยหลักคำสอน ลัทธิ พิธี องค์การ และกิจการทั่วไปของหมู่ชนผู้นับถือลัทธิความเชื่อถืออย่างนั้นๆ ทั้งหมด

ศาสนูปถัมภก ผู้ทะนุบำรุงศาสนา

ศิลปะ ฝีมือ, ความฉลาดในฝีมือ, ฝีมือทางการช่าง, การแสดงออกมาให้ปรากฏอย่างงดงามน่าชม, วิชาที่ใช้ฝีมือ, วิชาชีพต่างๆ

ศิลปวิทยา ศิลปะและวิทยาการ

ศิลปศาสตร์ ตำราว่าด้วยวิชาความรู้ต่างๆ มี ๑๘ ประการ เช่นตำราว่าด้วยการคำนวณ ตำรายิงธนู เป็นต้น อันได้มีการเรียนการสอนกันมาตั้งแต่สมัยก่อนพุทธกาล;
       ๑๘ ประการนั้น มีหลายแบบ ยกมาดูแบบหนึ่งจากคัมภีร์โลกนิติ และธรรมนิติ ได้แก่
           ๑. สุติ ความรู้ทั่วไป
           ๒. สัมมุติ ความรู้กฎธรรมเนียม
           ๓. สังขยา คำนวณ
           ๔. โยคา การช่างการยนตร์
           ๕. นีติ การปกครอง (คือความหมายเดิมของ นิติศาสตร์ ในชมพูทวีป)
           ๖. วิเสสิกา ความรู้การอันให้เกิดมงคล
           ๗. คันธัพพา การร้องรำ
           ๘. คณิกา การบริหารร่างกาย
           ๙. ธนุพเพธา การยิงธนู (ธนุพเพทา ก็ว่า)
           ๑๐. ปุราณา การบูรณะ
           ๑๑. ติกิจฉา การบำบัดโรค (แพทยศาสตร์)
           ๑๒. อิติหาสา ตำนานหรือประวัติศาสตร์
           ๑๓. โชติ ความรู้เรื่องสิ่งส่องสว่างในท้องฟ้า (ดาราศาสตร์)
           ๑๔. มายา ตำราพิชัยสงคราม
           ๑๕. ฉันทสา การประพันธ์
           ๑๖. เกตุ การพูด
           ๑๗. มันตา การเวทมนตร์
           ๑๘. สัททา หลักภาษาหรือไวยากรณ์,
       ทั้ง ๑๘ อย่างนี้โบราณเรียกรวมว่า สิปปะ หรือศิลปะ ไทยแปลออกเป็น ศิลปศาสตร์ (ตำราว่าด้วยศิลปะต่างๆ);
       แต่ในสมัยปัจจุบัน ได้แยกความหมายศิลปะ กับ ศาสตร์ ออกจากกัน คือ
           ศิลปะ หมายถึง วิทยาการที่มีวัตถุประสงค์ตรง ความงาม
               เช่น ดุริยางคศิลป์ นาฏศิลป์ และจิตรกรรม เป็นต้น
           ศาสตร์ หมายถึง วิทยาการที่มีวัตถุประสงค์ตรง ความจริง
               เช่น คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ เป็นต้น

ศิลาดวด หินที่สูงขึ้นไปบนพื้นดิน

ศิลาดาด หินที่เป็นแผ่นราบใหญ่

ศิลาเทือก หินที่ติดเป็นพืดยาว

ศิลาวดี ชื่อนครหนึ่งในสักกชนบท

ศิวาราตรี พิธีลอยบาปของพราหมณ์ ทำในวันเพ็ญเดือน ๓ เป็นประจำปี วิธีทำคือ ลงอาบน้ำในแม่น้ำ สระเกล้า ชำระร่างกายให้สะอาดหมดจด เท่านี้ถือว่าได้ลอยบาปไปตามกระแสน้ำแล้ว เป็นอันสิ้นบาปกันคราวหนึ่ง ถึงปีก็ทำใหม่
       (คำสันสกฤตเดิมเป็น ศิวราตริ แปลว่า “ราตรีของพระศิวะ” พจนานุกรมสันสกฤตว่า ตรงกับแรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๓)

ศีล ความประพฤติดีทางกายและวาจา, การรักษากายและวาจาให้เรียบร้อย, ข้อปฏิบัติสำหรับควบคุมกายและวาจาให้ตั้งอยู่ในความดีงาม, การรักษาปกติตามระเบียบวินัย, ปกติมารยาทที่ปราศจากโทษ, ข้อปฏิบัติในการฝึกหัดกายวาจาให้ดียิ่งขึ้น, ความสุจริตทางกายวาจาและอาชีพ;
       มักใช้เป็นคำเรียกอย่างง่ายสำหรับคำว่า อธิศีลสิกขา
       (ข้อ ๑ ในไตรสิกขา, ข้อ ๒ ในบารมี ๑๐, ข้อ ๒ ในอริยทรัพย์ ๗, ข้อ ๒ ในอริยวัฑฒิ ๕)

ศีลธรรม
       ความประพฤติที่ดีที่ชอบ, ความประพฤติดีงาม;
       นิยมแปลกันว่า ศีลและธรรม โดยถือว่า
           ศีล หมายถึง เว้นชั่วหรือเว้นจากข้อห้าม
           ธรรม หมายถึง ประพฤติดี หรือทำตามคำแนะนำสั่งสอน,
       แต่แปลตามหลักว่า ธรรมขั้นศีล เพราะศีลเป็นธรรมอย่างหนึ่ง เช่นเดียวกับสมาธิและปัญญา (ในไตรสิกขา)
       ความประพฤติดีงามทางกายวาจา, ความประพฤติที่ดีที่ชอบ, ความสุจริตทางกายวาจาและอาชีวะ;
       โดยทางศัพท์ ศีลธรรม แปลว่า “ธรรมคือศีล” หมายถึง ธรรมขั้นศีล หรือธรรมในระดับศีล เพราะศีลเป็นธรรมอย่างหนึ่ง ในบรรดาธรรมภาคปฏิบัติ ๓ อย่าง คือ ศีล สมาธิ และปัญญา ดังนั้นต่อจากธรรมขั้นศีล จึงมีธรรมขั้นสมาธิ และธรรมขั้นปัญญา;
       ได้มีผู้พยายามแปลศีลธรรม อีกอย่างหนึ่งว่า “ศีลและธรรม” (ถ้าแปลให้ถูกต้องจริงต้องว่าศีลและธรรมอื่นๆ คือศีลและธรรมอื่นๆ นอกจากศีล เช่น สมาธิ และปัญญา เป็นต้น เพราะศีลก็เป็นธรรมอย่างหนึ่ง)
       ถ้าแปลอย่างนี้ จะต้องเข้าใจว่า ศีลธรรม มิใช่เป็นเพียงความประพฤติดีงามเท่านั้น แต่รวมถึง สมถะวิปัสสนา ขันธ์ ๕ ปฏิจจสมุปบาท ไตรลักษณ์ เป็นต้น ด้วย

ศีลวัตร, ศีลพรต ศีลและวัตร, ศีลและพรต,
       ข้อที่จะต้องสำรวมระวังไม่ล่วงละเมิด ชื่อว่า ศีล
       ข้อที่พึงถือปฏิบัติ ชื่อว่า วัตร,
       หลักความประพฤติทั่วไป อันจะต้องรักษาเสมอกัน ชื่อว่า ศีล
       ข้อปฏิบัติพิเศษเพื่อฝึกฝนตนให้ยิ่งขึ้นไป ชื่อว่า วัตร

ศีลวิบัติ ดู สีลวิบัติ

ศีล ๕ สำหรับทุกคน คือ
       ๑. เว้นจากทำลายชีวิต
       ๒. เว้นจากถือเอาของที่เขามิได้ให้
       ๓. เว้นจากประพฤติผิดในกาม
       ๔. เว้นจากพูดเท็จ
       ๕. เว้นจากของเมา คือ สุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท;
       คำสมาทานว่า
           ๑. ปาณาติปาตา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
           ๒. อทินฺนาทานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
           ๓. กาเมสุมิจฺฉาจารา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
           ๔. มุสาวาทา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
           ๕. สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ;
       ดู อาราธนาศีล ด้วย

ศีล ๘ สำหรับฝึกตนให้ยิ่งขึ้นไปโดยรักษาในบางโอกาส หรือมีศรัทธาจะรักษาประจำก็ได้ เช่น แม่ชีมักรักษาประจำ หัวข้อเหมือนศีล ๕ แต่เปลี่ยนข้อ ๓ และเติมข้อ ๖-๗-๘ คือ
       ๓. เว้นจากประพฤติผิดพรหมจรรย์ คือเว้นจากร่วมประเวณี
       ๖. เว้นจากบริโภคอาหารในเวลาวิกาล คือเที่ยงแล้วไป
       ๗. เว้นจากฟ้อนรำ ขับร้อง บรรเลงดนตรี ดูการเล่นอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ การทัดทรงดอกไม้ ของหอมและเครื่องลูบไล้ ซึ่งใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่ง
       ๘. เว้นจากที่นอนอันสูงใหญ่ หรูหราฟุ่มเฟือย;
       คำสมาทาน (เฉพาะที่ต่างจากศีล ๕) ว่า
           ๓. อพฺรหฺมจริยา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
           ๖. วิกาลโภชนา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
           ๗. นจฺจคีตวาทิตวิสูกทสฺสนา มาลาคนฺธวิเลปนธารณมณฺฑนวิภูสนฏฺฐานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
           ๘. อุจฺจาสยนมหาสยนา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ;
       ดู อาราธนาศีล ด้วย

ศีล ๑๐ สำหรับสามเณร แต่ผู้ใดศรัทธาจะรักษาก็ได้
       หัวข้อเหมือนศีล ๘ แต่แยกข้อ ๗ เป็น ๒ ข้อ (= ๗, ๘) เลื่อนข้อ ๘ เป็น ๙ และเติมข้อ ๑๐ คือ
       ๗. เว้นจากฟ้อนรำ ขับร้อง ฯลฯ
       ๘. เว้นจากการทัดทรงดอกไม้ ฯลฯ
       ๙. เว้นจากที่นอนอันสูงใหญ่ ฯลฯ
       ๑๐. เว้นจากการรับทองและเงิน;
       คำสมาทาน (เฉพาะที่ต่าง) ว่า
           ๗. นจฺจคีตวาทิตวิสูกทสฺสนา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
           ๘. มาลาคนฺธวิเลปน ธารณมณฺฑนวิภูสนฏฺฐานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
           ๙. อุจฺจาสยนมหาสยนา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
           ๑๐. ชาตรูปรชตปฏิคฺคหณา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ;
       ดู อาราธนาศีล ด้วย

ศีล ๒๒๗ ศีลสำหรับพระภิกษุ มีในปาฏิโมกข์

ศีล ๓๑๑ ศีลสำหรับพระภิกษุณี มีในภิกขุนีปาฏิโมกข์

ศีลอุโบสถ คือ ศีล ๘ ที่สมาทานรักษาพิเศษในวันอุโบสถ;
       ดู อุโบสถศีล

ศีลาจาร ศีลและอาจาระ, การปฏิบัติตามพระวินัยบัญญัติ และมารยาททั่วไป;
       นัยหนึ่งว่า
           ศีล คือ ไม่ต้องอาบัติปาราชิกและสังฆาทิเสส
           อาจาระ คือ ไม่ต้องอาบัติเบาตั้งแต่ถุลลัจจัยลงมา

ศึกษา การเล่าเรียนฝึกฝนและอบรม,
       ในพระพุทธศาสนา ได้แก่ สิกขา

ศุกลปักษ์ “ฝ่ายขาว, ฝ่ายสว่าง” หมายถึง ข้างขึ้น;
       ชุณหปักษ์ ก็เรียก;
       ตรงข้ามกับ กัณหปักษ์ หรือ กาฬปักษ์

ศุภวารฤกษ์ ฤกษ์งามยามดี

ศูทร ชื่อวรรณะที่ ๔ ในวรรณะ ๔ ของคนในชมพูทวีป ตามหลักศาสนาพราหมณ์ จัดเป็นชนชั้นต่ำ ได้แก่ พวกทาสและกรรมการ
       ดู วรรณะ

เศวต สีขาว

เศวตฉัตร ฉัตรขาว, ร่มขาว, พระกลดขาวซึ่งนับว่าเป็นของสูง

เศวตอัสดร ม้าสีขาว

โศก ความทุกข์, ความเศร้า, ความเดือดร้อนใจ, ความแห้งใจ

โศกศัลย์ ลูกศรคือความโศก, เป็นทุกข์เดือดร้อนเหมือนถูกศรแทง

โศกาลัย ความเศร้าเหี่ยวแห้งใจและความห่วงใย, ทั้งโศกเศร้าทั้งอาลัยหรือโศกเศร้าด้วยอาลัย, ร้องไห้สะอึกสะอื้น
       (เป็นคำกวีไทยผูกขึ้น)

สกทาคามิผล ผลที่ได้รับจากการละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กับทำราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบางลง ซึ่งสืบเนื่องมาแต่สกทาคามิมรรค,
       สกิทาคามิผล ก็เขียน

สกทาคามิมรรค ทางปฏิบัติเพื่อบรรลุผล คือความเป็นพระสกทาคามี,
       ญาณ คือความรู้เป็นเหตุละสังโยชน์ได้ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กับทำราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบางลง,
       สกิทาคามิมรรค ก็เขียน

สกทาคามี พระอริยบุคคลผู้ได้บรรลุสกทาคามิผล,
       สกิทาคามี ก็เขียน

สกสัญญา ความสำคัญว่าเป็นของตน, นึกว่าเป็นของตนเอง

สกุล วงศ์, เชื้อสาย, เผ่าพันธุ์

สงกรานต์ การย้าย คือ ดวงอาทิตย์ย้ายราศี
       ในที่นี้หมายถึงมหาสงกรานต์ คือพระอาทิตย์ย้ายเข้าสู่ราศีเมษ นับเป็นเวลาขึ้นปีใหม่อย่างเก่า จัดเป็นนักขัตฤกษ์ ซึ่งตามสุริยคติตกวันที่ ๑๓, ๑๔, ๑๕ เมษายน ตามปรกติ

สงคราม การรบกัน,
       เป็นโวหารทางพระวินัย เรียกภิกษุผู้จะเข้าสู่การวินิจฉัยอธิกรณ์ ว่าเข้าสู่สงคราม

สงเคราะห์
       1. การช่วยเหลือ, การเอื้อเฟื้อเกื้อกูล; ดู สังคหวัตถุ
       2. การรวมเข้า, ย่นเข้า, จัดเข้า

สงฆ์ หมู่, ชุมนุม
       1. หมู่สาวกของพระพุทธเจ้า เรียกว่า สาวกสงฆ์ ดังคำสวดในสังฆคุณ ประกอบด้วยคู่บุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ เริ่มแต่ท่านผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค จนถึงพระอรหันต์ ต่างจาก ภิกขุสงฆ์ คือ หมู่แห่งภิกษุหรือชุมนุมภิกษุ (ดูความหมาย ๒),
           ต่อมา บางทีเรียกอย่างแรกว่า อริยสงฆ์ อย่างหลังว่า สมมติสงฆ์
       2. ชุมนุมภิกษุหมู่หนึ่งตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป ซึ่งสามารถประกอบสังฆกรรมได้ตามกำหนดทางพระวินัย ต่างโดยเป็นสงฆ์จตุรวรรคบ้าง ปัญจวรรคบ้าง ทศวรรคบ้าง วีสติวรรคบ้าง

สงฆ์จตุรวรรค สงฆ์พวก ๔ คือ มีภิกษุ ๔ รูปขึ้นไปจึงจะครบองค์กำหนด,
       สงฆ์จตุวรรค ก็เขียน
       ดู วรรค

สงฆ์ทศวรรค สงฆ์พวก ๑๐ คือ มีภิกษุ ๑๐ รูปขึ้นไป จึงจะครบองค์กำหนด
       ดู วรรค

สงฆ์ปัญจวรรค สงฆ์พวก ๕ คือ มีภิกษุ ๕ รูปขึ้นไป จึงจะครบองค์กำหนด
       ดู วรรค

สงฆมณฑล ดู สังฆมณฑล

สงฆ์วีสติวรรค สงฆ์พวก ๒๐ คือ มีภิกษุ ๒๐ รูปขึ้นไป จึงจะครบองค์กำหนด
       ดู วรรค

สงสาร
       1. การเวียนว่ายตายเกิด, การเวียนตายเวียนเกิด
       2. ในภาษาไทยมักหมายถึง รู้สึกในความเดือดร้อน หรือความทุกข์ของผู้อื่น (= กรุณา)

สงสารทุกข์ ทุกข์ที่ต้องเวียนว่ายตายเกิด

สงสารวัฏฏ์ วังวนแห่งสงสาร คือ ท่องเที่ยวเวียนว่ายตายเกิดอยู่ซ้ำแล้วซ้ำเล่า

สงสารสาคร ห้วงน้ำคือการเวียนว่ายตายเกิด

สงสารสุทธิ ดู สังสารสุทธิ

สจิตตกะ มีเจตนา, เป็นไปโดยตั้งใจ,
       เป็นชื่อของอาบัติพวกหนึ่งที่เกิดขึ้นโดยสมุฏฐานมีเจตนา คือ ต้องจงใจทำจึงจะต้องอาบัตินั้น
       เช่น ภิกษุหลอนภิกษุให้กลัวผี ต้องปาจิตตีย์ ข้อนี้เป็นสจิตตกะ คือ ตั้งใจหลอกจึงต้องปาจิตตีย์ แต่ถ้าไม่ได้ตั้งใจจะหลอก ไม่ต้องอาบัติ

สญชัย ดู สัญชัย

สดับปกรณ์ “เจ็ดคัมภีร์” หมายถึง คัมภีร์พระอภิธรรมทั้ง ๗ ในพระอภิธรรมปิฎก
       เขียนเต็มว่า สัตตัปปกรณ์ (ดู ในคำว่า ไตรปิฎก)
       แต่ในภาษาไทยคำนี้ความหมายกร่อนลงมา เป็นคำสำหรับใช้ในพิธีกรรม เรียกกิริยาที่พระภิกษุกล่าวคำพิจารณาสังขารเมื่อจะชักผ้าบังสุกุลในพิธีศพเจ้านายว่า สดับปกรณ์ ตรงกับที่เรียกในพิธีศพทั่วๆ ไปว่า บังสุกุล (ซึ่งก็เป็นศัพท์ที่มีความหมายกร่อนเช่นเดียวกัน);
       ใช้เป็นคำนาม หมายถึง พิธีสวดมาติกาบังสุกุลในงานศพ ปัจจุบันใช้เฉพาะศพเจ้านาย

สติ ความระลึกได้, นึกได้, ความไม่เผลอ, การคุมใจไว้กับกิจ หรือกุมจิตไว้กับสิ่งที่เกี่ยวข้อง, จำการที่ทำและคำที่พูดแล้ว แม้นานได้
       (ข้อ ๑ ในธรรมมีอุปการะมาก ๒, ข้อ ๓ ในพละ ๕, ข้อ ๙ ในนาถกรณธรรม ๑๐, ข้อ ๑ ในโพชฌงค์ ๗, ข้อ ๖ ในสัทธรรม ๗)

สติปัฏฐาน ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติ, ข้อปฏิบัติมีสติเป็นประธาน, การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นเท่าทันตามความเป็นจริง, การมีสติกำกับดูสิ่งต่างๆ และความเป็นไปทั้งหลาย โดยรู้เท่าทันตามสภาวะของมัน ไม่ถูกครอบงำด้วยความยินดียินร้าย ที่ทำให้มองเห็นเพี้ยนไปตามอำนาจกิเลส มี ๔ อย่างคือ
       ๑. กายานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันกายและเรื่องทางกาย
       ๒. เวทนานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันเวทนา
       ๓. จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันจิตหรือสภาพและอาการของจิต
       ๔. ธัมมานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันธรรม;
       เรียกสั้นๆ ว่า กาย เวทนา จิต ธรรม;
       ดู โพธิปักขิยธรรม

สติวินัย ระเบียบยกเอาสติขึ้นเป็นหลัก
       ได้แก่ กิริยาที่สงฆ์สวดประกาศให้สมมติแก่พระอรหันต์ ว่าเป็นผู้มีสติเต็มที่ เพื่อระงับอนุวาทาธิกรณ์ ที่มีผู้โจทท่านด้วยศีลวิบัติ
       หมายความว่า จำเลยเป็นพระอรหันต์ สงฆ์เห็นว่าไม่เป็นฐานะที่จำเลยจะทำการล่วงละเมิดดังโจทก์กล่าวหา จึงสวดกรรมวาจาประกาศความข้อนี้ไว้ เรียกว่าให้สติวินัย แล้วยกฟ้องของโจทก์เสีย
       ภายหลังจำเลยจะถูกผู้อื่นโจทด้วยอาบัติอย่างนั้นอีก ก็ไม่ต้องพิจารณา ให้อธิกรณ์ระงับด้วยสติวินัย

สติสังวร สังวรด้วยสติ (ข้อ ๒ ในสังวร ๕)

สติสมฺโมสา อาการที่จะต้องอาบัติด้วยลืมสติ

สตูป สิ่งก่อสร้างสำหรับบรรจุของควรบูชา
       นิยมเรียก สถูป

สเตกิจฉา อาบัติที่ยังพอเยียวยาหรือแก้ไขได้
       ได้แก่ อาบัติอย่างกลางและอย่างเบา คือตั้งแต่สังฆาทิเสสลงมา;
       คู่กับ อเตกิจฉา

สถลมารค ทางบก

สถาปนา ก่อสร้าง, ยกย่องโดยแต่งตั้งให้สูงขึ้น

สถาพร มั่นคง, ยั่งยืน, ยืนยง

สถิต อยู่, ยืนอยู่, ตั้งอยู่

สถูป สิ่งก่อสร้างซึ่งก่อไว้สำหรับบรรจุของควรบูชา เป็นอนุสรณ์ที่เตือนใจให้เกิดปสาทะและกุศลธรรมอื่นๆ
       เช่น พระบรมสารีริกธาตุ อัฐิแห่งพระสาวก หรือกระดูกแห่งบุคคลที่นับถือ
       (บาลี: ถูป, สันสกฤต: สฺตูป);
       ดู ถูปารหบุคคล

สทารสันโดษ ความพอใจด้วยภรรยาของตน,
       ความยินดีเฉพาะภรรยาของตน (ข้อ ๓ ในเบญจธรรม),
       จัดเป็นพรหมจรรย์อย่างหนึ่ง

สนตพาย ร้อยเชือกสำหรับร้อยจมูกควาย ที่จมูกควาย
       (สน = ร้อย, ตพาย = เชือกที่ร้อยจมูกควาย)
       (พจนานุกรมเขียน สนตะพาย)

สนาน อาบน้ำ, การอาบน้ำ

สบง ผ้านุ่งของภิกษุสามเณร,
       คำเดิม เรียก อันตรวาสก;
       ดู ไตรจีวร

สปทานจาริกังคะ องค์แห่งผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับบ้านเป็นวัตร คือรับตามลำดับบ้านตามแถวเดียวกัน ไม่รับข้ามบ้านข้ามแถว,
       เที่ยวบิณฑบาตไปตามตรอก ตามห้องแถวเรียงลำดับเรื่อยไปเป็นแนวเดียวกัน ไม่ข้ามไปเลือกรับที่โน้นที่นี่ตามใจชอบ
       (ข้อ ๔ ในธุดงค์ ๑๓)

สปิณฑะ ผู้ร่วมก้อนข้าว,
       พวกพราหมณ์หมายเอาบุรพบิดร ๓ ชั้น คือ บิดา, ปู่, ทวด ซึ่งเป็นผู้ควรที่ลูกหลานเหลนจะเซ่นด้วยก้อนข้าว;
       คู่กับ สมาโนทก

สพรหมจารี ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกัน, เพื่อนพรหมจรรย์, เพื่อนบรรพชิต, เพื่อนนักบวช

สภา “ที่เป็นที่พูดร่วมกัน”, ที่ประชุม, สถาบันหรือองค์การอันประกอบด้วยคณะบุคคลซึ่งทำหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยหรืออำนวยกิจการ ด้วยการประชุมปรึกษาหารือออกความคิดเห็นร่วมกัน

สภาค มีส่วนเสมอกัน, เท่ากัน, ถูกกัน, เข้ากันได้, พวกเดียวกัน

สภาคาบัติ ต้องอาบัติอย่างเดียวกัน

สภาพ, สภาวะ ความเป็นเอง, สิ่งที่เป็นเอง, ธรรมดา

สภาวทุกข์ ทุกข์ที่เป็นเองตามคติแห่งธรรมดา
       ได้แก่ ทุกข์ประจำสังขาร คือ ชาติ ชรา มรณะ

สภาวธรรม หลักแห่งความเป็นเอง, สิ่งที่เป็นเองตามธรรมดาของเหตุปัจจัย

สภิยะ พระเถระผู้ใหญ่ชั้นมหาสาวก เคยเป็นปริพพาชกมาก่อน ได้ฟังพระพุทธเจ้าพยากรณ์ปัญหาที่ตนถาม มีความเลื่อมใส ขอบวช หลังจากบวชแล้ว ไม่ช้าก็ได้บรรลุพระอรหัต

สโภชนสกุล สกุลที่กำลังบริโภคอาหารอยู่, ครอบครัวที่กำลังบริโภคอาหารอยู่
       (ห้ามไม่ให้ภิกษุไปนั่งแทรกแซง ตามสิกขาบทที่ ๓ แห่งอเจลกวรรค ปาจิตติยกัณฑ์)

สมจารี ผู้ประพฤติสม่ำเสมอ, ประพฤติถูกต้องเหมาะสม;
       คู่กับ ธรรมจารี

สมโจร เป็นใจกับโจร

สมชีวิตา มีความเป็นอยู่พอเหมาะพอดี
       คือ เลี้ยงชีวิตตามสมควรแก่กำลังทรัพย์ที่หาได้ ไม่ฝืดเคืองนัก ไม่ฟูมฟายนัก
       (ข้อ ๔ ในทิฏฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกธรรม ๔)

สมณะ “ผู้สงบ” หมายถึงนักบวชทั่วไป
       แต่ในพระพุทธศาสนา ท่านให้ความหมายจำเพาะ หมายถึงผู้ระงับบาป ได้แก่ พระอริยบุคคล และผู้ปฏิบัติธรรมเพื่อระงับบาป ได้แก่ ผู้ปฏิบัติธรรมเพื่อเป็นพระอริยบุคคล

สมณคุณ คุณธรรมของสมณะ, ความดีที่สมณะควรมี

สมณโคดม คำที่คนทั่วไปหรือคนภายนอกพระศาสนา นิยมใช้เรียกพระพุทธเจ้า

สมณพราหมณ์ สมณะและพราหมณ์
       (เคยมีการสันนิษฐานว่า อาจแปลได้อีกอย่างหนึ่งว่า พราหมณ์ผู้เป็นสมณะหรือพราหมณ์ผู้ถือบวช แต่หลักฐานไม่เอื้อ)

สมณวัตต์ ดู สมณวัตร

สมณวัตร หน้าที่ของสมณะ, กิจที่พึงทำของสมณะ, ข้อปฏิบัติของสมณะ

สมณวิสัย วิสัยของสมณะ, ลักษณะที่เป็นอยู่ของสมณะ, ลักษณะที่เป็นอยู่ของผู้สงบ

สมณสัญญา ความสำคัญว่าเป็นสมณะ, ความกำหนดใจไว้ว่าตนเป็นสมณะ, ความสำนึกในความเป็นสมณะของตน

สมณสารูป ความประพฤติอันสมควรของสมณะ

สมณุทเทส, สมณุเทศ สามเณร

สมเด็จ คำยกย่อง หมายความว่า ยิ่งใหญ่ หรือประเสริฐ

สมถะ ธรรมเป็นเครื่องสงบระงับจิต, ธรรมยังจิตให้สงบระงับจากนิวรณูปกิเลส, การฝึกจิตให้สงบเป็นสมาธิ
       (ข้อ ๑ ในกรรมฐาน ๒ หรือภาวนา ๒)

สมถกัมมัฏฐาน กรรมฐานคือสมถะ, งานฝึกจิตให้สงบ;
       ดู สมถะ

สมถขันธกะ ชื่อขันธกะที่ ๔ แห่งจุลวรรค ในพระวินัยปิฎก ว่าด้วยวิธีระงับอธิกรณ์

สมถภาวนา การเจริญสมถกัมมัฏฐานทำจิตให้แน่วแน่เป็นสมาธิ;
       ดู ภาวนา

สมถยานิก ผู้มีสมถะเป็นยาน หมายถึง ผู้เจริญสมถกรรมฐาน จนได้ฌานก่อนแล้วจึงเจริญวิปัสสนาต่อ

สมถวิธี วิธีระงับอธิกรณ์; ดู อธิกรณสมถะ

สมถวิปัสสนา สมถะและวิปัสสนา

สมนุภาสนา การสวดสมนุภาสน์, สวดประกาศห้ามไม่ให้ถือรั้นการอันมิชอบ

สมบัติ ความถึงพร้อม, ความครบถ้วน, ความสมบูรณ์
       1. สิ่งที่ได้ที่ถึงด้วยดี, เงินทองของมีค่า, สิ่งที่มีอยู่ในสิทธิอำนาจของตน, ความพรั่งพร้อมสมบูรณ์, สมบัติ ๓ ได้แก่
               มนุษยสมบัติ สมบัติในขั้นมนุษย์
               สวรรคสมบัติ สมบัติในสวรรค์ (เทวสมบัติ หรือทิพยสมบัติ ก็เรียก) และ
               นิพพานสมบัติ สมบัติ คือนิพพาน
       2. ความครบถ้วนของสังฆกรรม เช่น อุปสมบท เป็นต้น ที่จะทำให้สังฆกรรมนั้นถูกต้อง ใช้ได้ มีผลสมบูรณ์ มี ๔ คือ
           ๑. วัตถุสมบัติ วัตถุถึงพร้อม เช่น ผู้อุปสมบทเป็นชายอายุครบ ๒๐ ปี
           ๒. ปริสสมบัติ บริษัทคือที่ประชุมถึงพร้อม สงฆ์ครบองค์กำหนด
           ๓. สีมาสมบัติ เขตชุมนุมถึงพร้อม
               เช่น สีมามีนิมิตถูกต้องตามพระวินัย และประชุมทำในเขตสีมา
           ๔. กรรมวาจาสมบัติ กรรมวาจาถึงพร้อม สวดประกาศถูกต้องครบถ้วน
               (ข้อ ๔ อาจแยกเป็น ๒ ข้อ คือเป็น
               ๔. ญัตติสมบัติ ญัตติถึงพร้อม คือคำเผดียงสงฆ์ถูกต้อง
               ๕. อนุสาวนาสมบัติ อนุสาวนาถึงพร้อมคำหารือตกลงถูกต้อง รวมเป็นสมบัติ ๕);
       เทียบ วิบัติ

สมบัติของอุบาสก ๕ คือ
       ๑. มีศรัทธา
       ๒. มีศีลบริสุทธิ์
       ๓. ไม่ถือมงคลตื่นข่าว เชื่อกรรม ไม่เชื่อมงคล
       ๔. ไม่แสวงหาเขตบุญนอกหลักพระพุทธศาสนา
       ๕. ขวนขวายในการอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนา
       (ข้อ ๕ ตามแบบเรียนว่า บำเพ็ญบุญแต่ในพุทธศาสนา)

สมผุส เป็นคำเฉพาะในโหราศาสตร์
       หมายถึง การคำนวณชนิดหนึ่ง เกี่ยวกับโลกและดาวนพเคราะห์เล็งร่วมกัน;
       ดู มัธยม

สมพงศ์ การร่วมวงศ์หรือตระกูลกัน, ร่วมวงศ์กันได้ ลงกันได้

สมเพช ในภาษาไทย ใช้ในความหมายว่า สลดใจ ทำให้เกิดความสงสาร
       แต่ตามหลักภาษาตรงกับ สังเวช

สมโพธิ การตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า

สมโภค การกินร่วม; ดู กินร่วม

สมโภช งานฉลองในพิธีมงคลเพื่อความรื่นเริงยินดี

สมภพ การเกิด

สมมติ การร่วมกัน, การตกลงกัน, การมีมติร่วมกัน หรือยอมรับร่วมกัน;
       การที่สงฆ์ประชุมกันตกลงมอบหมาย หรือแต่งตั้งภิกษุให้ทำกิจ หรือเป็นเจ้าหน้าที่ในเรื่องอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น สมมติภิกษุเป็นผู้ให้โอวาทภิกษุณี สมมติภิกษุเป็นภัตตุเทศก์ เป็นต้น;
       ในภาษาไทย ใช้ในความหมายว่า ตกลงกันว่า ต่างว่า

สมมติเทพ เทวดาโดยสมมติ คือ โดยความตกลงหรือยอมรับร่วมกันของมนุษย์ ได้แก่พระราชา พระราชเทวี พระราชกุมาร
       (ข้อ ๑ ในเทพ ๓)

สมมติสัจจะ จริงโดยสมมติ คือ โดยความตกลงหมายรู้ร่วมกันของมนุษย์
       เช่น นาย ก. นาย ข. ช้าง ม้า มด โต๊ะ หนังสือ พ่อ แม่ ลูก เพื่อน เป็นต้น
       ซึ่งเมื่อกล่าวตามสภาวะ หรือโดยปรมัตถ์แล้ว ก็เป็นเพียงสังขาร หรือนามรูป หรือขันธ์ ๕ เท่านั้น;
       ตรงข้ามกับ ปรมัตถสัจจะ

สมรภูมิ ที่ร่วมตาย, สนามรบ

สมสีสี [สะ-มะ-สี-สี] บุคคลผู้สิ้นอาสวะพร้อมกับสิ้นชีวิต คือ บรรลุอรหัตตผล ในขณะเดียวกับที่สิ้นชีวิต;
       นี้เป็นความหมายหลักตามพระบาลี แต่ในมโนรถปูรณี อรรถกถาแห่งอังคุตตรนิกาย ให้ความหมายสมสีสี ว่าเป็นการสิ้นอาสวะพร้อมกับสิ้นอย่างอื่นอันใดอันหนึ่งใน ๔ อย่าง
       และแสดงสมสีสีไว้ ๔ ประเภท คือ
           ผู้สิ้นอาสวะพร้อมกับหายโรค เรียกว่า โรคสมสีสี
           ผู้สิ้นอาสวะพร้อมกับที่เวทนา ซึ่งกำลังเสวยอยู่สงบระงับไป เรียกว่า เวทนาสมสีสี
           ผู้สิ้นอาสวะพร้อมกับการสิ้นสุดของอิริยาบถอันใดอันหนึ่ง เรียกว่า อิริยาบถสมสีสี
           ผู้สิ้นอาสวะพร้อมกับสิ้นชีวิต เรียกว่า ชีวิตสมสีสี
       สมสีสีในความหมายหลักข้างต้น ก็คือ ชีวิตสมสีสี;
       อย่างไรก็ดี ในอรรถกถาแห่งปุคคลปัญญัติ เป็นต้น แสดงสมสีสีไว้ ๓ ประเภท และอธิบายต่างออกไปบ้าง ไม่ขอนำมาแสดงในที่นี้ เพราะจะทำให้ฟั่นเฝือ

สมันตจักขุ จักษุรอบคอบ, ตาเห็นรอบ
       ได้แก่พระสัพพัญญุตญาณ อันหยั่งรู้ธรรมทุกประการ เป็นคุณสมบัติพิเศษของพระพุทธเจ้า
       (ข้อ ๕ ในจักขุ ๕)

สมันตปาสาทิกา ชื่อคัมภีร์อรรถกถาอธิบายความในพระวินัยปิฎก
       พระพุทธโฆษาจารย์เรียบเรียงขึ้น เมื่อ พ.ศ. ใกล้จะถึง ๑๐๐๐ โดยปรึกษาอรรถกถาภาษาสิงหฬที่มีอยู่ก่อน ชื่อ มหาปัจจริยะ และ กุรุนที

สมัย คราว, เวลา; ลัทธิ; การประชุม; การตรัสรู้

สมาคม การประชุม, การเข้าร่วมพวกร่วมคณะ

สมาจาร ความประพฤติที่ดี;
       มักใช้ในความหมายที่เป็นกลางๆ ว่า ความประพฤติ โดยมีคำอื่นประกอบขยายความ
       เช่น กายสมาจาร วจีสมาจาร ปาปสมาจาร เป็นต้น

สมาทปนา การให้สมาทาน หรือชวนให้ปฏิบัติ คือ อธิบายให้เห็นว่าเป็นความจริง ดีจริงจนใจยอมรับที่จะนำไปปฏิบัติ;
       เป็นลักษณะอย่างหนึ่งของการสอนที่ดี
       (ข้อก่อนคือ สันทัสสนา, ข้อต่อไปคือ สมุตเตชนา)

สมาทาน การถือเอารับเอาเป็นข้อปฏิบัติ, การถือปฏิบัติ เช่น สมาทานศีล คือรับเอาศีลมาปฏิบัติ

สมาทานวัตร ดู ขึ้นวัตร

สมาทานวิรัติ การเว้นด้วยการสมาทาน คือ ได้สมาทานศีลไว้ก่อนแล้ว เมื่อประสบเหตุที่จะให้ทำความชั่ว ก็งดเว้นได้ตามที่สมาทานนั้น
       (ข้อ ๒ ในวิรัติ ๓)

สมาธิ ความมีใจตั้งมั่น, ความตั้งมั่นแห่งจิต, การทำให้ใจสงบแน่วแน่ ไม่ฟุ้งซ่าน, การมีจิตกำหนดแน่วแน่อยู่ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะ
       มักใช้เป็นคำเรียกง่ายๆ สำหรับอธิจิตตสิกขา;
       ดู เอกัคคตา, อธิจิตตสิกขา
       (ข้อ ๒ ในไตรสิกขา, ข้อ ๔ ในพละ ๕, ข้อ ๖ ในโพชฌงค์ ๗)

สมาธิ ๒ คือ
       ๑. อุปจารสมาธิ สมาธิจวนเจียน หรือสมาธิเฉียดๆ
       ๒. อัปปนาสมาธิ สมาธิแน่วแน่

สมาธิ ๓ คือ
           ๑. สุญญตสมาธิ
           ๒. อนิมิตตสมาธิ
           ๓. อัปปณิหิตสมาธิ;
       อีกหมวดหนึ่ง ได้แก่
           ๑. ขณิกสมาธิ
           ๒. อุปจารสมาธิ
           ๓. อัปปนาสมาธิ

สมาธิกถา ถ้อยคำที่ชักชวนให้ทำใจให้สงบตั้งมั่น
       (ข้อ ๗ ในกถาวัตถุ ๑๐)

สมาธิขันธ์ หมวดธรรมจำพวกสมาธิ เช่น ฉันทะ วิริยะ จิตตะ ชาคริยานุโยค กายคตาสติ เป็นต้น

สมานกาล เวลาปัจจุบัน

สมานฉันท์ มีความพอใจร่วมกัน, พร้อมใจกัน

สมานลาภสีมา แดนมีลาภเสมอกัน ได้แก่เขตที่สงฆ์ตั้งแต่ ๒ อาวาสขึ้นไปทำกติกากันไว้ว่า ลาภเกิดขึ้นในอาวาสหนึ่ง สงฆ์อีกอาวาสหนึ่งมีส่วนได้รับแจกด้วย;
       ดู กติกา

สมานสังวาส มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ร่วมเสมอกัน,
       ผู้ร่วมสังวาส หมายถึง ภิกษุสงฆ์ผู้สามัคคีร่วมอุโบสถสังฆกรรมกัน;
       เหตุให้ภิกษุผู้แตกกันออกไปแล้วกลับเป็นสมานสังวาสกันได้อีก มี ๒ อย่าง คือ
           ๑. ทำตนให้เป็นสมานสังวาสเอง คือ สงฆ์ปรองดองกันเข้าได้ หรือภิกษุนั้นแตกจากหมู่แล้วกลับเข้าหมู่เดิม
           ๒. สงฆ์ระงับอุกเขปนียกรรมที่ลงโทษภิกษุนั้น แล้วรับเข้าสังวาสตามเดิม

สมานสังวาสสีมา แดนมีสังวาสเสมอกัน, เขตที่กำหนดความพร้อมเพรียงและสิทธิในการเข้าอุโบสถปวารณาและสังฆกรรมด้วยกัน

สมานัตตตา “ความเป็นผู้มีตนเสมอ” หมายถึง การทำตนให้เข้ากันได้ ด้วยการร่วมสุขร่วมทุกข์ ไม่ถือตัว มีความเสมอภาค และวางตัวเหมาะสม
       (ข้อ ๔ ในสังคหวัตถุ ๔)

สมานาจริยกะ ภิกษุผู้ร่วมพระอาจารย์เดียวกัน

สมานาสนิกะ ผู้ร่วมอาสนะกัน
       หมายถึง ภิกษุผู้มีพรรษารุ่นราวคราวเดียวกัน แก่หรืออ่อนกว่ากันไม่ถึง ๓ พรรษา นั่งร่วมอาสนะเสมอกันได้;
       เทียบ อสมานาสนิกะ

สมานุปัชฌายกะ ภิกษุผู้ร่วมพระอุปัชฌายะเดียวกัน

สมาโนทก ผู้ร่วมน้ำ,
       ตามธรรมเนียมพราหมณ์ หมายถึง บุรพบิดรพ้นจากทวดขึ้นไปก็ดี ญาติผู้มิได้สืบสายตรงก็ดี ซึ่งเป็นผู้จะพึงได้รับน้ำกรวด;
       คู่กับ สปิณฑะ

สมาบัติ ภาวะสงบประณีตซึ่งพึงเข้าถึง;
       สมาบัติมีหลายอย่าง เช่น ฌานสมาบัติ ผลสมาบัติ อนุปุพพวิหารสมาบัติ เป็นต้น
       สมาบัติที่กล่าวถึงบ่อยคือ ฌานสมาบัติ กล่าวคือ สมาบัติ ๘ อันได้แก่ รูปฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔
       ถ้าเพิ่มนิโรธสมาบัติ ต่อท้ายสมาบัติ ๘ นี้ รวมเรียกว่า อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙

สมุจจยขันธกะ ชื่อขันธกะที่ ๓ ในจุลวรรคแห่งพระวินัยปิฎก ว่าด้วยวุฏฐานวิธีบางเรื่อง

สมุจเฉท การตัดขาด

สมุจเฉทปหาน การละกิเลสได้โดยเด็ดขาดด้วยอริยมรรค

สมุจเฉทวิมุตติ หลุดพ้นด้วยตัดขาด ได้แก่ พ้นจากกิเลสด้วยอริมรรค กิเลสเหล่านั้นขาดเด็ดไป ไม่กลับเกิดขึ้นอีก เป็นโลกุตตรวิมุตติ
       (ข้อ ๓ ในวิมุตติ ๕)

สมุจเฉทวิรัติ การเว้นด้วยตัดขาด หมายถึงการเว้นความชั่วได้เด็ดขาดของพระอริยเจ้า เพราะไม่มีกิเลสที่จะเป็นเหตุให้ทำความชั่วนั้นๆ
       (ข้อ ๓ ในวิรัติ ๓)

สมุฏฐาน ที่เกิด, ที่ตั้ง, เหตุ;
       ทางที่เกิดอาบัติ โดยตรงมี ๔ คือ
           ๑. ลำพังกาย
           ๒. ลำพังวาจา
           ๓. กายกับจิต
           ๔. วาจากับจิต
       และที่ควบกันอีก ๒ คือ
           ๑. กายกับวาจา
           ๒. กายกับวาจากับทั้งจิต

สมุตเตชนา การทำให้อาจหาญ คือ เร้าใจให้แกล้วกล้า ปลุกใจให้คึกคักเกิดความกระตือรือร้น มีกำลังใจแข็งขัน มั่นใจที่จะทำให้สำเร็จ ไม่กลัวเหน็ดเหนื่อยหรือยากลำบาก;
       เป็นลักษณะอย่างหนึ่งของการสอนที่ดี
       (ข้อก่อนคือ สมาทปนา, ข้อสุดท้ายคือ สัมปหังสนา)

สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์
       ได้แก่ ตัณหา คือความทะยานอยาก เช่น อยากได้นั่นได้นี่ อยากเป็นโน่นเป็นนี่ อยากไม่เป็นโน่นเป็นนี่
       (ข้อ ๒ ในอริยสัจ ๔);
       ดู ตัณหา

สโมธานปริวาส ปริวาสแบบประมวลเข้าด้วยกัน
       คือ ปริวาสที่ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสต่างคราว มีจำนวนวันปิดต่างกันบ้าง ไม่ต่างบ้าง ปรารถนาจะออกจากอาบัตินั้น จึงอยู่ปริวาสโดยประมวลอาบัติและราตรีเข้าด้วยกัน
       จำแนกเป็น ๓ อย่างคือ
           ๑. โอธานสโมธาน สำหรับอาบัติมากกว่าหนึ่ง แต่ปิดไว้นานเท่ากัน เช่น ต้องอาบัติ ๒ คราว ปิดไว้คราวละ ๕ วัน ประมวลเข้าด้วยกัน อยู่ปริวาส ๕ วัน
           ๒. อัคฆสโมธาน สำหรับอาบัติมากกว่าหนึ่งและปิดไว้นานไม่เท่ากัน เช่น ต้องอาบัติ ๓ คราว ปิดไว้ ๓ วัน ๕ วันบ้าง ๗ วันบ้าง ประมวลเข้าด้วยกันอยู่ปริวาสเท่าจำนวนวันที่มากที่สุด (คือ ๗ วัน)
           ๓. มิสสกสโมธาน สำหรับอาบัติที่ต่างวัตถุกัน (เช่น กายสังสัคคะก็มี ทุฏฐุลลวาจาก็มี สัญจริตตะก็มี) มีวันปิดเท่ากันบ้าง ไม่เท่ากันบ้าง ประมวลเข้าด้วยกัน อยู่ปริวาสรวมเป็นคราวเดียว

สยัมภู พระผู้เป็นเอง คือตรัสรู้ได้เองโดยไม่มีใครสั่งสอน หมายถึงพระพุทธเจ้า

สยัมภูญาณ ญาณของพระสยัมภู, ปรีชาหยั่งรู้ของพระสยัมภู

สยามนิกาย
       1. นิกายสยาม หมายถึงพวกพระไทย เรียกชื่อโดยสัญชาติ
       2. ดู สยามวงศ์

สยามวงศ์ ชื่อนิกายพระสงฆ์ลังกาที่บวชจากพระสงฆ์สยาม (คือพระสงฆ์ไทย) ในสมัยอยุธยา ซึ่งพระอุบาลีเป็นหัวหน้าไปประดิษฐาน ใน พ.ศ. ๒๒๙๖

สรณะ ที่พึ่ง, ที่ระลึก

สรณคมน์ การถึงสรณะ, การยึดเอาเป็นที่พึ่ง, การยึดเอาเป็นที่ระลึก;
       ดู ไตรสรณคมน์, รัตนตรัย

สรณคมนอุปสัมปทา วิธีอุปสมบทด้วยการเปล่งวาจาถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นสรณะ
       เป็นวิธีที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระสาวกใช้อุปสมบทกุลบุตรในตอนปฐมโพธิกาล
       ต่อมา เมื่อพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตการอุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรมแล้ว การบวชด้วยสรณคมน์ ก็ใช้สำหรับการบรรพชาสามเณรสืบมา
       ติสรณคมนูปสัมปทา ก็เรียก;
       ดู อุปสัมปทา

สรณตรัย ที่พึ่งทั้งสาม คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์;
       ดู รัตนตรัย

สรภังคะ นามของศาสดาคนหนึ่งในอดีต เป็นพระโพธิสัตว์ มีคุณสมบัติ คือ เป็นผู้ปราศจากราคะในกามทั้งหลาย ได้ประกาศคำสอน มีศิษย์จำนวนมากมาย

สรภัญญะ ทำนองสวดคำฉันท์

สรร เลือก, คัด

สรรค์ สร้าง

สรรพ ทั้งปวง, ทั้งหมด, ทุกสิ่ง

สรรพางค์ ทุกๆ ส่วนแห่งร่างกาย, ร่างกายทุกๆ ส่วน

สรรเพชญ ผู้รู้ทั่ว, ผู้รู้ทุกสิ่งทุกอย่าง หมายถึงพระพุทธเจ้า (= สัพพัญญู)

สรีระ ร่างกาย

สรีรยนต์ กลไกคือร่างกาย

สรีราพยพ ส่วนของร่างกาย, อวัยวะในร่างกาย

สลาก เครื่องหมายหรือวัตถุที่ใช้ในการเสี่ยงโชค
       เช่น สลากภัต ก็ได้แก่อาหารที่เขาถวายสงฆ์ โดยเขียนชื่อเจ้าภาพลงในกระดาษใบละชื่อ ม้วนรวมคละกันเข้าแล้วให้ภิกษุทั้งหลายจับตามลำดับพรรษากันมา หรือเขียนเลขหมายไว้ที่ของจำนวนหนึ่ง ภิกษุจับได้สลากของผู้ใดก็ได้รับอาหารของทายกนั้น;
       ฉลาก ก็เรียก

สลากภัต อาหารถวายตามสลาก หมายเอาสังฆภัตอันทายกเข้ากันถวาย ต่างคนต่างจัดมา เป็นของต่างกัน เขามักทำในเทศกาลที่ผลไม้เผล็ดแล้วถวายพระด้วยวิธีจับสลาก;
       ดู สลาก

ส่วนข้างปลายทั้งสอง อดีต กับอนาคต

ส่วนท่ามกลาง ในประโยคว่า “ไม่ติดอยู่ในส่วนท่ามกลาง” ปัจจุบัน

สวนานุตตริยะ การสดับที่ยอดเยี่ยม เช่น ได้สดับธรรมของพระพุทธเจ้า
       (ข้อ ๒ ในอนุตตริยะ ๖)

สวรรค์ แดนอันแสนดีเลิศล้ำด้วยกามคุณทั้ง ๕,
       โลกของเทวดา ตามปกติหมายถึงกามาพจรสวรรค์ (สวรรค์ที่ยังเกี่ยวข้องกาม) ๖ ชั้น
       คือ จาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัตดี

สวรรคต “ไปสู่สวรรค์” คือ ตาย
       (ใช้สำหรับพระเจ้าแผ่นดิน สมเด็จพระราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชและพระบรมราชวงศ์ที่ทรงได้รับพระราชทานฉัตร ๗ ชั้น)

สวัสดิ์, สวัสดี ความดีความงาม, ความเจริญรุ่งเรือง, ความปลอดโปร่ง, ความปลอดภัยไร้อันตราย

สวัสดิมงคล มงคล คือ ความสวัสดี

สวากขาตธรรม พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว คือ ตรัสได้จริง ไม่วิปริต ไพเราะในเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุด

สวากขาตนิยยานิกธรรม ธรรมที่พระพุทธเจ้ากล่าวดีแล้ว นำผู้ประพฤติตามให้ออกไปจากทุกข์

สวาธยาย ดู สาธยาย

สวิญญาณกะ สิ่งที่มีวิญญาณ ได้แก่ สัตว์ต่างๆ เช่น แพะ แกะ สุกร โค กระบือ เป็นต้น;
       เทียบ อวิญญาณกะ

สสังขารปรินิพพายี พระอนาคามีผู้จะปรินิพพานด้วยต้องใช้ความเพียร;
       ดู อนาคามี

สสังขาริก “เป็นไปกับด้วยการชักนำ”, มีการชักนำ ใช้แก่จิตที่คิดดีหรือชั่ว โดยถูกกระตุ้นหรือชักจูงจากภายนอก มิใช่เริ่มขึ้นเอง จึงมีกำลังอ่อน;
       ตรงข้ามกับ อสังขาริก

สหคตทุกข์ ทุกข์ไปด้วยกัน, ทุกข์กำกับ ได้แก่ทุกข์ที่พ่วงมาด้วยกับผลอันไพบูลย์ มีลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เป็นต้น แต่ละอย่างย่อมพัวพันด้วยทุกข์

สหชาต, สหชาติ “ผู้เกิดร่วมด้วย” หมายถึง บุคคล (ตลอดจนสัตว์และสิ่งของ) ที่เกิดร่วมวันเดือนปีเดียวกัน อย่างเพลา หมายถึง ผู้เกิดร่วมปีกัน;
       ตำนานกล่าวว่า เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะประสูตินั้น มีสหชาต ๗
       คือ พระมารดาของเจ้าชายราหุล (เจ้าหญิงยโสธราหรือพิมพา) พระอานนท์ นายฉันนะ อำมาตย์กาฬุทายี ม้ากัณฐกะ ต้นมหาโพธิ์ และขุมทรัพย์ทั้ง ๔ (นิธิกุมภี)

สหชาตธรรม ธรรมที่เกิดพร้อมกัน

สหชีวินี คำเรียกแทนคำว่า สัทธิวิหารินี ของภิกษุณี ทั้ง ๒ คำนี้ แปลว่า “ผู้อยู่ร่วม” ตรงกับสัทธิวิหาริกในฝ่ายภิกษุ;
       ศิษย์ของ ปวัตตินี

สหธรรมิก ผู้มีธรรมร่วมกัน, ผู้ประพฤติธรรมร่วมกัน แสดงไว้ในคัมภีร์มหานิทเทส แห่งพระสุตตันตปิฎก มี ๗ คือ ภิกษุ ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี อุบาสก อุบาสิกา;
       ในสัตตาหกรณียะ หมายถึง ๕ อย่างแรกเท่านั้น เรียกว่า สหธรรมิก ๕
       (คัมภีร์ฝ่ายวินัยทั่วไปก็มักหมายเฉพาะจำนวน ๕)

สหธรรมิกวรรค ตอนที่ว่าด้วยเรื่องภิกษุถูกว่ากล่าวโดยชอบธรรม เป็นต้น เป็นวรรคที่ ๘ แห่งปาจิตติยกัณฑ์ มี ๑๒ สิกขาบท

สหรคต ไปด้วยกัน, กำกับกัน, ร่วมกัน

สหวาส อยู่ร่วม เป็นประการหนึ่งในรัตติเฉท คือ เหตุขาดราตรีแห่งการประพฤติมานัตและการอยู่ปริวาส หมายถึง การอยู่ร่วมในชายคาเดียวกับปกตัตตภิกษุ
       ดู รัตติเฉท

สหเสยยสิกขาบท สิกขาบทเกี่ยวกับการนอนร่วม มี ๒ ข้อ
       ข้อหนึ่งปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้นอนร่วมกับอนุปสัมบันเกิน ๒-๓ คืน
       อีกข้อหนึ่งปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้นอนร่วม (คือนอนในที่มุงที่บังเดียวกัน) กับหญิงแม้ในคืนแรก
       (ข้อ ๕ และ ๖ ในมุสาวาทวรรค ปาจิตติยกัณฑ์)

สหไสย การนอนด้วยกัน, การนอนร่วม

สหัมบดี ชื่อพระพรหมผู้อาราธนาพระพุทธเจ้าให้แสดงธรรมโปรดสัตว์

สหาย เพื่อน, เพื่อนร่วมการงาน
       (แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ไปด้วยในกิจทั้งหลาย” หรือ “ผู้มีความเสื่อมและความเจริญร่วมกัน”)

สองต่อสอง สองคนโดยเฉพาะ ไม่มีผู้อื่นอยู่ด้วย, ตัวต่อตัว

ส่อเสียด ยุให้แตกกัน คือฟังคำของข้างนี้แล้ว เก็บเอาไปบอกข้างโน้นเพื่อทำลายข้างนี้ ฟังคำของข้างโน้นแล้วเก็บเอามาบอกข้างนี้ เพื่อทำลายข้างโน้น;
       ดู ปิสุณาวาจา

สอุปาทิเสสนิพพาน นิพพานยังมีอุปาทิเหลือ,
       ดับกิเลสแต่ยังมีเบญจขันธ์เหลือ คือ นิพพานของพระอรหันต์ผู้ยังมีชีวิตอยู่,
       นิพพานในแง่ที่เป็นภาวะดับกิเลส คือ โลภะ โทสะ โมหะ;
       เทียบ อนุปาทิเสสนิพพาน

สอุปาทิเสสบุคคล บุคคลผู้ยังมีเชื้อกิเลสเหลืออยู่,
       ผู้ยังไม่สิ้นอุปาทาน ได้แก่ พระเสขะ คือ พระอริยบุคคลทั้งหมด ยกเว้นพระอรหันต์;
       เทียบ อนุปาทิเสสบุคคล

สักกะ
       1. พระนามจอมเทพ ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เรียกกันว่า ท้าวสักกะหรือพระอินทร์; ดู วัตรบท ๗
       2. ชื่อดงไม้ที่อยู่ในชมพูทวีปตอนเหนือ แถบเขาหิมาลัยในเขตป่าหิมพานต์
       3. ชื่อชนบทที่ตั้งอยู่ในดงไม้สักกะ; ดู สักกชนบท

สักกชนบท ชื่อแคว้นหนึ่งในชมพูทวีปตอนเหนือ นครหลวงชื่อกบิลพัสดุ์ เป็นชาติภูมิของพระพุทธเจ้า
       มีการปกครองโดยสามัคคีธรรม มีประวัติสืบมาแต่สมัยพระเจ้าโอกกากราช
       บัดนี้อยู่ในเขตประเทศเนปาล

สักกรนิคม เป็นนิคมหนึ่งอยู่ในสักกชนบท;
       สักขรนิคม ก็เรียก

สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน,
       ความเห็นเป็นเหตุถือตัวตน เช่น เห็นรูปเป็นตน เห็นเวทนาเป็นตน เป็นต้น
       (ข้อ ๑ ในสังโยชน์ ๑๐)

สักการ, สักการะ เคารพนับถือบูชา, เครื่องแสดงความเคารพบูชา

สักขิสาวก สาวกที่ทันเห็นองค์พระพุทธเจ้า,
       พระสุภัททะผู้เคยเป็นปริพาชก เป็นสักขิสาวกองค์สุดท้ายของพระพุทธเจ้า

สักยปุตติยะ ผู้เป็นเหล่ากอแห่งพระศากยบุตร (ศากยบุตร หรือ สักยปุตตะ หมายถึงพระพุทธเจ้า),
       โดยใจความคือ ผู้เป็นลูกพระพุทธเจ้า ได้แก่พระภิกษุ (ภิกษุณีเรียกว่า สักยธิดา)

สักยราช กษัตริย์วงศ์ศากยะ, พระราชาวงศ์ศากยะ

สังกัจฉิกะ ผ้ารัดหรือโอบรักแร้
       เป็นจีวรอย่างหนึ่งในจีวร ๕ ของภิกษุณี คือ
           สังฆาฏิ ผ้าทาบ ๑
           อุตตราสงค์ ผ้าห่ม ๑
           อันตรวาสก สบง ๑
           สังกิจฉิกะ ผ้ารัดหรือผ้าโอบรักแร้ ๑
           อุทกสาฏิกา ผ้าอาบ ๑
       (มากกว่าของภิกษุซึ่งมีจำนวนเพียง ๓ อย่างข้างต้น)

สังกิเลส เครื่องทำใจให้เศร้าหมอง

สังขตะ สิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง, สิ่งที่เกิดจากเหตุปัจจัยแต่งขึ้น ได้แก่สภาพที่เกิดแต่เหตุทั้งปวง, สังขตธรรม;
       ตรงข้ามกับ อสังขตะ

สังขตธรรม ธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ตรงกับสังขารในคำว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ดังนี้เป็นต้น;
       ตรงข้ามกับ อสังขตธรรม

สังขตลักษณะ ลักษณะแห่งสังขตธรรม,
       ลักษณะของปรุงแต่ง มี ๓ อย่าง
           ๑. ความเกิดขึ้น ปรากฏ
           ๒. ความดับสลาย ปรากฏ
           ๓. เมื่อตั้งอยู่ ความแปร ปรากฏ

สังขาร
       1. สิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง, สิ่งที่เกิดจากเหตุปัจจัย เป็นรูปธรรมก็ตาม นามธรรมก็ตาม ได้แก่ขันธ์ ๕ ทั้งหมด,
           ตรงกับคำว่า สังขตะหรือสังขตธรรม ได้ในคำว่า “สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง” ดังนี้เป็นต้น
       2. สภาพที่ปรุงแต่งใจให้ดีหรือชั่ว, ธรรมมีเจตนาเป็นประธานที่ปรุงแต่งความคิด การพูด การกระทำ มีทั้งที่ดีเป็นกุศล ที่ชั่วเป็นอกุศล และที่กลางๆ เป็นอัพยากฤต ได้แก่ เจตสิก ๕๐ อย่าง (คือ เจตสิกทั้งปวง เว้นเวทนาและสัญญา) เป็นนามธรรมอย่างเดียว,
           ตรงกับสังขารขันธ์ ในขันธ์ ๕ ได้ในคำว่า “รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง” ดังนี้เป็นต้น;
           อธิบายอีกปริยายหนึ่ง สังขารตามความหมายนี้ยกเอาเจตนาขึ้นเป็นตัวนำหน้า ได้แก่ สัญเจตนา คือ เจตนาที่แต่งกรรมหรือปรุงแต่งการกระทำ มี ๓ อย่างคือ
           ๑. กายสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางกาย คือ กายสัญเจตนา
           ๒. วจีสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางวาจา คือ วจีสัญเจตนา
           ๓. จิตตสังขาร หรือ มโนสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางใจ คือ มโนสัญเจตนา
       3. สภาพที่ปรุงแต่งชีวิตมี ๓ คือ
           ๑. กายสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งกาย ได้แก่ อัสสาสะ ปัสสาสะ คือลมหายใจเข้า ลมหายใจออก
           ๒. วจีสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งวาจา ได้แก่ วิตกและวิจาร
           ๓. จิตตสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งใจ ได้แก่ สัญญาและเวทนา

สังขาร ๒ คือ
       ๑. อุปาทินนกสังขาร สังขารที่กรรมครอบครอง
       ๒. อนุปาทินนกสังขาร สังขารที่กรรมไม่ครอบครอง,
       โดยปริยายแปลว่า สังขารที่มีใจครอง และสังขารที่ไม่มีใจครอง

สังขารทุกข์ ทุกข์เพราะเป็นสังขาร คือเพราะเป็นสภาพอันถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น จึงต้องผันแปรไปตามเหตุปัจจัย เป็นสภาพอันปัจจัยบีบคั้นขัดแย้ง คงทนอยู่มิได้

สังขารโลก โลกคือสังขาร ได้แก่ชุมชนแห่งสังขารทั้งปวงอันต้องเป็นไปตามธรรมดาแห่งเหตุปัจจัย

สังขารุเปกขาญาณ ปรีชาหยั่งรู้ถึงขั้นเกิดความวางเฉยในสังขาร,
       ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร คือ รู้เท่าทันสภาวะของสังขารว่า ที่ไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นต้นนั้น มันเป็นไปของมันอย่างนั้นเป็นธรรมดา จึงเลิกเบื่อหน่าย เลิกคิดหาทางแต่จะหนี วางใจเป็นกลางต่อมันได้ เลิกเกี่ยวเกาะและให้ญาณแล่นมุ่งสู่นิพพานอย่างเดียว
       (ข้อ ๘ ในวิปัสสนาญาณ ๙)

สังเขป ย่อ, การย่อ, ใจความ, เค้าความ

สังคหวัตถุ เรื่องสงเคราะห์กัน, คุณเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวใจของผู้อื่นไว้ได้,
       หลักการสงเคราะห์ คือ ช่วยเหลือกันยึดเหนี่ยวใจกันไว้ และเป็นเครื่องเกาะกุมประสานโลกคือสังคมแห่งหมู่สัตว์ไว้ ดุจสลักเกาะยึดรถที่กำลังแล่นไปให้คงเป็นรถและวิ่งแล่นไปได้ มี ๔ อย่าง คือ
       ๑. ทาน การแบ่งปันเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน
       ๒. ปิยวาจา พูดจาน่ารักน่านิยมนับถือ
       ๓. อัตถจริยา บำเพ็ญประโยชน์
       ๔. สมานัตตตา ความมีตนเสมอ คือทำตัวให้เข้ากันได้ เช่น ไม่ถือตัว ร่วมสุขร่วมทุกข์กัน เป็นต้น

