ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ จักขุ ”             ผลการค้นหาพบ  10  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 10
จักขุ ตา ของพระพุทธเจ้า มี ๕ คือ มังสจักขุ ทิพพจักขุ ปัญญาจักขุ พุทธจักขุ สมันตจักขุ (ดูที่คำนั้นๆ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 10
จักขุวิญญาณ ความรู้ที่เกิดขึ้นเพราะรูปกระทบตา, รูปกระทบตา เกิดความรู้ขึ้น, การเห็น
       (ข้อ ๑ ในวิญญาณ ๖)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 10
จักขุสัมผัส อาการที่ตา รูป และจักขุวิญญาณประจวบกัน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 10
จักขุสัมผัสสชาเวทนา เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัส, ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเพราะการที่ ตา รูป และจักขุวิญญาณประจวบกัน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 10
ทิพพจักขุ จักษุทิพย์, ตาทิพย์, ญาณพิเศษของพระพุทธเจ้า และท่านผู้ได้อภิญญาทั้งหลาย ทำให้สามารถเล็งเห็นหมู่สัตว์ที่เป็นไปต่างๆ กันเพราะอำนาจกรรม
       เรียกอีกอย่างว่า จุตูปปาตญาณ
       (ข้อ ๗ ในวิชชา ๘, ข้อ ๕ ในอภิญญา ๖)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 10
ทิพพจักขุญาณ ญาณ คือทิพพจักขุ, ความรู้ดุจดวงอาทิตย์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 10
ปัญญาจักขุ, ปัญญาจักขุ จักษุคือปัญญา, ตาปัญญา;
       เป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งของพระพุทธเจ้า พระองค์ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณด้วยปัญญาจักขุ
       (ข้อ ๓ ในจักขุ ๕)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 10
พุทธจักขุ จักษุของพระพุทธเจ้า
       ได้แก่ ญาณที่หยั่งรู้อัธยาศัย อุปนิสัยและอินทรีย์ที่ยิ่งหย่อนต่างๆ กันของเวไนยสัตว์
       (ข้อ ๔ ในจักขุ ๕)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 10
มังสจักขุ จักษุคือดวงตา เป็นคุณพิเศษของพระพุทธเจ้า คือ มีพระเนตรที่งาม แจ่มใส ไว และเห็นได้ชัดเจน แม้ในระยะไกล
       (ข้อ ๑ ในจักขุ ๕)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 10
สมันตจักขุ จักษุรอบคอบ, ตาเห็นรอบ
       ได้แก่พระสัพพัญญุตญาณ อันหยั่งรู้ธรรมทุกประการ เป็นคุณสมบัติพิเศษของพระพุทธเจ้า
       (ข้อ ๕ ในจักขุ ๕)


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=จักขุ
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%A8%D1%A1%A2%D8


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]