ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ ท้าวสักก ”             ผลการค้นหาพบ  6  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 6
โกสิยเทวราช พระอินทร์, จอมเทพในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
       เรียกท้าวโกสีย์บ้าง ท้าวสักกเทวราชบ้าง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 6
ดาวดึงส์ สวรรค์ชั้นที่ ๒ แห่งสวรรค์ ๖ ชั้น มีจอมเทพผู้ปกครองชื่อท้าวสักก แต่โดยทั่วไปเรียกว่าพระอินทร์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 6
วัตรบท ๗ หลักปฏิบัติ หรือข้อที่ถือปฏิบัติประจำ ๗ อย่าง ที่ทำให้มฆมาณพได้เป็นท้าวสักกะหรือพระอินทร์คือ
       ๑. มาตาเปติภโร เลี้ยงมารดาบิดา
       ๒. กุเลเชฏฺฐาปจายี เคารพผู้ใหญ่ในตระกูล
       ๓. สณฺหวาโจ พูดคำสุภาพอ่อนหวาน
       ๔. อปิสุณวาโจ หรือ เปสุเณยฺยปฺปหายี ไม่พูดส่อเสียด พูดสมานสามัคคี
       ๕. ทานสํวิภาครโต หรือ มจฺเฉรวินย ชอบเผื่อแผ่ให้ปัน ปราศจากความตระหนี่
       ๖. สจฺจวาโจ มีวาจาสัตย์
       ๗. อโกธโน หรือ โกธาภิกู ไม่โกรธ ระงับความโกรธได้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 6
สักกะ
       1. พระนามจอมเทพ ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เรียกกันว่า ท้าวสักกะหรือพระอินทร์; ดู วัตรบท ๗
       2. ชื่อดงไม้ที่อยู่ในชมพูทวีปตอนเหนือ แถบเขาหิมาลัยในเขตป่าหิมพานต์
       3. ชื่อชนบทที่ตั้งอยู่ในดงไม้สักกะ; ดู สักกชนบท

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 6
อสูร สัตว์กึ่งเทพหรือเทพชั้นต่ำพวกหนึ่ง
       ตำนานกล่าวว่า เดิมเป็นเทวดาเก่า (บุพเทวา) เป็นเจ้าถิ่นครอบครองดาวดึงสเทวโลก ต่อมาถูกเทวดาพวกใหม่ มีท้าวสักกะเป็นหัวหน้าแย่งถิ่นไป โดยถูกเทพพวกใหม่นั้นจับเหวี่ยงลงมาในระหว่างพิธีเลี้ยง เมื่อพวกตนดื่มสุราจนเมามาย
       ได้ชื่อใหม่ว่า อสูร เพราะเมื่อฟื้นคืนสติขึ้นระหว่างทางที่ตกจากดาวดึงส์นั้น ได้กล่าวกันว่า “พวกเราไม่ดื่มสุราแล้ว” (อสูรจึงแปลว่า “ผู้ไม่ดื่มสุรา”) พวกอสูรได้ครองพิภพใหม่ที่เชิงเขาสิเนรุ หรือเขาพระสุเมรุ และมีสภาพความเป็นอยู่ มีอายุ วรรณะ ยศ อิสริยสมบัติ คล้ายกันกับเทวดาชั้นดาวดึงส์ พวกอสูรเป็นศัตรูโดยตรงกับเทวดา และมีเรื่องราวขัดแย้งทำสงครามกันบ่อยๆ
       พวกอสูรออกจะเจ้าโทสะ จึงมักถูกกล่าวถึง ในฐานะเป็นพวกมีนิสัยพาลหรือเป็นฝ่ายผิด

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 6
อินทร์ ผู้เป็นใหญ่, ชื่อเทวราชผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และจาตุมหาราช;
       ในบาลี นิยมเรียกว่า ท้าวสักกะ;
       ดู วัตรบท ๗


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ท้าวสักก&detail=on
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%B7%E9%D2%C7%CA%D1%A1%A1&detail=on


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]