สังคายนา “การสวดพร้อมกัน”, การร้อยกรองพระธรรมวินัย, การประชุมตรวจชำระสอบทานและจัดหมวดหมู่คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าวางลงเป็นแบบแผนอันหนึ่งอันเดียว;
       สังคายนา ครั้งที่ ๑ ถึง ๕ มีดังนี้:
       ครั้งที่ ๑ ปรารภเรื่องสุภัททภิกษุผู้บวชเมื่อแก่กล่าวจ้วงจาบพระธรรมวินัย และปรารภที่จะทำให้ธรรมรุ่งเรืองอยู่สืบไป พระอรหันต์ ๕๐๐ รูป มีพระมหากัสสปะเป็นประธาน และเป็นผู้ถาม พระอุบาลีเป็นผู้วิสัชนาพระวินัย พระอานนท์เป็นผู้วิสัชนาพระธรรม ประชุมสังคายนาที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา ภูเขาเวภารบรรพต เมืองราชคฤห์ เมื่อหลังพุทธปรินิพพาน ๓ เดือน
           โดยพระเจ้าอชาตศัตรูเป็นศาสนูปถัมภก์ สิ้นเวลา ๗ เดือนจึงเสร็จ
       ครั้งที่ ๒ ปรารภพวกภิกษุวัชชีบุตรแสดงวัตถุ ๑๐ ประการ นอกธรรม นอกวินัย พระยศกากัณฑกบุตรเป็นผู้ชักชวน ได้พระอรหันต์ ๗๐๐ รูปพระเรวตะเป็นผู้ถาม พระสัพพกามีเป็นผู้วิสัชนา ประชุมทำที่วาลิการาม เมืองเวสาลี เมื่อ พ.ศ ๑๐๐
           โดยพระเจ้ากาลาโศกราช เป็นศาสนูปถัมภก์ สิ้นเวลา ๘ เดือนจึงเสร็จ
       ครั้งที่ ๓ ปรารภเดียรถีย์มากมายปลอมบวชในพระศาสนาเพราะมีลาภสักการะเกิดขึ้นมาก พระอรหันต์ ๑,๐๐๐ รูป มีพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระเป็นประธาน ประชุมทำที่อโศการามเมืองปาฏลีบุตร เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๓๔ (พ.ศ. ๒๑๘ เป็นปีที่พระเจ้าอโศกขึ้นครองราชย์)
           โดยพระเจ้าอโศก หรือ ศรีธรรมาโศกราชเป็นศาสนูปถัมภก์ สิ้นเวลา ๙ เดือนจึงเสร็จ
       ครั้งที่ ๔ ปรารภจะให้พระศาสนาประดิษฐานมั่นคงในลังกาทวีป พระสงฆ์ ๖๘,๐๐๐ รูป มีพระมหินทเถระเป็นประธานและเป็นผู้ถาม พระอริฏฐะเป็นผู้วิสัชนา ประชุมทำที่ถูปาราม เมืองอนุราธบุรี เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖
           โดยพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะเป็นศาสนูปถัมภก์ สิ้นเวลา ๑๐ เดือนจึงเสร็จ
       ครั้งที่ ๕ ปรารภพระสงฆ์แตกกันเป็น ๒ พวกคือ พวกมหาวิหารกับพวกอภัยคีรีวิหาร และคำนึงว่าสืบไปภายหน้ากุลบุตรจะถอยปัญญา ควรจารึกพระธรรมวินัยลงในใบลาน พระอรหันต์ ๕๐๐ รูป ประชุมกันสวดซ้อมแล้วจารพุทธพจน์ลงในใบลาน ณ อาโลกเลณสถาน ในมลยชนบท ในลังกาทวีป เมื่อ พ.ศ. ๔๕๐ (ว่า ๔๓๖ ก็มี)
           โดยพระเจ้าวัฏฏคามณีอภัยเป็นศาสนูปถัมก์;
           บางคัมภีร์ว่า สังคายนาครั้งนี้จัดขึ้นในความคุ้มครองของคนที่เป็นใหญ่ในท้องถิ่น
       (ครั้งที่ ๔ ได้รับความยอมรับในแง่เหตุการณ์น้อยกว่าครั้งที่ ๕)

สังคีติ
       1. การสังคายนา; ดู สังคายนา
       2. ในคำว่า “บอกสังคีติ” ซึ่งเป็นปัจฉิมกิจอย่างหนึ่งของการอุปสมบท
           ท่านสันนิษฐานว่า หมายถึงการประมวลบอกอย่างอื่นนอกจากที่ระบุไว้ เช่น สีมาหรืออาวาสที่อุปสมบท อุปัชฌายะ กรรมวาจาจารย์ จำนวนสงฆ์

สังคีติกถา ถ้อยคำที่กล่าวถึงเรื่องสังคายนา, แถลงความเรื่องสังคายนา

สังคีติปริยาย บรรยายเรื่องการสังคายนา, การเล่าเรื่องการสังคายนา

สังฆกรรม งานของสงฆ์, กรรมที่สงฆ์พึงทำ,
       กิจที่พึงทำโดยที่ประชุมสงฆ์มี ๔ คือ
           ๑. อปโลกนกรรม กรรมที่ทำเพียงด้วยบอกกันในที่ประชุมสงฆ์ ไม่ต้องตั้งญัตติและไม่ต้องสวดอนุสาวนา เช่น แจ้งการลงพรหมทัณฑ์แก่ภิกษุ
           ๒. ญัตติกรรม กรรมที่ทำเพียงตั้งญัตติไม่ต้องสวดอนุสาวนา เช่น อุโบสถและปวารณา
           ๓. ญัตติทุติยกรรม กรรมที่ทำด้วยตั้งญัตติแล้วสวดอนุสาวนาหนหนึ่ง เช่น สมมติสีมา ให้ผ้ากฐิน
           ๔. ญัตติจตุตถกรรม กรรมที่ทำด้วยตั้งญัตติแล้วสวดอนุสาวนา ๓ หน เช่น อุปสมบท ให้ปริวาส ให้มานัต

สังฆการี เจ้าหน้าที่ผู้ทำการสงฆ์,
       เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับสงฆ์ในงานหลวง,
       เจ้าหน้าที่ผู้เป็นพนักงานในการพิธีสงฆ์ มีมาแต่โบราณสมัยอยุธยา สังกัดในกรมสังฆการี ซึ่งรวมอยู่ด้วยกันกับกรมธรรมการ เรียกรวมว่า กรมธรรมการสังฆการี
       เดิมเรียกว่า สังกะรี หรือ สังการี เปลี่ยนเรียก สังฆการี ในรัชกาลที่ ๔
       ต่อมาเมื่อตั้งกระทรวงธรรมการใน พ.ศ. ๒๔๓๒ กรมธรรมการสังฆการีเป็นกรมหนึ่งในสังกัดของกระทรวงนั้น จนถึง พ.ศ. ๒๔๕๔ กรมสังฆการีจึงแยกเป็นกรมต่างหากกันกับกรมธรรมการ
       ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๗๖ กรมสังฆการีถูกยุบลงเป็นกองสังกัดในกรมธรรมการ กระทรวงศึกษาธิการ
       ต่อมาอีกใน พ.ศ. ๒๔๘๔ กรมธรรมการเปลี่ยนชื่อเป็น กรมศาสนา
       และในคราวท้ายสุด พ.ศ. ๒๕๑๕ กองสังฆการีได้ถูกยุบเลิกไป และมีกองศาสนูปถัมภ์ขึ้นมาแทน ปัจจุบันจึงไม่มีสังฆการี;
       บางสมัยสังฆการีมีอำนาจหน้าที่กว้างขวาง มิใช่เป็นเพียงเจ้าพนักงานในราชพิธีเท่านั้น แต่ทำหน้าที่ชำระอธิกรณ์พิจารณาโทษแก่พระสงฆ์ผู้ล่วงละเมิดสิกขาบทประพฤติผิดธรรมวินัยด้วย

สังฆคารวตา ดู คารวะ

สังฆคุณ คุณของพระสงฆ์ (หมายถึงสาวกสงฆ์ หรือ อริยสงฆ์) มี ๙ คือ
       ๑. สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติดี
       ๒. อุชุปฏิปนฺโน เป็นผู้ปฏิบัติตรง
       ๓. ญายปฏิปนฺโน เป็นผู้ปฏิบัติถูกทาง
       ๔. สามีจิปฏิปนฺโน เป็นผู้ปฏิบัติสมควร
           (ยทิทํ จตฺตาริ ปุริสยุคานิ อฏฺฐปุริสปุคฺคลา ได้แก่ คู่บุรุษ ๔ ตัวบุคคล ๘
           เอส ภควโต สาวกสงฺโฆ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้)
       ๕. อาหุเนยฺโย เป็นผู้ควรแก่ของคำนับ คือควรรับของที่เขานำมาถวาย
       ๖. ปาหุเนยฺโย เป็นผู้ควรแก่การต้อนรับ
       ๗. ทกฺขิเณยฺโย เป็นผู้ควรแก่ทักษิณา คือควรแก่ของทำบุญ
       ๘. อญฺชลีกรณีโย เป็นผู้ควรแก่การทำอัญชลี คือควรแก่การกราบไหว้
       ๙. อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺส เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก คือเป็นแหล่งเพาะปลูกและเผยแพร่ความดีที่ยอดเยี่ยมของโลก

สังฆเถระ ภิกษุผู้เป็นเถระในสงฆ์ คือเป็นผู้ใหญ่เป็นประธานในสงฆ์,
       ภิกษุผู้มีพรรษามากกว่าภิกษุอื่นในชุมชนนั้นทั้งหมด

สังฆทาน ทานเพื่อสงฆ์,
       การถวายแก่สงฆ์ คือ ถวายเป็นกลางๆ ไม่จำเพาะเจาะจงภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง
       เช่น จะทำพิธีถวายของที่มีจำนวนจำกัด พึงแจ้งแก่ทางวัดให้จัดพระไปรับตามจำนวนที่ต้องการ
       หัวหน้าสงฆ์จัดภิกษุใดไป พึงทำใจว่า ท่านมารับในนามของสงฆ์ หรือ เป็นผู้แทนของสงฆ์ทั้งหมด
       ไม่พึงเพ่งเล็งว่า เป็นบุคคลใด คิดตั้งใจแต่ว่า จะถวายอุทิศแก่สงฆ์;
       ในพิธีพึงจุดธูปเทียนบูชาพระ อาราธนาศีล รับศีล จบแล้วตั้งนโม ๓ จบ กล่าวคำถวายเสร็จแล้วประเคนของ และเมื่อพระสงฆ์อนุโมทนา พึงกรวดน้ำ รับพร เป็นเสร็จพิธี;
       คำถวายสังฆทานว่าดังนี้ :
           “อิมานิ มยํ ภนฺเต, ภตฺตานิ, สปริวารานิ, ภิกฺขุสงฺฆสฺส, โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, ภิกฺขุสงฺโฆ, อิมานิ, ภตฺตานิ, สปริวารานิ, ปฏิคฺคณฺหาตุ, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย”
       แปลว่า :
           “ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวาย ภัตตาหาร กับทั้งบริวารเหล่านี้แก่พระภิกษุสงฆ์
           ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ ภัตตาหาร กับทั้งบริวารเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์ และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญ”
       อนึ่ง ถ้าเป็นสังฆทานประเภทอุทิศผู้ตาย เรียกว่า มตกภัต
       พึงเปลี่ยนแปลงคำถวายที่ พิมพ์ตัวเอน ไว้คือ
           ภตฺตานิ เป็น มตกภตฺตานิ,
           อมฺหากํ เป็น อมฺหากญฺเจว มาตาปิตุอาทีนญฺจ ญาตกานํ กาลกตานํ;
           ภัตตาหาร เป็น มตกภัตตาหาร,
           แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย เป็น แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายด้วย แก่ญาติของข้าพเจ้าทั้งหลาย มีมารดา บิดา เป็นต้น ผู้ล่วงลับไปแล้วด้วย

สังฆนวกะ ภิกษุผู้ใหม่ในสงฆ์ คือบวชภายหลังภิกษุทั้งหมดในชุมนุมสงฆ์นั้น

สังฆภัต อาหารถวายสงฆ์ หมายถึงอาหารที่เจ้าของนำมา หรือส่งมาถวายสงฆ์ในอารามพอแจกทั่วกัน;
       เทียบ อุทเทสภัต

สังฆเภท ความแตกแห่งสงฆ์,
       การทำสงฆ์ให้แตกจากกัน (ข้อ ๕ ในอนันตริยกรรม ๕),
       กำหนดด้วยไม่ทำอุโบสถปวารณา และสังฆกรรมด้วยกัน

สังฆเภทขันธกะ ชื่อขันธกะที่ ๗ แห่งจุลวรรคในพระวินัยปิฎก ว่าด้วยเรื่องพระเทวทัตทำลายสงฆ์ และเรื่องควรทราบเกี่ยวกับสังฆเภท สังฆสามัคคี

สังฆมิตตา พระราชบุตรีของพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงผนวชเป็นภิกษุณี และไปประดิษฐานภิกษุณีสงฆ์ที่ลังกาทวีป พร้อมทั้งนำกิ่งพระศรีมหาโพธิไปถวายแก่พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะด้วย

สังฆราชี ความร้าวรานแห่งสงฆ์ คือ จะแตกแยกกัน แต่ยังไม่ถึงกับแยกทำอุโบสถปวารณาและสังฆกรรมต่างหากกัน;
       เทียบ สังฆเภท

สังฆสัมมุขตา ความเป็นต่อหน้าสงฆ์ หมายความว่า การระงับอธิกรณ์นั้นกระทำในที่พร้อมหน้าสงฆ์ ซึ่งภิกษุผู้เข้าประชุมมีจำนวนครบองค์เป็นสงฆ์ ได้นำฉันทะของผู้ควรแก่ฉันทะมาแล้ว และผู้อยู่พร้อมหน้ากันนั้นไม่คัดค้าน;
       ดู สัมมุขาวินัย

สังฆสามัคคี ความพร้อมเพรียงแห่งสงฆ์

สังฆอุโบสถ อุโบสถของสงฆ์
       คือ การทำอุโบสถของสงฆ์ที่ครบองค์กำหนด คือ มีภิกษุตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป สวดปาฏิโมกข์ได้ตามปกติ (ถ้ามีภิกษุอยู่ ๒-๓ รูป ต้องทำ คณอุโบสถ คือ อุโบสถของคณะ ซึ่งเป็น ปาริสุทธิอุโบสถ คือ อุโบสถที่ทำโดยบอกความบริสุทธิ์ของกันและกัน ถ้ามีภิกษุรูปเดียว ต้องทำ บุคคลอุโบสถ คือ อุโบสถของบุคคลซึ่งเป็น อธิษฐานอุโบสถ คือ อุโบสถที่ทำโดยการอธิษฐานกำหนดใจว่าวันนั้นเป็นวันอุโบสถ);
       ดู อุโบสถ

สังฆาฏิ ผ้าทาบ, ผ้าคลุมกันหนาวที่พระใช้ทาบบนจีวร เป็นผ้าผืนหนึ่งในสามผืนที่เรียกว่า ไตรจีวร

สังฆาทิเสส ชื่อหมวดอาบัติหนักรองจากปาราชิก ต้องอยู่กรรมจึงพ้นได้ คือเป็นครุกาบัติ (อาบัติหนัก) แต่ยังเป็นสเตกิจฉา (แก้ไขหรือเยียวยาได้);
       ตามศัพท์ สังฆาทิเสส แปลว่า “หมวดอาบัติอันจำปรารถนาสงฆ์ในกรรมเบื้องต้นและกรรมที่เหลือ”,
       หมายความว่า วิธีการที่จะออกจากอาบัตินี้ ต้องอาศัยสงฆ์ ตั้งแต่ต้นไปจนตลอด
       กล่าวคือ เริ่มต้นจะอยู่ปริวาส ก็ต้องขอปริวาสจากสงฆ์ ต่อจากนั้น จะประพฤติมานัตก็ต้องอาศัยสงฆ์เป็นผู้ให้ ถ้ามีมูลายปฏิกัสสนาก็ต้องสำเร็จด้วยสงฆ์อีก และท้ายที่สุดก็ต้องขออัพภานจากสงฆ์;
       สิกขาบทที่ภิกษุละเมิดแล้ว จะต้องอาบัติสังฆาทิเสส ใช้เป็นชื่อเรียกสิกขาบท ๑๓ ข้อนี้ด้วย

สังฆาทิเสสกัณฑ์ ตอนอันว่าด้วยอาบัติสังฆาทิเสส,
       ในพระวินัยปิฎก ท่านเรียกว่าเตรสกัณฑ์ (ตอนว่าด้วยสิกขาบท ๑๓) อยู่ในคัมภีร์มหาวิภังค์เล่มแรก

สังฆานุสสติ ระลึกถึงคุณของพระสงฆ์ (ข้อ ๓ ในอนุสติ ๑๐)
       เขียนอย่างรูปเดิมในภาษาบาลีเป็น สังฆานุสสสติ;
       ดู สังฆคุณ

สังฆิกาวาส อาวาสที่เป็นของสงฆ์, อาวาสของสงฆ์

สังยมะ ดู สัญญมะ

สังโยชน์ กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ มี ๑๐ อย่าง คือ
       ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ได้แก่
           ๑. สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน
           ๒. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย
           ๓. สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลพรต
           ๔. กามราคะ ความติดใจในกามคุณ
           ๕. ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งในใจ
       ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง ๕ ได้แก่
           ๖. รูปราคะ ความติดใจในรูปธรรมอันประณีต
           ๗. อรูปราคะ ความติดใจในอรูปธรรม
           ๘. มานะ ความถือว่าตนเป็นนั่นเป็นนี่
           ๙. อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน
           ๑๐. อวิชชา ความไม่รู้จริง;
       พระโสดาบัน ละสังโยชน์ ๓ ข้อต้นได้,
       พระสกิทาคามี ทำสังโยชน์ข้อ ๔ และ ๕ ให้เบาบางลงด้วย,
       พระอนาคามี ละสังโยชน์ ๕ ข้อต้นได้หมด,
       พระอรหันต์ ละสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ข้อ;
       ในพระอภิธรรมท่านแสดงสังโยชน์อีกหมวดหนึ่ง คือ
           ๑. กามราคะ
           ๒. ปฏิฆะ
           ๓. มานะ
           ๔. ทิฏฐิ (ความเห็นผิด)
           ๕. วิจิกิจฉา
           ๖. สีลัพพตปรามาส
           ๗. ภวราคะ (ความติดใจในภพ)
           ๘. อิสสา (ความริษยา)
           ๙. มัจฉริยะ (ความตระหนี่)
           ๑๐. อวิชชา

สังวร ความสำรวม,
       การระวังปิดกั้นบาปอกุศล มี ๕ อย่าง คือ
           ๑. ปาฏิโมกขสังวร สำรวมในปาฏิโมกข์ (บางแห่งเรียก สีลสังวร สำรวมในศีล)
           ๒. สติสังวร สำรวมด้วยสติ
           ๓. ญาณสังวร สำรวมด้วยญาณ
           ๔. ขันติสังวร สำรวมด้วยขันติ
           ๕. วิริยสังวร สำรวมด้วยความเพียร

สังวรปธาน เพียรระวัง คือ เพียรระวังบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น
       (ข้อ ๑ ในปธาน ๔)

สังวรปาริสุทธิ ความบริสุทธิ์ด้วยสังวร, ความสำรวมที่เป็นความบริสุทธิ์ หรือเป็นเครื่องทำให้บริสุทธิ์ หมายถึง ศีลที่ประพฤติถูกต้อง เป็นไปเพื่อความไม่มีวิปฏิสาร เป็นต้น ตามลำดับจนถึงพระนิพพาน จัดเป็น อธิศีล

สังวรรณนา พรรณนาด้วยดี, อธิบายความ

สังวรสุทธิ ความบริสุทธิ์ด้วยสังวร, ความสำรวมที่เป็นเครื่องทำให้บริสุทธิ์
       หมายถึง อินทรียสังวร

สังวาส ธรรมเป็นเครื่องอยู่ร่วมกันของสงฆ์ ได้แก่ การทำสังฆกรรมร่วมกัน สวดปาฏิโมกข์ร่วมกัน มีสิกขาบทเสมอกัน เรียกง่ายๆ ว่า ทำอุโบสถสังฆกรรมร่วมกัน คือ เป็นพวกเดียวกัน อยู่ด้วยกันได้ มีฐานะและสิทธิเสมอกัน;
       ในภาษาไทย ใช้หมายถึง ร่วมประเวณี ด้วย

สังวาสนาสนา ให้ฉิบหายจากสังวาส
       หมายถึง การทำอุกเขปนียกรรมยกเสียจากสังวาส คือทำให้หมดสิทธิที่จะอยู่ร่วมกับสงฆ์

สังเวคกถา ถ้อยคำแสดงความสลดใจให้เกิดความสังเวช คือเร้าเตือนสำนึก

สังเวควัตถุ เรื่องที่น่าสลดใจ, เรื่องที่พิจารณาแล้วจะทำให้เกิดความสังเวช
       คือ เร้าเตือนสำนึกให้มีจิตใจน้อมมาในทางกุศล เกิดความไม่ประมาทและมีกำลังใจที่จะทำความเพียรปฏิบัติธรรมต่อไป
       เช่น ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย และอาหารปริเยฏฐิทุกข์ คือทุกข์ในการหากิน เป็นต้น

สังเวช ความสลดใจ, ความกระตุ้นให้คิด, ความรู้สึกเตือนสำนึก;
       ในทางธรรม ความรู้สึกสลดใจที่ทำให้คิดได้ ทำให้จิตใจหันมานึกถึงสิ่งที่ดีงาม เกิดความไม่ประมาท เพียรพยายามทำสิ่งที่เป็นกุศลต่อไป จึงจะเรียกว่า สังเวช
       ความสลดใจ แล้วหงอยหรือหดหู่เสีย ไม่เรียกว่าเป็นความสังเวช

สังเวชนียสถาน สถานเป็นที่ตั้งแห่งความสังเวช, ที่ที่ให้เกิดความสังเวช มี ๔ คือ
       ๑. ที่พระพุทธเจ้าประสูติ คือ อุทยานลุมพินี ปัจจุบันเรียก ลุมพินี (Lumbini) หรือ รุมมินเด (Rummindei)
       ๒. ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ คือ ควงโพธิ์ ที่ตำบล พุทธคยา (Buddha Gaya หรือ Bodh-Gaya)
       ๓. ที่พระพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนา คือ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ปัจจุบันเรียก สารนาถ
       ๔. ที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน คือ ที่สาลวโนทยาน เมืองกุสินารา หรือ กุสินคร (Kusinagara) บัดนี้เรียก Kasia;
       ดู สังเวช

สังเวย บวงสรวง, เซ่นสรวง (ใช้แก่ผีและเทวดา)

สังสารวัฏ ภพที่เวียนเกิดเวียนตาย, การเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในโลก;
       สังสารวัฏฏ์ หรือ สงสารวัฏ ก็เขียน

สังสารสุทธิ ความบริสุทธิ์ด้วยการเวียนว่ายตายเกิด
       คือ ลัทธิของมักขลิโคสาล ซึ่งถือว่า สัตว์ทั้งหลายท่องเที่ยวเวียนว่ายตายเกิดไปเรื่อยๆ ก็จะค่อยบริสุทธิ์ หลุดพ้นจากทุกข์ไปเอง การปฏิบัติธรรมไร้ประโยชน์ ไม่อาจช่วยอะไรได้

สังสุทธคหณี มีครรภ์ที่ถือปฏิสนธิสะอาดหมดจดดี

สังเสทชะ สัตว์เกิดในของชื้นแฉะโสโครก เช่น หมู่หนอน
       (ข้อ ๓ ในโยนิ ๔)

สังหาร การทำลาย, ฆ่า, ล้างผลาญชีวิต

สังหาริมะ สิ่งที่เคลื่อนที่ได้ คือนำไปได้
       เช่น สัตว์และสิ่งของที่ตั้งอยู่ลอยๆ ไม่ติดที่
       ได้แก่ เงิน ทอง เป็นต้น;
       เทียบ อสังหาริมะ

สังหาริมทรัพย์ ทรัพย์เคลื่อนที่ได้ เช่น สัตว์เลี้ยง เตียง ตั่ง ถ้วย ชาม เป็นต้น;
       คู่กับ อสังหาริมทรัพย์

สัจจะ
       1. ความจริง มี ๒ คือ
           ๑. สมมติสัจจะ จริงโดยสมมติ เช่น คน พ่อค้า ปลา แมว โต๊ะ เก้าอี้
           ๒. ปรมัตถสัจจะ จริงโดยปรมัตถ์ เช่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
       2. ความจริง คือ
           จริงใจ ได้แก่ ซื่อสัตย์
           จริงวาจา ได้แก่ พูดจริง และ
           จริงการ ได้แก่ ทำจริง
           (ข้อ ๑ ในฆราวาสธรรม ๔, ข้อ ๒ ในอธิษฐานธรรม ๔, ข้อ ๔ ในเบญจธรรม, ข้อ ๗ ในบารมี ๑๐)

สัจจญาณ ปรีชากำหนดรู้ความจริง, ความหยั่งรู้สัจจะ
       คือ รู้อริยสัจจ์ ๔ แต่ละอย่างตามภาวะที่เป็นจริง ว่านี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย เป็นต้น
       (ข้อ ๑ ในญาณ ๓)

สัจธรรม, สัจจธรรม ธรรมที่จริงแท้, หลักสัจจะ เช่น ในคำว่า “อริยสัจจธรรมทั้งสี่”

สัจจานุโลมญาณ ดู สัจจานุโลมิกญาณ

สัจจานุโลมิกญาณ ปรีชาเป็นไปโดยสมควรแก่การกำหนดรู้อริยสัจจ์,
       ญาณอันคล้อยต่อการตรัสรู้อริยสัจจ์;
       อนุโลมญาณ ก็เรียก
       (ข้อ ๙ ในวิปัสสนาญาณ ๙)

สัจฉิกรณะ การทำให้แจ้ง, การประสบ, การเข้าถึง,
       การบรรลุ เช่น ทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน คือ บรรลุนิพพาน

สัญจร เที่ยวไป, เดินไป, ผ่านไป, ผ่านไปมา, เดินทางกันไปมา

สัญจริตตะ การชักสื่อให้ชายหญิงเป็นผัวเมียกัน เป็นชื่อสังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๕ ที่ห้ามการชักสื่อ

สัญเจตนา ความจงใจ, ความแสวงหาอารมณ์, เจตนาที่แต่งกรรม, ความคิดอ่าน;
       มี ๓ คือ
           กายสัญเจตนา
           วจีสัญเจตนา และ
           มโนสัญเจตนา;
           ดู สังขาร ๓;
       มี ๖ คือ
           รูปสัญเจตนา
           สัททสัญเจตนา
           คันธสัญเจตนา
           รสสัญเจตนา
           โผฏฐัพพสัญเจตนา และ
           ธัมมสัญเจตนา;
           ดู ปิยรูปสาตรูป

สัญเจตนิกา มีความจงใจ, มีเจตนา;
       เป็นชื่อสังฆาทิเสสสิกขาบทที่หนึ่ง ข้อที่จงใจทำอสุจิให้เคลื่อน
       เรียกเต็มว่า สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ

สัญชัย ชื่อปริพาชกผู้เป็นอาจารย์ใหญ่คนหนึ่ง ในพุทธกาล
       ตั้งสำนักสอนลัทธิอยู่ในกรุงราชคฤห์ มีศิษย์มาก
       พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเคยบวชอยู่ในสำนักนี้
       ภายหลัง เมื่อพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลก พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะพร้อมด้วยศิษย์ ๒๕๐ คนพากันไปสู่สำนักพระพุทธเจ้า สัญชัยเสียใจเป็นลมและอาเจียนเป็นโลหิต;
       นิยมเรียกว่า สญชัยปริพาชก เป็นคนเดียวกับ สัญชัยเวลัฏฐบุตร
       คนหนึ่งใน ติตถกร หรือครูทั้ง ๖

สัญญมะ การยับยั้ง, การงดเว้น (จากบาป หรือจากการเบียดเบียน), การบังคับควบคุมตน;
       ท่านมักอธิบายว่า สัญญมะ ได้แก่ ศีล,
       บางทีแปลว่า “สำรวม” เหมือนอย่าง สังวร;
       เพื่อความเข้าใจชัดเจนในเบื้องต้น พึงเทียบความหมายระหว่างข้อธรรม ๓ อย่าง คือ
           สังวร เน้นความระวังในการรับเข้า คือปิดกั้นสิ่งเสียหายที่จะเข้ามาจากภายนอก
           สัญญมะ ควบคุมตนในการแสดงออก มิให้เป็นไปเพื่อการเบียดเบียน เป็นต้น
           ทมะ ฝึกฝนแก้ไขปรับปรุงตน ข่มกำจัดส่วนร้ายและเสริมส่วนที่ดีงามให้ยิ่งขึ้นไป;
       สังยมะ ก็เขียน

สัญญัติ (ในคำว่า “อุปัชฌายะชื่ออะไรก็ตาม ตั้งสัญญัติลงในเวลานั้นว่าชื่อติสสะ”) การหมายรู้, ความหมายรู้ร่วมกัน, ข้อสำหรับหมายรู้ร่วมกัน, ข้อตกลง

สัญญา การกำหนดหมาย, ความจำได้หมายรู้ คือ
       หมายรู้ไว้ ซึ่ง รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและอารมณ์ที่เกิดกับใจว่า เขียว ขาว ดำ แดง ดัง เบา เสียงคน เสียงแมว เสียงระฆัง กลิ่น ทุเรียน รสมะปราง เป็นต้น
       และจำได้ คือ รู้จักอารมณ์นั้นว่าเป็นอย่างนั้นๆ ในเมื่อไปพบเข้าอีก (ข้อ ๓ ในขันธ์ ๕) มี ๖ อย่าง ตามอารมณ์ที่หมายรู้นั้น เช่น รูปสัญญา หมายรู้รูป สัททสัญญา หมายรู้เสียง เป็นต้น;
       ความหมายสามัญในภาษาบาลีว่าเครื่องหมาย ที่สังเกตความสำคัญว่าเป็นอย่างนั้นๆ,
       ในภาษาไทยมักใช้หมายถึง ข้อตกลง, คำมั่น

สัญญา ๑๐ ความกำหนดหมาย, สิ่งที่ความกำหนดหมายไว้ในใจ มี ๑๐ อย่าง คือ
       ๑. อนิจจสัญญา กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร
       ๒. อนัตตสัญญา กำหนดหมายความเป็นอนัตตาแห่งธรรมทั้งปวง
       ๓. อสุภสัญญา กำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย
       ๔. อาทีนวสัญญา กำหนดหมายโทษแห่งกาย คือมีอาพาธต่างๆ
       ๕. ปหานสัญญา กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตกและบาปธรรม
       ๖. วิราคสัญญา กำหนดหมายวิราคะ คืออริยมรรคว่าเป็นธรรมอันสงบประณีต
       ๗. นิโรธสัญญา กำหนดหมายนิโรธ คืออริยผล ว่าเป็นธรรมอันสงบประณีต
       ๘. สัพพโลเก อนภิรตสัญญา กำหนดหมายความไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง
       ๙. สัพพสังขาเรสุ อนิฏฐสัญญา กำหนดหมายความไม่น่าปรารถนาใน สังขารทั้งปวง
       ๑๐. อานาปานัสสติ สติกำหนดลมหายใจเข้าออก

สัญญาเวทยิตนิโรธ การดับสัญญาและเวทนา เป็นสมาบัติ เรียกเต็มว่า สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ เรียกสั้นๆ ว่า นิโรธสมาบัติ
       (ข้อ ๙ ในอนุปุพพวิหาร ๙);
       ดู นิโรธสมาบัติ

สัญโญชน์ ดู สังโยชน์

สัณฐาน ทรวดทรง, ลักษณะ, รูปร่าง

สัตตกะ หมวด ๗

สัตตบรรณคูหา ชื่อถ้ำที่ภูเขาเวภารบรรพต ในกรุงราชคฤห์
       เป็นที่พระพุทธเจ้าเคยทรงทำนิมิตต์โอภาสแก่พระอานนท์ และเป็นที่ทำ สังคายนาครั้งแรก;
       เขียน สัตตปัณณิคูหา หรือ สัตตบัณณคูหา ก็มี

สัตตบริภัณฑ์ “เขาล้อมทั้งเจ็ด” คำเรียกหมู่ภูเขา ๗ เทือก ที่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุ หรือ สิเนรุ
       คือ ยุคนธร อิสินธร กรวิก สุทัสสนะ เนมินธร วินตก และอัสสกัณณ์

สัตตมวาร วันที่ ๗, วันที่ครบ ๗;
       พจนานุกรมก็เขียน สัตมวาร

สัตตสติกขันธกะ ชื่อขันกะที่ ๑๒ แห่งจุลวรรค ในพระวินัยปิฎก ว่าด้วยการสังคายนาครั้งที่ ๒

สัตตักขัตตุปรมะ พระโสดาบัน ซึ่งจะไปเกิดในภพอีก ๗ ครั้ง เป็นอย่างมากจึงจะได้บรรลุพระอรหัต
       (ข้อ ๓ ในโสดาบัน ๓)

สัตตังคะ เก้าอี้มีพนักสามด้าน, เก้าอี้มีแขน

สัตตัพภันตรสีมา อพัทธสีมาชนิดที่กำหนดเขตแห่งสามัคคีขึ้นในป่า อันหาคนตั้งบ้านเรือนมิได้ โดยวัดจากที่สุดแนวแห่งสงฆ์ออกไปด้านละ ๗ อัพภันดรโดยรอบ

สัตตัมพเจดีย์ เจดีย์สถานแห่งหนึ่งที่ นครเวสาลี แคว้นวัชชี ณ ที่นี้ พระพุทธเจ้าเคยทำนิมิตต์โอภาสแก่พระอานนท์

สัตติบัญชร เรือนระเบียบหอก, ซี่กรงทำด้วยหอก

สัตตาวาส ภพเป็นที่อยู่ของสัตว์ มี ๙ เหมือนกับ วิญญาณัฏฐิติ ๗
       ต่างแต่เพิ่มข้อ ๕ เข้ามาเป็น
           ๕. สัตว์เหล่าหนึ่งไม่มีสัญญา ไม่มีการเสวยเวทนา เช่นพวกเทพผู้เป็นอสัญญีสัตว์,
       เลื่อนข้อ ๕,๖,๗ ออกไปเป็นข้อ ๖,๗,๘ แล้วเติม
           ข้อ ๙. สัตว์เหล่าหนึ่ง ผู้เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ

สัตตาหะ สัปดาห์, เจ็ดวัน;
       มักใช้เป็นคำเรียกย่อ หมายถึง สัตตาหกรณียะ

สัตตาหกรณียะ ธุระเป็นเหตุให้ภิกษุออกจากวัดในระหว่างพรรษาได้ ๗ วัน ได้แก่
       ๑. ไปเพื่อพยาบาลสหธรรมิกหรือมารดาบิดาผู้เจ็บไข้
       ๒. ไปเพื่อระงับสหธรรมิกที่กระสันจะสึก
       ๓. ไปเพื่อกิจสงฆ์ เช่น ไปหาทัพพสัมภาระมาซ่อมวิหารที่ชำรุดลงในเวลานั้น
       ๔. ไปเพื่อบำรุงศรัทธาของทายกซึ่งส่งมานิมนต์เพื่อการบำเพ็ญกุศลของเขา และธุระอื่นจากนี้ที่เป็นกิจลักษณะอนุโลมตามนี้ได้

สัตตาหกาลิก ของที่รับประเคนเก็บไว้ ฉันได้ชั่ว ๗ วัน
       ได้แก่เภสัชทั้ง ๕ คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย
       ดู กาลิก

สัตติกำลัง ในคำว่า “ตามสัตติกำลัง” แปลว่า ตามความสามารถ และตามกำลัง หรือตามกำลังความสามารถ
       (สัตติ = ความสามารถ) มาจากคำบาลีว่า ยถาสตฺติ ยถาพลํ;
       พูดเพี้ยนกันไปเป็น ตามสติกำลัง ก็มี

สัตตุ ข้าวคั่วผง, ขนมผง ขนมแห้งที่ไม่บูด เช่น ขนมที่เรียกว่า จันอับและขนมปัง เป็นต้น

สัตตุผง สัตตุก้อน ข้าวตู เสบียงเดินทางที่ ๒ พ่อค้า คือ ตปุสสะกับภัลลิกะถวายแด่พระพุทธเจ้า ขณะที่ประทับอยู่ใต้ต้นราชายตนะ

สัตถะ เกวียน, ต่าง, หมู่เกวียน, หมู่พ่อค้าเกวียน

สัตถกรรม การผ่าตัด

สตฺถา เทวมนุสฺสานํ ทรงเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย,
       ทรงเป็นครูของบุคคลทั้งชั้นสูงและชั้นต่ำ,
       ทรงประกอบด้วยคุณสมบัติของครู และทรงทำหน้าที่ของครูเป็นอย่างดี คือทรงพร่ำสอนด้วยมหากรุณาหวังให้ผู้อื่นได้ความรู้อย่างแท้จริง,
       ทรงสอนมุ่งความจริงและประโยชน์เป็นที่ตั้ง ทรงแนะนำเวไนยสัตว์ด้วยประโยชน์ทั้งทิฏฐธัมมิกัตถะ สัมปรายิกัตถะ และปรมัตถะ,
       ทรงรู้จริงและปฏิบัติด้วยพระองค์เองแล้ว จึงทรงสอนผู้อื่นให้รู้และปฏิบัติตาม ทรงทำกับตรัสเหมือนกัน ไม่ใช่ตรัสสอนอย่างหนึ่งทำอย่างหนึ่ง,
       ทรงฉลาดในวิธีสอน,
       และทรงเป็นผู้นำหมู่ดุจนายกองเกวียน
       (ข้อ ๗ ในพุทธคุณ ๙)

สัตถุศาสน์, สัตถุสาสน์ คำสั่งสอนของพระศาสดา หมายถึงพระพุทธพจน์;
       ดู นวังคสัตถุศาสน์

สัตบุรุษ คนสงบ, คนดี, คนมีศีลธรรม, คนที่ประกอบด้วย สัปปุริสธรรม

สัตมวาร วันที่ ๗, วันที่ครบ ๗;
       เขียนเต็มรูปเป็น สัตตมวาร

สัตย์ ความจริง, ความซื่อตรง, ความจริงใจ

สัตยาธิษฐาน การตั้งความจริงเป็นหลักอ้าง, ความตั้งใจแน่วแน่มุ่งต่อผลอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยการอ้างความจริงเป็นหลักประกัน

สัตว์ “ผู้ติดข้องในรูปารมณ์เป็นต้น”,
       สิ่งที่มีความรู้สึกและเคลื่อนไหวไปได้เอง รวมตลอดทั้งเทพ มาร พรหม มนุษย์ เปรต อสุรกาย ดิรัจฉาน และสัตว์นรก
       ในบาลีเพ่งเอามนุษย์ก่อนอย่างอื่น,
       ไทยมักเพ่งเอาดิรัจฉาน

สัตวนิกาย หมู่สัตว์

สัตวโลก โลกคือหมู่สัตว์

สัทธรรม ธรรมที่ดี, ธรรมที่แท้, ธรรมของคนดี,
       ธรรมของสัตบุรุษมี สัทธรรม ๓ อย่าง คือ
           ๑. ปริยัติสัทธรรม สัทธรรมคือสิ่งที่พึงเล่าเรียน ได้แก่ พุทธพจน์
           ๒. ปฏิบัติสัทธรรม สัทธรรมคือสิ่งพึงปฏิบัติ ได้แก่ไตรสิกขา
           ๓. ปฏิเวธสัทธรรม สัทธรรมคือผลที่พึงบรรลุ ได้แก่ มรรคผล และนิพพาน;
       สัทธรรม ๗ คือ
           ๑. ศรัทธา ๒. หิริ ๓. โอตตัปปะ ๔. พาหุสัจจะ ๕. วิริยารัมภะ ๖. สติ ๗. ปัญญา

สัทธรรมปฏิรูป สัทธรรมปลอม, สัทธรรมเทียม

สัทธัมมปกาสินี ชื่อคัมภีร์อรรถกถาอธิบายความในปฏิสัมภิทามรรค แห่งพระสุตตันตปิฎก
       พระมหานามะรจนา

สัทธัมมัสสวนะ ฟังสัทธรรม, ฟังคำสั่งสอนของสัตบุรุษ, ฟังคำสั่งสอนของท่านที่ประพฤติชอบด้วยกายวาจาใจ, สดับเล่าเรียนอ่านคำสอนเรื่องราวที่แสดงหลักความจริงความดีงาม
       (ข้อ ๒ ในวุฑฒิ ๔)

สัทธา ความเชื่อ;
       ในทางธรรม หมายถึง เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ, ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล, ความมั่นใจในความจริงความดีสิ่งดีงามและในการทำความดีไม่ลู่ไหลตื่นตูมไปตามลักษณะอาการภายนอก
       ท่านแสดงสืบๆ กันมาว่า ๔ อย่างคือ
           ๑. กัมมสัทธา เชื่อกรรม
           ๒. วิปากสัทธา เชื่อผลของกรรม
           ๓. กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตัว ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
           ๔. ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต;
       เขียนอย่างสันสกฤตเป็น ศรัทธา

สัทธาจริต พื้นนิสัยหนักในสัทธา เชื่อง่าย พึงแก้ด้วยปสาทนียกถา คือถ้อยคำที่นำให้เกิดความเลื่อมใสในทางที่ถูกที่ควร และด้วยความเชื่อที่มีเหตุผล
       (ข้อ ๔ ในจริต ๖)

สัทธานุสารี “ผู้แล่นไปตามศรัทธา”, “ผู้แล่นตามไปด้วยศรัทธา”,
       พระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค ที่มีสัทธินทรีย์แรงกล้า
       (ถ้าบรรลุผล จะกลายเป็น สัทธาวิมุต);
       ดู อริยบุคคล ๗

สัทธาวิมุต “ผู้หลุดพ้นด้วยศรัทธา”,
       พระอริยบุคคล ตั้งแต่โสดาบันขึ้นไป จนถึงผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรคที่มีสัทธินทรีย์แรงกล้า
       (ถ้าบรรลุอรหัตตผล จะกลายเป็น ปัญญาวิมุต);
       ดู อริยบุคคล ๗

สัทธาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศรัทธา คือ เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ เช่น เชื่อว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นต้น
       (ข้อ ๑ ในสัมปรายิกัตถสังวัตตนิกธรรม ๔)

สัทธิวิหาริก, สัทธิงวิหาริก ศิษย์, ผู้อยู่ด้วย เป็นคำเรียกผู้ที่ได้รับอุปสมบท ถ้าอุปสมบทต่อพระอุปัชฌายะองค์ใด ก็เป็นสัทธิวิหาริกของพระอุปัชฌายะองค์นั้น

สัทธิวิหาริกวัตร ข้อควรปฏิบัติต่อสัทธิวิหาริก, หน้าที่อันอุปัชฌาย์จะพึงกระทำแก่สัทธิวิหาริก คือ
       ๑. เอาธุระในการศึกษา
       ๒. สงเคราะห์ด้วยบาตรจีวร และบริขารอื่นๆ
       ๓. ขวนขวายป้องกัน หรือระงับความเสื่อมเสีย
           เช่น ระงับความคิดจะสึก เปลื้องความเห็นผิด ฯลฯ
       ๔. พยาบาลเมื่ออาพาธ
           เทียบ อุปัชฌายวัตร

สัทธิวิหารินี สัทธิวิหาริกผู้หญิง คือสัทธิวิหาริกในฝ่ายภิกษุณี แต่ตามปกติไม่เรียกอย่างนี้ เพราะมีคำเฉพาะเรียกว่า สหชีวินี

สันดาน ความสืบต่อแห่งจิต คือกระแสจิตที่เกิดดับต่อเนื่องกันมา;
       ในภาษาไทยมักใช้ในความหมายว่า อุปนิสัยที่มีมาแต่กำเนิด, อัธยาศัยที่มีติดต่อมา

สันโดษ ความยินดี, ความพอใจ, ยินดีด้วยปัจจัย ๔ คือ ผ้านุ่งผ้าห่ม อาหารที่นอนที่นั่ง และยา ตามมีตามได้, ยินดีของของตน, การมีความสุขความพอใจด้วยเครื่องเลี้ยงชีพที่หามาได้ ด้วยความเพียรพยายามอันชอบธรรมของตน ไม่โลภ ไม่ริษยาใคร;
       สันโดษ ๓ คือ
           ๑. ยถาลาภสันโดษ ยินดีตามที่ได้ คือได้สิ่งใดมาด้วยความเพียรของตน ก็พอใจด้วยสิ่งนั้น ไม่เดือดร้อนเพราะของที่ไม่ได้ ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของคนอื่น ไม่ริษยาเขา
           ๒. ยถาพลสันโดษ ยินดีตามกำลัง คือพอใจเพียงแค่พอแก่กำลังร่างกายสุขภาพและขอบเขตการใช้สอยของตน ของที่เกินกำลังก็ไม่หวงแหนเสียดาย ไม่เก็บไว้ให้เสียเปล่า หรือฝืนใช้ให้เป็นโทษแก่ตน
           ๓. ยถาสารุปปสันโดษ ยินดีตามสมควร คือพอใจตามที่สมควรแก่ภาวะ ฐานะ แนวทางชีวิต และจุดหมายแห่งการบำเพ็ญกิจของตน เช่น ภิกษุพอใจแต่ของอันเหมาะกับสมณภาวะ หรือได้ของใช้ที่ไม่เหมาะกับตน แต่จะมีประโยชน์แก่ผู้อื่น ก็นำไปมอบให้แก่เขา เป็นต้น;
       สันโดษ ๓ นี้เป็นไปในปัจจัย ๔ แต่ละอย่าง จึงรวมเรียกว่า สันโดษ ๑๒

สันตติ การสืบต่อ คือ การเกิดดับต่อเนื่องกันไปโดยอาการที่เป็นปัจจัยส่งผลแก่กัน
       ในทางรูปธรรม ที่พอมองเห็นอย่างหยาบ เช่น ขนเก่าหลุดร่วงไป ขนใหม่เกิดขึ้นแทน
       ความสืบต่อแห่งรูปธรรม จัดเป็น อุปาทายรูป อย่างหนึ่ง;
       ในทางนามธรรม จิตก็มีสันตติ คือเกิดดับเป็นปัจจัยสืบเนื่องต่อกันไป

สันตาปทุกข์ ทุกข์ คือความร้อนรุ่ม,
       ทุกข์ร้อน ได้แก่ความกระวนกระวายใจ เพราะถูกไฟกิเลส คือราคะ โทสะ และโมหะแผดเผา

สันติ, สันติภาพ ความสงบ

สันติเกนิทาน “เรื่องใกล้ชิด” หมายถึง เรื่องราวหรือความเป็นมาเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า ตั้งแต่ตรัสรู้แล้วจนเสด็จปรินิพพาน;
       ดู พุทธประวัติ

สันติวิหารธรรม ธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างสงบ

สันตุฏฐิกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความสันโดษ
       (ข้อ ๒ ในกถาวัตถุ ๑๐)

สันถัต ผ้ารองนั่ง หล่อด้วยขนเจียม

สันทัด ถนัด, จัดเจน, ชำนาญ;
       ปานกลาง

สันทัสสนา การให้เห็นชัดแจ้ง หรือชี้ให้ชัด
       คือ ชี้แจงให้เข้าใจชัดเจน มองเห็นเรื่องราวและเหตุผลต่างๆ แจ่มแจ้ง เหมือนจูงมือไปดูเห็นประจักษ์กับตา;
       เป็นลักษณะอย่างแรกของการสอนที่ดี ตามแนวพุทธจริยา
       (ข้อต่อไป คือ สมาทปนา)

สนฺทิฏฺฐิโก พระธรรมอันผู้ได้บรรลุย่อมเห็นเองรู้เอง ประจักษ์แจ้งกับตน ไม่ต้องขึ้นต่อผู้อื่น ไม่ต้องเชื่อต่อถ้อยคำของใคร
       (ข้อ ๒ ในธรรมคุณ ๖)

สันนิธิ การสั่งสม, ของที่สั่งสมไว้
       หมายถึง ของเคี้ยวของฉันที่รับประเคนแล้วเก็บไว้ค้างคืนเพื่อจะฉันในวันรุ่งขึ้น ภิกษุฉันของนั้น เป็นปาจิตตีย์ทุกคำกลืน
       (สิกขาบทที่ ๘ แห่งโภชนวรรค ปาจิตติยกัณฑ์)

สันนิบาต การประชุม, ที่ประชุม

สนฺนิปาติกา อาพาธา ความเจ็บไข้เกิดจากสันนิบาต (คือประชุมกันแห่งสมุฏฐานทั้งสาม),
       ไข้สันนิบาต คือความเจ็บไข้ที่เกิดขึ้นแต่ดี เสมหะ และลม ทั้งสามเจือกัน

สันนิวาส ที่อยู่, ที่พัก;
       การอยู่ด้วยกัน, การอยู่ร่วมกัน

สันนิษฐาน ความตกลงใจ, ลงความเห็นในที่สุด;
       ไทยใช้ในความหมายว่า ลงความเห็นเป็นการคาดคะเนไว้ก่อน

สันยาสี ผู้สละโลกแล้วตามธรรมเนียมของศาสนาฮินดู;
       ดู อาศรม

สันสกฤต ชื่อภาษาโบราณของอินเดียภาษาหนึ่ง ใช้ในศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู และพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน

สัปดาห์ ๗ วัน, ระยะ ๗ วัน

สัปบุรุษ ดู สัปปุรุษ

สัปปาณกวรรค ตอนที่ว่าด้วยเรื่องสัตว์มีชีวิตเป็นต้น,
       เป็นวรรคที่ ๗ แห่งปาจิตติยกัณฑ์ ในมหาวิภังค์แห่งพระวินัยปิฎก

สัปปายะ สิ่ง สถาน หรือบุคคล ซึ่งเป็นที่สบาย เหมาะกัน เกื้อกูล หรือเอื้ออำนวยโดยเฉพาะที่ช่วยเกื้อกูลแก่การบำเพ็ญและประคับประคองรักษาสมาธิ
       ท่านแสดงไว้ ๗ อย่าง คือ
           อาวาส (ที่อยู่)
           โคจร (ที่บิณฑบาตหรือแหล่งอาหาร)
           ภัสสะ (เรื่องพูดคุยที่เสริมการปฏิบัติ)
           บุคคล (ผู้ที่เกี่ยวข้องด้วยแล้วช่วยให้จิตผ่องใสสงบมั่นคง)
           โภชนะ (อาหาร)
           อุตุ (สภาพแวดล้อมและอุณหภูมิ)
           อิริยาบถ;
       ทั้ง ๗ นี้ที่เหมาะกันเป็นสัปปายะ ที่ไม่สบายเป็นอสัปปายะ

สัปปิ เนยใส; ดู เบญจโครส

สัปปิโสณฑิกา ชื่อเงื้อมเขาแห่งหนึ่งอยู่ที่สีตวัน ใกล้กรุงราชคฤห์
       ณ ที่นี้ พระพุทธเจ้าเคยทำนิมิตต์โอภาสแก่พระอานนท์

สัปปุริสธรรม ธรรมของสัตบุรุษ, ธรรมของคนดี,
       ธรรมที่ทำให้เป็นสัตบุรุษ มี ๗ อย่าง คือ
           ๑. ธัมมัญญุตา รู้หลักหรือรู้จักเหตุ
           ๒. อัตถัญญุตา รู้ความมุ่งหมายหรือรู้จักผล
           ๓. อัตตัญญุตา รู้จักตน
           ๔. มัตตัญญุตา รู้จักประมาณ
           ๕. กาลัญญุตา รู้จักกาล
           ๖. ปริสัญญุตา รู้จักชุมชน
           ๗. ปุคคลัญญุตา รู้จักบุคคล;
       อีกหมวดหนึ่งมี ๘ อย่างคือ
           ๑. ประกอบด้วย สัทธรรม ๗ ประการ
           ๒. ภักดีสัตบุรษ (คบหาผู้มีสัทธรรม ๗)
           ๓. คิดอย่างสัตบุรุษ
           ๔. ปรึกษาอย่างสัตบุรุษ
           ๕. พูดอย่างสัตบุรุษ
           ๖. ทำอย่างสัตบุรุษ
               (๓, ๔, ๕, ๖ คือ คิด ปรึกษา พูด ทำ มิใช่เพื่อเบียดเบียนตน และผู้อื่น)
           ๗. มีความเห็นอย่างสัตบุรุษ (คือเห็นชอบว่า ทำดีมีผลดี ทำชั่วมีผลชั่วเป็นต้น)
           ๘. ให้ทานอย่างสัตบุรุษ (คือให้โดยเคารพ เอื้อเฟื้อแก่ของและผู้รับทาน เป็นต้น)

สัปปุริสบัญญัติ ข้อที่ท่านสัตบุรุษตั้งไว้,
       บัญญัติของคนดี มี ๓ คือ
           ๑. ทาน ปันสละของตนเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น
           ๒. ปัพพัชชา ถือบวช เว้นจากการเบียดเบียนกัน
           ๓. มาตาปิตุอุปัฏฐาน บำรุงมารดาบิดาของตนให้เป็นสุข

สัปปุริสูปัสสยะ คบสัตบุรุษ, คบคนดี, ได้คนดีเป็นที่พึ่งอาศัย
       (ข้อ ๒ ในจักร ๔)

สัปปุริสูปสังเสวะ คบสัตบุรุษ, คบคนดี, คบท่านที่ประพฤติชอบด้วยกายวาจาใจ, เสวนาท่านผู้รู้ผู้ทรงคุณ
       (ข้อ ๑ ในวุฑฒิ ๔)

สัปปุรุษ เป็นคำเลือนปะปนระหว่าง สัปปุริส ที่เขียนอย่างบาลี กับ สัตบุรุษ ที่เขียนอย่างสันสกฤต มีความหมายอย่างเดียวกัน
       (ดู สัตบุรุษ)
       แต่ในภาษาไทยเป็นคำอยู่ข้างโบราณ ใช้กันในความหมายว่า คฤหัสถ์ผู้มีศรัทธาในพระศาสนา เฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่ไปร่วมกิจกรรมทางบุญทางกุศล รักษาศีลฟังธรรมเป็นประจำที่วัดใดวัดหนึ่ง
       บางทีเรียกตามความผูกพันกับวัดว่า สัปปุรุษวัดนั้น สัปปุรุษวัดนี้

สัพพกามี ชื่อพระเถระองค์หนึ่งในการกสงฆ์ ผู้ทำสังคายนาครั้งที่ ๒ เป็นผู้มีพรรษาสูงสุด และทำหน้าที่ วิสัชนา

สัพพโลเกอนภิรตสัญญา กำหนดหมายถึงความไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง
       (ข้อ ๘ ในสัญญา ๑๐)

สัพพสังขาเรสุอนิฏฐสัญญา กำหนดหมายถึงความไม่น่าปรารถนาในสังขารทั้งปวง
       (ข้อ ๙ ในสัญญา ๑๐)

สัพพัญญุตญาณ ญาณคือความเป็นพระสัพพัญญู,
       พระปรีชาญาณหยั่งรู้สิ่งทั้งปวง ทั้งที่เป็นอดีต ปัจจุบัน และอนาคต

สัพพัญญู ผู้รู้หมด, ผู้รู้ทุกสิ่งทุกอย่าง, พระนามของพระพุทธเจ้า

สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ ปรีชาหยั่งรู้ทางที่จะนำไปสู่คติทั้งปวง คือ ทั้งสุคติ ทุคติ และทางแห่งนิพพาน
       (ข้อ ๓ ในทศพลญาณ)

สัมปชัญญะ ความรู้ตัวทั่วพร้อม, ความรู้ตระหนัก, ความรู้ชัดเข้าใจชัด ซึ่งสิ่งที่นึกได้;
       มักมาคู่กับ สติ (ข้อ ๒ ในธรรมมีอุปการะมาก ๒)

สัมปชานมุสาวาท รู้ตัวอยู่กล่าวเท็จ,
       การพูดเท็จทั้งที่รู้ คือรู้ความจริง แต่จงใจพูดให้คลาดจากความจริง เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจเป็นอย่างอื่นจากความจริง
       (สิกขาบทที่ ๑ แห่งมุสาวาทวรรค ปาจิตติยกัณฑ์)

สัมปยุต ประกอบด้วย;
       สัมปยุตต์ ก็เขียน

สัมปโยค การประกอบกัน

สัมประหาร การสู้รบกัน, การต่อสู้กัน

สัมปรายภพ ภพหน้า

สัมปรายิกัตถะ ประโยชน์ภายหน้า, ประโยชน์ขั้นสูงขึ้นไป อันได้แก่ ความมีจิตใจเจริญงอกงามด้วยคุณธรรมความดี ทำให้ชีวิตนี้มีค่า และเป็นหลักประกันชีวิตในภพหน้า ซึ่งจะสำเร็จได้ด้วยธรรม ๔ ประการ คือ
       ๑. สัทธาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศรัทธา
       ๒. สีลสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศีล
       ๓. จาคสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการบริจาค
       ๔. ปัญญาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยปัญญา
       ธรรม ๔ อย่างนี้เรียกเต็มว่า สัมปรายิกัตถสังวัตตนิกธรรม

สัมปหังสนา การทำให้ร่าเริง หรือปลุกให้ร่าเริง คือ ทำบรรยากาศให้สนุก สดชื่นแจ่มใส เบิกบานใจ ให้ผู้ฟังแช่มชื่นมีความหวัง มองเห็นผลดีและทางสำเร็จ;
       เป็นลักษณะอย่างหนึ่งของการสอนที่ดีตามแนวพุทธจริยา
       (ข้อก่อนคือ สมุตเตชนา)

สัมปัตตวิรัติ ความเว้นจากวัตถุอันถึงเข้า,
       การเว้นเมื่อประสบซึ่งหน้า คือไม่ได้สมาทานศีล หรือตั้งใจละเว้นมาก่อน แต่เมื่อประสบเหตุอันจะทำให้ทำความชั่ว หรือละเมิดศีลเข้าเฉพาะหน้า ก็ละเว้นได้ในขณะนั้นเอง ไม่ล่วงละเมิดศีล
       (ข้อ ๑ ในวิรัติ ๓)

สัมผัปปลาปะ พูดเพ้อเจ้อ, พูดเหลวไหล, พูดไม่เป็นประโยชน์ ไม่มีเหตุผล ไร้สาระ ไม่ถูกกาลถูกเวลา
       (ข้อ ๗ ในอกุศลกรรมบถ ๑๐)

สัมผัปปลาปา เวรมณี เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ, เว้นจากพูดเหลวไหลไม่เป็นประโยชน์, พูดคำจริง มีเหตุผล มีประโยชน์ ถูกกาลเทศะ
       (ข้อ ๗ ในกุศลกรรมบถ ๑๐)

สัมผัส ความกระทบ, การถูกต้องที่ให้เกิดความรู้สึก,
       ความประจวบกันแห่งอายตนะภายใน อายตนะภายนอก และวิญญาณ มี ๖
           เริ่มแต่ จักขุสัมผัส สัมผัสทางตา เป็นต้น
           จนถึง มโนสัมผัส สัมผัสทางใจ (เรียงตามอายตนะภายใน ๖);
       ผัสสะ ก็เรียก

สัมพันธ์
       1. เกี่ยวข้อง, ผูกพัน, เนื่องกัน
       2. ในทางอักขรวิธีภาษาบาลี หมายถึง บทที่เชื่อมกับบทอื่น
           เช่น ตุณฺหิสฺส (= ตุณฺหี + อสฺส);
           ในความหมายนี้ ตรงข้ามกับ ววัตถิตะ

สัมพุทธะ ท่านผู้ตรัสรู้เอง, พระพุทธเจ้า

สัมภเวสี ผู้แสวงสมภพ;
       ดู ภูตะ

สัมภาระ สิ่งของต่างๆ, วัตถุ, วัสดุ, เครื่องใช้, องค์, ส่วนประกอบ;
       การประชุมเข้า

สัมภูตสาณวาสี ชื่อพระเถระองค์หนึ่งในการสงฆ์ ผู้ทำสังคายนาครั้งที่ ๒

สัมโภคนาสนา ให้ฉิบหายเสียจากการกินร่วม,
       เป็นศัพท์ผูกใหม่ที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ว่าน่าจะใช้แทนคำว่า ทัณฑกรรมนาสนา (การให้ฉิบหายด้วยทัณฑกรรม คือ ลงโทษสามเณร ผู้กล่าวตู่พระธรรมเทศนาโดยไล่จากสำนัก และไม่ให้ภิกษุทั้งหลายคบด้วย ตามสิกขาบทที่ ๑๐ แห่งสัปปาณกวรรค ปาจิตติยกัณฑ์)

สัมมติกา กัปปิยภูมิที่สงฆ์สมมติ
       คือ กุฏีที่สงฆ์เลือกจะใช้เป็นกัปปิยกุฏี แล้วสวดประกาศด้วยญัตติทุติยกรรม;
       ดู กัปปิยภูมิ

สัมมสนญาณ ญาณหยั่งรู้ด้วยพิจารณานามรูปโดยไตรลักษณ์,
       ญาณที่พิจารณาหรือตรวจตรานามรูปหรือสังขาร มองเห็นตามแนวไตรลักษณ์
       คือ รู้ว่า ไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตน
       (ข้อ ๓ ในญาณ ๑๖)

สัมมัตตะ ความเป็นถูก,
       ภาวะที่ถูกมี ๑๐ อย่าง ๘ ข้อต้น ตรงกับองค์มรรคทั้ง ๘ ข้อ เพิ่ม ๒ ข้อท้าย คือ
           ๙. สัมมาญาณ รู้ชอบ ได้แก่ผลญาณ และปัจจเวกขณญาณ
           ๑๐. สัมมาวิมุตติ พ้นชอบได้แก่อรหัตตผลวิมุตติ;
       เรียกอีกอย่างว่า อเสขธรรม ๑๐,
       ตรงข้ามกับ มิจฉัตตะ ๑๐

สัมมัปปธาน ความเพียรชอบ;
       ดู ปธาน, โพธิปักขิยธรรม

สัมมา โดยชอบ, ดี, ถูกต้อง, ถูกถ้วน, สมบูรณ์, จริง, แท้

สัมมากัมมันตะ ทำการชอบ หรือการงานชอบ
       ได้แก่ การกระทำที่เว้นจากความประพฤติชั่วทางกาย ๓ อย่าง คือฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม
       คือ เว้นจาก กายทุจริต ๓
       (ข้อ ๔ ในมรรค)

สัมมาญาณะ รู้ชอบ ได้แก่ผลญาณ คือ ญาณอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากมรรคญาณ เช่น โสดาปัตติผล เป็นต้น และปัจจเวกขณญาณ
       (ข้อ ๙ ในสัมมัตตะ ๑๐)

สัมมาทิฏฐิ ปัญญาอันเห็นชอบ คือ เห็นอริยสัจจ์ ๔,
       เห็นชอบตามคลองธรรมว่า
           ทำดีมีผลดี
           ทำชั่วมีผลชั่ว
           มารดาบิดามี (คือมีคุณความดีควรแก่ฐานะหนึ่งที่เรียกว่ามารดาบิดา)
           ฯลฯ,
       เห็นถูกต้องตามที่เป็นจริงว่า ขันธ์ ๕ ไม่เที่ยงเป็นต้น
       (ข้อ ๑ ในมรรค)

สัมมาทิฏฐิสูตร พระสูตรแสดงความหมายต่างๆ แห่งสัมมาทิฏฐิ เป็นภาษิตของพระสารีบุตร
       (สูตรที่ ๙ ในมัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ พระสุตตันตปิฎก)

สัมมาปฏิบัติ ปฏิบัติชอบ คือปฏิบัติชอบธรรม, ปฏิบัติถูกทำนองคลองธรรม, ดำเนินในมรรคามีองค์ ๘ ประการ (ปฏิบัติตามมรรค)

