![]() |
|
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) การค้นหาคำว่า สังโยชน์ ผลการค้นหาพบ 3 ตำแหน่ง ดังนี้ :-
![]() |
![]() |
ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ได้แก่ ๑. สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน ๒. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย ๓. สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลพรต ๔. กามราคะ ความติดใจในกามคุณ ๕. ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งในใจ ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง ๕ ได้แก่ ๖. รูปราคะ ความติดใจในรูปธรรมอันประณีต ๗. อรูปราคะ ความติดใจในอรูปธรรม ๘. มานะ ความถือว่าตนเป็นนั่นเป็นนี่ ๙. อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน ๑๐. อวิชชา ความไม่รู้จริง; พระโสดาบัน ละสังโยชน์ ๓ ข้อต้นได้, พระสกิทาคามี ทำสังโยชน์ข้อ ๔ และ ๕ ให้เบาบางลงด้วย, พระอนาคามี ละสังโยชน์ ๕ ข้อต้นได้หมด, พระอรหันต์ ละสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ข้อ; ในพระอภิธรรมท่านแสดงสังโยชน์อีกหมวดหนึ่ง คือ ๑. กามราคะ ๒. ปฏิฆะ ๓. มานะ ๔. ทิฏฐิ (ความเห็นผิด) ๕. วิจิกิจฉา ๖. สีลัพพตปรามาส ๗. ภวราคะ (ความติดใจในภพ) ๘. อิสสา (ความริษยา) ๙. มัจฉริยะ (ความตระหนี่) ๑๐. อวิชชา
ได้แก่ กิเลสผูกใจสัตว์อย่างละเอียด มี ๕ คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา พระอรหันตจึงละได้; ดู สังโยชน์
กิเลสผูกใจสัตว์อย่างหยาบ มี ๕ อย่าง คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กามราคะ ปฏิฆะ; ดู สังโยชน์ |
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สังโยชน์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%CA%D1%A7%E2%C2%AA%B9%EC
![]() ![]() | |
![]() | |
บันทึก ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]