ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ พุทธะ ”             ผลการค้นหาพบ  6  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 6
ปัจเจกพุทธะ พระพุทธเจ้าประเภทหนึ่งซึ่งตรัสรู้เฉพาะตัว มิได้สั่งสอนผู้อื่น;
       ดู พุทธะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 6
พุทธะ ท่านผู้ตรัสรู้แล้ว, ผู้รู้อริยสัจ ๔ อย่างถ่องแท้
       ตามอรรถกถาท่านแบ่งเป็น ๓ คือ
           ๑. พระพุทธเจ้า ท่านผู้ตรัสรู้เองและสอนให้ผู้อื่นรู้ตาม (บางทีเรียกพระสัมมาสัมพุทธะ)
           ๒. พระปัจเจกพุทธะ ท่านผู้ตรัสรู้เองจำเพาะผู้เดียว
           ๓. อนุพุทธะ ท่านผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้า (เรียกอีกอย่างว่า สาวกพุทธะ);
       บางแห่งจัดเป็น ๔ คือ
           ๑. สัพพัญญูพุทธะ
           ๒. ปัจเจกพุทธะ
           ๓. จตุสัจจพุทธะ (=พระอรหันต์) และ
           ๔. สุตพุทธะ (=ผู้เป็นพหูสูต)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 6
สัมพุทธะ ท่านผู้ตรัสรู้เอง, พระพุทธเจ้า

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 6
สุตพุทธะ ผู้รู้เพราะได้ฟัง, ผู้รู้โดยสุตะ หมายถึง บุคคลที่เป็นพหูสูต
       ดู พุทธะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 6
สุปปพุทธะ กษัตริย์โกลิยวงศ์ เป็นพระราชบุตรองค์ที่ ๑ ของพระเจ้าอัญชนะ
       เป็นพระบิดาของพระเทวทัตและพระนางยโสธราพิมพา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 6
อนุพุทธะ ผู้ตรัสรู้ตาม
       คือ ตรัสรู้ด้วยได้สดับเล่าเรียนและปฏิบัติตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอน
       ได้แก่ พระอรหันตสาวกทั้งหลาย;
       ดู พุทธะ


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=พุทธะ
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%BE%D8%B7%B8%D0


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]