สัมมาปาสะ “บ่วงคล้องไว้มั่น”,
       ความรู้จักผูกผสานรวมใจประชาชน ด้วยการส่งเสริมอาชีพ
       เช่น ให้คนจนกู้ยืมทุนไปสร้างตัวในพาณิชยกรรม เป็นต้น
       (ข้อ ๓ ในราชสังคหวัตถุ ๔)

สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือเว้นจาก วจีทุจริต ๔
       (ข้อ ๓ ในมรรค)

สัมมาวายามะ เพียรชอบ คือเพียรในที่ ๔ สถาน ได้แก่
       ๑. สังวรปธาน
       ๒. ปหานปธาน
       ๓. ภาวนาปธาน
       ๔. อนุรักขนาปธาน
       (ข้อ ๖ ในมรรค);
       ดู ปธาน

สัมมาวิมุตติ หลุดพ้นชอบ ได้แก่ อรหัตตผลวิมุตติ
       (ข้อ ๑๐ ในสัมมัตตะ ๑๐)

สัมมาสติ ระลึกชอบ คือระลึกใน สติปัฏฐาน ๔
       (ข้อ ๗ ในมรรค)

สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ, จิตมั่นชอบ คือสมาธิที่เจริญตามแนวของ ฌาน ๔
       (ข้อ ๘ ในมรรค)

สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คือ
       ๑. เนกขัมมสังกัปปะ ดำริจะออกจากกามหรือปลอดจากโลภะ
       ๒. อัพยาปาทสังกัปปะ ดำริในอันไม่พยาบาท
       ๓. อวิหิงสาสังกัปปะ ดำริในอันไม่เบียดเบียน
       (ข้อ ๒ ในมรรค)

สัมมาสัมพุทธเจดีย์ เจดีย์ที่เกี่ยวเนื่องด้วยพระสัมมาสัมพุทธเจ้า,
       เจดีย์ที่เป็นเครื่องเตือนจิตให้ระลึกถึงสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า;
       ดู เจดีย์

สมฺมาสมฺพุทฺโธ ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ คือ รู้อริยสัจจ์ ๔ โดยไม่เคยได้เรียนรู้จากผู้อื่น จึงทรงเป็นผู้เริ่มประกาศสัจจธรรม เป็นผู้ประดิษฐานพระพุทธศาสนา และจึงได้พระนามอย่างหนึ่งว่า ธรรมสามี คือเป็นเจ้าของธรรม
       (ข้อ ๒ ในพุทธคุณ ๙)

สัมมาสัมโพธิญาณ ญาณเป็นเครื่องตรัสรู้เองโดยชอบ

สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ คือเว้นจากเลี้ยงชีวิตโดยทางที่ผิด เช่น โกงเขาหลอกลวง สอพลอ บีบบังคับขู่เข็ญ ค้าคน ค้ายาเสพติด ค้ายาพิษ เป็นต้น
       (ข้อ ๕ ในมรรค)

สัมมุขาวินัย ระเบียบอันพึงทำในที่พร้อมหน้า, วิธีระงับต่อหน้า ได้แก่
       การระงับอธิกรณ์ในที่พร้อมหน้าสงฆ์ (สังฆสัมมุขตา คือภิกษุเข้าประชุมครบองค์สงฆ์),
       ในที่พร้อมหน้าบุคคล (ปุคคลสัมมุขตา คือบุคคลที่เกี่ยวข้องในเรื่องนั้นอยู่พร้อมหน้ากัน),
       ในที่พร้อมหน้าวัตถุ (วัตถุสัมมุขตา คือยกเรื่องที่เกิดนั้นขึ้นวินิจฉัย),
       ในที่พร้อมหน้าธรรมวินัย (ธัมมสัมมุขตา และ วินยสัมมุขตา คือนำเอาหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ตามพระธรรมวินัยมาใช้ปฏิบัติ ได้แก่วินิจฉัยถูกธรรม ถูกวินัย);
       สัมมุขาวินัย ใช้เป็นเครื่องระงับอธิกรณ์ได้ทุกอย่าง

สัมโมทนียกถา “ถ้อยคำเป็นที่บันเทิงใจ”, คำต้อนรับทักทาย, คำปราศรัย;
       ปัจจุบันนิยมเรียกสุนทรพจน์ที่พระสงฆ์กล่าวว่า สัมโมทนียกถา

สัมฤทธิ์ ความสำเร็จ

สัลลวตี แม่น้ำที่กั้นอาณาเขตมัชฌิมชนบท ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้

สัสสตทิฏฐิ ความเห็นว่าเที่ยง คือความเห็นว่า อัตตาและโลก เป็นสิ่งเที่ยงแท้ยั่งยืน คงอยู่ตลอดไป
       เช่น เห็นว่าคนและสัตว์ตายไปแล้ว ร่างกายเท่านั้นทรุดโทรมไป ส่วนดวงชีพหรือเจตภูตหรือมนัสเป็นธรรมชาติไม่สูญ ย่อมถือปฏิสนธิในกำเนิดอื่นสืบไป เป็นมิจฉาทิฏฐิอย่างหนึ่ง;
       ตรงข้ามกับ อุจเฉททิฏฐิ
       (ข้อ ๑ ในทิฏฐิ ๒)

สัสสเมธะ ความฉลาดในการบำรุงข้าวกล้า,
       พระปรีชาในการบำรุงพืชพันธุ์ธัญญาหาร ส่งเสริมการเกษตรให้อุดมสมบูรณ์
       เป็นสังคหวัตถุประการหนึ่งที่พระราชาจะพึงทรงบำเพ็ญ

สากัจฉา การพูดจา, การสนทนา

สากิยานี เจ้าหญิงวงศ์ศากยะ

สาเกต ชื่อมหานครแห่งหนึ่ง อยู่ในแคว้นโกศล ห่างจากเมืองสาวัตถี ๗ โยชน์
       ธนัญชัยเศรษฐี บิดาของนางวิสาขา ได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระเจ้าปเสนทิโกศล ให้เข้าตั้งถิ่นฐานและสร้างขึ้น เมื่อคราวที่ท่านเศรษฐีอพยพจากเมืองราชคฤห์มาอยู่ในแคว้นโกศล ตามคำเชิญชวนของพระองค์

สาขนคร เมืองกิ่ง, เมืองเล็ก

สาคตะ พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เกิดในตระกูลพราหมณ์ในพระนครสาวัตถี ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา มีความเลื่อมใส ขอบวชแล้วทำความเพียรเจริญสมาบัติ ๘ ประการ จนมีความชำนาญในสมาบัติ
       ท่านเป็นต้นบัญญัติสุราปานสิกขาบท และเพราะเกิดความสังเวชในเหตุการณ์ที่เกิดกับตนครั้งนี้ จึงเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน จนได้สำเร็จพระอรหัต
       ได้รับยกย่องว่า เป็นเอตทัคคะในทางเตโชธาตุสมาบัติ

สาคร ทะเล

สาคละ ชื่อนครหลวงของแคว้น มัททะ และต่อมาภายหลังพุทธกาลได้เป็นราชธานีของพระเจ้ามิลินท์ กษัตริย์นักปราชญ์ที่ได้โต้วาทะกับพระนาคเสน,
       ปัจจุบัน อยู่ในแคว้นปัญจาบ;
       แคว้นมัททะนั้นบางคราวถูกเข้าใจสับสนกับแคว้น มัจฉะ ทำให้สาคละพลอยถูกเรียกเป็นเมืองหลวงของแคว้นมัจฉะไปก็มี

สาชีพ แบบแผนแห่งความประพฤติที่ทำให้ชีวิตร่วมเป็นอันเดียวกัน
       ได้แก่ สิกขาบททั้งปวงที่พระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติไว้ในพระวินัย อันทำให้ภิกษุทั้งหลายผู้มาจากถิ่นฐานชาติตระกูลต่างๆกัน มามีความเป็นอยู่เสมอเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน;
       มาคู่กับ สิกขา

สาณะ ผ้าทำด้วยเปลือกป่าน, ผ้าป่าน

สาณัตติกะ อาบัติที่ต้องเพราะสั่ง คือสั่งผู้อื่นทำ ตัวเองไม่ได้ทำ ก็ต้องอาบัติ เช่น สั่งให้ผู้อื่นลักทรัพย์ เป็นต้น

สาฏก ผ้า, ผ้าห่ม, ผ้าคลุม

สาตรูป รูปเป็นที่ชื่นใจ; ดู ปิยรูป

สาเถยยะ โอ้อวด, ความโอ้อวดหลอกเขา;
       เขียน สาไถย ก็ได้
       (ข้อ ๖ ในมละ ๙, ข้อ ๑๐ ในอุปกิเลส ๑๖)

สาธก อ้างตัวอย่างให้เห็นสม, ยกตัวอย่างมาอ้างให้เห็น

สาธยาย การท่อง, การสวด

สาธารณ์ ทั่วไป, ทั่วไปแก่หมู่, ของส่วนรวม ไม่ใช่ของใครโดยเฉพาะ

สาธารณสถาน สถานที่สำหรับคนทั่วไป

สาธารณสิกขาบท สิกขาบทที่ทั่วไป, สิกขาบทที่ใช้บังคับทั่วกันหรือเสมอเหมือนกัน
       หมายถึง สิกขาบทสำหรับภิกษุณี ที่เหมือนกันกับสิกขาบทของภิกษุ
       เช่น ปาราชิก ๔ ข้อต้นในจำนวน ๘ ข้อของภิกษุณีเหมือนกันกับสิกขาบทของภิกษุ;
       เทียบ อสาธารณสิกขาบท

สาธุการ การเปล่งวาจาว่า สาธุ (แปลว่า “ดีแล้ว” “ชอบแล้ว”) เพื่อแสดงความเห็นชอบด้วย ชื่นชม หรือยกย่องสรรเสริญ

สาธุชน คนดี, คนมีศีลธรรม, คนมีสัมมาทิฏฐิ

สานต์ สงบ

สามเณร เหล่ากอแห่งสมณะ,
       บรรพชิตในพระพุทธศาสนาผู้ยังมิได้อุปสมบท เพียงแต่รับบรรพชาด้วยไตรสรณคมน์ ถือสิกขาบท ๑๐ และกิจวัตรบางอย่างตามปกติ มีอายุยังไม่ครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์;
       พระราหุลเป็นสามเณรองค์แรกในพระพุทธศาสนา

สามเณรเปสกะ ภิกษุผู้ได้รับสมมติ คือแต่งตั้งจากสงฆ์ให้ทำหน้าที่เป็นผู้ใช้สามเณร
       (เป็นเจ้าอธิการแห่งอารามประเภทหนึ่ง)

สามเณรี สามเณรผู้หญิง, หญิงรับบรรพชาในสำนักภิกษุณี ถือสิกขาบท ๑๐ เหมือนสามเณร

สามเพท ชื่อคัมภีร์ที่ ๓ ของพระเวท; ดู ไตรเพท

สามัคคีปวารณา กรณีอย่างสามัคคีอุโบสถนั่นเอง เมื่อทำปวารณา เรียกว่าสามัคคีปวารณา และวันที่ทำนั้นก็เรียก วันสามัคคี

สามัคคีอุโบสถ อุโบสถที่ทำขึ้นเป็นกรณีพิเศษ เมื่อสงฆ์ ๒ ฝ่ายซึ่งแตกกันกลับมาปรองดองสมานกันเข้าได้
       สามัคคีอุโบสถไม่กำหนดด้วยวันที่ตายตัว สงฆ์พร้อมเพรียงกันเมื่อใด ก็ทำเมื่อนั้น เรียกวันนั้นว่า วันสามัคคี

สามัญ
       1. ปรกติ, ธรรมดา, ทั่วๆ ไป
       2. ความเป็นสมณะ; มักเขียนสามัญญะ

สามัญญผลสูตร สูตรที่ ๒ ในคัมภีร์ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค พระสุตตันตปิฎก ว่าด้วยผลของความเป็นสมณะคือประโยชน์ที่จะได้จากการดำรงเพศเป็นสมณะ หรือบำเพ็ญสมณธรรม

สามัญญลักษณะ ดู สามัญลักษณะ

สามัญญสโมธาน ดู โอธานสโมธาน

สามัญผล ผลแห่งความเป็นสมณะ; ดู สามัญญผลสูตร

สามัญลักษณะ
       1. ลักษณะที่เป็นสามัญ คือร่วมกันหรือเสมอกัน; คู่กับ ปัจจัตตลักษณะ
       2. ลักษณะที่เสมอกันแก่สังขารทั้งปวง; ในความหมายนี้ ดู ไตรลักษณ์

สามันตราช พระราชแคว้นใกล้เคียง

สามิษ, สามิส เจือด้วยอามิสคือ เครื่องล่อ, ต้องขึ้นต่อวัตถุหรืออารมณ์ภายนอก

สามิสสุข สุขเจืออามิส, สุขที่ต้องอาศัยเหยื่อล่อ ได้แก่สุขที่เกิดจากกามคุณ
       (ข้อ ๑ ในสุข ๒)

สามีจิกรรม การชอบ, กิจชอบ, การกระทำที่สมควร, การแสดงความเคารพ

สามีจิปฏิปนฺโน พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติชอบ, ปฏิบัติสมควรได้รับสามีจิกรรม คือปฏิบัติน่าเคารพนับถือ
       (ข้อ ๔ ในสังฆคุณ ๙)

สามุกกังสิกา แปลตามอรรถกถาว่า “พระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงยกขึ้นถือเอาเอง” คือ ทรงเห็นด้วยพระสยัมภูญาณ (ตรัสรู้เอง) ได้แก่ อริยสัจจเทศนา,
       ตามแบบเรียน แปลว่า ธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงยกขึ้นแสดงเอง คือไม่ต้องปรารภคำถามเป็นต้นของผู้ฟัง ได้แก่เทศนาเรื่องอริยสัจจ์

สายโยค สายโยก, สายรัด ใช้แก่ถุงต่างๆ เช่น ที่ประกอบกับถุงบาตร แปลกันว่า สายโยคบาตร (บาลีว่า อํสวทฺธก);
       บางแห่งแปล อาโยค คือผ้ารัดเข่า หรือ สายรัดเข่า ว่าสายโยค ก็มี แต่ในพระวินัยปิฎก ไม่แปลเช่นนั้น
       (พจนานุกรมเขียน สายโยก)

สายัณห์ เวลาเย็น

สารณา การให้ระลึก ได้แก่ กิริยาที่สอบถามเพื่อฟังคำให้การของจำเลย, การสอบสวน

สารท เทศกาลทำบุญสิ้นเดือนสิบ เดิมเป็นฤดูทำบุญด้วยเอาข้าวที่กำลังท้อง (ข้าวรวงเป็นน้ำนม) มาทำยาคูและกวนข้าวปายาสเลี้ยงพราหมณ์ อย่างนี้เรียกว่า กวนข้าวทิพย์
       ส่วนผู้นับถือพุทธศาสนานำคตินั้นมาใช้ แต่เปลี่ยนเป็นถวายแก่พระภิกษุสงฆ์ อุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติในปรโลก สำหรับชาวบ้านทั่วไปมักทำแต่กระยาสารท เป็นต้น
       (ต่างจาก ศราทธ์)

สารนาถ ชื่อปัจจุบันของอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้นครพาราณสี สถานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา
       เคยเจริญรุ่งเรืองมาก เป็นศูนย์กลางการศึกษาทางพุทธศาสนาที่สำคัญแห่งหนึ่ง มีเจดีย์ใหญ่สูง ๒๐๐ ฟุต ถูกชาวฮินดูทำลายก่อน แล้วถูกนายทัพมุสลิมทำลายสิ้นเชิงใน พ.ศ. ๑๗๓๘
       (สารนาถมาจาก สารังคนาถ แปลว่า “ที่พึ่งของเหล่ากวางเนื้อ”)

สารัตถทีปนี ชื่อคัมภีร์ฎีกาอธิบายความในสมันตปาสาทิกา ซึ่งเป็นอรรถกถาแห่งพระวินัยปิฎก
       พระสารีบุตรเถระแห่งเกาะลังกา เป็นผู้รจนาในรัชกาลของพระเจ้าปรักกมพาหุที่ ๑ (พ.ศ. ๑๖๙๖-๑๗๒๙)

สารัตถปกาสินี ชื่อคัมภีร์อรรถกถาอธิบายความในสังยุตตนิกาย แห่งพระสุตตันตปิฎก
       พระพุทธโฆษาจารย์รจนาในเกาะลังกา เมื่อ พ.ศ. ใกล้จะถึง ๑๐๐๐

สารันทเจดีย์ เจดียสถานแห่งหนึ่งที่เมืองเวสาลี นครหลวงของแคว้นวัชชี
       ณ ที่นี้ พระพุทธเจ้าเคยทำนิมิตต์โอภาสแก่พระอานนท์
       บาลีเป็น สารันททเจดีย์

สารัมภะ แข่งดี (ข้อ ๑๒ ในอุปกิเลส ๑๖)

สาราค ราคะกล้า, ความกำหนัดย้อมใจ

สาราณียธรรม ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึง, ธรรมเป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน ทำให้มีความเคารพกัน ช่วยเหลือกัน และสามัคคีพร้อมเพรียงกันมี ๖ อย่างคือ
       ๑. ตั้งกายกรรมประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนภิกษุสามเณร
       ๒. ตั้งวจีกรรมประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนภิกษุสามเณร
       ๓. ตั้งมโนกรรมประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนภิกษุสามเณร
       ๔. แบ่งปันลาภที่ได้มาโดยชอบธรรม
       ๕. รักษาศีลบริสุทธิ์เสมอกับเพื่อนภิกษุสามเณร (มีสีลสามัญญตา)
       ๖. มีความเห็นร่วมกันได้กับภิกษุสามเณรอื่นๆ (มีทิฏฐิสามัญญตา);
           สารณียธรรม ก็เขียน

สารี ชื่อนางพราหมณ์ ผู้เป็นมารดาของพระสารีบุตร

สารีบุตร พระอัครสาวกเบื้องขวาของพระพุทธเจ้า เกิดที่หมู่บ้านนาลกะ (บางแห่งเรียกนาลันทะ) ไม่ไกลจากเมืองราชคฤห์ เป็นบุตรแห่งตระกูลหัวหน้าหมู่บ้านนั้น บิดาชื่อวังคันตพราหมณ์ มารดาชื่อสารี จึงได้นามว่าสารีบุตร
       แต่เมื่อยังเยาว์เรียกว่า อุปติสสะ มีเพื่อนสนิทชื่อ โกลิตะ ซึ่งต่อมาคือพระมหาโมคคัลลานะ
       มีน้องชาย ๓ คนชื่อ จุนทะ อุปเสนะ และเรวตะ น้องหญิง ๓ คน ชื่อจาลา อุปจาลา และสีสุปจาลา ซึ่งต่อมาได้บวชในพระธรรมวินัยทั้งหมด
       เมื่ออุปติสสะและโกลิตะจะบวชนั้น ทั้งสองคนไปเที่ยวดูมหรสพที่ยอดเขาด้วยกัน คราวหนึ่งไปดูแล้วเกิดความสลดใจ คิดออกแสวงหาโมกขธรรม และต่อมาได้บวชอยู่ในสำนักของสัญชัยปริพาชก แต่ก็ไม่บรรลุจุดมุ่งหมาย
       จนวันหนึ่งอุปติสสปริพาชก พบพระอัสสชิเถระขณะท่านบิณฑบาต เกิดความเลื่อมใสติดตามไปสนทนาขอถามหลักคำสอน ได้ฟังความย่อเพียงคาถาเดียวก็ได้ดวงตาเห็นธรรม กลับไปบอกข่าวแก่โกลิตะ แล้วพากันไปเฝ้าพระพุทธเจ้า มีปริพาชกที่เป็นศิษย์ตามไปด้วยถึง ๒๕๐ คน ได้รับเอหิภิกขุอุปสมบททั้งหมดที่เวฬุวัน
       เมื่อบวชแล้วได้ ๑๕ วัน พระสารีบุตรได้ฟังพระธรรมเทศนาเวทนาปริคคหสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ทีฆนขปริพาชก ณ ถ้ำสุกรขาตา เขาคิชฌกูฏ ก็ได้บรรลุพระอรหัต
       ได้รับยกย่องเป็น เอตทัคคะในทางมีปัญญามาก และเป็นพระอัครสาวกฝ่ายขวา ท่านได้เป็นกำลังสำคัญของพระพุทธเจ้าในการประกาศพระศาสนา และได้รับยกย่องเป็น พระธรรมเสนาบดี
       คำสอนของท่านปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกเป็นอันมาก เช่น สังคีติสูตร และทสุตตรสูตร ที่เป็นแบบอย่างแห่งการสังคายนา เป็นต้น
       ท่านปรินิพพานก่อนพระพุทธเจ้าไม่กี่เดือน เมื่อจวนจะปรินิพพาน ท่านเดินทางไปโปรดมารดาของท่านซึ่งยังเป็นมิจฉาทิฐิ ให้มารดาได้เป็นพระโสดาบันแล้ว ปรินิพพานที่บ้านเกิด ด้วยปักขันทิกาพาธ
       หลังจากปลงศพแล้วพระจุนทะน้องชายของท่านนำอัฐิธาตุไปถวายพระบรมศาสดา พระองค์ตรัสว่าให้ก่อสถูปบรรจุอัฐิธาตุของท่านไว้ ณ พระเชตวัน เมืองสาวัตถี
       (อรรถกถาว่า ท่านปรินิพพานในวันเพ็ญเดือน ๑๒ จึงเท่ากับ ๖ เดือนก่อนพุทธปรินิพพาน)
       พระสารีบุตรมีคุณธรรมและจริยาวัตรที่เป็นแบบอย่างหลายประการ เช่น
       เป็นผู้มีความกตัญญูสูง ดังได้แสดงออกเกี่ยวกับ
           พระอัสสชิ (นอนหันศีรษะไปทางที่พระอัสสชิพำนักอยู่) และ
           ราธพราหมณ์ (ระลึกถึงบิณฑบาตหนึ่งทัพพีและรับเป็นอุปัชฌาย์แก่ราธะ)
       สมบูรณ์ด้วยขันติธรรมต่อคำว่ากล่าว
           (ยอมรับคำแนะนำแม้ของสามเณร ๗ ขวบ)
       เป็นผู้เอาใจใส่อนุเคราะห์เด็ก
           (เช่น ช่วยเอาเด็กยากไร้มาบรรพชา มีสามเณรอยู่ในความปกครองดูแล ซึ่งเก่งกล้าสามารถหลายรูป)
       และเอาใจใส่คอยดูแลภิกษุอาพาธเป็นต้น

สารีริกธาตุ พระอัฐิธาตุของพระพุทธเจ้า, กระดูกของพระพุทธเจ้า

สารูป เหมาะ, สมควร;
       ธรรมเนียมควรประพฤติในเวลาเข้าบ้าน, เป็นหมวดที่ ๑ แห่งเสขิยวัตร มี ๒๖ สิกขาบท

สาละ ไม้ยืนต้นชนิดหนึ่งของอินเดีย พระพุทธเจ้าประสูติและปรินิพพานใต้ร่มไม้สาละ
       (เคยแปลกันว่า ต้นรัง)

สาลคาม ชื่อตำบลหนึ่งในสักกชนบท

สาลพฤกษ์ ต้นสาละ

สาลวโนทยาน สวนป่าไม้สาละ

สาลวัน ป่าไม้สาละ

สาโลหิต สายโลหิต, ผู้ร่วมสายเลือด

สาวก ผู้ฟัง, ผู้ฟังคำสอน, ศิษย์;
       คู่กับ สาวิกา

สาวนะ, สาวนมาส เดือน ๙

สาวัตถี นครหลวงของแคว้นโกศล;
       แคว้นโกศลตั้งอยู่ระหว่างภูเขาหิมาลัยกับแม่น้ำคงคาตอนกลาง อาณาเขตทิศเหนือจดเทือกเขาเนปาล ทิศตะวันออกจดแคว้นกาสี ต่อกับแคว้นมคธ ทิศใต้และทิศตะวันตกจดแม่น้ำคงคา;
       พระนครสาวัตถีเป็นศูนย์กลางการเผยแพร่พระพุทธศาสนาครั้งพุทธกาล เป็นที่ที่พระพุทธเจ้าประทับจำพรรษามากที่สุด รวมถึง ๒๕ พรรษา
       บัดนี้เรียก สะเหต-มะเหต (Sahet-Mahat)

สาวิกา หญิงผู้ฟังคำสอน, สาวกหญิง, ศิษย์ผู้หญิง;
       คู่กับ สาวก

สาสวะ เป็นไปกับด้วยอาสวะ, ประกอบด้วยอาสวะ, ยังมีอาสวะ, เป็นโลกิยะ

สาหัตถิกะ ทำด้วยมือของตนเอง หมายถึงลักด้วยมือของตนเอง
       เป็นอวหารอย่างหนึ่งใน ๒๕ อย่าง ที่พระอรรถกถาจารย์แสดงไว้ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๒

สาฬหะ ชื่อพระเถระองค์หนึ่งในการกสงฆ์ ผู้ทำสังคายนาครั้งที่ ๒

สำนอง รับผิดชอบ, ตั้งรับใช้, ตอบแทน

สำนัก อยู่, ที่อยู่, ที่พัก, ที่อาศัย, แหล่ง

สำรวม ระมัดระวัง, เหนี่ยวรั้ง, ระวังรักษาให้สงบเรียบร้อย เช่น สำรวมตา, สำรวมกาย,
       ครอง เช่น สำรวมสติ คือครองสติ,
       ดู สังวร;
       รวม ประสมปนกัน เช่น อาหารสำรวม

สำรวมอินทรีย์ ดู อินทรียสังวร

สำรอก ทำสิ่งที่ไม่ต้องการให้หลุดออกมา, นำออก, เอาออก
       เช่น สำรอกสี จิตสำรอกจากอาสวะ อวิชชาสำรอกไป (วิราคะ)

สำลาน สีเหลืองปนแดง

สำเหนียก กำหนด, จดจำ, คอยเอาใจใส่, ฟัง, ใส่ใจคิดที่จะนำไปปฏิบัติ, ใส่ใจสังเกตพิจารณาจับเอาสาระ เพื่อจะนำไปปฏิบัติให้สำเร็จประโยชน์
       (คำพระว่า สิกขา หรือ ศึกษา)

สิกขมานา นางผู้กำลังศึกษา,
       สามเณรีผู้มีอายุถึง ๑๘ ปีแล้ว อีก ๒ ปีจะครบบวชเป็นภิกษุณี ภิกษุณีสงฆ์สวดให้สิกขาสมมติ คือ ตกลงให้สมาทานสิกขาบท ๖ ประการ ตั้งแต่ปาณาติปาตา เวรมณี จนถึง วิกาลโภชนา เวรมณี ให้รักษาอย่างเคร่งครัดไม่ขาดเลย ตลอดเวลา ๒ ปีเต็ม (ถ้าล่วงข้อใดข้อหนึ่ง ต้องสมาทานตั้งแต่ต้นไปใหม่อีก ๒ ปี)
       ครบ ๒ ปี ภิกษุณีสงฆ์จึงทำพิธีอุปสมบทให้
       ขณะที่สมาทานสิกขาบท ๖ ประการอย่างเคร่งครัดนี้ เรียกว่า นางสิกขมานา

สิกขา การศึกษา, การสำเหนียก, ข้อที่จะต้องศึกษา, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรม มี ๓ อย่างคือ
       ๑. อธิสีลสิกขา ฝึกอบรมในเรื่องศีล
       ๒. อธิจิตตสิกขา ฝึกอบรมในเรื่องจิต เรียกง่ายๆ ว่า สมาธิ
       ๓. อธิปัญญาสิกขา ฝึกอบรมในเรื่องปัญญา
       รวมเรียกว่า ไตรสิกขา

สิกขาคารวตา ดู คารวะ

สิกขานุตตริยะ การศึกษาอันเยี่ยม ได้แก่ การฝึกอบรมในอธิศีล อธิจิตต์ และอธิปัญญา
       (ข้อ ๔ ในอนุตตริยะ ๖)

สิกขาบท ข้อที่ต้องศึกษา, ข้อศีล, ข้อวินัย, บทบัญญัติข้อหนึ่งๆ ในพระวินัยที่ภิกษุพึงศึกษาปฏิบัติ,
       ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ ศีล ๓๑๑ แต่ละข้อๆ เรียกว่าสิกขาบท เพราะเป็นข้อที่จะต้องศึกษา หรือเป็นบทฝึกอบรมตนของสาธุชน อุบาสก อุบาสิกา สามเณร สามเณรี ภิกษุ และภิกษุณี ตามลำดับ

สิกขาสมมติ ความตกลงยินยอมของภิกษุณีสงฆ์ที่จะให้สามเณรีผู้มีอายุ ๑๘ ปีเต็มแล้ว เริ่มรักษาสิกขาบท ๖ ประการ ตลอดเวลา ๒ ปี ก่อนที่จะได้อุปสมบท,
       เมื่อภิกษุณีสงฆ์ให้สิกขาสมมติแล้ว สามเณรีนั้นได้ชื่อว่าเป็น สิกขมานา

สิขี พระนามของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอดีต;
       ดู พระพุทธเจ้า ๗

สิคาลมาตา พระมหาสาวิกาองค์หนึ่ง
       เป็นธิดาเศรษฐีในพระนครราชคฤห์ เจริญวัยแล้ว แต่งงาน มีบุตรคนหนึ่งชื่อ สิงคาลกุมาร
       วันหนึ่งได้ฟังธรรมีกถาของพระศาสดา มีความเลื่อมใส (คัมภีร์อปทานว่า ได้ฟังสิงคาลกสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่บุตรของนาง ซึ่งว่าด้วยเรื่องอบายมุข มิตรแท้ มิตรเทียม ทิศ ๖ เป็น และได้บรรลุโสดาปัตติผล) ขอบวชเป็นภิกษุณี
       ต่อมาได้ไปฟังธรรมเทศนาที่พระศาสดาทรงแสดง นางคอยตั้งตาดูพระพุทธสิริสมบัติด้วยศรัทธาอันแรงกล้า พระพุทธองค์ทรงทราบกับอัธยาศัยของนาง นางส่งใจไปตามกระแสพระธรรมเทศนาก็ได้บรรลุพระอรหัต
       ได้รับยกย่องว่า เป็นเอตทัคคะในทางศรัทธาธิมุต,
       สิคาลกมาตา หรือ สิงคาลมาตา ก็เรียก

สิง อยู่, เข้าอยู่

สิงคิวรรณ ผ้าเนื้อเกลี้ยงสีดังทองสิงคี บุตรของมัลลกษัตริย์ชื่อปุกกุสะ ถวายแด่พระพุทธเจ้าในวันที่จะปรินิพพาน

สิงหล, สิงหฬ ชาวสิงหล, ชาวลังกา, ซึ่งมีหรือผู้อยู่ในประเทศลังกา, ชนเชื้อชาติสิงหลหรือเผ่าสิงหล ที่ต่างหากจากชนเชื้อชาติอื่น มีทมิฬเป็นต้น ในประเทศลังกา;
       สีหล หรือ สีฬล ก็เรียก

สิถิล พยัญชนะออกเสียงเพลา
       ได้แก่ พยัญชนะที่ ๑ ที่ ๓ ในวรรคทั้ง ๕
       คือ ก, ค; จ, ช; ฏ, ฑ; ต, ท; ป, พ;
       คู่กับ ธนิต

สิทธัตถกุมาร พระนามเดิมของพระพุทธเจ้า ก่อนเสด็จออกบรรพชา
       ทรงเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายา
       คำว่า สิทธัตถะ แปลว่า “มีความต้องการสำเร็จ” หรือ “สำเร็จตามที่ต้องการ” คือสมประสงค์ จะต้องการอะไรได้หมด
       ทรงอภิเษกสมรสกับพระนางยโสธรา เมื่อพระชนมายุ ๑๖ ปี เสด็จออกบรรพชาเมื่อพระชนมายุ ๒๙ ปี ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เมื่อพระชนมายุ ๓๕ ปี ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ ๘๐ ปี

สินไถ่ เงินไถ่ค่าตัวทาส

สินธพ ม้าพันธุ์ดีเกิดที่ลุ่มน้ำสินธุ

สิ้นพระชนม์ หมดอายุ, ตาย

สิเนรุ ชื่อภาษาบาลีของภูเขาเมรุ;
       ดู เมรุ

สิลิฏฐพจน์ คำสละสลวย, คำไพเราะ,
       ได้แก่ คำควบกับอีกคำหนึ่งเพื่อให้ฟังไพเราะในภาษา หาได้มีใจความพิเศษออกไปไม่
       เช่น คำว่า “คณะสงฆ์” คณะ ก็คือ สงฆ์ ซึ่งแปลว่าหมู่ หมายถึงหมู่แห่งภิกษุจำนวนหนึ่ง
       คำว่า คณะ ในที่นี้เรียกว่าเป็นสิลิฏฐพจน์
       ในภาษาไทยเรียกว่า คำติดปาก ไม่ได้เพ่งเนื้อความ

สีกา คำที่พระภิกษุใช้เรียกผู้หญิงอย่างไม่เป็นทางการ เลือนมาจากอุบาสิกา บัดนี้ได้ยินใช้น้อย

สีต เย็น, หนาว

สีมันตริก เขตคั่นระหว่างมหาสีมากับขัณฑสีมา เพื่อมิให้ระคนกัน เช่นเดียวกับชานที่กั้นเขตของกันและกันในระหว่าง

สีมา เขตกำหนดความพร้อมเพรียงของสงฆ์, เขตชุมนุมของสงฆ์,
       เขตที่สงฆ์ตกลงไว้สำหรับภิกษุทั้งหลายที่อยู่ภายในเขตนั้นจะต้องทำสังฆกรรมร่วมกัน แบ่งเป็น ๒ ประเภทใหญ่ คือ
           ๑. พัทธสีมา แดนที่ผูก ได้แก่ เขตที่สงฆ์กำหนดขึ้นเอง
           ๒. อพัทธสีมา แดนที่ไม่ได้ผูก ได้แก่ เขตที่ทางบ้านเมืองกำหนดไว้แล้วตามปกติของเขา หรือที่มีอย่างอื่นในทางธรรมชาติเป็นเครื่องกำหนด สงฆ์ถือเอาตามกำหนดนั้นไม่วางกำหนดขึ้นเองใหม่

สีมามีฉายาเป็นนิมิต สีมาที่ทำเงาอย่างใดอย่างหนึ่ง มีเงาภูเขาเป็นต้น เป็นนิมิต
       (มติสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสว่า สีมาที่ถือเงาเป็นแนวนิมิต)
       จัดเป็นสีมาวิบัติอย่างหนึ่ง

สีมาวิบัติ ความเสียโดยสีมา, เสียเพราะเขตชุมนุม (ไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์), สีมาใช้ไม่ได้ ทำให้สังฆกรรมซึ่งทำ ณ ที่นั้น วิบัติ คือเสียหรือใช้ไม่ได้ (เป็นโมฆะ) ไปด้วย,
       คัมภีร์ปริวารแสดงเหตุให้กรรมเสียโดยสีมา ๑๑ อย่าง เช่น
           ๑. สมมติสีมาใหญ่เกินกำหนด (เกิน ๓ โยชน์)
           ๒. สมมติสีมาเล็กเกินกำหนด (จุไม่พอภิกษุ ๒๑ รูปนั่งเข้าหัตถบาสกัน)
           ๓. สมมติสีมามีนิมิตขาด
           ๔. สมมติสีมามีฉายาเป็นนิมิต
           ๕. สมมติสีมาไม่มีนิมิต
           ฯลฯ,
       สังฆกรรมที่ทำในที่เช่นนี้ก็เท่ากับทำในที่มิใช่สีมานั่นเอง จึงย่อมใช้ไม่ได้;
       ดู วิบัติ (ของสังฆกรรม)

สีมาสมบัติ ความพร้อมมูลโดยสีมา, ความสมบูรณ์แห่งเขตชุมชน,
       สีมาซึ่งสงฆ์สมมติแล้วโดยชอบ ไม่วิบัติ ทำให้สังฆกรรมซึ่งทำในสีมานั้นมีผลสมบูรณ์
       กล่าวคือ สีมาปราศจากข้อบกพร่องต่างๆ ที่เป็นเหตุให้สีมาวิบัติ (ดู สีมาวิบัติ)
       สังฆกรรมซึ่งทำ ณ ที่นั้นจึงชื่อว่าทำในสีมา จึงใช้ได้ในข้อนี้;
       ดู สมบัติ (ของสังฆกรรม)

สีมาสังกระ สีมาคาบเกี่ยวกัน, เป็นเหตุสีมาวิบัติอย่างหนึ่ง

สีลกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ตั้งในศีล (ข้อ ๖ ในกถาวัตถุ ๑๐)

สีลขันธ์ กองศีล, หมวดธรรมว่าด้วยศีล เช่น กายสุจริต สัมมาอาชีวะ อินทรียสังวร โภชเนมัตตัญญุตา เป็นต้น
       (ข้อ ๑ ในธรรมขันธ์ ๕)

สีลขันธวรรค ตอนที่ ๑ ใน ๓ ตอนแห่งคัมภีร์ทีฆนิกาย พระสุตตันตปิฎก

สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล, ทำบุญด้วยการประพฤติดีงาม
       (ข้อ ๒ ในบุญกิริยาวัตถุ ๓ และ ๑๐)

สีลวิบัติ เสียศีล, สำหรับภิกษุ คือต้องอาบัติปาราชิกหรือสังฆาทิเสส
       (ข้อ ๑ ในวิบัติ ๔)

สีลวิสุทธิ ความหมดจดแห่งศีล คือรักษาศีลให้บริสุทธิ์ตามภูมิของตน ซึ่งจะช่วยเป็นฐานให้เกิดสมาธิได้
       (ข้อ ๑ ในวิสุทธิ ๗)

สีลสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศีล คือ
       ถ้าเป็นคฤหัสถ์ ก็รักษากายวาจาให้เรียบร้อย ประพฤติอยู่ในคลองธรรม
       ถ้าเป็นภิกษุก็สำรวมในพระปาฏิโมกข์ มีมารยาทดีงาม เป็นต้น
       (ข้อ ๒ ในสัมปรายิกัตถสังวัตตนิกธรรม, ข้อ ๑ ในจรณะ ๑๕)

สีลสามัญญตา ความสม่ำเสมอกันโดยศีล
       คือ รักษาศีลบริสุทธิ์เสมอกันกับเพื่อนภิกษุสามเณร ไม่ทำตนให้เป็นที่น่ารังเกียจของหมู่คณะ
       (ข้อ ๕ ในสาราณียธรรม ๖)

สีลสิกขา ดู อธิสีลสิกขา

สีลัพพตปรามาส ความยึดมั่นถือว่า บุคคลจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้ด้วยศีลและวัตร
       (คือถือว่าเพียงประพฤติศีลและวัตรให้เคร่งครัดก็พอที่จะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้ ไม่ต้องอาศัยสมาธิและปัญญาก็ตาม ถือศีลและวัตรที่งมงายหรืออย่างงมงายก็ตาม),
       ความถือศีลพรต โดยสักว่า ทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย หรือโดยนิยมว่าขลังว่าศักดิ์สิทธิ์ ไม่เข้าใจความหมายและความมุ่งหมายที่แท้จริง,
       ความเชื่อถือศักดิ์สิทธิ์ด้วยเข้าใจว่า จะมีได้ด้วยศีลหรือพรตอย่างนั้นอย่างนี้ล่วงธรรมดาวิสัย
       (ข้อ ๓ ในสังโยชน์ ๑๐, ข้อ ๖ ในสังโยชน์ ๑๐ ตามนัยพระอภิธรรม)

สีลัพพตุปาทาน ความยึดมั่นศีลและวัตรด้วยอำนาจกิเลส,
       ความถือมั่นศีลพรต คือธรรมเนียมที่ประพฤติกันมาจนชิน โดยเชื่อว่าขลังเป็นเหตุให้งมงาย,
       คัมภีร์ธัมมสังคณีแสดงความหมายอย่างเดียวกับสีลัพพตปรามาส
       (ข้อ ๓ ในอุปาทาน ๔)

สีลานุสติ ระลึกถึงศีลของตนที่ได้ประพฤติมาด้วยดีบริสุทธิ์ ไม่ด่างพร้อย
       (ข้อ ๔ ในอนุสติ ๑๐)

สีวลี พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นพระโอรสของพระนางสุปปวาสา ซึ่งเป็นพระราชธิดาของพระเจ้ากรุงโกลิยะ
       ปรากฏว่า ตั้งแต่ท่านปฏิสนธิในครรภ์ เกิดลาภสักการะแก่พระมารดาเป็นอันมาก
       ตามตำนานว่าอยู่ในครรภ์มารดาถึง ๗ ปี พระมารดาเจ็บพระครรภ์ถึง ๗ วัน ครั้นประสูติแล้วก็ทำกิจการต่างๆ ได้ทันที
       ต่อมาท่านบวชในสำนักของพระสารีบุตร ในวันที่บวช พอมีดโกนตัดกลุ่มผมครั้งที่ ๑ ได้บรรลุโสดาปัตติผล ครั้งที่ ๒ ได้บรรลุสกทาคามิผล ครั้งที่ ๓ ได้บรรลุอนาคามิผล พอปลงผมเสร็จก็ได้สำเร็จพระอรหัต
       ท่านสมบูรณ์ด้วยปัจจัยลาภและทำให้ลาภเกิดแก่ภิกษุสงฆ์เป็นอันมาก
       ได้รับยกย่องว่า เป็นเอตทัคคะในทางมีลาภมาก

สีหล, สีหฬ ดู สิงหล

สีหลทวีป “เกาะของชาวสิงหล”, เกาะลังกา, ประเทศลังกา

สีหไสยา นอนอย่างราชสีห์
       คือนอนตะแคงขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ กำหนดใจถึงการลุกขึ้นไว้
       (มีคำอธิบายเพิ่มอีกว่า มือซ้ายพาดไปตามลำตัว มือขวาซ้อนศีรษะไม่พลิกกลับไปมา)

สีหหนุ กษัตริย์ศากยวงศ์ เป็นพระราชบุตรของพระเจ้าชยเสนะ
       เป็นพระราชบิดาของพระเจ้าสุทโธทนะ เป็นพระอัยกาของพระพุทธเจ้า

สุกกะ น้ำกาม, น้ำอสุจิ

สุกโกทนะ กษัตริย์ศากยวงศ์ เป็นพระราชบุตรองค์ที่ ๒ ของพระเจ้าสีหหนุ
       เป็นพระอนุชาของพระเจ้าสุทโธทนะ เป็นพระบิดาของพระอานนท์

สุกขวิปัสสก พระผู้เจริญวิปัสสนาล้วนสำเร็จพระอรหัต มิได้ทรงคุณวิเศษอย่างอื่นอีก
       เช่น ไม่ได้ฌานสมาบัติ ไม่ได้อภิญญา เป็นต้น;
       ดู อรหันต์

สุกรขาตา ชื่อถ้ำ อยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ พระนครราชคฤห์
       ณ ที่นี้ พระสารีบุตรได้สำเร็จพระอรหัต เพราะได้ฟังพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ปริพาชกชื่อทีฆนขะ;
       ดู ทีฆนขะ

สุข ความสบาย, ความสำราญ, มี ๒
           ๑. กายิกสุข สุขทางกาย
           ๒. เจตสิกสุข สุขทางใจ,
       อีกหมวดหนึ่ง มี ๒ คือ
           ๑. สามิสสุข สุขอิงอามิส คืออาศัยกามคุณ
           ๒. นิรามิสสุข สุขไม่อิงอามิส คืออิงเนกขัมมะ
       (ท่านแบ่งเป็นคู่ๆ อย่างนี้อีกหลายหมวด)

สุขของคฤหัสถ์ สุขอันชอบธรรมที่ผู้ครองเรือนควรมี และควรขวนขวายให้มีอยู่เสมอ มี ๔ อย่างคือ
       ๑. สุขเกิดจากความมีทรัพย์ (ที่ได้มาด้วยเรี่ยวแรงของตน โดยทางชอบธรรม)
       ๒. สุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์ (เลี้ยงตน เลี้ยงคนควรเลี้ยง และทำประโยชน์)
       ๓. สุขเกิดจากความไม่มีหนี้
       ๔. สุขเกิดความประพฤติไม่มีโทษ (มีสุจริตทั้ง กาย วาจา และใจ),
       เฉพาะข้อ ๔ ตามแบบเรียนว่า สุขเกิดแต่ประกอบการงานที่ปราศจากโทษ

สุขเวทนา ความรู้สึกสุขสบาย (ข้อ ๑ ในเวทนา ๓)

สุขสมบัติ สมบัติคือความสุข, ความถึงพร้อมด้วยความสุข

สุขาวดี แดนที่มีความสุข, เป็นชื่อสวรรค์ของพระอมิตาภพุทธ ฝ่ายมหายาน

สุขุม ละเอียด, ละเอียดอ่อน, นิ่มนวล, ซึ้ง

สุขุมาลชาติ มีพระชาติละเอียดอ่อน, มีตระกูลสูง

สุคต ผู้เสด็จไปดีแล้ว, เป็นพระนามพระพุทธเจ้า;
       ดู สุคโต ด้วย

สุคตประมาณ ขนาดหรือประมาณของพระสุคต คือ พระพุทธเจ้า,
       เกณฑ์หรือมาตราวัดของพระสุคต

สุคตาณัตติพจน์ พระดำรัสสั่งของพระสุคต

สุคติ คติดี, ทางดำเนินที่ดี, สถานที่ที่ดีที่สัตว์โลกซึ่งทำกรรมดีตามแล้วไปเกิด ได้แก่ มนุษย์และเทพ;
       ตรงข้ามกับ ทุคติ; ดู คติ

สุคโต “เสด็จไปดีแล้ว” คือ ทรงมีทางเสด็จที่ดีงามอันได้แก่อริยมรรค,
       เสด็จไปสู่ที่ดีงาม กล่าวคือพระนิพพาน,
       เสด็จไปด้วยดีโดยชอบ กล่าวคือ
           ทรงดำเนินรุดหน้าไม่หวนกลับคืนมาสู่กิเลสที่ทรงละได้แล้ว
           ทรงดำเนินสู่ผลสำเร็จไม่ถอยหลัง ไม่กลับตกจากฐานะที่ลุถึง
           ทรงดำเนินในทางอันถูกต้องคือมัชฌิมาปฏิปทา ไม่เฉเชือนไปในทางผิด คือ กามสุขัลลิกานุโยคและอัตตกิลมถานุโยค
           เสด็จไปดี เสด็จที่ใดก็ทรงทำประโยชน์ให้แก่มหาชนในที่นั้น เสด็จไปโดยสวัสดีและนำให้เกิดความสวัสดี แม้แต่พบองคุลิมาลมหาโจรร้าย ก็ทรงกลับใจให้เขากลายเป็นคนดีไม่มีภัย
           เสด็จผ่านไปแล้วด้วยดี ได้ทรงบำเพ็ญพุทธกิจไว้บริบูรณ์ ประดิษฐานพระพุทธศาสนาไว้ เพื่อชาวโลก ให้เป็นเครื่องเผล็ดประโยชน์แก่ประชาชนทั้งปวงผู้เกิดมาในภายหลัง,
       ทรงมีพระวาจาดี หรือตรัสโดยชอบ คือ ตรัสแต่คำจริงแท้ ประกอบด้วยประโยชน์ ในกาลที่ควรตรัส และแก่บุคคลที่ควรตรัส
       (ข้อ ๔ ในพุทธคุณ ๙)

สุคนธชาติ ของหอม, เครื่องหอม

สุคนธวารี น้ำหอม

สุงกฆาตะ ด่านภาษี

สุงสุมารคีระ ชื่อนครหลวงแห่งแคว้นภัคคะ ที่พระพุทธเจ้าประทับจำพรรษาที่ ๘;
       สุงสุมารคีรี ก็เรียก

สุจริต ประพฤติดี, ประพฤติชอบ,
       ประพฤติถูกต้องตามคลองธรรม มี ๓ คือ
           ๑. กายสุจริต ประพฤติชอบด้วยกาย
           ๒. วจีสุจริต ประพฤติชอบด้วยวาจา
           ๓. มโนสุจริต ประพฤติชอบด้วยใจ;
       เทียบ ทุจริต

สุชาดา อุบาสิกาสำคัญคนหนึ่ง เป็นธิดาของผู้มีทรัพย์ซึ่งเป็นนายใหญ่แห่งชาวบ้านเสนานิคม ตำบลอุรุเวลา
       ได้ถวายข้าวปายาสแก่พระมหาบุรุษ ในเวลาเช้าของวันที่จะตรัสรู้
       มีบุตรชื่อยส ซึ่งต่อมาออกบวชเป็นพระอรหันต์
       นางสุชาดาได้เป็นปฐมอุบาสิกา พร้อมกับภรรยาเก่าของพระยสะ และ
       ได้รับยกย่องเป็น เอตทัคคะในบรรดาอุบาสิกาผู้ถึงสรณะเป็นปฐม

สุญญตวิโมกข์ ความหลุดพ้นโดยว่างจาก ราคะ โทสะ โมหะ
       หมายถึง มองเห็นความว่าง หมดความยึดมั่น คือพิจารณาเห็นนามรูปโดยความเป็นอนัตตา
       พูดสั้นๆ ว่า หลุดพ้นเพราะเห็นอนัตตา
       (ข้อ ๑ ในวิโมกข์ ๓)

สุญญตสมาธิ สมาธิอันพิจารณาเห็นความว่าง
       ได้แก่ วิปัสสนาที่ให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดอนัตตลักษณะ
       (ข้อ ๑ ในสมาธิ ๓)

สุญญตา “ความเป็นสภาพสูญ”, ความว่าง
       1. ความเป็นสภาพที่ว่างจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เฉพาะอย่างยิ่ง ภาวะที่ขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา คือ ไร้ตัวมิใช่ตน ว่างจากความเป็นตน ตลอดจนว่างจากสาระต่างๆ เช่น สาระคือความเที่ยง สาระคือความสวยงาม สาระคือความสุข เป็นต้น,
           โดยปริยายหมายถึง หลักธรรมฝ่ายปรมัตถ์ ดังเช่นขันธ์ ธาตุ อายตนะ และปัจจยาการ (อิทัปปัจจยตา หรือ ปฏิจจสมุปบาท) ที่แสดงแต่ตัวสภาวะให้เห็นความว่างเปล่าปราศจากสัตว์ บุคคล เป็นเพียงธรรมหรือกระบวนธรรมล้วนๆ
       2. ความว่างจากกิเลส มีราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้น ก็ดี สภาวะที่ว่างจากสังขารทั้งหลายก็ดี หมายถึง นิพพาน
       3. โลกุตตรมรรค ได้ชื่อว่าเป็นสุญญตา ด้วยเหตุผล ๓ ประการ คือ
           เพราะลุด้วยปัญญาที่กำหนดพิจารณาความเป็นอนัตตา มองเห็นสภาวะที่สังขารเป็นสภาพว่าง (จากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน)
           เพราะว่างจากกิเลสมีราคะเป็นต้น และ
           เพราะมีสุญญตา คือ นิพพาน เป็นอารมณ์
       4. ความว่าง ที่เกิดจากความกำหนดหมายในใจ หรือทำใจเพื่อให้เป็นอารมณ์ของจิตในการเจริญสมาบัติ เช่น ผู้เจริญอากิญจัญญายตนสมาบัติกำหนดใจถึงภาวะว่างเปล่าไม่มีอะไรเลย;
       สุญตา ก็เขียน

สุตตนิบาต ชื่อคัมภีร์ที่ ๕ แห่งขุททกนิกาย พระสุตตันตปิฎก

สุตตันตปิฎก ดู ไตรปิฎก

สุตบท คำว่า สุต, สุตา; ดู ปาฏิโมกข์ย่อ

สุตพุทธะ ผู้รู้เพราะได้ฟัง, ผู้รู้โดยสุตะ หมายถึง บุคคลที่เป็นพหูสูต
       ดู พุทธะ

สุทธันตปริวาส ปริวาสที่ภิกษุผู้ต้องการจะออกจากอาบัติสังฆาทิเสสอยู่ไป จนกว่าจะเห็นว่าบริสุทธิ์
       หมายความว่า ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วปิดไว้หลายคราวจนจำจำนวนอาบัติและจำนวนวันที่ปิดไม่ได้ หรือจำได้แต่บางจำนวน ท่านให้ขอปริวาสประมวลจำนวนอาบัติและจำนวนวันที่ปิดเข้าด้วยกันแล้วอยู่ใช้ไป จนกว่าจะเห็นว่าบริสุทธิ์
       มี ๒ อย่างคือ จูฬสุทธันตปริวาส และมหาสุทธันตปริวาส

สุทธาวาส ที่อยู่ของท่านผู้บริสุทธิ์ คือ ที่เกิดของพระอนาคามี
       ได้แก่ พรหม ๕ ชั้นที่สูงสุดในขั้นรูปาวจร
       คือ อวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี อกนิฏฐา

สุทธิ ความบริสุทธิ์, ความสะอาดหมดจด มี ๒ คือ
       ๑. ปริยายสุทธิ บริสุทธิ์โดยเอกเทศ (คือเพียงบางส่วนบางแง่)
       ๒. นิปปริยายสุทธิ บริสุทธิ์โดยสิ้นเชิง (ความบริสุทธิ์ของพระอรหันต์)

สุทธิกปาจิตติยะ อาบัติปาจิตตีย์ล้วน คืออาบัติปาจิตตีย์ ที่ไม่ต้องให้เสียสละสิ่งของ มี ๙๒ สิกขาบท
       ตามปกติเรียกกันเพียงว่า ปาจิตติยะหรือปาจิตตีย์

สุทโธทนะ กษัตริย์ศากยวงศ์ ซึ่งเป็นราชาผู้ครองแคว้นศากยะ หรือสักกชนบท ณ นครกบิลพัสดุ์ มีพระมเหสีพระนามว่า พระนางสิริมหามายา หรือเรียกสั้นๆ ว่า มายา
       เมื่อพระนางมายาสวรรคตแล้ว พระนางมหาปชาบดีโคตมีได้เป็นพระมเหสีต่อมา
       พระเจ้าสุทโธทนะเป็นพระราชบุตรองค์ที่ ๑ ของพระเจ้าสีหหนุ
       เป็นพระราชบิดาของพระสิทธัตถะ เป็นพระอัยกาของพระราหุล และเป็นพระพุทธบิดา
       พระองค์สวรรคตในปีที่ ๕ แห่งพุทธกิจ ก่อนสวรรคต พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปแสดงธรรมโปรดให้ได้ทรงบรรลุอรหัตตผล และได้เสวยวิมุตติสุข ๗ วันก่อนปรินิพพาน

สุธรรมภิกษุ ชื่อภิกษุรูปหนึ่ง มีความมักใหญ่ ได้ด่าจิตตคฤหบดีและถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรม ให้ไปขอขมาคฤหบดีนั้น นับเป็นต้นบัญญัติในเรื่องนี้

สุนทร ดี, งาม, ไพเราะ

สุนทรพจน์ คำพูดที่ไพเราะ, คำพูดที่ดี;
       คำพูดอันเป็นพิธีการ, คำกล่าวแสดงความรู้สึกที่ดีอย่างเป็นพิธีการในที่ประชุม

สุนาปรันตะ ดู ปุณณสุนาปรันตะ

สุเนตตะ นามของพระศาสดาองค์หนึ่งในอดีต มีคุณสมบัติ คือ
       กาเมสุ วีตราโค (มีราคะไปปราศแล้วในกามทั้งหลาย)
       มีศิษย์จำนวนมาก ได้เจริญเมตตาจิตถึง ๗ ปี แต่ก็ไม่อาจพ้นจากชาติ ชรา มรณะ เพราะไม่รู้อริยศีล อริยสมาธิ อริยปัญญา และอริยวิมุตติ

สุปฏิปนฺโน พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดี คือปฏิบัติตามหลักมัชฌิมาปฏิปทา ปฏิบัติไม่ถอยหลัง ปฏิบัติสอดคล้องกับคำสอนของพระพุทธเจ้า ดำรงอยู่ในธรรมวินัย
       (ข้อ ๑ ในสังฆคุณ ๙)

สุปปพุทธะ กษัตริย์โกลิยวงศ์ เป็นพระราชบุตรองค์ที่ ๑ ของพระเจ้าอัญชนะ
       เป็นพระบิดาของพระเทวทัตและพระนางยโสธราพิมพา

สุพาหุ บุตรเศรษฐีเมืองพาราณสี เป็นสหายของยสกุลบุตร ได้ทราบข่าวยสกุลบุตรออกบวช จึงได้บวชตามพร้อมด้วยสหายอีก ๓ คน คือ วิมละ ปุณณชิ และควัมปติ ได้เป็นสาวกรุ่นแรก ที่พระพุทธเจ้าส่งไปประกาศพระศาสนา

สุภัททะ ปัจฉิมสิกขิสาวก (สาวกผู้ทันเห็นองค์สุดท้าย) ของพระพุทธเจ้า เรียกสั้นๆ ว่า ปัจฉิมสาวก
       เดิมเป็นพราหมณ์ตระกูลใหญ่ ต่อมาออกบวชเป็นปริพาชก อยู่ในเมืองกุสินารา ในวันที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน สุภัททปริพาชกได้ยินข่าวแล้ว คิดว่าตนมีข้อสงสัยอยู่อย่างหนึ่ง อยากจะขอให้พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเพื่อแก้ข้อสงสัยนั้นเสียก่อนที่จะปรินิพพาน จึงเดินทางไปยังสาลวัน ตรงไปหาพระอานนท์ แจ้งความประสงค์ขอเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา พระอานนท์ได้ห้ามไว้ เพราะเกรงว่าพระองค์เหน็ดเหนื่อยอยู่แล้ว จะเป็นการรบกวนให้ทรงลำบาก สุภัททปริพาชกก็คะยั้นคะยอจะขอเข้าเฝ้าให้ได้
       พระอานนท์ก็ยืนกรานห้ามอยู่ถึง ๓ วาระ จนพระผู้มีพระภาคทรงได้ยินเสียงโต้ตอบกันนั้น จึงตรัสสั่งพระอานนท์ว่า สุภัททะมุ่งหาความรู้ มิใช่ประสงค์จะเบียดเบียนพระองค์ ขอให้ปล่อยให้เขาเข้าเฝ้าเถิด สุภัททปริพาชกเข้าเฝ้าแล้ว ทูลถามว่า สมณพราหมณ์เจ้าลัทธิที่มีชื่อเสียงทั้งหลาย คือ เหล่าครูทั้ง ๖ นั้น ล้วนได้ตรัสรู้จริงทั้งหมดตามที่ตนปฏิญญา หรือได้ตรัสรู้เพียงบางท่านหรือไม่มีใครตรัสรู้จริงเลย
       พระพุทธเจ้าทรงห้ามเสียและตรัสว่าจะทรงแสดงธรรม คือ หลักการหรือหลักความจริงให้ฟัง แล้วตรัสว่า
           อริยมรรคมีองค์ ๘ หาไม่ได้ในธรรมวินัยใด สมณะ (คืออริยบุคคลทั้ง ๔) ก็หาไม่ได้ในธรรมวินัยนั้น
           อริยมรรคมีองค์ ๘ หาได้ในธรรมวินัยใด สมณะก็หาได้ในธรรมวินัยนั้น
           อริยมรรคมีองค์ ๘ หาได้ในธรรมวินัยนี้ สมณะทั้ง ๔ จึงมีในธรรมวินัยนี้ ลัทธิอื่นๆ ว่างจากสมณะ
       และตรัสสรุปว่า
           ถ้าภิกษุทั้งหลายเป็นอยู่โดยชอบ โลกก็จะไม่ว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย
       เมื่อจบพระธรรมเทศนา สุภัททปริพาชกเลื่อมใสทูลขอบรรพชาอุปสมบท
       พระพุทธเจ้าตรัสสั่งพระอานนท์ให้บวชสุภัททะในสำนักของพระองค์ โดยประทานพุทธานุญาตพิเศษให้ยกเว้นไม่ต้องอยู่ติตถิยปริวาส
       ท่านสุภัททะบวชแล้วไม่นาน (อรรถกถาว่าในวันนั้นเอง) ก็ได้บรรลุอรหัตตผล
       นับเป็นพุทธปัจฉิมสักขิสาวก

สุภัททะ วุฒบรรพชิต “พระสุภัททะผู้บวชเมื่อแก่” ซึ่งเป็นต้นเหตุแห่งการปรารภที่จะทำสังคายนาครั้งที่ ๑
       ก่อนบวช เป็นช่างตัดผมในเมืองอาตุมา มีบุตรชาย ๒ คน เมื่อบวชแล้ว คราวหนึ่งได้ข่าวว่า พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยสงฆ์หมู่ใหญ่จะเสด็จมายังเมืองอาตุมา จึงให้บุตรทั้ง ๒ เอาเครื่องมือตัดผมออกไปเที่ยวขอตัดผมตามบ้านเรือนทุกแห่ง แลกเอาเครื่องปรุงยาคูมาได้มากมาย แล้วบัญชาการให้ผู้คนจัดเตรียมข้าวยาคูไว้เป็นอันมาก
       เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมาถึง ก็นำเอาข้าวยาคูนั้นเข้าไปถวาย
       พระพุทธเจ้าตรัสถาม ทรงทราบความว่า พระสุภัททะได้ข้าวนั้นมาอย่างไรแล้ว ไม่ทรงรับและทรงติเตียน แล้วทรงบัญญัติสิกขาบท ๒ ข้อ คือ
           บรรพชิตไม่พึงชักชวนคนทำในสิ่งที่เป็นอกัปปิยะ และ
           ภิกษุผู้เคยเป็นช่างกัลบกไม่พึงเก็บรักษาเครื่องตัดโกนผมไว้ประจำตัว
       จากการที่ได้ถูกติเตียนและเสียของเสียหน้าเสียใจ ในเหตุการณ์ครั้งนั้น พระสุภัททะก็ได้ผูกอาฆาตไว้
       ต่อมา เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้วได้ ๗ วัน พระสุภัททะร่วมอยู่ในคณะของพระมหากัสสปเถระ ซึ่งกำลังเดินทางจากเมืองปาวาสู่เมืองกุสินารา ระหว่างทางนั้น คณะได้ทราบข่าวพุทธปรินิพพานจากอาชีวกผู้หนึ่ง ภิกษุทั้งหลายที่ยังไม่สิ้นราคะ (คือพระปุถชน โสดาบัน และสกทาคามี) พากันร้องไห้คร่ำครวญเป็นอันมาก
       ในขณะนั้นเอง พระสุภัททะวุฒบรรพชิต ก็ร้องห้ามขึ้นว่า “อย่าเลย ท่านผู้มีอายุ พวกท่านอย่าเศร้าโศก อย่าร่ำไห้ไปเลย พวกเราพ้นดีแล้ว พระมหาสมณะนั้นคอยเบียดเบียนพวกเราว่า สิ่งนี้ควรแก่เธอ สิ่งนี้ไม่ควรแก่เธอ บัดนี้พวกเราปรารถนาสิ่งใด ก็จักกระทำสิ่งนั้น”
       พระมหากัสสปเถระได้ฟังแล้วเกิดธรรมสังเวช ดำริว่า พระพุทธเจ้าปรินิพพานเพียง ๗ วัน ก็ยังเกิดเสี้ยนหนามขึ้นแล้วในพระศาสนา หากต่อไปคนชั่วได้พวกพ้องมีกำลังเติบกล้าขึ้น ก็จะทำพระศาสนาให้เสื่อมถอย ดังนั้น หลังจากเสร็จงานถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระแล้ว ท่านจึงได้ยกถ้อยคำของสุภัททะวุฒบรรพชิต
       นี้ขึ้นเป็นข้อปรารภ ชักชวนพระเถระทั้งหลายร่วมกันทำสังคายนาครั้งแรก

สุภาพ เรียบร้อย, อ่อนโยน, ละมุนละม่อม

สุภาษิต ถ้อยคำที่กล่าวดีแล้ว, คำพูดที่ถือเป็นคติได้

สุภูติ พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นบุตรสุมนเศรษฐี ในพระนครสาวัตถี
       ได้ไปร่วมงานฉลองวัดเชตวันของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา มีความเลื่อมใสบวชในพระพุทธศาสนา
       ต่อมาเจริญวิปัสสนา ทำเมตตาฌานให้เป็นบาทได้สำเร็จพระอรหัต
       พระศาสดาทรงยกย่องว่า เป็นเอตทัคคะ ๒ ทาง คือ
           ในทางอรณวิหาร (เจริญฌานประกอบด้วยเมตตา) และ
           เป็นทักขิไณยบุคคล

สุมนะ ชื่อพระเถระองค์หนึ่งในการกสงฆ์ ผู้ทำสังคายนาครั้งที่ ๒

สุมังคลวิลาสินี ชื่อคัมภีร์อรรถกถาอธิบายความในทีฆนิกาย แห่งพระสุตตันตปิฎก
       พระพุทธโฆษาจารย์เรียบเรียงขึ้น โดยอาศัยอรรถกถาภาษาสิงหฬ เมื่อ พ.ศ. ใกล้จะถึง ๑๐๐๐

สุเมรุ ชื่อหนึ่งของภูเขาเมรุ;
       ดู เมรุ

สุรนาทโวหาร ถ้อยคำที่ฮึกห้าว

สุรสิงหนาท การเปล่งเสียงพูดอย่างองอาจกล้าหาญ หรือพระดำรัสที่เร้าใจปลุกให้ตื่นฟื้นสติขึ้น เหมือนดั่งเสียงบันลือของราชสีห์
       เช่นที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า “กิจอย่างใด อันพระศาสดาผู้เอ็นดู แสวงประโยชน์ เพื่อสาวกทั้งหลายจะพึงทำ กิจนั้นอันเราทำแล้วแก่พวกเธอทุกอย่าง”

สุรเสนะ ชื่อแคว้นหนึ่งในมัชฌิมชนบทในชมพูทวีป ตั้งอยู่ทางใต้ของแคว้นกุรุในระหว่างแม่น้ำสินธุกับแม่น้ำยมุนา ตอนล่าง นครหลวงชื่อมถุรา

สุรา เหล้า, น้ำเมาที่กลั่นแล้ว

สุราบาน การดื่มเหล้า, น้ำเหล้า

สุราปานวรรค ตอนที่ว่าด้วยเรื่องดื่มน้ำเมา เป็นต้น เป็นวรรคที่ ๖ ในปาจิตติยกัณฑ์

สุรามฤต น้ำที่ทำผู้ดื่มให้ไม่ตายของเทวดา, น้ำอมฤตของเทวดา

สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี เว้นจากน้ำเมา คือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
       (ข้อที่ ๕ ในศีล ๕ ศีล ๘ และศีล ๑๐)

สุริยคติ การนับวันโดยถือเอาการเดินของพระอาทิตย์เป็นหลัก เช่นวันที่ ๑, ๒, ๓ เดือนเมษายน เป็นต้น

สุริยุปราคา การจับอาทิตย์ คือเงาดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์

สุวรรณภูมิ “แผ่นดินทอง”, “แหลมทอง”,
       ดินแดนที่พระเจ้าอโศกมหาราชส่งพระโสณะและพระอุตตระ หัวหน้าพระศาสนทูตสายที่ ๘ (ใน ๙ สาย) ไปประกาศพระศาสนา
       ปราชญ์หลายท่านสันนิษฐานว่า ได้แก่ดินแดนบริเวณจังหวัดนครปฐม
       (พม่าว่า ได้แก่เมืองสะเทิมในประเทศพม่า)

สู ท่าน

สูญ ว่างเปล่า, หายสิ้นไป

สูตร พระธรรมเทศนาหรือธรรมกถาเรื่องหนึ่งๆ ในพระสุตตันตปิฎก แสดงเจือด้วยบุคคลาธิษฐาน,
       ถ้าพูดว่า พระสูตร มักหมายถึงพระสุตตันตปิฎกทั้งหมด

สูปะ แกง; คู่กับ พยัญชนะ 2.

