ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ คาวุต ”             ผลการค้นหาพบ  5  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 5
คาพยุต ดู คาวุต

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 5
คาวุต ซื่อมาตราวัดระยะทางเท่ากับ ๘๐ อุสภะ หรือ ๑๐๐ เส้น (๔ คาวุต เป็น ๑ โยชน์)
       ดู มาตรา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 5
มาตรา กิริยากำหนดประมาณ, เครื่องวัดต่างๆ เช่นวัดขนาด จำนวน เวลา ระยะทางเป็นต้น,
       มาตราที่ควรรู้ ดังนี้
มาตราเวลา
๑๕ หรือ ๑๔ วัน เป็น ๑ ปักษ์
๒ ปักษ์ เป็น ๑ เดือน
๔ เดือน เป็น ๑ ฤดู
๓ ฤดู เป็น ๑ ปี
       (๑๔ วัน คือ ข้างแรมเดือนขาด, ๑๒ เดือนตั้งแต่เดือนอ้ายมีชื่อดังนี้;
           มาคสิรมาส, ปุสสมาส, มาฆมาส, ผัคคุณมาส, จิตตมาส, เวสาขมาส, เชฏฐมาส, อาสาฬหมาส, สาวนมาส, ภัททปทมาส หรือโปฏฐปทมาส, อัสสยุชมาส หรือปฐมกัตติกมาส, กัตติกามาส;
       ฤดู ๓ คือ
           เหมันต์ ฤดูหนาว เริ่มเดือนมาคสิระ ของเราเป็นแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๒,
           คิมหะ ฤดูร้อน เริ่มเดือนจิตตะ ของเราเป็นแรม ๑ ค่ำ เดือน ๔,
           วัสสานะ ฤดูฝน เริ่มเดือนสาวนะ ของเราเป็นแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘)
มาตราวัด
๗ เมล็ดข้าว เป็น ๑ นิ้ว
๑๒ นิ้ว เป็น ๑ คืบ
๒ คืบ เป็น ๑ ศอก
๔ ศอก เป็น ๑ วา
๒๕ วา เป็น ๑ อุสภะ
๘๐ อุสภะ เป็น ๑ คาวุต
๔ คาวุต เป็น ๑ โยชน์
หรือ
๔ ศอก เป็น ๑ ธนู
๕๐๐ ธนู เป็น ๑ โกสะ
๔ โกสะ เป็น ๑ คาวุต
๔ คาวุต เป็น ๑ โยชน์
มาตราตวง
๔ มุฏฐิ (กำมือ) เป็น ๑ กุฑวะ (ฟายมือ)
๒ กุฑวะ เป็น ๑ ปัตถะ (กอบ)
๒ ปัตถะ เป็น ๑ นาฬี (ทะนาน)
๔ นาฬี เป็น ๑ อาฬหก
มาตรารูปิยะ
๕ มาสก เป็น ๑ บาท
๔ บาท เป็น ๑ กหาปณะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 5
โยชน์ ชื่อมาตราวัดระยะทาง เท่ากับ ๔ คาวุต หรือ ๔๐๐ เส้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 5
อันธกวินทะ ชื่อหมู่บ้านแห่งหนึ่งในแคว้นมคธ อยู่ห่างจากกรุงราชคฤห์ประมาณ ๑ คาวุต
       (คัมภีร์ฉบับสีหลว่า ๓ คาวุต)


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=คาวุต&detail=on
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%A4%D2%C7%D8%B5&detail=on


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]