เสกขสมมต ผู้ได้รับสมมติเป็นเสขะ หมายถึง ครอบครัวที่สงฆ์ประชุมตกลงแต่งตั้งให้เป็นเสขะ ภิกษุใดไม่เจ็บไข้และเขาไม่ได้นิมนต์ไว้ ไปรับเอาอาหารจากครอบครัวนั้นมาขบฉัน ต้องอาบัติเป็นปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๓

เสขะ ผู้ยังต้องศึกษา ได้แก่ พระอริยบุคคลที่ยังไม่บรรลุอรหัตตผล
       โดยพิสดารมี ๗ คือ ท่านผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค ในโสดาปัตติผล ในสกทาคามิมรรค ในสกทาคามิผล ในอนาคามิมรรค ในอนาคามิผล และในอรหัตตมรรค,
       พูดเอาแต่ระดับเป็น ๓ คือ พระโสดาปัน พระสกทาคามี พระอนาคามี

เสขบุคคล บุคคลที่ยังต้องศึกษาอยู่;
       ดู เสขะ

เสขปฏิปทา ทางดำเนินของพระเสขะ, ข้อปฏิบัติของพระเสขะ ได้แก่ จรณะ ๑๕

เสขภูมิ ภูมิของพระเสขะ, ระดับจิตใจและคุณธรรมของพระอริยบุคคลที่ยังต้องศึกษา

เสขิยวัตร วัตรที่ภิกษุจะต้องศึกษา,
       ธรรมเนียมเกี่ยวกับมารยาทที่ภิกษุพึงสำเหนียก หรือพึงฝึกฝนปฏิบัติ
       มี ๗๕ สิกขาบท จำแนกเป็น
           สารูป ๒๖,
           โภชนปฏิสังยุต ๓๐,
           ธัมมเทสนาปฏิสังยุต ๑๖ และปกิรณะคือเบ็ดเตล็ด ๓,
       เป็นหมวดที่ ๗ แห่งสิกขาบท ในบรรดาสิกขาบท ๒๒๗ ของพระภิกษุ
       ท่านให้สามเณรถือปฏิบัติด้วย

เสตกัณณิกนิคม นิคมที่กั้นอาณาเขตมัชฌิมชนบท ด้านทิศใต้

เสโท, เสท น้ำเหงื่อ, ไคล

เสนา กองทัพ ในครั้งโบราณหมายถึงพลช้าง พลม้า พลรถ พลเดินเท้า เรียกว่า จตุรงคินีเสนา
       (เสนามีองค์ ๔ หรือ เสนา ๔ เหล่า)

เสนานิคม ชื่อหมู่บ้านในตำบลอุรุเวลา
       นางสุชาดาผู้ถวายข้าปายาสแด่พระมหาบุรุษ ในวันที่จะตรัสรู้ อยู่ที่หมู่บ้านนี้

เสนามาตย์ ข้าราชการฝ่ายทหารและพลเรือน

เสนามาร กองทัพมาร, ทหารของพระยามาร

เสนาสนะ เสนะ “ที่นอน” + อาสนะ “ที่นั่ง”
       หมายเอาที่อยู่อาศัย เช่น กุฏิ วิหาร และเครื่องใช้เกี่ยวกับสถานที่ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ แม้โคนไม้
       เมื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย ก็เรียกเสนาสนะ

เสนาสนขันธกะ ชื่อขันธกะที่ ๖ แห่งจุลวรรค ในพระวินัยปิฎก ว่าด้วยเรื่องเสนาสนะ

เสนาสนคาหาปกะ ผู้ให้ถือเสนาสนะ
       หมายถึง ภิกษุผู้ได้รับสมมติ คือแต่งตั้งจากสงฆ์ ให้เป็นผู้ทำหน้าที่จัดแจกเสนาสนะของสงฆ์

เสนาสนปัจจัย ปัจจัยคือเสนาสนะ, เครื่องอาศัยของชีวิต คือที่อยู่ เป็นอย่างหนึ่งในปัจจัยสี่

เสนาสนปัญญาปกะ ผู้แต่งตั้งเสนาสนะ
       หมายถึง ภิกษุผู้ได้รับสมมติ คือแต่งตั้งจากสงฆ์ ให้เป็นผู้มีหน้าที่จัดแจงแต่งตั้งดูแลความเรียบร้อยแห่งเสนาสนะ สำหรับภิกษุทั้งหลายจะได้เข้าพักอาศัย

เสนาสนวัตร ธรรมเนียมหรือข้อที่ภิกษุควรปฏิบัติเกี่ยวกับเสนาสนะ เช่น ไม่ทำเปรอะเปื้อน รักษาความสะอาด จัดวางของให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ใช้สอยระวัง ไม่ทำให้ชำรุด และเก็บของใช้ไม่ให้กระจัดกระจายสับสนกับที่อื่น เป็นต้น

เสนาสนะป่า เสนาสนะอันอยู่ไกลจากบ้านคนอย่างน้อย ๒๕ เส้น

เสพ บริโภค, ใช้สอย, อยู่อาศัย, คบหา

เสพเมถุน ร่วมประเวณี, ร่วมสังวาส

เสมหะ เสลด, เมือกที่ออกจากลำคอ หรือลำไส้

เสมฺหสมุฏฺฐานา อาพาธา ความเจ็บไข้ มีเสมหะเป็นสมุฏฐาน

เสละ พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เกิดในตระกูลพราหมณ์ ในอังคุตตราปะ
       เรียนจบไตรเพท เป็นคณาจารย์สอนศิษย์ ๓๐๐ คน ได้พบพระพุทธเจ้าที่อาปณนิคม เห็นว่า พระองค์สมบูรณ์ด้วยมหาปุริสลักษณะครบถ้วน และได้ทูลถามปัญหาต่างๆ เมื่อฟังพระดำรัสตอบแล้ว มีความเลื่อมใส ขอบวช
       ต่อมาไม่ช้าก็ได้บรรลุพระอรหัต

แส่โทษ หาความผิดใส่, หาเรื่องผิดให้

แสนยากร หมู่ทหาร, กองทัพ

โสกาดูร เดือดร้อนด้วยความโศก, ร้องไห้สะอึกสะอื้น

โสณะ, โสณกะ พระเถระรูปหนึ่งในจำนวน ๒ รูป (อีกรูปหนึ่งคือ พระอุตตรเถระ) ที่พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ส่งเป็นพระศาสนทูตมาประกาศพระศาสนา ในดินแดนสุวรรณภูมิ เมื่อเสร็จสิ้นการสังคายนาครั้งที่ ๓ (ประมาณ พ.ศ. ๒๓๔) นับเป็นสายหนึ่งในพระศาสนทูต ๙ สาย

โสณกุฏิกัณณะ พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นบุตรของอุบาสิกาชื่อกาฬี ซึ่งเป็นพระโสดาบัน
       เกิดที่บ้านเดิมของมารดาในเมืองราชคฤห์ แล้วกลับไปอยู่ในตระกูลบิดาที่แคว้นอวันตี ทักขิณาบถ
       พระมหากัจจายนะให้บรรพชาเป็นสามเณรแล้วรอต่อมาอีก ๓ ปี เมื่อท่านหาภิกษุได้ครบ ๑๐ รูปแล้วจึงให้อุปสมบทเป็นภิกษุ บวชแล้วไม่นานก็สำเร็จพระอรหัต
       ต่อมาท่านได้เดินทางมาเฝ้าพระศาสดาที่เมืองสาวัตถี พร้อมทั้งนำความที่พระอุปัชฌาย์สั่งมา กราบทูลขอพระพุทธานุญาตพิเศษสำหรับปัจจันตชนบท เช่น ให้สงฆ์มีภิกษุ ๕ รูปให้อุปสมบทได้ ให้ใช้รองเท้าหนาหลายชั้นได้ ให้อาบน้ำได้ตลอดทุกเวลา เป็นต้น
       ท่านแสดงธรรมมีเสียงไพเราะแจ่มใสชัดเจน จึงได้รับย่องย่องจากพระศาสดาว่า เป็นเอตทัคคะในทางกล่าวกัลยาณพจน์

โสณโกฬิวิสะ พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เดิมเป็นกุลบุตรชื่อโสณะ ตระกูลโกฬิวิสะ เป็นบุตรของอุสภเศรษฐีแห่งวรรณะแพศย์ ในเมืองกาฬจัมปาก แคว้นอังคะ
       โสณกุลบุตรมีลักษณะพิเศษในร่างกาย คือ มีฝ่ามือฝ่าเท้าอ่อนนุ่ม และมีขนอ่อนขึ้นภายใน อีกทั้งมีความเป็นอยู่อย่างดี ได้รับการบำรุงบำเรอทุกประการ อยู่ในปราสาท ๓ ฤดู จึงได้สมญาว่าเป็น สุขุมาลโสณะ
       ต่อมาพระเจ้าพิมพิสารทรงสดับกิตติศัพท์ จึงรับสั่งให้โสณะเดินทางไปเฝ้าและให้แสดงขนฝ่ามือฝ่าเท้าให้ทอดพระเนตร คราวนั้น โสณะมีโอกาสได้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ได้สดับพระธรรมเทศนา เกิดความเลื่อมใสขอบวช ท่านทำความเพียรอย่างแรงกล้าจนเท้าแตกและเริ่มท้อใจ พระพุทธเจ้าจึงทรงประทานโอวาทด้วยข้ออุปมาเรื่องพิณสามสาย ท่านปฏิบัติตาม ไม่ช้าก็ได้สำเร็จพระอรหัต
       พระศาสดาทรงยกย่องว่า เป็นเอตทัคคะในทางปรารภความเพียร

โสณทัณฑพราหมณ์ พราหมณ์ชื่อโสณทัณฑะ เป็นผู้ที่พระเจ้าพิมพิสารให้ปกครองนครจัมปา

โสณทัณฑสูตร สูตรที่ ๔ ในคัมภีร์ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค พระสุตตันตปิฎก ทรงแสดงแก่โสณทัณฑพราหมณ์

โสณา พระมหาสาวิกาองค์หนึ่ง เป็นธิดาของผู้มีตระกูลในพระนครสาวัตถี
       นางมีสามีแล้ว มีบุตร ๑๔ คน เป็นชาย ๗ คน หญิง ๗ คน ภายหลังสามีถึงแก่กรรม ลูกชายหญิงก็แต่งงานไปหมด จึงออกบวชเป็นภิกษุณี มีความเพียรอย่างแรงกล้า เจริญวิปัสสนาอยู่ในเรือนไฟ ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาได้บรรลุพระอรหัต
       ได้รับยกย่องว่า เป็นเอตทัคคะในทางปรารภความเพียร

โสดาบัน ผู้ถึงกระแสที่จะนำไปสู่นิพพาน,
       พระอริยบุคคลผู้ได้บรรลุโสดาปัตติผล มี ๓ ประเภทคือ
           ๑. เอกพีซี เกิดอีกครั้งเดียว
           ๒. โกลังโกละ เกิดอีก ๒-๓ ครั้ง
           ๓. สัตตักขัตตุปรมะ เกิดอีก ๗ ครั้ง เป็นอย่างมาก

โสดาปัตติผล ผลคือการถึงกระแสสู่นิพพาน,
       ผลที่ได้รับจากการละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ด้วยโสดาปัตติมรรค ทำให้ได้เป็นพระโสดาบัน

โสดาปัตติมรรค ทางปฏิบัติเพื่อบรรลุผล คือความเป็นพระโสดาปัน,
       ญาณ คือความรู้เป็นเหตุละสังโยชน์ได้ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส

โสต หู, ช่องหู

โสตถิยะ ชื่อคนหาบหญ้าที่ถวายหญ้าแด่พระมหาบุรุษในวันที่จะตรัสรู้ พระองค์รับหญ้าจากโสตถิยะแล้วนำไปลาดต่างบัลลังก์ ณ ควงต้นพระศรีมหาโพธิ ด้านทิศตะวันออก แล้วประทับนั่งขัดสมาธิผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก จนกระทั่งตรัสรู้

โสตถิวดี ชื่อนครหลวงของแคว้นเจดี

โสตวิญญาณ ความรู้ที่เกิดขึ้นเพราะเสียงกระทบหู, เสียงกระทบหู เกิดความรู้ขึ้น, การได้ยิน
       (ข้อ ๒ ในวิญญาณ ๖)

โสตสัมผัส อาการที่หู เสียง และโสตวิญญาณประจวบกัน เกิดการได้ยิน

โสตสัมผัสสชาเวทนา เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะโสตสัมผัส,
       ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเพราะการที่หู เสียง และโสตวิญญาณกระทบกัน

โสภณเจตสิก เจตสิกฝ่ายดีงาม มี ๒๕ แบ่งเป็น
       ก. โสภณสาธารณเจตสิก (เจตสิกที่เกิดทั่วไปกับจิตดีงามทุกดวง) ๑๙ คือ
           ศรัทธา
           สติ
           หิริ
           โอตตัปปะ
           อโลภะ
           อโทสะ
           ตัตรมัชฌัตตตา (ความเป็นกลางในอารมณ์นั้นๆ = อุเบกขา)
           กายปัสสัทธิ (ความคลายสงบแห่งกองเจตสิก)
           จิตตปัสสัทธิ (แห่งจิต)
           กายลหุตา (ความเบาแห่งกองเจตสิก)
           จิตตลหุตา (แห่งจิต)
           กายมุทุตา (ความนุ่มนวลแห่งกองเจตสิก)
           จิตตมุทุตา (แห่งจิต)
           กายกัมมัญญตา (ความควรแก่งานแห่งกองเจตสิก)
           จิตตกัมมัญญตา (แห่งจิต)
           กายปาคุญญตา (ความคล่องแคล่วแห่งกองเจตสิก)
           จิตตปาคุญญตา (แห่งจิต)
           กายุชุกตา (ความซื่อตรงแห่งกองเจตสิก)
           จิตตุชุกตา (แห่งจิต)
       ข. วีรตีเจตสิก (เจตสิกที่เป็นตัวงดเว้น) ๓ คือ
           สัมมาวาจา
           สัมมากัมมันตะ
           สัมมาอาชีวะ
       ค. อัปปมัญญาเจตสิก (เจตสิกคืออัปปมัญญา) ๒ คือ
           กรุณา
           มุทิตา
           (อีก ๒ ซ้ำกับ อโทสะ และตัตรมัชฌัตตตา)
       ง. ปัญญินทรียเจตสิก ๑ คือ
           ปัญญินทรีย์ หรือ อโมหะ

โสภิตะ พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เกิดในตระกูลพราหมณ์ ในพระนครสาวัตถี
       ต่อมาได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา มีความเลื่อมใส ขอบวช ไม่ช้าก็บรรลุพระอรหัต
       ได้รับยกย่องว่า เป็นเอตทัคคะในทางปุพเพนิวาสานุสสติญาณ

โสมนัส ความดีใจ, ความสุขใจ, ความปลาบปลื้ม;
       ดู เวทนา

โสรัจจะ ความเสงี่ยม, ความมีอัธยาศัยงาม รักความประณีตหมดจดและสงบเรียบร้อย
       (ข้อ ๒ ในธรรมทำให้งาม ๒)

โสวจัสสตา ความเป็นบุคคลที่พูดด้วยง่าย, ความเป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย รู้จักรับฟังเหตุผล
       (ข้อ ๔ ในนาถกรณธรรม ๑๐)

โสสานิกังคะ องค์แห่งผู้ถืออยู่ป่าช้าเป็นวัตร คืออยู่แรมคืนในป่าช้าเป็นประจำ
       (ข้อ ๑๑ ในธุดงค์ ๑๓)

โสโส โรคมองคร่อ (มีเสมหะแห้งอยู่ในลำหลอดปอด)

ไสยา การนอน

ไสยาวสาน การนอนครั้งสุดท้าย, การนอนครั้งที่สุด

หงายบาตร การระงับโทษอุบาสกซึ่งเคยปรารถนาร้ายต่อพระรัตนตรัย สงฆ์ประกาศ คว่ำบาตร ไว้มิให้ภิกษุทั้งหลายคบหาด้วย
       ต่อมา อุบาสกนั้นรู้สึกโทษตน กลับประพฤติดี สงฆ์จึงประกาศระงับโทษนั้น ให้ภิกษุทั้งหลายคบกับเขาได้อีก เช่น รับบิณฑบาต รับนิมนต์ รับไทยธรรมของเขาได้ เป็นต้น
       การที่สงฆ์ประกาศระงับการลงโทษนั้น เรียกว่า หงายบาตร

หทัย หัวใจ

หน ทิศ เช่น หนบูร (ทิศตะวันออก)

หฤทัย หัวใจ

หลักกำหนดธรรมวินัย หลักตัดสินธรรมวินัย หรือลักษณะตัดสินธรรมวินัย ๘ อย่าง คือ
       ก. ธรรมเหล่าใด เป็นไป
           ๑. เพื่อความย้อมใจติด
           ๒. เพื่อความประกอบทุกข์
           ๓. เพื่อความพอกพูนกิเลส
           ๔. เพื่อความมักมากอยากใหญ่
           ๕. เพื่อความไม่สันโดษ
           ๖. เพื่อความคลุกคลีในหมู่
           ๗. เพื่อความเกียจคร้าน
           ๘. เพื่อความเลี้ยงยาก,
       ธรรมเหล่านี้ พึงรู้ว่าไม่ใช่ธรรม ไม่ใช่วินัย ไม่ใช่สัตถุศาสน์,
       ข. ธรรมเหล่าใดเป็นไป
           ๑. เพื่อความคลายหายติด
           ๒. เพื่อความไม่ประกอบทุกข์
           ๓. เพื่อความไม่พอกพูนกิเลส
           ๔. เพื่อความมักน้อย
           ๕. เพื่อความสันโดษ
           ๖. เพื่อความสงัด
           ๗. เพื่อการประกอบความเพียร
           ๘. เพื่อความเลี้ยงง่าย,
       ธรรมเหล่านี้พึงรู้ว่า เป็นธรรม เป็นวินัย เป็นสัตถุศาสน์

หลิททวสนนิคม นิคมหนึ่งอยู่ในโกลิยชนบท

หัตถ์ มือ

หัตถกรรม การทำด้วยฝีมือ, การช่าง

หัตถบาส บ่วงมือ คือที่ใกล้ตัวชั่วคนหนึ่ง (นั่งตัวตรง) เหยียดแขนออกไปจับตัวอีกคนหนึ่งได้
       ท่านว่าเท่ากับช่วง ๒ ศอกคืบ (๒ ศอกกับหนึ่งคืบ หรือ ๒ ศอกครึ่ง) วัดจากส่วนสุดด้านหลังของผู้เหยียดมือออกไป (เช่น ถ้ายืน วัดจากส้นเท้า, ถ้านั่ง วัดจากสุดหลังอวัยวะที่นั่ง)
       โดยนัยนี้ ท่านว่า นั่งห่างกันได้ไม่เกิน ๑ ศอก

หายนะ ความเสื่อม

หิตานุหิต ประโยชน์เกื้อกูลน้อยใหญ่

หิมพานต์ มีหิมะ, ปกคลุมด้วยหิมะ,
       ชื่อภูเขาใหญ่ที่อยู่ทางทิศเหนือของประเทศอินเดีย บัดนี้เรียกภูเขาหิมาลัย,
       ป่าที่อยู่รอบบริเวณภูเขานี้ ก็เรียกกันว่า ป่าหิมพานต์;
       หิมวันต์ ก็เรียก

หิมวันต์ ดู หิมพานต์

หิรัญญวดี แม่น้ำสุดท้ายที่พระพุทธเจ้าเสด็จข้าม เมื่อเสด็จไปเมืองกุสินารา ในวันที่จะปรินิพพาน สาลวโนทยานของมัลลกษัตริย์ ที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน อยู่ริมฝั่งแม่น้ำนี้,
       ปัจจุบันเรียกแม่น้ำคัณฑักน้อย (Little Gandak) อยู่ห่างจากแม่น้ำคัณฑักใหญ่ไปทางตะวันตกประมาณ ๑๓ กิโลเมตร และไหลลงไปบรรจบแม่น้ำสรภู ซึ่งปัจจุบันเรียก Gogra

หิริ ความละอายแก่ใจ คือละอายต่อความชั่ว
       (ข้อ ๑ ในธรรมคุ้มครองโลก ๒, ข้อ ๓ ในอริยทรัพย์ ๗, ข้อ ๒ ในสัทธรรม ๗)

หีนยาน ยานเลว, ยานที่ด้อย,
       เป็นคำที่พวกอุตรนิกาย (พุทธศาสนาฝ่ายเหนือ) เรียกทักษิณนิกาย (พุทธศาสนาฝ่ายใต้ อย่างที่นับถือกันในไทย พม่า ลังกา เป็นต้น)
       ปัจจุบันนิยมเรียกว่า เถรวาท

เหฏฐิมทิส “ทิศเบื้องต่ำ” หมายถึง บ่าว คือ คนรับใช้หรือคนงาน;
       ดู ทิศ ๖

เหตุ สิ่งที่ให้เกิดผล, เค้ามูล, เรื่องราว, สิ่งที่ก่อเรื่อง

เหตุผลสนธิ หัวเงื่อนระหว่างเหตุในอดีตกับผลในปัจจุบัน หรือหัวเงื่อนระหว่างเหตุในปัจจุบันกับผลในอนาคต ในวงจรปฏิจจสมุปบาท
       (เหตุในอดีต คืออวิชชาและสังขาร, ผลในปัจจุบัน คือวิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา,
       เหตุในปัจจุบัน คือตัณหา อุปาทาน ภพ, ผลในอนาคต คือชาติ ชรา มรณะ)

เห็นชอบ ดู สัมมาทิฏฐิ

เหมกมาณพ ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คน ของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา ที่ปาสาณเจดีย์

เหมันตฤดู ฤดูหนาว

ให้กล่าวธรรมโดยบท สอนธรรมโดยให้ว่าพร้อมกันกับตน คือ ว่าขึ้นพร้อมกัน จบลงพร้อมกัน
       (สิกขาบทที่ ๓ แห่งมุสาวาทวรรค ปาจิตติยกัณฑ์)

ให้ทานโดยเคารพ ตั้งใจให้อย่างดี เอื้อเฟื้อแก่ของที่ตัวให้และผู้รับทาน ไม่ทำอาการดุจทิ้งเสีย

ให้นิสัย ดู นิสัย

ให้ลำบาก ดู วิเหสกกรรม

ให้โอกาส ดู โอกาส

อกนิษฐ์ รูปพรหมชั้นสูงสุดในพรหม ๑๖ ชั้น และเป็นสุทธาวาสภูมิชั้นสูงสุด
       (ข้อ ๕ ในสุทธาวาส ๕)

อกรณียะ กิจอันบรรพชิตไม่ควรทำ ๔ อย่าง ทำแล้วขาดจากความเป็นภิกษุ คือ
       ๑. เสพเมถุน
       ๒. ลักของเขาตั้งแต่ ๕ มาสกขึ้นไป
       ๓. ฆ่ามนุษย์
       ๔. อวดคุณพิเศษ (อุตริมนุสธรรม) ที่ไม่มีในตน
           (สำหรับภิกษุณี มี ๘);
       ดู อนุศาสน์

อกัปปิยะ ไม่ควร, ไม่สมควรแก่ภิกษุจะบริโภคใช้สอย
       คือ ต้องห้ามด้วยพระพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาตให้ภิกษุใช้หรือฉัน,
       สิ่งที่ตรงข้ามกับ กัปปิยะ

อกัปปิยวัตถุ สิ่งที่ไม่เหมาะไม่ควร คือ ภิกษุไม่ควรบริโภคใช้สอย

อกปฺปิเย กปฺปิยสญฺญิตา อาการที่จะต้องอาบัติด้วยสำคัญว่าควร ในของที่ไม่ควร

อกาละ เวลาอันไม่ควร

อกาลจีวร จีวรที่เกิดขึ้นนอกเขต จีวรกาล นอกเขตอานิสงส์กฐิน

อกาลิโก พระธรรมไม่ประกอบด้วยกาล,
       ให้ผลไม่จำกัดกาล คือ ไม่ขึ้นกับกาลเวลา ไม่จำกัดด้วยกาล ให้ผลแก่ผู้ปฏิบัติทุกเวลา ทุกโอกาส บรรลุเมื่อใด ก็ได้รับผลเมื่อนั้น ไม่เหมือนผลไม้ที่ให้ผลตามฤดู,
       อีกอย่างหนึ่ง ว่าเป็นจริงอยู่อย่างไร ก็เป็นจริงอยู่อย่างนั้นเรื่อยไป
       (ข้อ ๓ ในธรรมคุณ ๖)

อกิริยทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่เป็นอันทำ, เห็นว่าการกระทำไม่มีผล
       อธิบายอย่างง่าย เช่น ทำชั่ว หากไม่มีคนรู้คนเห็น ไม่มีคนชม ไม่มีคนลงโทษ ก็ชื่อว่าไม่เป็นอันทำ
       เป็นมิจฉาทิฏฐิร้ายแรงอย่างหนึ่ง
       (ข้อ ๑ ในทิฏฐิ ๓)

อกุปปธรรม ผู้มีธรรมที่ไม่กำเริบ
       คือ ผู้ที่เมื่อได้สมาบัติแล้ว สมาบัตินั้นจะไม่เสื่อมไปเลย ได้แก่พระอริยบุคคลทั้งหมด;
       เทียบ กุปปธรรม

อกุศล บาป, ชั่ว, ไม่ฉลาด, ความชั่ว, กรรมชั่ว

อกุศลกรรม กรรมที่เป็นอกุศล, กรรมชั่ว, บาป,
       การกระทำที่ไม่ดี คือ เกิดจาก อกุศลมูล
       ดู กรรม

อกุศลกรรมบถ ทางแห่งกรรมชั่ว, ทางแห่งกรรมที่เป็นอกุศล,
       กรรมชั่วอันเป็นทางนำไปสู่ทุคติ มี ๑๐ อย่าง คือ
       ก. กายกรรม ๓ ได้แก่
           ๑. ปาณาติบาต การทำลายชีวิต
           ๒. อทินนาทาน ถือเอาของที่เขามิได้ให้
           ๓. กาเมสุมิจฉาจาร ประพฤติผิดในกาม
       ข. วจีกรรม ๔ ได้แก่
           ๔. มุสาวาท พูดเท็จ
           ๕. ปิสุณาวาจา พูดส่อเสียด
           ๖. ผรุสวาจา พูดคำหยาบ
           ๗. สัมผัปปลาปะ พูดเพ้อเจ้อ
       ค. มโนกรรม ๓ ได้แก่
           ๘. อภิชฌา ละโมบคอยจ้องอยากได้ของเขา
           ๙. พยาบาท คิดร้ายเขา
           ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ เห็นผิดจากคลองธรรม;
       เทียบ กุศลกรรมบถ

อกุศลจิตตุปบาท จิตอกุศลเกิดขึ้น, ความคิดชั่ว

อกุศลเจตนา เจตนาที่เป็นอกุศล, ความตั้งใจชั่ว, ความคิดชั่ว

อกุศลเจตสิก เจตสิกอันเป็นอกุศล ได้แก่ ความชั่วที่เกิดขึ้นภายในใจ แต่งจิตให้เป็นบาป
       มี ๑๔ อย่าง แยกเป็น
       ก. สัพพากุศลสาธารณเจตสิก (เจตสิกที่เกิดทั่วไปกับอกุศลจิตทุกดวง) ๔ คือ
           โมหะ อหิริกะ(ไม่ละอายต่อบาป) อโนตตัปปะ(ไม่กลัวบาป) อุทธัจจะ
       ข. ปกิณณกอกุศลเจตสิก (อกุศลเจตสิกที่เกิดกับอกุศลจิตเรี่ยรายไป) ๑๐ คือ
           โลภะ ทิฏฐิ มานะ โทสะ อิสสา(ริษยา)
           มัจฉริยะ กุกกุจจะ(เดือดร้อนใจ) ถีนะ(หดหู่) มิทธะ(ง่วงงุน) วิจิกิจฉา

อกุศลธรรม ธรรมที่เป็นอกุศล, ธรรมฝ่ายอกุศล, ธรรมที่ชั่ว, ธรรมฝ่ายชั่ว

อกุศลมูล รากเหง้าของอกุศล, ต้นเหตุของอกุศล,
       ต้นเหตุของความชั่ว มี ๓ อย่าง คือ โลภะ โทสะ โมหะ

อกุศลวิตก ความตริตรึกที่เป็นอกุศล,
       ความนึกคิดที่ไม่ดี มี ๓ อย่าง คือ
           ๑. กามวิตก คิดแส่ไปในทางกาม หาทางปรนปรือตน
           ๒. พยาบาทวิตก คิดในทางพยาบาท
           ๓. วิหิงสาวิตก คิดในทางเบียดเบียนผู้อื่น

อคติ ฐานะอันไม่พึงถึง, ทางความประพฤติที่ผิด,
       ความลำเอียง มี ๔ คือ
           ๑. ฉันทาคติ ลำเอียงเพราะรัก
           ๒. โทสาคติ ลำเอียงเพราะชัง
           ๓. โมหาคติ ลำเอียงเพราะเขลา
           ๔. ภยาคติ ลำเอียงเพราะกลัว

อโคจร บุคคลและสถานที่อันภิกษุไม่ควรไปมาหาสู่
       มี ๖ คือ หญิงแพศยา หญิงหม้าย สาวเทื้อ ภิกษุณี บัณเฑาะก์ (กะเทย) และร้านสุรา

องค์
       1. ส่วน, ภาค, ตัว, อวัยวะ, ลักษณะ, คุณสมบัติ, ส่วนประกอบ
       2. ลักษณนามใช้เรียกภิกษุสามเณร นักบวชอื่นจากพวก และสิ่งที่เคารพบูชาบางอย่างในทางศาสนา
           เช่น พระพุทธรูป ๒ องค์ พระเจดีย์ ๔ องค์,
           สำหรับภิกษุสามเณร ในภาษาเขียนท่านให้ใช้ รูป

องค์ฌาน (บาลี ว่า ฌานงฺค) องค์ประกอบของฌาน,
       องค์ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกันเข้าเป็นฌานขั้นหนึ่งๆ
       เช่น ปีติ สุข เอกัคคตา รวมกันเรียกว่า ฌานที่ ๒ หรือทุติยฌาน;
       องค์ฌานทั้งหมดในฌานต่างๆ นับแยกเป็นหน่วยๆ ไม่ซ้ำกัน มีทั้งหมด ๖ อย่าง คือ
           วิตก ความตรึก
           วิจาร ความตรอง
           ปีติ ความอิ่มใจ
           สุข ความสุข
           อุเบกขา ความมีจิตเรียบสมดุลเป็นกลาง และ
           เอกัคคตา ความมีอารมณ์หนึ่งเดียว;
       ดู ฌาน

องค์มรรค (บาลีว่า มคฺคงฺค) องค์ประกอบของมรรค,
       องค์ธรรม ๘ อย่าง มีสัมมาทิฏฐิ เป็นต้น ที่ประกอบกันเข้าเป็นมรรค
       หรือที่เรียกชื่อเต็มว่า อริยอัฏฐังคิกมรรค;
       ดู มรรค 1.

องค์แห่งธรรมกถึก ๕ คือ
       ๑. แสดงธรรมไปตามลำดับไม่ตัดลัดให้สับสน หรือขาดความ
       ๒. ชี้แจงยกเหตุผลมาแสดงให้ผู้ฟังเข้าใจ
       ๓. สอนเขาด้วยเมตตา ตั้งจิตปรารถนาให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
       ๔. ไม่แสดงธรรมเพราะเห็นแก่ลาภ
       ๕. ไม่แสดงธรรมกระทบตนและผู้อื่น คือ ไม่ยกตน ไม่เสียดสีข่มขี่ผู้อื่น

องค์แห่งภิกษุใหม่ ๕ คือ
       ๑. ปาฏิโมกขสังวร สำรวมในพระปาฏิโมกข์
       ๒. อินทรียสังวร สำรวมอินทรีย์ทั้ง ๖
       ๓. ภัสสปริยันตะ พูดคุยมีขอบเขต ไม่เอิกเกริกเฮฮา
       ๔. กายวูปกาสะ อยู่ในเสนาสนะอันสงัด
       ๕. สัมมาทัสสนะ ตั้งตนไว้ในความเห็นชอบ

องคุลิมาล พระมหาสาวกองค์หนึ่งของพระพุทธเจ้า เคยเป็นมหาโจรโด่งดัง เป็นบุตรของภัคควพราหมณ์ ผู้เป็นปุโรหิตของพระเจ้าโกศล มารดาชื่อนางมันตานีพราหมณ์
       เดิมชื่ออหิงสกะ (แปลว่า “ผู้ไม่เบียดเบียน”) ไปศึกษาศิลปศาสตร์ในสำนักอาจารย์ทิศาปาโมกข์ เมืองตักสิลา มีความรู้และความประพฤติดี เพื่อนศิษย์ด้วยกันริษยา ยุอาจารย์ให้กำจัดเสีย อาจารย์ลวงด้วยอุบายให้ไปฆ่าคนครบหนึ่งพัน แล้วจะมอบวิชาวิเศษอย่างหนึ่งให้ จึงกลายเป็นมหาโจรผู้โหดร้ายทารุณ ตัดนิ้วมือคนที่ตนฆ่าตายแล้ว ร้อยเป็นพวงมาลัย จึงได้ชื่อว่า องฺคุลิมาล (แปลว่า “มีนิ้วเป็นพวงมาลัย”)
       ภายหลังพระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดกลับใจได้ ขอบวช ต่อมาก็ได้สำเร็จพระอรหัต
       ท่านเป็นต้นแห่งพุทธบัญญัติไม่ให้บวชโจรที่ขึ้นชื่อโด่งดัง

อจิตตกะ ไม่มีเจตนา เป็นชื่อของอาบัติพวกหนึ่งที่เกิดขึ้นโดยสมุฏฐานที่แม้ไม่มีเจตนา
       คือ ถึงแม้ไม่จงใจทำก็ต้องอาบัติ
       เช่น ฉันอาหารในเวลาวิกาล ดื่มน้ำเมา เป็นต้น

อเจลก ชีเปลือย, นักบวชไม่นุ่งผ้า

อเจลกวรรค ตอนที่ว่าด้วยเรื่องเกี่ยวกับชีเปลือย เป็นต้น, เป็นชื่อหมวดอาบัติปาจิตตีย์ วรรคที่ ๕

อชปาลนิโครธ ต้นไทรเป็นที่อาศัยของคนเลี้ยงแพะ,
       ชื่อต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าประทับนั่งเสวยวิมุตติสุขเป็นเวลา ๗ วัน อยู่ทิศตะวันออกของต้นศรีมหาโพธิ์;
       ดู วิมุตติสุข

อชาตปฐพี ปฐพีไม่แท้ คือดินที่เป็นหินเป็นกรวด เป็นกระเบื้อง เป็นแร่ เป็นทรายล้วน หรือมีดินร่วนดินเหนียวน้อย เป็นของอื่นมากก็ดี ดินที่ไฟเผาแล้วก็ดี กองดินร่วน หรือกองดินเหนียว ที่ฝนตกรดหย่อนกว่า ๔ เดือนก็ดี

อชาตศัตรู โอรสของพระเจ้าพิมพิสารกับพระนางโกศลเทวี กษัตริย์แคว้นมคธ
       ขณะพระนางโกศลเทวีทรงครรภ์ ได้แพ้ท้องอยากเสวยโลหิตของพระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าพิมพิสารทรงทราบจึงเอาพระขรรค์แทงพระชานุ (เข่า) รองพระโลหิตให้พระนางเสวย โหรทำนายว่า พระโอรสที่อยู่ในครรภ์เกิดมาจะทำปิตุฆาต พระนางโกศลเทวีพยายามทำลายด้วยการให้แท้งเสีย แต่ไม่สำเร็จ ในที่สุดคิดจะรีด แต่พระเจ้าพิมพิสารทรงห้ามไว้ เมื่อครบกำหนดประสูติเป็นกุมาร จึงตั้งพระนามพระโอรสว่า อชาตศัตรู แปลว่า “เป็นศัตรูตั้งแต่ยังไม่เกิด”
       ในที่สุดเจ้าชายอชาตศัตรูก็คบคิดกับพระเทวทัตฆ่าพระราชบิดาตามที่โหรทำนายไว้ และได้ขึ้นครองราชสมบัติแคว้นมคธ ณ กรุงราชคฤห์ แต่ทรงสำนึกและกลับพระทัยได้ หันมาทรงอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนา และได้เป็นพุทธศาสนูปถัมภก ในการสังคายนาครั้งที่ ๑
       (คำ อชาตศัตรู บางท่านแปลใหม่ว่า “มิได้เกิดมาเป็นศัตรู”)

อชิตมาณพ หัวหน้าศิษย์ ๑๖ คนของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา ที่ปาสาณเจดีย์

อชินปเวณิ เครื่องลาดที่ทำด้วยหนังสัตว์ชื่ออชินะ มีขนอ่อนนุ่ม จัดเป็นอุจจาสยนะมหาสยนะอย่างหนึ่ง

อญาณตา อาการที่จะต้องอาบัติด้วยไม่รู้

อณุ, อณู สิ่งเล็กๆ, ละเอียด

อดิเรก
       1. เกินกำหนด, ยิ่งกว่าปกติ, ส่วนเกิน, เหลือเฟือ, ส่วนเพิ่มเติม, ส่วนเพิ่มพิเศษ
       2. ถวายอติเรก หรือ ถวายอดิเรก คือพระสงฆ์ถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และหรือสมเด็จพระบรมราชินี ท้ายพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศล ในระหว่างอนุโมทนา ถ้ากล่าวในพระราชฐานต้องต่อท้ายด้วยถวายพระพรลา, เรียกอย่างนี้เพราะขึ้นต้นว่า “อติเรกวสฺสสตํ ชีวตุฯ”

อดิเรกจีวร ดู อติเรกจีวร

อดีต ล่วงแล้ว

อดีตกาล เวลาที่ล่วงแล้ว

อติถิพลี ต้อนรับแขก (ข้อ ๒ ในพลี ๕ แห่งโภคอาทิยะ ๕)

อติมานะ ดูหมิ่นท่าน, ความถือตัวว่า เหนือกว่ายิ่งกว่าเขา (ข้อ ๑๔ ในอุปกิเลส ๑๖)

อติเรก ดู อดิเรก

อติเรกจีวร จีวรเหลือเฟือ, ผ้าส่วนเกิน
       หมายถึง ผ้าที่เขาถวายภิกษุเพิ่มเข้ามา นอกจากผ้าที่อธิษฐานเป็นไตรจีวร;
       ตรงข้ามกับ จีวรอธิษฐาน;
       อดิเรกจีวร ก็เรียก

อติเรกบาตร บาตรของภิกษุที่เขาถวายเพิ่มเข้ามา นอกจากบาตรอธิษฐาน พระพุทธเจ้าอนุญาตให้ภิกษุมีบาตรไว้ใช้ใบเดียว ซึ่งเรียกว่าบาตรอธิษฐาน หากมีหลายใบ ตั้งแต่ใบที่ ๒ ขึ้นไป เรียกว่าอติเรกบาตร

อติเรกปักษ์ เกินเวลาปักษ์หนึ่ง คือเกิน ๑๕ วัน แต่ยังไม่ถึงเดือน

อติเรกมาส เกินเวลาเดือนหนึ่ง

อติเรกลาภ ลาภเหลือเฟือ, ลาภส่วนพิเศษ, ลาภเกินปรกติ

อติเรกวีสติวรรค สงฆ์พวกที่กำหนดจำนวนเกิน ๒๐ รูป

อตีตานาคตังสญาณ ญาณเป็นเครื่องรู้ถึงเรื่องที่ล่วงมาแล้ว และเรื่องที่ยังไม่มาถึง,
       ญาณหยั่งรู้ทั้งอดีตและอนาคต

อตีตังสญาณ ญาณหยั่งรู้ส่วนอดีต, ปรีชากำหนดรู้เหตุการณ์ที่ล่วงไปแล้ว อันเป็นเหตุให้ได้รับผลในปัจจุบัน
       (ข้อ ๑ ในญาณ ๓)

อเตกิจฉา แก้ไขไม่ได้, เยียวยาไม่ได้
       หมายถึงอาบัติมีโทษหนักถึงที่สุด ต้องแล้วขาดจากความเป็นภิกษุ คือ อาบัติปาราชิก;
       คู่กับ สเตกิจฉา

อถัพพนเพท ชื่อคัมภีร์พระเวทลำดับที่ ๔ ว่าด้วยคาถาอาคมทางไสยศาสตร์ การปลุกเสกต่างๆ เป็นส่วนเพิ่มเข้ามาต่อจาก ไตรเพท;
       อาถัพพนเวท, อถรรพเวท, อาถรรพณเวท ก็เขียน

อทินนาทาน ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยอาการแห่งขโมย, ขโมยสิ่งของ, ลักทรัพย์
       (ข้อ ๒ ในกรรมกิเลส ๔ ในอกุศลกรรมบถ ๑๐)

อทินนาทานา เวรมณี เว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้, เว้นการลักขโมย
       (ข้อ ๒ ในศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ และกุศลกรรมบถ ๑๐)



อทิสสมานกาย กายที่มองไม่เห็น, ผู้มีกายไม่ปรากฏ, ไม่ปรากฏร่าง, มองไม่เห็นตัว
       กล่าวคือ เป็นวิสัยของผู้มีฤทธิ์บางประเภท (วิกุพพนฤทธิ์) อาจทำการบางอย่างโดยไม่ให้ผู้อื่นมองเห็นร่างกาย;
       อีกอย่างหนึ่ง เป็นความเชื่อของพราหมณ์ว่า บรรพบุรุษที่ตายไป มีถิ่นเป็นที่อยู่เรียกว่า ปิตฤโลก ยังทรงอยู่ด้วยเป็นอทิสสมานกาย ความเชื่อนี้คนไทยก็รับมาแต่ให้บรรพบุรุษเหล่านั้น คงอยู่ที่บ้านเรือนเดิม อย่างที่เรียกว่า ผีเรือน

อทุกขมสุข (ความรู้สึก)ไม่ทุกข์ไม่สุข, ความรู้สึกเฉยๆ (ข้อ ๓ ในเวทนา ๓)
       บางทีเรียก อุเบกขา (คือ อุเบกขาเวทนา)

อโทสะ ความไม่คิดประทุษร้าย, ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ คือตรงข้ามกับโทสะ
       ได้แก่ เมตตา
       (ข้อ ๒ ในกุศลมูล ๓)

อธรรม ไม่ใช่ธรรม, ไม่เป็นธรรม, ผิดธรรม, ชั่วร้าย

อธรรมวาที ผู้กล่าวสิ่งที่มิใช่ธรรม, ผู้ไม่พูดตามหลักไม่พูดตามธรรม, ผู้พูดไม่เป็นธรรม, ผู้ไม่เป็นธรรมวาที

อธิกมาส เดือนที่เพิ่มขึ้นตามจันทรคติ (คือในปีนั้นมีเดือน ๘ สองหน รวมเป็น ๑๓ เดือน)

อธิกรณ์ เรื่องที่เกิดขึ้นแล้วจะต้องจัดต้องทำ, เรื่องที่สงฆ์ต้องดำเนินการ มี ๔ อย่าง คือ
       ๑. วิวาทาธิกรณ์ การเถียงกันเกี่ยวกับพระธรรมวินัย
       ๒. อนุวาทาธิกรณ์ การโจทหรือกล่าวหากันด้วยอาบัติ
       ๓. อาปัตตาธิกรณ์ การต้องอาบัติ การปรับอาบัติ และการแก้ไขตัวให้พ้นจากอาบัติ
       ๔. กิจจาธิกรณ์ กิจธุระต่างๆ ที่สงฆ์จะต้องทำ เช่น ให้อุปสมบท ให้ผ้ากฐิน,
       ในภาษาไทยอธิกรณ์มีความหมายเลือนลางลงและแคบเข้า กลายเป็น คดีความ โทษ เป็นต้น

อธิกรณสมถะ ธรรมเครื่องระงับอธิกรณ์, วิธีดำเนินการเพื่อระงับอธิกรณ์มี ๗ อย่าง คือ
       ๑. สัมมุขาวินัย วิธีระงับในที่พร้อมหน้า
       ๒. สติวินัย วิธีระงับโดยถือสติเป็นหลัก
       ๓. อมูฬหวินัย วิธีระงับสำหรับผู้หายจากเป็นบ้า
       ๔. ปฏิญญาตกรณะ การทำตามที่รับ
       ๕. ตัสสปาปิยสิกา การตัดสินลงโทษแก่ผู้ผิด (ที่ไม่รับ)
       ๖. เยภุยยสิกา การตัดสินตามคำของคนข้างมาก
       ๗. ติณวัตถารกวินัย วิธีดุจกลบไว้ด้วยหญ้า (ประนีประนอม)

อธิกวาร วันที่เพิ่มขึ้นในปีจันทรคติ (คือในปีนั้น เติมให้เดือนเจ็ดเป็นเดือนเต็ม มี ๓๐ วัน)

อธิกสุรทิน วันทางสุริยคติที่เพิ่มขึ้น (คือเพิ่มวันเข้าในเดือนกุมภาพันธ์อีกวันหนึ่ง เป็น ๒๙ วัน)

อธิการ
       1. เรื่อง, ตอน เช่น “ในอธิการนี้” หมายความว่า ในเรื่องนี้ ในตอนนี้
       2. อำนาจ, การปกครอง, บังคับบัญชา, ตำแหน่ง, หน้าที่, กิจการ, ภาระ, สิทธิ,
           เคยเรียกเจ้าอาวาสที่ไม่เป็นเปรียญและไม่มีสมณศักดิ์อย่างอื่นว่า พระอธิการ และ
           เรียกเจ้าอาวาสเช่นนั้นที่เป็นเจ้าคณะตำบลว่า เจ้าอธิการ

อธิจิตตสิกขา การศึกษาในอธิจิตต์, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมจิตต์ เพื่อให้เกิดสมาธิอย่างสูง, การฝึกฝนอบรมจิต เพื่อให้เกิดสมาธิอย่างสูง, การฝึกฝนอบรมจิตในให้เข้มแข็งมั่นคงมีคุณธรรม เช่น ขันติ เมตตา กรุณา สดชื่น เบิกบาน เป็นสุข ผ่องใส เหมาะแก่การใช้ความคิดพิจารณา เป็นฐานแห่งการเจริญปัญญา
       (ข้อ ๒ ในสิกขา ๓ หรือไตรสิกขา)
       เรียกกันง่ายๆ ว่า สมาธิ

อธิบดี ใหญ่ยิ่ง, ผู้เป็นใหญ่, หัวหน้า

อธิบาย ไขความ, ขยายความ, ชี้แจง;
       ความประสงค์

อธิปเตยยะ, อธิปไตย ความเป็นใหญ่ มี ๓ อย่าง คือ
       ๑. อัตตาธิปไตย ความมีตนเป็นใหญ่
       ๒. โลกาธิปไตย ความมีโลกเป็นใหญ่
       ๓. ธัมมาธิปไตย ความมีธรรมเป็นใหญ่

อธิปัญญาสิกขา การศึกษาในอธิปัญญา,
       ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมปัญญา เพื่อให้เกิดความรู้แจ้งอย่างสูง มองเห็นสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง จนจิตใจหลุดพ้นเป็นอิสระ ปราศจากกิเลสและความทุกข์
       (ข้อ ๓ ในสิกขา ๓ หรือไตรสิกขา)
       เรียกกันง่ายๆ ว่า ปัญญา

อธิมุตติ อัธยาศัย, ความโน้มเอียง, ความคิดมุ่งไป, ความมุ่งหมาย

อธิโมกข์
       1. ความปลงใจ, ความตกลงใจ, ความปักใจในอารมณ์
       2. ความน้อมใจเชื่อ, ความซาบซึ้งศรัทธาหรือเลื่อมใสอย่างแรงกล้า ซึ่งทำให้จิตใจเจิดจ้าหมดความเศร้าหมอง แต่ไม่เป็นไปตามแนวทางแห่งเหตุผล

อธิวาสนขันติ ความอดทนคือความอดกลั้น

อธิศีลสิกขา การศึกษาในอธิศีล, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมในทางความประพฤติอย่างสูง, การฝึกฝนอบรมความประพฤติทางกาย วาจา คือ ระเบียบวินัย การอยู่ร่วมกับผู้อื่นและในสิ่งแวดล้อมต่างๆ ด้วยดี ให้เกื้อกูล ไม่เบียดเบียน ไม่ทำลาย เป็นพื้นฐานแห่งการฝึกอบรมจิตใจในอธิจิตตสิกขา
       (ข้อ ๑ ในสิกขา ๓ หรือไตรสิกขา),
       เขียนอย่างบาลีเป็น อธิสีลสิกขา และ เรียกกันง่ายๆ ว่า ศีล

อธิษฐาน
       1. ในทางพระวินัย แปลว่า การตั้งเอาไว้หรือตั้งใจกำหนดเอาไว้ คือ ตั้งเอาไว้เป็นของนั้นๆ หรือตั้งใจกำหนดเอาไว้ว่าจะใช้เป็นของประจำตัวชนิดนั้นๆ
           เช่น ได้ผ้ามาผืนหนึ่ง ตั้งใจว่าจะใช้เป็นอะไร คือจะเป็นสังฆาฏิ อุตตราสงค์ อันตรวาสก ก็อธิษฐานเป็นอย่างนั้นๆ เมื่ออธิษฐานแล้ว ของนั้นเรียกว่าเป็นของอธิษฐาน เช่น เป็นสังฆาฏิอธิษฐาน จีวรอธิษฐาน (นิยมเรียกกันว่า จีวรครอง) ตลอดจนบาตรอธิษฐาน
           ส่วนของชนิดนั้น ที่ได้เพิ่มมาอีกหรือเกินจากนั้นไปก็เป็นอติเรก เช่น เป็นอติเรกจีวร อติเรกบาตร,
           คำอธิษฐาน เช่น “อิมํ สงฺฆาฏึ อธิฏฺฐามิ”
           (ถ้าอธิษฐานของอื่น ก็เปลี่ยนไปตามชื่อของนั้น เช่น เป็น อุตฺตราสงฺคํ, อนฺตรวาสกํ เป็นต้น)
       2. ความตั้งใจมั่น, การตัดสินใจเด็ดเดี่ยว, ความมั่นคง เด็ดเดี่ยว แน่วแน่ในทางดำเนินและจุดมุ่งหมายของตน (ข้อ ๘ ในบารมี ๑๐),
           ในภาษาไทยมักใช้ในความหมายว่า ความตั้งใจมุ่งผลอย่างใดอย่างหนึ่ง, ความตั้งจิตปรารถนา

อธิษฐานธรรม ธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ,
       ธรรมเป็นที่มั่น มี ๔ อย่าง คือ
           ๑. ปัญญา
           ๒. สัจจะ
           ๓. จาคะ
           ๔. อุปสมะ (รู้จักหาความสงบใจ)

อธิษฐานพรรษา ความตั้งใจกำหนดลงไปว่าจะอยู่จำพรรษา ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดไตรมาส (๓ เดือน);
       ดู จำพรรษา

อธิษฐานอุโบสถ อุโบสถที่ทำด้วยการอธิษฐาน ได้แก่ อุโบสถที่ภิกษุรูปเดียวทำ
       กล่าวคือ เมื่อในวัดมีภิกษุรูปเดียวถึงวันอุโบสถ เธอพึงอธิษฐานคือตั้งใจหรือกำหนดใจว่า
           “อชฺช เม อุโปสโถ” แปลว่า “วันนี้อุโบสถของเรา”
       เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ปุคคลอุโบสถ (อุโบสถของบุคคล หรือทำโดยบุคคล);
       ดู อุโบสถ

อนติริตตะ (อาหาร) ซึ่งไม่เป็นเดน
       (ที่ว่าเป็นเดน มี ๒ คือเป็นเดนภิกษุใช้ ๑ เป็นของที่ภิกษุทำให้เป็นเดน ๑)

อนธการ ความมืด, ความโง่เขลา;
       เวลาค่ำ

อนภิชฌา ไม่โลภอยากได้ของเขา, ไม่คิดจ้องจะเอาของเขา
       (ข้อ ๘ ในกุศลกรรมบถ ๑๐)

อนริยปริเยสนา การแสวงหาที่ไม่เป็นอริยะ
       คือ แสวงหาสิ่งที่ยังตกอยู่ในชาติ ชรามรณะ หรือสิ่งที่ระคนอยู่ด้วยทุกข์
       กล่าวคือ แสวงหาสิ่งอันทำให้ติดอยู่ในโลก,
       สำหรับชาวบ้าน ท่านว่า หมายถึง การแสวงหาในทางมิจฉาชีพ
       (ข้อ ๑ ในปริเยสนา ๒)

อนวิเสส หาส่วนเหลือมิได้, ไม่เหลือเลย, สิ้นเชิง

อนังคณสูตร ชื่อสูตรที่ ๕ แห่งมัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ พระสุตตันตปิฎก
       เป็นคำสนทนาระหว่างพระสารีบุตรกับพระโมคคัลลานะ ว่าด้วยกิเลสอันยวนใจ และความต่างแห่งผู้มีกิเลสยวนใจกับผู้ไม่มีกิเลสยวนใจ

อนัตตตา ความเป็นอนัตตา คือมิใช่ตัวมิใช่ตน (ข้อ ๓ ในไตรลักษณ์);
       ดู อนัตตลักษณะ

อนัตตลักขณสูตร ชื่อพระสูตรที่แสดงลักษณะแห่งเบญจขันธ์ ว่าเป็นอนัตตา
       พระศาสดาทรงแสดงแก่ภิกษุปัญจวัคคีย์ ภิกษุปัญจวัคคีย์ได้สำเร็จพระอรหัต ด้วยได้ฟังอนัตตลักขณสูตรนี้
       (มาในมหาวรรค พระวินัยปิฎก และในสังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค พระสุตตันตปิฎก)

อนัตตลักษณะ ลักษณะที่เป็นอนัตตา,
       ลักษณะที่ให้เห็นว่าเป็นของมิใช่ตัวตน โดยอรรถต่างๆ
           ๑. เป็นของสูญ คือ เป็นเพียงการประชุมเข้าขององค์ประกอบที่เป็นส่วนย่อยๆ ทั้งหลาย ว่างเปล่าจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา หรือการสมมติเป็นต่างๆ
           ๒. เป็นสภาพหาเจ้าของมิได้ ไม่เป็นของใครจริง
           ๓. ไม่อยู่ในอำนาจ ไม่เป็นไปตามความปรารถนา ไม่ขึ้นต่อการบังคับบัญชาของใครๆ
           ๔. เป็นสภาวธรรมที่ดำรงอยู่หรือเป็นตามธรรมดาของมัน เช่น ธรรมที่เป็นสังขตะ คือสังขาร ก็เป็นไปตามเหตุปัจจัย ขึ้นต่อเหตุปัจจัย ไม่มีอยู่โดยลำพังตัว แต่เป็นไปโดยสัมพันธ์ อิงอาศัยกันอยู่กับสิ่งอื่นๆ
           ๕. โดยสภาวะของมันเอง ก็แย้งหรือค้านต่อความเป็นอัตตา มีแต่ภาวะที่ตรงข้ามกับความเป็นอัตตา;
       ดู ทุกขลักษณะ, อนิจจลักษณะ

อนัตตสัญญา กำหนดหมายถึงความเป็นอนัตตาแห่งธรรมทั้งหลาย
       (ข้อ ๒ ในสัญญา ๑๐)

อนัตตา ไม่ใช่อัตตา, ไม่ใช่ตัวใช่ตน;
       ดู อนัตตลักษณะ

อนัตตานุปัสสนา การพิจารณาเห็นในสภาพที่เป็นอนัตตา คือหาตัวตนเป็นแก่นสารมิได้

อนันต์ ไม่มีที่สิ้นสุด, มากเหลือเกิน, มากจนนับไม่ได้

อนันตริยกรรม กรรมหนัก, กรรมที่เป็นบาปหนักที่สุด ตัดทางสวรรค์ ตัดทางนิพพาน,
       กรรมที่ให้ผลคือ ความเดือดร้อนไม่เว้นระยะเลย มี ๕ อย่าง คือ
           ๑. มาตุฆาต ฆ่ามารดา
           ๒. ปิตุฆาต ฆ่าบิดา
           ๓. อรหันตฆาต ฆ่าพระอรหันต์
           ๔. โลหิตุปบาท ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงยังพระโลหิตให้ห้อขึ้นไป
           ๕. สังฆเภท ทำสงฆ์ให้แตกกัน

อนาคต ยังไม่มาถึง, เรื่องที่ยังไม่มาถึง, เวลาที่ยังไม่มาถึง

อนาคตังสญาณ ญาณหยั่งรู้ส่วนอนาคต, ปรีชากำหนดรู้คาดผลข้างหน้า อันสืบเนื่องจากเหตุในปัจจุบันหรือในอนาคตก่อนเวลานั้น
       (ข้อ ๒ ในญาณ ๓)

อนาคามิผล ผลที่ได้รับจากการละสังโยชน์ คือ กามราคะ และปฏิฆะด้วยอนาคามิมรรค อันทำให้เป็นพระอนาคามี

อนาคามิมรรค ทางปฏิบัติเพื่อบรรลุผล คือความเป็นพระอนาคามี,
       ญาณ คือความรู้เป็นเหตุละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้ทั้ง ๕
       (คือ ละได้เด็ดขาดอีก ๒ อย่าง ได้แก่ กามราคะ และปฏิฆะ เพิ่มจาก ๓ อย่างที่พระโสดาบันละได้แล้ว)

อนาคามี พระอริยบุคคลผู้ได้บรรลุอนาคามิผล มี ๕ ประเภท คือ
       ๑. อันตราปรินิพพายี ผู้ปรินิพพานในระหว่างอายุยังไม่ถึงกึ่ง (หมายถึงโดยกิเลสปรินิพพาน)
       ๒. อุปหัจจปรินิพพายี ผู้ปรินิพพานเมื่อจวนจะถึงสิ้นอายุ
       ๓. อสังขารปรินิพพายี ผู้นิพพานโดยไม่ต้องใช้ความเพียรนัก
       ๔. สสังขารปรินิพพายี ผู้ปรินิพพานโดยต้องใช้ความเพียรมาก
       ๕. อุทธังโสโต อกนิฏฐคามี ผู้มีกระแสในเบื้องบนไปสู่อกนิฏฐภพ

อนาคาริยวินัย วินัยของอนาคาริก; ดู วินัย ๒

อนาจาร ความประพฤติไม่ดีไม่งาม ไม่เหมาะสมแก่บรรพชิต แยกเป็น ๓ ประเภท คือ
       ๑. การเล่นต่างๆ เช่น เล่นอย่างเด็ก
       ๒. การร้อยดอกไม้
       ๓. การเรียนดิรัจฉานวิชา เช่น ทายหวย ทำเสน่ห์

อนาณัตติกะ อาบัติที่ต้องเฉพาะทำเอง ไม่ต้องเพราะสั่ง คือสั่งให้ผู้อื่นทำไม่ต้องอาบัติ
       เช่น สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๑ (แต่สั่งให้ทำแก่ตน ไม่พ้นอาบัติ)

อนาถบิณฑิก อุบาสกคนสำคัญในสมัยพุทธกาล เดิมชื่อ สุทัตต์ เป็นเศรษฐีอยู่ที่เมืองสาวัตถี
       ต่อมาได้นับถือพระพุทธศาสนา บรรลุโสดาปัตติผล เป็นผู้มีศรัทธาแรงกล้า สร้างวัดพระเชตวันถวายแด่พระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์ที่เมืองสาวัตถี ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ประทับจำพรรษารวมทั้งหมดถึง ๑๙ พรรษา
       ท่านอนาถบิณฑิก นอกจากอุปถัมภ์บำรุงพระภิกษุสงฆ์แล้ว ยังได้สงเคราะห์คนยากไร้อนาถาอย่างมากมายเป็นประจำ จึงได้ชื่อว่า อนาถบิณฑิก ซึ่งแปลว่า “ผู้มีก้อนข้าวเพื่อคนอนาถา”
       ท่านได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในหมู่ทายกฝ่ายอุบาสก

อนาถา ไม่มีที่พึ่ง, ยากจน, เข็ญใจ

อนาบัติ ไม่เป็นอาบัติ

อนาปัตติวาร ตอนว่าด้วยข้อยกเว้นที่ไม่ต้องปรับอาบัตินั้นๆ
       ตามปกติอยู่ท้ายคำอธิบายสิกขาบทแต่ละข้อ ในคัมภีร์วิภังค์ พระวินัยปิฎก

อนามัฏฐบิณฑบาต อาหารที่ภิกษุบิณฑบาตได้มายังไม่ได้ฉัน จะให้แก่ผู้อื่นที่ไม่ใช่ภิกษุด้วยกันไม่ได้ นอกจากมารดาบิดา

อนามาส วัตถุอันภิกษุไม่ควรจับต้อง เช่น ร่างกายและเครื่องแต่งกายสตรี เงินทอง อาวุธ เป็นต้น

อนาโรจนา “การไม่บอก” คือ ไม่บอกประจานตัวแก่ภิกษุทั้งหลายภายในเขต ๒ เลฑฑุบาตจากเครื่องล้อมหรือจากอุปจารแห่งอาวาส ให้รู้ทั่วกันว่าตนต้องอาบัติสังฆาทิเสส กำลังอยู่ปริวาสหรือประพฤติมานัตต์;
       เป็นเหตุอย่างหนึ่งของการขาดราตรีแห่งมานัตต์หรือปริวาส
       ผู้ประพฤติมานัตต์ ต้องบอกทุกวัน แต่ผู้อยู่ปริวาส ไม่ต้องบอกทุกวัน ปกตัตตภิกษุรูปใดยังไม่ได้รับบอก เธอบอกแก่ภิกษุรูปนั้นครั้งหนึ่งแล้ว ไม่ต้องบอกอีกตลอดกาลที่อยู่ในอาวาสหรือในอนาวาสนั้น แต่ต้องบอกในท้ายอุโบสถ ท้ายปวารณาเมื่อถึงวันนั้นๆ และภิกษุใดได้รับบอกแล้ว ออกจากอาวาสหรืออนาวาสนั้นไป เมื่อกลับมาใหม่ต้องได้รับบอกอีก;
       ดู รัตติเฉท

อนาวรณญาณ ปรีชาหยั่งรู้ที่ไม่มีอะไรๆ มากั้นได้
       หมายความว่า รู้ตลอด, รู้ทะลุปรุโปร่ง เป็นพระปรีชาญาณเฉพาะของพระพุทธเจ้า ไม่ทั่วไปแก่พระสาวก

อนาวาส ถิ่นที่มิใช่อาวาส คือ ไม่เป็นวัด

อนาสวะ ไม่มีอาสวะ, อันหาอาสวะมิได้

อนิจจตา ความเป็นของไม่เที่ยง, ภาวะที่สังขารทั้งปวงเป็นสิ่งไม่เที่ยงไม่คงที่
       (ข้อ ๑ ในไตรลักษณ์)

อนิจจลักษณะ ลักษณะที่เป็นอนิจจะ,
       ลักษณะที่ให้เห็นว่าเป็นของไม่เที่ยง ไม่คงที่ ได้แก่
           ๑. เป็นไปโดยการเกิดขึ้นและสลายไป คือ เกิดดับๆ มีแล้วก็ไม่มี
           ๒. เป็นของแปรปรวน คือ เปลี่ยนแปลงแปรสภาพไปเรื่อยๆ
           ๓. เป็นของชั่วคราว อยู่ได้ชั่วขณะๆ
           ๔. แย้งต่อความเที่ยง คือ โดยสภาวะของมันเอง ก็ปฏิเสธความเที่ยงอยู่ในตัว;
       ดู ทุกขลักษณะ, อนัตตลักษณะ

อนิจจสัญญา กำหนดหมายถึงความไม่เที่ยงแห่งสังขาร
       (ข้อ ๑ ในสัญญา ๑๐)

อนิจจัง ไม่เที่ยง, ไม่คงที่, สภาพที่เกิดมีขึ้นแล้วก็ดับล่วงไป;
       ดู อนิจจลักษณะ, ไตรลักษณ์

อนิฏฐารมณ์ อารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา, สิ่งที่คนไม่อยากได้ไม่อยากพบ
       แสดงในแง่ตรงข้ามกับกามคุณ ๕ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่ไม่น่ารักใคร่ ไม่น่าชอบใจ
       แสดงในแง่โลกธรรม ได้แก่ ความเสื่อมลาภ ความเสื่อมยศ การนินทา และความทุกข์;
       เทียบ อิฏฐารมณ์

อนิมิตตวิโมกข์ หลุดพ้นด้วยไม่ถือนิมิต
       คือ หลุดพ้นด้วยพิจารณาเห็นนามรูปเป็นอนิจจะ แล้วถอนนิมิตได้
       (ข้อ ๒ ในวิโมกข์ ๓)

อนิมิตตสมาธิ สมาธิอันพิจารณาธรรมไม่มีนิมิต
       คือ วิปัสสนาที่ให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดอนิจจลักษณะ
       (ข้อ ๒ ในสมาธิ ๓)

อนิมิสเจดีย์ สถานที่พระพุทธเจ้าเสด็จยืนจ้องดูต้นพระศรีมหาโพธิด้วยมิได้กระพริบพระเนตรตลอด ๗ วัน อยู่ทางทิศอีสานของต้นพระศรีมหาโพธิ์;
       ดู วิมุตติสุข

อนิยต ไม่แน่, ไม่แน่นอน เป็นชื่ออาบัติที่ยังไม่แน่ ระหว่างปาราชิก สังฆาทิเสส หรือปาจิตตีย์ ซึ่งพระวินัยธรจะต้องวินิจฉัย

อนิยตสิกขาบท สิกขาบทที่วางอาบัติไว้ไม่แน่ คือ ยังไม่ระบุชัดลงไปว่าเป็นปาราชิก หรือสังฆาทิเสส หรือปาจิตตีย์,
       มี ๒ สิกขาบท

อนึก กองทัพ คือ ช้าง ม้า รถ พลเดิน ที่จัดเป็นกองๆ แล้ว

อนุเคราะห์ เอื้อเฟื้อ, ช่วยเหลือ; ความเอื้อเฟื้อ, การช่วยเหลือ

อนุชน คนที่เกิดตามมา, คนรุ่นหลัง, คนรุ่นต่อๆ ไป

อนุชา ผู้เกิดทีหลัง, น้อง

อนุญาต ยินยอม, ยอมให้, ตกลง

อนุฎีกา ปกรณ์ที่พระอาจารย์ทั้งหลายแต่งแก้หรืออธิบายเพิ่มเดิมฎีกา

อนุฏฐานไสยา “การนอนที่ไม่มีการลุกขึ้น”, การนอนครั้งสุดท้าย
       โดยทั่วไปหมายถึง การบรรทมครั้งสุดท้ายของพระพุทธเจ้า ในคราวเสด็จดับขันธปรินิพพาน

อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺส พระสงฆ์เป็นนาบุญอย่างยอดเยี่ยมของโลก
       เป็นแหล่งเพาะปลูกและเผยแพร่ความดีอย่างสูงสุด
       เพราะพระสงฆ์เป็นผู้บริสุทธิ์ เป็นผู้ฝึกฝนอบรมตน และเป็นผู้เผยแพร่ธรรม
       ไทยธรรมที่ถวายแก่ท่าน ย่อมมีผลอำนวยประโยชน์สุขอย่างกว้างขวางและตลอดกาลยาวนาน
       เหมือนนามีพื้นดินอันดี พืชที่หว่านไปย่อมเผล็ดผลไพบูลย์
       (ข้อ ๙ ในสังฆคุณ ๙)

อนุตตริยะ ภาวะที่ยอดเยี่ยม,
       สิ่งที่ยอดเยี่ยม มี ๓ คือ
           ๑. ทัสสนานุตตริยะ การเห็นอันเยี่ยม คือ เห็นธรรม
           ๒. ปฏิปทานุตตริยะ การปฏิบัติอันเยี่ยม คือ มรรคมีองค์ ๘
           ๓. วิมุตตานุตตริยะ การพ้นอันเยี่ยม คือ พ้นกิเลสและกองทุกข์;
       อนุตตริยะ อีกหมวดหนึ่งมี ๖ คือ
           ๑. ทัสสนานุตตริยะ การเห็นอันเยี่ยม
           ๒. สวนานุตตริยะ การฟังอันเยี่ยม
           ๓. ลาภานุตตริยะ ลาภหรือการได้อันเยี่ยม
           ๔. สิกขานุตตริยะ การศึกษาอันเยี่ยม
           ๕. ปาริจริยานุตตริยะ การบำรุงอันเยี่ยม
           ๖. อนุสสตานุตตริยะ การระลึกอันเยี่ยม
       ดู คำอธิบายที่คำนั้นๆ

อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ ทรงเป็นสารถี ฝึกคนที่ควรฝึกได้เป็นเยี่ยม ทรงรู้จักใช้อุบายให้เหมาะแก่บุคคล สอนเขาได้โดยไม่ต้องใช้อาชญา และทำให้เขาบรรลุผลที่พึงได้ เต็มตามกำลังความสามารถของเขา
       (ข้อ ๖ ในพุทธคุณ ๙)

อนุทูต ทูตติดตาม,
       ในพระวินัย หมายถึง ภิกษุที่สงฆ์สมมติให้เป็นตัวแทนของสงฆ์ เดินทางร่วมไปกับภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงโทษด้วย ปฏิสารณียกรรม ให้ไปขอขมาคฤหัสถ์ ในกรณีที่เธอไม่อาจไปตามลำพัง
       อนุทูตทำหน้าที่ช่วยพูดกับคฤหัสถ์นั้นเป็นส่วนตนหรือในนามของสงฆ์ เพื่อให้ตกลงรับขมา เมื่อตกลงกันแล้ว รับอาบัติที่ภิกษุนั้นแสดงต่อหน้าเขาแล้วจึงให้ขมา

อนุบัญญัติ บัญญัติเพิ่มเติม, บทแก้ไขเพิ่มเติมที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติเสริม หรือผ่อนพระบัญญัติที่วางไว้เดิม;
       คู่กับ บัญญัติ หรือ มูลบัญญัติ

อนุบุพพิกถา ดู อนุปุพพิกถา

อนุบุรุษ คนรุ่นหลัง, คนที่เกิดทีหลัง

อนุปสัมบัน ผู้ยังมิได้อุปสมบท ได้แก่ คฤหัสถ์และสามเณร (รวมทั้งสิกขมานาและสามเณรี),
       ผู้มิใช่ภิกษุหรือภิกษุณี;
       เทียบ อุปสัมบัน

อนุปาทินนกสังขาร สังขารที่กรรมไม่ยึดครอง
       แปลกันง่ายๆ ว่า “สังขารที่ไม่มีใจครอง” เช่น ต้นไม้ ภูเขา เป็นต้น
       (ข้อ ๒ ในสังขาร ๒)

อนุปาทิเสสนิพพาน นิพพานไม่มีอุปาทิเหลือ,
       ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ คือ สิ้นทั้งกิเลสและชีวิต หมายถึง พระอรหันต์สิ้นชีวิต,
       นิพพานในแง่ที่เป็นภาวะดับภพ;
       เทียบ สอุปาทิเสสนิพพาน

อนุปาทิเสสบุคคล บุคคลผู้ไม่มีเชื้อกิเลสเหลือ,
       ผู้หมดอุปาทานสิ้นเชิง ได้แก่ พระอเสขะ คือ พระอรหันต์;
       เทียบ สอุปาทิเสสบุคคล

อนุปิยนิคม นิคมแห่งหนึ่งของมัลลกษัตริย์ ในแขวงมัลลชนบท อยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองกบิลพัสดุ์

อนุปิยอัมพวัน ชื่อสวน อยู่ในเขตอนุปิยนิคม แขวงมัลลชนบท เป็นที่พระมหาบุรุษเสด็จพักแรม ๗ วัน หลังจากเสด็จออกบรรพชาใหม่ๆ ก่อนเสด็จต่อไปสู่เมืองราชคฤห์ ในแคว้นมคธ
       และต่อมาเป็นที่เจ้าศากยะ มี อนุรุทธ และอานนท์ เป็นต้น พร้อมด้วยอุบาลี ออกบวช

อนุปุพพปฏิปทา ข้อปฏิบัติโดยลำดับ, การปฏิบัติตามลำดับ

อนุปุพพวิหาร ธรรมเป็นเครื่องอยู่โดยลำดับ,
       ธรรมเครื่องอยู่ที่ประณีตต่อกันขึ้นไปโดยลำดับ มี ๙ คือ
           รูปฌาน ๔
           อรูปฌาน ๔ และ
           สัญญาเวทยิตนิโรธ (สมาบัติที่ดับสัญญาและเวทนา)

อนุปุพพิกถา เทศนาที่แสดงไปโดยลำดับ
       เพื่อฟอกอัธยาศัยของสัตว์ให้หมดจดเป็นชั้นๆ จากง่ายไปหายาก
       เพื่อเตรียมจิตของผู้ฟังให้พร้อมที่จะรับฟังอริยสัจจ์
       มี ๕ คือ
           ๑. ทานกถา พรรณนาทาน
           ๒. สีลกถา พรรณนาศีล
           ๓. สัคคกถา พรรณนาสวรรค์ คือ ความสุขที่พรั่งพร้อมด้วยกาม
           ๔. กามาทีนวกถา พรรณนาโทษของกาม
           ๕. เนกขัมมานิสังสกถา พรรณาอานิสงส์แห่งการออกจากกาม
       อนุปุพพีกถา ก็มีใช้

อนุพยัญชนะ ลักษณะน้อยๆ,
       พระลักษณะข้อปลีกย่อยของพระมหาบุรุษ (นอกเหนือจากมหาบุรุษลักษณะ ๓๒)
       อีก ๘๐ ประการ คือ
           ๑. มีนิ้วพระหัตถ์และนิ้วพระบาทอันเหลืองงาม
           ๒. นิ้วพระหัตถ์และนิ้วพระบาทเรียวออกไป โดยลำดับแต่ต้นจนปลาย
           ๓. นิ้วพระหัตถ์ แลนิ้วพระบาทกลมดุจนายช่างกลึงเป็นอันดี
           ๔. พระนขาทั้ง ๒๐ มีสีอันแดง
           ๕. พระนขาทั้ง ๒๐ นั้นงอนงามช้อนขึ้นเบื้องบนมิได้ค้อมลงเบื้องต่ำ ดุจเล็บแห่งสามัญชนทั้งปวง
           ๖. พระนขานั้นมีพรรณอันเกลี้ยงกลม สนิทมิได้เป็นริ้วรอย
           ๗. ข้อพระหัตถ์และข้อพระบาทซ่อนอยู่ในพระมังสะ มิได้สูงขึ้นปรากฏออกมาภายนอก
           ๘. พระบาททั้งสองเสมอกัน มิได้ย่อมใหญ่กว่ากัน มาตรว่าเท่าเมล็ดงา
           ๙. พระดำเนินงามดุจอาการเดินแห่งกุญชรชาติ
           ๑๐. พระดำเนินงามดุจสีหราช
           ๑๑. พระดำเนินงามดุจดำเนินแห่งหงส์
           ๑๒. พระดำเนินงามดุจอุสภราชดำเนิน
           ๑๓. ขณะเมื่อยืนจะย่างดำเนินนั้น ยกพระบาทเบื้องขวาย่างไปก่อน พระกายเยื้องไปข้างเบื้องขวาก่อน
           ๑๔. พระชานุมณฑลเกลี้ยงกลมงามบริบูรณ์ บ่มิได้เห็นอัฏฐิสะบ้าปรากฏออกมาภายนอก
           ๑๕. มีบุรุษพยัญชนะบริบูรณ์ คือมิได้มีกิริยามารยาทคล้ายสตรี
           ๑๖. พระนาภีมิได้บกพร่อง กลมงามมิได้วิกลในที่ใดที่หนึ่ง
           ๑๗. พระอุทรมีสัณฐานอันลึก
           ๑๘. ภายในพระอุทรมีรอยเวียนเป็นทักขิณาวัฏฏ
           ๑๙. ลำพระเพลาทั้งสองกลมงามดุจลำสุวรรณกัททลี
           ๒๐. ลำพระกรทั้งสองงามดุจงวงแห่งเอราวัณเทพยหัตถี
           ๒๑. พระอังคาพยพใหญ่น้อยทั้งปวงจำแนกเป็นอันดี คือ งามพร้อมทุกสิ่งหาที่ตำหนิบ่มิได้
           ๒๒. พระมังสะที่ควรจะหนาก็หนา ที่ควรจะบางก็บางตามที่ทั่วทั้งประสรีรกาย
           ๒๓. พระมังสะมิได้หดหู่ในที่ใดที่หนึ่ง
           ๒๔. พระสรีรกายทั้งปวงปราศจากต่อมและไฝปาน มูลแมลงวันมิได้มีในที่ใดที่หนึ่ง
           ๒๕. พระกายงามบริสุทธิ์พร้อมสมกันโดยตามลำดับทั้งเบื้องบนแลเบื้องล่าง
           ๒๖. พระกายงามบริสุทธิ์พร้อมสิ้นปราศจากมลทินทั้งปวง
           ๒๗. ทรงพระกำลังมาก เสมอด้วยกำลังแห่งกุญชรชาติ ประมาณถึงพันโกฏิช้าง ถ้าจะประมาณด้วยกำลังบุรุษก็ได้ถึงแสนโกฏิบุรุษ
           ๒๘. มีพระนาสิกอันสูง
           ๒๙. สัณฐานนาสิกงามแฉล้ม
           ๓๐. มีพระโอษฐ์เบื้องบนเบื้องต่ำมิได้เข้าออกกว่ากัน เสมอเป็นอันดี มีพรรณแดงงามดุจสีผลตำลึงสุก
           ๓๑. พระทนต์บริสุทธิ์ปราศจากมูลมลทิน
           ๓๒. พระทนต์ขาวดุจดังสีสังข์
           ๓๓. พระทนต์เกลี้ยงสนิทมิได้เป็นริ้วรอย
           ๓๔. พระอินทรีย์ทั้ง ๕ มีจักขุนทรีย์เป็นอาทิงามบริสุทธิ์ทั้งสิ้น
           ๓๕. พระเขี้ยวทั้ง ๔ กลมบริบูรณ์
           ๓๖. ดวงพระพักตร์มีสัณฐานยาวสวย
           ๓๗. พระปรางค์ทั้งสองดูเปล่งงามเสมอกัน
           ๓๘. ลายพระหัตถ์มีรอยอันลึก
           ๓๙. ลายพระหัตถ์มีรอยอันยาว
           ๔๐. ลายพระหัตถ์มีรอยอันตรง บ่มิได้ค้อมคด
           ๔๑. ลายพระหัตถ์มีรอยอันแดงรุ่งเรือง
           ๔๒. รัศมีพระกายโอภาสเป็นปริมณฑลโดยรอบ
           ๔๓. กระพุ้งพระปรางค์ทั้งสองเคร่งครัดบริบูรณ์
           ๔๔. กระบอกพระเนตรกว้างแลยาวงามพอสมกัน
           ๔๕. ดวงพระเนตรกอปรด้วยประสาททั้ง ๕ มีขาวเป็นอาทิผ่องใสบริสุทธิ์ทั้งสิ้น
           ๔๖. ปลายเส้นพระโลมาทั้งหลายมิได้งอมิได้คด
           ๔๗. พระชิวหามีสัณฐานอันงาม
           ๔๘. พระชิวหาอ่อนบ่มิได้กระด้างมีพรรณอันแดงเข้ม
           ๔๙. พระกรรณทั้งสองมีสัณฐานอันยาวดุจกลีบปทุมชาติ
           ๕๐. ช่องพระกรรณมีสัณฐานอันกลมงาม
           ๕๑. ระเบียบพระเส้นทั้งปวงนั้นสละสลวยบ่มิได้หดหู่ในที่อันใดอันหนึ่ง
           ๕๒. แถวพระเส้นทั้งหลายซ่อนอยู่ในพระมังสะทั้งสิ้น บ่มิได้เป็นคลื่นฟูขึ้นเหมือนสามัญชนทั้งปวง
           ๕๓. พระเศียรมีสัณฐานงามเหมือนฉัตรแก้ว
           ๕๔. ปริมณฑลพระนลาฏโดยกว้างยาวพอสมกัน
           ๕๕. พระนลาฏมีสัณฐานอันงาม
           ๕๖. พระโขนงมีสัณฐานอันงามดุจคันธนูอันก่งไว้
           ๕๗. พระโลมาที่พระโขนงมีเส้นอันละเอียด
           ๕๘. เส้นพระโลมาที่พระโขนงงอกขึ้นแล้วล้มราบไปโดยลำดับ
           ๕๙. พระโขนงนั้นใหญ่
           ๖๐. พระโขนงนั้นยาวสุดหางพระเนตร
           ๖๑. ผิวพระมังสะละเอียดทั่วทั้งพระกาย
           ๖๒. พระสรีรกายรุ่งเรืองไปด้วยสิริ
           ๖๓. พระสรีรกายมิได้มัวหมอง ผ่องใสอยู่เป็นนิตย์
           ๖๔. พระสรีรกายสดชื่นดุจดวงดอกปทุมชาติ
           ๖๕. พระสรีรสัมผัสอ่อนนุ่มสนิท บ่มิได้กระด้างทั่วทั้งพระกาย
           ๖๖. กลิ่นพระกายหอมฟุ้งดุจกลิ่นสุคนธกฤษณา
           ๖๗. พระโลมามีเส้นเสมอกันทั้งสิ้น
           ๖๘. พระโลมามีเส้นละเอียดทั่วทั้งพระกาย
           ๖๙. ลมอัสสาสะและปัสสาสะลมหายพระทัยเข้าออกก็เดินละเอียด
           ๗๐. พระโอษฐมีสัณฐานอันงามดุจแย้ม
           ๗๑. กลิ่นพระโอษฐหอมดุจกลิ่นอุบล
           ๗๒. พระเกสาดำเป็นแสง
           ๗๓. กลิ่นพระเกสาหอมฟุ้งขจรตลบ
           ๗๔. พระเกสาหอมดุจกลิ่นโกมลบุบผชาติ
           ๗๕. พระเกสามีสัณฐานเส้นกลมสลวยทุกเส้น
           ๗๖. พระเกสาดำสนิททั้งสิ้น
           ๗๗. พระเกสากอปรด้วยเส้นอันละเอียด
           ๗๘. เส้นพระเกสามิได้ยุ่งเหยิง
           ๗๙. เส้นพระเกสาเวียนเป็นทักขิณาวัฏฏทุกๆ เส้น
           ๘๐. วิจิตรไปด้วยระเบียบพระเกตุมาลา กล่าวคือถ่องแถวแห่งพระรัศมีอันโชตนาการขึ้น ณ เบื้องบนพระอุตมังคสิโรตม์ฯ
       นิยมเรียกว่า อสีตยานุพยัญชนะ;
       ดู มหาบุรุษลักษณะ

อนุพุทธะ ผู้ตรัสรู้ตาม
       คือ ตรัสรู้ด้วยได้สดับเล่าเรียนและปฏิบัติตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอน
       ได้แก่ พระอรหันตสาวกทั้งหลาย;
       ดู พุทธะ

อนุพุทธปวัตติ ประวัติของพระสาวก ผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้า;
       เขียนสามัญเป็น อนุพุทธประวัติ

อนุมัติ เห็นตาม, ยินยอม, เห็นชอบตามระเบียบที่กำหนดไว้

อนุมาน คาดคะเน, ความคาดหมาย

อนุมานสูตร สูตรที่ ๑๕ ในมัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ พระสุตตันตปิฎก
       เป็นภาษิตของพระมหาโมคคัลลานะ กล่าวสอนภิกษุทั้งหลาย
       ว่าด้วยธรรมอันทำคนให้เป็นผู้ว่ายากหรือว่าง่าย การแนะนำตักเตือนตนเอง และการพิจารณาตรวจสอบตนเองของภิกษุ

อนุโมทนา
       1. ความยินดีตาม, ความยินดีด้วย, การพลอยยินดี, การแสดงความเห็นชอบ;
           เห็นด้วย, แสดงความชื่นชมหรือซาบซึ้งเห็นคุณค่าแห่งการกระทำของผู้อื่น
           (บัดนี้ บางทีใช้ในความหมายคล้ายคำว่า ขอบคุณ)
       2. ในภาษาไทย นิยมใช้สำหรับพระสงฆ์ หมายถึง ให้พร เช่น เรียกคำให้พรของพระสงฆ์ว่า คำอนุโมทนา

อนุโยค ความพยายาม, ความเพียร, ความประกอบเนืองๆ

อนุรักขนาปธาน เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อม และบำเพ็ญให้เจริญยิ่งขึ้นไปจนไพบูลย์
       (ข้อ ๔ ในปธาน ๔)

อนุรักษ์ รักษาและเสริมทวี, รักษาสิ่งที่เกิดมีขึ้นแล้วและทำสิ่งที่เกิดมีขึ้นแล้วนั้นให้งอกงามเพิ่มทวียิ่งขึ้นไปจนไพบูลย์;
       ในภาษาไทย ใช้ในความหมายว่า รักษาให้คงเดิม

อนุราธ ชื่อเมืองหลวงของลังกาสมัยโบราณ;
       เรียกกันว่า อนุราธปุระ บ้าง อนุราธบุรี บ้าง

อนุรุทธะ พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นเจ้าชายในศากยวงศ์ เป็นพระโอรสของพระเจ้าอมิโตทนะ และเป็นอนุชาของเจ้ามหานามะ
       ภายหลังออกบวชพร้อมกับเจ้าชายอานนท์ เป็นต้น
       เรียนกรรมฐานในสำนักของพระสารีบุตร ได้บรรลุพระอรหัตที่ป่าปาจีนวังสทายวัน ในแคว้นเจตี
       พระศาสดาทรงยกย่องว่า เป็นเอตทัคคะในทางทิพยจักษุ

อนุรูป สมควร, เหมาะสม, พอเพียง, เป็นไปตาม

อนุโลม
       1. เป็นไปตาม, คล้อยตาม, ตามลำดับ
           เช่น ว่าตจปัญจกรรมฐานไปตามลำดับอย่างนี้ เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ
           ตรงข้ามกับ ปฏิโลม 1.
       2. สาวออกไปตามลำดับจากเหตุไปหาผลข้างหน้า
           เช่น อวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี, สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เป็นต้น
           ตรงข้ามกับ ปฏิโลม 2.
       3. จัดเข้าได้, นับได้ว่าเป็นอย่างนั้น เช่น อนุโลมมุสา

อนุโลมมุสา ถ้อยคำที่เป็นพวกมุสา, ถ้อยคำที่จัดได้ว่าเป็นมุสา คือ พูดเท็จ

อนุวัต ทำตาม, ประพฤติตาม, ปฏิบัติตาม;
       บางแห่งเขียน อนุวัตน์, อนุวรรต, อนุวรรตน์, อนุวัตร หรือ อนุวัติ ก็มี

อนุวาต ผ้าขอบจีวร

อนุวาท การโจท, การฟ้อง, การกล่าวหากันด้วยอาบัติ

อนุวาทาธิกรณ์ การโจทที่จัดเป็นอธิกรณ์ คือ การโจทกันด้วยอาบัติ, เรื่องการกล่าวหากัน;
       ดู อธิกรณ์

อนุศาสน์ การสอน, คำชี้แจง;
       คำสอนที่อุปัชฌาย์หรือกรรมวาจาจารย์บอกแก่ภิกษุใหม่ ในเวลาอุปสมบทเสร็จ
       ประกอบด้วย นิสสัย ๔ และ อกรณียกิจ ๔
       นิสสัย คือ ปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิต มี ๔ อย่าง ได้แก่
           ๑. เที่ยวบิณฑบาต
           ๒. นุ่งห่มผ้าบังสุกุล
           ๓. อยู่โคนไม้
           ๔. ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า
           (ท่านบอกไว้เป็นทางแสวงหาปัจจัย ๔ พร้อมทั้งอติเรกลาภของภิกษุ)
       อกรณียกิจ กิจที่ไม่ควรทำ หมายถึง กิจที่บรรพชิตทำไม่ได้ มี ๔ อย่าง ได้แก่
           ๑. เสพเมถุน
           ๒. ลักของเขา
           ๓. ฆ่าสัตว์ (ที่ให้ขาดจากความเป็นภิกษุ หมายเอาฆ่ามนุษย์)
           ๔. พูดอวดคุณวิเศษที่ไม่มีในตน

อนุศาสนีปาฏิหาริยะ ดู อนุสาสนีปาฏิหาริย์

อนุสติ ความระลึกถึง, อารมณ์ที่ควรระลึกถึงเนืองๆ มี ๑๐ อย่าง คือ
       ๑. พุทธานุสติ ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า
       ๒. ธัมมานุสติ ระลึกถึงคุณของพระธรรม
       ๓. สังฆานุสติ ระลึกถึงคุณของพระสงฆ์
       ๔. สีลานุสติ ระลึกถึงศีลที่ตนรักษา
       ๕. จาคานุสติ ระลึกถึงทานที่ตนบริจาคแล้ว
       ๖. เทวตานุสติ ระลึกถึงคุณที่ทำคนให้เป็นเทวดา
       ๗. มรณัสสติ ระลึกถึงความตายที่จะต้องมีเป็นธรรม
       ๘. กายคตาสติ ระลึกทั่วไปในกายให้เห็นว่าไม่งาม
       ๙. อานาปานสติ ตั้งสติกำหนดลมหายใจเข้าออก
       ๑๐. อุปสมานุสติ ระลึกถึงธรรมเป็นที่สงบระงับกิเลสและความทุกข์ คือ นิพพาน;
       เขียนอย่างรูปเดิมในภาษาบาลีเป็น อนุสสติ

อนุสนธิ การติดต่อ, การสืบเนื่องความ หรือเรื่องที่ติดต่อหรือสืบเนื่องกันมา

อนุสสตานุตตริยะ การระลึกอันเยี่ยม
       ได้แก่ การระลึกถึงพระตถาคต และตถาคตสาวก ซึ่งจะเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์ล่วงพ้นทุกข์ได้
       (ข้อ ๖ ในอนุตตริยะ ๖)

อนุสัย กิเลสที่แฝงตัวนอนเนื่องอยู่ในสันดาน มี ๗ คือ
       ๑. กามราคะ ความกำหนัดในกาม
       ๒. ปฏิฆะ ความหงุดหงิด
       ๓. ทิฏฐิ ความเห็นผิด
       ๔. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย
       ๕. มานะ ความถือตัว
       ๖. ภวราคะ ความกำหนัดในภพ
       ๗. อวิชชา ความไม่รู้จริง

อนุสาวนา คำสวดประกาศ, คำประกาศความปรึกษาและตกลงของสงฆ์, คำขอมติ

อนุสาสนีปาฏิหาริกะ ดู อนุสาสนีปาฏิหาริย์

อนุสาสนีปาฏิหาริย์ ปาฏิหาริย์ คืออนุศาสนี,
       คำสอนเป็นจริง สอนให้เห็นจริง นำไปปฏิบัติได้ผลสมจริง เป็นอัศจรรย์
       (ข้อ ๓ ใน ปาฏิหาริย์ ๓)

อเนกนัย นัยมิใช่น้อย, หลายนัย

อเนญชาภิสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งภพอันมั่นคง ไม่หวั่นไหว
       ได้แก่ ภาวะจิตที่มั่นคงแน่วแน่ด้วยสมาธิแห่งจตุตถฌาน
           (ข้อ ๓ ในอภิสังขาร ๓);
       ตามหลักเขียน อาเนญชาภิสังขาร

อเนสนา การหาเลี้ยงชีพในทางที่ไม่สมควรแก่ภิกษุ,
       เลี้ยงชีวิตผิดสมณะ เช่น
           หลอกลวงเขาด้วยการอวดอุตริมนุสธรรม
           ทำวิญญัติ คือออกปากขอต่อคนที่ไม่ควรขอ
           ใช้เงินลงทุนหาผลประโยชน์
           ต่อลาภด้วยลาภ คือให้แต่น้อยเพื่อหวังตอบแทนมาก
           เป็นหมอเวทมนต์ เสกเป่า
       เป็นต้น

อโนมา ชื่อแม่น้ำกั้นพรมแดนระหว่างแคว้นสักกะกับแคว้นมัลละ
       พระสิทธัตถะเสด็จออกบรรพชา มาถึงฝั่งแม่น้ำอโนมา ตรัสสั่งนายฉันนะให้นำม้าพระที่นั่งกลับคืนพระนคร ทรงตัดพระเมาลีด้วยพระขรรค์ อธิษฐานเพศบรรพชิต ณ ฝั่งแม่น้ำอโนมานี้

อบท สัตว์ไม่มีเท้า เช่น งู และไส้เดือน เป็นต้น

อบาย, อบายภูมิ ภูมิกำเนิดที่ปราศจากความเจริญ มี ๔ อย่าง คือ
       ๑. นิรยะ นรก
       ๒. ติรัจฉานโยนิ กำเนิดดิรัจฉาน
       ๓. ปิตติวิสัย ภูมิแห่งเปรต
       ๔. อสุรกาย พวกอสุรกาย;
       ดู คติ

อบายมุข ช่องทางของความเสื่อม, เหตุเครื่องฉิบหาย, เหตุย่อยยับแห่งโภคทรัพย์, ทางแห่งความพินาศ
       มี ๔ อย่าง คือ
           ๑. เป็นนักเลงหญิง
           ๒. เป็นนักเลงสุรา
           ๓. เป็นนักเลงการพนัน
           ๔. คบคนชั่วเป็นมิตร;
       อีกหมวดหนึ่งมี ๖ คือ
           ๑. ติดสุราและของมึนเมา
           ๒. ชอบเที่ยวกลางคืน
           ๓. ชอบเที่ยวดูการเล่น
           ๔. เล่นการพนัน
           ๕. คบคนชั่วเป็นมิตร
           ๖. เกียจคร้านการงาน

อปจายนมัย บุญสำเร็จด้วยการประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตน
       (ข้อ ๔ ในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐)

อปฏิจฉันนาบัติ อาบัติ (สังฆาทิเสส) ที่ภิกษุต้องแล้วไม่ได้ปิดไว้

อปมาโร โรคลมบ้าหมู

อปรกาล เวลาช่วงหลัง,
       ระยะเวลาของเรื่องที่มีขึ้นในภายหลัง คือ หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว
       ได้แก่ เรื่องถวายพระเพลิง และแจกพระบรมสารีริกธาตุ;
       ดู พุทธประวัติ

อปรัณณะ ของที่ควรกินทีหลัง เช่น ถั่วและงา;
       เทียบ ปุพพัณณะ

อปราปริยเวทนียกรรม กรรมที่เป็นกุศลก็ดี อกุศลก็ดี ซึ่งให้ผลในภพต่อๆ ไป
       (ข้อ ๓ ในกรรม ๑๒)

อปริหานิยธรรม ธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม,
       ธรรมที่ทำให้ไม่เสื่อม เป็นไปเพื่อความเจริญฝ่ายเดียว มี ๗ อย่าง
       ที่ตรัสสำหรับภิกษุ (ภิกขุอปริหานิยธรรม) ยกมาแสดงหมวดหนึ่ง ดังนี้
           ๑. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์
           ๒. เมื่อประชุมก็พร้อมเพรียงกันประชุม เมื่อเลิกประชุมก็พร้อมเพรียงกันเลิก และพร้อมเพรียงช่วยกันทำกิจที่สงฆ์จะต้องทำ
           ๓. ไม่บัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่บัญญัติขึ้น ไม่ถอนสิ่งที่พระองค์บัญญัติไว้แล้ว สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบทตามที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้
           ๔. ภิกษุเหล่าใด เป็นผู้ใหญ่เป็นประธานในสงฆ์ เคารพนับถือภิกษุเหล่านั้น เชื่อฟังถ้อยคำของท่าน
           ๕. ไม่ลุอำนาจแก่ความอยากที่เกิดขึ้น
           ๖. ยินดีในเสนาสนะป่า
           ๗. ตั้งในอยู่ว่า เพื่อนภิกษุสามเณรซึ่งเป็นผู้มีศีล ซึ่งยังไม่มาสู่อาวาส ขอให้มา ที่มาแล้วขอให้อยู่เป็นสุข
       อปริหานิยธรรมที่ตรัสแก่กษัตริย์วัชชี (วัชชีอปริหานิยธรรม) สำหรับผู้รับผิดชอบต่อบ้านเมือง
       มีอีกหมวดหนึ่งคือ
           ๑. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์
           ๒. พร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม พร้อมเพรียงกันทำกิจที่พึงทำ
           ๓. ไม่ถืออำเภอใจบัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติไว้ ไม่ล้มล้างสิ่งที่ได้บัญญัติ ถือปฏิบัติมั่นตามวัชชีธรรม
           ๔. ท่านเหล่าใดเป็นผู้ใหญ่ในชนชาววัชชี เคารพนับถือท่านเหล่านั้น เห็นถ้อยคำของท่านว่า เป็นสิ่งอันพึงรับฟัง
           ๕. บรรดากุลสตรีกุลกุมารีทั้งหลาย มิให้อยู่อย่างถูกข่มเหงรังแก
           ๖. เคารพสักการะบูชาเจดีย์ของวัชชี ทั้งภายในและภายนอก ไม่ละเลยการทำธรรมิกพลี
           ๗. จัดให้ความอารักขาคุ้มครองป้องกันอันชอบธรรมแก่พระอรหันต์ (หมายถึงบรรพชิตที่เป็นหลักใจของประชาชน) ตั้งใจให้ท่านที่ยังมิได้มาพึงมาสู่แว่นแคว้น ที่มาแล้วพึงอยู่โดยผาสุก

อปโลกน์ บอกเล่า, การบอกเล่า, การบอกกล่าวแก่ที่ประชุมเพื่อให้รับทราบพร้อมกัน หรือขอความเห็นชอบร่วมกัน ในกิจบางอย่างของส่วนรวม,
       ใช้ใน อปโลกนกรรม

อปโลกนกรรม กรรมคือการบอกเล่า, กรรมอันทำด้วยการบอกกันในที่ประชุมสงฆ์
       ไม่ต้องตั้ง ญัตติ คือคำเผดียง
       ไม่ต้องสวด อนุสาวนา คือประกาศความปรึกษาและตกลงของสงฆ์
       เช่น
           ประกาศลงพรหมทัณฑ์
           นาสนะสามเณรผู้กล่าวตู่พระพุทธเจ้า
           อปโลกน์แจกอาหารในโรงฉัน
       เป็นต้น

อปัณณกปฏิปทา ข้อปฏิบัติที่ไม่ผิด, ทางดำเนินที่ไม่ผิด มี ๓ คือ
       ๑. อินทรียสังวร การสำรวมอินทรีย์
       ๒. โภชเนมัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค
       ๓. ชาคริยานุโยค การหมั่นประกอบความตื่น ไม่เห็นแก่นอน

อปัสเสนธรรม ธรรมเป็นที่พึ่งที่พำนักดุจพนักพิง มี ๔ คือ
       ๑. ของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วเสพ เช่น ปัจจัยสี่
       ๒. ของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วอดกลั้น ได้แก่ อนิฏฐารมณ์ต่างๆ
       ๓. ของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วเว้นเสีย เช่น สุราเมรัย การพนัน คนพาล
       ๔. ของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วบรรเทาเสีย เช่น อกุศลวิตกต่างๆ

อปายโกศล ดู โกศล ๓

อปุญญาภิสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายชั่ว ได้แก่ อกุศลเจตนาทั้งหลาย
       (ข้อ ๒ ในอภิสังขาร ๓)

อพยาบาท ความไม่คิดร้าย, ไม่พยาบาทปองร้ายเขา, มีเมตตา
       (ข้อ ๙ ในกุศลกรรมบถ ๑๐)

อพยาบาทวิตก ความตรึกในทางไม่พยาบาท,
       การคิดแผ่เมตตาแก่ผู้อื่น ปรารถนาให้เขามีความสุข
       (ข้อ ๒ ในกุศลวิตก ๓)

อพัทธสีมา “แดนที่ไม่ได้ผูก”
       หมายถึง เขตชุมนุมสงฆ์ที่สงฆ์ไม่ได้กำหนดขึ้นเอง แต่ถือเอาตามเขตที่เขาได้กำหนดไว้ตามปรกติของบ้านเมือง หรือมีบัญญัติอย่างอื่นเป็นเครื่องกำหนด
       แบ่งเป็น ๓ ประเภท คือ
       ๑. คามสีมา หรือ นิคมสีมา
       ๒. สัตตัพภันตรสีมา
       ๓. อุทกุกเขป

อภยคิริวิหาร ชื่อวัดที่พระเจ้าวัฏฏคามณีอภัย ได้สร้างถวายพระติสสเถระในเกาะลังกา ซึ่งได้กลายเป็นเหตุให้สงฆ์ลังกาแตกแยกกัน แบ่งเป็นคณะมหาวิหารเดิมฝ่ายหนึ่ง คณะอภยคิริวิหารฝ่ายหนึ่ง;
       มักเรียกว่า อภัยคีรี

อภัพ ไม่ควร, ไม่อาจ, ไม่สามารถ, เป็นไปไม่ได้

อภัพบุคคล บุคคลผู้ไม่สมควร, มีความหมายตามข้อความแวดล้อม
       เช่น คนที่ไม่อาจบรรลุโลกุตตรธรรมได้ คนที่ขาดคุณสมบัติ ไม่อาจให้อุปสมบทได้ เป็นต้น

อภัยทาน ให้ความไม่มีภัย, ให้ความปลอดภัย

อภิชฌา โลภอยากได้ของเขา, ความคิด เพ่งเล็งจ้องจะเอาของของคนอื่น
       (ข้อ ๘ ในอกุศลกรรมบถ ๑๐)

อภิชฌาวิสมโลภ ละโมบไม่สม่ำเสมอ, ความโลภอย่างแรงกล้า จ้องจะเอาไม่เลือกว่าควรไม่ควร
       (ข้อ ๑ ในอุปกิเลส ๑๖)

อภิญญา ความรู้ยิ่ง, ความรู้เจาะตรงยวดยิ่ง,
       ความรู้ชั้นสูง มี ๖ อย่างคือ
           ๑. อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้
           ๒. ทิพพโสต หูทิพย์
           ๓. เจโตปริยญาณ ญาณที่ให้ทายใจคนอื่นได้
           ๔. ปุพเพนิวาสานุสติ ญาณที่ทำให้ระลึกชาติได้
           ๕. ทิพพจักขุ ตาทิพย์
           ๖. อาสวักขยญาณ ญาณที่ทำให้อาสวะสิ้นไป,
       ๕ อย่างแรกเป็นโลกียอภิญญา ข้อสุดท้ายเป็นโลกุตตรอภิญญา

อภิญญาเทสิตธรรม ธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงด้วยพระปัญญาอันยิ่ง
       หมายถึง โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ มีสติปัฏฐาน ๔ เป็นต้น

อภิฐาน ฐานะอย่างหนัก,
       ความผิดสถานหนัก มี ๖ อย่าง คือ
           ๑. มาตุฆาต ฆ่ามารดา
           ๒. ปิตุฆาต ฆ่าบิดา
           ๓. อรหันตฆาต ฆ่าพระอรหันต์
           ๔. โลหิตุปบาท ทำร้ายพระพุทธเจ้าให้ถึงห้อพระโลหิต
           ๕. สังฆเภท ทำสงฆ์ให้แตกกัน
           ๖. อัญญสัตถุทเทส ถือศาสดาอื่น

อภิณหปัจจเวกขณ์ ข้อที่ควรพิจารณาเนืองๆ,
       เรื่องที่ควรพิจารณาทุกๆ วัน มี ๕ อย่าง คือ
           ๑. ควรพิจารณาทุกวันๆ ว่า เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้
           ๒. ว่า เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้
           ๓. ว่า เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้
           ๔. ว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น
           ๕. ว่า เรามีกรรมเป็นของตัว เราทำดีจักได้ดี เราทำชั่วจักได้ชั่ว;
       อีกหมวดหนึ่ง สำหรับบรรพชิต แปลว่า “ธรรมที่บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ” มี ๑๐ อย่าง
       (ปัพพชิตอภิณหปัจจเวกขณ์) คือ
           ๑. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า บัดนี้ เรามีเพศต่างจากคฤหัสถ์แล้ว
           ๒. ว่า การเลี้ยงชีพของเราเนื่องด้วยผู้อื่น
           ๓. ว่า เรามีอากัปกิริยาอย่างอื่นที่จะพึงทำ
           ๔. ว่า ตัวเราเองยังติเตียนตัวเราเองโดยศีลไม่ได้อยู่หรือไม่
           ๕. ว่า เพื่อนพรหมจรรย์ผู้เป็นวิญญู ใคร่ครวญแล้ว ยังติเตียนเราโดยศีลไม่ได้อยู่หรือไม่
           ๖. ว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น
           ๗. ว่า เรามีกรรมเป็นของตน เราทำดีจักได้ดี เราทำชั่วจักได้ชั่ว
           ๘. ว่า วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่
           ๙. ว่า เรายินดีในที่สงัดอยู่หรือไม่
           ๑๐. ว่า คุณวิเศษที่เราบรรลุแล้วมีอยู่หรือไม่ ที่จะทำให้เราเป็นผู้ไม่เก้อเขิน เมื่อถูกเพื่อนบรรพชิตถามในกาลภายหลัง
       (ข้อ ๑. ท่านเติมท้ายว่า อาการกิริยาใดๆ ของสมณะ เราต้องทำอาการกิริยานั้นๆ ข้อ ๒. เติมว่า เราควรทำตัวให้เขาเลี้ยงง่าย ข้อ ๓. ท่านเขียนว่า อาการกายวาจาอย่างอื่นที่เราจะต้องทำให้ดีขึ้นไปกว่านี้ยังมีอยู่อีก ไม่ใช่เพียงเท่านี้)

อภิธรรมปิฎก หมวดแห่งคำสอนของพระพุทธศาสนา ฝ่ายปรมัตถธรรม ว่าด้วยจิต เจตสิก รูป นิพพาน,
       เป็นปิฎกที่สามในพระไตรปิฎก;
       ดู ไตรปิฎก

อภิธัมมัตถวิภาวินี ชื่อคัมภีร์ฎีกาอธิบายความในคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ
       พระสุมังคละผู้เป็นศิษย์ของพระอาจารย์สารีบุตร ซึ่งเป็นปราชญ์ในรัชกาลของพระเจ้าปรักกมพาหุที่ ๑ (พ.ศ. ๑๖๙๖-๑๗๒๙) รจนาขึ้นในลังกาทวีป

อภิธัมมัตถสังคหะ คัมภีร์ประมวลสรุปเนื้อความในพระอภิธรรมปิฎก
       พระอนุรุทธาจารย์แห่งมูลโสมวิหารในลังกาทวีป รจนา เมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๗๐๐

อภินิหาร อำนาจแห่งบารมี, อำนาจบุญที่สร้างสมไว้

อภิเนษกรมณ์ การเสด็จออกเพื่อคุณอันยิ่ง หมายถึง การออกบวช, ผนวช

อภิบาล เลี้ยงดู, ดูแล, บำรุงรักษา, ปกปักรักษา, คุ้มครอง, ปกครอง

อภิรมย์ รื่นเริงยิ่ง, ยินดียิ่ง, พักผ่อน

อภิลักขิตกาล, อภิลักขิตสมัย เวลาที่กำหนดไว้, วันกำหนด

อภิวันทน์, อภิวาท, อภิวาทน์ การกราบไหว้

อภิเษก การรดน้ำ, การแต่งตั้งโดยการทำพิธีรดน้ำ, การได้บรรลุ

อภิสมาจาร ความประพฤติดีงามที่ประณีตยิ่งขึ้นไป, ขนบธรรมเนียมเพื่อความประพฤติดีงามยิ่งขึ้นไปของพระภิกษุ

อภิสมาจาริกวัตร วัตรเกี่ยวด้วยความประพฤติอันดี, ธรรมเนียมเกี่ยวกับมรรยาทและความเป็นอยู่ที่ดีงาม

อภิสมาจาริกาสิกขา หลักการศึกษาอบรมในฝ่ายขนบธรรมเนียมที่จะชักนำความประพฤติ ความเป็นอยู่ของพระสงฆ์ให้ดีงามมีคุณยิ่งขึ้นไป,
       สิกขาฝ่ายอภิสมาจาร;
       เทียบ อาทิพรหมจริยกาสิกขา

อภิสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งผลแห่งการกระทำของบุคคล, เจตนาที่เป็นตัวการในการทำกรรม มี ๓ อย่างคือ
       ๑. ปุญญาภิสังขาร อภิสังขารที่เป็นบุญ
       ๒. อปุญญาภิสังขาร อภิสังขารที่เป็นปฏิปักษ์ต่อบุญ คือ บาป
       ๓. อาเนญชาภิสังขาร อภิสังขารที่เป็นอเนญชา คือ กุศลเจตนาที่เป็นอรูปาวจร ๔;
       เรียกง่ายๆ ได้แก่ บุญ บาป ฌาน

อภิสังขารมาร อภิสังขารเป็นมาร เพราะเป็นตัวปรุงแต่งกรรม ทำให้เกิดชาติชรา เป็นต้น ขัดขวางไม่ให้หลุดพ้นจากทุกข์ในสังสารวัฏฏ์
       (ข้อ ๓ ในมาร ๕)

อมร, อมระ ผู้ไม่ตาย เป็นคำเรียกเทวดาผู้ได้ดื่มน้ำอมฤต

อมฤต เป็นชื่อน้ำทิพย์ที่ทำผู้ดื่มให้ไม่ตาย ตามเรื่องว่า เทวดาทั้งหลายคิดหาของเครื่องกันตาย พากันไปถามพระเป็นเจ้า พระเป็นเจ้ารับสั่งให้กวนมหาสมุทร เทวดาทั้งหลายก็ทำตามโดยวิธีใช้ภูเขารองข้างล่างลูกหนึ่ง วางข้างบนลูกหนึ่ง ที่กลางมหาสมุทรลักษณะคล้ายโม่สำหรับโม่แป้ง เอานาคพันเข้าที่ภูเขาลูกบนแล้วช่วยกันชักสองข้าง อาศัยความร้อนที่เกิดจากความหมุนเวียนเบียดเสียดแห่งภูเขา ต้นไม้ทั้งหลายที่เป็นยาบนภูเขา ได้คายรสลงไปในมหาสมุทรจนข้นเป็นปลักแล้ว เกิดเป็นน้ำทิพย์ขึ้นในท่ามกลางมหาสมุทร เรียกว่า น้ำอมฤตบ้าง น้ำสุรามฤตบ้าง;
       ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องตามคติของศาสนาพราหมณ์

อมฤตธรรม ธรรมที่ทำให้ไม่ตาย, ธรรมซึ่งเปรียบด้วยน้ำอมฤตอันทำผู้ดื่มให้ไม่ตาย หมายถึงพระนิพพาน

อมาตย์ ข้าราชการ, ข้าเฝ้า, ขุนนาง
       มักเรียก อำมาตย์

อมาวสี ดิถีเป็นที่อยู่ร่วมแห่งพระอาทิตย์และพระจันทร์,
       วันพระจันทร์ดับ หรือวันดับ คือวันสิ้นเดือนทางจันทรคติ (แรม ๑๕ หรือ ๑๔ ค่ำ)

อมิตา เจ้าหญิงศากยวงศ์ เป็นพระราชบุตรีของพระเจ้าสีหหนุ
       เป็นพระกนิษฐภคินีของพระเจ้าสุทโธทนะ เป็นพระเจ้าอาของพระพุทธเจ้า

อมิโตทนะ กษัตริย์ศากยวงศ์ เป็นพระราชบุตรองค์ที่ ๓ ของพระเจ้าสีหหนุ
       เป็นพระอนุชาองค์ที่ ๒ ของพระเจ้าสุทโธทนะ เป็นพระเจ้าอาของพระพุทธเจ้า
       มีโอรสชื่อมหานามะ และอนุรุทธะ

อมูฬหวินัย ระเบียบที่ให้แก่ภิกษุผู้หายเป็นบ้าแล้ว, วิธีระงับอธิกรณ์สำหรับภิกษุผู้หายจากเป็นบ้า
       ได้แก่ กิริยาที่สงฆ์สวดประกาศให้สมมติแก่ภิกษุผู้หายเป็นบ้าแล้ว เพื่อระงับอนุวาทาธิกรณ์
       อธิบายว่า จำเลยเป็นบ้าทำการล่วงละเมิดอาบัติ แม้จะเป็นจริงก็เป็นอนาบัติ เมื่อเธอหายบ้าแล้วมีผู้โจทด้วยอาบัติระหว่างเป็นบ้านั้นไม่รู้จบ ท่านให้สงฆ์สวดกรรมวาจาประกาศความข้อนี้ไว้ เรียกว่า อมูฬหวินัย ยกฟ้องของโจทเสีย ภายหลังมีผู้โจทด้วยอาบัตินั้น หรืออาบัติเช่นนั้น ในความที่เป็นบ้า ก็ให้อธิกรณ์เป็นอันระงับด้วยอมูฬหวินัย
       (ข้อ ๓ ในอธิกรณสมถะ ๗)

อโมหะ ความไม่หลง, ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อโมหะ คือ ความรู้จริง ได้แก่ปัญญา
       (ข้อ ๓ ในกุศลมูล ๓)

อยู่กรรม ดู ปริวาส

อยู่ปริวาส ดู ปริวาส

อยู่ร่วม ในประโยคว่า “ภิกษุใดรู้อยู่กินร่วมก็ดี อยู่ร่วมก็ดี สำเร็จการนอนด้วยกันก็ดี” ร่วมอุโบสถสังฆกรรม

อโยนิโสมนสิการ การทำในใจโดยไม่แยบคาย, การไม่ใช้ปัญญาพิจารณา, ความไม่รู้จักคิด, การปล่อยให้อวิชชาตัณหาครอบงำ;
       เทียบ โยนิโสมนสิการ

อรดี ธิดามารคนหนึ่งใน ๓ คน
       อาสาพระยามารผู้เป็นบิดา เข้าไปประโลมพระพุทธเจ้า ด้วยอาการต่างๆ ในสมัยที่พระองค์เสด็จอยู่ที่ไม้อชปาลนิโครธ ภายหลังตรัสรู้ใหม่ๆ
       (อีก ๒ คน คือ ตัณหา กับ ราคา)

อรติ ความขึ้งเคียด, ความไม่ยินดีด้วย, ความริษยา

อรรค ดู อัคร

อรรคสาวก สาวกผู้เลิศ, สาวกผู้ยอดเยี่ยม,
       ศิษย์ผู้เลิศกว่าศิษย์อื่นของพระพุทธเจ้า หมายถึง พระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะ;
       ดู อัครสาวก

อรรถ เนื้อความ, ใจความ, ความหมาย, ความมุ่งหมาย, ผล, ประโยชน์

อรรถ ๓ ดู อัตถะ

อรรถกถา ปกรณ์ที่พระอาจารย์ทั้งหลายในภายหลังแต่งแก้อรรถแห่งบาลี, คัมภีร์อธิบายความในพระไตรปิฎก

อรรถกถาจารย์ อาจารย์ผู้แต่งอรรถกถา

อรรถกถานัย เค้าความในอรรถกถา, แนวคำอธิบายในอรรถกถา, แง่แห่งความหมายที่แสดงไว้ในอรรถกถา

อรรถคดี เรื่องที่ฟ้องร้องกันในโรงศาล, ข้อที่กล่าวหากัน

อรรถรส “รสแห่งเนื้อความ”, “รสแห่งความหมาย”
       สาระที่ต้องการของเนื้อความ, เนื้อแท้ของความหมาย, ความหมายแท้ที่ต้องการ, ความมุ่งหมายที่แทรกซึมอยู่ในเนื้อความ คล้ายกับที่มักพูดกันในบัดนี้ว่า เจตนารมณ์
       (พจนานุกรมว่า “ถ้อยคำที่ทำให้เกิดความซาบซึ้ง”)

อรรถศาสน์ คำสอนว่าด้วยเรื่องประโยชน์ ๓ อย่าง คือ
       ๑. ทิฏฐธัมมิกัตถะ ประโยชน์ในปัจจุบัน
       ๒. สัมปรายิกัตถะ ประโยชน์ที่จะได้ในภายหน้า
       ๓. ปรมัตถะ ประโยชน์อย่างยิ่ง คือพระนิพพาน

อรหํ เป็นพระอรหันต์
       คือ เป็นผู้ไกลจากกิเลสและบาปธรรม ทรงความบริสุทธิ์,
       หรือเป็นผู้กำจัดข้าศึก คือกิเลสสิ้นแล้ว,
       หรือเป็นผู้หักกำแห่งสังสารจักร อันได้แก่ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน กรรม,
       หรือเป็นผู้ควรแนะนำสั่งสอน เป็นผู้ควรรับความเคารพ ควรแก่ทักษิณา และการบูชาพิเศษ,
       หรือเป็นผู้ไม่มีข้อลับ คือไม่มีข้อเสียหายอันควรปกปิด
       (ข้อ ๑ ในพุทธคุณ ๙)

อรหัต ความเป็นพระอรหันต์, ชื่อมรรคผลขั้นสูงสุดในพระพุทธศาสนา ซึ่งตัดกิเลสในสันดานได้เด็ดขาด;
       เขียนอย่างคำเดิมเป็น อรหัตต์

อรหัตตผล ผลคือการสำเร็จเป็นพระอรหันต์, ผลคือความเป็นพระอรหันต์, ผลที่ได้รับจากการละสังโยชน์ทั้งหมด อันสืบเนื่องมาจากอรหัตตมรรค ทำให้เป็นพระอรหันต์

อรหัตตมรรค ทางปฏิบัติเพื่อบรรลุ คือความเป็นพระอรหันต์,
       ญาณคือความรู้เป็นเหตุละสังโยชน์ได้ทั้ง ๑๐

อรหัตตวิโมกข์ ความพ้นจากกิเลสด้วยอรหัต หรือเพราะสำเร็จอรหัต
       คือ หลุดพ้นขั้นละกิเลสได้สิ้นเชิงและเด็ดขาด สำเร็จเป็นพระอรหันต์

อรหันต์ ผู้สำเร็จธรรมวิเศษสูงสุดในพระพุทธศาสนา, พระอริยบุคคลชั้นสูงสุด ผู้ได้บรรลุอรหัตตผล,
       พระอรหันต์ ๒ ประเภท คือ พระสุกขวิปัสสก กับพระสมถยานิก;
       พระอรหันต์ ๔ คือ
           ๑. พระสุกขวิปัสสก
           ๒. พระเตวิชชะ (ผู้ได้วิชชา ๓)
           ๓. พระฉฬภิญญะ (ผู้ได้อภิญญา ๖)
           ๔. พระปฏิสัมภิทัปปัตตะ (ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ๔);
       พระอรหันต์ ๕ คือ
           ๑. พระปัญญาวิมุต
           ๒. พระอุภโตภาควิมุต
           ๓. พระเตวิชชะ
           ๔. พระฉฬภิญญะ
           ๕. พระปฏิสัมภิทัปปัตตะ;
       ดู อริยบุคคล
       พระอรรถกถาจารย์แสดงความหมายของ อรหันต์ ไว้ ๕ นัย คือ
           ๑. เป็นผู้ไกล (อารกะ) จากกิเลส
               (คือห่างไกลไม่อยู่ในกระแสกิเลสที่จะทำให้มัวหมองได้เลย)
           ๒. กำจัดข้าศึก (อริ+หต) คือกิเลสหมดสิ้นแล้ว
           ๓. เป็นผู้หักคือรื้อทำลายกำ (อร+หต) แห่งสังสารจักรเสร็จแล้ว
           ๔. เป็นผู้ควร (อรห) แก่การบูชาพิเศษของเทพและมนุษย์ทั้งหลาย
           ๕. ไม่มีที่ลับ (น+รห) ในการทำบาป คือไม่มีความชั่วความเสียหายที่จะต้องปิดบัง;
       ความหมายทั้ง ๕ นี้ ตามปกติใช้อธิบายคำว่า อรหันต์ ที่เป็นพุทธคุณข้อที่ ๑;
       ดู อรหํ

อรหันตขีณาสพ พระอรหันต์ผู้สิ้นอาสวะแล้ว ใช้สำหรับพระสาวก,
       สำหรับพระพุทธเจ้า ใช้คำว่า อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอรหันต์ผู้ตรัสรู้ชอบเอง

อรหันตฆาต ฆ่าพระอรหันต์ (ข้อ ๓ ในอนันตริยกรรม ๕)

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอรหันต์ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง หมายถึงพระพุทธเจ้า

อรัญญิกธุดงค์ องค์คุณเครื่องขจัดกิเลสของผู้ถืออยู่ในป่าเป็นวัตร
       ได้แก่ ธุดงค์ข้อ อารัญญิกังคะ

อรัญญิกวัตร ข้อปฏิบัติสำหรับภิกษุผู้อยู่ป่า, ธรรมเนียมในการอยู่ป่าของภิกษุ;
       ดู อารัญญกวัตร

อริ ข้าศึก, ศัตรู, คนที่ไม่ชอบกัน

อริฏฐภิกษุ ชื่อภิกษุรูปหนึ่ง ในครั้งพุทธกาล เป็นบุคคลแรกที่ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป

อริยะ เจริญ, ประเสริฐ, ผู้ไกลจากข้าศึก คือกิเลส, บุคคลผู้บรรลุธรรมวิเศษ มีโสดาปัตติมรรคเป็นต้น;
       ดู อริยบุคคล

อริยกะ คนเจริญ, คนประเสริฐ, คนได้รับการศึกษาอบรมดี;
       เป็นชื่อเรียกชนชาติหนึ่งที่อพยพจากทางเหนือเข้าไปในอินเดียตั้งแต่ก่อนพุทธกาล ถือตัวว่าเป็นพวกเจริญ และเหยียดพวกเจ้าถิ่นเดิมลงว่าเป็นมิลักขะ คือพวกคนป่าคนดอย,
       พวกอริยกะอพยพเข้าไปในยุโรปด้วย คือพวกที่เรียกว่า อารยัน

อริยกชาติ หมู่คนที่ได้รับการศึกษาอบรมดี, พวกที่มีความเจริญ, พวกชนชาติอริยกะ

อริยชาติ “เกิดเป็นอริยะ” คือ บรรลุมรรคผล กลายเป็นอริยบุคคล
       เปรียบเหมือนเกิดใหม่อีกครั้งหนึ่ง ด้วยการเปลี่ยนจากปุถุชนเป็นพระอริยะ,
       อีกอย่างหนึ่งว่า ชาติอริยะ หรือชาวอริยะ ซึ่งเป็นผู้เจริญในทางพระพุทธศาสนา หมายถึงผู้กำจัดกิเลสได้ ซึ่งชนวรรณะไหน เผ่าไหน ก็อาจเป็นได้
       ต่างจากอริยชาติ หรืออริยกชาติที่มีมาแต่เดิม ซึ่งจำกัดด้วยชาติ คือกำเนิด

อริยทรัพย์ ทรัพย์อันประเสริฐเป็นของติดตัว อยู่ภายในจิตใจ ดีกว่าทรัพย์ภายนอก เช่น เงินทอง เป็นต้น เพราะโจรหรือใครๆ แย่งชิงไม่ได้ และทำให้เป็นคนประเสริฐอย่างแท้จริง
       มี ๗ คือ ๑. สัทธา ๒. สีล ๓. หิริ ๔. โอตตัปปะ ๕. พาหุสัจจะ ๖. จาคะ ๗. ปัญญา

อริยบุคคล บุคคลผู้เป็นอริยะ,
       ท่านผู้บรรลุธรรมวิเศษมีโสดาปัตติมรรค เป็นต้น มี ๔ คือ
           ๑. พระโสดาบัน
           ๒. พระสกทาคามี (หรือสกิทาคามี)
           ๓. พระอนาคามี
           ๔. พระอรหันต์ ;
       แบ่งพิสดารเป็น ๘ คือ
           พระผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค และพระผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล คู่ ๑,
           พระผู้ตั้งอยู่ในสกทาคามิมรรค และพระผู้ตั้งอยู่ในสกทาคามิผล คู่ ๑,
           พระผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิมรรค และพระผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิผล คู่ ๑,
           พระผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรค และพระผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตผล คู่ ๑

อริยบุคคล ๗ บุคคลผู้เป็นอริยะ, บุคคลผู้ประเสริฐ,
       ท่านผู้บรรลุธรรมวิเศษ มีโสดาปัตติมรรค เป็นต้น
       นัยหนึ่ง จำแนกเป็น ๗ คือ
       สัทธานุสารี ธัมมานุสารี สัทธาวิมุต ทิฏฐิปปัตตะ กายสักขี ปัญญาวิมุต และ อุภโตภาควิมุต
       (ดูคำนั้นๆ)

อริยปริเยสนา การแสวงหาที่ประเสริฐ
       คือ แสวงหาสิ่งที่ไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งชาติ ชรา มรณะ หรือกองทุกข์
       โดยความ ได้แก่ แสดงหาโมกขธรรมเพื่อความหลุดพ้นจากกิเลสและกองทุกข์,
       ความหมายอย่างง่าย ได้แก่ การแสวงหาในทางสัมมาชีพ
       (ข้อ ๒ ในปริเยสนา ๒)

อริยผล ผลอันประเสริฐ มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตตผล

อริยมรรค ทางอันประเสริฐ, ทางดำเนินของพระอริยะ,
       ญาณอันให้สำเร็จความเป็นพระอริยะ มี ๔ คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตตมรรค;
       บางทีเรียกมรรคมีองค์ ๘ ว่า อริยมรรค ก็มี แต่ควรเรียกเต็มว่า อริยอัฏฐังคิกมรรค

อริยวงศ์ ปฏิปทาที่พระอริยบุคคลผู้เป็นสมณะ ปฏิบัติสืบกันมาไม่ขาดสาย,
       อริยประเพณี มี ๔ คือ
           ๑. สันโดษด้วยจีวร
           ๒. สันโดษด้วยบิณฑบาต
           ๓. สันโดษด้วยเสนาสนะ
           ๔. ยินดีในการบำเพ็ญกุศล ละอกุศล

อริยวัฑฒิ, อารยวัฒิ ความเจริญอย่างประเสริฐ, หลักความเจริญของอารยชน มี ๕ คือ
       ๑. ศรัทธา ความเชื่อ ความมั่นใจในพระรัตนตรัย ในหลักแห่งความจริงความดีงามอันมีเหตุผลและในการที่จะทำความดีงาม
       ๒. ศีล ความประพฤติดี มีวินัย เลี้ยงชีพสุจริต
       ๓. สุตะ การเล่าเรียนสดับฟังศึกษาหาความรู้
       ๔. จาคะ ความเผื่อแผ่เสียสละน้ำใจและใจกว้าง พร้อมที่จะรับฟังและร่วมมือ ไม่คับแคบเอาแต่ตัว
       ๕. ปัญญา ความรอบรู้ รู้คิด รู้พิจารณา เข้าใจเหตุผล รู้จักโลกและชีวิตตามความเป็นจริง

อริยสัจ ความจริงอย่างประเสริฐ, ความจริงของพระอริยะ,
       ความจริงที่ทำคนให้เป็นพระอริยะ มี ๔ อย่าง คือ
           ทุกข์ (หรือ ทุกขสัจจะ)
           สมุทัย (หรือ สมุทัยสัจจะ)
           นิโรธ (หรือ นิโรธสัจจะ)
           มรรค (หรือ มัคคสัจจะ)
       เรียกเต็มว่า ทุกข(อริยสัจจ์) ทุกขสมุทัย(อริยสัจจ์) ทุกขนิโรธ(อริยสัจจ์) และทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา(อริยสัจจ์)

อริยสัจจ์ ดู อริยสัจ

อริยสาวก
       1. สาวกผู้เป็นพระอริยะ, สาวกผู้บรรลุธรรมวิเศษ มีโสดาปัตติมรรค เป็นต้น
       2. สาวกของพระอริยะ (คือของพระพุทธเจ้าผู้เป็นอริยะ)

อริยสาวิกา สาวิกาที่เป็นพระอริยะ, อริยสาวกหญิง

อริยอัฏฐังคิกมรรค มรรคมีองค์ ๘ ประการอันประเสริฐ;
       ดู มรรค

อรุณ เวลาใกล้อาทิตย์จะขึ้น มีสองระยะ คือมีแสงขาวเรื่อๆ(แสงเงิน) แสงแดง(แสงทอง), เวลาย่ำรุ่ง

อรูป ฌานมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์ ได้แก่ อรูปฌาน, ภพของสัตว์ผู้เข้าถืออรูปฌาน,
       ภพของอรูปพรหม มี ๔ คือ
           ๑. อากาสานัญจายตนะ (กำหนดที่ว่างหาที่สุดมิได้ เป็นอารมณ์)
           ๒. วิญญาณัญจายตนะ (กำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้ เป็นอารมณ์)
           ๓. อากิญจัญญายตนะ (กำหนดภาวะที่ไม่มีอะไรๆ เป็นอารมณ์)
           ๔. เนวสัญญานาสัญญายตนะ (ภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่)

อรูปฌาน ฌานมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์ มี ๔;
       ดู อรูป

อรูปพรหม พรหมผู้เข้าถึงอรูปฌาน, พรหมไม่มีรูป, พรหมในอรูปภพ มี ๔;
       ดู อรูป

อรูปภพ โลกเป็นที่อยู่ของพรหมไม่มีรูป;
       ดู อรูป

อรูปราคะ ความติดใจในอรูปธรรม, ความติดใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน, ความปรารถนาในอรูปภพ
       (ข้อ ๗ ในสังโยชน์ ๑๐)

อรูปาวจร ซึ่งท่องเที่ยวไปในอรูปภพ, ยังเกี่ยวข้องอยู่กับอรูปธรรม

อลังการ เครื่องประดับประดา

อลชฺชิตา อาการที่จะต้องอาบัติด้วยไม่ละอาย

อลัชชี ผู้ไม่มีความละอาย, ผู้หน้าด้าน, ภิกษุผู้มักประพฤติละเมิดพุทธบัญญัติ

อเลอ แปลง, ที่อเลออื่น คือที่แปลงอื่น

อโลภะ ความไม่โลภ, ไม่โลภอยากได้ของเขา,
       ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์กับความโลภ คือ ความคิดเผื่อแผ่เสียสละ, จาคะ
       (ข้อ ๑ ในกุศลมูล ๓)

อวตาร การลงมาเกิด, การแบ่งภาคมาเกิด,
       เป็นความหมายในศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู เช่น พระนารายณ์อวตาร คือแบ่งภาคลงมาจากสวรรค์มาเกิดเป็นมนุษย์ เป็นต้น

อวสาน ที่สุด, ที่จบ

อวสานกาล เวลาสุดท้าย, ครั้งสุดท้าย

อวหาร การลัก, อาการที่ถือว่าเป็นการลักทรัพย์ ในอรรถกถาแสดงไว้ ๒๕ อย่าง พึงทราบในที่นี้ ๑๓ อย่าง คือ
       ๑. ลัก
       ๒. ชิงหรือวิ่งราว
       ๓. ลักต้อน
       ๔. แย่ง
       ๕. ลักสับ
       ๖. ตู่
       ๗. ฉ้อ
       ๘. ยักยอก
       ๙. ตระบัด
       ๑๐. ปล้น
       ๑๑. หลอกลวง
       ๑๒. กดขี่หรือกรรโชก
       ๑๓. ลักซ่อน

อวันตี ชื่อแคว้นหนึ่งในบรรดา ๑๖ แคว้นใหญ่แห่งชมพูทวีป ตั้งอยู่ทางเหนือของภูเขาวินธัย ทางตะวันตกเฉียงใต้ของแคว้นวังสะ มีนครหลวงชื่อ อุชเชนี ราชาผู้ครองอวันตีในพุทธกาล มีพระนามว่าพระเจ้าจัณฑปัชโชต

อวัสดา ฐานะ, ความเป็นอยู่, ความกำหนด, เวลา, สมัย

อวิชชา ความไม่รู้จริง,
       ความหลงอันเป็นเหตุไม่รู้จริง มี ๔ คือความไม่รู้อริยสัจ ๔ แต่ละอย่าง
       (ไม่รู้ทุกข์ ไม่รู้เหตุเกิดแห่งทุกข์ ไม่รู้ความดับทุกข์ ไม่รู้ทางให้ถึงความดับทุกข์),
       อวิชชา ๘ คือ อวิชชา ๔ นั้น และเพิ่ม
       ๕. ไม่รู้อดีต ๖. ไม่รู้อนาคต ๗. ไม่รู้ทั้งอดีตทั้งอนาคต ๘. ไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท;
       (ข้อ ๑๐ ในสังโยชน์ ๑๐ ตามนัยพระอภิธรรม, ข้อ ๗ ในอนุสัย ๗)

อวิชชาสวะ อาสวะคืออวิชชา, กิเลสที่หมักหมมหรือดองอยู่ในสันดาน ทำให้ไม่รู้ตามความเป็นจริง
       (ข้อ ๓ ในอาสวะ ๓, ข้อ ๔ ในอาสวะ ๔)

อวิญญาณกะ พัสดุที่ไม่มีวิญญาณ เช่น เงิน ทอง ผ้านุ่งห่ม และเครื่องใช้สอย เป็นต้น;
       เทียบ สวิญญาณกะ

อวิทยา ความไม่รู้, อวิชชา

อวิทูเรนิทาน “เรื่องไม่ไกลนัก”
       หมายถึง เรื่องราวความเป็นไปเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า ตั้งแต่จุติการสวรรค์ชั้นดุสิตจนถึงตรัสรู้;
       ดู พุทธประวัติ

อวินิพโภครูป “รูปที่แยกออกจากกันไม่ได้”, รูปที่มีอยู่ด้วยกันเป็นประจำเสมอไป อย่างขาดมิได้เลยในสิ่งที่เป็นรูปทุกอย่าง
       กล่าวคือ ในสิ่งที่เป็นรูปทุกอย่าง แม้แต่ปรมาณูที่เล็กที่สุดก็จะต้องมีรูปธรรมชุดนี้อยู่เป็นอย่างน้อย, คุณสมบัติพื้นฐานที่มีอยู่เป็นประจำในวัตถุ,
       มี ๘ อย่าง คือ
           ปฐวี (ภาวะแผ่ขยายหรือรองรับ)
           อาโป (ภาวะเอิบอาบเกาะกุม)
           เตโช (ภาวะร้อน)
           วาโย (ภาวะเคลื่อนไหวเคร่งตึง)
           วัณณะ (สี)
           คันธะ (กลิ่น)
           รสะ (รส)
           โอชา (อาหารรูป);
       ใน ๘ อย่างนี้ ๔ อย่างแรกเป็นมหาภูตรูป หรือธาตุ ๔, ๔ อย่างหลังเป็นอุปาทายรูป

อวิหิงสาวิตก ความตริตรึกในทางไม่เบียดเบียน,
       ความตรึกด้วยอำนาจกรุณา ไม่คิดทำความลำบากเดือดร้อนแก่ผู้อื่น คิดแต่จะช่วยเหลือเขาให้พ้นจากทุกข์
       (ข้อ ๓ ในกุศลวิตก ๓)

อศุภ ดู อสุภ

อโศกมหาราช พระราชาผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดพระองค์หนึ่งของชมพูทวีป และเป็นพุทธศาสนูปถัมภกที่สำคัญยิ่ง
       เป็นกษัตริย์พระองค์ที่ ๓ แห่งราชวงศ์โมริยะ ครองราชสมบัติ ณ พระนครปาฎลีบุตร ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๑๘ ถึง พ.ศ. ๒๖๐ (นักประวัติศาสตร์ปัจจุบันส่วนมากว่า พ.ศ. ๒๗๐-๓๒๑)
       เมื่อครองราชย์ได้ ๘ พรรษา ทรงยกทัพไปปราบแคว้นกลิงคะที่เป็นชนชาติเข้มแข็งลงได้ ทำให้อาณาจักรของพระองค์กว้างใหญ่ที่สุดในประวัติชาติอินเดีย แต่ในการสงครามนั้น มีผู้คนล้มตายและประสบภัยพิบัติมากมาย ทำให้พระองค์สลดพระทัย
       พอดีได้ทรงสดับคำสอนในพระพุทธศาสนา ทรงเลื่อมใส ได้ทรงเลิกการสงคราม หันมาทำนุบำรุงพระศาสนาและความรุ่งเรืองในทางสงบของประเทศ ทรงสร้างมหาวิหาร ๘๔,๐๐๐ แห่ง ทรงอุปถัมภ์การสังคายนาครั้งที่ ๓ และการส่งศาสนทูตออกไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาในนานาประเทศ เช่น พระมหินถเถระ ไปยังลังกาทวีป และพระโสณะพระอุตตระมายังสุวรรณภูมิ เป็นต้น
       ชาวพุทธไทยมักเรียกพระองค์ว่า พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช

อโศการาม ชื่อวัดสำคัญที่พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสร้างในกรุงปาฏลีบุตร เป็นที่ทำ สังคายนาครั้งที่ ๓

อสมานาสนิกะ ภิกษุผู้มีพรรษาอ่อนแก่กว่ากันเกิน ๓ พรรษา นั่งอาสนะคือเตียงตั่งสำหรับ ๒ รูป เสมอกันไม่ได้ (แต่นั่งอาสนะยาวด้วยกันได้);
       เทียบ สมานาสนิกะ

อสังขตะ ธรรมที่ปัจจัยมิได้ปรุงแต่ง, ธรรมที่ไม่เกิดจากเหตุปัจจัย ได้แก่ พระนิพพาน;
       ตรงข้ามกับ สังขตะ

อสังขตธรรม ธรรมอันมิได้ถูกปรุงแต่ง ได้แก่ นิพพาน
       (ข้อ ๒ ในธรรม ๒);
       ตรงข้ามกับ สังขตธรรม

อสังขารปรินิพพายี พระอนาคามีผู้จะปรินิพพานด้วยไม่ต้องใช้ความเพียรมากนัก
       (ข้อ ๓ ในอนาคามี ๕)

อสังขาริก “ไม่เป็นไปกับด้วยการชักนำ”, ไม่มีการชักนำ ใช้แก่จิตที่คิดดีหรือชั่วโดยเริ่มขึ้นเอง มิใช่ถูกกระตุ้นหรือชักจูงจากภายนอก จึงมีกำลังมาก;
       ตรงข้ามกับ สสังขาริก

อสังสัคคกถา ถ้อยคำที่ชักนำไม่ให้คลุกคลีด้วยหมู่
       (ข้อ ๔ ในกถาวัตถุ ๑๐)

อสังหาริมะ ซึ่งนำเอาไปไม่ได้, เคลื่อนที่ไม่ได้, ของติดที่ ขนเอาไปไม่ได้
       เช่น ที่ดิน โบสถ์ วิหาร เจดีย์ ต้นไม้ เรือน เป็นต้น;
       เทียบ สังหาริมะ

อสังหาริมทรัพย์ ทรัพย์เคลื่อนที่ไม่ได้ ได้แก่ ที่ดินและทรัพย์ซึ่งติดอยู่กับที่
       เช่น ตึก โรงรถ เป็นต้น,
       คู่กับ สังหาริมทรัพย์

อสัญญีสัตว์ สัตว์จำพวกไม่มีสัญญา ไม่เสวยเวทนา
       (ข้อ ๕ ในสัตตาวาส ๙)

อสัทธรรม ธรรมของอสัตบุรุษ มีหลายหมวด
       เช่น อสัทธรรม ๗ คือที่ตรงข้ามกับ สัทธรรม ๗ มีปราศจากศรัทธา ปราศจากหิริ เป็นต้น;
       ในคำว่า “ทอดกายเพื่อเสพอสัทธรรมก็ดี” หมายถึง เมถุนธรรม คือการร่วมประเวณี

อสาธารณสิกขาบท สิกขาบทที่ไม่ทั่วไป
       หมายถึง สิกขาบทเฉพาะของภิกษุณี ที่แผกออกไปจากสิกขาบทของภิกษุ;
       เทียบ สาธารณสิกขาบท

อสิตดาบส ดาบสผู้คุ้นเคย และเป็นที่นับถือของศากยราชสกุล อาศัยอยู่ข้างเขาหิมพานต์
       ได้ทราบข่าวว่า พระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะประสูติใหม่ จึงเข้าไปเยี่ยม พระราชาทรงนำพระราชโอรสออกมาเพื่อจะให้วันทาพระดาบส แต่พระบาททั้งสองของพระราชโอรสกลับเบี่ยงขึ้นไปประดิษฐานบนเศียรของพระดาบส
       เมื่อพิจารณาพระลักษณะของพระราชโอรสแล้ว มั่นใจว่าพระราชโอรสนั้นจักตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน นอกจากทำอัญชลีนบไหว้แล้ว ก็ได้แย้มยิ้มแสดงความแช่มชื่นออกมา
       แต่เมื่อมองเห็นว่า ตนจะไม่มีชีวิตอยู่จนถึงเวลาแห่งการตรัสรู้ ก็เสียใจร้องไห้
       กระนั้นก็ตาม พระดาบสได้ไปบอกหลานชายของท่าน ชื่อว่า นาลกะ ให้ออกบวชรอเวลาที่พระโพธิสัตว์จะได้ตรัสรู้
       อสิตดาบสนี้มีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า กาฬเทวิล หรือ กาฬเทวิลดาบส

อสีตยานุพยัญชนะ อนุพยัญชนะ ๘๐;
       ดู อนุพยัญชนะ

อสีติมหาสาวก พระสาวกผู้ใหญ่ ๘๐ องค์ บางทีเรียกอนุพุทธ ๘๐ องค์
       มีรายนามตามลำดับอักษร ดังนี้ (ที่พิมพ์ตัวเอน คือท่านที่เป็นเอตทัคคะ ด้วย):
       กังขาเรวต, กัปป, กาฬุทายี, กิมพิละ, กุมารกัสสปะ, กุณฑธาน,
       คยากัสสปะ, ควัมปติ,
       จุนทะ, จูฬปันถก,
       ชตุกัณณิ,
       ติสสเมตเตยยะ, โตเทยยะ,
       ทัพพมัลลบุตร,
       โธตกะ,
       นทีกัสสปะ, นันทะ, นันทกะ, นันทกะ, นาคิตะ, นาลกะ,
       ปิงคิยะ, ปิณโฑลภารทวาช, ปิลินทวัจฉะ, ปุณณกะ, ปุณณชิ, ปุณณมันตานีบุตร, ปุณณสุนาปรันตะ, โปสาละ,
       พาลุกะ (พักกุละ ก็เรียก), พาหิยทารุจีริยะ,
       ภคุ, ภัททิยะ (ศากยะ), ภัททิยะ, ภัทราวุธ,
       มหากัจจายนะ, มหากัปปินะ, มหากัสสปะ, มหาโกฏฐิตะ, มหานามะ, มหาปันถก, มหาโมคคัลลานะ, เมฆิยะ, เมตตคู, โมฆราช,
       ยสะ, ยโสชะ,
       รัฏฐปาละ, ราธะ, ราหุล, เรวตะ ขทิรวนิยะ,
       ลกุณฏกภัททิยะ,
       วักกลิ, วังคีสะ
, วัปปะ, วิมละ,
       สภิยะ, สาคตะ, สารีบุตร, สีวลี, สุพาหุ, สุภูติ, เสละ, โสณกุฏิกัณณะ, โสณโกฬิวิสะ, โสภิตะ,
       เหมกะ,
       องคุลิมาล, อชิตะ, อนุรุทธะ, อัญญาโกณทัญญะ, อัสสชิ, อานนท์, อุทยะ, อุทายี, อุบาลี, อุปวาณะ, อุปสีวะ, อุปเสนวังคันตบุตร, อุรุเวลกัสสปะ

อสุภ, อสุภะ สภาพที่ไม่งาม, พิจารณาร่างกายของตนและผู้อื่นให้เห็นสภาพที่ไม่งาม;
       ในความหมายเฉพาะ หมายถึงซากศพในสภาพต่างๆ ซึ่งใช้เป็นอารมณ์กรรมฐาน รวม ๑๐ อย่าง คือ
           ๑. อุทธุมาตกะ ซากศพที่เน่าพอง
           ๒. วินีลกะ ซากศพที่มีสีเขียวคล้ำ
           ๓. วิปุพพกะ ซากศพที่มีน้ำเหลืองไหลออกอยู่
           ๔. วิจฉิททกะ ซากศพที่ขาดกลางตัว
           ๕. วิกขายิตกะ ซากศพที่สัตว์กัดกินแล้ว
           ๖. วิกขิตตกะ ซากศพที่มีมือ เท้า ศีรษะขาด
           ๗. หตวิกขิตตกะ ซากศพที่คนมีเวรเป็นข้าศึกกัน สับฟันเป็นท่อนๆ
           ๘. โลหิตกะ ซากศพที่ถูกประหารด้วยศัสตรามีโลหิตไหลอาบอยู่
           ๙. ปุฬุวกะ ซากศพที่มีตัวหนอนคลานคล่ำไปอยู่
           ๑๐. อัฏฐิกะ ซากศพที่ยังเหลืออยู่แต่ร่างกระดูก

อสุภสัญญา กำหนดหมายถึงความไม่งามแห่งร่างกาย (ข้อ ๓ ในสัญญา ๑๐)

อสุรกาย “พวกอสูร”, ภพแห่งสัตว์เกิดในอบายพวกหนึ่ง เป็นพวกสะดุ้ง หวาดหวั่นไร้ความรื่นเริง
       (ข้อ ๔ ใน อบาย ๔);
       ดู คติ

อสูร สัตว์กึ่งเทพหรือเทพชั้นต่ำพวกหนึ่ง
       ตำนานกล่าวว่า เดิมเป็นเทวดาเก่า (บุพเทวา) เป็นเจ้าถิ่นครอบครองดาวดึงสเทวโลก ต่อมาถูกเทวดาพวกใหม่ มีท้าวสักกะเป็นหัวหน้าแย่งถิ่นไป โดยถูกเทพพวกใหม่นั้นจับเหวี่ยงลงมาในระหว่างพิธีเลี้ยง เมื่อพวกตนดื่มสุราจนเมามาย
       ได้ชื่อใหม่ว่า อสูร เพราะเมื่อฟื้นคืนสติขึ้นระหว่างทางที่ตกจากดาวดึงส์นั้น ได้กล่าวกันว่า “พวกเราไม่ดื่มสุราแล้ว” (อสูรจึงแปลว่า “ผู้ไม่ดื่มสุรา”) พวกอสูรได้ครองพิภพใหม่ที่เชิงเขาสิเนรุ หรือเขาพระสุเมรุ และมีสภาพความเป็นอยู่ มีอายุ วรรณะ ยศ อิสริยสมบัติ คล้ายกันกับเทวดาชั้นดาวดึงส์ พวกอสูรเป็นศัตรูโดยตรงกับเทวดา และมีเรื่องราวขัดแย้งทำสงครามกันบ่อยๆ
       พวกอสูรออกจะเจ้าโทสะ จึงมักถูกกล่าวถึง ในฐานะเป็นพวกมีนิสัยพาลหรือเป็นฝ่ายผิด

อเสขะ ผู้ไม่ต้องศึกษา เพราะศึกษาเสร็จสิ้นแล้ว
       ได้แก่ บุคคลผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตผล คือ พระอรหันต์;
       คู่กับ เสขะ

อเสขบุคคล บุคคลผู้ไม่ต้องศึกษา;
       ดู อเสขะ

อเหตุกทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่มีเหตุ
       คือ ความเห็นผิดว่า คนเราจะได้ดีหรือชั่วตามคราวเคราะห์ ถึงคราวจะดี ก็ดีเอง ถึงคราวจะร้าย ก็ร้ายเอง ไม่มีเหตุอื่นจะทำให้คนดีคนชั่วได้
       (ข้อ ๒ ในทิฏฐิ ๓)

อโหสิกรรม กรรมเลิกให้ผล ไม่มีผลอีก
       ได้แก่ กรรมทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล ที่เลิกให้ผล เหมือนพืชที่หมดยาง เพาะปลูกไม่ขึ้นอีก
       (ข้อ ๔ ในกรรม ๑๒)

อักโกสวัตถุ เรื่องสำหรับด่า มี ๑๐ อย่าง คือ
       ๑. ชาติ ได้แก่ชั้นหรือกำเนิดของคน
       ๒. ชื่อ
       ๓. โคตร คือตระกูลหรือแซ่
       ๔. การงาน
       ๕. ศิลปะ
       ๖. โรค
       ๗. รูปพรรณสัณฐาน
       ๘. กิเลส
       ๙. อาบัติ
       ๑๐. คำสบประมาทอย่างอื่นๆ

อักขระ ตัวหนังสือ, วิชาหนังสือ, คำ, เสียง, สระและพยัญชนะ

อักขรวิธี ตำราว่าด้วยวิธีเขียนและอ่านหนังสือให้ถูกต้อง

อักษร ตัวหนังสือ

อัคคสาวก ดู อัครสาวก

อัคคัญญสูตร ชื่อสูตรที่ ๔ แห่งทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค พระสุตตันตปิฎก
       ทรงแสดงแก่สามเณรวาเสฏฐะ และสามเณรภารัทวาชะ ผู้ออกบวชจากตระกูลพราหมณ์ ทรงคัดค้านคำกล่าวอ้างของพวกพราหมณ์ ที่ถือว่าพราหมณ์เป็นวรรณะประเสริฐที่สุด และถือว่าชาติกำเนิดเป็นเครื่องตัดสินความประเสริฐและความต่ำทรามของมนุษย์
       ทรงแสดงให้เห็นว่าความประเสริฐหรือต่ำทรามนั้นอยู่ที่ความประพฤติ โดยมีธรรมเป็นเครื่องตัดสิน คนวรรณะต่างๆ ออกบวชในพระพุทธศาสนาแล้ว ย่อมชื่อว่า เป็นผู้เกิดจากธรรมเสมอกันหมด
       แล้วทรงแสดงความเป็นมาของสังคมมนุษย์ เริ่มแต่เกิดมีสัตว์ขึ้นในโลกแล้วเปลี่ยนแปลงตามลำดับ จนเกิดมีมนุษย์ที่อยู่รวมกันเป็นหมู่เป็นพวก เกิดความจำเป็นต้องมีการปกครอง และมีการประกอบอาชีพ การงานต่างๆ กัน วรรณะทั้งสี่ก็เกิดจากความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ มิใช่เป็นเรื่องของพรหมสร้างสรรค์ แต่เกิดจากธรรม (ธรรมดา, กฎธรรมชาติ) ทุกวรรณะประพฤติชั่วก็ไปอบายได้ ปฏิบัติธรรมก็บรรลุนิพพานได้
       ธรรมเป็นเครื่องตัดสิน และธรรมเป็นของประเสริฐสูงสุด ผู้ที่สิ้นอาสวกิเลสแล้ว เป็นผู้ประเสริฐสุดในวรรณะทั้งสี่ ผู้ที่สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ประเสริฐสุด ในบรรดาเทวะและมนุษย์ทั้งปวง

อัคคิ ไฟ, ไฟกิเลส, กิเลสดุจไฟเผาลนจิตใจให้เร่าร้อน มี ๓ คือ
       ๑. ราคัคคิ ไฟคือราคะ
       ๒. โทสัคคิ ไฟคือโทสะ
       ๓. โมหัคคิ ไฟคือโมหะ

อัคคิเวสสนโคตร ตระกูลอัคคิเวสสนะ เป็นตระกูลของปริพาชกคนหนึ่งชื่อ ทีฆนขะ

อัคฆสโมธาน การประมวลโดยค่า,
       เป็นชื่อปริวาสที่ภิกษุผู้ปรารถนาจะออกจากอาบัติสังฆาทิเสสซึ่งต้องหลายคราว มีจำนวนวันปิดไม่เท่ากัน ประมวลอาบัติและวันเข้าด้วยกัน อยู่ปริวาสเท่าจำนวนวันที่มากที่สุด
       เช่น ต้องอาบัติ ๓ คราว คราวหนึ่งปิดไว้ ๓ วัน คราวหนึ่งปิดไว้ ๕ วัน คราวหนึ่งปิดไว้ ๗ วัน อยู่ปริวาสเท่าจำนวนมากที่สุด คือ ๗ วัน;
       ดู สโมธานปริวาส

อัคร เลิศ, ยอด, ล้ำเลิศ, ประเสริฐ, สุงสุด

อัครพหูสูต พหูสูตผู้เลิศ, ยอดพหูสูต, ผู้คงแก่เรียนอย่างยอดเยี่ยม หมายถึง พระอานนท์

อัครสาวก สาวกผู้เลิศ, สาวกผู้ยอดเยี่ยม
       หมายถึงพระสารีบุตร (เป็นอัครสาวกเบื้องขวา) และพระมหาโมคคัลลานะ (เป็นอัครสาวกเบื้องซ้าย)

อังคะ ชื่อแคว้นหนึ่งในบรรดา ๑๖ แคว้นใหญ่แห่งชมพูทวีป ตั้งอยู่ทิศตะวันออกของแคว้นมคธ มีแม่น้ำจัมปากั้นแดน และมีนครหลวง ชื่อจัมปา ในพุทธกาล แคว้นอังคะขึ้นกับแคว้นมคธ

อังคาร ถ่านเถ้าที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ

อังคารสตูป พระสถูปที่บรรจุพระอังคาร ซึ่งโมริยกษัตริย์สร้างไว้ที่เมืองปิปผลิวัน

อังคาส ถวายพระ, เลี้ยงพระ

อังคุดร หมายถึง อังคุตตรนิกาย

อังคุตตรนิกาย ชื่อนิกายที่ ๔ ในบรรดานิกาย ๕ แห่งพระสุตตันตปิฎก
       เป็นที่ชุมนุมพระสูตร ซึ่งจัดเข้าลำดับตามจำนวนหัวข้อธรรม เป็นหมวด ๑ (เอกนิบาต) หมวด ๒ (ทุกนิบาต) เป็นต้น จนถึงหมวด ๑๑ (เอกาทสนิบาต)

อังคุตตราปะ ชื่อแคว้นหนึ่งในชมพูทวีป ครั้งพุทธกาล เมืองหลวงเป็นเพียงนิคม ชื่อ อาปณะ

อังคุลิมาละ ดู องคุลิมาล

อังสะ ผ้าที่ภิกษุใช้ห้อยเฉวียงบ่า

อัจเจกจีวร จีวรรีบร้อน หรือผ้าด่วน
       หมายถึง ผ้าจำนำพรรษาที่ทายกผู้มีเหตุรีบร้อน ขอถวายก่อนกำหนดเวลาปกติ
       (กำหนดเวลาปกติสำหรับถวายผ้าจำนำพรรษา คือ จีวรกาลนั่นเอง กล่าวคือ ต้องผ่านวันปวารณาไปแล้ว เริ่มแต่แรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ ถึง ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒ และถ้ากรานกฐินแล้ว นับต่อไปอีกถึงขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๔;
       เหตุรีบร้อนนั้น เช่น เขาจะไปทัพหรือเจ็บไข้ไม่ไว้ใจชีวิต หรือมีศรัทธาเลื่อมใสเกิดขึ้นใหม่)
       อัจเจกจีวรเช่นนี้ มีพุทธานุญาตให้ภิกษุรับเก็บไว้ได้ แต่ต้องรับก่อนวันปวารณาไม่เกิน ๑๐ วัน (คือตั้งแต่ขึ้น ๖ ค่ำ ถึง ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑)
       (สิกขาบทที่ ๘ แห่งปัตตวรรค นิสสัคคิยปาจิตตีย์)

อัจฉริยะ “เหตุอันควรที่จะดีดนิ้วเปาะ”,
       อัศจรรย์, แปลกวิเศษ, น่าทึ่งควรยอมรับนับถือ, ดีเลิศล้ำน่าพิศวง, มีความรู้ความสามารถทรงคุณสมบัติเหนือสามัญหรือเกินกว่าระดับปกติ

อัชฌาจาร ความประพฤติชั่ว, การละเมิดศีล, การล่วงมรรยาท, การละเมิดประเพณี

อัชฌาสัย นิสัยใจคอ, ความนิยม, ความมีน้ำใจ

อัญชนะ กษัตริย์โกลิยวงศ์ผู้ครองเทวทหนคร มีมเหสีพระนามว่า ยโสธรา
       เป็นพระชนกของพระมหามายาเทวี ผู้เป็นพระพุทธมารดาและพระนางมหาปชาบดีโคตมี
       (ตำนานว่า มีโอรสด้วย ๒ องค์ คือ ทัณฑปาณิ และสุปปพุทธะ)

อัญชลีกรรม การประนมมือแสดงความเคารพ

อญฺชลีกรณีโย พระสงฆ์เป็นผู้ควรได้รับอัญชลีกรรม คือ การกราบไหว้ ประนมมือไหว้ เพราะมีความดีที่ควรแก่การไหว้ ทำให้ผู้ไหว้ผู้กราบ ไม่ต้องกระดากใจ
       (ข้อ ๘ ในสังฆคุณ ๙)

อัญญเดียรถีย์ ผู้ถือลัทธินอกพระพุทธศาสนา

อัญญภาคิยสิกขาบท ชื่อสิกขาบทที่ ๙ แห่งสังฆาทิเสส (ภิกษุหาเลสโจทภิกษุอื่นด้วยอาบัติปาราชิก),
       เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ทุติยทุฏฐโทสสิกขาบท

อัญญวาทกกรรม กรรมที่จะพึงกระทำแก่ภิกษุผู้กล่าวคำอื่น
       คือ ภิกษุประพฤติอนาจาร สงฆ์เรียกตัวมาถาม แกล้งยกเรื่องอื่นๆ มาพูดกลบเกลื่อนเสีย ไม่ให้การตามตรง,
       สงฆ์สวดประกาศความนั้นด้วยญัตติทุติยกรรม เรียกว่า ยกอัญญวาทกกรรมขึ้น,
       เมื่อสงฆ์ประกาศเช่นนี้แล้ว ภิกษุนั้นยังขืนทำอย่างเดิมอีก ต้องอาบัติปาจิตตีย์
       (สิกขาบทที่ ๒ แห่งภูตคามวรรค ปาจิตติยกัณฑ์);
       คู่กับ วิเหสกกรรม

อัญญสมานาเจตสิก เจตสิกที่มีเสมอกันแก่จิตพวกอื่น คือ ประกอบเข้าได้กับจิตต์ทุกฝ่ายทั้งกุศลและอกุศล มิใช่เข้าได้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายเดียว มี ๑๓ แยกเป็น
       ก. สัพพจิตตสาธารณเจตสิก (เจตสิกที่เกิดทั่วไปกับจิตทุกดวง) ๗ คือ
           ผัสสะ (ความกระทบอารมณ์)
           เวทนา
           สัญญา
           เจตนา
           เอกัคคตา
           ชีวิตินทรีย์
           มนสิการ (ความกระทำอารมณ์ไว้ในใจ, ใส่ใจ)
       ข. ปกิณณกเจตสิก (เจตสิกที่เรี่ยราย คือเกิดกับจิตได้ทั้งฝ่ายกุศลและอกุศล แต่ไม่แน่นอนเสมอไปทุกดวง) ๖ คือ
           วิตก (ความตรึกอารมณ์)
           วิจาร (ความตรองอารมณ์)
           อธิโมกข์ (ความปักใจในอารมณ์)
           วิริยะ
           ปีติ
           ฉันทะ (ความพอใจในอารมณ์)

อัญญสัตถุเทศ การถือศาสนาอื่น จัดเป็นความผิดพลาดสถานหนัก
       (ข้อ ๖ ในอภิฐาน ๖)

อัญญสัตววิสัย วิสัยของสัตว์อื่น, วิสัยของสัตว์ทั่วๆ ไป

อัญญาโกณฑัญญะ พระมหาสาวกผู้เป็นปฐมสาวกของพระพุทธเจ้า เป็นรูปหนึ่งในคณะพระปัญจวัคคีย์
       เป็นบุตรพราหมณ์มหาศาล เกิดที่หมู่บ้านโทณวัตถุ ไม่ไกลจากกรุงกบิลพัสดุ์ เดิมชื่อ โกณฑัญญะ
       เป็นพราหมณ์หนุ่มที่สุดในบรรดาพราหมณ์ ๘ คน ผู้ทำนายลักษณะของสิทธัตถกุมาร และเป็นผู้เดียวที่ทำนายว่า พระกุมารจะทรงออกบรรพชาได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างแน่นอน มีคติเป็นอย่างเดียว
       ต่อมาท่านออกบวชตามเสด็จพระสิทธัตถะ ขณะบำเพ็ญทุกรกิริยา เป็นหัวหน้าพระเบญจวัคคีย์ และได้นำคณะหลีกหนีไป เมื่อพระมหาบุรุษเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา กลับเสวยพระกระยาหาร
       ต่อมาเมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วเสด็จไปโปรด ท่านสดับปฐมเทศนา ได้ดวงตาเห็นธรรม ขอบรรพชาอุปสมบทเป็นปฐมสาวกของพระพุทธเจ้า
       โกณฑัญญะ ที่ได้ชื่อว่า อัญญาโกณฑัญญะ เพราะเมื่อท่านฟังปฐมเทศนาของพระพุทธเจ้า และได้ธรรมจักษุ พระพุทธเจ้าทรงเปล่งอุทานว่า “อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญๆ” (โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอๆ) คำว่า อัญญาจึงมารวมเข้ากับชื่อของท่าน
       ต่อมาท่านได้สำเร็จอรหัตด้วยฟังอนัตตลักขณสูตร
       ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในทางรัตตัญญู (รู้ราตรีนาน คือ บวชนาน รู้เห็นเหตุการณ์มากมาแต่ต้น)
       ท่านทูลลาพระพุทธเจ้าไปอยู่ที่ฝั่งสระมันทากินี ในป่าฉัททันตวัน แดนหิมพานต์ อยู่ ณ ที่นั้น ๑๒ ปี ก็ปรินิพพานก่อนพุทธปรินิพพาน;
       ดู โกณฑัญญะ ด้วย

อัฏฐกะ หมวด ๘

อัฏฐบาน ปานะทั้ง ๘, น้ำปานะคือน้ำคั้นผลไม้ ๘ อย่าง;
       ดู ปานะ

อัฏฐารสเภทกรวัตถุ เรื่องทำความแตกกัน ๑๘ อย่าง,
       เรื่องที่จะก่อให้เกิดความแตกแยกแก่สงฆ์ ๑๘ ประการ ท่านจัดเป็น ๙ คู่ (แสดงแต่ฝ่ายคี่) คือ
           ภิกษุแสดงสิ่งมิใช่ธรรม ว่าเป็นธรรม,
           แสดงสิ่งมิใช่วินัย ว่าเป็นวินัย,
           แสดงสิ่งที่พระตถาคตมิได้ตรัส ว่าได้ตรัส,
           แสดงสิ่งที่พระตถาคตมิได้ประพฤติ ว่าได้ประพฤติ,
           แสดงสิ่งที่พระตถาคตมิได้บัญญัติ ว่าได้บัญญัติ,
           แสดงอาบัติ ว่ามิใช่อาบัติ,
           แสดงอาบัติเบา ว่าเป็นอาบัติหนัก,
           แสดงอาบัติมีส่วนเหลือ ว่าเป็นอาบัติไม่มีส่วนเหลือ,
           แสดงอาบัติหยาบคาย ว่ามิใช่อาบัติหยาบคาย
       (ฝ่ายคู่ก็ตรงกันข้ามจากนี้ตามลำดับ
           เช่น แสดงธรรม ว่ามิใช่ธรรม, แสดงวินัย ว่ามิใช่วินัย ฯลฯ แสดงอาบัติไม่หยาบคาย ว่าเป็นอาบัติหยาบคาย)

อัฏฐิ กระดูก, บัดนี้เรียกว่า อัฐิ

อัฏฐิมิญชะ เยื่อในกระดูก (ปัจจุบันแปลว่า ไขกระดูก)

อัฑฒกุสิ เส้นคั่นดุจคันนาขวางระหว่างขันฑ์กับขันฑ์ของจีวร;
       เทียบ กุสิ

อัณฑชะ สัตว์เกิดในใข่ คือออกไข่เป็นฟองแล้วจึงฟักออกเป็นตัว เช่น ไก่ นก จิ้งจก เป็นต้น
       (ข้อ ๒ ในโยนิ ๔)

อัฑฒมณฑล กระทงน้อย คือ ชิ้นส่วนของจีวรพระที่เป็นผืนผ้ารูปสี่เหลี่ยม มีแผ่นผ้าแคบคั่นแต่ละด้าน ลักษณะเหมือนกระทงนามีคันนากั้น,
       มี ๒ ขนาด กระทงเล็กเรียก อัฑฒมณฑล กระทงใหญ่เรียก มณฑล,
       กระทงเล็กหรือกระทงน้อย มีขนาดครึ่งหนึ่งของกระทงใหญ่ ในจีวรผืนหนึ่ง มีกระทงน้อยอย่างต่ำ ๕ ชิ้น

อัตตกิลมถานุโยค การประกอบตนให้ลำบากเปล่า
       คือ ความพยายามเพื่อบรรลุผลที่หมายด้วยวิธีทรมานตนเอง
       เช่น การบำเพ็ญตบะต่างๆ ที่นิยมกันในหมู่นักบวชอินเดียจำนวนมาก
       (ข้อ ๒ ในที่สุด ๒ อย่าง)

อัตตภาพ ความเป็นตัวตน, ชีวิต, เบญจขันธ์;
       บัดนี้เขียน อัตภาพ

อัตตวาทุปาทาน การถือมั่นวาทะว่าตน
       คือ ความยึดถือสำคัญมั่นหมายว่า นั่นนี่เป็นตัวตน
       เช่น มองเห็นเบญจขันธ์เป็นอัตตา,
       อย่างหยาบขึ้นมา เช่น ยึดถือมั่นหมายว่า นี่เรา นั่นของเรา จนเป็นเหตุแบ่งแยกเป็นพวกเรา พวกเขา และเกิดความถือพวก
       (ข้อ ๔ ในอุปาทาน ๔)

อัตตวินิบาต ทำลายตัวเอง, ฆ่าตัวเอง;
       บัดนี้เขียน อัตวินิบาต

อัตตสัมมาปณิธิ การตั้งตนไว้ชอบ
       คือ ดำรงตนอยู่ในศีลธรรม และดำเนินแน่วแน่ในวิถีทางที่จะนำไปสู่จุดหมายที่ดีงาม
       (ข้อ ๓ ในจักร ๔)

อัตตสุทธิ การทำตนให้บริสุทธิ์จากบาป

อัตตหิตสมบัติ ดู อัตตัตถสมบัติ

อัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักตน เช่น รู้ว่า เรามีความรู้ ความถนัด คุณธรรม ความสามารถ และฐานะ เป็นต้น แค่ไหนเพียงไร แล้วประพฤติปฏิบัติให้เหมาะสมเพื่อให้เกิดผลดี
       (ข้อ ๓ ในสัปปุริสธรรม ๗)

อัตตัตถะ ประโยชน์ตน, สิ่งที่เป็นคุณแก่ชีวิต ช่วยให้เป็นอยู่ด้วยดี สามารถพึ่งตน หรือเป็นที่พึ่งแก่ตนได้ ไม่ว่าจะเป็นทิฏฐธัมมิกัตถะ หรือสัมปรายิกัตถะ หรือปรมัตถะ ก็ตาม;
       เทียบ ปรัตถะ

อัตตัตถสมบัติ “ความถึงพร้อมด้วยประโยชน์ตน” เป็นพุทธคุณอย่างหนึ่ง
       คือ การที่ได้ทรงบำเพ็ญพระบารมีธรรม กำจัดอาสวกิเลสทั้งปวง และทำศีล สมาธิ ปัญญาให้บริบูรณ์ สมบูรณ์ด้วยพระญาณทั้งหลาย เพียบพร้อมด้วยพระคุณสมบัติมากมาย เป็นที่พึ่งของพระองค์เองได้ และเป็นผู้พรั่งพร้อมที่จะบำเพ็ญกิจเพื่อประโยชน์แก่ชาวโลกต่อไป
       มักเขียนเป็น อัตตหิตสัมบัติ ซึ่งแปลเหมือนกัน;
       เป็นคู่กันกับ ปรัตถปฏิบัติ หรือ ปรหิตปฏิบัติ

อัตตา ตัวตน, อาตมัน;
       ปุถุชนย่อมยึดมั่น มองเห็นขันธ์ ๕ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งหมดเป็นอัตตา หรือยึดถือว่า อัตตาเนื่องด้วยขันธ์ ๕ โดยอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง;
       เทียบ อนัตตา

อัตตาธิปเตยยะ ดู อัตตาธิปไตย

อัตตาธิปไตย ความถือตนเป็นใหญ่ จะทำอะไรก็นึกถึงตน คำนึงถึงฐานะเกียรติศักดิ์ศรี หรือผลประโยชน์ของตนเป็นสำคัญ,
       พึงใช้แต่ในขอบเขตที่เป็นความดี คือ เว้นชั่วทำดีด้วยเคารพตน
       (ข้อ ๑ ในอธิปไตย ๓)

อัตตานุทิฏฐิ ความตามเห็นว่าเป็นตัวตน

อัตถะ ประโยชน์,
       ผลที่มุ่งหมาย มี ๓ คือ
           ๑. ทิฏฐธัมมิกัตถะ ประโยชน์ปัจจุบัน, ประโยชน์ในภพนี้
           ๒. สัมปรายิกัตถะ ประโยชน์เบื้องหน้า, ประโยชน์ในภพหน้า
           ๓. ปรมัตถะ ประโยชน์อย่างยิ่ง, ประโยชน์สูงสุด คือพระนิพพาน;
       อัตถะ ๓ อีกหมวดหนึ่ง คือ
           ๑. อัตตัตถะ ประโยชน์ตน
           ๒. ปรัตถะ ประโยชน์ผู้อื่น
           ๓. อุภยัตถะ ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย

อัตถจริยา ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น, การบำเพ็ญประโยชน์
       (ข้อ ๓ ในสังคหวัตถุ ๔)

อัตถปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในอรรถ,
       ความแตกฉานสามารถอธิบายเนื้อความย่อของภาษิตโดยพิสดาร และความเข้าใจที่สามารถคาดหมายผลข้างหน้า อันจะเกิดสืบเนื่องไปจากเหตุ
       (ข้อ ๑ ในปฏิสัมภิทา ๔)

อัตถสาธกะ ยังอรรถให้สำเร็จ, ทำเนื้อความให้สำเร็จ

อัตถัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักผล
       เช่น รู้จักว่า สุขเป็นผลแห่งเหตุอันนี้ ทุกข์เป็นผลแห่งเหตุอันนี้, รู้ความมุ่งหมายและรู้จักผล;
       ตามบาลีว่า รู้ความหมาย เช่นว่า ธรรมข้อนี้ๆ มีความหมายอย่างนี้ๆ หลักข้อนี้ๆ มีเนื้อความอย่างนี้ๆ
       (ข้อ ๒ ในสัปปุริสธรรม ๗)

อัตถุปปัตติ เหตุที่ให้มีเรื่องขึ้น, เหตุให้เกิดเรื่อง

อัธยาจาร ดู อัชฌาจาร

อัธยาศัย นิสัยใจคอ, ความนิยมในใจ

อันตะ ไส้ใหญ่

อันตคาหิกทิฏฐิ ความเห็นที่ยึดเอาที่สุด
       คือ แล่นไปถึงที่สุดในเรื่องหนึ่งๆ มี ๑๐ อย่าง คือ
           ๑. โลกเที่ยง
           ๒. โลกไม่เที่ยง
           ๓. โลกมีที่สุด
           ๔. โลกไม่มีที่สุด
           ๕. ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น
           ๖. ชีพก็อย่าง สรีระก็อย่าง
           ๗. สัตว์ตายแล้ว ยังมีอยู่
           ๘. สัตว์ตายแล้ว ย่อมไม่มี
           ๙. สัตว์ตายแล้วทั้งมีอยู่ ทั้งไม่มี
           ๑๐. สัตว์ตายแล้วจะมีอยู่ ก็ไม่ใช่ ไม่มีอยู่ ก็ไม่ใช่

อันตคุณ ไส้น้อย, ไส้ทบ

อันตรธาน หายไป, เสื่อมสิ้นไป, สูญหายไป

อันตรวาสก ผ้านุ่ง, สบง, เป็นผืนหนึ่งใน ไตรจีวร

อันตราบัติ อาบัติสังฆาทิเสส ที่ต้องใหม่อีกในระหว่างประพฤติวุฏฐานวิธี คือตั้งแต่เริ่มอยู่ปริวาสไปจนถึงก่อนอัพภาน

อันตราปรินิพพายี พระอนาคามีผู้จะปรินิพพาน ในระหว่างอายุยังไม่ทันถึงกึ่ง
       (ข้อ ๑ ในอนาคามี ๕)

อันตรายของภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่ เหตุที่จะทำให้ผู้บวชในธรรมวินัยนี้ ประพฤติพรหมจรรย์อยู่ได้ไม่ยั่งยืน
       มี ๔ อย่าง คือ
           ๑. อดทนต่อคำสั่งสอนไม่ได้
           ๒. เห็นแก่ปากแก่ท้อง
           ๓. ฝันใฝ่ทะยานอยากได้กามคุณ
           ๕. รักผู้หญิง

อันตราย ๑๐ เหตุฉุกเฉิน หรือเหตุขัดข้องที่ทรงอนุญาตให้เลิกสวดปาฏิโมกข์ได้ โดยให้สวดปาฏิโมกข์ย่อแทน
       มี ๑๐ คือ
           ๑. ราชันตราย พระราชาเสด็จมา (เลิกสวดเพื่อรับเสด็จ)
           ๒. โจรันตราย โจรมาปล้น (เพื่อหนีภัย)
           ๓. อัคยันตราย ไฟไหม้ (เพื่อดับหรือป้องกันไฟ)
           ๔. อุทกันตราย น้ำหลากมา (หรือฝนตกเมื่อสวดกลางแจ้ง; เพื่อหนีน้ำ)
           ๕. มนุสสันตราย คนมามาก (เพื่อรู้เหตุหรือปฏิสันถาร)
           ๖. อมนุสสันตราย ผีเข้าภิกษุ (เพื่อขับผี)
           ๗. วาฬันตราย สัตว์ร้าย เช่น เสือมาในวัด (เพื่อไล่สัตว์)
           ๘. สิริงสปันตราย งูเลื้อยเข้ามา (เพื่อไล่งู)
           ๙. ชีวิตันตราย มีเรื่องเป็นตาย เช่น ภิกษุอาพาธโรคร้าย (เพื่อช่วยแก้ไข)
           ๑๐. พรหมจริยันตราย มีอันตรายแก่พรหมจรรย์ เช่น มีคนมาจับภิกษุ (เลิกเพราะอลหม่าน);
       ดู ปาฏิโมกข์ย่อ, อุเทศ
       อนึ่ง ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเทส ถ้ามีอันตรายเหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่ง แม้ไม่ได้บอกอาบัติของตนพ้นคืนไป ยังไม่ถือว่าปิดอาบัติ

อันตรายิกธรรม ธรรมอันกระทำอันตราย
       คือ เหตุขัดขวางต่างๆ เช่น เหตุขัดขวางการอุปสมบท ๘ อย่าง มีการเป็นโรคเรื้อน เป็นต้น

อันติมวัตถุ “วัตถุมีในที่สุด”
       หมายถึง อาบัติปาราชิก ซึ่งทำให้ภิกษุและภิกษุณีผู้ต้อง มีโทษถึงที่สุดคือ ขาดจากภาวะของตน

อันเตวาสิก ผู้อยู่ในสำนัก, ภิกษุผู้ขออยู่ร่วมสำนัก, ศิษย์ (ภิกษุผู้รับให้อยู่ร่วมสำนักเรียกอาจารย์);
       อันเตวาสิกมี ๔ ประเภทคือ
           ๑. ปัพพชันเตวาสิก อันเตวาสิกในบรรพชา
           ๒. อุปสัมปทันเตวาสิก อันเตวาสิกในอุปสมบท
           ๓. นิสสยันเตวาสิก อันเตวาสิกผู้ถือนิสัย
           ๔. ธัมมันเตวาสิก อันเตวาสิกผู้เรียนธรรม

อันธกวินทะ ชื่อหมู่บ้านแห่งหนึ่งในแคว้นมคธ อยู่ห่างจากกรุงราชคฤห์ประมาณ ๑ คาวุต
       (คัมภีร์ฉบับสีหลว่า ๓ คาวุต)

อัปปณิหิตวิโมกข์ ความหลุดพ้นด้วยไม่ทำความปรารถนา
       คือ พิจารณาเห็นนามรูปเป็นทุกข์ แล้วถอนความปรารถนาเสียได้
       (ข้อ ๓ ในวิโมกข์ ๓)

อัปปณิหิตสมาธิ การเจริญสมาธิที่ทำให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดทุกขลักษณะ
       (ข้อ ๓ ในสมาธิ ๓)

อัปปนาภาวนา ภาวนาขั้นแน่วแน่ คือ ฝึกสมาธิถึงขั้นเป็นอัปปนา เป็นขั้นบรรลุปฐมฌาน
       (ข้อ ๓ ในภาวนา ๓)

อัปปนาสมาธิ สมาธิแน่วแน่, จิตตั้งมั่นสนิท เป็นสมาธิในฌาน
       (ข้อ ๒ ในสมาธิ ๒, ข้อ ๓ ในสมาธิ ๓)

อัปปมัญญา ธรรมที่แผ่ไปไม่มีประมาณ
       หมายถึง เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ที่แผ่ทั่วไปในมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายอย่างกว้างขวาง สม่ำเสมอกัน ไม่จำกัดขอบเขต มี ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ที่กล่าวแล้วนั้น;
       ดู พรหมวิหาร

อัปปมัตตกวิสัชชกะ ภิกษุผู้ได้รับสมมติ คือ แต่งตั้งจากสงฆ์ให้มีหน้าที่เป็นผู้จ่ายของเล็กน้อย
       เช่น เข็มเย็บผ้า มีดตัดเล็บ ประคด เภสัชทั้งห้า เป็นต้น ให้แก่ภิกษุทั้งหลาย

อัปปมาทะ ความไม่ประมาท, ความเป็นอยู่อย่างไม่ขาดสติ, ความไม่เผลอ, ความไม่เลินเล่อเผลอสติ, ความไม่ปล่อยปละละเลย, ความระมัดระวังที่จะไม่ทำเหตุแห่งความผิดพลาดเสียหาย และไม่ละเลยโอกาสที่จะทำเหตุแห่งความดีงามและความเจริญ, ความมีสติรอบคอบ
       ความไม่ประมาท พึงกระทำในที่ ๔ สถาน คือ
           ๑. ในการละกายทุจริต ประพฤติกายสุจริต
           ๒. ในการละวจีทุจริต ประพฤติวจีสุจริต
           ๓. ในการละมโนทุจริต ประพฤติมโนสุจริต
           ๔. ในการละความเห็นผิด ประกอบความเห็นที่ถูก;
       อีกหมวดหนึ่งว่า
           ๑. ระวังใจไม่ให้กำหนัด ในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
           ๒. ระวังใจไม่ให้ขัดเคือง ในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง
           ๓. ระวังใจไม่ให้หลง ในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความหลง
           ๔. ระวังใจไม่ให้มัวเมา ในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา

อัปปมาทคารวตา ดู คารวะ

อัปปมาทธรรม ธรรมคือความไม่ประมาท

อัปยศ ปราศจากยศ, เสียชื่อเสียง, เสื่อมเสีย, น่าขายหน้า

อัปปิจฉกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความปรารถนาน้อย หรือมักน้อย
       (ข้อ ๑ ในกถาวัตถุ ๑๐)

อัปปิยารมณ์ อารมณ์ที่ไม่น่ารัก ไม่น่าชอบใจ ไม่น่าปรารถนา เช่น รูปที่ไม่สวยไม่งามเป็นต้น

อพฺพุฬฺหสลฺโล มีลูกศรอันถอนแล้ว หมายถึงหมดกิเลสที่ทิ่มแทง, เป็นคุณบทของพระอรหันต์

อัพโพหาริก กล่าวไม่ได้ว่ามี, มีแต่ไม่ปรากฏ จึงไม่ได้โวหารว่ามี, มีเหมือนไม่มี
       เช่น สุราที่เขาใส่ในอาหารบางอย่างเพื่อฆ่าคาวหรือชูรส และเจตนาที่มีในเวลาหลับ เป็นต้น

อัพภันดร มาตราวัดในภาษามคธ เทียบไทยได้ ๒๘ ศอก หรือ ๗ วา

อัพภาน “การเรียกเข้า” การรับกลับเข้าหมู่,
       เป็นขั้นตอนสุดท้ายแห่งวุฏฐานวิธี คือ ระเบียบปฏิบัติในการออกจากครุกาบัติขั้นสังฆาทิเสส
       ได้แก่ การที่สงฆ์สวดระงับอาบัติ รับภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส และได้ทำโทษตนเองตามวิธีที่กำหนดเสร็จแล้ว ให้กลับคืนเป็นผู้บริสุทธิ์
       วิธีปฏิบัติ คือ ถ้าต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วไม่ได้ปิดไว้ พึงประพฤติมานัตสิ้น ๖ ราตรีแล้ว ขออัพภานกะสงฆ์วีสติวรรค สงฆ์สวดอัพภานแล้ว ชื่อว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จากอาบัติ,
       แต่ถ้าภิกษุผู้ต้องปกปิดอาบัติไว้ล่วงวันเท่าใด ต้องประพฤติวัตรเรียกว่า อยู่ปริวาส ชดใช้ครบจำนวนวันเท่านั้นก่อน จึงประพฤติมานัตเพิ่มอีก ๖ ราตรี แล้วจึงขออัพภานกะสงฆ์วีสติวรรค เมื่อสงฆ์อัพภานแล้ว อาบัติสังฆาทิเสสที่ต้อง ชื่อว่า เป็นอันระงับ

อัพภานารหะ ภิกษุผู้ควรแก่อัพภาน
       ได้แก่ ภิกษุผู้ประพฤติมานัตสิ้น ๖ ราตรี ครบกำหนดแล้ว เป็นผู้ควรแก่อัพภาน
       คือ ควรที่สงฆ์วีสติวรรคจะสวดอัพภาน (เรียกเข้าหมู่) ได้ต่อไป

อัพภานารหภิกษุ ดู อัพภานารหะ

อัพโภกาสิกังคะ องค์แห่งผู้ถืออยู่ในที่แจ้งเป็นวัตร
       คือ อยู่เฉพาะกลางแจ้ง ไม่อยู่ในที่มุงบัง หรือแม้แต่โคนไม้
       (ห้ามถือในฤดูฝน)
       (ข้อ ๑๐ ในธุดงค์ ๑๓)

อัพยากตะ, อัพยากฤต “ซึ่งท่านไม่พยากรณ์”,
       บอกไม่ได้ว่าเป็นกุศลหรืออกุศล คือ เป็นกลางๆ ไม่ดีไม่ชั่ว ไม่ใช่กุศลไม่ใช่อกุศล

อัมพปาลีวัน สวนที่หญิงแพศยาชื่ออัมพปาลี ถวายเป็นสังฆาราม ไม่นานก่อนพุทธปรินิพพาน อยู่ในเขตเมืองเวสาลี

อัมพวัน สวนมะม่วง มีหลายแห่ง เพื่อกันสับสน ท่านมักใส่ชื่อเจ้าของสวนนำหน้าด้วย
       เช่น สวนมะม่วงของหมอชีวก ในเขตเมืองราชคฤห์ ซึ่งถวายเป็นสังฆาราม เรียกว่า ชีวกัมพวัน เป็นต้น

อัยกะ, อัยกา ปู่, ตา

อัยการ เจ้าพนักงานที่ศาลฝ่ายอาณาจักร จัดไว้เป็นเจ้าหน้าที่ฟ้องร้อง, ทนายแผ่นดิน, ทนายหลวง

อัยกี, อัยยิกา ย่า, ยาย

อัศวเมธ พิธีเอาม้าบูชายัญ คือปล่อยม้าอุปการให้ผ่านดินแดนต่างๆ เป็นการประกาศอำนาจจนม้านั้นกลับแล้ว เอาม้านั้นฆ่าบูชายัญ เป็นพิธีประกาศอานุภาพของราชาธิราชในอินเดียครั้งโบราณ

อัสดงค์ ตกไป คือ พระอาทิตย์ตก,
       พจนานุกรมเขียน อัสดง

อัสมิมานะ การถือตัวว่านี่ฉัน นี่กู กูเป็นนั่นเป็นนี่, การถือเราถือเขา

อัสสกะ ชื่อแคว้นหนึ่งในบรรดา ๑๖ แคว้นใหญ่แห่งชมพูทวีป ตั้งอยู่ลุ่มน้ำโคธาวรี ทิศตะวันตกเฉียงเหนือแห่งแคว้นอวันตี นครหลวงชื่อ โปตลิ (บางทีเรียก โปตนะ)

อัสสชิ
       1. พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นพระเถระรูปหนึ่งในคณะปัญจวัคคีย์
           เป็นพระอรหันต์รุ่นแรก และ
           เป็นอาจารย์ของพระสารีบุตร
       2. ชื่อภิกษุรูปหนึ่งในภิกษุ ๖ รูป ซึ่งประพฤติเหลวไหลที่เรียกว่า พระฉัพพัคคีย์ คู่กับพระปุนัพพสุกะ

อัสสพาชี ม้า

อัสสยุชมาส, ปฐมกัตติกมาส เดือน ๑๑;
       ปุพพกัตติกา หรือ บุพกัตติกา ก็เรียก

อัสสัตถพฤกษ์ ต้นไม้อัสสัตถะ,
       ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม อันเป็นสถานที่ที่พระมหาบุรุษ ได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ;
       ดู โพธิ์

อัสสาทะ ความยินดี, ความพึงพอใจ, รสอร่อย
       เช่น รสอร่อยของกาม, ส่วนดี, ส่วนที่น่าชื่นชม

อัสสาสะ ลมหายใจเข้า

อัสสุ น้ำตา

อากร หมู่, กอง, บ่อเกิด, ที่เกิด เช่น
           ทรัพยากร ที่เกิดทรัพย์
           ศิลปากร บ่อเกิดศิลปะ,
       ค่าธรรมเนียมที่รัฐบาลเรียกเก็บ จากสิ่งที่เกิดจากธรรมชาติ หรือสิ่งที่ทำขึ้นเพื่อการค้า

อากัปกิริยา การแต่งตัวดี และมีท่าทางเรียบร้อยงดงาม;
       กิริยาท่าทาง

อาการ ความเป็นอยู่, ความเป็นไป, สภาพ, ท่าทาง, ท่วงที, ทำนอง, กิริยา, กิริยาที่ทำ, ลักษณะของการกระทำหรือความเป็นไป

อาการ ๓๒ ดู ทวัตติงสาการ

อาการที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน มี ๓ อย่างคือ
       ๑. ทรงรู้ยิ่งเห็นจริงเองแล้ว จึงทรงสั่งสอนผู้อื่น เพื่อให้รู้ยิ่งเห็นจริงตามในธรรมที่ควรรู้ควรเห็น
       ๒. ทรงสั่งสอนมีเหตุผล ซึ่งผู้ฟังอาจตรองตามให้เห็นจริงได้ ไม่เลื่อนลอย
       ๓. ทรงสั่งสอนเป็นอัศจรรย์ ทำให้ผู้ฟังยอมรับ และนำไปปฏิบัติตาม ได้รับผลจริง บังเกิดประโยชน์สมควรแก่การปฏิบัติ

อากาศ ที่ว่างเปล่า, ช่องว่าง;
       ท้องฟ้า

อากาศธาตุ สภาวะที่ว่าง, ความเป็นที่ว่างเปล่า,
       ช่องว่างในร่างกาย ที่ใช้เป็นอารมณ์กรรมฐาน เช่น ช่องหู ช่องจมูก ช่องปาก ช่องอวัยวะต่างๆ;
       ดู ธาตุ

อากาสานัญจายตนะ ฌานกำหนดอากาศ คือช่องว่างหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์,
       ภพของผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนฌาน
       (ข้อ ๑ ในอรูป ๔)

อากิญจัญญายตนะ ฌานกำหนดภาวะที่ไม่มีอะไรเลยเป็นอารมณ์,
       ภพของผู้เข้าถึงอากิญจัญญายตนฌาน
       (ข้อ ๓ ในอรูป ๔)

อากูล วุ่นวาย, ไม่เรียบร้อย, สับสน, คั่งค้าง

อาคม ปริยัติที่เรียน, การเล่าเรียนพุทธพจน์;
       ในภาษาไทยมีความหมายเพี้ยนไปเป็นเวทมนตร์

อาคันตุกะ ผู้มาหา, ผู้มาจากที่อื่น, ผู้จรมา, แขก;
       (ในคำว่า “ถ้าปรารถนาจะให้อาคันตุกะได้รับแจกด้วย”) ภิกษุผู้จำพรรษามาจากวัดอื่น,
       ถ้าภิกษุผู้มีหน้าที่เป็นจีวรภาชกะ (ผู้แจกจีวร) ปรารถนาจะให้อาคันตุกะมีส่วนได้รับแจกจีวรด้วย ต้องอปโลกน์ คือ บอกเล่าขออนุมัติต่อภิกษุเจ้าถิ่น คือผู้จำพรรษาในวัดนั้น (ซึ่งเรียกว่าวัสสิกะ หรือ วัสสาวาสิกะ แปลว่า “ภิกษุผู้อยู่จำพรรษา”)

อาคันตุกภัต อาหารที่เขาถวายเฉพาะภิกษุอาคันตุกะ คือผู้จรมาจากต่างถิ่น

อาคันตุกวัตร ธรรมเนียมที่ภิกษุควรปฏิบัติต่ออาคันตุกะ คือภิกษุผู้จรมา เช่น
       ขวนขวายต้อนรับ
       แสดงความนับถือ
       จัดหรือบอกให้น้ำให้อาสนะ
       ถ้าอาคันตุกะจะมาพักมาอยู่ พึงแสดงเสนาสนะ
       บอกที่ทางและกติกาสงฆ์ เป็นต้น

อาคาริยวินัย วินัยของผู้ครองเรือน;
       ดู วินัย ๒

อาจริยมัตต์ ภิกษุผู้มีพรรษาพอที่จะเป็นอาจารย์ให้นิสสัยแก่ภิกษุอื่นได้,
       พระปูนอาจารย์ คือ มีพรรษา ๑๐ ขึ้นไป หรือแก่กว่าราว ๖ พรรษา;
       อาจริยมัต ก็เขียน

อาจริยวัตร กิจที่อันเตวาสิกควรประพฤติปฏิบัติต่ออาจารย์
       (เช่นเดียวกับ อุปัชฌายวัตร ที่สัทธิวิหาริกพึงปฏิบัติต่ออุปัชฌาย์)

อาจริยวาท วาทะของพระอาจารย์, มติของพระอาจารย์;
       บางที ใช้เป็นคำเรียกพุทธศาสนานิกายฝ่ายเหนือ คือ มหายาน

อาจาระ ความประพฤติดี, มรรยาทดีงาม, จรรยา

อาจารย์ ผู้สั่งสอนวิชาความรู้, ผู้ฝึกหัดอบรมมรรยาท,
       อาจารย์ ๔ คือ
           ๑. บัพพชาจารย์ หรือ บรรพชาจารย์ อาจารย์ในบรรพชา
           ๒. อุปสัมปทาจารย์ อาจารย์ในอุปสมบท
           ๓. นิสสยาจารย์ อาจารย์ผู้ให้นิสสัย
           ๔. อุทเทศาจารย์ หรือ ธรรมาจารย์ อาจารย์ผู้สอนธรรม

อาจารวิบัติ เสียอาจาระ, เสียจรรยา, มรรยาทเสียหาย,
       ประพฤติย่อหย่อนรุ่มร่าม มักต้องอาบัติเล็กน้อย ตั้งแต่ถุลลัจจัยลงมาถึงทุพภาษิต
       (ข้อ ๒ ในวิบัติ ๔)

อาจิณ เคยประพฤติมา, เป็นนิสัย, ทำเสมอๆ, ทำจนชิน

อาจิณณจริยา ความประพฤติเนืองๆ, ความประพฤติประจำ, ความประพฤติที่เคยชิน

อาจิณณวัตร การปฏิบัติประจำ, การปฏิบัติเสมอๆ

อาชญา อำนาจ, โทษ

อาชีวะ อาชีพ, การเลี้ยงชีพ, ความเพียรพยายามในการแสวงหาปัจจัยยังชีพ, การทำมาหากิน

อาชีวก นักบวชชีเปลือยพวกหนึ่งในครั้งพุทธกาล เป็นสาวกของมักขลิโคสาล

อาชีวปาริสุทธิ ความบริสุทธิ์แห่งอาชีวะ
       คือ เลี้ยงชีวิตโดยทางที่ชอบ ไม่ประกอบอเนสนา
       เช่น ไม่หลอกลวงเขาเลี้ยงชีวิต เป็นต้น
       (ข้อ ๓ ในปาริสุทธิศีล ๔)

อาชีววิบัติ เสียอาชีวะ, ความเสียหายแห่งการเลี้ยงชีพ
       คือ ประกอบมิจฉาอาชีวะ มีหลอกลวงเขาเลี้ยงชีพ เป็นต้น
       (ข้อ ๔ ในวิบัติ ๔)

อาญา อำนาจ, โทษ

อาญาสิทธิ์ อำนาจเด็ดขาด คือ สิทธิที่แม่ทัพได้รับพระราชทานจากพระเจ้าแผ่นดินในเวลาไปสงครามเป็นต้น

อาณัติ ข้อบังคับ, คำสั่ง กฎ;
       เครื่องหมาย

อาณัติสัญญา ข้อบังคับที่ได้นัดหมายกันไว้, เครื่องหมายที่ตกลงกันไว้

อาณา อำนาจปกครอง

อาณาเขต เขตแดนในอำนาจปกครอง, ที่ดินในบังคับ

อาณาจักร เขตแดนที่อยู่ในอำนาจปกครองของรัฐบาลหนึ่ง, อำนาจปกครองทางบ้านเมือง
       ใช้คู่กับพุทธจักร ซึ่งหมายความว่า ขอบเขตการปกครองในพุทธศาสนา

อาณาประชาราษฎร์ ราษฎรชาวเมืองที่อยู่ในอำนาจปกครอง

อาณาประโยชน์ ผลประโยชน์ที่ตนมีอำนาจปกครองส่วนตัว

อาณาปวัติ ความเป็นไปแห่งอาณา, ขอบเขตที่อำนาจปกครองแผ่ไป;
       เป็นไปในอำนาจปกครอง, อยู่ในอำนาจปกครอง

อาณาสงฆ์ อำนาจของสงฆ์, อำนาจปกครองของสงฆ์ คือสงฆ์ประชุมกันใช้อำนาจโดยชอบธรรม ระงับอธิกรณ์ที่เกิดขึ้น

อาดูร เดือดร้อน, กระวนกระวาย, ทนทุกขเวทนาทั้งกายและใจ

อาตมภาพ ฉัน, ข้าพเจ้า
       (ใช้แก่พระภิกษุสามเณรใช้เรียกตัวเอง เมื่อพูดกับคฤหัสถ์ผู้ใหญ่ ตลอดถึงพระเจ้าแผ่นดิน)

อาตมัน ตัวตน, คำสันสกฤต ตรงกับบาลีคือ อัตตา

อาตมา ฉัน, ข้าพเจ้า
       (สำหรับพระภิกษุสามเณรใช้พูดกับผู้มีบรรดาศักดิ์ แต่บัดนี้ นิยมใช้พูดอย่างให้เกียรติแก่คนทั่วไป)

อาถรรพณ์ เวทมนตร์ที่ใช้เพื่อให้ดีหรือร้าย, วิชาเสกเป่าป้องกัน, การทำพิธีป้องกันอันตรายต่างๆ ตามพิธีพราหมณ์ เช่น พิธีฝังเสาหิน หรือ ฝังบัตรพลี เรียกว่า ฝังอาถรรพณ์
       (สืบเนื่องมาจากพระเวทคัมภีร์ที่ ๔ คือ อถรรพเวท หรือ อาถรรพณเวท)
       อาถรรพ์ ก็ใช้

อาทร ความเอื้อเฟื้อ, ความเอาใจใส่

อาทิ เป็นต้น;
       ทีแรก, ข้อต้น

อาทิกัมมิกะ
       1. “ผู้ทำกรรมทีแรก” หมายถึง ภิกษุผู้เป็นต้นบัญญัติในสิกขาบทนั้นๆ
       2. ชื่อคัมภีร์ในพระวินัยปิฎก เป็นคัมภีร์แรก เมื่อแยกพระวินัยปิฎกเป็น ๕ คัมภีร์ ใช้คำย่อว่า อา;
       อาทิกัมม์ ก็เรียก

อาทิตตปริยายสูตร ชื่อพระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ภิกษุประมาณ ๑,๐๐๐ รูป มีอุรุเวลกัสสป เป็นต้น ซึ่งเคยเป็นชฏิลบูชาไฟมาก่อน ว่าด้วยอายตนะทั้ง ๖ ที่ร้อนติดไฟลุกทั่ว ด้วยไฟราคะ ไฟโทสะ และไฟโมหะ ตลอดจนร้อนด้วยทุกข์ มีชาติ ชรามรณะ เป็นต้น ทำให้ภิกษุเหล่านั้นบรรลุอรหัตตผล
       (มาในคัมภีร์มหาวรรค แห่งพระวินัยปิฎก และสังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค พระสุตตันตปิฎก)

อาทิตยโคตร ตระกูลพระอาทิตย์, เผ่าพันธุ์พระอาทิตย์,
       ตระกูลที่สืบเชื้อสายนางอทิติผู้เป็นชายาของพระกัศยปประชาบดี,
       ท่านว่า สกุลของพระพุทธเจ้าก็เป็นอาทิตยโคตร
       (โคตมโคตร กับ อาทิตยโคตร มีความหมายอย่างเดียวกัน)

อาทิตยวงศ์ วงศ์พระอาทิตย์; ดู อาทิตยโคตร

อาทิพรหมจรรย์ หลักเบื้องต้นของพรหมจรรย์, หลักการพื้นฐานของชีวิตประเสริฐ

อาทิพรหมจริยกาสิกขา หลักการศึกษาอบรมในฝ่ายบทบัญญัติ หรือข้อปฏิบัติที่เป็นเบื้องต้นของพรหมจรรย์ สำหรับป้องกันความประพฤติเสียหาย,
       ข้อศึกษาที่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ หมายถึง สิกขาบท ๒๒๗ ที่มาในพระปาฏิโมกข์;
       เทียบ อภิสมาจาริกาสิกขา

อาทีนพ, อาทีนวะ โทษ, ข้อเสีย, ข้อบกพร่อง, ผลร้าย

อาทีนวญาณ ดู อาทีนวานุปัสสนาญาณ

อาทีนวสัญญา การกำหนดหมายโทษแห่งร่างกาย ซึ่งมีอาพาธ คือโรคต่างๆ เป็นอันมาก
       (ข้อ ๔ ในสัญญา ๑๐)

อาทีนวานุปัสสนาญาณ ญาณอันคำนึงเห็นโทษ,
       ปรีชาคำนึงเห็นโทษของสังขารว่า มีข้อบกพร่อง ระคนด้วยทุกข์ เช่น เห็นสังขารปรากฏเหมือนเรือนถูกไฟไหม้
       (ข้อ ๔ ในวิปัสสนาญาณ ๙)

อาเทสนาปาฏิหาริย์ ปาฏิหาริย์ คือการทายใจ, รอบรู้กระบวนของจิตต์ อ่านความคิดและอุปนิสัยของผู้อื่นได้เป็นอัศจรรย์
       (ข้อ ๒ ในปาฏิหาริย์ ๓)

อาธรรม์, อาธรรม ดู อธรรม

อานนท์ พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นเจ้าชายในศากยวงศ์ เป็นโอรสของพระเจ้าสุกโกทนะ ซึ่งเป็นพระเจ้าอาของเจ้าชายสิทธิตถะ
       ท่านออกบวชในพระพุทธศาสนา พร้อมกับอนุรุทธะและอุบาลี เป็นต้น และได้รับเลือกเป็นพระอุปัฏฐากประจำพระองค์ของพระพุทธเจ้า
       ได้รับยกย่องเป็น เอตทัคคะหลายด้าน คือ เป็นพหูสูต เป็นผู้มีสติ มีคติ มีธิติ และเป็นอุปัฏฐาก
       ท่านบรรลุพระอรหัต หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ๓ เดือน เป็นกำลังสำคัญในคราวทำปฐมสังคายนา คือ เป็นผู้วิสัชนาพระธรรม (ซึ่งต่อมาแบ่งเป็นพระสูตรและพระอภิธรรม)
       ท่านดำรงชีวิตสืบมาจนอายุได้ ๑๒๐ ปี จึงปรินิพพานในอากาศ เหนือแม่น้ำโรหิณี ซึ่งเป็นเส้นกั้นแดนระหว่างแคว้นของพระญาติ ๒ ฝ่าย คือ ศากยะและโกลิยะ

อานันทเจดีย์ เจดียสถานแห่งหนึ่งอยู่ในเขตโภคนคร ระหว่างทางจากเมืองเวสาลีสู่เมืองปาวา
       เป็นที่พระพุทธเจ้าตรัสมหาปเทส ๔ ฝ่ายพระสูตร

อานาปานสติกัมมัฏฐาน กัมมัฏฐานที่ใช้สติกำหนดลมหายใจเข้าออก

อานาปานัสสติ สติกำหนดลมหายใจเข้าออก
       (ข้อ ๙ ในอนุสติ ๑๐, ข้อ ๑๐ ในสัญญา ๑๐ เป็นต้น)
       บัดนี้นิยมเขียน อานาปานสติ

อานิสงส์ ผลแห่งความดี, ผลแห่งบุญกุศล, ประโยชน์, ผลดี

อานุภาพ อำนาจ, ฤทธิ์เดช, ความยิ่งใหญ่

อาเนญชาภิสังขาร ดู อเนญชาภิสังขาร

อาบัติ การต้อง, การล่วงละเมิด, โทษที่เกิดแต่การละเมิดสิกขาบท;
       อาบัติ ๗ คือ ปาราชิก สังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต;
       อาบัติ ๗ กองนี้จัดรวมเป็นประเภทได้หลายอย่าง
       โดยมากจัดเป็น ๒ เช่น
           ๑. ครุกาบัติ อาบัติหนัก (ปาราชิกและสังฆาทิเสส)
           ๒. ลหุกาบัติ อาบัติเบา (อาบัติ ๕ อย่างที่เหลือ);
       คู่ต่อไปนี้ก็เหมือนกัน คือ
           ๑. ทุฏฐลลาบัติ อาบัติชั่วหยาบ
           ๒. อทุฏฐลลาบัติ อาบัติไม่ชั่วหยาบ;
           ๑. อเทสนาคามินี อาบัติที่ไม่พ้นได้ด้วยการแสดง
           ๒. เทสนาคามินี อาบัติที่พ้นได้ด้วยการแสดง คือเปิดเผยความผิดของตน;
       คู่ต่อไปนี้จัดต่างออกไปอีกแบบหนึ่งตรงกันทั้งหมด คือ
           ๑. อเตกิจฉา เยียวยาแก้ไขไม่ได้ (ปาราชิก)
           ๒. สเตกิจฉา เยียวยาแก้ไขได้ (อาบัติ ๖ อย่างที่เหลือ);
           ๑. อนวเสส ไม่มีส่วนเหลือ
           ๒. สาวเสส ยังมีส่วนเหลือ;
           ๑. อัปปฏิกัมม์ หรือ อปฏิกรรม ทำคืนไม่ได้ คือแก้ไขไม่ได้
           ๒. สัปปฏิกัมม์ หรือ สปฏิกรรม ยังทำคืนได้ คือแก้ไขได้

อาบัติชั่วหยาบ ในประโยคว่า “บอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุแก่อนุปสัมบัน”
       อาบัติปาราชิก และอาบัติสังฆาทิเสส;
       ดู ทุฏฐุลลาบัติ

อาบัติที่เป็นโทษล่ำ อาบัติปาราชิก และสังฆาทิเสส

อาปณะ ชื่อนิคม ซึ่งเป็นเมืองหลวงของแคว้นอังคุตตราปะ

อาปัตตาธิกรณ์ อธิกรณ์คืออาบัติ หมายความว่า การต้องอาบัติและการถูกปรับอาบัติ เป็นอธิกรณ์โดยฐานเป็นเรื่องที่จะต้องจัดทำ คือระงับด้วยการแก้ไขปลดเปลื้องออกจากอาบัตินั้นเสีย มีการปลงอาบัติ หรือการอยู่กรรมเป็นต้น ตามวิธีที่ท่านบัญญัติไว้

อาปุจฉา บอกกล่าว, ถามเชิงขออนุญาต เป็นการแสดงความเอื้อเฟื้อ, แจ้งให้ทราบ
       เช่น ภิกษุอ่อนพรรษาจะแสดงธรรม ต้องอาปุจฉาภิกษุผู้มีพรรษามากกว่าก่อน

อาโปธาตุ ธาตุที่มีลักษณะเป็นเอิบอาบ ดูดซึม, แปลสามัญว่า ธาตุน้ำ,
       ในร่างกายที่ใช้เป็นอารมณ์กรรมฐาน ได้แก่ ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ข้อความนี้ เป็นการกล่าวถึงอาโปธาตุในลักษณะที่คนสามัญทุกคนจะเข้าใจได้ และพอให้สำเร็จประโยชน์ในการเจริญกรรมฐาน
       แต่ในทางอภิธรรม อาโปธาตุเป็นสภาวะที่สัมผัสด้วยกายไม่ได้ มีในรูปธรรมทั่วไป แม้แต่ในกระดาษ หนังสือ ก้อนหิน ก้อนเหล็ก และแผ่นพลาสติก;
       ดู ธาตุ

อาพาธ ความเจ็บป่วย, โรค (ใช้เฉพาะพระภิกษุสามเณร)

อาภัพ ไม่สมควร, ไม่สามารถ, เป็นไปไม่ได้
       (จากคำบาลีว่า อภพฺพ เช่น ผู้กระทำมาตุฆาต ไม่สามารถบรรลุมรรผล, พระโสดาบันไม่สามารถทำมาตุฆาต เป็นต้น);
       ไทยใช้เฉพาะในความว่า ไม่ควรจะได้จะถึงสิ่งนั้นๆ, ไม่มีทางจะได้สิ่งที่มุ่งหมาย, วาสนาน้อยตกอับ;
       ดู อภัพบุคคล

อาภัสสระ ผู้มีรัศมีแผ่ซ่าน, เปล่งปลั่ง, ชื่อพรหมโลกชั้นที่ ๖;
       ดู พรหมโลก
       (พจนานุกรมเขียน อาภัสระ)

อาภา แสง, รัศมี, ความสว่าง

อามะ คำรับในภาษาบาลี ตรงกับ ถูกแล้ว, ใช่, ครับ, ค่ะ, จ้ะ, เออ
       ถ้าผู้กล่าวรับเป็นผู้น้อยกว่า หรือมีพรรษาน้อยกว่า หรือเป็นคฤหัสถ์พูดกับพระสงฆ์ กล่าวต่อว่า ภันเต เป็น อามะ ภันเต
       ถ้าผู้กล่าวรับเป็นผู้ใหญ่กว่า หรือมีพรรษามากกว่า หรือเป็นพระสงฆ์พูดกับคฤหัสถ์ กล่าวต่อว่า อาวุโส เป็น อามะ อาวุโส
       (เขียนตามรูปบาลี เป็น อาม ภนฺเต, อาม อาวุโส)

อามัย ความป่วยไข้, โรค, ความไม่สบาย;
       ตรงข้ามกับ อนามัย คือความสบาย, ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ

อามิส เครื่องล่อใจ, เหยื่อ, สิ่งของ

อามิสทายาท ทายาทแห่งอามิส, ผู้รับมรดกอามิส, ผู้รับเอาสมบัติทางวัตถุ เช่น ปัจจัย ๔ จากพระพุทธเจ้ามาเสพเสวย ด้วยอาศัยผลแห่งพุทธกิจที่ได้ทรงบำเพ็ญไว้;
       โดยตรง หมายถึง รับเอาปัจจัย ๔ มาบริโภค
       โดยอ้อม หมายถึง ทำกุศลที่นำไปสู่วัฏฏะ เช่น ให้ทาน บำเพ็ญฌานสมาบัติ ด้วยมุ่งหมาย มนุษยสมบัติและเทวสมบัติ;
       พระพุทธเจ้าตรัสสอนภิกษุทั้งหลาย ให้เป็นธรรมทายาท มิให้เป็นอามิสทายาท;
       เทียบ ธรรมทายาท

อามิสบูชา การบูชาด้วยอามิส คือ ด้วยสิ่งของมีดอกไม้ ของหอม อาหาร และวัตถุอื่นๆ
       (ข้อ ๑ ในบูชา ๒)

อามิสปฏิสันถาร การต้อนรับด้วยสิ่งของ เช่น อาหาร น้ำบริโภค เป็นต้น
       (ข้อ ๑ ในปฏิสันถาร ๒)

อามิสสมโภค คบหากันในทางอามิส ได้แก่ ให้หรือรับอามิส

อายโกศล ดู โกศล ๓

อายตนะ ที่ติดต่อ, เครื่องติดต่อ, แดนต่อความรู้, เครื่องรู้และสิ่งที่รู้
       เช่น ตา เป็นเครื่องรู้ รูปเป็นสิ่งที่รู้, หูเป็นเครื่องรู้ เสียงเป็นสิ่งที่รู้ เป็นต้น,
       จัดเป็น ๒ ประเภท คือ อายตนะภายใน ๖ อายตนะภายนอก ๖

อายตนะภายนอก เครื่องต่อภายนอก, สิ่งที่ถูกรู้มี ๖ คือ
       ๑. รูป รูป
       ๒. สัททะ เสียง
       ๓. คันธะ กลิ่น
       ๔. รส รส
       ๕. โผฏฐัพพะ สิ่งต้องกาย
       ๖. ธัมมะ ธรรมารมณ์ คือ อารมณ์ที่เกิดกับใจ หรือสิ่งที่ใจรู้;
       อารมณ์ ๖ ก็เรียก

อายตนะภายใน เครื่องต่อภายใน, เครื่องรับรู้มี ๖ คือ
       ๑. จักขุ ตา
       ๒. โสต หู
       ๓. ฆาน จมูก
       ๔. ชิวหา ลิ้น
       ๕. กาย กาย
       ๖. มโน ใจ;
       อินทรีย์ ๖ ก็เรียก

อายาจนะ การขอร้อง, การวิงวอน, การเชื้อเชิญ

อายุกษัย, อายุขัย การสิ้นอายุ, ความตาย

อายุกัป, อายุกัปป์ การกำหนดแห่งอายุ, กำหนดอายุ, ช่วงเวลาแต่เกิดถึงตายตามปกติ หรือที่ควรจะเป็น ของสัตว์ประเภทนั้นๆ ในยุคสมัยนั้นๆ;
       ดู กัป

อายุวัฒนะ ความเจริญอายุ, ยืดอายุ, อายุยืน

อารมณ์ เครื่องยึดหน่วงของจิตต์, สิ่งที่จิตต์ยึดหน่วง,
       สิ่งที่ถูกรู้หรือถูกรับรู้ ได้แก่ อายตนะภายนอก ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และ ธรรมารมณ์;
       ในภาษาไทย ความหมายเลื่อนไปเป็นความรู้สึก หรือความเป็นไปแห่งจิตใจ ในขณะหรือช่วงเวลาหนึ่งๆ เช่นว่า อย่าทำตามอารมณ์ วันนี้อารมณ์ดี อารมณ์เสีย เป็นต้น

อารยะ คนเจริญ, คนมีอารยธรรม;
       พวกชนชาติ อริยกะ
       (ตรงกับบาลีว่า อริย แต่ในภาษาไทยใช้ในความหมายต่างกัน)

อารยชน ชนที่เจริญด้วยขนบธรรมเนียมอันดีงาม, คนมีอารยธรรม

อารยชาติ ชาติที่เจริญด้วยขนบธรรมเนียมอันดีงาม

อารยธรรม ธรรมอันดีงาม, ธรรมของอารยชน, ความเจริญด้วยขนบธรรมเนียมอันดีงาม;
       ในทางธรรม หมายถึง กุศลกรรมบถ ๑๐.

อารยอัษฎางคิกมรรค ทางมีองค์ ๘ ประการ อันประเสริฐ;
       ดู มรรค

อารักขกัมมัฏฐาน กรรมฐานเป็นเครื่องรักษาตน,
       กรรมฐานเป็นเครื่องรักษาผู้ปฏิบัติให้สงบระงับ ซึ่งควรเจริญเป็นนิตย์ เป็นของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงไว้ มี ๔ อย่างคือ
           ๑. พุทธานุสสติ ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้าที่มีในพระองค์ และทรงเกื้อกูลแก่ผู้อื่น
           ๒. เมตตา แผ่ไมตรีจิตต์ คิดจะให้สัตว์ทั้งปวงเป็นสุขทั่วหน้า
           ๓. อสุภะ พิจารณาร่างกายตนและผู้อื่นให้เห็นเป็นไม่งาม
           ๔. มรณัสสติ นึกถึงความตายอันจะมีแก่ตนเป็นธรรมดา

อารักขสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการรักษา คือ รักษาทรัพย์ที่แสวงหามาได้ด้วยความหมั่น ไม่ให้เป็นอันตราย และรักษาการงานไม่ให้เสื่อมเสียไป
       (ข้อ ๒ ในทิฏฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกธรรม ๔)

อารักขา การขอความคุ้มครองจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมือง เมื่อมีผู้ปองร้ายข่มเหง หรือถูกลักขโมยสิ่งของ เป็นต้น เรียกว่า ขออารักขา
       ถือเป็นการปฏิบัติชอบตามธรรมเนียมของภิกษุ แทนการฟ้องร้องกล่าวหาอย่างที่ชาวบ้านทำกัน เพราะสมณะไม่พอใจจะเป็นถ้อยความกับใครๆ

อารักษ์, อารักขา การป้องกัน, การคุ้มครอง, การดูแลรักษา

อารัญญกวัตร ข้อปฏิบัติสำหรับภิกษุผู้อยู่ป่า,
       ธรรมเนียมที่ภิกษุผู้อยู่ป่าพึงถือปฏิบัติ ตามพุทธบัญญัติที่มาในวัตตขันธกะ จัดเป็นหัวข้อได้ดังนี้
       ก.
           ๑. ภิกษุผู้อยู่ป่า พึงลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ เอาถุงบาตรสวมบาตรแล้วคล้องบ่าไว้ พาดจีวรบนไหล่ สวมรองเท้า เก็บงำเครื่องไม้เครื่องดิน ปิดประตูหน้าต่าง แล้วลงจากเสนาสนะ (ที่พักอาศัย) ไป
           ๒. ทราบว่า “บัดนี้จักเข้าหมู่บ้าน” พึงถอดรองเท้า เคาะต่ำๆ แล้วใส่ถุงคล้องบ่าไว้ นุ่งให้เป็นปริมณฑล คาดประคดเอว ห่มสังฆาฏิซ้อนเป็นสองชั้น กลัดลูกดุม ชำระบาตรแล้วถือเข้าหมู่บ้านโดยเรียบร้อยไม่รีบร้อน ไปในละแวกบ้านพึงปกปิกกายด้วยดี สำรวมด้วยดี ไม่เดินกระโหย่ง
               เมื่อจะเข้าสู่นิเวศน์ พึงกำหนดว่า เราจักเข้าทางนี้ จักออกทางนี้ ไม่พึงรีบร้อนเข้าไป ไม่พึงรีบร้อนออกมา พึงยืนไม่ไกลเกินไป ไม่ใกล้เกินไป ไม่นานเกินไป ไม่กลับออกเร็วเกินไป
               เมื่อยืนอยู่ พึงกำหนดว่า เขาประสงค์จะถวายภิกษาหรือไม่ ฯลฯ
               เมื่อเขาถวายภิกษา พึงแหวกสังฆาฏิด้วยมือซ้าย น้อมบาตรเข้าไปด้วยมือขวา ใช้มือทั้งสอง ประคองบาตรรับภิกษา ไม่พึงมองดูหน้าสตรีผู้ถวาย พึงกำหนดว่า เขาประสงค์จะถวายแกงหรือไม่ ฯลฯ
               เมื่อเขาถวายภิกษาแล้ว พึงคลุมบาตรด้วยสังฆาฏิแล้วกลับโดยเรียบร้อย ไม่รีบร้อน เดินไปในละแวกบ้าน พึงปกปิดกายด้วยดี สำรวมด้วยดี ไม่เดินกระโหย่ง
           ๓. ออกจากบ้านแล้ว (หลังจากฉันและล้างบาตรแล้ว) เอาบาตรใส่ถุง คล้องบ่า พับจีวร วางบนศีรษะ สวมรองเท้าเดินไป
       ข. ภิกษุผู้อยู่ป่า พึงจัดเตรียมน้ำดื่มไว้ พึงจัดเตรียมน้ำใช้ไว้ พึงติดไฟเตรียมไว้ พึงจัดเตรียมไม้สีไฟไว้ พึงจัดเตรียมไม้เท้าไว้
       ค. พึงเรียนทางนักษัตรไว้ (ดูดาวเป็น) ทั้งหมดหรือบางส่วน พึงเป็นผู้ฉลาดในทิศ

อารัญญิกังคะ องค์แห่งผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร คือ ไม่อยู่ในเสนาสนะใกล้บ้าน แต่อยู่ป่าห่างจากบ้านอย่างน้อย ๒๕ เส้น
       (ข้อ ๘ ในธุดงค์ ๑๓)

อารัมภกถา คำปรารภ, คำเริ่มต้น, คำนำ

อาราธนา การเชื้อเชิญ, นิมนต์, ขอร้อง, อ้อนวอน
       (มักใช้สำหรับพระสงฆ์และสิ่งศักดิ์สิทธิ์)

อาราธนาธรรม กล่าวคำเชิญหรือขอร้องพระให้แสดงธรรม (ให้เทศน์) ว่าดังนี้:
       “พฺรหฺมา จ โลกาธิปตี สหมฺปติ
       กตฺอญฺชลี อนฺธิวรํ อยาจถ
       สนฺตีธ สตฺตาปฺปรชกฺขชาติกา
       เทเสตุ ธมฺมํ อนุกมฺปิมํ ปชํ ฯ”

อาราธนาพระปริตร กล่าวคำเชิญหรือขอร้องให้พระสวดพระปริตร ว่าดังนี้:
           “วิปตฺติปฏิพาหาย
           สพฺพสมฺปตฺติสิทฺธิยา
           สพฺพทุกฺขวินาสาย
           ปริตฺตํ พฺรูถ มงฺคลํ”
       (ว่า ๓ ครั้ง แต่ครั้งที่ ๒ เปลี่ยน ทุกฺข เป็น ภย; ครั้งที่ ๓ เปลี่ยนเป็น โรค)

อาราธนาศีล กล่าวคำเชิญหรือขอร้องพระให้ให้ศีล, สำหรับศีล ๕ ว่าดังนี้:
       “มยํ ภนฺเต, (วิสุงฺ วิสุงฺ รกฺขณตฺถาย), ติสรเณน สห, ปญฺจ สีลานิ ยาจาม;
       ทุติยมฺปิ มยํ ภนฺเต, (วิสุงฺ วิสุงฺ รกฺขณตฺถาย), ติสรเณน สห, ปญฺจ สีลานิ ยาจาม;
       ตติยมฺปิ มยํ ภนฺเต, (วิสุงฺ วิสุงฺ รกฺขณตฺถาย), ติสรเณน สห, ปญฺจ สีลานิ ยาจาม”
       (คำในวงเล็บ จะไม่ใช้ก็ได้)
       คำอาราธนาศีล ๘ ก็เหมือนกัน เปลี่ยนแต่ ปญฺจ เป็น อฏฺฐ

อาราธนาศีลอุโบสถ กล่าวคำเชิญพระให้ให้อุโบสถศีล ว่าพร้อมกันทุกคน ดังนี้;
       “มยํ ภนฺเต, ติสรเณน สห, อฏฺฐงฺคสมนฺนาคตํ, อุโปสถํ ยาจาม” (ว่า ๓ จบ)

อาราม วัด, ที่เป็นที่มายินดี, สวนเป็นที่รื่นรมย์, ความยินดี, ความรื่นรมย์, ความเพลิดเพลิน;
       ในทางพระวินัย เกี่ยวกับของสงฆ์ หมายถึง ของปลูกสร้างในอาราม ตลอดจนต้นไม้

อารามวัตถุ ที่ดินวัด, ที่ดินพื้นวัด

อารามิก คนทำงานวัด, คนวัด

อารามิกเปสกะ ภิกษุผู้ได้รับสมมติ คือแต่งตั้งจากสงฆ์ให้มีหน้าที่เป็นผู้ใช้คนทำงานวัด

อาลกมันทา ราชธานีซึ่งเป็นทิพยนครของพวกเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา

อาลปนะ คำร้องเรียก

อาลยสมุคฺฆาโต ความถอนขึ้นด้วยดีซึ่งอาลัย, การถอนอาลัย คือตัณหาได้เด็ดขาด
       (เป็นไวพจน์แห่งวิราคะ)

อาลัย
       1. ที่อยู่, ที่อาศัย, แหล่ง
       2. ความมีใจผูกพัน, ความเยื่อใย, ความติดใจปรารถนา, ความพัวพัน, มักหมายถึง ตัณหา;
           ในภาษาไทยใช้ว่า ห่วงใย หวนคิดถึง

อาโลก แสงสว่าง

อาโลกกสิณ กสิณคือแสงสว่าง, การเจริญสมถกรรมฐานตั้งใจเพ่งแสงสว่างเป็นอารมณ์
       (ข้อ ๙ ในกสิณ ๑๐)

อาโลกเลณสถาน ชื่อถ้ำแห่งหนึ่งในมลยชนบท เกาะลังกา
       เป็นที่ทำสังคายนาครั้งที่ ๕ จารึกพระไตรปิฎกลงในใบลาน

อาโลกสัญญา ความสำคัญในแสงสว่าง, กำหนดหมายแสงสว่าง
       คือ ตั้งความกำหนดหมายว่า กลางวันไว้ในใจ ให้เหมือนกันทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน เป็นวิธีแก้ง่วงอย่างหนึ่ง

อาวรณ์ เครื่องกั้น, เครื่องกำบัง;
       ไทยมักใช้ในความหมายว่า ห่วงใย, อาลัย, คิดกังวลถึง

อาวัชนาการ ความรำพึง, การรำลึก, นึกถึง

อาวาส ที่อยู่, โดยปรกติหมายถึงที่อยู่ของพระสงฆ์ คือวัด

อาวาสปลิโพธ ความกังวลในอาวาส
       คือ ภิกษุยังอยู่ในอาวาสนั้น หรือหลีกไปแต่ยังผูกใจอยู่ว่าจะกลับมา (เป็นเหตุอย่างหนึ่งที่ทำให้กฐินยังไม่เดาะ);
       ในการเจริญกรรมฐาน หมายถึง ความห่วงใยกังวลเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย เช่น ห่วงงานก่อสร้างในวัด มีสิ่งของที่สะสมเอาไว้มาก เป็นต้น เมื่อจะเจริญกรรมฐาน พึงตัดปลิโพธนี้ให้ได้;
       ดู ปลิโพธ

อาวาสมัจฉริยะ ตระหนี่ที่อยู่ ได้แก่ หวงแหน ไม่พอใจให้ใครๆ เข้ามาอยู่แทรกแซง หรือกีดกันผู้อื่นที่มิใช่พวกของตนไม่ให้เข้าอยู่
       (ข้อ ๑ ในมัจฉริยะ ๕)

อาวาหะ การแต่งงาน, การสมรส, การพาหญิงมาบ้านตัว

อาวาหวิวาหมังคลาภิเษก พิธีรดน้ำอันเป็นมงคลในการแต่งงาน, พิธีรดน้ำในงานมงคลสมรส

อาวุโส “ผู้มีอายุ”
       เป็นคำเรียก หรือทักทาย ที่ภิกษุผู้แก่พรรษาใช้ร้องเรียกภิกษุผู้อ่อนพรรษากว่า (ภิกษุผู้ใหญ่ร้องเรียกภิกษุผู้น้อย) หรือภิกษุร้องเรียกคฤหัสถ์
       คู่กับคำ ภนฺเต ซึ่งภิกษุผู้อ่อนกว่าใช้ร้องเรียกภิกษุผู้แก่กว่า หรือคฤหัสถ์ร้องเรียกภิกษุ;
       ในภาษาไทย มักใช้เพี้ยนไปในทางตรงข้าม หมายถึง เก่ากว่า หรือแก่กว่าในวงงาน กิจการ หรือความเป็นสมาชิก

อาศรม ที่อยู่ของนักพรต;
       ตามลัทธิของพราหมณ์ ในยุคที่กลายเป็นฮินดูแล้วได้วางระเบียบเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตของชาวฮินดูวรรณะสูง โดยเฉพาะวรรณะพราหมณ์ โดยแบ่งเป็นขั้นหรือช่วงระยะ ๔ ขั้น หรือ ๔ ช่วง เรียกว่า อาศรม ๔
       กำหนดว่าชาวฮินดูวรรณะพราหมณ์ทุกคนจะต้องครองชีวิตให้ครบทั้ง ๔ อาศรมตามลำดับ (แต่ในทางปฏิบัติน้อยคนนักได้ปฏิบัติเช่นนั้น โดยเฉพาะปัจจุบันไม่ได้ถือกันแล้ว) คือ
           ๑. พรหมจารี เป็นนักเรียนศึกษาพระเวท ถือพรหมจรรย์
           ๒. คฤหัสถ์ เป็นผู้ครองเรือน มีภรรยาและมีบุตร
           ๓. วานปรัสถ์ ออกอยู่ป่าเมื่อเห็นบุตรของบุตร
           ๔. สันยาสี (เขียนเต็มเป็นสันนยาสี) เป็นผู้สละโลก มีผ้านุ่งผืนเดียว ถือภาชนะขออาหารและหม้อน้ำเป็นสมบัติ จาริกภิกขาจารเรื่อยไปไม่ยุ่งเกี่ยวกับชาวโลก
       (ปราชญ์บางท่านว่า พราหมณ์ได้ความคิดจากพระพุทธศาสนาไปปรับปรุงจัดวางระบบของตนขึ้น เช่น สันยาสี ตรงกับ ภิกษุ แต่หาเหมือนกันจริงไม่)

อาสนะ ที่นั่ง, ที่สำหรับนั่ง

อาสภิวาจา วาจาแสดงความเป็นผู้องอาจ,
       วาจาองอาจ คือ คำประกาศพระองค์ว่า เป็นเอกในโลก
       ตามเรื่องว่า พระมหาบุรุษเมื่อประสูติจากพระครรภ์ของพระมารดา ย่างพระบาทไป ๗ ก้าวแล้วหยุดยืนตรัสอาสภิวาจาว่า “อคฺโคหมสฺมิ โลกสฺส” ดังนี้เป็นต้น
       แปลว่า “เราเป็นอัครบุคคลของโลก ฯลฯ”

อาสวะ กิเลสที่หมักหมมหรือดองอยู่ในสันดาน ไหลซึมซ่านไปย้อมจิตเมื่อประสบอารมณ์ต่างๆ
       มี ๓ อย่าง คือ
           ๑. กามาสวะ อาสวะคือกาม
           ๒. ภวาสวะ อาสวะคือภพ
           ๓. อวิชชาสวะ อาสวะคืออวิชชา;
       อีกหมวดหนึ่งมี ๔ คือ
           ๑. กามาสวะ
           ๒. ภวาสวะ
           ๓. ทิฏฐาสวะ
อาสวะคือทิฏฐิ
           ๔. อวิชชาสวะ;
       ในทางพระวินัยและความหมายสามัญ หมายถึง เมรัย
       เช่น ปุปฺผาสโว น้ำดองดอกไม้, ผลาสโว น้ำดองผลไม้

อาสวักขยญาณ ความรู้เป็นเหตุสิ้นอาสวะ, ญาณหยั่งรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย,
       ความตรัสรู้ (เป็นความรู้ที่พระพุทธเจ้าได้ในยามสุดท้ายแห่งราตรี วันตรัสรู้)
       (ข้อ ๓ ในญาณ ๓ หรือวิชชา ๓, ข้อ ๖ ในอภิญญา ๖, ข้อ ๘ ในวิชชา ๘, ข้อ ๑๐ ในทศพลญาณ)

อาสัญ ไม่มีสัญญา, หมดสัญญา;
       เป็นคำใช้ในภาษาไทย หมายความว่า ความตาย, ตาย

อาสัตย์ ไม่มีสัตย์, ไม่ซื่อตรง, กลับกลอก

อาสันทิ ม้านั่งสี่เหลี่ยมจัตุรัส นั่งได้คนเดียว
       (ศัพท์เดิมเรียก อาสันทิก, ส่วน อาสันทิ เป็นเตียงหรือเก้าอี้นอน)

อาสันนกรรม กรรมจวนเจียน, กรรมใกล้ตาย
       หมายถึง กรรมที่เป็นกุศลก็ดี อกุศลก็ดี ที่ทำเมื่อจวนตายยังจับใจอยู่ใหม่ๆ ถ้าไม่มีครุกกรรม และพหุลกรรม ย่อมให้ผลก่อนกรรมอื่นๆ เหมือนโคที่ยัดเยียดกันอยู่ในคอก เมื่อคนเลี้ยงเปิดคอกออก ตัวใดอยู่ใกล้ประตู ตัวนั้นย่อมออกก่อน แม้จะเป็นโคแก่
       (ข้อ ๑๑ ในกรรม ๑๒)

อาสา ความหวัง, ความต้องการ;
       ไทยว่า รับทำโดยเต็มใจ, สมัคร, แสดงตัวขอรับทำการนั้นๆ

อาสาฬหะ เดือน ๘ ทางจันทรคติ

อาสาฬหบูชา “การบูชาในเดือน ๘”
       หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือน ๘ เพื่อรำลึกถึงคุณพระรัตนตรัยเป็นการพิเศษ เนื่องในวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา คือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ทำให้เกิดมีปฐมสาวก คือ พระอัญญาโกณฑัญญะ และเกิดสังฆรัตนะคำรบพระรัตนตรัย

อาสาฬหปุรณมี วันเพ็ญเดือน ๘, วันกลางเดือน ๘, วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘

อาสาฬหมาส ดู อาสาฬหะ

อาหัจจบาท เตียงที่เขาทำเอาเท้าเสียบเข้าไปในแม่แคร่ ไม่ได้ตรึกสลัก

อาหาร ปัจจัยอันนำมาซึ่งผล, เครื่องค้ำจุนชีวิต,
       เครื่องหล่อเลี้ยงชีวิต มี ๔ คือ
           ๑. กวฬิงการาหาร อาหารคือคำข้าว
           ๒. ผัสสาหาร อาหารคือผัสสะ
           ๓. มโนสัญเจตนาหาร อาหารคือมโนสัญเจตนา
           ๔. วิญญาณาหาร อาหารคือวิญญาณ

อาหารปริเยฏฐิทุกข์ ทุกข์เกี่ยวกับการแสวงหาอาหาร, ทุกข์ในการหากิน
       ได้แก่ อาชีวทุกข์ คือ ทุกข์เนื่องด้วยการเลี้ยงชีพ

อาหาเรปฏิกูลสัญญา กำหนดหมายความเป็นปฏิกูลในอาหาร,
       ความสำคัญหมายในอาหารว่าเป็นของปฏิกูล พิจารณาให้เห็นว่าเป็นของน่าเกลียด โดยอาการต่างๆ
       เช่น ปฏิกูล โดยบริโภค, โดยประเทศที่อยู่ของอาหาร, โดยสั่งสมอยู่นาน เป็นต้น
       (ข้อ ๓๕ ในกรรมฐาน ๔๐)

อาหุดี การเซ่นสรวง

อาหุเนยฺโย พระสงฆ์เป็นผู้ควรได้ของคำนับ คือ เครื่องสักการะที่เขานำมาถวายในโอกาสต่างๆ
       (ข้อ ๕ ใน สังฆคุณ ๙)

อาฬกะ ชื่อแคว้นหนึ่ง ตั้งอยู่ที่ลุ่มน้ำโคธาวรี ตรงข้ามกับแคว้นอัสสกะ

อาฬารดาบส อาจารย์ผู้สอนสมาบัติ ที่พระมหาบุรุษเสด็จไปศึกษาอยู่ด้วยคราวหนึ่ง ก่อนที่จะทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา,
       ท่านผู้นี้ได้สมาบัติถึงชั้นอากิญจัญญายตนฌาน;
       เรียกเต็มว่า อาฬารดาบส กาลามโคตร

อำมาตย์ ดู อมาตย์

อิจฉา ความปรารถนา, ความอยากได้;
       ไทยมักใช้ในความหมายว่า ริษยา

อิฏฐารมณ์ “อารมณ์ที่น่าปรารถนา”, สิ่งที่คนอยากได้อยากพบ
       แสดงในแง่กามคุณ ๕ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่ารักใคร่ น่าชอบใจ
       แสดงในแง่โลกธรรม ได้แก่ ลาภ ยศ สรรเสริญ และความสุข;
       ตรงข้ามกับ อนิฏฐารมณ์

อิตถีภาวะ ความเป็นหญิง,
       สภาวะที่ทำให้ปรากฏลักษณะอาการต่างๆ อันแสดงถึงความเป็นเพศหญิง เป็นภาวรูปอย่างหนึ่ง;
       คู่กับ ปุริสภาวะ;
       ดู อุปาทายรูป

อิทธาภิสังขาร การปรุงแต่งฤทธิ์ขึ้นทันใด, การบันดาลด้วยฤทธิ์

อิทธิ ความสำเร็จ, ความรุ่งเรืองงอกงาม;
       อำนาจที่จะทำอะไรได้อย่างวิเศษ

อิทธิ ๒ ดู ฤทธิ์ ๒

อิทธิบาท คุณเครื่องให้ถึงความสำเร็จ, คุณเครื่องสำเร็จประสงค์,
       ทางแห่งความสำเร็จ มี ๔ คือ
           ๑. ฉันทะ ความพอใจรักใคร่สิ่งนั้น
           ๒. วิริยะ ความพยายามทำสิ่งนั้น
           ๓. จิตตะ ความเอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้น
           ๔. วิมังสา ความพิจารณาใคร่ครวญหาเหตุผลในสิ่งนั้น;
       จำง่ายๆ ว่า มีใจรัก พากเพียรทำ เอาจิตต์ฝักใฝ่ ใช้ปัญญาสอบสวน;
       ดู โพธิปักขิยธรรม

อิทธิบาทภาวนา การเจริญอิทธิบาท, การฝึกฝนปฏิบัติให้อิทธิบาทเกิดมีขึ้น

อิทธิปาฏิหาริย์ ปาฏิหาริย์คือฤทธิ์, แสดงฤทธิ์ได้เป็นอัศจรรย์
       เช่น ล่องหน ดำดิน เหาะได้ เป็นต้น
       (ข้อ ๑ ในปาฏิหาริย์ ๓)

อิทธิวิธา, อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ
       เช่น นิรมิตกายคนเดียวเป็นหลายคน หลายคนเป็นคนเดียว ล่องหน ดำดิน เดินน้ำ เป็นต้น
       (ข้อ ๑ ในอภิญญา ๖, ข้อ ๓ ในวิชชา ๘)

อิทัปปัจจยตา “ภาวะที่มีอันนี้ๆ เป็นปัจจัย”,
       ความเป็นไปตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย, กระบวนธรรมแห่งเหตุปัจจัย,
       กฎที่ว่า
           “เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี, เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น;
           เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี, เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ก็ดับ”,
       เป็นอีกชื่อหนึ่งของหลัก ปฏิจจสมุปบาท หรือ ปัจจยาการ

อินเดีย ชื่อประเทศ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศไทย ถัดจากประเทศพม่าออกไป มีเมืองหลวงชื่อ นิวเดลี (New Delhi) อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ ๓,๑๐๐ กิโลเมตร
       อินเดียมีเนื้อที่ทั้งหมด ๓,๒๘๗,๕๙๐ ตารางกิโลเมตร
       มีพลเมือง ใน พ.ศ. ๒๕๒๔ ประมาณ ๖๘๓ ล้านคน
       ครั้งโบราณเรียกชมพูทวีป เป็นประเทศที่เกิดพระพุทธศาสนา
       พุทธคยาสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ ๒,๐๐๐ กิโลเมตร

อินทปัตถ์ ชื่อนครหลวงของแคว้นกุรุ แคว้นกุรุอยู่ ณ บริเวณลุ่มน้ำยมุนาตอนบน รวมมณฑลปัญจาบลงมา เมืองอินทปัตถ์อยู่ ณ บริเวณเมืองเดลี นครหลวงของอินเดียปัจจุบัน

อินทร์ ผู้เป็นใหญ่, ชื่อเทวราชผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และจาตุมหาราช;
       ในบาลี นิยมเรียกว่า ท้าวสักกะ;
       ดู วัตรบท ๗

อินทริยปโรปริยัตตญาณ ปรีชาหยั่งรู้ความหย่อนและยิ่งแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย
       คือรู้ว่า สัตว์พวกไหนมีอินทรีย์ คือสัทธา เป็นต้นอ่อน พวกไหนมีอินทรีย์แก่กล้า พวกไหนมีจริตมีอัธยาศัย เป็นต้น อย่างไรๆ พวกไหนสอนยาก พวกไหนสอนง่าย ดังนี้เป็นต้น
       (ข้อ ๖ ในทศพลญาณ)

อินทรีย์ ความเป็นใหญ่, สภาพที่เป็นใหญ่ในกิจของตน,
       ธรรมที่เป็นเจ้าการในการทำหน้าที่อย่างหนึ่งๆ เช่น ตาเป็นใหญ่หรือเป็นเจ้าการในการเห็น หูเป็นใหญ่ในการได้ยิน ศรัทธาเป็นเจ้าการในการครอบงำเสียซึ่งความไร้ศรัทธาเป็นต้น
       1. อินทรีย์ ๖ ได้แก่ อายตนะภายใน ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
       2. อินทรีย์ ๕ ตรงกับ พละ ๕ คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา
           ธรรม ๕ อย่างชุดเดียวกันนี้ เรียกชื่อต่างกันไป ๒ อย่าง ตามหน้าที่ที่ทำ คือ
           เรียกชื่อว่า พละ โดยความหมายว่า เป็นกำลังทำให้เกิดความเข้มแข็งมั่นคง ซึ่งธรรมที่ตรงข้ามแต่ละอย่างจะเข้าครอบงำไม่ได้
           เรียกชื่อว่า อินทรีย์ โดยความหมายว่า เป็นเจ้าการในการครอบงำเสีย ซึ่งธรรมที่ตรงข้ามแต่ละอย่าง คือความไร้ศรัทธา ความเกียจคร้าน ความประมาท ความฟุ้งซ่าน และความหลงงมงาย ตามลำดับ;
       ดู โพธิปักขิยธรรม

อินทรียสังวร สำรวมอินทรีย์ ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้ยินดียินร้าย ในเวลาเห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ, ระวังไม่ให้กิเลสครอบงำใจ ในเวลารับรู้อารมณ์ทางอินทรีย์ทั้ง ๖
       (ข้อ ๑ ในอปัณณกปฏิปทา ๓, ข้อ ๒ ในปาริสุทธิศีล ๔, ข้อ ๒ ในองค์แห่งภิกษุใหม่ ๕)

อิริยาบถ การเคลื่อนไหวของร่างกาย, อิริยาบถ ๔ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน

อิรุพเพท คำบาลีเรียกคัมภีร์หนึ่งในไตรเพท ตรงกับที่เรียกอย่างสันสกฤต ว่า ฤคเวท;
       ดู ไตรเพท

อิศวร พระเป็นเจ้าของศาสนาพราหมณ์ ตามปกติหมายถึงพระศิวะ ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งการทำลาย

อิสระ ผู้เป็นใหญ่, เป็นใหญ่, เป็นใหญ่ในตัวเอง, เป็นไทแก่ตัว ไม่ขึ้นแก่ใคร

อิสรภาพ ความเป็นอิสระ

อิสราธิบดี ผู้เป็นเจ้าใหญ่เหนือกว่าผู้เป็นใหญ่ทั่วไป, ราชา, พระเจ้าแผ่นดิน

อิสริยยศ ยศคือความเป็นใหญ่, ความเป็นใหญ่โดยตำแหน่ง ฐานันดร เป็นต้น;
       ดู ยศ

อิสสา ความริษยา, ความรู้สึกไม่พอใจเมื่อเห็นเขาได้ดี, เห็นเขาได้ดีทนอยู่ไม่ได้, ไม่อยากให้ใครดีกว่าตน, ความคิดตัดรอนผู้ที่ดีกว่าตน;
       ความหึงหวง
       (ข้อ ๓ ในมละ ๙, ข้อ ๘ ในสังโยชน์ ๑๐ ตามนัยพระอภิธรรม, ข้อ ๗ ในอุปกิเลส ๑๖)

อิสิ, อิสี ผู้แสวงหาคุณความดี, ผู้ถือบวช, ฤษี

อิสิคิลิบรรพต ภูเขาชื่ออิสิคิลิ เป็นภูเขาลูกหนึ่งในห้าลูก ที่เรียกเบญจคีรี ล้อมรอบพระนครราชคฤห์

อิสิปตนมฤคทายวัน ป่าเป็นที่ให้อภัยแก่เนื้อ ชื่อ อิสิปตนะ อยู่ใกล้เมืองพาราณสี
       เป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร โปรดพระปัญจวัคคีย์
       บัดนี้เรียก สารนาถ

อุกกลชนบท ชื่อชนบทที่พ่อค้า ๒ คน คือ ตปุสสะ กับ ภัลลิกะ เดินทางจากมาแล้ว
       ได้พบพระพุทธเจ้าขณะที่ประทับอยู่ภายใต้ต้นราชายตนะ ภายหลังตรัสรู้ใหม่ๆ

อุกโกฏนะ การรื้อฟื้น, การฟื้นเรื่อง, ฟื้นคดี

อุกฺขิตฺตโก “ผู้อันสงฆ์ยกแล้ว”
       หมายถึง ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ทำอุกเขปนียกรรมตัดสิทธิแห่งภิกษุชั่วคราว (จนกว่าสงฆ์จะยอมระงับกรรมนั้น)

อุกเขปนียกรรม กรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุอันจะพึงยกเสีย
       หมายถึง วิธีการลงโทษที่สงฆ์กระทำแก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติแล้ว ไม่ยอมรับว่าเป็นอาบัติ หรือไม่ยอมทำคืนอาบัติ หรือมีความเห็นชั่วร้าย (ทิฏฐิบาป) ไม่ยอมสละซึ่งเป็นทางเสียสีลสามัญญตา หรือ ทิฏฐิสามัญญตา โดยยกเธอเสียจากการสมโภคกับสงฆ์
       คือ ไม่ให้ฉันร่วม ไม่ให้อยู่ร่วม ไม่ให้มีสิทธิเสมอกับภิกษุทั้งหลาย
       พูดง่ายๆ ว่า ถูกตัดสิทธิแห่งภิกษุชั่วคราว

อุคคหนิมิต นิมิตติดตา หมายถึง นิมิต (อารมณ์กรรมฐาน) ที่นึกกำหนดจนแม่นใจ หรือที่เพ่งดูจนติดตาติดใจ แม้หลับตาก็เห็น
       (ข้อ ๒ ในนิมิต ๓)

อุคฆฏิตัญญู ผู้อาจรู้ได้ฉับพลัน แต่พอท่านยกหัวข้อขึ้นแสดง
       คือ มีปัญญาเฉียบแหลม พูดให้ฟังเพียงหัวข้อก็เข้าใจ
       (ข้อ ๑ ในบุคคล ๔)

อุจจารธาตุ ในคำว่า “โรคอุจจารธาตุ” หมายถึง โรคท้องเสีย ท้องเดิน หรือท้องร่วง

อุจเฉททิฏฐิ ความเห็นว่าขาดสูญ เช่น เห็นว่าคนและสัตว์จุติจากอัตภาพนี้ แล้วขาดสูญ;
       ตรงข้ามกับ สัสสตทิฏฐิ
       (ข้อ ๒ ในทิฏฐิ ๒)

อุชเชนี ชื่อนครหลวงของแคว้นอวันตี บัดนี้เรียกว่า อุชเชน;
       ดู อวันตี

อุชุปฏิปนฺโน พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติตรง
       คือ ไม่ลวงโลก ไม่มีมายาสาไถย ไม่อำพราง
       หรือดำเนินทางตรง คือ มัชฌิมาปฏิปทา
       (ข้อ ๒ ในสังฆคุณ ๙)

อุฏฐานสัญญามนสิการ ทำในพระทัยถึงความสำคัญในอันที่จะลุกขึ้น, ตั้งใจว่าจะลุกขึ้นอีก

อุฏฐานสัมปทา ถึงพร้อมด้วยความหมั่น
       คือ ขยันหมั่นเพียรในการประกอบอาชีพที่สุจริต ในการศึกษาเล่าเรียน และในการทำธุระหน้าที่การงาน รู้จักใช้ปัญญาสอดส่อง หาวิธีจัดการดำเนินการให้ได้ผลดี
       (ข้อ ๑ ในทิฏฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกธรรม ๔)

อุณหะ ร้อน, อุ่น

อุณหิส กรอบหน้า, มงกุฎ

อุดรทวาร ประตูด้านเหนือ

อุดรทิศ ทิศเบื้องซ้าย, ทิศเหนือ;
       ดู อุตตรทิส

อุตกฤษฎ์ อย่างสูง, สูงสุด
       (พจนานุกรมเขียน อุกฤษฏ์)

อุตตระ ดู โสณะ

อุตตรทิส “ทิศเบื้องซ้าย” หมายถึง มิตร;
       ดู ทิศ ๖

อุตตรนิกาย ดู อุตรนิกาย

อุตตรนิคม ชื่อนิคมหนึ่งในโกลิยชนบท

อุตตราวัฏฏ์ เวียนซ้าย, เวียนรอบ โดยหันข้างซ้ายให้ คือ เวียนเลี้ยวทางซ้ายย้อนเข็มนาฬิกา
       (พจนานุกรมเขียน อุตราวัฏ);
       ตรงข้ามกับ ทักขิณาวัฏฏ์

อุตตราสงค์ ผ้าห่ม, เป็นผ้าผืนหนึ่งในจำนวน ๓ ผืนของไตรจีวร
       ได้แก่ ผืนที่เรียกกันสามัญว่า จีวร
       (พจนานุกรมเขียน อุตราสงค์)

อุตตริมนุสสธรรม ธรรมยวดยิ่งของมนุษย์, ธรรมของมนุษย์ผู้ยอดยิ่ง,
       ธรรมล้ำมนุษย์ ได้แก่ ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ มรรคผล,
       บางทีเรียกให้ง่ายว่า ธรรมวิเศษ บ้าง คุณวิเศษ หรือ คุณพิเศษ บ้าง
       (พจนานุกรมเขียน อุตริมนุสธรรม)

อุตรนิกาย “นิกายฝ่ายเหนือ” หมายถึง พระพุทธศาสนาอย่างที่นับถือกันแพร่หลายในประเทศฝ่ายเหนือ มี จีน เกาหลี ญี่ปุ่น เป็นต้น ที่เรียกตัวเองว่า มหายาน ใช้ภาษาสันสกฤต

อุตสาหะ ความบากบั่น, ความพยายาม, ความขยัน, ความอดทน

อุตุกาล ชั่วฤดูกาล, ชั่วคราว

อุตุปริณามชา อาพาธา ความเจ็บไข้เกิดแต่ฤดูแปรปรวน, เจ็บป่วยเพราะดินฟ้าอากาศผันแปร

อุทก น้ำ

อุทกสาฏิกา ผ้าอาบ, เป็นจีวรอย่างหนึ่งในจีวร ๕ อย่างของภิกษุณี
       ดู สังกัจฉิกะ ด้วย

อุทกุกเขป เขตสามัคคีชั่ววักน้ำสาดแห่งคนมีอายุและกำลังปานกลาง
       หมายถึง เขตชุมนุมทำสังฆกรรมที่กำหนดลงในแม่น้ำ หรือทะเล ชาตสระ (ที่ขังน้ำเกิดเองตามธรรมชาติ เช่น บึง หนอง ทะเลสาป)
       โดยพระภิกษุประชุมกันบนเรือ หรือบนแพ ซึ่งผูกกับหลักในน้ำ หรือทอดสมออยู่ห่างจากตลิ่งกว่าชั่ววิดน้ำสาด (ห้ามผูกโยงเรือหรือแพนั้น กับหลักหรือต้นไม้บนตลิ่ง และห้ามทำในเรือหรือแพที่กำลังลอยหรือเดิน);
       อุทกุกเขปนี้ จัดเป็นอพัทธสีมาอย่างหนึ่ง

อุททกดาบส อาจารย์ผู้สอนสมาบัติ ที่พระมหาบุรุษเสด็จไปศึกษาอยู่ด้วยคราวหนึ่ง ก่อนที่จะทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา,
       ท่านผู้นี้ได้สมาบัติถึงขั้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ;
       เรียกเต็มว่า อุททกดาบส รามบุตร

อุทเทศาจารย์ อาจารย์ผู้บอกธรรม, อาจารย์สอนธรรม
       (ข้อ ๔ ในอาจารย์ ๔);
       คู่กับ ธรรมันเตวาสิก

อุทเทส ดู อุเทศ

อุทเทสภัต อาหารอุทิศสงฆ์ หรือภัตที่ทายกถวายตามที่สงฆ์แสดงให้
       หมายถึง ของที่เขาถวายสงฆ์แต่ไม่พอแจกทั่วกัน ท่านให้แจกไปตามลำดับ เริ่มตั้งแต่พระสังฆเถระลงมา ของหมดแค่ลำดับไหน กำหนดไว้ เมื่อของมีมาอีกจึงแจกต่อไปตั้งแต่ลำดับที่ค้างอยู่ อย่างนี้เรื่อยไปจนทั่วกัน แล้วจึงเวียนขึ้นต้นใหม่อีก;
       เทียบ สังฆภัต

อุทเทสวิภังคสูตร ชื่อสูตรที่ ๓๘ แห่งมัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ พระสุตตันตปิฎก
       พระพุทธเจ้าทรงแสดงเรื่องวิญญาณไว้โดยย่อ ภิกษุทั้งหลายอยากฟังโดยพิสดาร จึงขอให้พระมหากัจจายนะอธิบายความ พระมหากัจจายนะแสดงได้เนื้อความถูกต้องชัดเจนดีมาก จนได้รับคำยกย่องชมเชยจากพระพุทธเจ้า

อุทเทสิกเจดีย์ เจดีย์สร้างอุทิศพระพุทธเจ้า, เจดีย์ที่สร้างเป็นเครื่องเตือนจิตให้ระลึกถึงพระพุทธเจ้า
       ได้แก่ พระพุทธรูป
       (ข้อ ๔ ในเจดีย์ ๔)

อุทธรณ์ การยกขึ้น, การรื้อฟื้น, การขอร้องให้รื้อฟื้นขึ้น, ขอให้พิจารณาใหม่

อุทธโลมิ เครื่องลาดที่มีขนตั้ง

อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี พระอนาคามีผู้จะปรินิพพาน ต่อเมื่อเลื่อนขึ้นไปเกิดในชั้นสูงขึ้นไปจนถึงชั้นอกนิฏฐะ
       (ข้อ ๕ ในอนาคามี ๕)

อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน, จิตต์ส่าย, ใจวอกแวก
       (พจนานุกรมเขียน อุทธัจ);
       (ข้อ ๙ ในสังโยชน์ ๑๐ ตามนัยพระอภิธรรม);
       ดู เยวาปนกธรรม

อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านและรำคาญ, ความฟุ้งซ่านและความเดือดร้อนใจ
       (ข้อ ๔ ในนิวรณ์ ๕)

อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง
       ได้แก่ กิเลสผูกใจสัตว์อย่างละเอียด มี ๕
       คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา
       พระอรหันตจึงละได้;
       ดู สังโยชน์

อุทยมาณพ ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คนของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา ที่ปาสาณเจดีย์

อุทยัพพยญาณ ปรีชาหยั่งรู้ความเกิดและความดับแห่งสังขาร;
       ดู อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ

อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ปรีชาคำนึงเห็นความเกิดและความดับแห่งสังขาร,
       ญาณที่มองเห็นนามรูปเกิดดับ
       (ข้อ ๑ ในวิปัสสนาญาณ ๙)

อุทยาน สวน

อุทร ท้อง

อุทริยะ อาหารใหม่, อาหารที่รับประทานเข้าไปแล้วอยู่ในท้อง ในลำไส้ กำลังผ่านกระบวนการย่อย แต่ยังไม่กลายเป็นอุจจาระ

อุทัย การขึ้น, การโผล่ขึ้น, พระอาทิตย์แรกขึ้น

อุทาน วาจาที่เปล่งขึ้นโดยความเบิกบานใจ มักเป็นข้อความยาว ๑ หรือ ๒ คาถา;
       ในภาษาไทย หมายถึง เสียงหรือคำที่เปล่งออกมาเวลาดีใจ หรือตกใจ

อุทาหรณ์ ตัวอย่าง, การอ้างอิง, การยกขึ้นให้เห็น

อุทิศ เฉพาะ, เจาะจง, เพ่งเล็งถึง, ทำเพื่อ;
       แผ่ส่วนบุญให้แก่ผู้ตายตามประเพณี

อุทิสสมังสะ เนื้อสัตว์ที่เขาฆ่าเจาะจงเพื่อถวายภิกษุ ท่านมิให้ภิกษุฉัน,
       หากภิกษุฉันทั้งได้เห็น ได้ยิน หรือสงสัยว่า เขาฆ่าเพื่อถวายตน ต้องอาบัติทุกกฏ

อุเทน พระเจ้าแผ่นดินแคว้นวังสะ ครั้งพุทธกาล ครองราชสมบัติอยู่ที่กรุงโกสัมพี

อุเทนเจดีย์ เจดียสถานแห่งหนึ่ง อยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองเวสาลี นครหลวงของแคว้นวัชชี
       เป็นสถานที่แห่งหนึ่งที่พระพุทธเจ้าเคยทรงทำนิมิตต์โอภาสแก่พระอานนท์

อุเทศ การยกขึ้นแสดง, การยกขึ้นชี้แจง, ข้อที่ยกขึ้นแสดง, หัวข้อ, การเรียนการสอน, การสวดปาฏิโมกข์, ปาฏิโมกข์ที่ยกขึ้นสวด, หมวดหนึ่งๆ แห่งปาฏิโมกข์ที่จัดไว้สำหรับสวด,
       ในคำว่า “สงฆ์มีอุเทศเดียวกัน” หมายความว่า ร่วมฟังสวดปาฏิโมกข์ด้วยกัน;
       อุเทศในปาฏิโมกข์จัดโดยย่อมี ๕ คือ
           ๑. นิทานุทเทส
           ๒. ปาราชิกุทเทส
           ๓. สังฆาทิเสสุทเทส
           ๔. อนิยตุทเทส
           ๕. วิตถารุทเทส,
       อุทเทสที่ ๕ นั้น รวมเอา นิสสัคคิยุทเทส ปาจิตติยุทเทส ปาฏิเทสนียุทเทส เสขิยุทเทส และสมถุทเทส เข้าไว้ด้วยกัน ถ้าแยกออกนับโดยพิสดารก็จะเป็น ๙ อุทเทส
       การรู้จักอุเทศ หรืออุทเทสเหล่านี้ เป็นประโยชน์สำหรับการตัดตอนสวดปาฏิโมกข์ย่อได้ ในคราวจำเป็น;
       ดู ปาฏิโมกข์ย่อ

อุบล บัว, ดอกบัว

อุบลวรรณา พระมหาสาวิกาองค์หนึ่ง เป็นธิดาเศรษฐีในพระนครสาวัตถี
       ได้ชื่อว่า อุบลวรรณา เพราะมีผิวพรรณดังดอกนิลุบล (อุบลเขียว) มีความงามมาก จึงเป็นที่ปรารถนาของพระราชาในชมพูทวีปหลายพระองค์ ต่างส่งคนมาติดต่อ
       ท่านเศรษฐีเกิดความลำบากใจ จึงคิดจะให้ธิดาบวชพอเป็นอุบาย แต่นางเองพอใจในบรรพชาอยู่แล้ว จึงบวชเป็นภิกษุณีด้วยศรัทธาอย่างจริงจัง
       คราวหนึ่งอยู่เวรจุดประทีปในพระอุโบสถ นางเพ่งดูเปลวประทีป ถือเอาเป็นนิมิต เจริญฌานมีเตโชกสิณเป็นอารมณ์ ได้บรรลุพระอรหัต
       ได้รับยกย่องว่า เป็นเอตทัคคะในทางแสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ และเป็นอัครสาวิกาฝ่ายซ้าย

อุบัติ เกิดขึ้น, กำเนิด, เหตุให้เกิด

อุบาย วิธีสำหรับประกอบ, หนทาง, วิธีการ, กลวิธี,
       ไทยใช้หมายถึง เล่ห์เหลี่ยมด้วย

อุบาลี พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เดิมเป็นกัลบกของเจ้าศากยะ
       ได้ออกบวชที่อนุปิยอัมพวัน พร้อมกับพระอานนท์และพระอนุรุทธะ เป็นต้น มีอุปัชฌาย์ชื่อพระกัปปิตก
       ครั้นบวชแล้ว เรียนกรรมฐาน จะไปอยู่ป่า พระพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาต ท่านเล่าเรียนและเจริญวิปัสสนา ไม่ช้าก็สำเร็จพระอรหัต
       เป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจเชี่ยวชาญในพระวินัยมาก จนพระพุทธเจ้าทรงยกย่องว่า เป็นเอตทัคคะในบรรดาภิกษุผู้ทรงพระวินัย (วินัยธร)
       พระอุบาลีเป็นกำลังสำคัญ ในคราวทำปฐมสังคายนา คือ เป็นผู้วิสัชนาพระวินัย

อุบาสก ชายผู้นั่งใกล้พระรัตนตรัย, คนใกล้ชิดพระศาสนา,
       คฤหัสถ์ผู้ชายที่แสดงตนเป็นคนนับถือพระพุทธศาสนา โดยประกาศถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ
       ปฐมอุบาสกผู้ถึงสรณะ ๒ ได้แก่ ตปุสสะและภัลลิกะ
       ปฐมอุบาสกผู้ถึงไตรสรณะ คือ บิดาของพระยสะ

อุบาสกธรรม ดู สมบัติของอุบาสก

อุบาสิกา หญิงผู้นั่งใกล้พระรัตนตรัย, คนใกล้ชิดพระศาสนาที่เป็นหญิง,
       คฤหัสถ์ผู้หญิงที่แสดงตนเป็นคนนับถือพระพุทธศาสนา โดยประกาศถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ
       ปฐมอุบาสิกา ได้แก่ มารดา (นางสุชาดา) และภรรยาเก่าของพระยสะ

อุเบกขา
       1. ความวางใจเป็นกลาง ไม่เอนเอียงด้วยชอบหรือชัง, ความวางใจเฉยได้ ไม่ยินดียินร้าย เมื่อใช้ปัญญาพิจารณาเห็นผลอันเกิดขึ้นโดยสมควรแก่เหตุ และรู้ว่าพึงปฏิบัติต่อไปตามธรรม หรือตามควรแก่เหตุนั้น, ความรู้จักวางใจเฉยดู เมื่อเห็นเขารับผิดชอบตนเองได้ หรือในเมื่อเขาควรต้องได้รับผลอันสมควรแก่ความรับผิดชอบของเขาเอง, ความวางทีเฉยคอยดูอยู่ในเมื่อคนนั้นๆ สิ่งนั้นๆ ดำรงอยู่หรือดำเนินไปตามควรของเขาตามควรของมัน ไม่เข้าข้างไม่ตกเป็นฝักฝ่าย ไม่สอดแส่ ไม่จู้จี้สาระแน ไม่ก้าวก่ายแทรกแซง
           (ข้อ ๔ ในพรหมวิหาร ๔, ข้อ ๗ ในโพชฌงค์ ๗, ข้อ ๑๐ ในบารมี ๑๐, ข้อ ๙ ในวิปัสสนูปกิเลส ๑๐)
       2. ความรู้สึกเฉยๆ ไม่สุขไม่ทุกข์ เรียกเต็มว่า อุเบกขาเวทนา (= อทุกขมสุข);
           (ข้อ ๓ ในเวทนา ๓)

อุโบสถ
       1. การสวดปาฏิโมกข์ของพระสงฆ์ทุกกึ่งเดือน เป็นเครื่องซักซ้อมตรวจสอบความบริสุทธิ์ทางวินัยของภิกษุทั้งหลาย และทั้งเป็นเครื่องแสดงความพร้อมเพรียงของสงฆ์ด้วย อุโบสถมีชื่อเรียกย่อยออกไปหลายอย่าง การทำอุโบสถจะมีการสวดปาฏิโมกข์ได้ต่อเมื่อมีภิกษุครบองค์สงฆ์จตุรวรรค คือ ๔ รูป ขึ้นไป ถ้าสงฆ์ครบองค์กำหนดเช่นนี้ทำอุโบสถ เรียกว่า สังฆอุโบสถ
           แต่ถ้ามีภิกษุอยู่เพียง ๒ หรือ ๓ รูป เป็นเพียงคณะ ท่านให้บอกความบริสุทธิ์แก่กันและกันแทนการสวดปาฏิโมกข์ เรียกอุโบสถนี้ว่า คณอุโบสถ หรือ ปาริสุทธิอุโบสถ
           ถ้ามีภิกษุอยู่ในวัดรูปเดียว ท่านให้ทำเพียงอธิษฐาน คือตั้งใจกำหนดจิตต์ว่า วันนี้เป็นอุโบสถของเรา (“อชฺช เม อุโปสโถ”) อุโบสถที่ทำอย่างนี้ เรียกว่า ปุคคลอุโบสถ หรือ อธิษฐานอุโบสถ;
           อุโบสถที่ทำในวันแรม ๑๔ ค่ำ เรียกว่า จาตุทสิก
           ทำในวันขึ้นหรือแรม ๑๕ ค่ำ เรียกว่า ปัณณรสิก
           ทำในวันสามัคคี เรียกว่า สามัคคีอุโบสถ
       2. การอยู่จำรักษาองค์ ๘ ที่โดยทั่วไปเรียกกันว่า ศีล ๘ ของอุบาสกอุบาสิกานั้น จำแนกได้เป็น ๓ ประเภท คือ
           ๑. ปกติอุโบสถ อุโบสถที่รักษาตามปกติชั่ววันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ปัจจุบันนิยมรักษากันเฉพาะในวันขึ้นและแรม ๘ ค่ำ วันจันทร์เพ็ญ คือ ขึ้น ๑๕ ค่ำ และวันจันทร์ดับ คือ แรม ๑๕ หรือ ๑๔ ค่ำ (ปกติอุโบสถอย่างเต็ม มี ๘ วัน คือ วัน ๕ ค่ำ ๘ ค่ำ ๑๔ ค่ำ และ ๑๕ ค่ำของทุกปักษ์ ถ้าเดือนขาดรักษาในวันแรม ๑๓ ค่ำเพิ่มด้วย)
           ๒. ปฏิชาครอุโบสถ อุโบสถของผู้ตื่นอยู่ (คือผู้กระตือรือร้นขวนขวายในกุศล ไม่หลับใหลด้วยความประมาท) ได้แก่ อุโบสถที่รักษาครั้งหนึ่งๆ ถึง ๓ วัน คือ รักษาในวันอุโบสถตามปกติ พร้อมทั้งวันหน้าและวันหลังของวันนั้น ซึ่งเรียกว่า วันรับและวันส่งด้วย เช่น อุโบสถที่รักษาในวัน ๘ ค่ำ มีวัน ๗ ค่ำเป็นวันรับ วัน ๙ ค่ำเป็นวันส่ง (เดือนหนึ่งๆ จะมีวันรับและวันส่งรวม ๑๑ วัน, วันที่มิใช่วันอุโบสถ ในเดือนขาดมี ๑๐ วัน เดือนเต็ม ๑๑ วัน)
           ๓. ปาฏิหาริยอุโบสถ อุโบสถที่พึงนำไปคือให้เป็นไปตรงตามกำหนดเป็นประจำในแต่ละปี หมายความว่าในแต่ละปีมีช่วงเวลาที่กำหนดไว้เฉพาะที่จะรักษาอุโบสถประเภทนี้ อย่างสามัญ ได้แก่ อุโบสถที่รักษาเป็นประจำตลอด ๓ เดือน ในพรรษา (อย่างเต็มได้แก่ รักษาตลอด ๔ เดือนแห่งฤดูฝน คือ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึง ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒, ถ้าไม่สามารถรักษาตลอด ๔ เดือน หรือ ๓ เดือน จะรักษาเพียง ๑ เดือน ระหว่างวันปวารณาทั้ง ๒ คือ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึง ขึ้น ๑๕ เดือน ๑๒ ก็ได้, อย่างต่ำสุดพึงรักษากึ่งเดือนต่อจากวันปวารณาแรกไป คือ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึง แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑);
           อย่างไรก็ตาม มติในส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับอุโบสถ ๒ ประเภทหลังนี้ คัมภีร์ต่างๆ ยังแสดงไว้แตกต่างไม่ลงกันบ้าง ท่านว่าพอใจอย่างใด ก็พึงถือเอาอย่างนั้น เพราะแท้จริงแล้ว จะรักษาอุโบสถในวันใดๆ ก็ใช้ได้ เป็นประโยชน์ทั้งนั้น แต่ถ้ารักษาได้ในวันตามนิยมก็ย่อมควร
       3. วันอุโบสถสำหรับพระสงฆ์ คือ วันจันทร์เพ็ญ (ขึ้น ๑๕ ค่ำ) และวันจันทร์ดับ (แรม ๑๕ ค่ำ หรือ ๑๔ ค่ำ เมื่อเดือนขาด), สำหรับคฤหัสถ์ คือ วันพระ ได้แก่ วันขึ้นและวันแรม ๘ ค่ำ วันจันทร์เพ็ญ และวันจันทร์ดับ
       4. สถานที่สงฆ์ทำสังฆกรรม เรียกตามศัพท์ว่า อุโปสถาคาร หรือ อุโปสถัคคะ,
           ไทยมักตัดเรียกว่า โบสถ์

อุโบสถกรรม การทำอุโบสถ;
       ดู อุโบสถ

อุโบสถศีล ศีลที่รักษาเป็นอุโบสถ หรือ ศีลที่รักษาในวันอุโบสถ ได้แก่ ศีล ๘ ที่อุบาสกอุบาสิกาสมาทานรักษาเป็นการจำศีลในวันพระ คือขึ้นและแรม ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำ (แรม ๑๔ ค่ำในเดือนขาด)

อุปกะ ชื่ออาชีวกผู้หนึ่ง ซึ่งพบกับพระพุทธเจ้าในระหว่างทาง ขณะที่พระองค์เสด็จจากพระศรีมหาโพธิ์ไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เพื่อโปรดพระปัญจวัคคีย์

อุปการะ ความเกื้อหนุน, ความอุดหนุน, การช่วยเหลือ

อุปกิเลส โทษเครื่องเศร้าหมอง, สิ่งที่ทำจิตต์ใจให้เศร้าหมองขุ่นมัว รับคุณธรรมได้ยาก
       มี ๑๖ อย่าง คือ
           ๑. อภิชฌาวิสมโลภะ ละโมบ จ้องจะเอาไม่เลือกควรไม่ควร
           ๒. โทสะ คิดประทุษร้าย
           ๓. โกธะ โกรธ
           ๔. อุปนาหะ ผูกโกรธไว้
           ๕. มักขะ ลบหลู่คุณท่าน
           ๖. ปลาสะ ตีเสมอ
           ๗. อิสสา ริษยา
           ๘. มัจฉริยะ ตระหนี่
           ๙. มายา เจ้าเล่ห์
           ๑๐. สาเถยยะ โอ้อวด
           ๑๑. ถัมภะ หัวดื้อ
           ๑๒. สารัมภะ แข่งดี
           ๑๓. มานะ ถือตัว
           ๑๔. อติมานะ ดูหมิ่นท่าน
           ๑๕. มทะ มัวเมา
           ๑๖. ปมาทะ เลินเล่อหรือละเลย

อุปกิเลสแห่งวิปัสสนา ดู วิปัสสนูปกิเลส

อุปฆาตกรรม กรรมตัดรอน ได้แก่ กรรมที่เป็นกุศลดี ที่เป็นอกุศลก็ดี ซึ่งมีกำลังแรง เข้าตัดรอนการให้ผลของชนกกรรม หรืออุปัตถัมภกกรรม ที่ตรงข้ามกับตนเสีย แล้วให้ผลแทนที่
       (ข้อ ๘ ในกรรม ๑๒)

อุปจาร เฉียด, จวนเจียน, ที่ใกล้ชิด, ระยะใกล้เคียง, ชาน, บริเวณรอบๆ;
       ดังตัวอย่างคำที่ว่า อุปจารเรือน อุปจารบ้าน แสดงตามที่ท่านอธิบายในอรรถกถาพระวินัยดังนี้
       อาคารที่ปลูกขึ้นร่วมในแค่ระยะน้ำตกที่ชายคาเป็น เรือน,
       บริเวณรอบๆ เรือนซึ่งกำหนดเอาที่แม่บ้านยืนอยู่ที่ประตูเรือนสาดน้ำล้างภาชนะออกไปหรือแม่บ้านยืนอยู่ภายในเรือนโยนกระด้ง หรือไม้กวาดออกไปภายนอกตกที่ใด ระยะรอบๆ กำหนดนั้นเป็นอุปจารเรือน
       บุรุษวัยกลางคนมีกำลังดี ยืนอยู่ที่เขตอุปจารเรือน ขว้างก้อนดินไป ก้อนดินที่ขว้างนั้นตกลงที่ใด ที่นั้นจากรอบๆ บริเวณอุปจารเรือน เป็นกำหนดเขตบ้าน,
       บุรุษวัยกลางคนมีกำลังดีนั้นแหละ ยืนอยู่ที่เขตบ้านนั้นโยนก้อนดินไปเต็มกำลัง ก้อนดินตกเป็นเขตอุปจารบ้าน;
       สีมาที่สมมติเป็นติจีวราวิปปวาสนั้น จะต้องเว้นบ้านและอุปจารบ้านดังกล่าวนี้เสีย จึงจะสมมติขึ้น คือ ใช้เป็นติจีวราวิปปวาสสีมาได้;
       ดู ติจีวราวิปปวาสสีมา ด้วย

อุปจารภาวนา ภาวนาขั้นจวนเจียน คือ เจริญกรรมฐานถึงขั้นเกิดอุปจารสมาธิ
       (ข้อ ๒ ในภาวนา ๓)

อุปจารสมาธิ สมาธิจวนจะแน่วแน่, สมาธิที่ยังไม่ดิ่งถึงที่สุด เป็นขั้นทำให้กิเลสมีนิวรณ์เป็นต้นระงับ ก่อนจะเป็นอัปปนา คือถึงฌาน
       (ข้อ ๑ ในสมาธิ ๒, ข้อ ๒ ในสมาธิ ๓)

อุปจารแห่งสงฆ์ บริเวณรอบๆ เขตสงฆ์ชุมนุมกัน

อุปฐาก ดู อุปัฏฐาก

อุปติสสะ ดู สารีบุตร

อุปติสสปริพาชก คำเรียกพระสารีบุตรเมื่อบวชเป็นปริพาชกอยู่ในสำนักของสญชัย

อุปถัมภ์ การค้ำจุน, เครื่องค้ำจุน, อุดหนุน, ช่วยเหลือ, หล่อเลี้ยง

อุปธิ สิ่งนุงนัง, สภาวะกลั้วกิเลส,
       สิ่งที่ยังระคนด้วยกิเลส
           1. ร่างกาย
           2. สภาวะอันเป็นที่ตั้งที่ทรงไว้แห่งทุกข์ ได้แก่ กาม กิเลส เบญจขันธ์ และอภิสังขาร

อุปนาหะ ผูกโกรธไว้, ผูกใจเจ็บ
       (ข้อ ๔ ในอุปกิเลส ๑๖)

อุปนิสัย ความประพฤติที่เคยชินเป็นพื้นมาในสันดาน, ความดีที่เป็นทุนหรือเป็นพื้นอยู่ในจิตต์, ธรรมที่เป็นเครื่องอุดหนุน

อุปนิสินนกถา “ถ้อยคำของผู้เข้าไปนั่งใกล้”, การนั่งคุยหรือสนทนาอย่างกันเอง หรือไม่เป็นแบบแผนพิธี เพื่อตอบคำซักถาม แนะนำชี้แจง ให้คำปรึกษา เป็นต้น

อุปบารมี บารมีขั้นรอง, บารมีขั้นจวนสูงสุด
       คือ บารมีที่บำเพ็ญยิ่งกว่าบารมีตามปกติ แต่ยังไม่ถึงที่สุดที่จะเป็นปรมัตถบารมี เช่น
           สละทรัพย์ภายนอก เป็นทานบารมี
           สละอวัยวะ เป็นทานอุปบารมี
           สละชีวิต เป็นทานปรมัตถบารมี;
       ดู บารมี

อุปปถกิริยา การทำนอกรีตนอกรอยของสมณะ,
       ความประพฤตินอกแบบแผนของภิกษุสามเณร ท่านจัดรวมไว้เป็น ๓ ประเภท คือ
           ๑. อนาจาร ประพฤติไม่ดีไม่งาม และเล่นไม่เหมาะสมต่างๆ
           ๒. ปาปสมาจาร ความประพฤติเลวทราม คือ คบหากับคฤหัสถ์ในทางที่ไม่สมควร ทำตนเป็นกุลทูสก
           ๓. อเนสนา หาเลี้ยงชีพในทางที่ไม่สมควร เช่น เป็นหมอเสกเป่า ให้หวย เป็นต้น

อุปปลวัณณา ดู อุบลวรรณา

อุปปัชชเวทนียกรรม กรรมให้ผลในภพที่จะไปเกิด คือ ในภพถัดไป
       (ข้อ ๒ ในกรรม ๑๒)

อุปปัตติเทพ “เทวดาโดยกำเนิด” ได้แก่ พวกเทวดาในกามาพจรสวรรค์และพรหมทั้งหลาย
       (ข้อ ๒ ในเทพ ๓)

อุปปีฬกกรรม “กรรมบีบคั้น” ได้แก่ กรรมที่เป็นกุศลก็ดี อกุศลก็ดี ซึ่งบีบคั้นการให้ผลแห่งชนกกรรมและอุปัตถัมภกกรรม ที่ตรงข้ามกับตน ให้แปรเปลี่ยนไป
       เช่น ถ้าเป็นกรรมดีก็บีบคั้นให้อ่อนลง ไม่ให้ได้รับผลเต็มที่ ถ้าเป็นกรรมชั่วก็เกียดกันให้ทุเลา
       (ข้อ ๗ ในกรรม ๑๒)

อุปมา ข้อความที่นำมาเปรียบเทียบ, การอ้างเอามาเปรียบเทียบ, ข้อเปรียบเทียบ

อุปมา ๓ ข้อ ข้อเปรียบเทียบ ๓ ประการ ที่ปรากฏแก่พระโพธิสัตว์ เมื่อจะทรงบำเพ็ญเพียร ที่ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม คือ
       ๑. ไม้สดชุ่มด้วยยาง ทั้งตั้งอยู่ในน้ำ จะเอามาสีให้เกิดไฟ ก็มีแต่จะเหนื่อยเปล่า ฉันใด
           สมณพราหมณ์ที่มีกายยังไม่หลีกออกจากกาม ยังมีความพอใจหลงใหลกระหายกาม ละไม่ได้ ถึงจะได้เสวยทุกขเวทนาที่เผ็ดร้อนแรงกล้า อันเกิดจากความเพียรก็ตาม ไม่ได้เสวยก็ตาม ก็ไม่ควรที่จะตรัสรู้ ฉันนั้น
       ๒. ไม้สดชุ่มด้วยยาง ตั้งอยู่บนบกไกลจากน้ำ จะเอามาสีให้เกิดไฟ ก็มีแต่จะเหนื่อยเปล่า ฉันใด
           สมณพราหมณ์ที่มีกายหลีกออกแล้วจากกาม แต่ยังมีความพอใจหลงใหลกระหายกาม ละไม่ได้ ถึงจะได้เสวยทุกขเวทนาที่เผ็ดร้อนแรงกล้า อันเกิดจากความเพียรก็ตาม ไม่ได้เสวยก็ตาม ก็มีควรที่จะตรัสรู้ ฉันนั้น
       ๓. ไม้แห้งเกราะ ทั้งตั้งอยู่บนบก ไกลจากน้ำ จะเอามาสีให้เกิดไฟย่อมทำให้ไฟให้ปรากฏได้ ฉันใด
           สมณพราหมณ์ที่มีกายหลีกออกแล้วจากกาม ไม่มีความพอใจหลงใหลกระหายกาม ละกามได้แล้ว ถึงจะได้เสวยทุกขเวทนาที่เผ็ดร้อนแรงกล้า อันเกิดจากความเพียร ก็ตาม ไม่ได้เสวยก็ตาม ก็ควรที่จะตรัสรู้ ฉันนั้น
       เมื่อได้ทรงพระดำริดังนี้แล้ว พระโพธิสัตว์จึงได้ทรงเริ่มบำเพ็ญทุกรกิริยา ดังเรื่องที่มาในพระสูตรเป็นอันมาก มีโพธิราชกุมารสูตร เป็นต้น
       แต่มักเข้าใจกันผิดไปว่า อุปมา ๓ ข้อนี้ปรากฏแก่พระโพธิสัตว์หลังจากทรงเลิกละการบำเพ็ญทุกรกิริยา

อุปไมย ข้อความที่ควรจะนำสิ่งอื่นมาเปรียบเทียบ, สิ่งที่ควรจะหาสิ่งอื่นมาเปรียบเทียบ, สิ่งที่ถูกเปรียบเทียบ

อุปริมทิส “ทิศเบื้องบน” หมายถึง สมณพราหมณ์;
       ดู ทิศ ๖

อุปวาณะ พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เกิดในตระกูลพราหมณ์ผู้มั่งคั่ง ในนครสาวัตถี
       ได้เห็นพระพุทธองค์ในพิธีถวายวัดพระเชตวัน เกิดความเลื่อมใส จึงได้มาบวชในพระศาสนา และได้บรรลุอรหัตตผล
       ท่านเคยเป็นอุปัฏฐากของพระพุทธองค์ แม้ในวันปรินิพพาน พระอุปวาณะก็ถวายงานพัดอยู่เฉพาะพระพักตร์
       เรื่องราวเกี่ยวกับท่านปรากฏในพระไตรปิฎก ๔-๕ แห่ง
       เช่น เรื่องที่ท่านสนทนากับพระสารีบุตร เกี่ยวกับโพชฌงค์ ๗ ประการ เป็นต้น

อุปสมะ ความสงบใจจากสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่ความสงบ, การทำใจให้สงบ,
       สภาวะอันเป็นที่สงบ คือ นิพพาน
       (ข้อ ๔ ในอธิษฐานธรรม ๔)

อุปสมบท การให้กุลบุตรบวชเป็นภิกษุหรือให้กุลธิดาบวชเป็นภิกษุณี, การบวชเป็นภิกษุ หรือภิกษุณี;
       ดู อุปสัมปทา

อุปสมานุสติ ระลึกถึงคุณพระนิพพานซึ่งเป็นที่ระงับกิเลสและกองทุกข์
       (ข้อ ๑๐ ในอนุสติ ๑๐)

อุปสรรค ความขัดข้อง, สิ่งที่เข้าไปขัดข้อง, เครื่องกีดกั้น, สิ่งขัดขวาง

อุปสัมบัน ผู้ได้รับอุปสมบทเป็นภิกษุหรือภิกษุณีแล้ว, ผู้อุปสมบทแล้ว ได้แก่ ภิกษุและภิกษุณี;
       เทียบ อนุปสัมบัน

อุปสัมปทา การบวช, การบวชเป็นภิกษุหรือภิกษุณี;
       วิธีอุปสมบทมีทั้งหมด ๘ อย่าง แต่เฉพาะที่ใช้เป็นหลักมี ๓ อย่างคือ
           ๑. เอหิภิกขุอุปสัมปทา การอุปสมบทด้วยพระวาจาว่า “จงเป็นภิกษุมาเถิด” เป็นวิธีที่พระพุทธเจ้าทรงบวชให้เอง
           ๒. ติสรณคมนูปสัมปทา หรือสรณคมนูปสัมปทา การอุปสมบทด้วยถึงไตรสรณะ เป็นวิธีที่ทรงอนุญาตให้พระสาวกทำในยุคต้นพุทธกาล เมื่อคณะสงฆ์ยังไม่ใหญ่นัก เมื่อทรงอนุญาตวิธีที่ ๓ แล้ว วิธีที่ ๒ นี้ก็เปลี่ยนใช้สำหรับบรรพชาสามเณร
           ๓. ญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา การอุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรม เป็นวิธีที่ทรงอนุญาตให้สงฆ์ทำ ในเมื่อคณะสงฆ์เป็นหมู่ใหญ่ขึ้นแล้ว และเป็นวิธีใช้สืบมาจนทุกวันนี้;
       วิธีอุปสมบทอีก ๕ อย่าง ที่เหลือเป็นวิธีที่ทรงประทานเป็นการพิเศษ จำเพาะบุคคลบ้าง ขาดตอนหมดไปแล้วบ้าง ได้แก่ (จัดเรียงลำดับใหม่ เอาข้อ ๓. เป็นข้อ ๘. ท้ายสุด)
           ๓. โอวาทปฏิคคหณูปสัมปทา การอุปสมบทด้วยการรับโอวาท เป็นวิธีที่ทรงอนุญาตแก่พระมหากัสสปะ
           ๔. ปัญหาพยากรณูปสัมปทา การอุปสมบทด้วยการตอบปัญหาของพระพุทธองค์ เป็นวิธีที่ทรงอนุญาตแก่โสปากสามเณร
           ๕. ครุธรรมปฏิคคหณูปสัมปทา (หรือ อัฏฐครุธรรมปฏิคคหณูปสัมปทา) การอุปสมบทด้วยการรับครุธรรม ๘ ประการ เป็นวิธีที่ทรงอนุญาตแก่พระนางมหาปชาบดีโคตมี
           ๖. ทูเตนะ อุปสัมปทา การอุปสมบทด้วยทูต เป็นวิธีที่ทรงอนุญาตแก่นางคณิกา (หญิงโสเภณี) ชื่อ อัฑฒกาสี
           ๗. อัฏฐวาจิกาอุปสัมปทา การอุปสมบทมีวาจา ๘ คือ ทำด้วยญัตติจตุตถกรรม ๒ ครั้งจากสงฆ์ทั้งสองฝ่ายคือจากภิกษุณีสงฆ์ครั้งหนึ่ง จากภิกษุสงฆ์ครั้งหนึ่ง ได้แก่การอุปสมบทของภิกษุณี
           ๘. ญัตติจตุตถกรรมอุปสัมปทา (ข้อ ๓. เดิม)

อุปสัมปทาเปกขะ บุคคลผู้เพ่งอุปสมบท คือผู้มุ่งจะบวชเป็นภิกษุ, ผู้ขอบวช, นาค

อุปสัมปทาเปกขา หญิงผู้เพ่งอุปสัมปทา คือผู้ขอบวชเป็นภิกษุณี

อุปสีวมาณพ ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คน ของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา ที่ปาสาณเจดีย์

อุปเสนวังคันตบุตร พระมหาสาวกองค์หนึ่ง
       เป็นบุตรพราหมณ์ชื่อ วังคันตะ มารดาชื่อนางสารี เป็นน้องชายของพระสารีบุตร
       เกิดที่หมู่บ้านนาลกะ เติบโตขึ้น เรียนไตรเพทจบแล้ว ต่อมาได้ฟังธรรม มีความเลื่อมใส จึงบวชในพระพุทธศาสนา หลังจากบวชได้ ๒ พรรษา จึงได้สำเร็จพระอรหัต
       ท่านออกบวชจากตระกูลใหญ่ มีคนรู้จักมาก ทั้งเป็นนักเทศก์ที่สามารถ จึงมีกุลบุตรเลื่อมใสมาขอบวชด้วยเป็นจำนวนมาก ตัวท่านเองเป็นผู้ถือธุดงค์ และสอนให้สัทธิวิหาริกถือธุดงค์ด้วย
       ปรากฏว่า ทั้งตัวท่านและบริษัทของท่านเป็นที่เลื่อมใสของคนทั่วไปหมด จึงได้รับยกย่องว่า เป็นเอตทัคคะในทางทำให้เกิดความเลื่อมในทั่วทุกด้าน (คือไม่เฉพาะตนเองน่าเลื่อมใส แม้คณะศิษย์ก็น่าเลื่อมใสไปหมด)

อุปหัจจปรินิพพายี พระอนาคามีผู้จะปรินิพพานต่อเมื่ออายุพ้นกึ่งแล้ว คือจะปรินิพพาน เมื่อใกล้จะสิ้นอายุ
       (ข้อ ๒ ในอนาคามี ๕)

อุปัชฌาย์, อุปัชฌายะ “ผู้เพ่งโทษน้อยใหญ่” หมายถึง ผู้รับรองกุลบุตรเข้ารับการอุปสมบทในท่ามกลางภิกษุสงฆ์, เป็นทั้งผู้นำเข้าหมู่ และเป็นผู้ปกครองคอยดูแลผิดและชอบ ทำหน้าที่ฝึกสอนอบรมให้การศึกษาต่อไป;
       อุปัชฌาย์ในฝ่ายภิกษุณี เรียกว่า ปวัตตินี

อุปัชฌายมัตต์ ภิกษุผู้พอจะเป็นอุปัชฌาย์ได้ คือมีพรรษาครบ ๑๐, พระปูนอุปัชฌาย์

อุปัชฌายวัตร ธรรมเนียมหรือข้อปฏิบัติที่สัทธิวิหาริกพึงกระทำต่ออุปัชฌาย์ของตน,
       หน้าที่ต่ออุปัชฌาย์ โดยย่อคือ
           เอาใจใส่ปรนนิบัติรับใช้
           คอยศึกษาเล่าเรียนจากท่าน
           ขวนขวาย ป้องกัน หรือระงับความเสื่อมเสีย เช่น ความคิดจะสึก ความเห็นผิด เป็นต้น
           รักษาน้ำใจของท่าน มีความเคารพ จะไปไหนบอกลา ไม่เที่ยวตามอำเภอใจ
           และเอาใจใส่พยาบาลเมื่อท่านอาพาธ;
       เทียบ สัทธิวิหาริกวัตร

อุปัชฌายาจารย์ อุปัชฌาย์และอาจารย์

อุปัฏฐาก ผู้บำรุง, ผู้รับใช้, ผู้ดูแลความเป็นอยู่, ผู้อุปถัมภ์บำรุงพระภิกษุสามเณร;
       อุปฐาก ก็เขียน

อุปัฏฐายิกา อุปัฏฐากที่เป็นผู้หญิง

อุปัตติเหตุ เหตุที่เกิดขึ้น, เหตุการณ์ที่เกิด
       เช่น ควรเทศนาให้เหมาะแก่อุปัตติเหตุ คือ แสดงธรรมให้เข้ากับเรื่องที่เกิดขึ้น;
       บัดนี้เขียน อุบัติเหตุ และใช้ในความหมายที่ต่างออกไป

อุปัตถัมภกกรรม กรรมสนับสนุน ได้แก่ กรรมทั้งที่เป็นกุศลและอกุศลที่เข้าช่วยสนับสนุนซ้ำเติมต่อจากชนกกรรม เหมือนแม่นมเลี้ยงทารกที่เกิดจากผู้อื่น
       ถ้ากรรมดีก็สนับสนุนให้ดีขึ้น ถ้ากรรมชั่วก็ซ้ำเติมให้เลวลงไปอีก
       (ข้อ ๖ ในกรรม ๑๒)

อุปัสสยะของภิกษุณี ส่วนที่อยู่ของภิกษุณีตั้งอยู่ในอาวาสที่มีภิกษุอยู่ด้วย แต่อยู่โดยเอกเทศ ไม่ปะปนกับภิกษุ;
       เรียกตามศัพท์ว่า ภิกขุนูปัสสยะ

อุปาทาน ความยึดมั่น, ความถือมั่นด้วยอำนาจกิเลส มี ๔ คือ
       ๑. กามุปาทาน ความถือมั่นในกาม
       ๒. ทิฏฐุปาทาน ความถือมั่นในทิฏฐิ
       ๓. สีลัพพตุปาทาน ความถือมั่นในศีลและพรต
       ๔. อัตตวาทุปาทาน ความถือมั่นวาทะว่าตน

อุปาทานขันธ์ ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน, ขันธ์ที่ประกอบด้วยอุปาทาน ได้แก่ เบญจขันธ์ คือ รูป, เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณที่ประกอบด้วยอาสวะ

อุปาทายรูป รูปอาศัย, รูปที่เกิดสืบเนื่องจากมหาภูตรูป,
       อาการของมหาภูตรูป ตามหลักฝ่ายอภิธรรมว่า มี ๒๔ คือ
       ก. ประสาท หรือ ปสาทรูป ๕ ได้แก่
           จักขุ ตา, โสต หู, ฆานะ จมูก, ชิวหา ลิ้น, กาย
       ข. โคจรรูป หรือ วิสัยรูป (รูปที่เป็นอารมณ์) ๕ ได้แก่
           รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
           (โผฏฐัพพะ ไม่นับเข้าจำนวน เพราะตรงกับปฐวี เตโช วาโย ซึ่งเป็นมหาภูตรูป)
       ค. ภาวรูป ๒ ได้แก่
           อิตถีภาวะ ความเป็นหญิง และ
           ปุริสภาวะ ความเป็นชาย
       ง. หทัยรูป ๑ คือ หทัยวัตถุ หัวใจ
       จ. ชีวิตรูป ๑ คือ ชีวิตินทรีย์ ภาวะที่รักษารูปให้เป็นอยู่
       ฉ. อาหารรูป ๑ คือ กวฬิงการาหาร อาหารที่กินเกิดเป็นโอชา
       ช. ปริจเฉทรูป ๑ คือ อากาศธาตุ ช่องว่าง
       ญ. วิญญัติรูป ๒ คือ
           กายวิญญัติ ไหวกายให้รู้ความ
           วจีวิญญัติ ไหววาจาให้รู้ความ คือพูดได้
       ฎ. วิการรูป ๕ อาการดัดแปลงต่างๆ ได้แก่
           ลหุตา ความเบา,
           มุทุตา ความอ่อน,
           กัมมัญญตา ความควรแก่งาน,
           (อีก ๒ คือ วิญญัติรูป ๒ นั่นเอง ไม่นับอีก)
       ฏ. ลักขณรูป ๔ ได้แก่
           อุปจยะ ความเติบขึ้นได้,
           สันตติ สืบต่อได้,
           ชรตา ทรุดโทรมได้,
           อนิจจตา ความสลายไม่ยั่งยืน
       (นับโคจรรูปเพียง ๔ วิการรูป เพียง ๓ จึงได้ ๒๔);
       ดู มหาภูต ด้วย

อุปาทิ
       1. สภาพที่ถูกกรรมกิเลสถือครอง, สภาพที่ถูกอุปาทานยึดไว้มั่น, เบญจขันธ์
       2. กิเลสเป็นเหตุถือมั่น, ความยึดมั่นถือมั่น, อุปาทาน

อุปาทินนกสังขาร สังขารที่กรรมครอบครอง
       พูดเข้าใจกันอย่างง่ายๆ ว่า สังขารที่มีใจครอง เช่น คน สัตว์ เทวดา
       (ข้อ ๑ ในสังขาร ๒)

อุปายโกศล ดู โกศล ๓

อุปายาส ความคับแค้นใจ, ความสิ้นหวัง

อุปาลิปัญจะ ชื่อตอนหนึ่งในคัมภีร์บริวาร พระวินัยปิฎก

อุปาลิวงศ์ ชื่อนิกายพระสงฆ์ลังกาที่บวชจากพระสงฆ์สยาม
       (พระอุบาลีเป็นหัวหน้า นำคณะสงฆ์ไทยไปอุปสมบทกุลบุตรในประเทศลังกา เมื่อ พ.ศ. ๒๒๙๖ ในแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ สมัยอยุธยาตอนปลาย)

อุปาสกัตตเทสนา การแสดงความเป็นอุบาสก
       คือ ประกาศตนเป็นอุบาสก โดยถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ

อุปาหนา ดู รองเท้า

อุโปสถขันธกะ ชื่อขันธกะที่ ๒ แห่งคัมภีร์มหาวรรค พระวินัยปิฎก
       ว่าด้วยการทำอุโบสถ คือ สวดปาฏิโมกข์และเรื่องสีมา

อุโปสถิกะ, อุโปสถิกภัต อาหารที่เขาถวายในวันอุโบสถ คือ วันพระ ในเดือนหนึ่ง ๔ วัน,
       เป็นของจำพวกสังฆภัตหรืออุทเทสภัต นั่นเอง แต่มีกำหนดวันเฉพาะ คือ ถวายเฉพาะในวันอุโบสถ

อุพพาหิกา กิริยาที่ถอนนำไป, การเลือกแยกออกไป,
       หมายถึง วิธีระงับวิวาทาธิกรณ์ ในกรณีที่ที่ประชุมสงฆ์มีความไม่สะดวก ด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง สงฆ์จึงเลือกภิกษุบางรูปในที่ประชุมนั้น ตั้งเป็นคณะ แล้วมอบเรื่องให้นำเอาไปวินิจฉัย
       (เป็นทำนองตั้งคณะกรรมการพิเศษ)

อุพภตกสัณฐาคาร ท้องพระโรงชื่ออุพภตก เป็นท้องพระโรง หรือหอประชุมที่สร้างขึ้นใหม่ของมัลลกษัตริย์แห่งเมืองปาวา
       มัลลกษัตริย์ทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าไปประทับพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ เพื่อเป็นสิริมงคลก่อนจะเปิดใช้งาน
       ณ ที่นี้ พระสารีบุตรได้แสดงสังคีติสูตร อันเป็นต้นแบบของการสังคายนา

อุภโตพยัญชนก คนมีทั้ง ๒ เพศ

อุภโตภาควิมุต “ผู้หลุดพ้นทั้งสองส่วน”
       คือ พระอรหันต์ผู้บำเพ็ญสมถะมาเป็นอย่างมากจนได้สมาบัติ ๘ แล้ว จึงใช้สมถะนั้นเป็นฐานบำเพ็ญวิปัสสนาต่อไปจนบรรลุอรหัตตผล;
       หลุดพ้นทั้งสองส่วน (และสองวาระ) คือหลุดพ้นจากรูปกายด้วยอรูปสมาบัติ (เป็นวิกขัมภนะ) หนหนึ่งแล้ว จึงหลุดพ้นจากนามกายด้วยอริยมรรค (เป็นสมุจเฉท) อีกหนหนึ่ง;
       เทียบ ปัญญาวิมุต

อุภโตสุชาต เกิดดีแล้วทั้งสองฝ่าย คือ ทั้งฝ่ายมารดาทั้งฝ่ายบิดา
       หมายความว่า มีสกุลสูง เป็นเชื้อสายวรรณะนั้นต่อเนื่องกันมาโดยตลอด ทั้งฝ่ายบิดาและฝ่ายมารดา,
       เป็นคุณสมบัติที่พวกพราหมณ์และกษัตริย์บางวงศ์ถือเป็นสำคัญมาก

อุภยัตถะ ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย, ประโยชน์ร่วมกัน,
       สิ่งที่เกื้อกูลแก่ส่วนรวม เป็นคุณแก่ชีวิตทั้งของตนเองและของผู้อื่น ช่วยให้เป็นอยู่กันด้วยดี พากันประสบทิฏฐธัมมิกัตถะ สัมปรายิกัตถะ และปรมัตถะ ยิ่งขึ้นไป;
       ดู อัตถะ

อุรุเวลกัสสป พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เคยเป็นนักบวชประเภทชฎิล นับถือลัทธิบูชาไฟ
       ถือตัวว่าเป็นพระอรหันต์ สร้างอาศรมสั่งสอนลัทธิของตนอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลา เพราะเหตุที่เป็นชาวกัสสปโคตร และอยู่ ณ ตำบลอุรุเวลา จึงได้ชื่อว่า อุรุเวลกัสสป
       ท่านผู้นี้เป็นคณาจารย์ใหญ่ที่ชาวราชคฤห์นับถือมาก มีน้องชายสองคน คนหนึ่งชื่อนทีกัสสป อีกคนหนึ่งชื่อคยากัสสป ล้วนเป็นหัวหน้าชฎิลตั้งอาศรมอยู่ถัดกันไปบนฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ไม่ห่างไกลจากอาศรมของพี่ชายใหญ่
       ต่อมาพระพุทธเจ้าได้เสด็จมาทรงทรมานอุรุเวลกัสสปด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ต่างๆ จนท่านชฎิลใหญ่คลายพยศ ยอมมอบตัวเป็นพุทธสาวก ขอบรรพชา ทำให้ชฎิลผู้น้องทั้งสองพร้อมด้วยบริวารออกบวชตามด้วยทั้งหมด
       ครั้นบวชแล้วได้ฟังเทศนา อาทิตตปริยายสูตร จากพระพุทธเจ้า ก็ได้สำเร็จพระอรหัตทั้งสามพี่น้องพร้อมด้วยบริวารทั้งหมดหนึ่งพันองค์
       พระอุรุเวลกัสสปได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในทางมีบริษัทใหญ่ คือ มีบริวารมาก

อุรุเวลา ชื่อตำบลใหญ่แห่งหนึ่ง ในแคว้นมคธ ตั้งอยู่ ณ ลุ่มแม่น้ำเนรัญชรา เป็นภูมิสถานที่สงบน่ารื่นรมย์ พระมหาบุรุษทรงเลือกเป็นที่บำเพ็ญเพียร ได้ประทับอยู่ ณ ที่นี้นานถึง ๖ ปี
       ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา และเปลี่ยนมาทรงดำเนินในมัชฌิมาปฏิปทา จนได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ภายใต้ร่มพระศรีมหาโพธิ์ ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ในตำบลนี้

อุสสาวนันติกา กัปปิยภูมิที่ทำด้วยการประกาศ
       ได้แก่ กุฎีที่ภิกษุทั้งหลายตกลงกันแต่ต้นว่า จะทำเป็นกัปปิยกุฎี ในเวลาที่ทำ พอช่วยกันยกเสาหรือตั้งฝาทีแรก ก็ร้องประกาศให้รู้กันว่า
       “กปฺปิยกุฎึ กโรม” ๓ หน (แปลว่า “เราทั้งหลายทำกัปปิยกุฎี”);
       ดู กัปปิยภูมิ

อุสีรธชะ ภูเขาที่กั้นอาณาเขตของมัชฌิมชนบทด้านเหนือ

อูเน คเณ จรณํ การประพฤติ (วัตร) ในคณะอันพร่อง
       คือ ประพฤติในถิ่น เช่น อาวาสที่มีปกตัตตภิกษุไม่ครบองค์สงฆ์ คือไม่ถึง ๔ รูป แต่ที่นิยมปฏิบัติกันมาไม่ต่ำกว่า ๕ รูป;
       เป็นเหตุอย่างหนึ่งของรัตติเฉทแห่งมานัต;
       ดู รัตติเฉท

อูรุ ขาอ่อน, โคนขา

เอกฉันท์ มีความพอใจอย่างเดียวกัน, เห็นเป็นอย่างเดียวกันหมด

เอกเทศ ภาคหนึ่ง, ส่วนหนึ่ง, เป็นส่วนหนึ่งต่างหาก

เอกพีชี ผู้มีพืช คืออัตภาพอันเดียว หมายถึง พระโสดาบันซึ่งจะเกิดอีกครั้งเดียว ก็จะบรรลุพระอรหัตตผลในภพที่เกิดขึ้น
       (ข้อ ๑ ในโสดาบัน ๓, บางแห่งท่านจัดกลับเป็นข้อ ๓)

เอกภัณฑะ ทรัพย์สิ่งเดียวซึ่งมีราคาเพียงพอที่จะเป็นวัตถุแห่งปาราชิก

เอกวจนะ คำกล่าวถึงสิ่งของสิ่งเดียว

เอกสิทธิ สิทธิพิเศษ, สิทธิโดยเฉพาะ

เอกเสสนัย อาการกำหนดด้วยเหลือศัพท์เดียว,
       เป็นวิธีการอย่างหนึ่งในไวยากรณ์บาลี กล่าวคือ บุคคล วัตถุ หรือภาวะบางอย่าง เป็นของควบคู่กันมาด้วยกันเสมอ เมื่อเห็นอย่างหนึ่งก็เป็นอันรู้ถึงอีกอย่างหนึ่งด้วย หรือเป็นของชุดเดียวกัน จำพวกเดียวกัน เมื่อเรียกอย่างหนึ่ง จะหมายถึงอย่างหนึ่งอย่างใดในชุดหรือในจำพวกนั้นก็ได้
       ในกรณีเช่นนี้ บางทีท่านกล่าวถึงหรือออกชื่อไว้อย่างใดอย่างหนึ่ง แต่เพียงอันเดียวให้ผู้อ่านหรือผู้ฟังหมายรู้อีกอย่างหนึ่งด้วย หรือให้เข้าใจเอาเอง จากข้อความแวดล้อมว่า ในที่นั้น หมายถึงอย่างไหนข้อใดในชุดหรือในจำพวกนั้น จึงเรียกว่า เหลือไว้อย่างเดียว หรือเหลือไว้ศัพท์เดียว เช่น
       พูดอย่างคำบาลีว่า “พระสารีบุตรทั้งหลาย” ก็หมายถึง พระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะ
       หรือในหลักปฏิจจสมุปบาท คำว่า นามรูป เป็นเอกเสส หมายถึง นามหรือรูป หรือทั้งนามและรูป
       คำว่า สฬายตนะ ก็เป็นเอกเสส หมายถึง อายตนะที่ ๖ ก็ได้ อายตนะทั้ง ๖ ก็ได้ ดังนั้น เมื่อพูดว่านามรูปเป็นปัจจัยให้เกิดสฬายตนะ ถ้าหมายถึงอรูปภพก็ต้องแปลความว่า นามเป็นปัจจัยให้เกิดอายตนะที่ ๖ (คือมโน)
       อนึ่ง เมื่อสิ่งอื่นในชุดเดียวกัน มีคำเฉพาะระบุชัดอยู่แล้ว คำที่เป็นชื่อรวมๆ ของชุด ก็ย่อมหมายถึงสิ่งที่ยังไม่ถูกระบุด้วยคำอื่น เช่น ในคำว่า “สุคติ (และ) โลกสวรรค์” สวรรค์เป็นสุคติ แต่มีคำเฉพาะระบุไว้แล้ว ดังนั้น คำว่า สุคติ ในกรณีนี้จึงหมายถึง โลกมนุษย์ ซึ่งเป็นสุคติอย่างเดียวที่เหลือนอกจากสวรรค์

เอกอุ เลิศ, สูงสุด (ตัดมาจากคำว่า เอกอุดม)

เอกัคคตา ความมีอารมณ์เป็นอันเดียว คือ ความมีจิตแน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียว ได้แก่สมาธิ
       (พจนานุกรมเขียน เอกัคตา);
       ดู ฌาน

เอกันตโลมิ เครื่องลาดที่มีขนตกไปข้างเดียวกัน

เอกายนมรรค ทางอันเอก คือ ข้อปฏิบัติอันประเสริฐที่จะนำผู้ปฏิบัติไปสู่ความบริสุทธิ์หมดจด หมดความทุกข์ และบรรลุนิพพาน ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔;
       อย่างกว้าง เช่น ในมหานิทเทส หมายถึง โพธิปักขิยธรรม ด้วย

เอกาสนิกังคะ องค์แห่งผู้ถือนั่งฉันที่อาสนะเดียวเป็นวัตร คือ ฉันวันละครั้งเดียว ลุกจากที่แล้วไม่ฉันอีกในวันนั้น
       (ข้อ ๕ ในธุดงค์ ๑๓)

เอตทัคคะ พระสาวกที่ได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่า เป็นผู้ยอดเยี่ยมในทางใดทางหนึ่ง
       เช่น เป็นเอตทัคคะในทางธรรมกถึก หมายความว่าเป็นผู้ยอดเยี่ยมในทางแสดงธรรม เป็นต้น;
       ดู อสีติมหาสาวก

เอตทัคคฐาน ตำแหน่งเอตทัคคะ, ตำแหน่งที่ได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่า เป็นเลิศในคุณนั้นๆ

เอหิปสฺสิโก พระธรรมควรเรียกให้มาดู คือ เชิญชวนให้มาชมเหมือนของวิเศษ ที่ควรป่าวร้องให้มาดู หรือท้าทายต่อการพิสูจน์ เพราะเป็นของจริงและดีจริง
       (ข้อ ๔ ในธรรมคุณ ๖)

เอหิภิกขุ เป็นคำเรียกภิกษุที่ได้รับอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าโดยตรงด้วยวิธีบวชที่เรียกว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา;
       พระอัญญาโกณฑัญญะ เป็นเอหิภิกขุองค์แรก

เอหิภิกขุอุปสัมปทา วิธีอุปสมบทที่พระพุทธเจ้าประทานด้วยพระองค์เอง
       ด้วยการเปล่งพระวาจาว่า “ท่านจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเราดีแล้ว ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด”
       วิธีนี้ ทรงประทานแก่พระอัญญาโกณฑัญญะ เป็นบุคคลแรก;
       ดู อุปสัมปทา

เอหิภิกษุ ดู เอหิภิกขุ

โอกกันติกาปีติ ปีติเป็นระลอก, ความอิ่มใจเป็นพักๆ เมื่อเกิดขึ้นทำให้รู้สึกซู่ซ่าเหมือนคลื่นกระทบฝั่ง
       (ข้อ ๓ ในปีติ ๕)

โอกกากราช กษัตริย์ผู้เป็นต้นสกุลของศากยวงศ์

โอกาส ช่อง, ที่ว่าง, ทาง,เวลาที่เหมาะ, จังหวะ;
       ในวิธีระงับอนุวาทาธิกรณ์ มีระเบียบว่า ก่อนจะกล่าวคำโจทนาคือคำฟ้องขึ้นต่อหน้าสงฆ์ โจทก์พึงขอโอกาสต่อจำเลย
       คำขอโอกาสว่า “กโรตุ เม อายสฺมา โอกาสํ, อหนฺตํ วตฺตุกาโม”
       แปลว่า “ขอท่านจงทำโอกาสแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าใคร่จะกล่าวกะท่าน”
       ถ้าโจทโดยไม่ขอโอกาส ต้องอาบัติทุกกฏ
       คำให้โอกาส ท่านไม่ได้แสดงไว้ อาจใช้ว่า “กโรมิ อายสฺมโต โอกาสํ”
       แปลว่า “ข้าพเจ้าทำโอกาสแก่ท่าน”;
       ภิกษุพร้อมด้วยองค์ ๕ แม้จะขอให้ทำโอกาสก็ไม่ควรทำ (คือไม่ควรให้โอกาส) กล่าวคือ
           เป็นผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์
           มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์
           มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์
           เป็นผู้เขลา
           ถูกซักเข้า ไม่อาจให้คำตอบขอที่ซัก,
       องค์ ๕ อีกหมวดหนึ่งว่า
           เป็นอลัชชี
           เป็นพาล
           มิใช่ปกตัตตะ
           กล่าวด้วยปรารถนาจะกำจัด
           มิใช่เป็นผู้มีความปรารถนาในอันให้ออกจากอาบัติ

โอกาสโลก โลกอันกำหนดด้วยโอกาส, โลกอันมีในอวกาศ, โลกซึ่งเป็นโอกาสแก่สัตว์ทั้งหลายที่จะอยู่อาศัย, โลกคือแผ่นดินอันเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ทั้งหลาย, จักรวาฬ
       (ข้อ ๓ ในโลก ๓)

โอฆะ ห้วงน้ำคือสงสาร, ห้วงน้ำคือการเวียนว่ายต่ายเกิด;
       กิเลสอันเป็นดุจกระแสน้ำหลากท่วมใจสัตว์ มี ๔ คือ กาม ภพ ทิฏฐิ อวิชชา

โอตตัปปะ ความกลัวบาป, ความเกรงกลัวต่อทุจริต, ความเกรงกลัวความชั่ว เหมือนกลัวอสรพิษ ไม่อยากเข้าใกล้ พยายามหลีกให้ห่างไกล
       (ข้อ ๒ ในธรรมคุ้มครองโลก ๒, ข้อ ๔ ในอริยทรัพย์ ๗, ข้อ ๓ ในสัทธรรม ๗)

โอธานสโมธาน ชื่อปริวาสประเภทสโมธานปริวาสอย่างหนึ่ง
       ใช้สำหรับอาบัติสังฆาทิเสสที่ต้องหลายคราว แต่มีจำนวนวันที่ปิดไว้เท่ากัน
       เช่น ต้องอาบัติ ๒ คราว ปิดไว้คราวละ ๕ วัน ให้ขอปริวาสรวมอาบัติและราตรีเข้าด้วยกันเพื่ออยู่เพียง ๕ วันเท่านั้น;
       (แต่ตามนัยอรรถกถา ท่านแก้ว่า สำหรับอันตราบัติมีวันปิดที่ประมวลเข้ากับอาบัติเดิม);
       ดู สโมธานปริวาส

โอปนยิโก พระธรรมควรน้อมเข้ามาไว้ในใจ หรือน้อมใจเข้าไปให้ถึงด้วยการปฏิบัติ ให้เกิดมีขึ้นในใจ หรือให้ใจบรรลุถึงอย่างนั้น
       (ข้อ ๕ ในธรรมคุณ ๖)

โอปปาติกะ สัตว์เกิดผุดขึ้น
       คือ เกิดผุดขึ้นมาและโตเต็มตัวในทันใด ตายก็ไม่ต้องมีเชื้อหรือซากปรากฏ เช่น เทวดาและสัตว์นรก เป็นต้น
       (ข้อ ๔ ในโยนิ ๔);
       บาลีว่า รวมทั้งมนุษย์บางพวก

โอปกฺกมิกา อาพาธา ความเจ็บไข้เกิดจากความพยายามหรือจากคนทำให้, เจ็บป่วยเพราะการกระทำของคน คือ ตนเองเพียงเกินกำลัง หรือถูกเขากระทำ เช่น ถูกจองจำ ใส่ขื่อคา เป็นต้น

โอภาส
       1. แสงสว่าง, แสงสุกใส ผุดผ่อง (ข้อ ๑ ในวิปัสสนูปกิเลส ๑๐)
       2. การพูดหรือแสดงออกที่เป็นเชิงเปิดช่องทางหรือให้โอกาส เช่นที่พระพุทธเจ้าทรงกระทำโอภาส ณ ที่ต่างๆ หลายแห่ง ซึ่งถ้าพระอานนท์เข้าใจ ก็จะทูลขอให้ทรงดำรงพระชนม์อยู่ตลอด(อายุ)กัป

โอมสวาท คำพูดเสียดแทงให้เจ็บใจ หรือให้ได้ความอัปยศ
       ได้แก่ การพูดแดก หรือประชดก็ตาม ด่าก็ตาม กระทบถึงอักโกสวัตถุ ๑๐ ประการ มีชาติกำเนิด ชื่อ ตระกูล เป็นต้น
       ภิกษุกล่าวโอมสวาทแก่ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ แก่อนุปสัมบันต้องอาบัติทุกกฏ ตามสิกขาบทที่ ๒ แห่งมุสาวาทวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

โอรส “ผู้เกิดแต่อก”, ลูกชาย

โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ,
       กิเลสผูกใจสัตว์อย่างหยาบ มี ๕ อย่าง คือ
           สักกายทิฏฐิ
           วิจิกิจฉา
           สีลัพพตปรามาส
           กามราคะ
           ปฏิฆะ;
       ดู สังโยชน์

โอวาท คำกล่าวสอน, คำแนะนำ, คำตักเตือน;
       โอวาทของพระพุทธเจ้า ๓ คือ
           ๑. เว้นจากทุจริต คือประพฤติชั่วด้วยกายวาจาใจ
               (= ไม่ทำความชั่วทั้งปวง)
           ๒. ประกอบสุจริต คือประพฤติชอบด้วยกายวาจาใจ
               (= ทำแต่ความดี)
           ๓. ทำใจของตนให้หมดจดจากเครื่องเศร้าหมอง มีโลภ โกรธ หลง เป็นต้น
               (= ทำจิตต์ของตนให้สะอาดบริสุทธิ์)
       โอวาท ๓ นี้ รวมอยู่ใน โอวาทปาฏิโมกข์

โอวาทปาฏิโมกข์ [โอ-วา-ทะ-ปา-ติ-โมก]
       หลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา หรือคำสอนอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา
       ได้แก่ พระพุทธพจน์ ๓ คาถากึ่ง ที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่พระอรหันต์ ๑,๒๕๐ รูป ผู้ไปประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ณ พระเวฬุวนาราม ในวันเพ็ญเดือน ๓ ที่เราเรียกกันว่า วันมาฆบูชา
       (อรรถกถากล่าวว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์นี้แก่ที่ประชุมสงฆ์ตลอดมา เป็นเวลา ๒๐ พรรษา ก่อนที่จะโปรดให้สวดปาฏิโมกข์อย่างปัจจุบันนี้แทนต่อมา),
       คาถาโอวาทปาฏิโมกข์ มีดังนี้ (โอวาทปาติโมกข์ ก็เขียน)
           สพฺพปาปสฺส อกรณํ กุสลสฺสูปสมฺปทา
           สจิตฺตปริโยทปนํ เอตํ พุทฺธาน สาสนํ ฯ
                          ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา
                          นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา
                          น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี
                          สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโต ฯ
           อนูปวาโท อนูปฆาโต ปาติโมกฺเข จ สํวโร
           มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ ปนฺตญฺจ สยนาสนํ
           อธิจิตฺเต จ อาโยโค เอตํ พุทฺธาน สาสนํ ฯ
       แปล: การไม่ทำความชั่วทั้งปวง ๑ การบำเพ็ญแต่ความดี ๑ การทำจิตต์ของตนให้ผ่องใส ๑ นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
       ขันติ คือความอดกลั้น เป็นตบะอย่างยิ่ง, พระพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวว่า นิพพานเป็นบรมธรรม, ผู้ทำร้ายคนอื่น ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต, ผู้เบียดเบียนคนอื่น ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ
       การไม่กล่าวร้าย ๑ การไม่ทำร้าย ๑ ความสำรวมในปาฏิโมกข์ ๑ ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร ๑ ที่นั่งนอนอันสงัด ๑ ความเพียรในอธิจิตต์ ๑ นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
       ที่เข้าใจกันโดยทั่วไป และจำกันได้มาก ก็คือ ความในคาถาแรกที่ว่า
           ไม่ทำชั่ว ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ผ่องใส

โอวาทปาติโมกข์ ดู โอวาทปาฏิโมกข์

โอวาทวรรค ตอนที่ว่าด้วยเรื่องให้โอวาทแก่นางภิกษุณี เป็นต้น,
       เป็นชื่อวรรคที่ ๓ แห่งปาจิตติยกัณฑ์ ในมหาวิภังค์ พระวินัยปิฎก

โอวาทานุสาสนี คำกล่าวสอนและพร่ำสอน, คำตักเตือนและแนะนำพร่ำสอน

โอษฐ์ ปาก, ริมฝีปาก

โอสารณา การเรียกเข้าหมู่,
       เป็นชื่อสังฆกรรมจำพวกหนึ่ง
           มีทั้งที่เป็นอปโลกนกรรม
               (เช่น การรับสามเณรผู้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าซึ่งถูกนาสนะไปแล้วและเธอกลับตัวได้)
           เป็นญัตติกรรม
               (เช่น เรียกอุปสัมปทาเปกขะที่สอนซ้อมอันตรายิกธรรมแล้ว เข้าไปในสงฆ์)
           เป็นญัตติทุติยกรรม
               (เช่น หงายบาตรแก่คฤหัสถ์ที่กลับตัวประพฤติดี)
           เป็นญัตติจตุตถกรรม
               (เช่น ระงับนิคคหกรรมที่ได้ทำแก่ภิกษุ);
       คู่กับ นิสสารณา


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ บรรทัดที่ ๒๗๗๕ - ๔๕๙๗.
http://84000.org/tipitaka/dic/v_line.php?A=2775&Z=4597

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]